assignment
บันทึกกิจกรรม
พี่เลี้ยงติดตามโครงการ12 มีนาคม 2013
12
มีนาคม 2013รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำรายงานส่ง สสส โดยรวบรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ สรุปยอดการดำเนินงานทั้งปี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รายงานฉบับสมบูรณ์ส่ง สสส

พี่เลี้ยงติดตามโครงการ12 มีนาคม 2013
12
มีนาคม 2013รายงานจากพี่เลี้ยง โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พี่เลี้ยงลงพื้นที่สวนพ่อเฒ่าต้นแบบ บ้านไพโรจน์ จูวงศกร  สัมภาษณ์ลูกหลานและเพื่อนบ้าน จำนวน 5 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-บ้านต้นแบบมีแนวคิดเรื่องการกลับสู่ธรรมชาติโดยใช้ธรรมชาติที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน พัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ ปลูกสมุนไพรหายาก ปลูกผักปลอดสารพิษ ไม้ยืนต้น พืชเศรษฐกิจ แล้วชวนเพื่อบ้านทั้งในอำเภอและอำเภอใกล้เคียงมาร่วมเรียนรู้ ใช้บทกลอนถ่ายทอดความรู้ได้น่าสนใจและอยากติดตาม นอกจากบ้านนายไพโรจน์แล้ว ยังมีบ้านอื่นๆอีก ดังนี้ ๑) นายเล็ก เอียดแก้ว เนื้อที่ ๔ ไร่ ต.ทรายขาว อ.หัวไทร ๒)นายสมปอง ฤทธิดุ เนื้อที่ ๓ ไร่ ต.ป่าระกำ อ.ปากพนัง ๓)นายอภัย ชูประจง เนื้อที่ ๓ ไร่ ต.เชียรใหญ่ อ.เชียรใหญ่ ๔)นายไพโรจน์ ชูวงศกร เนื้อที่ ๙ ไร่ ต.เชียรเขา อ.เฉลิมพระเกียรติ ๕)นายคนึง สะอาด เนื้อที่ ๙ ไร่ ต.เกาะเพชร อ.หัวไทร ๖)นายประเสริฐ เพชรคงทอง เนื้อที่ ๔ ไร่ ต.วังอ่าง อ.ชะอวด ๗)นายประชา ศรีวงศ์แวว เนื้อที่ ๓ ไร่ ต.วังอ่าง อ.ชะอวด ๘)นายหนู พิทักษ์  เนื้อที่ ๔ ไร่ ต.วังอ่าง อ.ชะอวด ๙)นายสมพร ยอดระบำ  เนื้อที่ ๙ ไร่ ต.ทุ่งโพธิ์ อ.จุฬาภรณ์ ๑๐)นายมนู ชูแก้ว เนื้อที่ ๕ ไร่ ต.ร่อนพิบูลย์ อ.ร่อนพิบูลย์ ๑๑)นายกฐิน อารีย์กิจ เนื้อที่ ๓ ไร่ ต.ร่อนพิบูลย์ อ.ร่อนพิบูลย์ ๑๒)นายอนงค์ ขุนบุญจันทร์ เนื้อที่ ๔ ไร่ ต.ทรายขาว อ.หัวไทร - สรุปการดำเนินงานโครงการส่งปิดโครงการให้ สสส. ได้

ติดตามโครงการ10 มีนาคม 2013
10
มีนาคม 2013รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ได้สรุปรายงานที่ มอ.หาดใหญ่ ตรวจสอบรายงาน และรายงานโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้แนวทางการสรุปรายงานส่ง

16. การติดตามผล3 มีนาคม 2013
3
มีนาคม 2013รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงาน  จำนวน  3  คน  ลงพื้นที่  เพื่อประเมินสถานการณ์  และผลที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมที่ได้ดำเนินไปแล้วบางส่วน
    เพื่อสรุปรายงาน  ผู้ให้การสนับสนุน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกษตรกรสวนใหญ่  ยังมีปัญหาทางความคิด  ที่ยังยึดติดกับ การช่วยเหลือจากภาครัฐ  ปัจจุบัน  หลายคนบอกว่า  “ ปลูกผัก  เลี้ยงปลา  ขายรัฐ  กำไรดี  เพราะต้นทุนตำ  ทำง่าย)
  • คนที่มีความคิดแบบสวนพ่อเฒ่า  มีการขยายน้อยมากเพราะต้านนโยบาย  ปลูกปาล์มน้ำมันไม่ได้  สวนพ่อเฒ่าหลายสวน  เมื่อตกทอดถึงลูกหลาน  จะถูกแปรสภาพเป็นสวนปาล์มน้ำมัน
  • เกษตรกร  ที่เข้าร่วมโครงการ  และได้ร่วมกิจกรรมทุกราย  ยังดำเนินการแนวคิดที่ได้จากิจกรรมต่างๆของโครงการ  และมีความมุ่งมั่นทุกคน
  • คาดว่าแม้โครงการจะยุติแต่ คนมีความคิด  จะไม่หยุดคิดไม่หยุดทำ  เพราะไม่มีสัญญาผูกพันธ์
รณรงค์สวนพ่อเฒ่า21 กุมภาพันธ์ 2013
21
กุมภาพันธ์ 2013รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำแผ่นพับ  ความสุข ความมั่นคงทางอาหาร  อยู่ที่บ้านของเรา  สวนพ่อเฒ่า  ภูมิปัญญาคลังอาหาร  วัฒนธรรมการเกษตร ของคนลุ่มน้ำปากพนัง  จำนวน  300  แผ่น  ไวนิล ป้านสติกเกอร์ ตั้งแต่วันที่ ๑๓ - ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดทำแผ่นพับ  ความสุข ความมั่นคงทางอาหาร  อยู่ที่บ้านของเรา  สวนพ่อเฒ่า  ภูมิปัญญาคลังอาหาร  วัฒนธรรมการเกษตร ของคนลุ่มน้ำปากพนัง  จำนวน  300  แผ่น

    จัดทำไวนิล รณรงค์  ให้ความรู้  สวนพ่อเฒ่า  ความสุขความมั่นคงทางอาหาร  ขนาด  1.2 x 2.4 เมตร  จำนวน  5  ผืน  โดยติดไวในชุมชน  สถานที่ที่มีคน เข้าออกเป็นประจำ

ติดตามโครงการจังหวัดนครศรีฯ20 มกราคม 2013
20
มกราคม 2013รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.ช่วตรวจรายการเงิน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รับการตรวจรายงานการเงิน แล้วสบายใจมากขึ้น

