directions_run

หมู่บ้านตือระร่วมมือร่วมใจสร้างสามัคคีสู่ชุมชนเข้มแข็ง

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 1.ชุมชนได้สภาชุมชนสามารถแก้ปัญหาให้กับชุมชนได้
ตัวชี้วัด : 1. มีสภาชุมชนอย่างน้อย 1 สภา 2. มีศูนย์ประสานงานช่วยเหลือชุมชนทีมัสยิดโดยรียมีคณะทำงานเพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่สามารถเชื่อมโยงกับบทบาทสภาผู้นำ 3. มีการประชุุมสมัยสามัญ ประจำเดือน เดือนละ 1 ครั้ง และสมัยวิสามัญขึ้นอยู่กับความเหมาะสม 5. มีการกำหนดนโยบายสาธารณะในท้องถิ่นและมีมาตรการทางสังคมประณีประน้อมเพื่อให้ประชาชนในชุมชนปฏิบัติ

 

 

  • เกิดสภาผู้นำชุมชน สมาชิกสภา 35 คน มีการประชุมอย่างต่อเนื่องเดือนละ 1 ครั้งทั้งนี้โดยรวมเป็นลักษณะการให้ความเห็น ปรับรูปแบบและการติดตามโครงการ เป็นระยะๆ ในส่วนนโยบายสาธารณะชุมชนอยู่ระหว่างการระดมความเห็นระหว่าง สภาและชุมชน เพิ่มเติมศูนย์ประสานงานนั้นไม่เกิดที่มัสยิดแต่บ้านผู้ใหญ่บ้านเป็นศูนย์ประสานงาน ถ้าชาวบ้านมีปัญหาก็จะไปหาผู้ใหญ่บ้านเพื่อขอความช่วยเหลือเช่นปัญหาไม่สามารถที่จะแบ่งมรดกระหว่างพี่น้องกัน ผู้ใหญ่บ้านรับเรื่องแล้วก็จะนำปัญหาไปพูดคุยกับอีหม่ามและผู้รู้ด้านศาสนาและจะหาทางออกและดำเนินการต่อไป การกำหนดนโยบายสาธารณะนั้นโดยแจ้งให้ทุกฝ่ายรับทราบเกี่ยวกับชายหญิงที่มิได้เป็นสามีภรรยากันหากพบอยู่ที่ปลอดผู้คนสองต่องก็จะมีการตักเตือนแต่หากมีการปฎิบัติที่เกินเลยระหว่างชายหญิงก็จะมีมาตรการโดยบังคับแต่งงานกัน
2 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรักความสามัคคีในชุมชนและมีตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. ประชาชนมีส่วมร่วมและมีความสามัคคีในชุมชนมากขึ้น คณะทำงานในหมู่บ้านทุกภาคส่วนมีความรับผิดชอบร่วมกันในชุมชนเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับคนในชุมชน ช่วงที่มีกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ในชุมชนประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือและออกมาเพื่อทำงานร่วมกัน40-50 คนจากเดิมนั้นออกมาเพียง 15-20 คนเท่านั้น 2. ชุมชนมีแผนดำเนินงานในชุมชนได้อย่างชัดเจนและเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น แผ่นงานในชุมชนโดยมีปฎิทินกิจกรรมของชุมชนตลอดทั้งปีและสามารถปฎิบัติตามที่กำหนด 3. ชุมชนมีพื้นที่มัสยิดเป็นศูนย์กลางของชุมชนได้

 

 

  • จากกิจกรรมโครงการในชุมชนทำให้เกิดความสามัคคีมากขึ้น โดยกิจกรรมส่วนใหญ่ใช้มัสยิดเป็นสถานที่ในการจัดประชุมทีมงานและเริ่มต้นของกิจกรรมต่าง ๆ และได้ขอบเขตขยายกิจกรรมไปยังสถานที่สาธารณะอื่น ๆ ของชุมชน แผนการดำเนินของชุมชนยังใช้แผนงานโครงการเป็นหลักยังไม่เป็นรูปแบบของชุมชนอย่างชัดเจน ปัจจุบันนี้ประชาชนมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆของชุมชนมีประมาณ 70-80 คน และในชุมชนมีแผ่นงานของชุมชนโดยยึดหลักวันสำคัญทางศาสนาโดยจะมีกิจกรรมตามวันสำคัญของศาสนา และมีมัสยิดเป็นศูนย์กลางโดยมีการประชุม และจัดกิจกรรมต่างๆก็จะใช้พื้นที่มัสยิด
3
ตัวชี้วัด :

 

 

 

4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

 

 

  • ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าร่วมกิจกรรมกับสจรส.และพี่เลี้ยงเป็นระยะ มีการจัดทำป้ายปลอดบุหรี่ สามารถส่งรายงานตามกำหนดงวด รายงานฉบับสมบูรณ์