FSC Network Thailand

ประชาสัมพันธ์

  • สหกรณ์การเกษตรจะนะ เข้าฝึกอบรมงานเชิงปฎิบัติการ ระหว่างวันที่ 6-8 มิย. 66 จำนวน 10 คน

    @8 มิ.ย. 66 15.50

    สหกรณ์การเกษตรจะนะ เข้าฝึกอบรมงานเชิงปฎิบัติการ โรงงานน้ำยางข้น ระหว่างวันที่ 6-8 มิย. 66 จำนวน 10 คน

  • FSC Network Thailand (เครือข่ายการจัดการป่า FSC ประเทศไทย)

    @4 มิ.ย. 66 18.08

    FSC Thailand Network : เครือข่ายการจัดการป่า FSC แห่งประเทศไทย

    By..... สหกรณ์เครือข่ายยางพารา จังหวัดตราดจำกัด
    The TRAT Rubber Federation Co-operative
    E-mail 1 : tfc.document@gmail.com
    E-mail 2:  tfc_trat55@hotmail.com

  • ความเป็นมา

    @4 มิ.ย. 66 18.07

    FSC (Forest Stewardship Council)
    เป็นองค์กรเอกชนภายใต้ความร่วม-มือของกลุ่มต่างๆจากทั่วโลก อาทิ กลุ่มอนุรักษ์ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม ผู้ค้าไม้ ผู้ผลิตสินค้าจากไม้ และองค์กรผู้ให้การรับรองไม้ และผลิตภัณฑ์จากไม้ เพื่อจัดทำระบบการให้การรับรองไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ซึ่งเป็นการรับประกันว่า ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่ได้รับการประทับเครื่องหมาย FSC เป็นไม้และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไม้จากป่าธรรมชาติหรือป่าปลูกที่มีการจัดการป่าอย่างถูกต้องตามหลักการที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ คือมีการปลูกไม้แบบยั่งยืน การรับรองทางป่าไม้ (Forest Certification) เป็นเครื่องมือหรือวิธีการใหม่ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อวงการป่าไม้ทั่วโลก โดยการใช้การตลาดเป็นข้อกำหนดในการจูงใจให้ปรับปรุงวิธีการจัดการป่าไม้ โดยวิธีการที่ได้รับการยอมรับแพร่หลายและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะเป็นการชักจูงให้กระทำตามโดยมิใช่บังคับโดยกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆอย่างที่เคยปฏิบัติมาในอดีต และประการสำคัญวิธีการนี้สามารถช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ (Stake – holders) หันหน้าเข้าหากันเพื่อที่จะเดินไปตามหลักการของการพัฒนาแบบยั่งยืน การรับรองป่าไม้ (F.C.) ได้มีการพัฒนาต่อจากการประชุม UNCED (United Nation Conference on Environment and Development) ที่เมือง Rio de Janeiro, ประเทศบราซิล เมื่อวันที่ 3 – 14 มิถุนายน ปี 1992 ซึ่งมีข้อสรุปร่วมกันที่จะให้ความสนใจ 3 ประการหลัก คือ
    1. ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biological Diversity)
    2. การเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศ (Climate Change)
    3. Combat Desertification