(สนับสนุนการเรียนรู้) ทัศนศึกษาดูงาน ของกลุ่มคนรักษ์ถิ่น19 มกราคม 2013
19
มกราคม 2013รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยน 2 วัน 18-19 มกราคม 2556  จำนวน  23  คน ประกอบด้วย - ผู้บริหารโครงการ  จำนวน  3  คน - เกษตรกรกลุ่มตนรักษ์ถิ่น จากชุมชน  บ้านทรายขาว อ.หัวไทร, ชุมชนบ้านตูล อ.ชะอวด ,ชุมชนบ้านสวนเลา ต.ทุ่งโพธิ์  อ.จุฬาภรณ์ และเกษตรกรในพื้นที่ บ้านทับเหรียง ต.ทุ่งคาโงก  อ.เมือง จ.พังงา
- ผู้แทนจากสภาพัฒนาการเมือง  จ.พังงา - ผู้แทนสมาคมนักธุรกิจ  การท่องเที่ยว จ.พังงา - นักการเมืองท้องถิ่น  จ.พังงา
ประเด็นเนื้อหา - แลกเปลี่ยนเรียนรู้  เรื่อง ปัญหาและการปรับตัว    ของชุมชนท่าดินแดง  ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา  หลังจากโดนสึนามิ  ถล่ม  ชุมชนร่วมกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ป่าชายเลน  และปรับวิธีการปลูกผัก เป็นผักไร้ดินดิน  ซึ่งทางหน่วยงานราชการเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนทุน - เสวนาแลกเปลี่ยน เรื่อง  เปิดประชาคมอาเชี่ยน เกษตรกรจะตั้งรับการอย่างไร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แลกเปลี่ยนเรียนในประเด็นต่าง  และได้ข้อเสนอแนะ  เพื่อที่จะนำไปปรับให้เหมาะกับสภาพแต่ละพื้นที่ต่อไป สรุปการเสวนา ดังนี้ คุณชำนาญ พึ่งถิ่น : ทำงานสภาองค์กรชุมชนเป็นการทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐ (สภาพัฒนาการเมือง) เป็นการทำงานกับหลายๆ หน่วยงาน โดยมีความเชื่อว่าใครมี ดิน น้ำ ต้นไม้ จะไม่จน และทำงานที่มหาวิทยาลัยภูมิปัญญาท้องถิ่น
เปิดประชาคมอาเซียนปี 2558 จะตั้งรับพันพรือ ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง แต่หากท่านหมายถึง “AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” >>ไปที่ thai-aec.com<<  สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย 1.นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย 2.ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย 3.นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ 4.นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ 5.พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอาเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่ -บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม 2527 -สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฏาคม 2538 -สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540 -สหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฏาคม 2540 -ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542 วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้ 1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม 2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค 3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร 4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย 5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต 6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 3 ประชาคมย่อย ซึ่งเปรียบเสมือนสามเสาหลักซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ได้แก่ 1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง 2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน 3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม ในตอนนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการให้บรรลุการเป็นประชาคมอาเซียนภายในปีเป้าหมาย 2558 โดยในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในช่วงปลายเดือน ก.พ.2552 นี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจะรับรองแผนงานหรือแผนกิจกรรมการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน AEC หรือ Asean Economics Communityคือการรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศ โดยมี ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, บรูไน เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่าสินค้าอ่อนไหว) Asean จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลจริงๆจังๆ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมากอย่างที่คุณคิดไม่ถึงทีเดียว AEC Blueprint (แบบพิมพ์เขียว) หรือแนวทางที่จะให้ AEC เป็นไปคือ 1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน 2.การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง 3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน 4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยให้แต่ละประเทศใน AEC ให้มีจุดเด่นต่างๆดังนี้ พม่า : สาขาเกษตรและประมง มาเลเซีย : สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ อินโดนีเซีย : สาขาภาพยนต์และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้ ฟิลิปปินส์ : สาขาอิเล็กทรอนิกส์ สิงคโปร์ : สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ ไทย : สาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน (ประเทศไทยอยู่ตรงกลาง ASEAN) การเปลี่ยนแปลงที่จะเห็นได้ชัดๆใน AEC โดยอธิบายให้เห็นภาพเข้าใจง่ายๆ เช่น - การลงทุนจะเสรีมากๆ คือ ใครจะลงทุนที่ไหนก็ได้ ประเทศที่การศึกษาระบบดีๆ ก็จะมาเปิดโรงเรียนในบ้านเรา อาจทำให้โรงเรียนแพงๆแต่คุณภาพไม่ดีลำบาก - ไทยจะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว และการบินอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะว่าอยู่กลาง Asean และไทยอาจจะเด่นในเรื่อง การจัดการประชุมต่างๆ, การแสดงนิทรรศการ, ศูนย์กระจายสินค้า และยังเด่นเรื่องการคมนาคมอีกด้วยเนื่องจากอยู่ตรงกลางอาเซียน และการบริการด้านการแพทย์และสุขภาพจะเติบโตอย่างมากเช่นกันเพราะ จะผสมผสานส่งเสริมกันกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (ค่าบริการทางการแพทย์ต่างชาติจะมีราคาสูงมาก) - การค้าขายจะขยายตัวอย่างน้อย 25% ในส่วนของอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น รถยนต์, การท่องเที่ยว, การคมนาคม, แต่อุตสาหกรรมที่น่าห่วงของไทยคือ ที่ใช้แรงงานเป็นหลักเช่น ภาคการเกษตร, ก่อสร้าง, อุตสาหกรรมสิ่งทอจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากฐานการผลิตอาจย้ายไปประเทศที่ผลิตสินค้าทดแทนได้เช่นอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยผู้ลงทุนอาจย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่า เนื่องด้วยบางธุรกิจไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะมากนัก ค่าแรงจึงถูก - เรื่องภาษาอังกฤษจะเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจากจะมีคนอาเซียน เข้ามาอยู่ในไทยมากมายไปหมด และมักจะพูดภาษาไทยไม่ค่อยได้ แต่จะใช้ภาษาอังกฤษ (AEC มีมาตรฐานแจ้งว่าจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางใน AEC) บางทีเรานึกว่าคนไทยไปทักพูดคุยด้วย แต่เค้าพูดภาษาอังกฤษกลับมา เราอาจเสียความมั่นใจได้ ส่วนสิ่งแวดล้อมนั้น ป้ายต่างๆ หนังสือพิมพ์, สื่อต่างๆ จะมีภาษาอังกฤษมากขึ้น (ให้ดูป้ายที่สนามบินสุวรรณภูมิเป็นตัวอย่าง) และจะมีโรงเรียนสอนภาษามากมาย หลากหลายหลักสูตร - การค้าขายบริเวณชายแดนจะคึกคักอย่างมากมาย เนื่องจาก ด่านศุลกากรชายแดนอาจมีบทบาทน้อยลงมาก แต่จะมีปัญหาเรื่องยาเสพติด และปัญหาสังคมตามมาด้วย - เมืองไทยจะไม่ขาดแรงงานที่ไร้ฝีมืออีกต่อไปเพราะแรงงานจะเคลื่อย้ายเสรี จะมี ชาวพม่า, ลาว, กัมพูชา เข้ามาทำงานในไทยมากขึ้น แต่คนเหล่านี้ก็จะมาแย่งงานคนไทยบางส่วนด้วยเช่นกัน และยังมีปัญหาสังคม, อาชญากรรม จะเพิ่มขึ้นอีกด้วย อันนี้รัฐบาลควรระวัง - คนไทยที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ บางส่วนจะสมองไหลไปทำงานเมืองนอก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมซอร์ฟแวร์ (ที่จะให้สิงคโปร์เป็นหัวหอกหลัก) เพราะชาวไทยเก่ง แต่ปัจจุบันได้ค่าแรงถูกมาก อันนี้สมองจะไหลไปสิงคโปร์เยอะมาก แต่พวกชาวต่างชาติก็จะมาทำงานในไทยมากขึ้นเช่นกัน อาจมีชาว พม่า, กัมพูชา เก่งๆ มาทำงานกับเราก็ได้ โดยจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง บริษัท software ในไทยอาจต้องปรับค่าจ้างให้สู้กับ บริษัทต่างชาติให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะเกิดภาวะสมองไหล - อุตสาหกรรมโรงแรม, การท่องเที่ยว, ร้านอาหาร, รถเช่า บริเวณชายแดนจะคึกคักมากขึ้น เนื่องจากจะมีการสัญจรมากขึ้น และเมืองตามชายแดนจะพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นจุดขนส่ง - สาธารณูปโภคในประเทศไทย หากเตรียมพร้อมไม่ดีอาจขาดแคลนได้เช่น ชาวพม่า มาคลอดลูกในไทย ก็ต้องใช้โรงพยาบาลในไทยเป็นต้น - กรุงเทพฯ จะแออัดอย่างหนัก เนื่องจากมีตำแหน่งเป็นตรงกลางของอาเซียนและเป็นเมืองหลวงของไทย โดยเมืองหลวงอาจมีสำนักงานของต่างชาติมาตั้งมากขึ้น รถจะติดอย่างมาก สนามบินสุวรรณภูมิจะแออัดมากขึ้น (ปัจจุบันมีโครงการที่จะขยายสนามบินแล้ว) - ไทยจะเป็นศูนย์กลางอาหารโลกในการผลิตอาหาร เพราะ knowhow ในไทยมีเยอะประสบการณ์สูง และบริษัทอาหารในไทยก็แข็งแกร่ง ประกอบทำเลที่ตั้งเหมาะสมอย่างมาก แม้จะให้พม่าเน้นการเกษตร แต่ทางประเทศไทยเองคงไปลงทุนในพม่าเรื่องการเกษตรแล้วส่งออก ซึ่งก็ถือเป็นธุรกิจของคนไทยที่ชำนาญ อยู่แล้ว - ปัญหาสังคมจะรุนแรงถ้าไม่ได้รับการวางแผนที่ดี เนื่องจาก จะมีขยะจำนวนมากมากขึ้น, ปัญหาการแบ่งชนชั้น ถ้าคนไทยทำงานกับคนต่างชาติที่ด้อยกว่า อาจมีการแบ่งชนชั้นกันได้, จะมีชุมชนสลัมเกิดขึ้น และอาจมี พม่าทาวน์, ลาวทาวน์, กัมพูชาทาวน์, ปัญหาอาชญากรรมจะรุนแรง สถิติการก่ออาชญากรรมจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจากชนนั้นที่มีปัญหา, คนจะทำผิดกฎหมายมากขึ้นเนื่องจากไม่รู้กฎหมาย จะมีการขนส่งจากท่าเทียบเรือทางทะเลฝั่งขวาไปยังฝั่งซ้าย เวียดนาม-ไทย-พม่า มีระยะทางติดต่อกันโดยประมาณ 1,300 กม.อยู่ในเขตประเทศไทยถึง 950 กม. ลาว 250 กม. เวียนดนาม 84 กม.เส้นทางเริ่มที่ เมืองท่าดานัง ประเทศเวียดนาม ผ่านเมืองเว้และเมืองลาวบาว ผ่านเข้าแขวงสะหวันนะเขตในประเทศ ลาว และมาข้ามสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ข้ามแม่น้ำโขงสู่ไทยที่ จังหวัดมุกดาหาร ผ่านจังหวัด กาฬสินธุ์, ขอนแก่น, เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จากนั้นเข้าไปยังประเทศพม่าไปเรื่อยๆ ถึงอ่าวเมาะตะมะ ที่เมืองเมาะลำไย หรือมะละแหม่ง เป็นการเชื่อมจากทะเลจีนใต้ไปสู่อินเดีย มันจะมีผลที่ดีคือ การขนส่ง logistic ใน AEC จะพัฒนาอีกมาก และจากาการที่ไทยอยู่ตรงกลางทำให้เราขายของได้มากขึ้นเพราะเราจะส่งของไปท่าเรือทางฝั่งซ้ายก็ได้ ทางฝั่งขวาก็ได้ ที่ดินในไทยบริเวณดังกล่าวก็น่าจะมีราคาสูงขึ้น และที่พม่ายังมี โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ หรือโครงการ “ทวาย” (ศูนย์อุตสาหกรรมขนาดใหญ่,ท่าเรือขนาดใหญ่ ที่ปัจจุบัน Italian-Thai Development PLC ได้รับสัมปทานในการก่อสร้างแล้ว) ที่เส้นทางสอดคล้องกับ East West Economic Corridor โดยทวายจะกลายเป็นทางออกสู่ทะเลจุดใหม่ที่สำคัญมากต่ออาเซียน เพราะในอดีตทางออกสู่มหาสมุทรอินเดียจำเป็นต้องใช้ท่าเรือของสิงคโปร์เท่านั้น ขณะเดียวกันโปรเจกต์ทวายนี้ยังเป็นต้นทางรับสินค้าจากฝั่งมหาสมุทรอินเดียหรือสินค้าที่มาจากฝั่งยุโรปและตะวันออกกลาง โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มพลังงานไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซ ซึ่งจะถูกนำเข้าและแปรรูปในโรงงานปิโตรเคมีภายในพื้นที่โปรเจกต์ทวาย เพื่อส่งผ่านไทยเข้าไปยังประเทศกลุ่มอินโดจีนเช่น ลาว กัมพูชา และไปสิ้นสุดปลายทางยังท่าเรือดานังประเทศเวียดนาม และจะถูกส่งออกไปยังเอเชียตะวันออกอย่างญี่ปุ่นและจีน ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่เราควรจะเตรียมตัวแต่เนิ่นๆ ที่สำคัญตอนนี้คือ ภาษาอังกฤษ อย่างน้อยๆเราก็จะได้สื่อสารทางธุรกิจได้ เพราะหากสื่อสารไม่ได้ เรื่องอื่นก็คงไม่ต้องทำอะไรต่อ และถ้าจะหาลูกค้าแค่ในไทยก็อาจไม่เพียงพอแล้วเพราะ ธุรกิจต่างชาติก็จะมาแย่งส่วนแบ่งการตลาดของเราแน่นอน เรื่อง AEC จึงถือเป็นเรื่องใหญ่ ที่ธุรกิจและคนไทยต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมให้ดี และจากการประชุมนาฟต้า มีสินค้าเกษตร 80 ชนิด ปลอดภาษี โดยเริ่ม 1 ม.ค.2553 แต่ยังมีสินค้า 93 ชนิดที่ยังไม่ปลอดภาษี โดยปี 2558 จะให้ปลอดภาษีให้หมด มีการเคลื่อนย้ายได้ทั้งหมด 10 ประเทศ ถ้าเราไม่กฎหมายรองรับ จากกระแสกำลังเคลื่อนย้ายเป็นหนึ่งเดียวจึงต้องมีการทำแผนจากล่างขึ้นบนให้ได้ และอาจมีการบูรณาการการท่องเที่ยวจากอันดามันสู่อ่าวไทย ในสมาคมอาเซียนว่าด้วยเรื่องของธุรกิจ โดยภาคใต้จะได้รับผลกระทบอย่างมากเพราจะมีโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ในแผนการสร้างอีกมาก ซึ่งเราจำเป็นต้องมีการวางแผนในแต่ละจังหวัด ที่ในการทำแผนในระดับจังหวัดต้องมีสภาองค์กรชุมชนเข้าไปเป็นกรรมการระดับจังหวัด ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต้องมีการพัฒนาประเทศ จึงเกิดแผนการพัฒนาภาคใต้ ในการสร้างโรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า อ่างเก็บน้ำหรือเขื่อน เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน อ.หัวไทร และอ่างเก็บน้ำ ที่เกาะพระทอง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช โดยมีจุดศูนย์กลางที่ อ.ทุ่งสง และการสร้างท่าเรือปากบารา อ.ละงู จ.สตูล ไว้รองรับธุรกิจ
ส่วนการท่องเที่ยวเที่ยวในเขาหลัก อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวสูงอายุ จึงมีข้อตกลงที่ชายหาดจะไม่มีร่ม เจสกี กีฬาทางน้ำ จึงจะมีการจัดโซนนิ่ง โดยจะพยายามให้องถิ่นออกเทศบัญญัติ แต่โดยความจริงแล้วชาวบ้านสามารถวางกฎระเบียบเองได้ ถ้าพี่งกฎหมายจะมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ ทางออกของชาวบ้านกับสมาคมอาเซียนเมื่อใดก็ตามที่ประชาคมอาเซียนไม่สามารถอยู่รอดได้ คือชาวบ้านทำสวนพ่อเฒ่า โดยปลูกในสิ่งที่กิน กินในสิ่งที่ปลูก ซึ่งในสวนจะมีทั้งตลาด โรงพยาบาลอยู่ในสวน และสามารถเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้ โดยมีการท่องเที่ยวในสวนของชาวบ้าน นายสมพร ยอดระบำ การทำสวนพ่อเฒ่า โดยการนำแบบอย่างของปะหรน หมัดหลี เกษตรกรธาตุ 4 อ.รัตภูมิ จ.สงขลา มาประยุกต์ใช้โดยการปลูกต้นไม้หลายชนิดในหลุมเดียวกัน การสร้างดินให้ดี น้ำดี อากาศดี จะทำให้สุขภาพดี และมีศีลธรรม 80 % อาหาร 20 % และสร้างวิธีคิกของคนด้วยให้มองโลกในแง่ดี
ในการขยายผลสวนพ่อเฒ่าจำเป็นต้องมีแกนนำในการให้ความรู้ถึงการทำสวนพ่อเฒ่าที่พึ่งตนเองได้ ถึงแม้จะมีเศรษฐกิจอาเซียนเข้ามาแต่เราก็สามารถอยู่ได้ ในอดีตการทำสวนพ่อเฒ่าจะมีป่าอยู่ขอบแปลง โดยป่าเป็นผู้ผลิต คนบริโภค จุลินทรีย์ย่อยสลาย ใช้หลักออมดิน ออมน้ำ ออมป่า โดยมีการปลูกโดยใช้ศาสตร์และศิลปะ มีทั้งไม้สร้างบ้าน พืชสมุนไพร พืชบนดินและใต้ดิน เป็นเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร ความยั่งยืนของเกษตรและผักที่ปลูกในสวนพ่อเฒ่าจะเป็นผักปลอดสาร สุขภาพก็จะดีด้วย จึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ให้กับเยาวชนและโรงเรียนเปิดการเรียนการสอนสู่เยาวชนในโรงเรียน สุขภาพ แม่ธรณี แม่คงคา แม่โพสพ ดีจากสวนพ่อเฒ่า แม่ป่วยทำให้โลกป่วยด้วย การปลูกต้นไม้เป็นการลดโลกร้อนด้วย สวนพ่อเฒ่าเป็นวัฒนธรรม การเคารพดิน ดังคำกล่าวที่ว่า “ ความกตัญญู กตเวที เป็นคนดี” วัฒนธรรมบริโภคของคนเราเปลี่ยนไป กินอาหารขยะ ผักมีสารปนเปื้อน โดยคนเรานั้นจะกินอาหารที่เหมาะสมกับอากาศไม่เกิน 90 กิโลเมตร สิ่งที่ต้องจัดการเมื่อมีเศรษฐกิจเข้ามาในประเทศคือ การจัดการขยะ การเมืองต้องเป็นการเมืองภาคประชาชน ส่วนสินค้าเกษตรนั้นต้องเท่าทันถึงของแต่ละประเทศ เช่น ประเทศเวียดนาม ส่วนประกอบหลักของอาหารคือ มะขาม เราสามารถปลูกในสวนพ่อเฒ่าส่งขายได้

