directions_run

พัฒนากลไกภาคีเครือข่ายอนุรักษ์ ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์คลองละงู

stars
1. ชื่อโครงการ
พัฒนากลไกภาคีเครือข่ายอนุรักษ์ ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์คลองละงู
stars
2. องค์กรที่รับผิดชอบ
สมาคมผู้บริโภคจังหวัดสตูล
stars
3. เป้าประสงค์
groups
เป้าประสงค์ที่สอดคล้องกับประเด็นขับเคลื่อน
ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิการบริการพื้นฐาน

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดทำแผนและกติกาในการบริหารจัดการน้ำเพื่อ อนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์คลองละงู

ลดผลกระทบจากวิกฤตโควิด-๑๙ เสริมศักยภาพให้สามารถเข้าถึงปัจจัย ๔ เพื่อการดำรงชีพ และสามารถช่วยเหลือตนเองได้

 

มีรายได้เพิ่มขึ้น ลดหนี้สินครัวเรือน

 

groups
เป้าประสงค์เฉพาะ
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 600
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพ กลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ กล 100 -
ชุมชน 500 -
stars
5. ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
อำเภอละงู เป็นอำเภอหนึ่งในพื้นที่จังหวัดสตูล มีพื้นที่เขตการปกครองประมาณ 324 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 202,397.5 ไร่ ของพื้นที่จังหวัดสตูล สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของอำเภอละงู เป็นที่ราบสูง แบบลูกคลื่นลอน ลาด จากทิวเขาทางตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือทอดตัวลงมาสู่พื้นที่ราบทางตอนใต้ และด้านตะวันตก ซึ่ง เป็นที่ราบขนานไปกับชายทะเล ในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา พบว่าประชากกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ที่ ประกอบอาชีพการเกษตร ที่อาศัยอยู่แถบสายน้ำละงู ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนเปลี่ยนของภูมิอากาศ และ การเปลี่ยนแปลงของชนบทไปสู่สังคมเมือง อย่างเป็นได้ชัด จากข้อมูลการสำรวจของคณะทำงานโครงการ ประชาคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองละงู ในพื้นที่ 3 หมู่บ้าน ที่อาศัยอยู่ติดกับคลองละงู คือ พื้นที่หมู่ที่ 7 บ้าน โกตา ตำบลกำแพง พื้นที่ หมู่ที่ 15 ตำบลละงู และพื้นที่ซอยขนมจีน เทศบาลตำบลกำแพง เมื่อปี 2564 พบว่า วิถี ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและสภาวะแวดล้อมของเมืองละงู การพึ่งพาช่วยเหลือกันแถบไม่มีประเพณีต่าง ๆ หายไป เช่า การลงแขก (ซอมือ) มีการพึ่งพาภาครัฐมากขึ้น ด้วยการพัฒนาความเป็นเมืองและนโยบายของรัฐ เช่น การส่งเสริมการท่องเที่ยว ทำให้ชาวบ้านต่างคนต่างอยู่ พึงพาหน่วยงานภาครัฐ วัยแรงงานออกทำงานนอกบ้าน ผู้สูงอายุที่เคยเป็นอยู่อย่างอบอุ่นกลับอยู่บ้านคนเดียวตามลำพัง เด็กและเยาวชนบริโภควัฒนธรรมต่างชาติมากขึ้น มีปัญหายาเสพติดเกิดขึ้นในชุมชน ผู้หญิงเริ่มมีการพึงพาตนเองมากขึ้น ช่วยกันทำมาหากิน ด้านสิ่งแวดล้อมป่าไม้ ถูกทำลาย ทุ่งนาที่เคยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของชุมชนถูกทิ้งให้รกร้างว่างเปล่า ชุมชนมีการถมที่ดินปลูกสร้างบ้านเรือน ตามจำนวนการเพิ่มของประชากร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของหน่วยงานภาครัฐ มีการขุดคูคลอง สร้างถนน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ทำให้พื้นที่ที่เป็นที่ราบกลับมาเป็นที่ลุ่ม ๆ ดอนๆ ทำให้สายน้ำเปลี่ยน เส้นทาง สิ่งมีชีวิตบางอย่างถูกใช้บริโภค หรือมีชีวิตอาศัยอยู่ไม่ได้ด้วยการใช้สารเคมีและการเปลี่ยนแปลงของ ภูมิอากาศของโลก ฝนที่เคยตกเป็นฤดูกาลกลับเปลี่ยนไป มีสถานการณ์น้ำท่วมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะน้ำท่วมที่เกิดจาก การระบายน้ำไม่ทัน มีภาวะแห้งแล้งยาวนานทำให้มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่เห็นชัดมากขึ้น จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจาก 3 พื้นที่ของเมืองละงู จำนวน 180 ตัวอย่าง พบว่า การใช้ชีวิตของประชาชน