โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่าย ม.15 บ้านในใส ต.ละงู

อบรมและลงมือปฏิบัติเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่ายที่สามารถใช้ได้จริง17 กรกฎาคม 2016
17
กรกฎาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายสิดดิก เอียดดี
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่ออบรมทำความเข้าใจการทำบัญชีครัวเรือนให้กับคนในชุมชนที่สามารถลดรายจ่ายได้
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 17 กรกฏาคม 2559 เวลา 10.00 น. ณ อาคารเอนกประสงค์ บ้านในใส หมู่ที่15 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยคณะทำงานผู้ใหญ่บ้านนายสิดดิกเอียดดีกล่าวเปิดการประชุมผู้รับผิดชอบโครงการนายชะดีนยังดีได้เชิญวิทยากรนางสมปองบุญฤทธิ์เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนตำบลละงูได้อบรมเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่ายให้กับครัวเรือนเป้าหมายโดยสอนการลงรายรับรายจ่ายให้กับครัวเรือนนำร่องคือรายรับ1.ขายผลผลิตจากการำทำนาทำไร่ทำสวนเช่นข้าวพืชผักผลไม้เป็นต้นรวมทั้งการขายพืชหรือสัตว์ที่หาได้จากแหล่งน้ำ2.ขายสัตว์เลี้ยงเช่นหมูวัวเป็ดไก่แพะแกะปลากุ้งหอยปูสุนัขและผลผลิตจากสัตว์เลี้ยงเช่นไข่มูลสัตว์ซากสัตว์เป็นต้น3.การขายสินค้าที่ซื้อมาการขายอาหารขายผลิตภัณฑ์4.ค้าจ้างการทำงานหรือให้บริการ5.เงินเดือนเบี้ยเลี้ยงค่าคอมมิชชั่น6.รายได้จากการเสี่ยงโชค7.เงินที่ลูกหลานญาติพี่น้องที่อาศัยอยู่นอกครัวเรือนหรืืออยู่ที่อื่นส่งมาให้8.รายได้จากแหล่งอื่นๆเช่นเงินที่ผู้อื่นช่วยงานต่างๆดอกเบี้ยเงินปันผลเงินสงเคราะห์หรือลาภลอยเป็นต้นโดยให้บันทึกรายการรายรับทั้ง8ข้อเป็นสัปดาห์หรือเป็นอาทิตย์แล้วมาสรุปรายรับส่วนรายจ่ายคือหมวดที่1.ค่าใช้จ่ายเพื่อการประกอบอาชีพ1.1 ค่าจ้างแรงงาน1.2 ค่าเช่าหรือซื้อวัสดุอุปกรณ์หรือลงทุนเครื่องมือในการประกอบอาชีพเป็นต้น1.3 ค่าพลังงานและน้ำมันในการประกอบอาชีพ1.4 ค่าปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยอินทรีย์รวมทั้งยาขับไล่แมลงชีวภาพ1.5 ค่าปุ๋ยเคมี เช่นปุ๋ยยูเรียปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆฮอโมนเป็นต้น1.6 ยาค่าแมลงยาปราบศัตรูพืช1.7 ซื้อสัตว์เพื่อประกอบอาชีพเช่นวัวนกปลาหมูไก่เป็นต้น1.8 ค่าใช้จ่ายอื่นนอกจากที่ระบุหมวดที่2ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในครัวเรือน2.1 ข้าวสารทุกชนิด2.2เนื้อสัตว์ที่ใช้เป็นอาหาร2.3ผักสดเครื่องเทศผลไม้2.4 ไข่ทุกชนิด2.5 อาหารแห้งอาหารกระป๋องอาหารสำเร็จรูปเป็นต้น 2.6 อาหารสำเร็จที่ซื้อจากร้าน เช่น ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยว กับข้าวถุง ขนมหวา ไอศครีม 2.7 น้ำดื่มสะอาด เช่น น้ำแร่ น้ำโพลาริส เป็นต้น 2.8 น้ำอัดลม ชา กาแฟ เครื่องดื่มเกลือแร่ เช่น สปอนเซอร์ ่นมทุกชนิด โอวัลติล ไมโล โกโก้ นำ้ผลไม้ 2.9 ค่าเชื้อเพลิงในการหุงต้ม เช่น แก็ส ถ่าน ฟืน เป็นต้น หมวดที่ 3 ค่าใช้จ่ายค่ายาและเครื่องนุ่งห่ม 3.1 ค่ายาและค่ารักษาพยาบาล 3.2 เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และเครื่องนอนของสมาชิกในครัวเรื่อน 3.3 ค่าใช้จ่ายในการเสริมสวย เช่น ตัดผม ดัดผม ย้อมผม เครื่องสำอาง ครีมบำรุงผิด เป็นต้น 3.4 ของใช้ประจำวัน เช่น สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยาสระผม ผงซักฟอก จาน ชาม ช้อน ผ้าอานามัย ของเด็กเล่น เป็นต้น หมวดที่ 4 ค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัย 4.1 ซ่อมแซม ต่อเติม หรือปลูกบ้าน หรือ ปรับปรุงบริเวณบ้าน 4.2 ค่าซ่อมหรือซื้อเครื่องใช้ในบ้าน เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น พัดลม วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เฟอร์นิเจอร์ 4.4 ค่าโทรศัพย์ทั้งครัวเรือน ที่จ่ายเป็นรายเดือน และค่าบัตรโทรศัพท์เติมเงิน 4.5 ค่าภาษีต่างๆ เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ ที่ดิน ป้าย ร้านค้า ภาษีโรงเรือน ค่าเก็บขยะ เป็นต้น หมวด 5 ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนและงานสังคม 5.1 จ่ายดอกเบี้ย และผ่อนใช้หนี้เงินกู้ เงินยืม เล่นแชร์ 5.2 เงินทำบุญ หรือเงินช่วยงาน เช่น งานแต่งงาน งานศพ บวชนาค เป็นต้น 5.3 เงินเดือนหรือเงินที่ส่งไปช่วยเหลือญาติในครอบครัวที่อยู่ที่อื่น 5.4 จ่ายที่พักผ่อนหย่อนใจ เช่น ค่าตั๋ว ดูหนัง ดนตรี ลิเก และการแสดงอื่นๆ รวมถึง ค่าหนังสือพิมพ์ หนังสือ นิตยสาร ซื้อสัตว์เลี้ยง หรือไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น หมวด 6 ค่าใช้จ่ายในการศึกษา 6.1 ค่าเทอม ค่าเรียนพิเศษ ค่ากิจกรรมพิเศษ 6.2 ค่าอุปกรณ์การเรียน และชุดนักเรียน ชุดพละ ชุดลูกเสือน เนตรนารี ยุวกาชาด 6.3 ค่าขนมที่ให้เด็กไปโรงเรียนรายวันน หรือรายเดือน 6.4 ค่ารถรับส่งเด็กไปโรงเรียนแบบประจำวันและรายเดือน หมวดที่ 7 ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น 7.1 ขนมขบเคี้ยว ขนมกรุบกรอบ ลูกอม 7.2 เครื่องดื่มชูกำลัง เช่น ลิโพ กระทิงแดง เอ็มร้อย เอ็มร้อยห้าสิบ 7.3 เหล้า เบียร์ ยาดอง ไวน์ กระแช่ สาโท 7.4 ยาสูบ บุหรี่ หมาก ยานัตถุ์ 7.5 เงินที่เสียไปโดยไม่่เต็มใจ เช่น ทำเงินหาย หรือถูกขโมย ถูกปรับ 7.6 เงินที่จ่ายเพื่อการเสี่ยงโชค และเงินเสี่ยงดวงในรูปแบบต่างๆ เช่น ซื้อหวย ล็อตเตอรี่ หรือสลากกินแบ่ง โดยบันทึกเป็นรายสัปดาห์ แบบบันทึกเงินออมและหลักประกัน 1. จ่ายเบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันภัย 2. ฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตร ฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ ออมเงินกู้ 3. ซื้อทอง เงิน นาก เพชร พลอย และเครื่องประดับที่มีค่าอื่นๆ 4. เงินสด เงินดาวน์ หรือเงินผ่อน เพื่อซื้อหรือเช่าที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ 5. เงินสด เงินดาวน์ หรือเงินผ่อน เพื่อซื้อยานพาหนะ เช่นรถยนต์ รถกระบะ จักรยาน มอเตอร์ไซด์ เรือ แบบบันทึกหนี้สิน 1. ยอดเงินกู้ในระบบ 1.1 เพื่อการลงทุนและการประกอบอาชีพ อัตราดอกเบี้ย..................% 1.2 เพื่อการศึกษาบุตรหลานอัตราดอกเบี้ย...............% 1.3 เพื่อการใช้จ่ายอื่นๆ อัตราดอกเบี้ย............% 2. ยอดเงินกู้นอกระบบ 2.1 เพื่อการลงทุนและการประกอบอาชีพ อัตราดอกเบี้ย............% 2.2 เพื่อการศึกษาบุตรหลานอัตราดอกเบี้ย...............% 2.3 เพื่อการใช้จ่ายอื่นๆ อัตราดอกเบี้ย............% 3. การผ่อนใช้หนี้เงินกู้ในระบบ - เงินต้น -ดอกเบี้ย 4.การผ่อนใช้หนี้เงินกู้นอกระบบ -เงินต้น -ดอกเบี้ย โดยให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เข้าใจและทำบัญชีได้อย่างถูกต้องและสามารถรู้ได้รู้รายรับรายจ่ายของคนในครัวเรือนเพื่อนำไปใช้ได้อย่างพอเพียงต่อจากนั้นให้ผู้เข้าร่วมอบรมทำบัญชีครัวเรือนได้สอบถามข้อที่สงสัย นายชะดีน ยังดี ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวขอขอบคุณวิทยากรนางสมปอง บุญฤทธิ์ พักรับประทานอาหาร นางสาวอารีรัตน์ เอียดดี คณะทำงานได้ชี้แจงนัดหมายการประชุมครั้งต่อไปวันเวลาอาจเปลี่ยนแปลงได้ ปิดประชุมเวลา 15.00 น.
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ครัวเรือนนำร่องจำนวน 50 ครัวเรือน ได้รับทราบและเข้าใจในการทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่ายได้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิทยากโดยสอบถามข้อสงสัยในการทำบัญชีครัวเรือนและสามารถทำได้ทุกเดือนผู้เข้าอบรมสามารถทำบัญชีครัวเรือนเองได้และเข้าใจรายละเอียดของรายรับและรายจ่าย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • ครัวเรือนต้นแบบที่เข้าร่วมจำนวน 50 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- อนัญญาแสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี