โครงการสร้างเสริมสุขภาวะกลุ่มเบเกอรี่สานสัมพันธ์ สร้างอาชีพเสริมรายได้ บ้านร่าปู ต.เกาะกลาง อ.เกาะลันตา จ.กระบี่

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 3/523 กุมภาพันธ์ 2023
23
กุมภาพันธ์ 2023รายงานจากพื้นที่ โดย ra_pu2528
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 3

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 ณ ที่ทำการกลุ่มเบเกอรี่สานสัมพันธ์บ้านร่าปู ม.1 ต.เกาะกลาง อ.เกาะลันตา จ.กระบี่

เริ่มประชุม เวลา 09.00 น.

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
นายสมหมาย หลานอาว์ (ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 บ้านร่าปู) กล่าวต้อนรับคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ และมอบหมายให้ นางสาวสุรางค์ หมาดเส็ม รายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนโครงการที่ผ่านมา
้เพื่อให้คณะทพำงานขับเคลื่อนโครงการ รับทราบข้อมูลร่วมกัน

นางสาวสุรางค์ หมาดเส็ม (หัวหน้ากลุ่มเบเกอรี่บ้านร่าปู) และเหรัญญิกโครงการฯ รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ (รายงานการดำเนินงานโครงการและผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดโครงการ) ดังนี้

ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อพิจารณา 2.1) ร่วมวางแผนการขับเคลื่อนโครงการ ระยะต่อไป

ปิดประชุม เวลา 13.00 น.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีรายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ กลุ่มเบเกอรี่สานสัมพันธ์ สร้างอาชีพเสริมรายได้ บ้านร่าปู ต.เกาะกลาง อ.เกาะลันตา จ.กระบี่่
  • มีข้อมูลบันทึกการติดตามกลุ่มเป้าหมายโครงการ เพื่อรายงานตัวชี้วัดผลลัพธ์โครงการ

ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ (รายงานการดำเนินงานโครงการและผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดโครงการ) ผลลัพธ์ที่ 1 เกิดกลไกคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.1) เกิดคณะทำงาน 10 คน ที่มาจาก กรรมการหมู่บ้าน ตัวแทนกลุ่มสมาชิก พช. อปท. ปราชญ์ชุมชน ฯลฯ และมีการกำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน ดังต่อไปนี้ ลำดับ รายชื่อ ตำแหน่ง/หน้าที่ในชุมชน ตำแหน่ง/หน้าที่ในโครงการ 1 นายสมหมาย หลานอาว์  ผู้ใหญ่บ้าน ผู้รับผิดชอบโครงการ 2 นายประวุฒิ การดี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน รองหัวหน้าโครงการ 3 นางสาวสุรางค์ หมาดเส็ม หัวหน้ากลุ่มเบเกอรี่บ้านร่าปู เหรัญญิก 4 นางอัน แส้หมูด อสม. ประชาสัมพันธ์ 5 นางสาวนารีรัตน์ โต๊ะดิน อสม. ประชาสัมพันธ์ 6 นางสาวประภาพร  คงเมือง หน้าที่ อบต.เกาะกลาง ประสานงาน 7 นางสาวจารุณี ปุตสะ ราชการครู ร.ร.บ้านร่าปู ผู้ช่วยเหรัญญิก 8 นางสาวจุฑารัตน์ หลานอาว์ กรรมการหมู่บ้าน ผู้ช่วยเลขานุการ 9 นางสาวจันทร์จิรา เพริดพร้อม กรรมการกลุ่มเบเกอรี่บ้านร่าปู เลขานุการ 10 นางกิ่งแก้ว สังข์ทอง นักวิชาการ พช. อำเภอเกาะลันตา ที่ปรึกษา

1.2) มีข้อมูลสถานการณ์ด้านความรอบรู้ทางด้านการเงินและสุขภาพของครัวเรือนกลุ่มสมาชิก
- มีข้อมูลสถานการณ์ด้านความรอบรู้ทางด้านการเงินและสุขภาพของครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย ตามแบบฟอร์มที่คณะทำงานได้ออกแบบไว้ แล้วให้กลุ่มเป้าหมายได้ตอบคำถามตามแบบสอบถาม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 30 คน/ครัวเรือน และคณะทำงาน 10 คน ประกอบด้วย
- ข้อมูลสถานการณ์ความรอบรู้ทางด้านการเงิน
(1) มีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือนหรือไม่
(2) จำนวนรายได้ปัจจุบัน กี่บาท/เดือน
(3) จำนวนรายจ่ายปัจจุบัน กี่บาท/เดือน
(4) การออมเงินปัจจุบัน (บาท/เดือน) - ข้อมูลสถานการณ์ความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ (1) มีโรคประจำตัวหรือไม่
(2) จำนวนที่เข้ารับการรักษา (ครั้ง/เดือน) (3) จำนวนการออกกำลังกาย (วัน/เดือน) (4) มีการสูบบุหรี่ (มวน/วัน) (5) มีการดื่มสุรา (ขวด/วัน) (6) มีการทานอาหารรสหวาน มัน เค็ม (กี่มื้อ/วัน)

