directions_run

โครงการประชาสังคมร่วมใจควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และ ปัจจัยเสี่ยง ภายใต้สถานการณ์โควิด 19 จ.ปัตตานี ปี พ.ศ 2565

stars
1. ชื่อโครงการ
โครงการประชาสังคมร่วมใจควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และ ปัจจัยเสี่ยง ภายใต้สถานการณ์โควิด 19 จ.ปัตตานี ปี พ.ศ 2565
stars
2. องค์กรที่รับผิดชอบ
สำนักงานประชาคมงดเหล้าจังหวัดปัตตานี
stars
3. เป้าประสงค์
groups
เป้าประสงค์ที่สอดคล้องกับประเด็นขับเคลื่อน
ลดจำนวนนักดื่มนักสูบหน้าเก่า ป้องกันนักดื่มนักสูบหน้าใหม่ ควบคุมการจำหน่ายบุหรี่แปลกใหม่ เช่น บุหรี่ไฟฟ้า
  1. สร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาสังคม และภาครัฐในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และปัจจัยสี่ยง ภายใต้สถานการณ์โควิด19
  2. หนุนเสริมขยายชุมชนคนสู้เหล้า และสร้างชุมชนต้นแบบปลอดเหล้า ปลอดบุหรี่ ลดปัจจัยเสี่ยง ภายใต้สถาการณ์โควิด19
  3. ป้องกันนักดื่ม นักสูบหน้าใหม่ โดยสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพแกนนำสภาเด็กและเยาวชน ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และปัจจัยเสี่ยง ภายใต้สถาการณ์โควิด19
groups
เป้าประสงค์เฉพาะ
ลดภาวะเสี่ยงจากโรคกล่องเสียงและถุงลมโป่งพอง ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

 

สร้างความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับสมุนไพรกระท่อมและกัญชา

 

ลดปัจจัยเสี่ยงในสังคมในรูปแบบต่างๆได้แก่ ลดอุบัติเหตุจากการดื่มแล้วขับ การพนัน ยาสูบ ยาเสพติด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภัยไซเบอร์