สนับสนุนกิจกรรมเรียนรู้ชุมชน18 มกราคม 2013
18
มกราคม 2013รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยน  จำนวน  23  คน ประกอบด้วย - ผู้บริหารโครงการ  จำนวน  3  คน - เกษตรกรกลุ่มตนรักษ์ถิ่น จากชุมชน  บ้านทรายขาว อ.หัวไทร, ชุมชนบ้านตูล อ.ชะอวด ,ชุมชนบ้านสวนเลา ต.ทุ่งโพธิ์  อ.จุฬาภรณ์ และเกษตรกรในพื้นที่ บ้านทับเหรียง ต.ทุ่งคาโงก  อ.เมือง จ.พังงา
- ผู้แทนจากสภาพัฒนาการเมือง  จ.พังงา - ผู้แทนสมาคมนักธุรกิจ  การท่องเที่ยว จ.พังงา - นักการเมืองท้องถิ่น  จ.พังงา
ประเด็นเนื้อหา - แลกเปลี่ยนเรียนรู้  เรื่อง ปัญหาและการปรับตัว    ของชุมชนท่าดินแดง  ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา  หลังจากโดนสึนามิ  ถล่ม  ชุมชนร่วมกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ป่าชายเลน  และปรับวิธีการปลูกผัก เป็นผักไร้ดินดิน  ซึ่งทางหน่วยงานราชการเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนทุน - เสวนาแลกเปลี่ยน เรื่อง  เปิดประชาคมอาเชี่ยน เกษตรกรจะตั้งรับการอย่างไร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แลกเปลี่ยนเรียนในประเด็นต่าง  และได้ข้อเสนอแนะ  เพื่อที่จะนำไปปรับให้เหมาะกับสภาพแต่ละพื้นที่ต่อไป สรุปการเสวนา ดังนี้ คุณชำนาญ พึ่งถิ่น : ทำงานสภาองค์กรชุมชนเป็นการทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐ (สภาพัฒนาการเมือง) เป็นการทำงานกับหลายๆ หน่วยงาน โดยมีความเชื่อว่าใครมี ดิน น้ำ ต้นไม้ จะไม่จน และทำงานที่มหาวิทยาลัยภูมิปัญญาท้องถิ่น
เปิดประชาคมอาเซียนปี 2558 จะตั้งรับพันพรือ ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง แต่หากท่านหมายถึง “AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” >>ไปที่ thai-aec.com<<  สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย 1.นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย 2.ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย 3.นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ 4.นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ 5.พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอาเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่ -บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม 2527 -สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฏาคม 2538 -สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540 -สหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฏาคม 2540 -ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542 วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้ 1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม 2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค 3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร 4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย 5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต 6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 3 ประชาคมย่อย ซึ่งเปรียบเสมือนสามเสาหลักซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ได้แก่ 1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