    และได้มีการกำหนดหลักการป่าไม้ขึ้นมา (Forest Principles) สำหรับเป็นหลักในการนำไปปฏิบัติทั่วโลก และจากการประชุมการป่าไม้ของทวีปยุโรปที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ในปี 1993 ได้มีการกำหนดเรื่องหลักเกณฑ์การจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนขึ้นมา โดยจะต้องมีการดำเนินการอย่างมีมาตรฐาน และในการนำสินค้าออกจากป่าก็ควรจะต้องดำเนินการในลักษณะการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน  รวมทั้งมีแนวความคิด เรื่องการติดฉลากรับรองสินค้าจากไม้ (Labelling) และในปี 2000 ประเทศสมาชิกของ ITTO (International Tropical Timber Organization)
    ได้มีการตกลงกันว่าให้ประเทศสมาชิกเสนอแนวทางในการดำเนินการกำหนดหลักการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน เพื่อจะได้ใช้ในการปฏิบัติการต่อไป จากมุมมองความต้องการที่จะจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน (Sustainable Forest Management) ได้แพร่หลายไปทั่วโลก ทำให้องค์กรเอกชนต่างๆ ที่ไม่สามารถไปบอกกล่าวให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ  ดำเนินการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน ได้รวมตัวกันชักชวนให้ผู้บริโภค เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไม้และกระดาษที่มาจากป่าไม้ที่มีการจัดการแบบยั่งยืน  ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ผู้ผลิตเริ่มหันมาสนใจต่อทรัพยากรมากขึ้น จึงได้เกิดมิติใหม่ในวงการป่าไม้ของโลก คือ การรับรองทางป่าไม้ (Forest Certification) เพื่อป้องกันรักษาทรัพยากรป่าไม้ทั่วโลก เพื่อขจัดความสับสนในหมู่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และหาข้อยุติเรื่อง F.C. จึงได้เกิดมีการรวมตัวกันระหว่างตัวแทนองค์กร สิ่งแวดล้อม นักวิชาการป่าไม้ ผู้ค้าไม้ องค์กรชุมชนท้องถิ่น สมาคมป่าชุมชน  และสถาบันรับประกันผลผลิตป่าไม้ ร่วมกันจัดตั้งองค์กรที่เรียกว่า Forest Stewardship Council หรือ FSC ขึ้นมา เพื่อสนับสนุนการจัดการป่าไม้ ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม รวมทั้งผลตอบแทนที่ดีต่อภาคเศรษฐกิจและสังคม (Environment, Economic and Social) โดยเน้นถึงการจัดการป่าไม้ที่ดีและมีเป้าหมายที่จะประเมิน และมีการแต่งตั้งผู้นำการรับรอง (Certifier) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนามาตรฐานระดับชาติ (National Standard)
    สำหรับการจัดการป่าไม้ โดยการจัดการให้การศึกษาและฝึกอบรม FSC ได้ประชุมกลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและผู้จัดการป่าไม้ที่ เมืองวอชิงตันดีซี ในเดือนมีนาคม ปี 1992  ซึ่งทำให้เกิดการแต่งตั้งคณะกรรมการชั่วคราว (Interim Board) ขึ้นมาเพื่อดำเนินการปรึกษาหารือและพัฒนาหลักการและมาตรฐาน (Principles and Crierias) เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการรับรอง (Certification) ต่อมาได้มีการประชุมเพื่อร่วมก่อตั้งองค์กรขึ้นที่เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา เมื่อเดือนตุลาคม ปี 1993 ประกอบด้วยผู้เข้าร่วมประชุม 130 คน จาก 25 ประเทศ และได้มีการลงมติให้ FSC เป็นองค์กรที่มีสมาชิกและเลือกคณะกรรมการบริหารขึ้นมา โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง Oaxaca ประเทศเม็กซิโก
    วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งองค์กร
    เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีระบบการจัดการป่าไม้ เพื่อการค้าทั่วโลกให้เหมาะสมมีแนวทางครอบคลุม 3 ประการหลัก คือ การจัดการป่าไม้ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม มีการใช้ทรัพยากรป่าไม้ที่คงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพของป่า และมีความสมดุลทางระบบนิเวศน์
    การจัดการป่าไม้เพื่อสังคม เป็นการช่วยเหลือชุมชนในท้องถิ่นให้ได้รับผลประโยชน์จากป่าไม้ในระยะยาว 
    และการจัดการป่าไม้ที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่คุ้มค่า

    ภารกิจขององค์กร
    1. เป็นผู้กำหนดหลักการและมาตราฐานในการจัดการป่าไม้เพื่อการค้า สำหรับใช้กับป่าไม้ทั่วโลกที่มีการจัดการป่าไม้เพื่อการค้า โดยผ่านผู้ให้การรับประกัน ซึ่งมาตราฐานเหล่านี้จะสอดคล้องกับสถานการณ์ท้องถิ่น
    2. แต่งตั้งผู้ให้การประกันออกไปทำหน้าที่ตรวจสอบและออกใบรับประกันให้กับผู้ประกอบการ ว่ามีคุณสมบัติตามหลักการและมาตราฐานตามที่ FSC กำหนด และสามารถให้ตราสัญลักษณ์ของ FSC กับผลิตภัณฑ์ได้
    3. เป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือในด้านความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการป่าไม้ โดยการให้การศึกษาและฝึกอบรม สนับสนุนและให้การช่วยเหลือองค์กรอื่นๆ และผู้สนใจ ในการจัดการป่าไม้ที่ดี ทั้งหน่วยงานเอกชนและของรัฐ เช่น ช่วยเหลือในการวางแผน และกำหนดมาตรฐานการจัดการป่าไม้
    4. ช่วยเหลือและสนับสนุนนโยบายทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
    5. จัดตั้งหน่วยงานเพื่อการค้นคว้า ศึกษาวิจัย เกี่ยวกับการจัดการป่าไม้ที่ดี
    6. จัดการหาเงินทุนที่จะต้องใช้ในองค์กรเพื่อดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ ทั้งที่ได้รับบริจาคจากบุคคลภายนอก หรือในรูปของสิทธิพิเศษต่างๆ ในการกระทำการใดๆ โดยไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับ


    FSC  แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    * การรับรองป่าไม้แบบยั่งยืน (Sustainable Forest Management; FM) ว่าบริษัทที่มีการใช้ทรัพยากรจากธรรมชาตินั้นสามารถ จัดการป่าไม้ในพื้นที่หนึ่งโดยคำนึงถึง ความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ผลิตภาพ (productivity) การสืบต่อพันธุ์ (regeneration capacity) ความอยู่รอดของหมู่ไม้ (viability) และศักยภาพในการพัฒนาของหมู่ไม้(potential)ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ต้องไม่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศอื่น เหมาะกับผู้ประกอบการที่ดำเนินการเรื่องป่าไม้ สวนป่า ทรัพยากรป่าไม้ และบริษัทที่เกี่ยวกับทำห่วงโซ่อุปทานค้าไม้
    * การตรวจสอบย้อนกลับ (Chain of Custody Certificate; CoC) ควบคุมการเคลื่อนย้ายไม้ตลอดห่วงโซ่อุปทานการค้าไม้ ว่าจากสวนป่าไปยังจุดสุดท้าย ไปจนถึงมือผู้ซื้อในตลาดโลก ว่ามีความยั่งยืน ไม่มีการปะปนกับสินค้าที่ไม่ได้รับการรับรอง เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ใช้ผลิตภัณฑ์จากไม้ อย่างผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ สำนักพิมพ์

    หลักการสำคัญในการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน (มาตรฐาน FSC™) V4.0

    1. การปฏิบัติตามกฎหมายและหลักการของมาตรฐาน FSC™ กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย สนธิสัญญาภายในประเทศและต่างประเทศต่างอย่างเคร่งคัด รวมไปถึงการจ่ายค่าธรรมเนียมและภาษีอย่างถูกต้อง และต้องมีการจัดทำแผนและกระบวนการป้องกันพื้นที่สวนป่าอย่างชัดเจน
    2. การเคารพต่อสิทธิการถือครองและใช้ประโยชน์ที่สวนป่าและการรับผิดชอบตามกฎหมาย กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องมีหลักฐานการถือครองและใช้ประโยชน์พื้นที่สวนป่าอย่างถูกต้อง อาทิเช่น โฉนดที่ดินและส.ป.ก. การบริหารสวนป่าต้องเคารพและคุ้มครองสิทธิการถือครองและใช้ประโยชน์พื้นที่ของชุมชนท่องถิ่น
    3. การเคารพต่อสิทธิชนพื้นเมือง เกษตรกรและผู้ผลิตไม้แปรรูปหรือผลิตภัณฑ์ไม้ต้องเคารพสิทธิในการครอบครองและการจัดการป่าไม้ของคนพื้นเมือง และจะต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในแง่ร้ายต่อชนพื้นเมือง เช่นแหล่งที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของชนพื้นเมือง
    4. การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและการเคารพต่อสิทธิของพนักงาน กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องรักษาและส่งเสริมความเป็นอยู่ของพนักงานและชุมชนท้องถิ่นในด้านสังคม เศรษฐกิจและสวัสดิการความปลอดภัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โอกาสในการจ้างงาน การฝึกอบรม สิทธิต่างๆของพนักงาน และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชุมชนท้องถิ่น
    5. การบริหารจัดการผลประโยชน์จากสวนป่า กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องสนับสนุนการใช้ประโยชน์ผลผลิตจากสวนป่าให้เกิดประสิทธิภาพสูง เพื่อเป็นเน้นความสามารถทางด้านเศรษฐกิจ พร้อมคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคมในขณะเดียวกัน ดังนั้นการจัดการสวนป่าควรลดความสูญเสียของผลผลิตในขั้นตอนต่างๆให้ได้มากที่สุด และจำเป็นต้องคำนึงถึงการรักษาพื้นที่ที่มีความสำคัญและเหมาะสมในด้านต่างๆ ที่จะช่วยเสริมคุณค่าและการใช้ประโยชน์ของป่าไม้และทรัพยากรต่างๆ
    6. การป้องกันดูแลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและคุณค่าการอยู่ร่วมกัน ทรัพยากรดินและน้ำ ระบบนิเวศน์ที่มีลักษณะพิเศษและเปราะบาง รวมไปถึงความสมดุลทางนิเวศและความสมบูรณ์ของป่าไม้ ผ่านทางการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการจัดระบบป้องกันหรือลดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและชัดเจน
    7. การจัดทำแผนการจัดการและดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องแผนการจัดการสวนป่าที่ชัดเจน และมีการตรวจสอบอยู่สม่ำเสมอ ซึ่งแผนการตรวจสอบนี้ต้องมีเป้าหมายระยะสั้นและยาวรวมถึงวิธีการปฏิบัติงานที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการอย่างละเอียด
    8. การตรวจสอบติดตามและการศึกษาวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องดำเนินการตรวจสอบติดตามพร้อมศึกษาวิเคราะห์สวนป่าอย่างใกล้ชิดและเหมาะสมกับขนาดและปัจจัยต่างๆของสวนป่า ซึ่งต้องมีการเปรียบเทียบผลและศึกษาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง พร้อมเก็บข้อมูลที่สำคัญต่างๆเกี่ยวกับสวนป่าไว้เพื่อเป็นการเปรียบเทียบและศึกษาต่อในอนาคต
    9. การฟื้นฟูป่าไม้ที่มีคุณค่าสูงด้านการอนุรักษ์ กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องอนุรักษ์บำรุงและส่งเสริมคุณลักษณะของพื้นที่ป่าไม้ และต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆในการดำเนินกิจกรรมใดๆที่เกี่ยวข้องกับสวนป่าอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยเฉพาะพื้นที่ป่าไม้ที่มีคุณค่าสูงต่อการอนุรักษ์ กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องมีการตรวจสอบ และกำหนดระบบการจัดการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่สำคัญนี้ พร้อมมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ
    10. การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องมีการวางแผนการจัดการพื้นที่สวนป่าให้สอดคล้องกับหลักการทั้งหมดที่ผ่านมา และต้องส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าธรรมชาติ และลดแรงกดดันต่อป่าทรัพยากรธรรมชาติให้ได้มากที่สุด
  • หลักการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน FSC