ส่วนหนึ่งต้องใช้ชีวิตร่วมกับสายน้ำคลองละงู ตั้งแต่ต้นน้ำ คือตำบลน้ำผุด จนถึงปลายน้ำคือตำบลปากน้ำ ใน ปัจจุบันวิถีชีวิตชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเมืองละงู เปลี่ยนแปลงไปจากการดำเนินชีวิตในช่วงก่อน 30 ปีที่ ผ่านมา เห็นได้จากประกอบอาชีพการประกอบอาชีพของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปจากการทำเกษตรกรรม มากกว่าร้อยละ 26 (รับจ้างทั่วไป) ด้านการใช้การใช้ประโยชน์จากที่ดิน พบว่าที่ดินเป็นของตนเองร้อยละ 49.4 เท่านั้น ผู้ที่มีที่ดินก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินได้เต็มที่ ประกอบอาชีพได้ เนื่องจากเกิดน้ำท่วมขังบ่อย มี ภาวะแห้งแล้งยาวนานมากขึ้น มีการใช้สารเคมีมากขึ้นผู้ที่มีที่ดินก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินได้เต็มที่ มีการ พึ่งพาราชการมากกว่าพึ่งพาตนเอง เช่น มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล มากกว่าร้อยละ 99 โรคเรื้อรังชนิด ต่าง ๆ ก็พบมากขึ้นด้วยสาเหตุที่มาจากวิถีการบริโภคที่เปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมที่เคลื่อนไปสู่ความ เป็นสังคมเมืองมากขึ้น เห็นได้จากการปลูกบ้านเรือนติดถนน มากกว่า ร้อยละ 60 ที่ดินที่เป็นแหล่งเก็บกักน้ำโดย ธรรมชาติ (แก้มลิง) ถูกถมที่เพื่อสร้างบ้านเรือน และสร้างสิ่งสาธารณะต่าง ๆ ด้านทรัพยากรมีความความอุดม สมบูรณ์ ในคลองละงู ลดลง สิ่งมีชีวิตบางชนิดสูญพันธ์หรือใกล้สูญ เช่น เต่ากระอาน หอยปุ้งปิ้ง ต้นลำภู ป่าไม้ต้น น้ำ ที่เคยอุดมสมบูรณ์ มีป่าดงดิบบริเวณ ตำบลน้ำผุด ด้วยสาเหตุการแสวงหาที่ทำกินของประชาชนและคนย้ายถิ่น เข้ามาอยู่ในพื้นที่ เมื่อเกิดภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ซึ่งพบพื้นที่เมืองละงูมีทั้งน้ำท่วมใหญ่ เมื่อปี 2554 และ 2559 ฝนไม่ตกตามฤดูกาลมากกว่าร้อยละ 58 ส่งผลให้บ้านเรือนเสียหาย ร้อยละ 37 และแผนการ รับมือของประชาชนก็ยังพึ่งพาระบบราชการ ขาดการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนของชุมชน เช่นเดียวกันกับการ รับมือจากภัยแล้ง ขณะเดียวกัน มีกลุ่มองค์กรชุมชน กลุ่มอาชีพ กลุ่มสาธารณะจำนวนมากที่มีในพื้นที่ แต่ไม่ได้มีการ เชื่อมโยงการทำงานกันและกัน จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นคลองละงูจึงเป็นส่วนสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนเมือง ละงูจึงได้จัดทำโครงการเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์จากสายน้ำคลองละงูเพื่อให้ประชาชนที่อา ศรัยแถบสายน้ำคลองละงู และพื้นที่ใกล้เคียง ได้กลับมาใช้ชีวิต ร่วมกับสายน้ำคลองละงูได้อย่างเหมาะสมและ ยั่งยืนต่อไป
stars
6. รูปแบบการจัดกิจกรรม
Online
Onsite
Hybridge
stars
7. ประเภทของกิจกรรม
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ

 

การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย

 

การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

 

การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้

 

การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

 

การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก

 

การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์

 

การส่งเสริมสุขภาพ

 

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ

 

การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน

 

ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ)

 

การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย

 

การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ

 

การบังคับใช้กฏหมาย

 

การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

 

การประเมินติดตามผล

 

การจัดการความรู้ งานวิจัย

 

อื่นๆ

 

stars
8. พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สตูล ละงู place directions
stars
9. งบประมาณ
งบประมาณ
260,000.00 บาท
ได้รับงบประมาณจาก
สหภาพยุโรป

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2566 12:50 น.