โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ม.3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

อบรมเชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ5 พฤศจิกายน 2023
5
พฤศจิกายน 2023รายงานจากพื้นที่ โดย jintara2540
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ หมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 5 พฤศจิกายน 2566 08.30 – 08.45 น.ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม
08.45 – 09.00 น.กล่าวต้อนรับเปิดกิจกรรม โดยว่าที่ร้อยตรีอิสมาแอ มาหะ 09.00 – 12.00 น.บรรยายหัวข้อ “การเข้าใจวิถีของผู้สูงอายุ ทักษะการเยี่ยมบ้านทักษะการให้กำลังใจ และการให้คำปรึกษาแก่ผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ” โดยคุณนัสริทร์ แซสะ อาจารย์ประจำหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต ม.อ.วิทยาเขตปัตตานี 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 15.00 น.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยคุณนัสริทร์ แซสะ อาจารย์ประจำหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต ม.อ.วิทยาเขตปัตตานี 15.00 - 16.30 น.ถอดบทเรียนและปิดกิจกรรม วันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 08.30 – 09.00 น.กล่าวทักทายเปิดกิจกรรม โดยว่าที่ร้อยตรีอิสมาแอ มาหะ 09.00 – 12.00 น.บรรยายหัวข้อ “ทักษะประเมินปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุและทักษะการนวดเพื่อผ่อนคลายให้แก่ผู้สูงอายุ” โดยดร.อุบล วรรณกิจ อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.วิทยาเขตปัตตานี 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 15.00 น.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยดร.อุบล วรรณกิจ อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.วิทยาเขตปัตตานี 15.00 - 16.30 น.ถอดบทเรียนและปิดกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการดำเนินกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ ผลผลิตหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ ทำให้อาสาสมัคร ทั้งนักศึกษา อสม. แกนนำชุมชน ทีมงาน คณะกรรมการโครงการ รวมถึงผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ เกิดการเข้าใจวิถีของผู้สูงอายุ ทักษะการเยี่ยมบ้าน ทักษะการให้กำลังใจ และการให้คำปรึกษาแก่ผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ รวมไปถึงมีความรู้เกี่ยวกับทักษะประเมินปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุและทักษะการนวดเพื่อผ่อนคลายให้แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวส่งผลทำให้อาสาสมัครและผู้ดูแลผู้สูงอายุได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้สุงอายุ เกิดการดูแลผู้สูงอายุอย่างถูกวิธี ดังนั้นร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ สามารถที่จะนำความรู้ที่ได้รับนำไปใช้ได้จริง