directions_run

ร่วมสร้างชุมชนบ้านดอนตาบ่าวให้น่าอยู่ คลองสวยน้ำใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ปี 2

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อส่งเสริมบทบาทของสภาผู้นำชุมชนในการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด : สภาผู้นำมีความเข้มแข็ง โดย 1. สภาผู้นำชุมชนมีความการประชุมทุกเดือน 2. ร้อยละ 80ของlสมาชิกสภาผู้นำชุมชนร่วมประชุม 3. มีการประชุมเรืองโครงการและเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง

 

 

สภาผู้นำชุมชนมีความเข็มแข็งในการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมด้วยการ 1. สภาผู้นำชุมชนมีความการประชุมทุกเดือนจำนวน11 ครั้ง 2. สมาชิกสภาผู้นำชุมชนร่วมประชุมมากกว่าร้อยละ 80 ของสมาชิก 3.ทุกครั้งที่มีการประชุมโครงการจะมีเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่นเรื่องพฤติกรรมสุขภาพ กองทุนสวัสดิการชุมชน เป็นต้น

2 เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมของชุมชนในการจัดการขยะ
ตัวชี้วัด : 1. ปริมาณขยะลดลงร้อยละ 50 2. มีการคัดแยก กำจัด จัดการที่ถูกต้อง 3. มีการแปรรูปขยะและเกิดผลผลิตในครัวเรือนจากขยะ 4. มีการใช้ภาชนะอื่นแทนพลาสติกและโฟม

 

 

  1. ปริมาณขยะลดลงร้อยละ 45 (น้อยกว่าเป้าหมาย:50%)
  2. มีการคัดแยก กำจัด จัดการที่ถูกต้อง
  3. มีการแปรรูปขยะและเกิดผลผลิตในครัวเรือนจากขยะ ด้วยการทำปุ๋ยหมักใช้ในแปลงผักและต้นไม้
  4. มีการใช้ตะกร้าที่ร่วมกันทำเอง ลดการใช้พลาสติกและโฟม และไม่ใช้พลาสติกและโฟมในครัวเรือนต้นแบบ 10 ครัวเรือน
3 เพื่อส่งเสริมให้เกิดกลไกการดำเนินงานเข้มแข็ง
ตัวชี้วัด : 1. คนในชุมชนปฏิบัติตามกติกาและนโยบายสาธารณะในการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม ที่จัดทำขึ้น 2. ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรจากหน่วยงานอื่น

 

 

  1. คนในชุมชนปฏิบัติตามกติกาและนโยบายสาธารณะในการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม ที่จัดทำขึ้นเป็นกติกาชุมชนประกอบด้วย 1)ทุกครัวเรือนมีการแยกเก็บขยะได้อย่างถูกต้อง 2)ขยะแห้งเก็บไว้ขาย/ไว้ใช้ซ้ำ/ทิ้งถังขยะ3)ขยะเปียกทำปุ๋ยหมักชีวภาพหรือขุดฝังขยะอันตรายแยกเก็บใส่ถุงที่ปลอดภัยก่อนทิ้งหรือขาย รวมทั้งชุมชนต้องจัดการชุมชนและหน้าบ้านตนเองให้น่ามองด้วยการจัดการให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นต้น

  2. ไ้รับงบประมาณสนับสนุนทรัพยากร เช่นกำลังพลจากค่ายเขตอุดมศักดิ์และอุปกรณ์จากเทศบาลเมืองชุมพรในการพัฒนาชุมชน และมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยบริการปฐมภูมิเมืองชุมพรในการตรวจสุขภาพเบื้องต้นและให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพทุกเดือน

4 เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตัวชี้วัด : 1. เกิดชุดตีกลองยาวโดยผู้สูงอายุ วัยทำงาน เยาวชนในชุมชน 2. เกิดความร่มรื่น สวยงามจากปลูกต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ชุมชนริมถนนทุกสาย 3. มีเมนูอาหารชุมชนที่เกิดจากการนำผลผลิตจากปุ๋ยชีวภาพที่ทำมาจากขยะ

 

 

  1. เกิดชุดตีกลองยาวโดยผู้สูงอายุ วัยทำงาน เยาวชนในชุมชนจำนวน 15คน
    2.เกิดความร่มรื่น สวยงามจากปลูกต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ชุมชนริมถนนทุกสายในชุมชนดอนตาบ่าว
  2. มีเมนูอาหารชุมชนที่เกิดจากการนำผลผลิตจากปุ๋ยชีวภาพที่ทำมาจากขยะจำนวน 28เมนูและได้รับการชนะการประกวดเมนูอาหารจำนวน 10 เมนู ประกอบด้วย ยำละมุดไทยกุ้งสด –แกงไก่ใส่มะเขือ -หมูฮ้อง-ครองแครงกะทิสด-วุ้นกะทิ-ข้าวเหนียวเปียกลำไย/ข้าวโพด/เผือก-ยำหัวปลี-เหมี่ยงคำ-กล้วยบวชชี-มะพร้าวคั่วเครื่องแกง
5 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

 

 

ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้วยการเข้าร่วมประชุมกับทีมสจรส.จำนวน๓ครั้งรวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมงานโครงการชุมชนน่าอยู่และทีมสุขภาวะอื่น ๆ จัดทำรายงานที่มีภาพถ่ายและมีป้ายประชาสัมพันธ์โครงการทุกครั้งและส่งรายงานสสส.ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด