Node Flagship

directions_run

พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ถนนสิโรรส และชุมชนอุตสาหกรรมสามหมอ อ.เมืองยะลา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ถนนสิโรรส และชุมชนอุตสาหกรรมสามหมอ อ.เมืองยะลา
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 63001750021
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 เมษายน 2564
งบประมาณ 95,690.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนอุตสาหกรรมสามหมอ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจิราภรณ์ เวสารัชชะ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอนนท์ รักดี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2563 31 ส.ค. 2563 1 มิ.ย. 2563 31 ส.ค. 2563 36,000.00
2 1 ก.ย. 2563 30 พ.ย. 2563 45,000.00
3 1 ธ.ค. 2563 31 มี.ค. 2564 14,690.00
รวมงบประมาณ 95,690.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ของปัญหา ตำบลสะเตง อำเภอเมือง ยะลา มีสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนสูงสุด ของ จังหวัด จากสถิติ 3 ปีย้อนหลัง พบว่า ในเขตตลาดเก่า พบอัตราการบาดเจ็บสูงสุด จำนวน 381 ราย  (ข้อมูลจากศูนย์อุบัติเหตุทางถนน รพ.ศูนย์ยะลา) และการประชุมกรรมการชุมชน และเครือข่ายที่มีข้อมูลสำคัญในพื้นที่ ได้ข้อสรุปว่า จุดเสี่ยงอยู่ที่ สีแยกไฟแดงซอย 1 (สิโรรส 4) นอกจากนั้นสิ่งแวดล้อมทางสังคมในเรื่องรถติดหน้าโรงเรียนก่อนหลังเลิกเรียน และที่ตลาดนัดช่วงเวลาเช้า สาเหตุเนื่องมาจากพฤติกรรมที่นิยมความสะดวก โดย ไม่รับผิดชอบส่วนรวมของผู้ประกอบการ และบุคคล รวมทั้งการไม่กวดขันวินัยจราจร  ซึ่งมีเหตุการณ์ที่อยู่      นอกรายงานอีกจำนวนมาก สำหรับสถานการณ์ข้อมูลบุคคล มีข้อมูลภาพรวมทั้งตำบล ศึกษาข้อมูลผู้ประสบเหตุ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 ถึง 31 มกราคม 2563 จำนวน 2802 ราย พบว่า ประเภทรถ จักรยานยนต์มากที่สุด ผู้ขับขี่บาดเจ็บ 1,917 ราย ตาย 8 ราย ผู้โดยสารบาดเจ็บ 577 ตาย 1 ราย รองลงมาคือ รถเก๋ง/ปิคอัพ ผู้ขับขี่บาดเจ็บ 28 ราย ผู้โดยสารบาดเจ็บ 42 ราย 1 รายและ จักรยานยนต์/สามล้อ ผู้ขับขี่บาดเจ็บ 130 ราย ตาย 1 ราย ผู้โดยสาร 19 ราย พฤติกรรมการหมวกนิรภัย ผู้ขับขี่ไม่ใช้หมวกบาดเจ็บ 1,884 คน ตาย 7 คน ใช้หมวกบาดเจ็บ 12 ราย กลุ่มอายุที่ประสบเหตุมากที่สุด คืออายุ 15-20 ปี ผู้บาดเจ็บ 607 ราย ตาย 3 ราย เพศชาย บาดเจ็บ 294 ราย ตาย 3 