โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ม.3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 5 (ถอดบทเรียนโครงการ)12 มกราคม 2024
12
มกราคม 2024รายงานจากพื้นที่ โดย jintara2540
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการประชุมถอดบทเรียนโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ หมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานีวันศุกร์ ที่ 12 มกราคม 2567 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ร้าน Owly Café & Co. 09.00 – 09.15น. ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุม 09.15 – 09.30 น. ประธานเปิดการประชุมและแจ้งวัตถุประสงค์การประชุม 09.30 - 10.00 น. นำเสนอภาพรวมการดำเนินโครงการฯที่ผ่านมา
10.00 – 12.00 น.กิจกรรมถอดบทเรียน “รู้จักฉัน รู้จักชุมชน” โดยคุณนูร์ฮีดายู บินสาฮะ บัณฑิตอาสา ม.อ.รุ่นที่ 19 12.00 – 13.30 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.30 – 15.30 น.นำเสนอผลการถอดบทเรียนโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ม.3 บ้านดอนรัก ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี 15.30 – 16.30 น.สรุปผลการดำเนินงานและปิดโครงการฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุมถอดบทเรียนโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ หมู่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนภาพรวมตลอดการดำเนินโครงการที่ผ่านมา พร้อมทั้งถอดบทเรียนที่ได้รับนำไปปรับใช้แก่กลุ่มเป้าหมายต่อไป * กิจกรรมถอดบทเรียน “รู้จักฉัน รู้จักชุมชน” 3.1 สะท้อนสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายได้รับ จากการสะท้อนของกลุ่มเป้าหมายหลัก แบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1. รู้สึกอย่างไร พบว่า กลุ่มเป้าหมายหลักมีความรู้สึกดีใจ มีความสุข มอบมิตรภาพที่ดีให้แก่กัน และได้ลงมือปฏิบัติโดยตรงตามสาขาที่กำลังศึกษา ตลอดจนได้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมกับเพื่อน อาสาสมัคร และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. ประทับใจอะไร พบว่า มีความประทับใจที่ได้พบปะกับผู้สูงอายุ คณะการดำเนินงาน                มีการออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นอาสาพาเพื่อนเยี่ยมเพื่อน การทำอาหารร่วมกัน              แปลงผักสร้างสุข อีกทั้งมีความประทับใจคนในชุมชนที่ให้ความร่วมมือในการจัดโรงการฯ ในครั้งนี้ 3. ได้เรียนรู้อะไร พบว่า ได้เรียนรู้พื้นที่ชุมชน วิถีชีวิตของคนในชุมชน กระบวนการคิดและการทำงานร่วมกัน มีความเข้าใจความต้องการของผู้สูงอายุมากขึ้น ตลอดจนได้เรียนรู้ความหลากหลายทั้งช่วงวัยและศาสนา 4. ได้ฝึกทักษะอะไร/ได้อะไรเพิ่มขึ้น พบว่า ได้ฝึกทักษะการเยี่ยมบ้าน ทักษะการสื่อสารกับผู้สูงอายุ ทักษะการลงพื้นที่ ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษธการฟังอย่างตั้งใจ ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และทักษะด้านภาษาท้องถิ่น 5. นำไปใช้อย่างไร พบว่า สามารถนำกระบวนการ แนวคิด อีกทั้งนำความรู้ที่ได้รับจากการอบอรมเชิงปฏิบัติการมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ รวมไปถึงทักษะการเยี่ยมบ้าน การสื่อสารกับผู้สูงอายุไปใช้ในการลงพื้นที่ครั้งต่อไป 3.2 สะท้อนสิ่งที่ผู้สูงอายุและชุมชนได้รับ 1. บริบท/สถานการณ์ ก่อนเริ่มโครงการ พบว่า ผู้สูงอายุอยู่แต่ในบ้าน ติดบ้าน ไม่ออกไปไหน ไม่มีการรวมตัวกัน ชุมชนไม่มีความร่วมมือ และคนในชุมชนต่างคนต่างอยู่ 2. การดำเนินงานเบื้องหน้า พบว่า มีการร่วมกันติดตาม ดูแลผู้สูงอายุทั้งการดำเนินชีวิตประจำวันและเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดจนการประเมินสภาพจิตใจของผู้สูงอายุโดยการสังเกตเป็นระยะ ๆ อีกทั้งมอบสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเป็นแรงจูงใจแก่ผู้สูงอายุ 3. การดำเนินงานเบื้องหลัง พบว่า มีการประชาสัมพันธ์ตามบ้านของผู้สูงอายุ ประสานงานร่วมกันภายในชมรมวอลันเทียร์ในการเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง อีกทั้งเตรียมอุกรณ์ต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมทำอาหารร่วมกัน เพื่อสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกที่ดีและใส่ใจต่อกิจกรรมมากขึ้น 4. ผลที่เกิดขึ้น ปรากฏชัดเจน พบว่า ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น เพลิดเพลินไปกับกิจกรรม ยิ้มแย้มแจ่มใส ได้เข้าร่วมกิจกรรมที่คณะดำเนินโครงการได้เตรียมไว้ อีกทั้งผู้สูงอายุมีการมารวมตัวกันและให้ความร่วมมือทุก ๆ กิจกรรมที่ได้จัดตั้งขึ้น 5. วางแผนหลังจบโครงการ พบว่า สามารถนำทักษะต่าง ๆ ที่ได้รับจากโครงการฯ ไปพัฒนาคนในชุมชนได้ รวมไปถึงติดตาม เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุอยู๋บ่อยครั้ง
* นำเสนอผลการถอดบทเรียน ตัวแทนจากอาสาสมัครและนักศึกษากล่าวถึงผลการถอดทบเรียนในครั้งนี้ โดยผ่านกิจกรรมที่มีชื่อว่า หน้าต่างความสำเร็จ พบว่า มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการฯ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ และจะนำความร็ต่าง ๆ ที่ได้รับจากโครงการฯ ในครั้งนี้ไปใช้ในอนาคตต่อไป * สรุปผลการดำเนินงานและปิดโครงการฯ การดำเนินโครงการฯ ในครั้งนี้ ทางคณะดำเนินโครงการฯ /ทีมงาน ขอขอบคุณผู้ที่มีความเกี่ยวข้องที่ร่วมขับเคลื่อนงานจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ได้เห็นถึงพลังใจของคนในชุมชนที่พร้อมจะให้ชุมชนและผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีมากขึ้น