แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ชื่อโครงการ สร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ

รหัสโครงการ 56-01506 รหัสสัญญา 56-00-1427 ระยะเวลาโครงการ 1 กันยายน 2013 - 30 กันยายน 2014

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

  • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
  • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
  • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
  • กระบวนการชุมชน
  • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

องค์ความรู้ในการคัดแยกขยะจากครัวเรือนมาทำน้ำหมัก 1 1.ต้องเลือกเศษพืชผักที่ย่อยสลายง่าย
2.น้ำแกงเผ็ดไม่ควรใช้เพราะทำให้การย่อยสลายช้า 3.น้ำซุป น้ำแกงจืดที่ใส่ผงชูรสไม่ควรนำมาทำเพราะขัดขวางการย่อยสลายการหมัก 4.เปลือกส้ม ผิวส้มไม่ควรนำมาทำ
5.ควรใช้เศษผลไม้ที่มีรสหวานเพื่อลดต้นทุนการใช้กากน้ำตาล

จากการถอดบทเรียน

พัฒนาองค์ความรู้จากการทดลองนำวัสดุต่างๆในชุมชนมาทดลองสูตรใหม่ๆ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ จากการทำโครงการ คือ 1.สบู่ขมิ้น เป็นการนำเอาขมิ้นมาทำสบู่ บำรุงผิว 2.แชมพูมะกรูด นำมะกรูดมาทำน้าสระผม ลดการนำสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย 3.น้ำยาอเนกประสงค์ ใช้มะนาว เพื่อลดไขมัน ทำให้สะอาด 3.สมุนไพรยาสีฟันสมุนไพร ใช้รากข่อย เป็นภูมิรู้ของบรรพบุรุษ 4.สมุนไพรไล่แมลงข่า สะเดาใบเทียม ฟ้าทะลายโจร กากน้ำตาล ฉีดไล่แมลงได้ดี หมักนาน 3 เดือน

1.น้ำยาอเนกประสงค์ 2.สมุนไพรยาสีฟันสมุนไพร  3.สมุนไพรไล่แมลง

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. กระบวนการใหม่

เดิมทำงานแบบตัวใครตัวมัน หรือมีกลุ่มบ้าง แต่ไม่มีการรวมตัวกันเท่าไร ไม่ให้ความร่วมมือในการพัฒนา ปัจจุบันมีการรวมตัวทำงานเป็นกลุ่ม แบ่งหน้าที่ทำงาน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม มีการชักชวน และสร้างภาคีเครือข่ายร่วมทำงาน

1.บันทึกการประชุมและลายมือชื่อผู้เข้าร่วมประชุม 2.การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ศูนย์เรียนรู้ในชุมชน 3.มีฐานเรียนรู้ของชุมชนเรื่องปุ๋ยหมัก น้ำยาเอนกประสงค์ 4.มีภาคีร่วมทำงานและสนับสนุนกิจกรรมได้แก่ -อบต.เขาพระบาทเป็นพี่เลี้ยงดำเนินงาน -รพ.สต.เขาพระบาท สนับสนุนวิทยากร -พัฒนาชุมชน ให้ความรุ้บัญชีครัวเรือน -เกษตรอำเภอ สนับสนุนวิทยากร

พัฒนาให้เกิดเป็นสภาชุมชน ทำงานโดยมีคณะกรรมการ สร้างการมีส่วนร่วม สร้างกติการ่วมกัน จนเป็นธรรมนูญหมู่บ้าน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

รวมกลุ่มทำงาน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ มอบหมายงานอย่างเป็นทางการ มีการทบทวนและชี้แจงบทบาทของแต่ละบุคคล ทุกคนทำงานด้วยความสมัครใจ มีกลุ่มเกิดขึ้นคือ กลุ่มทำสบู่ น้ำยาเอนกประสงค์ น้ำหมักชีวภาพ กลุ่มเยาชนมีการเรียนรู้และร่วมทำกิจกรรม

1.มอบหมายหน้าที่การทำกิจกรรมในการพัฒนา 2.บันทึกการประชุม

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

มีกลุ่มใหม่เกิดขึ้นได้แก่ กลุ่มนักเีรยนร่วมปลูกผักปลอดสารพิษ เกิดกลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ กลุ่มน้ำยาเอนกประสงค์  กลุ่มยาสระผมมะกรูด