สนับสนุนกิจกรรมเรียนรู้ชุมชน13 มกราคม 2013
13
มกราคม 2013รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วม  จำนวน  15  คน  ประกอบด้วย 1. ผู้บริหารโครงการ  2  คน 2. ผู้ติดตามโครงการของสสส. 1  คน 3. สมาชิกโครงการในพื้นที่ บ้านเนินหนองหงษ์  จำนวน 12 คน สถานที่     สวนท่านขุนเจริญ  ที่ตำบลท่าพระยา  อ.ปากพนัง จ.นครศรีฯ ( โครงการบ่อร้าง  สร้างสุข) ประเด็นเนื้อหา  ในการแลกเปลี่ยน - พัฒนาการ  ของประเทศไทย ที่จะนำไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน  การเตรียมพร้อมของเกษตรกร ที่เข้าสู่เศรษฐกิจอาเชี่ยน ทำกันแล้วหรือยัง  และควรเตรียมพร้อมอย่างไร - เทคนิคการพัฒนาพื้นที่นากุ้งร้าง มาทำการเกษตรต้องทำอย่างไรบ้าง? - ลงพื้นที่  ดูระบบเกษตรในสวนท่านขุนเจริญ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เข้าใจ อย่างน้อย  2  เรื่อง คือ
  • ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน  คือ อะไร  การเปิดประชาคมอาเซี่ยน  ใครได้ใครเสีย  และเกษตรกรควรเตรียมตัวรับมือกับ ประชาคมดังกล่าวอย่างไรบ้าง  ( เนื่องจากที่ผ่านมาเกษตรกรได้รับทราบจากหน่วยรัฐ  เฉพาะด้านเดียว คือดี )
  • ได้ทราบแนวคิด  เทคนิค  และขั้นตอนการปรับพื้นที่นากุ้งร้าง  มาทำการเกษตรของ คุณประเคียง  ขุนเจริญ
      แนวทางที่จะดำเนินการต่อไป คือ เกษตรกรจะได้นำความคิด  ไปพัฒนาและปรับปรุงในสวนของตนเอง  ต่อไป
เวทีเรียนรู้ที่สวนท่านขุนเจริญ ต.ท่าพญา อ.ปากพนัง13 มกราคม 2013
13
มกราคม 2013รายงานจากพี่เลี้ยง โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชาชนบ้านเกาะเพชร มาร่วมเรียนรู้ สวนแก้วมังกรผสมผสาน รวม ๑๓ คน เจ้าของสวน ๓ คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดเวทีเรียนรู้ ๒ พื้นที่ แลกเปลี่ยนความรู้กันเพื่อนำไปปฏิบัติการปรับพื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์ ได้ร่วมเป็นเครือข่ายการทำ "สวนพ่อเฒ่า" กันและกัน ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่มาเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้มากกว่านี้

