Node Flagship

ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ม.3 กะดูโด๊ะ ตำบลสะเอะ

รายงานการติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ …1…และติดตามรายงานความก้าวหน้ารายงานการเงิน ครั้งที่ 127 เมษายน 2564
27
เมษายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย รอฮานี ดือเระ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นตอนกระบวนการลงพื้นที่ 1. อธิบายการเตรียมการของพี่เลี้ยง (พี่เลี้ยงเตรียมอะไร โครงการย่อยเตรียมอะไร อย่างไร สื่อสารอะไร อย่างไรกับพื้นที่) ขั้นเตรียมก่อนลงพื้นที่ พี่เลี้ยง -ทำการศึกษา /ทบทวนรายละเอียดโครงการ ต้นไม้ปัญหา บันไดผลลัพธ์  ข้อมูลสถานการณ์ในชุมชนกะดูโด๊ะ  ข้อมูล ประวัติชุมชน ด้านภูมิศาสตร์ การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้] ท้องที่อำเภอกรงปินังประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่ -องค์การบริหารส่วนตำบลกรงปินัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกรงปินังทั้งตำบล -องค์การบริหารส่วนตำบลสะเอะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะเอะทั้งตำบล -องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยกระทิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยกระทิงทั้งตำบล -องค์การบริหารส่วนตำบลปุโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปุโรงทั้งตำบล -ทีมงานประสานพื้นที่ประชาสัมพันธ์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน กำหนดวัน เวลา สถานที่
-เตรียมกระบวนการคณะกรรมการอุบัติเหตุ ประธานโครงการ ในการดำเนินโครงการให้เข้าใจและมีความชัดเจน สามารถดำเนินการได้ -พี่เลี้ยงร่วมกันกำหนด วันเวลา สถานที่ อย่างชัดเจนในการดำเนินงาน ขั้นดำเนินการ (ลงพื้นที่)
1.พี่เลี้ยง ประกอบด้วย พี่เลี้ยงอุบัติเหตุ พี่เลี้ยงโรงพยาบาล ลงพื้นที่ร่วมเวที ARE การประเมินเพื่อการเรียนรู้ของ       ชุมชน ตามวันเวลา สถานที่ ดังกล่าว
2.พี่เลี้ยง แนะนำตัวเอง แจ้งวัตถุประสงค์ที่ได้รับมอบหมายเป็นพี่เลี้ยงให้ ชุมชนทราบ
  แจ้งวัตถุประสงค์การลงเยี่ยมเรียนรู้การทำงานเพื่อการพัฒนา และขอความร่วมมือจากผู้เข้าประชุมร่วมแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานตามบันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 1
  ประธานโครงการได้เล่าถึงกิจกรรมที่ได้ทำไปแล้ว มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็นกันระหว่างกันอย่างเป็นกันเองในบรรยากาศที่สนุกสนาน และพูดคุยปัญหาอุปสรรค การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ให้ชุมชนทราบ จากการดำเนินงานที่ผ่านมาในบันได ขั้นที่ 1 เพื่อเข้าสู่เป้าหมายต่อไปในขั้นที่ 2  มีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
        -กิจกรรมสามารถดำเนินการได้ตามแผน  เวทีได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ผู้เข้าร่วมฟังสรุปผลงานดำเนินงาน เช่น ผู้นำชุมชน อส.อสม. พี่เลี้ยง รพ. โต๊ะอีหม่าม ผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้านกะดูโดะ ต่างแสดงความคิดเห็นข้อมูลอุบัติเหตุ ที่สังเกต และเก็บข้อมูลในชุมชนตัวเอง มาคุยกัน
-พี่เลี้ยงจังหวัด ให้เพิ่มประเด็นข้อมูลการสำรวจข้อมูลเพื่อให้ทีมงานมีข้อมูลอุบัติเหตุที่หลากหลาย -พี่เลี้ยงจังหวัดได้แลกเปลี่ยนข้อมูล เจ้าหน้าที่ธุรการจดบันทึกรายงานการประชุม เพื่อรวบรวมข้อมูล กลับไปวิเคราะห์และส่งต่อข้อมูล รายงานในระบบคนใต้สร้างสุขต่อไป
    1) การสำรวจข้อมูลพฤติกรรม ที่ส่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น อุบัติเหตุบนท้องถนน รายงานการเกิดอุบัติเหตุจราจร ในสถานที่ซ้ำซาก ในสัปดาห์  7 ครั้ง/สัปดาห์  โดยมีผู้บาดเจ็บ 36 คน/สัปดาห์  โดยจะพบว่า จุดเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง คือบริเวณหน้ามัสยิดกะดูโด๊ะ สะเอะ จำนวน 1 เหตุการณ์/สัปดาห์ ซึ่งได้สอดคล้องกับเป้าหมายที่จะดำเนินงานโครงการดังกล่าวฯ
 