ทะเบียนรายชื่อและสมาชิกกลุ่ม

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

มีการจัดทำฐานเรียนรู้ในชุมชนจำนวน 4 ฐานได้แก่ 1.ฐานเรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ 2.ฐานเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ 3.ฐานเรียนรู้เกี่ยวกับสบู่ขมิ้น ยาสระผมมะกรูด

มีการจัดทำฐานเรียนรู้ในชุมชนจำนวน 3 ฐานได้แก่ 1.ฐานเรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ 2.ฐานเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ 3.ฐานเรียนรู้เกี่ยวกับแชมพูมะกรูด สบู่ขมิ้น

พัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้มีชีวิต และใช้ทุนทางสังคม

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

การสร้างภาคีเครือข่าย มีการเชิญชวนภาคีเครือข่าย เข้ามาเป็นสมาชิกและร่วมทำงาน โดยให้การสนับสนุนบุคลากร ความรู้วิชาการและงบประมาณเพิ่มเติมในการพัฒนา ตลอดจนมีการถ่ายทอดความรู้และเผยแพร่กระบวนการพัฒนาไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง มีการสนับสนุนดังนี้ 1.กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาพระบาท ให้การสนับสนุนถังหมักชีวภาพ 2.รพ.สต.เขาพระบาท  และ อบต.เขาพระบาทร่วมเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 3.พัฒนาชุมชน เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้เรื่องบัญชีครัวเรือน

1.บันทึกการประชุม 2.หลักฐานการสนับสนุนงบประมาณแต่ละกิจกรรม 3.ภาพถ่ายการทำกิจกรรม

 

2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

1.ครัวเรือนเป้าหมาย  ได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีลดสารเคมี 2.ครัวเรือนเป้าหมาย ได้รับความรู้เกี่ยวกับสุขบัญญัติส่วนบุคคล 3.ครัวเรือนเป้าหมาย ร่วมกันกำจัดขยะโดยการทิ้งขยะที่ย่อยสลายได้ ลงถังหมักชีวภาพ 4.ครัวเรือนเป้าหมายได้รับความรู้เพิ่มเติมจากบุคลากร รพ.สต.เขาพระบาท 5.ครัวเรือนเป้าหมายได้รับถังหมักชีวภาพ สนับสนุนจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ ต.เขาพระบาท

1.ภาพถ่ายกิจกรรม 2.บันทึกการเข้าร่วมกิจกรรม

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การบริโภค

1.กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภค จากการเก็บข้อมูลพบว่า ร้อยละ 100 ครัวเรือนเป้าหมาย ปลูกผักสดไว้กินเองข้างบ้าน โดยไม่ต้องซื้อผักกิน รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนกันผักด้วยกันเอง 2.ร้อยละ 100 ครัวเรือนเป้าหมาย มีการจัดการขยะที่ย่อยสลายได้ในครัว ขยะที่เหลือจากครัวเรือน โดยทิ้งลงถังหมักชีวภาพ

1.บันทึกการถอดบทเรียนโดยพี่เลี้ยงพื้นที่ 2.ทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การออกกำลังกาย

1.ครัวเรือนเป้าหมายได้ออกกำลังกายจากวิถีชีวิตคือ ส่งให้มีการออกแรงโดยการขุดดิน ปลูกผัก รดน้ำต้นไม้ แต่ละวันใช้เวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที

1.ข้อมูลถอดบทเรียนโดยพี่เลี้ยงพื้นที่

2.จากการเก็บข้อมูล เยี่ยมติดตามผลงาน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

1.มีการติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณที่ประชุมและศูนย์เรียนรู้ชุมชน และบ้านกลุ่มเป้าหมาย

1.ป้ายห้ามสูบบุหรี่ติดไว้ที่อาคารเอนกประสงค์และศูนย์เรียนรู้ชุมชน 2.ป้ายรณรงค์ลด ละเลิกบุหรี่ที่บ้านครัวเรือนเป้าหมาย