แนะนำการบันทึกรายงานในเวปคนใต้สร้างสุขและติดตามการดำเนินงาน7 มกราคม 2013
7
มกราคม 2013รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ได้ฝึกทำการบันทึกในเวป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สามารถบันทึกได้บางส่วน ยังไม่ชำนาญ ต้องเพิ่มเติมอีกครั้ง

แนะนำการบันทึกรายงานในเวปคนใต้สร้างสุขและติดตามการดำเนินงาน7 มกราคม 2013
7
มกราคม 2013รายงานจากพี่เลี้ยง โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อบรมเชิงปฏิบัติการการบันทึกงานในเวปคนใต้สร้างสุข พูดคุยทบทวนการดำเนินงานและวางแผนติดตามในพื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถบันทึกรายงานในเวปคนใต้สร้างสุขได้ ได้ร่วมวางแผนการติดตามงานในพื้นที่ โดยเลือกไปดูในพื้นที่กลุ่มเป้าหมายของโครงการเขตอำเภอจุฬาภรณ์ เพื่อให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงานตามโครงการต่อไปให้ได้ผลลัพธ์ตามสัญญาของโครงการ

ติดตามการดำเนินงานรายงวด25 พฤศจิกายน 2012
25
พฤศจิกายน 2012รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ได้วางแผนการทำงานต่อเนื่อง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้แผนงานดำเนินงานต่อเนื่อง

ติดตามการดำเนินงานรายงวด25 พฤศจิกายน 2012
25
พฤศจิกายน 2012รายงานจากพี่เลี้ยง โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการนำเสนอการดำเนินงาน พี่เลี้ยงติดตามการดำเนินงานรายงวด พี่เลี้ยงให้คำปรึกษาการดำเนินงานในโครงการและการจัดทำรายงานผ่านเวปคนใต้สร้างสุข

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การดำเนินงานในงวดที่ ๑ ดำเนินงานได้ตามแผน ในงวดที่ ๒ ล่าช้าเล็กน้อยเนื่องจากพบอุปสรรคคือ การเปลี่ยนผู้นำในพื้นที่ ต้องสร้างสัมพันธภาพและร่วมออกแบบการดำเนินงานใหม่ แต่ก็สามารถทำได้ พี่เลี้ยงได้ร่วมวางแผนการทำงานต่อเนื่อง การพัฒนางานให้ดีขึ้น และสอนการทำรายงานงวดพร้อมกับสอนการลงเวปคนใต้สร้างสุข

เข้าร่วมประชุมกับ สสส.2 พฤศจิกายน 2012
2
พฤศจิกายน 2012รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมกับ สสส

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เรียนรู้การทำรายงานระบบใหม่ใช้ลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทันสมัยยิ่งขึ้น กำหนดแนวทาง วางแผนงาน เข้าใจเบื้องต้น

13. สนับสนุนกิจกรรมแปลงต้นแบบ18 ตุลาคม 2012
18
ตุลาคม 2012รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดซื้อหา  กิ่งพันส้มโอทองดี  จากชุมชนบ้านแสงวิมาน  อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช  จำนวน  50 กิ่ง เพื่อสนับสนุน แปลงต้นแบบ นำร่อง  ในพื้นที่บ้านเนินหนองหงส์  เทศบาลตำบลเกาะเพชร อ.หัวไทรจำนวน 3 แปลง คือ
1. นายคะนึง    สะอาด 2. นายสวัสดิ์    สมมุ่ง 3. นายอนงค์    ขุนบุญจันทร์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้นำในชุมชน(ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านท่านหนึ่ง)  ได้ถือวิสาสะ  หยิบเอากิ่งพันธุ์ส้มโอที่ทางโครงการนำไปวางไว้ที่บ้านสมาชิก  เพื่อที่จะแจกจ่ายให้กับแปลงต้นแบบ  เอาไปเป็นของตนเอง  พร้อมด้วยให้ลูกบ้านบางส่วนด้วย หาเสียงเลือกตั้งใหม่       ทำให้แปลงต้นแบบที่ได้สรรหาไว้  ได้ไปคนละ  5  ต้น
    และจากผลที่เกิดขึ้นในครั้งนี้  ทำให้โครงการต้องยุติ  การสนับสนุนแปลงต้นแบบในพื้นที่อื่นๆด้วย  เพราะว่า เป็นฤดูกาลเลือกตั้ง  ทั้ง  เลือกผู้ใหญ่บ้าน  เลือกสมาชิก อบต. และเลือก  สจ.
  ดังนั้น  แปลงต้นแบบที่ตั้งเป้าไว้  จำนวน  10  แปลง  ที่เกิดจากโครงการจริงๆไม่มี  เพราะเราทำกระบวนการไม่ครบ  และไม่สนับสนุนต่อ  แต่แปลงดังกล่าว  สามารถเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้กับ เกษตรกรายอื่นๆได้ ทั้ง  10  แปลงที่สรรหาไว้

ทำรายงางวดที่ ๑29 มิถุนายน 2012
29
มิถุนายน 2012รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทำรายงาน สสส

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทำรายงานส่งสสส

ประชุมสรรหาสวนต้นแบบ9 มิถุนายน 2012
9
มิถุนายน 2012รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงพื้นที่  สรรหา  ที่บ้านลาไม  ต.วังอ่าง  อ.ชะอวด  จำนวน  3  คน และสรุปข้อมูลพื้นที่ทั้งหมด ๓ ครั้ง ที่วังอ่าง ราไม เกาะเพชร ในวันที่ ๒ ๙ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๕