    @4 มิ.ย. 66 18.06

    หลักการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน  FSC V4.0

    1. ต้องสอดคล้องกับกฎหมายและหลักเกณฑ์  FSC
    2. มีความชัดเจนเรื่องการถือครองที่ดิน สิทธิในการจัดการทรัพยากรในที่ดิน  มีหลักฐานที่ดินถูกต้องตามกฎหมาย ไม่อยู่ในเขตป่าสงวนหรือที่ดินสาธารณะอื่น ๆ
    3. ต้องให้ความเคารพในสิทธิของชนพื้นเมือง คนท้องถิ่น พื้นที่ใกล้เคียงสวนป่า
    4. ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ตลอดจนตระหนักในสิทธิของคนงาน มีกิจกรรมร่วมกับชุมชน มีการอบรมการใช้สารเคมีอย่างถูกวิธี มีอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย
    5. เก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่าอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสม ใช้ประโยชน์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
    6. ไม่กระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม รักษาความสมดุลทางนิเวศ ไม่ให้มีการล่าสัตว์ป่า หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีอันตราย
    7. จัดทำแผนการบริหารจัดการกิจกรรมให้ครอบคลุมเป็นลายลักษณ์อักษร  มีการปรับปรุงอยู่เสมอ ติดตามตรวจตราแก้ไขผลกระทบด้านต่าง ๆ
    8. มีการตรวจติดตามและตรวจประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
    9. ดำรงไว้และส่งเสริมคุณค่าของป่าอนุรักษ์ในพื้นที่ไม่ให้มีผลกระทบใด ๆ จัดทำบัญชีรายชื่อพันธุ์พืชป่า สัตว์ป่าในพื้นที่ จัดทำแผนที่ป่าอนุรักษ์ในพื้นที่
    10. มีการปลูกทดแทนในพื้นที่ที่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว วางแผนและจัดการ  กับพื้นที่สวนป่าให้สอดคล้องกับหลักการ

    หลักการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน  FSC V5.3 - 2023

    1. Compliance with laws ถูกต้องตามกฎหมาย
    2. Workers’ rights and employment conditions การจ้างงานอย่างเป็นธรรม
    3. Indigenous peoples’ rights เคารพสิทธิของคนพื้นเมืองในท้องที่
    4. Community relations เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
    5. Benefits from the forest การใช้ผลประโยชน์จากป่าไม้
    6. Environmental values and impact ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
    7. Management planning มีแผนงานในการจัดการ
    8. Monitoring and assessment การติดตามและประเมินผล
    9. High conservation values ใส่ใจป่าไม้ที่มีคุณค่าด้านการอนุรักษ์สูง
    10. Implementation of management activities : การดำเนินกิจกรรมอย่างสอดคล้อง

หัวข้อข่าวทั้งหมด