directions_run

โครงการชุมชนลดอันตรายจากสารเสพติดเพื่อสุขภาวะที่ดี

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนลดอันตรายจากสารเสพติดเพื่อสุขภาวะที่ดี
ภายใต้โครงการ แผนงานร่วมทุนสร้างเสริมสุขภาวะพื้นที่จังหวัดปัตตานี
ภายใต้องค์กร องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
รหัสโครงการ 65-P1-0068-005
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 29 กุมภาพันธ์ 2567
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซารีฟะห์ นิหลง
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 091-0480085
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ sareefa@apassthailand.org
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวไซนับ อาลี
พื้นที่ดำเนินการ บ้านบางปลาหมอ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.859425,101.251746place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2566 31 ธ.ค. 2566 1 พ.ค. 2566 31 ธ.ค. 2566 80,000.00
2 1 ม.ค. 2567 31 ม.ค. 2567 1 ม.ค. 2567 31 ม.ค. 2567 20,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานสารเสพติด
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในประเทศไทยมีการลักลอบนำเข้ายาเสพติดไม่ลดระดับความรุนแรงลง ในช่วงนี้กลุ่มขบวนการลำเลียงมีการเปลี่ยนเส้นทางการเคลื่อนย้ายยาเสพติดออกจากแหล่งผลิตในพื้นที่รัฐฉาน ประเทศเมียนมา นำเข้าสปป.ลาว ก่อนลักลอบนำเข้าไทยส่งผลให้พื้นที่ชายแดนที่ติดกับสปป.ลาว ตั้งแต่พื้นที่ อำเภอเวียงแก่น อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และ อำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ต่อเนื่องไปตลอดถึงชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดนครพนม) มีการลักลอบนำเข้ายาเสพติดเพิ่มขึ้น
สถานการณ์ยาเสพติดของประเทศไทยยังไม่ลดระดับความรุนแรงลง อันเป็นผลมาจากการขยายตัวของการผลิต ยาเสพติดในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กลุ่มขบวนการค้ายาเสพติดยังมีการลักลอบนำยาเสพติด จำนวนมากเข้ามายังประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการจับกุมยาเสพติดได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะยาเสพติดประเภทสารสังเคราะห์ (ยาบ้า และไอซ์) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีการจับกุมคดียาเสพติดทั้งหมด 337,186 คดี มีผู้ต้องหา 350,758 คน การแสวงประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในการค้ายาเสพติด การติดต่อสื่อสาร การเงิน การขนส่ง มีมากขึ้น ส่งผลให้ยาเสพติดกับผู้เสพใกล้กันมากขึ้นด้วยเทคโนโลยี การค้ายาเสพติดในปัจจุบัน นอกจากการค้ายาเสพติดแบบทั่วไปแล้ว ยังพบว่ากลุ่มผู้ค้ายาเสพติดได้ใช้ช่องทางออนไลน์ควบคู่กับการส่งยาเสพติดทางพัสดุ ไปรษณีย์ในการกระจายยาเสพติดไปสู่กลุ่มผู้เสพมากขึ้น เช่น Line Twitter Facebook Instagram ฯลฯ โดยเฉพาะช่องทาง Twitter เป็นช่องที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการซื้อขาย ซึ่งกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดส่วนใหญ่เป็นเด็กและเยาวชนพบว่ามีการซื้อขายยาเสพติดเกือบทุกชนิดอย่างแพร่หลาย แจ้งราคาขายชัดเจน มีช่องทางการส่งให้เลือกหลากหลาย เช่น นัดรับ ส่งผ่านไปรษณีย์ทั้งภาครัฐและเอกชน ปัจจุบันธุรกิจทางโลจิสติกส์ทั้งระบบในประเทศไทยมีอัตราขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้การขนส่งมีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น สถานการณ์ การแพร่ระบาดยาเสพติดมีแนวโน้มที่แพร่ระบาดมากขึ้น ตามการขับเคลื่อนของอุปทาน (Supply) ของการผลิตยาเสพติดนอกประเทศ จากปริมาณยาเสพติดที่มีการลักลอบนำเข้าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ยาเสพติดกระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ และด้วยกลยุทธ์การค้าของกลุ่มนักค้ายาเสพติดที่ทำให้ยาเสพติดมีราคาที่ถูกลง ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการใช้ยาเสพติดในประเทศ ผู้เสพรายใหม่จะเข้าสู่วงจรยาเสพติดมากขึ้น
จากข้อมูลผู้เข้าบำบัดรักษาที่เข้าสู่ระบบจะพบสัดส่วนผู้เสพรายใหม่ถึง ร้อยละ 70.34 ไม่นับรวมผู้เสพจำนวนมากที่ยังไม่เข้าสู่ระบบการบำบัดรักษา หลบซ่อนไม่แสดงตัว จนเกิดภาวะการเสพติดซ้ำ ซึ่งจะส่งผลต่ออาการทางจิตเวชจากยาเสพติด

ส่วนในพื้นที่จังหวัดปัตตานีเป็นพื้นที่สำหรับทางผ่านของยาเสพติดเพื่อนำไปสู่ชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นการแพร่ระบาดจึงมีมากขึ้น จากผลการดำเนินงานของกลุ่มส่งเสริมการเข้าถึงการสนับสนุนด้านสุขภาพและสังคม สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดด้วยวิธีฉีดทั้งสิ้น 950 คน โดยทั้งหมดเป็นผู้ใช้สารเฮโรอีน มีทั้งเพศชาย 98 เปอร์เซ็นต์และเพศหญิง 2 เปอร์เซ็นต์ โดยพื้นที่อำเภอที่มีการเข้าถึงมากที่สุดตามลำดับได้แก่ อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอเมือง อำเภอหนองจิก อำเภอปะนาเระ อำเภอยะหริ่ง อำเภอสายบุรีและอำเภอยะรัง รายละเอียดดังนี้ อำเภอ จำนวน โคกโพธ์ 286 เมือง 229 หนองจิก 175 ปะนาเระ 172 ยะหริ่ง 78 สายบุรี 10

ผู้ใช้สารเสพติดหลายคนมีภาวะพึ่งพิงสารเสพติดจำเป็นต้องนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ไม่ว่าจะเป็นแบบผู้ป่วยในหรือแบบผู้ป่วยนอกก็ตาม แต่ด้วยสถานพยาบาลที่นำไปสู่กระบวนการบำบัดรักษายังคงไม่อำนวยต่อบริบทความเป็นอยู่วิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของเขาส่งผลให้เข้าถึงกระบวนการบำบัดรักษาได้ยาก และนำไปสู่ปัญหาต่างๆตามมา อาทิเช่นปัญหาด้านสุขภาพเรื่องโรคติดต่อต่างๆ เช่น วัณโรค ซิฟิลิส เอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบีและซี ทำให้ปัญหาการแพร่ระบาดโรคก็ไม่สามารถควบคุมได้เช่นกัน ส่วนปัญหาด้านเศรษฐกิจส่งผลให้เขาไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ไม่มีรายได้ เกิดการทะเลาะเบาะแว้งในครัวเรือน
ทั้งนี้ประเทศไทยเคยทดลองใช้นโยบายการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติดมาใช้ในพื้นที่จังหวัดต่างๆเมื่อปีพ.ศ.2557 โดยจังหวัดปัตตานีเป็นหนึ่งใน 19 จังหวัดนำร่องเรื่องนี้ ต่อมาในปีพ.ศ.2560 ได้ขยายพื้นที่นำร่องเป็น 37 จังหวัดและจังหวัดปัตตานีก็ยังคงเป็นหนึ่งในนั้น แต่ปัจจุบันนี้ได้มีประมวลกฎหมายยาเสพติดซึ่งมีการกล่าวถึงการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติดไว้อย่างชัดเจน การลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด เป็นการดำเนินงานที่ทางกลุ่มส่งเสริมการเข้าถึงการสนับสนุนด้านสุขภาพและสังคม(APASS)ได้นำเนินงานเรื่อยมา เพื่อลดผลกระทบในด้านต่างๆที่อาจเกิดจากการใช้สารเสพติด โดยได้ดำเนินงานภายใต้ชุดบริการRRTTPRในการยุติปัญหาวัณโรคและเอด์ และ16ชุดบริการสำหรับการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้
ด้านยาเสพติด ให้ความรู้และคำปรึกษาด้านยาเสพติด,บำบัดรักษาด้วยสารทดแทนระยะยาว,จัดบริการป้องกันและดูแลการใช้ยาเกินขนาด,ส่งเสริมให้สมัครใจเข้ารับการบำบัด