เครื่องดื่มเเอลกอฮอล์ บุหรี่เเละการลดอุบัติเหตุ

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
5. ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การควบคุมปัจจัยเสี่ยงเหล้าบุหรี่ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ได้ดำเนินการโดยสำนักงานประชาคมงดเหล้า จังหวัดปัตตานี เป็นองค์กรหนุนเสริมและขับเคลื่อนการทำงานของชุมชนและเครือข่ายให้เกิดการทำงานอย่างมีระบบ รวมถึงการทำงานบูรณาการร่วมกับกลไกหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้ ปลอดเหล้า ปลอดบุหรี่ และปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพอื่นๆ ของสำนักงานประชาคมงดเหล้าจังหวัดปัตตานี จังหวัดปัตตานีเป็นพื้นที่พหุวัฒนธรรมการอาศัย เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย ติดต่อกับจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลา และมีพื้นที่รอยต่อไม่ไกลจากประเทศมาเลย์เซีย มีจำนวนประชากร 709,769 จำแนกเป็นเพศชาย ร้อยละ 48.96 และเพศหญิงร้อยละ 51.04 ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม รองลงมาคือศาสนาพุทธและอื่น ๆ จากการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2560 พบว่า ประชากรนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 87.25 นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 12.72 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.03 แต่การสำรวจใน พ.ศ.2560 พบว่าประชากรนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 86.25 นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 13.70 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.05 ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตที่บ่งบอกถึงความเชื่อและพฤติกรรมตามหลักคิดทางศาสนา เรียบง่าย ยึดถือผู้นำศาสนา และยังคงความเป็นเครือญาติสูง คุณภาพชีวิตและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ไม่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ แบ่งออกเป็น 12 อำเภอ115 ตำบล 101 อบต.642 หมู่บ้าน มีสถานบริการสาธารณสุขระดับ รพท. ขนาด 466 เตียง 1 แห่ง รพช.ขนาด 60 เตียง 3แห่ง รพช.30 เตียง 8 แห่ง รพ.สต.128 แห่ง และยังถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของประเทศ ด้วยลักษณะเช่นนี้ทำให้พื้นที่จังหวัดปัตตานีมีการแพร่ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบหนีภาษีตามแนวชายแดน เพราะมีราคาถูกและมีรสชาติหรือกลิ่นที่หลากหลายกว่า และการเข้าถึงง่าย สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดปัตตานี พบว่ามีอัตราการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับที่น้อยมาก ด้วยบริบทของปัตตานีส่วนใหญ่ประชาชนนับถือศาสนาอิสลาม ความชุกของนักดื่มในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 1.6 (อันดับที่ 76 ของประเทศ) การดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์กับโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นหลายโรคด้วยกัน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร (Traffic accidents) เบาหวาน (Diabetes) การติดสุรา (Alcohol dependence) เป็นต้น สถานการณ์การบริโภคยาสูบจังหวัดปัตตานี ปี ๒๕๕๐, ๒๕๕๔, ๒๕๕๗, ๒๕๕๘, 2560 และ 2564 มีอัตราการสูบบุหรี่ ร้อยละ 32.26, 29.10, 28.08, 25.67, 23.4 และ 21.40 ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มที่ลดลง และจากงานวิจัยยาสูบจังหวัดปัตตานี ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี (ปี 2557) พบว่า นักเรียนระดับมัธยมศึกษาสูบบุหรี่ ร้อยละ 16.3 อายุที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 16-20 ปี อายุเฉลี่ยเริ่มสูบคือ 17 ปี กลุ่มตัวอย่างรับรู้สถานที่สาธารณะปลอดบุหรี่สูงสุด คือโรงพยาบาล ร้อยละ 74.4 รองลงมาคือโรงเรียนต่ำกว่าอุดมศึกษา ร้อยละ 64.4 ส่วนตลาดมีการรับรู้เป็นสถานที่เขตปลอดบุหรี่ต่ำสุด คือ ร้อยละ 21.7 การรับรู้ผลของการสูบบุหรี่ต่อสุขภาพสูงสุด คือทำให้เกิดมะเร็งปอดร้อยละ 93 อีกทั้งจากรายงานสถานการณ์แนวโน้มด้านสุขภาพของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี พบว่ากลุ่มโรคที่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 คือ โรคมะเร็งทุกชนิด มีอัตราตายเพิ่มจากปี 2557–2563 มีอัตราการตายเท่ากับ 37.90, 54.02 และ 51.15 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ มะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่ง คือ มะเร็งอื่น ๆ (เนื้องอกร้ายไม่ระบุตำแหน่ง) อัตราตายเท่ากับ 30.01 รองลงมาคือมะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้เล็ก และมะเร็งปากมดลูกอัตราตายเท่ากับ 8.87, 6.13, 2.90, 2.58, และ 0.81 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ อันดับ 2 คือ โรคหลอดเลือดสมอง ในปี 2557–2563 มีอัตราการตายเท่ากับ 20.11, 37.39 และ 45.02 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ และอันดับ 3 โรคหัวใจทุกชนิด ในปี 2557–2563 มีอัตราการตายเท่ากับ 34.14, 41.82 และ 32.43 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ ประชาคมงดเหล้าจังหวัดปัตตานีอำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) จังหวัดปัตตานี โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปัตตานี กระทรวงมหาดไทย