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการสรรหาพบว่า  มีสวนดังต่อไปนี้  ที่สามารถหรือน่าจะพัฒนาไปสู่  สวนต้นแบบได้  คือ 1. สวนของนายคะนึง  สะอาด
2. สวนของนายสวัสดิ์  สมมุ่ง 3. สวนของนายอนงค์  ขุนบุญจันทร์
                ซึ่งทั้ง  3  แปลง  อยู่ในพื้นที่บ้านเนินหนองหงส์  เทศบาลตำบลเกาะเพชร  อ.หัวไทรสามารถพัฒนาให้เป็นสวนพ่อเฒ่าได้
4. สวนของนายประเสริฐ  เพชรคงทอง
5. สวนของนายประชา    ศรีวงศ์แวว 6. สวนของนายสุธรรม  คงสุก         ทั้ง  3  แปลง  อยู่ในพื้นที่ ต.วังอ่าง  อ.ชะอวด 7. สวนของนายสมพร  ยอดระบำ อยู่ในพื้นที่  ต.ทุ่งโพธิ์  อ.จุฬาภรณ์
8. สวนของนายเล็ก  เอียดแก้ว อยู่ในพื้นที่ ต.ทรายขาว  อ.หัวไทร
9. สวนของนายไพโรจน์  ชูวงศกร
10. สวนของนางหนูพับ  เพชรบูรณ์ อยู่ในพื้นที่ ต.เชียรเขา  อ.เฉลิมพระเกียรติ
แนวทางต่อไป  คือ
สนับสนุน  กิจกรรมพัฒนาให้เป็นแปลงต้นแบบต่อไป

ประชุม สรรหา คัดเลือก สวนพ่อเฒ่าต้นแบบ ของชุมชน2 มิถุนายน 2012
2
มิถุนายน 2012รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วม จำนวน 4  ท่าน คือ ผู้บริหาร  โครงการ 3  ท่านและแกนนำ  1  ท่าน สถานที่     สวนลุงสมพร  ยอดระบำ  บ้านสวนเลา  ต.ทุ่งโพธิ์
อ.จุฬาภรณ์  จ.นครศรีฯ ประเด็นเนื้อหา   สวนของเกษตรกร  ในพื้นที่โครงการ ที่มีแนวเป็นสวนพ่อเฒ่า  และหรือสวนที่สามารถพัฒนาให้เป็นสวนพ่อเฒ่าต้นแบบได้นั้น  มีสวนของใครบ้าง  และทาง  คนทำงานทั้ง 3  คน ลงไปสรรหาดู  โดยมีกรอบว่า
1. ต้องเป็นสวนที่เจ้าของแปลง  มีแนวคิดแบบสวนพ่อเฒ่าอยู่แล้ว 2. ลักษณะของสวนต้องมีความหลาย
3. เจ้าของแปลงมีความพร้อมที่จะพัฒนา  เพียงขาดเหลือบางส่วนที่โครงการสามารถสนับสนุนได้

ผู้บริหารโครงการ  ลงพื้นที่สรรหาสวนพ่อเฒ่า  พื้นที่บ้านเนินหนองหงส์  เทศบาลตำบลเกาะเพชร อ.หัวไทร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการสรรหาพบว่า  มีสวนดังต่อไปนี้  ที่สามารถหรือน่าจะพัฒนาไปสู่  สวนต้นแบบได้  คือ 1. สวนของนายคะนึง  สะอาด
2. สวนของนายสวัสดิ์  สมมุ่ง 3. สวนของนายอนงค์  ขุนบุญจันทร์
                ซึ่งทั้ง  3  แปลง  อยู่ในพื้นที่บ้านเนินหนองหงส์  เทศบาลตำบลเกาะเพชร  อ.หัวไทรสามารถพัฒนาให้เป็นสวนพ่อเฒ่าได้
4. สวนของนายประเสริฐ  เพชรคงทอง
5. สวนของนายประชา    ศรีวงศ์แวว 6. สวนของนายสุธรรม  คงสุก

8. จัดเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการและถอดบทเรียน เรื่อง สวนพ่อเฒ่า กับการพึ่งตนเอง23 พฤษภาคม 2012
23
พฤษภาคม 2012รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จำนวนผู้เข้าร่วม จำนวน  30  คน  ประกอบด้วย 1. ผู้บริหารโครงการ  3 คน 2. นักวิชาการจาก ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช และนักวิชาการโครงการ จำนวน  5 คน 3. ผู้ติดตามโครงการ สสส.  1  คน 4. เกษตรกรผู้ที่ทำสวนพ่อเฒ่า ที่ประสบความสำเร็จ  ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราชและพื้นที่ อ.ตะโหมด จังหวัดพัทลุง จำนวน  5 คน แกนนำเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายโครงการ จำนวน  17  คน สถานที่
      สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าทะเลน้อย  ต. ทะเลน้อย อ.ควนขนุน  จ.พัทลุง ประเด็นเนื้อหา - ที่มาและแนวคิดสวนพ่อเฒ่า - ปัญหาและการปรับตัว  การสร้างสวนพ่อเฒ่า ของผู้ที่ประสบความสำเร็จ - รูปแบบสวนพ่อเฒ่าในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง - เทคนิคการสร้างสวนพ่อเฒ่าให้ประสบความสำเร็จ - เศรษฐกิจ ครอบครัวและเทคนิคการสร้างรายได้จากสวนพ่อเฒ่า ความสุขทีได้รับจากการทำสวนพ่อเฒ่า

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ชุดองค์ความรู้  สวนพ่อเฒ่า  ในแง่มุมต่างๆ
  • ผู้เข้าร่วม  ได้เกิดการเรียนรู้  เรื่องสวนพ่อเฒ่า  และเกิดความตั้งใจที่จะกลับไปทำสวนดังกล่าว  ให้ประสบความสำเร็จ
  • ได้แง่คิดและมุมมอง  “ ความมั่นคงทางอาหาร  อยู่ที่บ้านของเรา  ไม่ใช่  บิ๊กซี  โลตัส  หรือเซ่เว่น ”  ทุกคนมีความเห็นว่า  สิ่งที่ควรรักษาและปกป้องคือ  พื้นที่การเกษตร  ไม่ใช่พื้นอุตสาหกรรม ดังที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในพื้นที่ภาคกลางที่ผ่านมา สรุปเนื้อหาชุดองค์ความรู้ ที่ได้       กระบวนการกิจกรรม
  • พบปะแลกเปลี่ยนพูดคุยตามอัธยาศัย
  • ระดมสมองกลุ่มใหญ่
  • ระดมสมองกลุ่มย่อย
  • นำเสนอผลกลุ่มย่อย
  • ระดมสมองเติมเติมกลุ่มใหญ่
  • กระตุ้น เติมเต็มข้อมูล โดยวิทยากรกระบวนการ
  • สร้างความรู้สึกร่วมด้วยดนตรีพื้นบ้าน  ศิลปินพื้นบ้าน

