โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ม.3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

จัดทำข้อมูลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุครั้งที่ 116 กันยายน 2023
16
กันยายน 2023รายงานจากพื้นที่ โดย jintara2540
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

09.00 – 09.30 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม 09.30 – 10.00 น. ชี้แจงกำหนดการกิจกรรมและอธิบายวิธีการใช้เครื่องมือแบบสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุ หมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
10.00 – 12.00 น. ดำเนินการเก็บข้อมูลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ หมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเมือง จังหวัดปัตตานี 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 16.00 น.ดำเนินการเก็บข้อมูลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ (ต่อ) หมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเมือง จังหวัดปัตตานี 16.00 – 16.30 น.สรุปผลการเก็บข้อมูลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นผู้สูงอายุทั้งหมด จำนวน 30 คน
  • ลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ จำนวน 30 ชุด โดยใช้เครื่องมือแบบสำรวจข้อมูลสุขภาพจิตผู้สูงอายุฯพร้อมทั้งประเมินผล โดยได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ ข้อมูลสุขภาวะของผู้สูงอายุ (กาย จิต  สังคม จิตวิญญาณ) สถานการณ์ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุในพื้นที่ และประเมินระดับความสุขของผู้สูงอายุ ณ ปัจจุบัน ซึ่งได้จัดทำแบบสำรวจดังกล่าวจำนวน 30 ชุด  และได้รับการตอบกลับแบบสำรวจทั้งสิ้น จำนวน 30 คน โดยแบบสำรวจมีทั้งหมด 4 ส่วน ดังนี้
    ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย เพศ อายุ ค่าดัชนีมวลกาย  สถานภาพ อาศัยอยู่กับ ศาสนา โรคประจำตัว ความสามารถในการอ่าน ข้อมูลทางเศรษฐกิจ ส่วนที่ 2 ข้อมูลสุขภาวะของผู้สูงอายุ (กาย จิต  สังคม จิตวิญญาณ) ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางสังคม และสุขภาวะทางจิตวิญญาณ โดยแต่ละด้านจะมีชุดคำถาม 10 ข้อ และจะมีเกณฑ์การแปลผลที่แตกต่างกัน ดังนี้
  • จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ด้านสุขภาพผู้สูงอายุโดยวิเคราะห์รายด้าน ได้แก่
              สุขภาวะทางกายของผู้สูงอายุ พบว่า  ส่วนใหญ่มีคะแนนรวมมากกว่า 7 คะแนนขึ้นไป ซึ่งถือว่าส่วนใหญ่ผู้สูงอายุอยู่ในกลุ่มที่ 1 สามารถพึ่งตนเองได้ ช่วยเหลือผู้อื่น สังคม ชุมชนได้หรือกลุ่มติดสังคม มีสุขภาวะทางกายที่แข็งแรง สามารถรับประทานอาหาร ล้างหน้า อาบน้ำ ใช้สุขา ลุกจากที่นอน สวมใส่เสื้อผ้า ขึ้นบันได1ชั้น เคลื่อนที่ภายในบ้าน ขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะและสามารถช่วยเหลือตนเองได้ คิดเป็นร้อยละ 93.3
              สุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ พบว่า ส่วนใหญ่มีคะแนนรวมอยู่ที่ 0-6 คะแนน ไม่พบโรคซึมเศร้า เนื่องจากในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ไม่มีอาการเบื่อ ไม่สบายใจ ซึมเศร้าท้อแท้ หลับยาก เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง สมาธิไม่ดี พูดช้า หรือคิดทำร้ายตัวเอง คิดเป็นร้อยละ 83.3
            สุขภาวะทางสังคมของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุทุกคนมีคะแนนรวมมากกว่า 10 คะแนน มีสัมพันธภาพในครอบครัวที่ดี เนื่องจากคนในครอบครัวได้แสดงความรัก ความห่วงใย การเอาใจใส่ พูดจาถ้อยทีถ้อยคำ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ  รับฟังคำตักเตือนของกันและกัน ใช้เวลาร่วมกัน พูดความลับได้ เกิดความไว้วางใจ สามารถปรึกษาและช่วยเหลือกันได้ คิดเป็นร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุทั้งหมด
            สุขภาวะทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ พบว่า ส่วนใหญ่มีคะแนนรวมน้อยกว่า 36 คะแนน มีสุขภาพจิตวิญญาณระดับที่ไม่ดี เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่เกิดความรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า รู้สึกว่าตนเองไม่ค่อยมีอะไรที่น่าภูมิใจ รวมทั้งไม่ได้มีการวางแผนชีวิตไว้ในบั้นปลาย จึงทำให้ผู้สูงอายุเหล่านี้มีสุขภาพจิตวิญญาณที่ไม่ดี คิดเป็นร้อยละ 60
    ปัญหาและสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตผู้สูงอายุในพื้นที่ พบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาทางด้านสุขภาพร่างกาย เนื่องจากร่างกายเกิดความเสื่อมสภาพตามอายุชราภาพ อาทิเช่น การได้ยิน การมองเห็น การปวดตามข้อต่าง ๆ  และยังพบว่ามีปัญหาทางด้านสังคมเนื่องจากชุมชนบ้านดอนรักเป็นชุมชนที่มีที่อยู่อาศัยแออัด มีขยะมูลฝอยและปัญหาการระบายน้ำเสียจากครัวเรือน และผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่แต่แต่บริเวณบ้านไม่ได้ออกไปไหน ต้องอยู่กับสภาพแวดล้อมดังกล่าวยิ่งส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวข้างต้นจำเป็นต้องมีกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาผู้สูงอายุในชุมชน จากการสำรวจความต้องการด้านกิจกรรมในพื้นที่ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องการให้จัดประเภทกิจกรรมทางศาสนา เช่น กีรออาตี บรรยายธรรม และต้องการให้จัดกิจกรรมประเภทส่งเสริมสุขภาพ เช่น ออกกำลังกาย แต่ยังมีผู้สูงอายุบางส่วนที่ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านสุขภาพ เช่น พิการประเภทที่3ทางการเคลื่อนไหว โรคสมองตีบไม่สามารถเคลื่อนไหวได้มาก เป็นต้น โดยจากกิจกรรมดังกล่าวเห็นควรจัดกิจกรรทางศาสนามากที่สุด โดยกำหนดเป็นกิจกรรมบรรยายธรรมโดยมีการเชิญวิทยากรมากความสามารถด้านการบรรยายธรรมศาสนามาให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่เพื่อเป็นการบำบัดเยี่ยวยาสุขภาพจิตผู้สูงอายุได้ รวมทั้งกำหนดกิจกรรมปลูกผักสร้างสุขเพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดการรวมตัวกัน ส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกันในพื้นที่ ส่งเสริมการบำบัดจิตใจให้ผู้สูงอายุผ่านกิจกรรมปลูกผักสร้างสุข