โครงการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัยโดยการมีส่วนร่วมในตำบลท่าพญา

กิจกรรมที่ 5.1 จัดกระบวนการเรียนรู้การปรับภาพบ้านที่อยู่ดีปลอดภัยตำบลท่าพญา7 มิถุนายน 2021
7
มิถุนายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย chanaphat
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อบรม/สำรวจพื้นที่ เชิญคณะทำงานและวิทยากรเข้าร่วมอบรมให้ความรู้และสำรวจออกแบบพื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมจัดกระบวนการเรียนรู้การปรับสภาพบ้านที่อยู่ดีปลอดภัยตำบลท่าพญา โดยกิจกรรมแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1.กิจกรรมให้ความรู้ หัวข้อบ้านที่เหมาะสมกับสังคมสูงวัย โดยนายศุภชัย  อินทร์สังข์ ผู้อำนวยการกองช่าง และหัวข้อ การปรับสภาพแวดล้อมรองรับสังคมสูงวัยในพื้นที่สาธารณะ 2. กิจกรรมสำรวจพื้นที่เพื่อออกแบบสภาพแวดล้อมพื้นที่สาธารณะ(วัดท่าพญา)เพื่อรองรับสังคมสูงวัย การบรรยายหัวข้อแรกโดย ผู้อำนวยการกองช่าง โดยวิทยากรได้รับข้อมูลในการให้ความรู้จากกรมกิจการผู็สูงอายุโดยสรุป ดังนี้
การออกแบบบ้านเพื่อผู้สูงอายุ
        ควรออกแบบให้มีทางลาดไว้ขึ้น – ลง แทนบันได เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็น ซึ่งความกว้างของทางลาดต้องกว้างไม่ต่ำกว่า 90 เซ็นติเมตร มีอัตราความลาดชันไม่น้อยกว่า 1:12 เช่น ถ้าพื้นสูง 1 เมตร ทางลาดต้องยาว 12 เมตร และควรติดตั้งราวจับที่มีความสูง 80-90 เซนติเมตร เพื่อเป็นตัวช่วยให้กับผู้สูงอายุในการขึ้นลง         ควรเลือกประตูที่มีความกว้างไม่ต่ำกว่า 90 เซนติเมตร เว้นพื้นที่ส่วนที่บานประตูจะต้องเปิดออกไปให้มีความกว้างเพียงพอ เพื่อการเข้า-ออกที่สะดวก ไม่ควรมีธรณีประตู กันการสะดุดล้ม และต้องมีระยะของมือจับสูงจากพื้น 100 เซนติเมตร หลีกเลี่ยงการใช้ลูกบิด โดยใช้การโยกแทน ในกรณีที่มีผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็น ควรออกแบบให้หน้าต่างจากพื้นประมาณไม่เกิน 75 – 100 เซนติเมตร เพื่อให้ผู้สูงอายุนั่งชมวิวภายนอกได้ คำแนะนำ : ประตูที่ดีสำหรับคนทุกวัยควรเป็นประตูบานเลื่อน เพราะออกแรงในการเปิดน้อยกว่า แถมยังประหยัดพื้นที่ใช้สอย ควรเลือกวัสดุปูพื้นที่มีผิวสัมผัสไม่ลื่น และไม่มีลายมากจนเกินไปเพราะจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกเวียนหัว และตาลาย เช่น กระเบื้องดินเผาปูพื้น ในส่วนการใช้สอยที่ต่างกันควรใช้สีที่ตัดกัน เพื่อให้ผู้สูงอายุมองเห็นได้ชัดเจน เช่น พื้น ผนัง พื้นต่างระดับ รวมถึงบัวเชิงผนัง เลี่ยงการปูพรม เพราะกักเก็บฝุ่น และยังเป็นอุปสรรคต่อล้อของรถเข็น นอกจากนี้ยังอาจจะเกิดการสะดุดได้         เป็นส่วนที่ทุกคนในบ้านจะสามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้ ควรจัดวางเฟอร์นิเจอร์ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นระเบียบเรียบร้อย และมีพื้นที่ว่างให้เพียงพอที่จะสะดวกต่อการให้รถเข็นผ่าน ในกรณีที่มีผู้สูงอายุต้องนั่งรถเข็น ภายใต้บรรยากาศปลอดโปร่งโล่งสบาย