ขั้นหลังดำเนินการ (หลังลงเวที)           -พี่เลี้ยงสรุปประเด็นที่ได้จากการพูดคุย และเสริมพลังให้กลุ่มเห็นจุดแข็งของกลุ่มทีมงาน และชุมชนถึงความเป็นไปได้ที่จะบรรลุผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย เกิดลดอุบัติเหตุบนท้องถนนอย่างน้อยร้อยละ 50 การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุอย่างน้อยร้อยละ 50 2. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมเวทีสะท้อนผล ได้แก่ (ใคร) สมาชิกกลุ่ม คณะทำงาน เครือข่าย…………จำนวน…40….คน

• คณะทำงาน………10………คน • กลุ่มเป้าหมาย……20…………คน • ภาคี……10…………คน 3. ขั้นตอนและกระบวนการจัดเวที (แต่ละขั้นตอนทำอะไรบ้าง มีวิธีการทำอย่างไร พี่เลี้ยง คณะทำงานโครงการย่อย ใครทำอะไรบ้าง เทคนิค กลวิธีในการจัดกระบวนการ) ขั้นตอนดำเนินการ 1.ช่วงเริ่มต้นก่อนเข้าสู่กระบวนการ 1.1 ประธานกล่าวต้อนรับ และชี้แจงวัตถุประสงค์การนัดหมายมาครั้งนี้
12 ทีมพี่เลี้ยงแนะนำตัวเองให้สมาชิกที่มาประชุมได้รู้จัก ทักทายกัน 2.ช่วงเข้าสู่กระบวนการ 2.1 พี่เลี้ยงอำเภอ มอบประธานอุบัติเหตุ ดำเนินการโดยการเล่าถึงกิจกรรมตามบันไดผลลัพธ์ที่ดำเนินการไปแล้ว ซึ่งในระหว่างาการเล่า โดยทีมพี่เลี้ยงเป็นผู้ฟัง จับประเด็น ซักถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างคณะทำงาน และพี่เลี้ยงในลักษณะการสื่อสาร 2.3 การสื่อสารระหว่างกันเน้นการใช้ภาษามลายูถิ่นผสมผสานกับภาษาไทย บรรยากาศก็ดี 2.4 ประเด็นพูดคุยยึดกิจกรรมตามผลลัพธ์เป็นหลัก (ยกบันไดผลลัพธ์มาดูกัน)
3.ช่วงสิ้นสุดกระบวนการ
2.1 พี่เลี้ยงให้คณะทำงานซักถามปัญหาเพิ่มเพิ่มเติม
2.2 เจ้าหน้าที่ธุรการ สรุปประเด็นพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน
2.3 พี่เลี้ยงอำเภอ ให้ข้อเสนอแนะสุดท้าย
2.4 ประธานโครงการปิดการพูดคุยแลกเปลี่ยน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการติดตามประเมินผลครั้งที่  ..1....  (ผลลัพธ์ เกิด ไม่เกิด เพราะอะไร มีหลักฐานอะไรสนับสนุน)
ผลลัพธ์ที่คาดไว้ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ข้อมูลผลที่เกิดขึ้นจริงและหลักฐานที่พบ เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเรื่องป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เข้มแข็งในชุมชนกะดูโด๊ะ 1.คณะทำงานแกนนำชุมชน เยาวชนร่วมกันสามารถขับเคลื่อนงานได้  -มีโครงสร้างคณะทำงานชัดเจน -วิเคราะห์ และการวางแผนโดยใช้ข้อมูลเป็นฐานควรได้รับการพัฒนา
2.มีข้อมูลพื้นฐานพฤติกรรม -ได้ข้อมูลพฤติกรรมเยาวชนที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ
3.มีแผนการอบรมที่ชัดเจน จะทำแผนการอบรม เดือนสิงหาคม  2563 ประสานการดำเนินงาน ส่งต่อข้อมูลในทีม/ชุมชน 4.เกิดข้อตกลงของกลุ่ม มีข้อตกลงของกลุ่ม จะทำไวนิลติดลานประชุมบ้านผู้ใหญ่บ้านกะดูโด๊ะ 5.เวทีประชาคมคืนข้อมูล ดำเนินการแล้วเสร็จ 30 กันยายน 2563