โครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนวัดนิโครธาราม - คลองน้ำใส

กิจกรรมที่10. ติดตามผลโครงการ ARE (ครั้งที่2 ) สรุปผลถอดบทเรียนโครงการ27 สิงหาคม 2023
27
สิงหาคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เปิดเวที่ถอดบทเรียนการจัดการน้ำเสียชุมชนวัดนิโครธาราม-คลองน้ำใส โดยมีคณะทำงาน กลไกขับเคลื่อน และพี่เลี้ยงโครงการ เข้าร่วม แลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้การพูดคุย เรื่องของการดำเนินงานมาทั้งหมด มีการทำกิจกรรมไปตามกระบวนการขั้นบันไดสู่ผลลัพธ์ ตั้งแต่เริ่มแรก
มีการสร้างความเข้าใจกับสมาชิกในชุมชน มีข้อมูลปัญหา ของระบบการจัดการน้ำเสียในชุมชนและครอบครัว และมีครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมจำนวน 45 ครัวเรือน
มีการจัดการน้ำเสีย และร่วมกันไปศึกษาดูงานที่ชุมชนต้นแบบชุมชนบ้ารนส้มตรีดออก กลับมาวางผนงานการจัดการน้ำเสีย ในรูปแบบการการจัดการน้ำในครัวเรือน
โดยการมีทำถังดักไขมันอย่างง่าย เพื่อดักไขมัน ดักเศษอาหาร  ในส่วนเศษอาหารที่เหลือจะนำไปเสี้ยงไส้เดือน ถ้ามีมากก็นำไปจัดการโดย ถังรักษ์โลก
สำหรับการจัดการของชุมชน ได้มี การจัดธนาคารน้ำใต้ดินไว้ตรงจุดที่มีปัญหา และจะมีการติดตามวัดค่าน้ำของชุมชนด้วย โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลเมืองพัทลุง

บทเรียนการจัดการน้ำเสียครัวเรือนและชุมชน 1. กิจกรรมที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ คือ การจัดการน้ำเสียโดยมีการทำถังดักไขมันในครัวเรือน และการจัดการเศษอาหารแบบถังรักษ์โลก  และเป็นการจัดการน้ำเสียที่ต้นทาง 2. ปัญหาที่พบในชุมชนไม่มีคูคลองระบายน้ำ ทำให้น้ำเสียในครัวเรือนย้อนกลับไปสู่พื้นที่นา พื้นที่ข้างเคียง จึงทำให้เกิดปัญหาน้ำเสีย ในชุมชน
ปัญหาถังดักไขมัน เนื่องด้วยต้องตักไขมันออก ต้องดูแลความสะอาดบ่อยครั้ง  บางครัวเรือนก็ยังไม่ตระหนักที่จะจัดการน้ำเสีย ยังปล่อยเสียลงสู่ คูระบายน้ำ 3.การพัฒนาต่อยอด  การส่งเสริม การขยายผลการจัดการน้ำเสีย ในครัวเรือนให้มีถังบ่อดักไขมัน ให้ครบทั้งชุมชน มีการทำธนาคารน้ำใต้ดินเพิ่มที่จุดที่เป็นที่รองน้ำเพิ่ม 4. ภาคีที่เกี่ยวข้อง  เทศบาลเมืองพัทลุง โดยจะมีเจ้าที่ กองสาธารณะสุข เข้ามาเป็นกลไกขันเคลื่อนด้วย เป็นวิทยากร ทุนเสริมงบประมาณ  - กองช่าง เข้ามาเป็นกลไกขันเคลื่อน ช่วยในงานช่าง พมจ. เข้ามาหนุนเสริมในเรื่องการฝึกอบรม การวัดค่าน้ำในชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1. มีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ที่ชัดเจนจากการเก็บข่อมูลครัวเรือนที่มีปัญหาการจัดการน้ำเสีย มีแกนนำคณะทำงานกลไกขับเคลื่อนที่มาจากทุกภาคส่วนเข้าร่วม มีผู้นำชมชน กรรมการชุมชน อสม. ผู้แทนครัวเรือน ตัวแทนบริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาล 2.มีบ่อดักไขมัน มีธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อช่วยให้ลดน้ำเสียในครัวเรือน 3. การเกิดสภาพแวดล้อมทางสังคม มีกติกาชจัดการน้ำเสียในชุมชน การบำบัดน้ำเสียการปล่อยลงคู คลอง การจัดการคัดแยกเศษอาหารการก่อนทิ้ง ไม่ทิ้งขยะลงสู่ คู คลอง 4. กลไกการติดตามในชุมชน เป็นคนกลไกที่ติดตามการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน เกิดเป็นช่างชุมชนในการจัดทำถังดักไขมันอย่างง่าย การช่วยเหลือซ่อมบำรุงและวิทยากรในชุมชนที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไส้เดิอน 5. แผนการจัดการน้ำเสีย - มีแผนงานที่ชุมชนสามารถเองได้ การทำถังดักไขมันอย่างง่าย การกำจัดเศษอาหารแบบถังรักษ์โลก หรือแบบนำเศษอาหารไปเลี้ยงสัตว์ - มีแผนงานร่วมกับเทศบาล ทำบ่อดักไขมันของครัวเรือนที่มีปัญหา - แผนงานขอกับเทศบาล การจัดทำธนาคารน้ำใต้ดินเพิ่มในเขตชุมชนที่เป็นพื้นที่รองน้ำ การจัดการลองคูระบายน้ำ 6. จำนวนประชาชนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ มีครัวเรือนการจัดการน้ำเสียเป็นต้นแบบการจัดการน้ำเสีย ปริมาณการใช้ประโยชน์จากน้ำเสีย โดยส่วนมาก นำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแบบถังดักไขมันอย่างง่าย ไปรดน้ำผัก ต้นไม้ นำเศษอาหารที่ผ่านการดักจับไขมันมาเสี้ยงสัตว์ น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วเติมจุลินทรีย์ แล้วนำไปบำบัดน้ำเสีย 7. ภาคีร่วมการดำเนินงาน - เทศบาลเมืองพัทลุง สมทบงบประมาณ และมีทีม กองสาธารณสข และกองช่าง มาเป็นกลไกขับเคลื่อน - สำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จังหวัดพัทลุง สมทบงบประมาณ และเป็นวิยาการอบรม สทม. และการอบรมการตรวจวัดค่าน้ำ