เน้นให้แสงสว่างเข้าถึง และอากาศมีถ่ายเท         ในจุดที่ใช้ประกอบอาหาร ควรมีการเข้าถึงได้อย่างสะดวกสบาย เอื้อให้ทุกคนสามารถทำอาหารร่วมกันได้ โต๊ะอาหาร หรือเคาน์เตอร์ครัว ควรออกแบบให้ข้างใต้เปิดโล่ง มีความสูงจากพื้นประมาณ 60 – 80 เซนติเมตร และความลึกไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร         สำหรับห้องนอนของผู้สูงอายุ ควรออกแบบให้มีห้องน้ำในตัว หรือหากไม่มีก็ควรอยู่ใกล้กับห้องน้ำมากที่สุด เตียงควรมีความสูงจากพื้นประมาณ 40 – 50 เซนติเมตร มีไฟที่หัวเตียง เพื่อความสะดวกต่อการเข้าห้องน้ำในตอนกลางคืน และพื้นที่ว่างทั้ง 3 ด้าน รอบ ๆ เตียง ต้องมีความกว้างแต่ละด้านไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร โต๊ะเครื่องแป้งต้องมีที่โล่งด้านล่างสูง 60 ซม. และตู้เสื้อผ้าไม่ควรสูงจนเกินไป         เป็นจุดที่สำคัญที่สุด ที่เราควรใสใจ เพราะอุบัติเหตุในบ้านมักเกิดในห้องน้ำ เราจึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้สูงอายุ เริ่มจากประตูทางเข้าควรเป็นบานเลื่อน และภายในห้องน้ำควรมีความกว้างไม่ต่ำกว่า 2 ตารางเมตร โถสุขภัณฑ์ต้องเป็นแบบนั่งราบ มีความสูงจากพื้นประมาณ 40-50 เซนติเมตร และมีราวจับเหล็กอยู่ข้าง ๆ อ่างล้างหน้าควรมีรูปแบบเว้า และกระจกควรมีความสูงที่พอดีกับความสูงของผู้สูงอายุ นอกจากนี้ก๊อกน้ำก็ควรเป็นแบบคันโยก เพราะใช้แรงในการเปิดน้อยกว่า         จัดสวนเล็ก ๆ ให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ หรือมีพื้นที่ในการปลูกต้นไม้ เป็นกิจกรรมให้ผู้สูงอายุทำเพื่อคลายเหงา และสร้างบรรยากาศที่สดชื่นให้กับบ้าน วัสดุที่ใช้ตกแต่งสวนควรเป็นสีโทนร้อน เช่น อิฐแดง อิฐมอญโบราณ อิฐปูพื้น ลีกเลี่ยงวัสดุสีอ่อน เช่น สีฟ้า สีเทา สีเหลือง เพราะไม่เหมาะกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาสายตาพร่ามัว นอกจากการออกแบบบ้านที่เหมาะกับผู้สูงอายุแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการดูแลเอาใจใส่จากลูกหลาน เพราะฉะนั้นอย่าลืมหมั่นเติมความรัก ความอบอุ่นให้แก่ผู้สูงอายุ เพียงเท่านี้ทุกคนในครอบครัวก็จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขแล้ว       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตรีชาติ เลาแก้วหนู คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ความรู้การปรับสภาพแวดล้อมรองรับสังคมสูงวัยในพื้นที่สาธารณะ โดยอ.ตรีชาติ แนะนำรูปแบบ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ภายในบ้าน นอกบ้าน ห้องน้ำสาธารณะ ราวจับชนิดต่างๆในหลากหลายระดับราคาแหล่งหาวัสดุต่างๆ พร้อมทั้งลงพื้นที่วัดท่าพญาสำรวจออกแบบร่วมกับนักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่ บริเวณ ห้องน้ำ หน้าอาคารบำเพ็ญกุศลศพ ราวจับทางขึ้นอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และออกแบบห้องน้ำศุนย์การศึกษาพิเศษบริเวณสำนักงานเทศบาลเก่าพร้อมแนะนำวิธิการปรับสภาพแวดล้อม โดยที่ประชุมเห็นด้วยให้ปรับปรุงห้องน้ำวัดเป็นสถานที่แรก