ช่วงเช้า วันที่ ๑ ระดมสมองกลุ่มใหญ่ ๑.ที่มาและความหมายของสวนพ่อเฒ่า -มีพรรณไม้ที่หลากหลาย -เป็นสวนสมรม -เป็นเศรษฐกิจพอเพียง -เป็นปัจจัยสี่ -พึ่งตนเองได้ “ อัตตาหิ อัตโนนาโถ : ตนนั้นแหละเป็นที่พึ่งแห่งตน” ๒.องค์ประกอบของสวนพ่อเฒ่าในอดีต ในความทรงจำ - มีความขยัน - มีศักดิ์ศรี เป็นสัมมาอาชีพ ไม่ยอมเมื่อถูกบุกรุก ถูกรังแกจากสิ่งที่ไม่ถูกต้อง “ ด้นแหละพ่อเฒ่าเรา ” - มีไม้ผลที่หลากหลาย - มีไม้/พืชให้พลังงาน ทำฟืนทำถ่าน ( ต้นกลาย ) - มีพืชมงคล ใช้ประกอบพิธีกรรม เช่นไม้ขวัญข้าวใช้ประกอบพีธีการทำขวัญข้าว - มีพืชผักสวนครัวและพืชผักสมุนไพร
- มีไม้ใช้สอยผลิตของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ไม้ไผ่  ต้นหวาย  ต้นคล้า ต้นคุ้ม เถาวัลย์
- มีพิธีกรรม ทำขวัญข้าว  ไหว้เจ้าที่/เจ้าสวน/เจ้าป่า/รุกขเทวดา
- บำรุงศาสนา  เช่น หุงข้าวใหม่ไปวัด  พาสารข้าวใหม่ไปวัด  ดับหมับผลไม้ไปวัด - ประเพณี การเคารพรักนับถือ เช่น พาสารเข้าใหม่ไปให้คนเฒ่าคนแก่ - มีการปลูกข้าว  ทำนาข้าว  ทำข้าวไร่ - มีสัตว์เลี้ยง วัว ควาย ม้า หมู เป็ด ไก่ หมา แมว - มีเพื่อนเล่นรุ่นราวคราวเดียวกัน จากญาติพี่น้อง
- มีการละเล่นพื้นบ้าน ยิงลูกบ้า  หมากขุม  ขวิดโหยง  เกหยบ - มีขนมพื้นบ้าน( ครัวแม่เฒ่า ) เหนียวห่อกล้วย  ต้มใบพ้อ ปัดยอดพร้าว  เหนียวหลาม  หนมหัวมันหน้าทิ  หนมเหนียวหน้าทิ  บวชกล้วย  กล้วยตาก  แป้งข้าวหมาก
- มีของเล่นจากภูมิปัญญา จากสิ่งของวัสดุในสวน  ปี่ซัง  รินลมใบโหนด  บอกฉับโพ้งไม้ไผ่ - ภูมิปัญญา เช่น น้ำส้มกล้วย/โหนด/พร้าว  การจักสานของใช้ในครัวเรือนเจย แซง ด้ง ตรองกะทิ , ของใช้ในอาชีพ แทงแซกหวาย  ควั้นเชื่อกด้วยเถาวัลย์  ไซดักปลา ข้องดักปลา ซ้อนดักปลา ลันจมไหล  การถนอมอาหาร ตากแห้ง หมักดอง  ปิ้งยาง - การช่วยเหลือแรงงาน เช่น วิดหนองจับปลา นาวานไถ่นา หนำข้าว  ถอนกล้า ดำกล้า เก็บข้าว หาบข้าว
เข็นหนวน นวดข้าว หามเรินยกเริน
- มีศิลปะท้องถิ่น ดูได้จากเหล็กขูด  ด้ามมีด/พร้า/ขวาน
- มีศิลปินพื้นบ้าน  ได้ฟังกลอนหนัง กลอนเพลงบอก กลอนโนราห์  กลอนยศกิจ - มีแหล่งน้ำใช้  บ่อน้ำปลา
- การถ่ายทอดความรู้ / ภูมิปัญญา ด้วยการทำให้ดู  ทำรวมกัน อยู่ให้เห็นแก่ลูกหลาน - การแบ่งปันผลผลิตให้กับผู้ที่ด้อยกว่า  (คนมาช่วยงาน) - จำหน่ายขายเป็นรายได้ ๓.สถานการณ์ - ไม่มีห้องข้าว (ฉางข้าว) - สวนพ่อเฒ่าลดจำนวนพื้นที่ลง จำนวนแปลงลง และถูกแปรสภาพ - เกษตรกรสวนพ่อเฒ่ามีความรู้ มีองค์ความรู้ แต่ขาดการบันทึก จัดเก็บอย่างเป็นระบบ - วิถีชีวิตเปลี่ยน เช่น การแยกเป็นครอบครัวเดียวสู่ตัวเมือง  หน้าที่ภาระการงาน เด็กเข้าสู่ระบบการแข่งขันสู่ความเป็นเลิศทางการศึกษาในระบบ - สุขภาพแย่ลง - การปลูกฝังความคิดแก่ลูกหลาน “...ให้ได้เป็นเจ้าคนนายคน...” ๔.แนวทาง ทางรอดสวนพ่อเฒ่าในอนาคต - ปลูกฝังจิตสำนึก - เกษตรกรสวนพ่อเฒ่า “ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เย็นได้สัมผัส” - เชื่อมโยงกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติระดับครัวเรือน พืชผักสวนครัว สมุนไพร จัดการแหล่งน้ำ แลกเปลี่ยนผลผลิต แบ่งกลุ่มย่อยช่วงบ่ายโดยแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม       สวนพ่อเฒ่าดี / มีคุณค่า อย่างไร? -ไม่ต้องไป รพ. เพราะสุขภาพดี : สุขภาวะกาย -ประหยัดรายจ่าย/ลดรายจ่าย ทำปุ๋ยหมักน้ำแห้ง  มีพืชผักกิน : สุขภาวะจิตใจ -เพิ่มรายได้ : สุขภาวะจิตใจ -อยากกินไหร่ได้กิน : สุขภาวะกาย -ได้สั่งสอนสร้างจิตสำนึกแก่เด็กเยาวชนลูกหลาน : สุขภาวะปัญญา  สุขภาวะจิตใจ สุขภาวะสังคม -ได้เกิดการแบ่งปัน : สุขภาวะสังคม -ทำให้ระบบนิเวศดี  ดินดี อากาศดี  ธรรมชาติจัดการกันเองได้ : สุขภาวะสิ่งแวดล้อม -ได้ออกกำลังกาย : สุขภาวะกาย -ได้อยู่กับธรรมชาติ : สุขภาวะสิ่งแวดล้อม  สุขภาวะกาย  สุขภาวะจิตใจ
-ได้อยู่กับลูกหลานได้ดูแลลูกหลาน: สุขภาวะสังคม  สุขภาวะจิตใจ -ได้ช่วยเหลือกัน ลงแรงกัน: สุขภาวะสังคม
ปัญหา อุปสรรค์การทำสวนพ่อเฒ่า และการขับเคลื่อนสวนพ่อเฒ่า -ขาดการสืบทอดปลุกฝังให้ลูกหลาน -ภาระหน้าที่การงานของลูกหลาน -ขาดแรงงาน -กระบวนการศึกษาของภาครัฐ นโยบายรัฐ  ส่งเสริมพืชเชิงเดียว
- สื่อการตลาดของกลุ่มทุนธุรกิจด้านอาหาร  ร้านสะดวกซื้อ ห้างต่างชาติ
-ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง -ขาดความมั่นคงทางอารมณ์ของเกษตรกรสวนพ่อเฒ่า -ดินฟ้าอากาศ -เศรษฐกิจนิยม เงินนิยม -ขาดความรู้ -ติดวิถีคิด สิ่งที่ยืนหยัดทำสวนพ่อเฒ่า ณ ปัจจุบัน - ความทรงจำความสุขในวัยเด็ก - “ในน้ำมีปลาในนามีข้าว” - ความสุขที่เห็นลูกหลานได้มาสัมผัสกับสวนพ่อเฒ่า - มีเพื่อนแนวเดียวกัน มีเพื่อนแนวเดียวกัน เป็นเครือข่าย - เป็นรูปธรรม เป็นพลังของชุมชน สร้างอำนาจต่อรองกับสิ่งที่ถูกกระทำจากภาครัฐ แนวทางทางรอดของสวนพ่อเฒ่า ๑.ปรับตัว - การบริหารจัดการ น้ำ  นำซากพืชชนิดหนึ่งไปเป็นปุ๋ยของพืชชนิดอื่น - บริหารจัดการคน ติดอาวุธทางความคิด จุดประกายความคิด - จัดเข้าระบบการศึกษา หลักสูตรท้องถิ่น ๒.จัดการระดับครอบครัวเกษตรกรสวนพ่อเฒ่า -สื่อสารกับภรรยา / สามีให้รู้เรื่อง เข้าใจ - ทำให้ลูกเห็น ชวนลูกทำกิจกรรมด้วย - ทำบันทึกการให้ - สร้างเงื่อนไขการให้ (ให้กับคนที่ควรให้  ให้ตามกาละ ตามโอกาส ) - ตั้งป้ายจุด /ศูนย์เรียนรู้สวนพ่อเฒ่า - แปรรูปผลผลิต - จัดท่องเที่ยวเชิงเกษตร เชิงนิเวศ เชิงอนุรักษ์ ๓.จัดการระดับชุมชน -ผลักดันจุด// ศูนย์เรียนรู้สวนพ่อเฒ่าให้คณะกรรมการหมู่บ้านตาม พรบ.ลักษณะปกครองท้องที่ฯรับรอง -ผู้นำทางการต้องทำเป็นตัวอย่าง -จัดทำทะเบียนครอบครัวเกษตรกรสวนพ่อเฒ่า - ตลาดในชุมชน - จัดทำแผนระดับหมู่บ้าน ตำบลและผลักดันเข้าสู่กลไกพัฒนา ๔.จัดการระดับเครือข่าย -ประชุมสัญจรเชิงปฏิบัติการเกษตรกรสวนพ่อเฒ่า -มีวาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ / ถ่ายทอดความรู้ -จัดให้มีตลาดนัดสีเขียวระดับจังหวัด ๕.จัดการผลักดันเข้าสู่กลไกรัฐ/ท้องถิ่นภายในจังหวัด - ราชการ ผลักดันสู่วาระนครเข้มแข็ง ยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด - ท้องถิ่น : ให้ความสำคัญกับผู้สมัครเลือกตั้งที่มีแนวคิดแนวปฏิบัติเรื่องสวนพ่อเฒ่า ๖.จัดการผลักดันสู่กลไกระดับประเทศ - ให้จัดตั้งกรมสวนพ่อเฒ่า โดยมีกระทรวงหลักและเกี่ยวข้องดังนี้ ก.กลาโหม ก.พม. ก.ศษ. ก.สธ. องค์ประกอบของสวนพ่อเฒ่า ณ ปัจจุบัน ๑.ประเภทต้นไม้และพันธุ์พืช -ไม้ใช้สอย ได้แก่ ต้นเทียม ต้นยางนา ต้นไผ่ ต้นมะพร้าว กระจูด หวาย
-พืชสมุนไพร ได้แก่ บอระเพ็ด กะวาน จันเทศ  กานพลู -ไม้ผล ได้แก่ มะพร้าว มะม่วง มะนาว มะกอก มะละกอ กล้วย อ้อย -พืชใต้ดินกินหัว ได้แก่ ขิง ข่า เผือก  มัน กระชาย ขมิ้น
-พืชกินใบ ได้แก่ ผักหวาน ตำลึง ลำเพ็ง บัวบก ย่านาง
-พืชกันลม ได้แก่ ต้นไผ่  ไม้ยืนต้นพื้นถิ่น