ราย หญิง 303 ราย กลุ่มอายุ อายุ 20-25 ปี พบผู้บาดเจ็บ รวม  408 ราย เพศชาย 159 ราย  หญิง 249 ราย อายุ 25-30 ปี บาดเจ็บรวม  257 ราย ตาย 1 ราย เพศชาย บาดเจ็บ 121 ราย ตาย 1 ราย หญิง บาดเจ็บ 136 ราย กลุ่มอาชีพ พบว่า เป็นนักเรียน/นักศึกษา สูงสุด บาดเจ็บ 1,031 ราย ตาย 1 ราย รองลงมาเป็นกลุ่ม ผู้ใช้แรงงาน บาดเจ็บ 737 ราย ตาย 3 ราย และค้าขาย บาดเจ็บ 292 ราย ตาย 2 ราย (ข้อมูลจากศูนย์อุบัติเหตุทางถนน รพ.ศูนย์ยะลา)
อุบัติเหตุทางถนนเหล่านี้เกิดจาก พฤติกรรมขับเร็ว เร่งให้พ้นแยกไฟแดง จอดที่ห้ามจอด จอดผิดที่ (ไฟแดง/ที่จอดรถ) เข้าใจผิดหรือมองไม่เห็นป้ายเลี้ยวซ้ายรอสัญญาณไฟ ใช้โทรศัพท์ตอนติดไฟแดง โดยเฉพาะพนักงานส่งอาหาร FOODPANDA ที่ใช้โทรศัพท์ในการติดต่อลูกค้าและค้นหาตำแหน่งขณะขับขี่เนื่องจากต้องทำเวลาตามโปรโมชั่น และให้เร็วเพื่อได้ปริมาณมาก จักรยายยนต์รับจ้าง รถยนต์รับจ้าง จอดแช่ ขับหวาดเสียว  จอดที่ห้ามจอด จอดซ้อน ส่วนบุคคลมีคนชรา เด็กอายุไม่ถึง  ไม่มีใบขับขี่
นอกจากนั้นยังเกิดการบาดเจ็บรุนแรง หรือเสียชีวิตจากการไม่สวมหมวกนิรภัย ส่วนของสิ่งแวดล้อม สภาพถนนมีน้ำยาง น้ำขี้ยาง น้ำมัน หิน/ทราย หกหล่น นอกจากนั้นยังมีปัญหาร้านค้า  ล้ำถนน กันสาดบังถนน สี่แยกหัวมุมร้านค้า บังป้าย ที่จอดรถหน้าโรงเรียน ด้านกลไก ยังขาดคณะทำงานภาคประชาชนข้อมูลยังไม่ครบถ้วน และขาดกติกาชุมชน แนวทางแก้ โดยใช้ทุนเดิมคือ กรรมการชุมชนที่เข้มแข็ง อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีความพร้อม วิทยากรจราจรอาสาที่มีประสบการณ์ หากแต่ปัจจุบันยังไม่ได้มีการระดมสรรพกำลังในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางท้องถนนอย่างเต็มที่ จึงควรมีกลไกการทำงานภาคประชาชน พัฒนาระบบข้อมูล และระดมการมีส่วนร่วม เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว หากดำเนินการได้ผลสำเร็จ จะลดปัญหา สุขภาพการตาย บาดเจ็บ พิการ ความเครียด สุขภาพจิต      ลดปัญหาด้านเศรษฐกิจ ค่ารักษา ค่าเดินทางขาดรายได้จ่ายคู่กรณีค่าปรับเฉลี่ยรวม 8,508,400บาท ลดปัญหาสังคม การขาดผู้นำครอบครัว ขาดแรงงาน และปัญหากับคู่กรณี เมื่อดำเนินงานเสร็จสิ้น จะได้ข้อเสนอในการต่อยอดกิจกรรมให้แก่องค์กรชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอรูปแบบ (Model) การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนของชุมชนเมือง เพื่อขยายผลในระดับต่างๆ ต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

