โครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนวัดนิโครธาราม - คลองน้ำใส

กิจกรรมที่3. เปิดเวทีสร้างความเข้าใจการจัดการน้ำเสียและจัดทำป้ายนิทรรศการ26 ตุลาคม 2022
26
ตุลาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรมกิจกรรมร้างความเข้าใจการจัดการน้ำเสียและโครงการพัฒนาระบบสุขภาภิบาลในชุมชน ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็นพระเทพรัตนราชสุดาฯ 1. สร้างการเรียนรู้เรื่องสถานการณ์น้ำเสียชุมชนโดยการคืนข้อมูลจากการเก็บและวิเคราะห์สถานนการณ์น้ำเสียของชุมชน  ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างไร และ  เพื่อเรียนรู้และเพิ่มความตระหนักต่อการจัดการ โดยให้มีประชาชนตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 58 คน หรือร้อยละ 50 โดยที่เป็นตัวแทนครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 58 คน หรือร้อยละ 50 2. เชิญประธานชุมชนส้มตรีออก เป็นวิทยากรสอนการทำบ่อดักไขมันอย่างง่าย และประธานชุมชนท่ามิหรำสอนการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อจัดการเศษขยะอินทรีย์หลังจากการคัดแยก 3. เชิญภาคียุทธศาสตร์ คือ รองนายกเทศมนตรีของเทศบาลเมือง สมาชิกสภาเทศบาล และหัวหน้ากองสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง  เข่น สำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมไม่ได้เข้าร่วมเนื่องจากตรงกับชุมชมอื่น แต่ผู้นำชุมชนท่ามิหรำเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้รายละเอียดเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของน้ำเสียในระดับพื้นที่ 4. จัดทำไวนิลเพื่อคืนข้อมูลสถานการณ์น้ำเสียในชุมชน 5. สร้างความเข้าใจโครงการพัฒนาระบบสุขภาภิบาลในชุมชน ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็นพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในการทำงานร่วมกันของชุมชนกับเทศบาลเพื่อแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบกับสุขภาพในพื้นที่อันเนื่องจากน้ำเสีย โดยการประสานงานของประธานชุมชน เพื่อนำมาทำงานร่วมกับการจัดการน้ำเสียในชุมชน โดยใช้ทำ บ่อดักไขมันอย่างง่าย  เลี้ยงไส้เดือน  และทำธนาคารน้ำใต้ดิน  ในการแก้ปัญหาน้ำเสียในชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต มีผู้เข้าร่วมตัวแทนครัวเรือน จำนวน 80  คน  ประกอบ ด้วย อสม  กรรมการชุมชน แกนนำคณะทำงานน้ำเสีย  รองนายกเทศมนตรี  ผู้อำนวยการกองสาธารณะสุข สมาชิกสภาเทศบาล ได้มีความรู้ ความเข้าใจ การชี้แจงสร้างความเข้าใจโครงการการจัดการน้ำเสียในชุมชนวัดนิโครธาราม  คลองน้ำไส ร่วมกับโครงการพัฒนาระบบสุขภาภิบาลในชุมชน ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็นพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในการแก้ปัญหาน้ำเสียในชุมชน ผลลัพธ์       1. ตัวแทนชุมชนและผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้และเข้าใจข้อมูลสถานการณ์น้ำเสียของชุมชนวัดนิโครธารราม  คลองน้ำไส  จากการเก็บและวิเคราะห็ข้อมูลของชุมชนวัดนิโครธาราม คลองน้ำไส ดังนี้ คือ จากข้อมูล 92 ครัวเรือน จำนวนคนใช้น้ำ 323 คน ปริมาณน้ำเสียจากครัวเรือนมาจาก 2 แหล่ง คือ น้ำอาบ-ชักผ้า จำนวน 4370 ลิตร/วัน และ น้ำประกอบอาหาร-ล้างจาน จำนวน 4260 ลิตร/วัน ร้อย 92.39 ไม่มีบ่อดักไขมันในครัวเรือน การจัดการน้ำเสียในครัวเรือนiร้อยละ 59.78 ปล่อยให้ไหลซึมไปเอง ร้อยละ 35.86 ปล่อยลงคูระบายน้ำ มีบ่อพัก ร้อยละ 5.43         ผลของกระทบของชุมชนมีดังนี้  ตามข้อมูลที่สะท้อน ยังไม่มีผลกระทบ ร้อยละ 78.26 น้ำเสียส่งกลิ่นรบกวน ร้อยละ 11.95 และปัญหาน้ำเสียเอ่อล้นเข้าบ้านเวลาน้ำท่วม ร้อยละ 13.04         มีข้อเสนอต่อการแก้ปัญหาน้ำเสียในระดับครัวเรื่อน 1 ให้มีบ่อดักไขมันทุกครัวเรือน 2 ให้ใช้ประโยชน์จากน้ำที่ใช้ในครัวเรือน  3.ให้เทศบาลเมื่องทำท่อระบายข้างถนนเนื่องจากถนนส่วนใหญ่ไม่มีท่อระบายน้ำ 4.รณรงค์ไม่ทิ้งขยะลงแหล่งน้ำ/ท่อตัน 5 รณรงค์เรื่องความสะอาด 6 ป้ายรณรงค์ให้ความรู้ 7 ปล่อยลงคูระบาย 8 สร้างบ่อบำบัด 9 ให้ครัวเรือนคัดแยกขยะ 10 ยังเฉยๆ จากข้อเสนอเหตุที่น้ำเสียไม่กระทบพราะ  1 พื้นที่กว้างและอยู่ห่างกัน  2 ปัจจุบันยังสามารถปล่อยลงทุ่งนาได้
      2.ใช้แผนที่เดินดินของชุุมชนเรียนรู้ทางไหลของน้ำ และมีน้ำดีไล่น้ำเสียในช่วงฤดีน้ำมาก

จากผลการเก็บและวิเคราะห็ข้อมูล
        คณะทำงานจัดการน้ำเสียได้รู้ถึงฐานข้อมูลแต่ละครัวเรือน ส่วนใหญ่จะไม่มีถังดักไขมันในครัวเรือน จะมีการปล่อยน้ำเสียทิ้งจากครัวเรือนลงสู่พื้นดิน
ซึ่งก่อให้เกิดมีปัญหาน้ำเสียเพิ่มมากยิ่งขึ้น และในชุมชนไม่มีคูระบายร่องน้ำข้างถนน ทำให้คนที่อยู่ในชุมชนไม่สามารถจัดการน้ำเสียในครัวเรือนได้ เพราะส่วนใหญ่ชาวบ้านจัดการน้ำ้เสียโดยปล่อยน้ำทิ้งลงสู่พื้นดิน ซึ่งบางบ้านมีบ่อดักไขมัน แต่ไม่สามารถที่จะดำเนินการจัดการน้ำเสียได้ต่อได้ เนื่องจากไม่มีคูระบายน้ำสาธารณะที่จะเชื่อมต่อกับตัวบ้าน จึงจำเป็นต้องปล่อยน้ำทิ้งลงพื้นที่ว่างเปล่า วิธีการแก้ไขคือ บูรณาการกับทางส่วนกลางหรือเทศบาล เพื่อให้มีการจัดทำคูร่องระบายน้ำสองข้างถนนเพื่อเชื่อมกับตัวเรือน เพื่อจัดทำการจัดการน้ำเสียโดยเต็มรูปแบบ จัดทำแผนรณรงค์ให้ชาวบ้านได้มีจิตสำนึกในการจัดการน้ำเสียในตัวเรือนก่อนที่จะทิ้งน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ้หรือในที่สาธาณะ ด้วยการไม่ทิ้งขยะและน้ำเสียลงในแม่น้ำ และช่วยกันดูแลไม่ให้เกิดน้ำเสียในชุมชน