ด้านสุขภาพกายใจ ให้ความรู้ป้องกันโรคต่างๆ,ให้คำปรึกษาและตรวจคัดกรองHIVด้วยความสมัครใจ จนได้รับการรักษา,ให้คำปรึกษาและตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี ซี จนได้รับการรักษา,สนับสนุนให้เข็มและอุปกรณ์สะอาด,การให้บริการถุงยางอนามัย,ตรวจและรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์,การป้องกันและวินิจฉัยวัณโรค,การให้คำปรึกษาด้านจิตเวช
ด้านสังคม การเยี่ยมบ้าน โดยอาสาสมัครภาคประชาสังคมและเจ้าหน้าที่รัฐ,กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน,การให้มีพื้นที่ปลอดภัยในการดำเนินการลดอันตราย โดยการมีส่วนร่วมจากชุมชน,การบริการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่กลุ่มเป้าหมายและผู้ปฏิบัติการ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการดำเนินกิจกรรมร่วมกันกับทางภาคีเครือข่ายต่างๆทั้งหน่วยงานภาครัฐ ชุมชน ภาคประชาสังคม และชาวบ้านทั่วไป ดังนั้นประโยชน์จากการจัดกิจกรรมนี้เพื่อให้มีการดูแลอย่างต่อเนื่องในชุมชนและชุมชนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลผู้ใช้สารเสพติดในชุมชนตนเองได้ พร้อมทั้งมีข้อมูลสนับสนุน มีข้อตกลงที่ชัดเจนเกิดขึ้นในชุมชน ปัญหาของผู้ใช้ยาเสพติดในพื้นที่ปัตตานีคือส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพกาย มีความเสี่ยงที่จะติดโรคติดต่อต่างๆ ทั้งโรคเอชไอวี โรคไวรัสตับอักเสบบีและซี วัณโรค โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และอื่นๆ ส่วนปัญหาทางสุขภาพจิตคือทำให้มีปัญหาจิตเวช สาเหตุทั้งหมดเกิดจากการใช้สารเสพติด ทั้งด้วยวิธีสูบ ดม ดื่ม ฉีด ผลกระทบที่ตามมาทำให้มีปัญหาครอบครัวเรื่องความรุนแรงในครอบครัว ทำร้ายร่างกาย หย่าร้าง และส่งต่อเชื้อโรคต่างๆให้ภรรยาและคนในครอบครัว
เมื่อจัดโครงการนี้แล้วจะเกิดแกนนำในการดูแลผู้ใช้สารเสพติดในชุมชนและคณะทำงานที่มีชุดองค์ความรู้และประสบการณ์ศึกษาดูงาน ซึ่งผ่านการอบรมจากโครงการนี้แล้ว ทั้งยังเกิดศูนย์สุขภาพใจในชุมชนเพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้คำปรึกษาด้านต่างๆ อาทิเช่นเรื่องการลดอันตรายจากสารเสพติด ซึ่งนำมาสู่กระบวนการ การลด ละ เลิก แนะนำช่องทางที่นำเข้าสู่กระบวนการรักษา ดูแล และติดตามในระบบอย่างต่อเนื่องโดยผ่านคณะทำงานและแกนนำชุมชน ชุมชนเกิดกลไกการทำงานโดยผ่านการมีส่วนร่วมจากชาวบ้านคอยเป็นหูเป็นตา สอดส่องเด็กเยาวชนไม่ให้นำมาสู่การเป็นผู้ใช้สารเสพติด ส่วนครอบครัวและคู่ผู้ใช้สารเสพติดมีที่พึ่งพิง คลายกังวล จากการมีพื้นที่ให้ขอคำแนะนำจากคนในชุมชนด้วยกันเอง

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดแกนนำดูแลผู้ใช้สารเสพติด คู่ และครอบครัวในชุมชน

มีแกนนำดูแลผู้ใช้สารเสพติด คู่ และครอบครัวในชุมชน จำนวน 10 คน

10.00
2 เพื่อให้ผู้ใช้สารเสพติด คู่ และครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการลดอันตรายจากสารเสพติด และการดูแลร่วมกัน โดยมีศูนย์สุขภาพชุมชน

ผู้ใช้สารเสพติด คู่ และครอบครัวรวม 60 คน มีความรู้ความเข้าใจ สามารถอธิบายในเรื่องการลดอันตรายจากสารเสพติด และการดูแลร่วมกัน
มีศูนย์สุขภาพชุมชน สำหรับให้คำปรึกษาเรื่องการลดอันตรายจากสารเสพติด

60.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 70
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ผู้ใช้สารเสพติด คู่และครอบครัวผู้ใช้สารเสพติด 60 -
แกนนำดูแลผู้ใช้สารเสพติด 10 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67
1 สสส.สนับสนุนงบเพิ่มเติมเพื่อการบริหารจัดการ(1 พ.ค. 2566-29 ก.พ. 2567) 10,000.00                    
2 ประชุมคณะทำงาน(17 มิ.ย. 2566-13 ม.ค. 2567) 13,500.00                    
3 จัดหาแกนนำและอบรมพัฒนาศักยภาพ(9 ส.ค. 2566-9 ส.ค. 2566) 9,500.00                    
4 อบรมคู่และครอบครัวผู้ใช้สารเสพติดเรื่องการลดอันตรายจากสารเสพติด และเรื่องการเห็นคุณค่าในตนเองดำเนินชีวิตอย่างสันติสุข(28 ส.ค. 2566-28 ส.ค. 2566) 18,000.00                    
5 อบรมผู้ใช้สารเสพติดเรื่องการลดอันตรายจากสารเสพติดและเรื่องการเห็นคุณค่าในตนเองดำเนินชีวิตอย่างสันติสุข(29 ส.ค. 2566-29 ส.ค. 2566) 18,000.00                    
6 กิจกรรมรณรงค์พื้นที่สร้างพื้นที่ลดอันตรายจากสารเสพติดภายในชุมชน มัสยิด โรงเรียน ร้านน้ำชา สนามฟุตบอล(19 ก.ย. 2566-19 ก.ย. 2566) 8,600.00                    
7 แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานลดอันตรายจากการใช้สารเสพติดโดยชุมชน(26 ต.ค. 2566-26 ต.ค. 2566) 9,400.00                    
8 จัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชน ให้คำปรึกษาเรื่องการลดอันตรายจากสารเสพติด(10 ม.ค. 2567-10 ม.ค. 2567) 6,600.00                    
9 ถอดบทเรียน(23 ม.ค. 2567-23 ม.ค. 2567) 6,400.00                    
รวม 100,000.00
1 สสส.สนับสนุนงบเพิ่มเติมเพื่อการบริหารจัดการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 42 10,000.00 17 10,000.00
6 - 7 มิ.ย. 66 อบรมเวทีปฐมนิเทศและพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน 2 600.00 600.00
26 ก.ค. 66 ค่าป้ายโครงการ ชุมชนลดอันตรายจากสารเสพติดเพื่อสุขภาวะที่ดี 1 500.00 500.00
26 ก.ค. 66 ค่าป้ายเขตปลอดบุหรี่ 1 200.00 200.00
11 ก.ย. 66 ARE 1/2566 ติดตามแผนพร้อมพี่เลี้ยง 5 0.00 0.00
12 ก.ย. 66 ค่าเดินทางทำธุรกรรมทางการเงิน 2 1,200.00 1,200.00
15 ก.ย. 66 กรรมการติดตามโครงการ 5 0.00 0.00
25 ก.ย. 66 อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 1/2566 2 300.00 300.00
29 พ.ย. 66 ARE 2/66 ติดตามแผนพร้อมพี่เลี้ยง 3 0.00 0.00
14 ม.ค. 67 ค่าไวนิลจัดนิทรรศการ 1 1,200.00 1,200.00
15 ม.ค. 67 อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567 6 1,100.00 1,100.00
16 ม.ค. 67 ค่าไวนิลบันใดผลลัพธ์ 1 1,200.00 1,200.00
18 ม.ค. 67 ค่าตรายางหมึกในตัว 1 535.00 535.00
18 ม.ค. 67 ค่าตรายางจ่ายแล้ว 1 70.00 70.00
18 ม.ค. 67 ค่าจัดทำเอกสารและค่าอินเทอร์เน็ต 1 2,000.00 2,000.00
19 ม.ค. 67 ARE 3/66 ติดตามแผนพร้อมพี่เลี้ยง 2 0.00 0.00
23 ม.ค. 67 ค่าเดินทางวิทยากร 2 800.00 800.00
23 ม.ค. 67 ค่าวัสดุ-อุปกรณ์จัดนิทรรศการ 6 295.00 295.00
2 ประชุมคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 13,500.00 5 13,500.00