สร้างกลไกประชาชน กติกาชุมชน ร่วมแก้ไขจุดเสี่ยง พฤติกรรม ทำต้นแบบ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 พฤติกรรมเสี่ยงได้รับการแก้ไข

พฤติกรรมเสี่ยงได้รับการแก้ไข  อย่างน้อย 2 เรื่อง

2.00
2 จุดเสี่ยงได้รับการแก้ไข

จุดเสี่ยงได้รับการแก้ไข  อย่างน้อย 2 จุด

2.00
3 สิ่งแวดล้อมเสี่ยงได้รับการแก้ไข

สิ่งแวดล้อมเสี่ยงได้รับการแก้ไข  อย่างน้อย 2 อย่าง

2.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 200 2654
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก 200 2,654
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 325 95,690.00 20 95,690.00
12 มี.ค. 63 ประชุมหารือจัดทำต้นแบบ (Model) รูปแบบการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน 3 600.00 600.00
1 มิ.ย. 63 - 31 มี.ค. 64 คีย์ข้อมูลรายงาน 1 2,000.00 2,000.00
3 มิ.ย. 63 เวทีปฐมนิเทศและทำสัญญา 3 600.00 600.00
3 มิ.ย. 63 ประฐมนิเทศน์ทำสัญญาโครงการย่อย 0 0.00 0.00
4 ก.ค. 63 ประชุมคลี่โครงการ 15 3,450.00 3,450.00
5 ก.ค. 63 - 13 ส.ค. 63 สำรวจข้อมูลความเสี่ยง 84 22,300.00 22,300.00
6 ก.ค. 63 .เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย 2 400.00 400.00
15 ส.ค. 63 เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อย 2 400.00 400.00
20 ส.ค. 63 ประชุมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลเชิงประเด็นยุทธศาสตร์ 1 200.00 200.00
30 ส.ค. 63 เวทีประชาคมคืนข้อมูลระดมความเห็นแนวทาง และกติกาชุมชนในการลดอุบัติเหตุ 80 11,900.00 11,900.00
6 ก.ย. 63 สรุปโครงการย่อย 15 2,450.00 2,450.00
23 - 25 ต.ค. 63 ประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 2 2,940.00 2,940.00
27 พ.ย. 63 พัฒนาโครงการฯ 3 600.00 600.00
9 ม.ค. 64 อบรมแกนนำชุมชนในการสื่อสารดิจิทัลงานลดอุบัติเหตุทางถนน 11 5,760.00 5,760.00
23 ม.ค. 64 ประชุมคณะทำงานฯ 15 2,450.00 2,450.00
16 ก.พ. 64 ประชุมเวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ระดับหน่วยจัดการ 1 200.00 200.00
4 มี.ค. 64 - 30 เม.ย. 64 ประชาสัมพันธ์รณรงค์ที่สี่แยกไฟแดงและจุดเสี่ยง 4 จุด 21 32,390.00 32,390.00
10 มี.ค. 64 อบรมกฏหมายระเบียบจราจร การขับขี่ปลอดภัย 50 4,400.00 4,400.00
24 มี.ค. 64 เวทีสังเคราะห์และสกัดบทเรียนโครงการย่อยฯ ระดับหน่วยจัดการ 1 200.00 200.00
11 เม.ย. 64 ประชุมสรุปบทเรียนโครงการคณะทำงานฯ 15 2,450.00 2,450.00

คณะทำงาน 15 คน พร้อมด้วยพี่เลี้ยงและเครือข่ายสำคัญ ประชุมคลี่โครงการ เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และเก็บข้อมูลของโครงการ ประชุมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์ เวทีประชาคม ประชุมติดตามงาน เวทีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา อบรมการสร้างสื่อดิจิทัลทางสมาร์ทโฟน อบรมประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน รณรงค์และประชาสัมพันธ์ รณรงค์และประชาสัมพันธ์จุดเสี่ยงหน้าโรงเรียน ประชาสัมพันธ์ตามจุดเสี่ยง อบรมกฎกติการะเบียบจราจรความปลอดภัยทางถนน เวทีสังเคราะห์และสกัดบทเรียน ผลลัพธ์ ไม่สวมหมวกกันน็อก ปีก่อน 1,773 คน เป็น 885 ลดลง 886 คน 50% ขับรถเร็ว ปีก่อน 2201 คน เป็น 221 ลดลง 1,980 คิดเป้น90% เมาแล้วขับ ปีก่อน 170 คน ลดลง100% ขับรถไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร(กรณีย้อนศร) ปีก่อน 1,510 คน ลดลง 100% การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม (จุดเสี่ยง) รวมทั้งหมด.5.จุด จุดเสี่ยงได้รับการปรับปรุงและแก้ไขสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น โดยการทาสีขอบทางเดินของเทศบาลนครยะลาทุกจุด รณรงค์สวมหมวกกันน็อค , เมาไม่ขับ , ไม่ขับย้อนศร , ไม่คุยโทรศัพท์ขณะขับรถ , จอดถูกที่ถูกทาง รณรงค์และประชาสัมพันธ์ตามจุดเสี่ยงต่างๆ การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน มีจำนวนลดลง จากปีก่อน 168 ครั้ง ปีนี้ 2 ครั้ง ลดลงร้อยละ 98.8 โครงการนี้มีกิจกรรมที่เป็นต้นแบบ ให้คณะทำงานขับเคลื่อนต่อเนื่องได้

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ได้ต้นแบบการดำเนินงานลดอุบัติเหตุทางถนนเขตเมือง

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2563 16:32 น.