1.3) มีแผนปฏิบัติการร่วมกันพัฒนากลุ่มธุรกิจชุมชน
- มีแผนการดำเนินงาน ตาม TOR - มีแผนการจดแจ้งกลุ่มเบเกอรรี่สานสัมพันธ์บ้านร่าปู OTOP กับ พช. และจดแจ้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกับเกษตร และขอการรับรองมาตรฐาน อ.ย.

ผลลัพธ์ที่ 2 เกิดข้อตกลงในการขับเคลื่อนงาน สร้างงาน สร้างอาชีพ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.1) มีกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด19 เข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่ม อย่างน้อย 30 คน - มีกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด19 เข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่ม 30 คน

    2.2) เกิดข้อตกลง/ระเบียบการดำเนินการของสมาชิกร่วมกัน (1) การรวมกลุ่มสมาชิก อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง (เฉลี่ย 2 สัปดาห์/ครั้ง) และตามเฉพาะกิจเมื่อมีออร์เดอร์การสั่งสินค้า (2) เบิกจ่ายเงินผลกำไรให้สมาชิกทุกครั้งที่รวมกลุ่ม (3) ออมเงินสมาชิกผลกำไรของสมาชิก 30 บาท/เดือน

2.3) กลุ่มสมาชิกสามารถขับเคลื่อนงานตามแผนธุรกิจชุมชนตามที่วางไว้ได้อย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่ 3 กลไกสามารถสนับสนุน การสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.1) มีข้อมูลการผลิตการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าของสมาชิกในกลุ่ม โดยมีช่องทางการจำหน่ายสินค้า และรายได้ทั้งในรูปแบบการ Online และ Onsite ดังนี้ การขายหน้าร้าน บ้านขนมบ้านร่าปู ต.เกาะกลาง อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ โดยมีรายได้ผลกำไรจากการขาย (หลังหักค่าใช้จ่ายต้นทุนแล้ว) เฉลี่ยจำนวน 400 บาทต่อวัน หรือ เดือนละ 12,000 บาท - #การจำหน่ายส่งตั้งขายประจำ ประกอบด้วย (1) ร้านค่าในชุมชน จำนวน 3 ร้าน มีรายได้ผลกำไรจากการขาย (หลังหักค่าใช้จ่ายต้นทุนแล้ว) เฉลี่ยเดือนละ 12,000 บาท (2) สถานศึกษาในพื้นที่ ตำบลเกาะกลาง,คลองยาง ได้แก่ โรงเรียนบ้านร่าปู โรงเรียนบ้านร่าหมาด โรงเรียนบ้านคลองย่าหนัด และโรงเรียนบ้านนาทุ่งกลาง เป็นต้น โดยมีรายได้ผลกำไรจากการขาย (หลังหักต้นทุนค่าใช้จ่ายแล้ว) ณ ช่วงเปิดเทอม จำนวน 32,000 บาทต่อสัปดาห์ - #การผลิตและจำหน่ายสินค้าตามออร์เดอร์ของลูกค้าหน่วยงานองค์กรต่างๆ ประกอบด้วย (1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.เกาะกลาง และ อบจ.กระบี่) โดยมีรายได้ผลกำไรจากการขาย (หลังหักต้นทุนค่าใช้จ่ายแล้ว) เฉลี่ยเดือนละ 4,000 บาท (2) พช. และส่วนราชการอำเภอเกาะลันตา ที่ผ่านมาได้สั่งซื้อแล้ว 2 ครั้ง มีรายได้ผลกำไรจากการขาย (หลังหักต้นทุนค่าใช้จ่ายแล้ว) จำนวน 1,700 บาท (3) หน่วยงานในโครงการพระราชดำริทุ่งทะเล โดยมีรายได้ผลกำไรจากการขาย (หลังหักต้นทุนค่าใช้จ่ายแล้ว) เฉลี่ยเดือนละ 2,000 บาท
(4) ภาคเอกชน ได้แก่ โรงแรมนครา อำเภอเกาะลันตา ที่ผ่านมาใช้บริการแล้ว 2 ครั้ง มีรายได้ผลกำไรจากการขาย (หลังหักต้นทุนค่าใช้จ่ายแล้ว) จำนวน 3,000 บาท - #การจำหน่ายผ่านระบบออนไลน์ โดยที่ผ่านมา มีลูกค้าสั่งที่ได้ซื้อสินค้าผ่านแพ็ตฟอร์มต่างๆ ดังนี้ (1) Facebook (เฟสบุ๊ค) มีรายได้ผลกำไรจากการขาย (หลังหักต้นทุนค่าใช้จ่ายแล้ว) จำนวน 10,000 บาท