ขับเคลื่อนการสร้างความปลอดภัยทางถนน บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ภายใต้แนวคิด “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” โดยบูรณาการการทำงานในลักษณะยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง มุ่งลดปัจจัยเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งคน รถ ถนน และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสอดรับกับแนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 เน้นการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนและสร้างวินัยจราจรให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน รวมถึงปรับปรุงถนนและสภาพแวดล้อมริมทางให้ปลอดภัย คุมเข้มความปลอดภัยของยานพาหนะทุกประเภท ทั้งสภาพรถ อุปกรณ์นิรภัย ความพร้อมของพนักงานขับรถ รถบรรทุกน้ำหนักเกินและรถบรรทุกผู้โดยสาร พร้อมเฝ้าระวังและป้องปรามพฤติกรรมเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนทุกรูปแบบ ควบคู่กับการดำเนินมาตรการ “ตรวจวัดแอลกอฮอล์” กรณีเกิดอุบัติเหตุทางถนนที่มีผู้บาดเจ็บรุนแรง หรือ มีผู้เสียชีวิต สร้างการรับรู้มาตรการบังคับใช้กฎหมาย สถานการณ์อุบัติเหตุ การใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัยผ่านทุกช่องทางสื่อ ตลอดจนจัดหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน หน่วยกู้ชีพกู้ภัย และเครื่องมืออุปกรณ์ให้พร้อมช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ และส่งต่อผู้ประสบอุบัติเหตุอย่างรวดเร็วในทุกพื้นที่ ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมการมิได้เลือกปฏิบัติ ประเด็น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่/ยาสูบ ยาเสพติด หรือการพนัน หลักการทางศาสนาทั้งศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เป็นอุบายมุก เป็นปีศาจที่ฆ่าชีวิตมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ศาสนาพุทธอยู่ในศีล 5ข้อที่ 5. ห้ามดื่มสุรา และของมึนเมา ส่วนศาสนาอิสลามศาสนาอิสลามมีพระบัญญัติห้ามข้องแวะสิ่งเสพติด และสารทุกชนิดที่ออกฤทธิ์กับระบบจิตประสาททำให้มึนเมา,ขาดสติชั่วขณะหรือ ถาวร ห้ามเสพ,พกพา,จำหน่ายฯลฯ ศาสนาอิสลามจึงมีนโยบายเรื่องสิ่งเสพติดและสารออกฤทธิ์ที่ชัดเจน คือ ทั้งป้องกันและปราบปราม อีกทั้งยังมีมาตรการลงโทษขั้นเด็ดขาดสำหรับผู้ฝ่าฝืน เครื่องดื่มจำพวกสุรา,เหล้า,ข้าวแช่,เบียร์,ไวน์,บรั่นดี ฯลฯ ในอดีตจะหมายถึงเหล้าหรือสุราเท่านั้น ในช่วงแรกๆที่ท่านรอซูล(ซ.ล.)มาประกาศศาสนาอิสลาม การบริโภคดื่มกินเหล้ายังเป็นเรื่องที่มีปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายทั้งใน สังคมชาวอาหรับและสังคมอื่นๆ และอัล-กุรอ่านยังไม่มีบัญญัติห้าม หรือชี้แจงไว้ และต่อมาในภายหลังจึงมีการประทานโองการอัล-กุรอานที่เป็นบัญญัติเกี่ยวกับ เรื่องเหล้า,สุราขึ้นมา จนในที่สุดอัลกุร-อานก็ประกาศห้ามเรื่องสุรา,เหล้าโดยสิ้นเชิง สถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรในจังหวัดปัตตานีสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดปัตตานี พบว่ามีอัตราการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับที่น้อยมาก ด้วยบริบทของปัตตานีส่วนใหญ่ประชาชนนับถือศาสนาอิสลาม ความชุกของนักดื่มในประชากรอายุ 20 ปีขึ้นไป ร้อยละ 4.1 ความชุกของผู้ดื่มในประชากรวัยรุ่น (อายุ 15–19 ปี) ร้อยละ 0.2 (อันดับที่ 76 ของประเทศ) การดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์กับโรคต่าง ๆที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นหลายโรคด้วยกัน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร (Traffic accidents) เบาหวาน (Diabetes) การติดสุรา (Alcohol dependence) เป็นต้น ดัชนีความเสี่ยงปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด ที่ 29 เมื่อเทียบกับข้อมูลทั้งประเทศ สถานการณ์ปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนในพื้นที่ของท่านในปีที่ผ่านมา
stars
6. รูปแบบการจัดกิจกรรม
Online
Onsite
Hybridge
stars
7. ประเภทของกิจกรรม
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ

 

การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย

 

การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

 

การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้

 

การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

 

การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก

 

การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์

 

การส่งเสริมสุขภาพ

 

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ

 

การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน

 

ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ)

 

การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย

 

การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ

 

การบังคับใช้กฏหมาย

 

การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

 

การประเมินติดตามผล

 

การจัดการความรู้ งานวิจัย

 

อื่นๆ

 

stars
8. พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ปัตตานี place directions
stars
9. งบประมาณ
งบประมาณ
499,500.00 บาท
ได้รับงบประมาณจาก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2566 12:27 น.