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

1.กลุ่มเป้าหมายที่เข้ากิจกรรมมีการพูดคุย และมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนามากขึ้น แบ่งหน้าที่กันทำงาน เส่ียสละ

2.ประชาชนในหมู่บ้าน มีสีหน้ายิ้มแย้มมากขึ้น เพราะได้ร่วมกันพัฒนางานในหมู่บ้าน เพราะกิจกรรมทำให้คนสุขภาพดี ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สอดคล้องกับวิถีชีวิตประจำวัน

3.กิจกรรมดังกล่าว ทำให้ประชาชนหันหน้ามาพูดคุยมากขึ้น สร้างความสุขให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน

1.จากการถอดบทเรียนพบว่าครัวเรือนเป้าหมาย ลดการซื้อเครื่องปรุงรส ลดรายจ่าย 2.ทุกครัวเรือนเป้าหมาย ปลูกผักกินเองที่บ้านและผักที่เหลือนำไปขาย มีรายได้

ต่อยอดกิจกรรม โดยใช้วิถีวัฒนธรรมชุมชนร่วมด้วย เพื่อสร้างคุณค่าให้เกิดกับกลุ่มคน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

1.นำสมุนไพรในชุมชน มาใช้ในการทำน้ำยาเอนกประสงค์ เช่น -น้ำมะนาวนำมาทำเป็นน้ำยาล้างจาน  ทำให้สะอาด ลดไขมัน หอมกลิ่นมะนาว -นำมะขาม มาทำเป็นสบู่ทำให้ผิวขาว หรือนำขมิ้นมาทำสบู่ทำให้ผิวสวย
-นำมะกรูด มาทำเป็นแชมพู
-นำยาเส้น ยากลาย มาผสมกับปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อใช้ไล่แมลง

1.สบู่ขมิ้น แชมพู มีทีบ้านกลุ่มเป้าหมาย และมีฐานเรียนรู้บ้านบ้านผู้ใหญ่ 2.น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ มีประจำไว้ที่ฐานเรียนรู้ที่วัดทองพูน

พัฒนาต่อยอดเป็นฐานเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

1.ครัวเรือนเป้าหมาย ลดการใช้เครื่องปรุงรส โดยใช้ผักสด หรือปรุงอาหารสดๆ  ทำให้ได้รสชาติที่หวาน กลมกล่อม 2.ครัวเรือนเป้าหมาย ลดปริมาณขยะโดยการทำเป็นปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพ 3.ครัวเรือนเป้าหมาย  เรียนรู้ที่จะอยู่อย่างมีความสุข บนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

1.จากบันทึกข้อมูลการถอดบทเรียนของพี่เลี้ยงพื้นที่ 2.บันทึกการทำกิจกรรมของครัวเรือนเป้าหมาย

พัฒนาต่อยอดเป็นฐานเรียนรู้ด้านสุขภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
9. อื่นๆ

 

 

 

3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

1.มีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ โดยใช้เศษอาหารที่เหลือจากในครัวเรือน ไม่ใช้เศษอาหารทีมีผงชูรส หรือน้ำแกงที่เหลือ

1.บันทึกการทำกิจกรรมของครัวเรือนเป้าหมาย

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

1.เป็นกลวิธีที่ส่งเสริมให้ครอบครัวได้อยู่ร่วมกัน ได้ช่วยกันทำงานบ้าน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ หลังจากกลับโรงเรียนนักเรียน ช่วยพ่อแม่ปลูกผัก ช่วยรดน้ำผัก ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 2.วันหยุด นักเรียน มารวมตัวทำกิจกรรมที่วัดทองพูน

1.ข้อมูลที่ได้จากการพูดคุยและถอดบทเรียนในชุมชนจากพี่เลี้ยง

พัฒนาต่อยอดโดยการนำวัฒนธรรมชุมชนมาบูรณาการร่วมกับการสร้างสุขภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

