โครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนวัดนิโครธาราม - คลองน้ำใส

กิจกรรมที่6. ประชุมเชิงปฏิบัติการครัวเรือนเป้าหมายและรับรองแผนปฏิบัติการ17 ธันวาคม 2022
17
ธันวาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ันพฤหัสที่ 27 กรกฎาคม 2566 เวลา 10.00น. นายวาทิต ไพศาลศิลป์นายกเทศมนตรีเมืองพัทลุง
มอบหมายให้นายสมหมาย หนูเจริญ รองนายกรัฐมนตรีเมืองพัทลุง นายโสภณ จันทรเทพ รองนายกเทศมนตรีเมืองพัทลุง นายประเสริฐ รัตนวิชา ปลัดเทศบาลเมืองพัทลุง
พร้อมด้วย ผู้อำนวยการกองช่าง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม นายอิทธิพัทธ์ ฮัอบุตร ประธานชุมชนบ้านดอนรุน
และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมโครงการจัดการน้ำเสีย กิจกรรมมอบถังดักไขมัน โดยชุมชนวัดนิโครธาราม คลองน้ำใส โดยมี นายสัญญา บุญสม ประธานกรรมการชุมชนวัดนิโครธาราม คลองน้ำใส
ครัวเรือนเป้าหมายต้นแบบ ครัวเรือนเป้าหมายจำนวน 6 ครัวเรือน แต่มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมทำถังดักไขมันในครัวเรือนจำนวน 21ครัวเรือน เกินเป้าหมาย 15 ครัวเรือน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การดำเนินงานโครงการตามบันไดผลลัพธ์ บันไดขั้นที่ 1 1. มีการจัดเก็บ ข้อมูลน้ำเสียของครัวเรือนและชุมชน ก่อนและหลัง ในการดำเนินงานโครงการจำนวน  119 ครัวเรือน
รับทราบข้อมูลน้ำเสียของครัวเรือนและชุมชน เกิดการปฏิบัติการครัวเรือนต้นแบบการจัดน้ำเสียในครัวเรือน122 ครัวเรือน 2. จากการเก็บข้อมูลสถานการณ์ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ เห็นถึงปัญหา เกิดแผนการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน 65 ครัวเรือน
ในรูปแบบ 3 รูปแบบ   1. ถังดักไขมันอย่างง่าย 21 จากเดิม 13   2. การเลี้ยงไส้เดือน 7
  3.ธนาคารน้ำใต้ดิน 1 3. มีมาตราการชุมชนในการจัดการน้ำเสีย 1. แยกขยะอินทรีย์ออกจากน้ำเสีย 2. มีจุดพักขยะ ทำป้ายทิ้งขยะ 3.รณรงค์ร่วมกับเทศบาลในวันสำคัญ ทำความสะอาดชุมชนและแหล่งน้ำ

บัดไดขั้นที่ 2 เกิดกลไกขับเคลื่อนจัดการน้ำเสียในชุมชน ผลลัพธ์ 1. มีคณะทำงานที่มีส่วนร่วมจาก ท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและตัวแทนครัวเรือนเข้าเป็นคณะทำงาน คณะทำงานโครงการ 15 คน
กรรมการชุมชนตัวแทนครัวเรือน  อสม.8 คน ภาคีที่เกี่ยวเทศบาล 2 คน รวมเป็นกลไกขับเคลื่อนโครงการ 25 คน
มี การแบ่งบทบาทมอบหมายหน้าที่การดำเนินงาน มีการวางแนวทางการดำเนินงานโครงการ 2.ข้อมูลพฤติกรรมการใช้น้ำของครัวเรือน จากการเก็บข้อมูล ก่อนและหลัง ในการดำเนินงานโครงการ มีข้อมูลพฤติกรรมการใช้น้ำของครัวเรือน จากการเก็บข้อมูล ที่มาของน้ำเสียครัวเรือน อาบ ซักล้าง 4370ลิตร/วัน อาหาร/ล้างจาน 4280ลิตร/วัน

การจัดการน้ำเสียครัวเรือน ไม่มีระบบจัดการน้ำเสีย 115 หลัง มีระบบจัดการน้ำเสีย 43 หลัง
ถังดักไขมัน 21 ถัง

ผลกระทบจากน้ำเสีย จะร่วมกันจัดการน้ำเสียอย่างไร ระดับครัวเรือน
1. บ่อดักไขมัน
2.แยกขยะอินทรีย์จากน้ำเสีย
3. ไม่ทิ้งขยะลงคูน้ำ

บันไดขั้นที่ 3 เกิดรูปแบบการจัดการน้ำเสียครัวเรือน ผลลัพธ์ 1. มีถังดักไขมันอย่างง่ายที่ชุมชนได้รับจำนวน 21 ถัง 2. มีธนาคารน้ำใต้ดิน 1 3. เกิดครัวเรือนที่มีการใช้ประโยชน์จากกระบวนการจัดน้ำเสีย 4. มีแผนติดตามการจัดน้ำเสียชุมชน โดย การ ตรวจวัดคุณภาพน้ำ

บันไดขั้นที่ 4 เกิดครัวเรือนจัดการน้ำเสีย 1. จำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาการจัดการน้ำเสียสามารถจัดการน้ำเสีย 2. ปัญหาที่เกิดจากน้ำเสียลดลง

บันไดขั้นที่ 5 เกิดระบบจัดการน้ำเสียไปยังพื้นที่ร่วมของชุมชน ผลลัพธ์ 1. มีครัวเรือนต้นแบบ 2หลัง ถังดักไขมัน เลี้ยงไส้เดือนครบวงจร 2. ธนาคารน้ำใต้ดินรอ