28 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงานครั้งที่ 1 10 2,700.00 2,700.00
16 ก.ย. 66 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน ครั้งที่2 10 2,700.00 2,700.00
12 ธ.ค. 66 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน ครั้งที่ 3 10 2,700.00 2,700.00
18 ธ.ค. 66 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน ครั้งที่ 4 10 2,700.00 2,700.00
22 ธ.ค. 66 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน ครั้งที่ 5 10 2,700.00 2,700.00
3 จัดหาแกนนำและอบรมพัฒนาศักยภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 9,500.00 1 9,500.00
10 ส.ค. 66 จัดหาแกนนำและอบรมพัฒนาศักยภาพ 20 9,500.00 9,500.00
4 อบรมคู่และครอบครัวผู้ใช้สารเสพติดเรื่องการลดอันตรายจากสารเสพติด และเรื่องการเห็นคุณค่าในตนเองดำเนินชีวิตอย่างสันติสุข กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 18,000.00 1 18,000.00
28 ส.ค. 66 อบรมคู่และครอบครัวผู้ใช้สารเสพติดเรื่องการลดอันตรายจากสารเสพติด และเรื่องการเห็นคุณค่าในตนเองดำเนินชีวิตอย่างสันติสุข 60 18,000.00 18,000.00
5 อบรมผู้ใช้สารเสพติดเรื่องการลดอันตรายจากสารเสพติดและเรื่องการเห็นคุณค่าในตนเองดำเนินชีวิตอย่างสันติสุข กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 18,000.00 1 18,000.00
29 ส.ค. 66 อบรมผู้ใช้สารเสพติดเรื่องการลดอันตรายจากสารเสพติดและเรื่องการเห็นคุณค่าในตนเองดำเนินชีวิตอย่างสันติสุข 60 18,000.00 18,000.00
6 กิจกรรมรณรงค์พื้นที่สร้างพื้นที่ลดอันตรายจากสารเสพติดภายในชุมชน มัสยิด โรงเรียน ร้านน้ำชา สนามฟุตบอล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 8,600.00 1 8,600.00
19 ก.ย. 66 กิจกรรมรณรงค์พื้นที่สร้างพื้นที่ลดอันตรายจากสารเสพติดภายในชุมชน มัสยิด โรงเรียน ร้านน้ำชา สนามฟุตบอล 30 8,600.00 8,600.00
7 แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานลดอันตรายจากการใช้สารเสพติดโดยชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 9,400.00 1 9,400.00
8 ม.ค. 67 แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานลดอันตรายจากการใช้สารเสพติดโดยชุมชน 20 9,400.00 9,400.00
8 จัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชน ให้คำปรึกษาเรื่องการลดอันตรายจากสารเสพติด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 6,600.00 1 6,600.00
10 ม.ค. 67 จัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชน ให้คำปรึกษาเรื่องการลดอันตรายจากสารเสพติด 30 6,600.00 6,600.00
9 ถอดบทเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 6,400.00 1 6,400.00
23 ม.ค. 67 กิจกรรมถอดบทเรียน 30 6,400.00 6,400.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 2 558.63
26 ม.ค. 67 ถอนเงิน เปิดบัญชี 0 0.00 500.00
26 ม.ค. 67 จ่าย ดอกเบี้ยให้กองคลัง 0 0.00 58.63

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • มีแกนนำดูแลผู้ใช้สารเสพติด คู่ และครอบครัวในชุมชน
  • ผู้ใช้สารเสพติด คู่ และครอบครัวรวม 60 คน มีความรู้ความเข้าใจ สามารถอธิบายในเรื่องการลดอันตรายจากสารเสพติด และการดูแลร่วมกัน
    มีศูนย์สุขภาพชุมชน สำหรับให้คำปรึกษาเรื่องการลดอันตรายจากสารเสพติด
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2566 14:43 น.