3.2) มีข้อมูลบันทึกรายรับ รายจ่ายของกลุ่ม และบันทึกเงินปันผลกำไร รายได้ของสมาชิกในกลุ่มทุกเดือน
- สมาชิก 10 คน มีการรวมกลุ่มอย่างต่อเนื่อง (เฉลี่ย 15 วัน/เดือน) มีรายได้ เฉลี่ยคนละ 2,2000 บาทต่อเดือน - สมาชิก 20 คน มีการรวมกลุ่ม (เฉลี่ย 4 วัน/เดือน) มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 300 บาท

ช่องทางการตลาด ที่มาของรายได้ - หน้าร้าน 400 ต่อวัน - ส่ง หน่วยงานภาคี
(1) โรงเรียนบ้านร่าหมาด ร่าปู คลองย่าหนัด นาทุ่งกลาง 4 โรงเรียน 32,000 บาท/สัปดาห์ บาท (หักค่าใช้จ่ายต้นทุนแล้ว) (2) อบต.เกาะกลาง และ อบจ.กระบี่ เดือนละ 4,000 บาท (หักค่าใช้จ่ายต้นทุนแล้ว) (3) พช.อำเภอเกาะลันตา และที่ว่าการอำเภอเกาะลันตา 2 ครั้ง 1,700 บาท บาท (หักค่าใช้จ่ายต้นทุนแล้ว) (4) โครงการพระราชดำริ ทุ่งทะเล เดือนละ 2,000 บาท บาท (หักค่าใช้จ่ายต้นทุนแล้ว) - ร้านค่าในชุมชน และเอกชน
- ร้านค่าในชุมชน 3 ร้าน รายได้หักค่าใช้จ่ายต้นทุนแล้ว 12,000 บาท/เดือน - โรงแรมนครา 2 ครั้ง 3,000 บาท - เฟสบุค 10,000 บาท - ผ่านช็อปปี้ 2 เดือน เดือน พ.ค. 2566 รายได้ 18,000 บาท มิ.ย. 2566 รายได้ 27,000 บาท - Tiktok 10,000 บาท/เดือน

3.2) มีข้อมูลบันทึกรายรับ รายจ่ายของกลุ่ม และบันทึกเงินปันผลกำไร รายได้ของสมาชิกในกลุ่มทุกเดือน
- มีบันทึกข้อมูล สมาชิก 10 คน มารวมกลุ่ม 15 วัน/เดือน มีรายได้เดือนละ 2,2000 บาท - สมาชิก 20 คน มารวมกลุ่ม 4 วัน/เดือน มีรายได้เดือนละ 300 บาท

3.3) มีข้อมูลบันทึกการออมเงินของสมาชิกเดือนละ 30 บาท เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับสมาชิก
สมาชิกกลุ่ม จำนวน 20 คน มีการออมเงินเพื่อเป็นสวัสดิการในชีวิตประจำวัน 30 บาท/เดือน ดำเนินการมาแล้ว 4 เดือน (เริ่มออม มี.ค.2566)

ผลลัพธ์ที่ 4 กลุ่มสมาชิกมีอาชีพ มีรายได้ มีเงินออม มีสวัสดิการ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.1) ร้อยละ 80 ของสมาชิก มีรายได้ ผลกำไรอย่างต่อเนื่อง - สมาชิก 10 คน มีรายได้ ผลกำไรอย่างต่อเนื่อง มีรายได้เดือนละ 2,200 บาท 4.2) มีภาคีเครือข่ายอย่างน้อย 3 ภาคี เข้ามาสนับสนุนต่อยอด พัฒนากลุ่มธุรกิจชุมชน ยกระดับกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน และพัฒนาระบบสวัสดิการของชุมชน - พัฒนาชุมชน อ.เกาะลันตา สนับสนุนการจดแจ้งจัดตั้งกลุ่ม OTOP และพัฒนาบรรจุภัณฑ์
- สำนักงานจังหวัดกระบี่ สนับสนุนการพัฒนาช่องทางการตลาด ผ่านระบบออนไลน์