โครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนวัดนิโครธาราม - คลองน้ำใส

กิจกรรมที่1. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 4 คืนข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูล12 ตุลาคม 2022
12
ตุลาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะกรรมการจัดการน้ำเสียชุมชนวัดนิโครธาราม คลองน้ำไส คืนข้อมูลและผลการวิเคราะห์น้ำเสียจากแผนที่ทางเดินน้ำในชุมชน และเตรียมนำเสนอการถอดบทเรียน AREครั้งที่1 โดยมีพี่เลี้ยงเข้าร่วม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต คณะกรรมการจัดการน้ำเสียชุมชน เข้าร่วม 25 คน ได้ร่วมเรียนรู้แลกเปลี่ยน หลังจากที่ได้เก็บ วิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันโดยใช้แผนที่ชุมชนที่สะท้อนการไหลของน้ำในชุมชน

ผลลัพธ์   จากการเก็บและวิเคราะห็ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนวัดนิโครธาราม คลองน้ำไส ดังนี้ คือ จาก 92 ครัวเรือน จำนวนคนใช้น้ำ 323 คน ปริมาณน้ำเสียจากครัวเรือนมาจาก 2 แหล่ง คือ น้ำอาบ-ชักผ้า จำนวน 4370 ลิตร/วัน และ น้ำประกอบอาหาร-ล้างจาน จำนวน 4260 ลิตร/วัน ร้อย 92.39 ไม่มีบ่อดักไขมันในครัวเรือน การจัดการน้ำเสียในครัวเรือนiร้อยละ 59.78 ปล่อยให้ไหลซึมไปเอง ร้อยละ 35.86 ปล่อยลงคูระบายน้ำ มีบ่อพัก ร้อยละ 5.43   ผลของการเป็นอยู่ของชุมชนมีดังนี้ตามข้อมูลที่สะท้อน ยังไม่มีผลกระทบ ร้อยละ 78.26 น้ำเสียส่งกลิ่นรบกวน ร้อยละ 11.95 และปัญหาน้ำเสียเอ่อล้นเข้าบ้านเวลาน้ำท่วม ร้อยละ 13.04   ข้อเสนอต่อการแก้ปัญหาน้ำเสียในระดับ ครัวเรื่อน 1 บ่อดัก 2 ใช้ประโยชน์จากน้ำที่ใช้ในครัวเรือน 3.ให้เทศบาลเมื่อง ทำท่อระบายข้างถนนเนื่องจากถนนส่วนใหญ่ไม่มีท่อระบายน้ำ 4.รณรงค์ไม่ทิ้งขยะลงแหล่งน้ำ/ท่อตัน 5 รณรงค์เรื่องความสะอาด 6 ป้ายรณรงค์ให้ความรู้ 7 ปล่อยลงคูระบาย 8 สร้างบ่อบำบัด 9 ให้ครัวเรือนคัดแยกขยะ 10 ยังเฉยๆ   จากข้อเสนอเหตุที่น้ำเสียไม่กระทบ 1 พื้นที่กว้างและอยู่ห่างกัน 2 ยังสามารถปล่อยลงทุ่งนาได้
    ใช้แผนที่ชุุมชนเรียนรู้ทางเดินน้ำ และมีน้ำดีไล่น้ำเสียในช่วงฤดีน้ำมาก

จากการผลการเก็บและวิเคราะห็ข้อมูล
    คณะทำงานจัดการน้ำเสียได้รู้ถึงฐานข้อมูลแต่ละครัวเรือน ส่วนใหญ่จะไม่มีถังดักไขมันในครัวเรือน จะมีการปล่อยน้ำเสียทิ้งจากครัวเรือนลงสู่พื้นดิน
ซึ่งก่อให้เกิดมีปัญหาน้ำเสียเพิ่มมากยิ่งขึ้น และในชุมชนไม่มีคูระบายร่องน้ำข้างถนน ทำให้คนที่อยู่ในชุมชนไม่สามารถจัดการน้ำเสียในครัวเรือนได้ เพราะส่วนใหญ่ชาวบ้านจัดการน้ำ้เสียโดยปล่อยน้ำทิ้งลงสู่พื้นดิน ซึ่งบางบ้านมีบ่อดักไขมัน แต่ไม่สามารถที่จะดำเนินการจัดการน้ำเสียได้ต่อได้ เนื่องจากไม่มีคูระบายน้ำสาธารณะที่จะเชื่อมต่อกับตัวบ้าน จึงจำเป็นต้องปล่อยน้ำทิ้งลงพื้นที่ว่างเปล่า วิธีการแก้ไขคือ บูรณาการกับทางส่วนกลางหรือเทศบาล เพื่อให้มีการจัดทำคูร่องระบายน้ำสองข้างถนนเพื่อเชื่อมกับตัวเรือน เพื่อจัดทำการจัดการน้ำเสียโดยเต็มรูปแบบ จัดทำแผนรณรงค์ให้ชาวบ้านได้มีจิตสำนึกในการจัดการน้ำเสียในตัวเรือนก่อนที่จะทิ้งน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ้หรือในที่สาธาณะ ด้วยการไม่ทิ้งขยะและน้ำเสียลงในแม่น้ำ และช่วยกันดูแลไม่ให้เกิดน้ำเสียในชุมชน