1.ครัวเรือนเป้าหมาย  ลดรายจ่ายในการซื้อเครื่องปรุงรสน้อยลงทุกครัวเรือน ลดการซื้อน้ำยาเอนกประสงค์ทุกครัวเรือน จากเดิมซื้อน้ำยาล้างจาน ครัวเรือนละ 1-2 ถุง ถุงละ 27 บาท เดือนละ54 บาท ปีละ 350 ลดเหลือปีละ 250 บาท ลดได้ปีละ 100 บาท
2.ครัวเรือนเป้าหมาย มีการปลูกผักสดไว้รับประทานเองข้างบ้าน โดยไม่ต้องซื้อจากรถเร่ ได้อาหารสะอาด สด ปลอดสารเคมี

1.ภาพถ่ายครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม 2.บันทึกการติดตามเยี่ยมของทีมงาน 3.บันทึกการติดตามเยี่ยมบ้านโดยพี่เลี้ยงพื้นที่

พัฒนาต่อยอดเป็นการเรียนรู้บัญชีครัวเรือน บัญชีชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. อื่นๆ

 

 

 

4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

มีการตั้งกติกากลุ่มคือ 1.เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการ ให้เก็บรวบรวมไว้ที่กองกลางคือฐานเรียนรู้แต่ละแห่ง ใครต้องการใช้ให้มายืมและเก็บไว้ที่เดิม ดังนี้ 1.1 วัสดุเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักชีวภาพ ยืมได้จากศูนย์เรียนรู้บ้านผู้ใหญ่บ้าน 1.2 วัสดุเกี่ยวกับการทำน้ำยาเอนกประสงค์ ยืมได้ที่บ้านคุณวันดี

1.เครื่องมือ-เครื่องใช้ และอุปกรณ์เก็บไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ไว้เป็นกองกลาง

จัดทำเป็นแผ่นป้ายเพื่อแสดงให้ทุกคนได้รับรู้ และเป็นกฎบังคับใช้ในชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

1.มาตรการในการปลูกผัก ถ้ามอบเมล็ดผักไปให้แล้ว ยังไม่ปลูกหรือเพาะชำ เมื่อทีมงานไปเยี่ยม ก็จะถูกตัดสิทธิ์ในรอบถัดไป ไม่อนุญาตให้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อยเป็นเวลา 1 เดือน 2.มาตรการในการทำน้ำหมักชีวภาพ ถ้ามอบถังให้แล้ว ไม่ทำน้ำหมักชีวภาพหรือนำถังไปใส่น้ำ ก็จะถูกยึดคืนและตัดสิทธิ์ทุกกิจกรรม

1.บันทึกการประชุมประจำเดือนในการกำหนดมาตรการที่เข้าร่วมกิจกรรม

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีธรรมนูญของชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

 

 

 

5. เกิดกระบวนการชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

มีการเชื่อมโยงกับภาคีเครือข่ายเพื่อเข้าร่วมกระบวนการพัฒนา ดังนี้ 1.ผุ้ใหญ่บ้าน เป็นผู้เปิดเวทีประชุมและให้ความสำคัญต่อการพัฒนาหมู่บ้าน 2.กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาพระบาท ให้การสนับสนุนงบประมาณร่วมพัฒนา ถังหมักชีวภาพ 100 ใบ 3.ชมรม อสม.ให้การสนับสนุนในการพัฒนางานในพื้นที่และเป็นพี่เลี้ยงร่วม 4.รพ.สต.เขาพระบาท ให้การสนับสนุนบุคลากรและวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้

1.หลักฐานการประชุม 2.หลักฐานที่ศูนย์เรียนรู้ คือปุ๋ยชีวภาพ 3.หลักฐานที่บ้านกลุ่มเป้าหมายคือถังหมักชีวภาพ

พัฒนาต่อยอดให้เกิดสภาชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

1.ประชาชน ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาและวิธีพัฒนาชุมชน คือร่วมกำหนดแนวทางพัฒนา ใช้หลักการคือความสมัครใจ ร่วมพัฒนาความสามารถ การเลือกวิธีการโดยการโหวดหาข้อยุติ 2.โดยการเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน และรับฟังทุกความคิด 3.ทุกคนต้องร่วมกันทำข้อมูล ร่วมทำเอกสารตามโครงการ การใช้จ่ายเงินต้องเคลียร์ โปร่งใส และชัดเจน 4.ทุกคนต้องร่วมกันประเมินผล

1.บันทึกการประชุมของคณะกรรมการ 2.บันทึกเอกสารการถอดบทเรียน

พัฒนาต่อยอดให้เกิดการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านในสภาชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

1.ด้านวิชาการ ได้เชิญวิทยากรจากภายนอกชุมชขนและในชุมชน เช่น เรื่องสารเคมี เชิญวิทยากรจาก รพ.สต.เขาพระบาท ด้านน้ำหมักชีวภาพเชิญปราช์ญ์ชุมชน  บัญชีครัวเรือนเชิญพัฒนาชุมชน

1.บันทึกการประชุมประจำเดือน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

1.มีการจัดทำฐานเรียนรู้ในชุมชน มีการมอบหมายหน้าที่ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดเวลา

1.บันทึกการประชุมประจำเดือน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

1.กลุ่มมีการประชุมและเก็บข้อมูลเสมอ 2.กลุ่มมีการรวบรวมความรู้

1.เอกสารความรุ้ของกลุ่ม

พัฒนาต่อยอดการจัดการความรู้ชุมชนโดยสภาชุมชน และห้องสมุดชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

1.มีการพูดคุยและสรุปผลการดำเนินงาน ทำให้เกิดการเรียนรู้สิ่งที่ดี แนวทางที่ดี ได้แก่ สบู่ ยาสระผมสมุนไพร นำ้หมักชีวภาพ การทำน้ำยาเอนกประสงค์  สามารถลดรายจ่ายครัวเรือนละ 100 บาทต่อปี

1.บันทึกการประชุมประจำเดือน 2.สรุปผลการถอดบทเรียน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. อื่นๆ

 

 

 

6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

1.ชุมชนได้ร่วมมือกันถ่ายทอดความรู้ให้แก่เพื่อนบ้านและกลุ่มนักเรียน
2.ทีมงานรู้สึกภูมิใจที่ได้เสียสละ  ช่วยเหลือสังคม และพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่

1.ภาพถ่ายการทำกิจกรรม
2.บันทึกการประชุมประจำเดือน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

1.ทีมงาน ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน สอบต. กลุ่ม          อสม.และทีมงาน ร่วมมือกันเป็นหนึ่งเดียว  ทำงานด้วยความเสียสละ ไม่มีค่าตอบแทน แต่ทุกคนมีจุดหมายเดียวกันคือ ทำเพื่อพี่น้องประชาชนให้มีความสุข บนพื้นฐานความพอเพียง

1.บันทึกการถอดบทเรียน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ทำสบู่ ทำแชมพู ปลูกผักกินเองไว้กินเอง ภายใต้คำพูด “ทุกวันนี้เราต้องประหยัด อะไรทำเองได้ต้องทำ ผักปลูกเองได้ ก็ต้องปลูกเอาไว้กิน อย่าไปซื้อทั้งหมด”

2.ปัจจุบันดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ได้กินผักสด รสชาดหวานอร่อย ไม่เสียเวลา ไม่ปนเปื้อนสารเคมี

1.บันทึกการถอดบทเรียน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

1.ชุมชนให้ความเชื่อถือ ช่วยเหลือกัน ให้ความเคารพกัน 2.ชุมชนเกิดความรัก ความสามัคคี มองเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน

1.ภาพถ่ายการทำกิจกรรมร่วมกัน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

1.แกนนำและประชาชนมีการระดมความคิดในเวทีประชาคมและถอดบทเรียน โดยทุกคนมีสิทธิ์ออกความคิดเห็นและเคารพสิทธิระหว่างบุคคล 2.มีการนำภูมิปัญญา ระดมทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ในการพัฒนา ได้แก่ ทำสบู่ขมิ้น แชมพูมะกรูด สอนโดยปราชญ์ชุมชน
3.การตัดสินใจทุกครั้งใช้มติของที่ประชุม  การทำกิจกรรมหรือจัดสรรวัสดุอุปกรณ์ ใช้หลักข้อตกลงจากมติกลุ่มตามลำดับ

1.บันทึกการประชุมประจำเดือน

พัฒนาต่อยอดเป็นฐานเรียนรู้ภูมิปัญญาเพื่อสร้างคุณค่าของคนในชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. อื่นๆ