วิธีทำสวนพ่อเฒ่า - ขยัน - หมั่นสังเกต ด้วยประสารทสัมผัสทั้ง 6 ในการตรวจ ดิน ฟ้า อากาศ  การเจริญเติบโตของพืช ของสัตว์ -ไม่ใช่สารเคมี กำจัดวัชพืช แมลงศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี -ใช้ธรรมชาติจัดการตนเอง ไส้เดือน แมลงดี การย่อยสลายของซากพืช -ปลูกพืชเป็นชั้นๆ -มีแหล่งน้ำ  น้ำซับจากต้นไม้ -บริหารจัดการ แนวทางขับเคลื่อนสวนพ่อเฒ่าสู่ลูกหลานคนรุ่นหลัง ๑.ทำให้เห็นทำให้ชัดด้วยการจัดตั้งติดป้ายเป็นแหล่งเรียนรู้ จุดเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ โดยมีองค์ประกอบดังนี้ - มีคนเล่าเรื่อง สื่อสาร ถ่ายทอด - ความหมายของคำว่าสวนพ่อเฒ่า - มีความรู้เรื่องสวนพ่อเฒ่า - มีภูมิปัญญา - มีรูปธรรม - มีทักษะ เทคนิคการถ่ายทอด - มีแปลง มีพื้นที่ปฏิบัติ ลงมือทำ ลงมือเรียนรู้ได้ ๒.ทำกลุ่มกิจกรรมเด็กและเยาวชน ในฐานของสถานะภาพทางสังคมในหมู่บ้านในชุมชน ๓.เชื่อมกับ กม.สถานศึกษา และโรงเรียน ๔.เชื่อมกับวัด มัสยึด ๕.เชื่อมกับโฆษกชุมชน ๖.คำขวัญ / วิสัยทัศน์ / เป้าหมาย /
“ ความมั่นคงทางอาหารอยู่ที่สวนพ่อเฒ่า” “ จากสวนพ่อเฒ่าสู่ครัวแม่เฒ่า” “ความมั่งคงทางอาหารอยู่ที่บ้านของเรา” (ไม่ใช่อยู่ที่ เซเว็น โลตัส บิคซี) ประเมินผลการดำเนินกิจกรรม ๑.สถานที่ - ห้องประชุม เหมาะสมมีขนาดพอดีกับจำนวนผู้เข้าร่วม , มีพื้นที่กิจกรรมกลุ่มย่อย - ที่พัก สะดวกดีระหว่างห้องประชุม ห้องอาหารและที่พัก
๒.อาหาร
- รสชาติถูกปาก สะอาด - เพียงพอ ๓.ระยะเวลา - เหมาะสม ๒ วัน ๑ คืน
๔.รูปแบบกระบวนการดำเนินกิจกรรม - ได้พบเพื่อน พบเครือข่าย ( มีความสุข ได้กำลังใจ ได้พลังใจ ) - ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนตามอัธยาศัย  ตามประประเด็นร่วม - ได้ร่วมครุ่นคิด ทบทวน เรื่องราว ประสบการณ์ ๕.เนื้อหา - ได้แนวคิด ในการบริหารจัดการสวนพ่อเฒ่า - ได้หัวใจของสวนพ่อเฒ่า “ ความมั่นคงทางอาหารอยู่ที่บ้านของเรา ” - ได้แนวทางการจัดทำแหล่งเรียนรู้สวนพ่อเฒ่า / จุดเรียนรู้สวนพ่อเฒ่า / ศูนย์เรียนรู้สวนพ่อเฒ่า - ได้รับรู้เรียนรู้ข้อมูล สถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อกระบวนการดำเนินงาน “ สวนพ่อเฒ่า ” - ได้เรียนรู้แนวทางและหลักการของสวนพ่อเฒ่า - ได้ความรู้สึกร่วม
ข้อเสนอแนะ - ครั้งต่อไป เนื้อหาต้องมากขึ้น เข้มข้นขึ้น ๖.วิทยากร - เป็นกันเองดี - ให้คำแนะนำดี

กิจกรรมที่จะทำต่อไปในอนาคต คือ   การรณรงค์  ให้คนในชุมชน และบุคลทั่วไป  เข้าใจเรื่องสวนพ่อเฒ่า  มากยิ่งขึ้น

ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประการณ์ กับเครือข่าย สสส.5 พฤษภาคม 2012
5
พฤษภาคม 2012รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเืพื่อดำเนินงานและเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยกัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้เรียนรู้การทำงานกับสสส

ทำป้ายรณรงค์27 เมษายน 2012
27
เมษายน 2012รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทำป้ายปลอดบุหรี่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทำป้ายปลอดบุหรี่ ๑ แผ่น

5. จัดสัมมนา เรื่องสวนพ่อเฒ่า กับการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ในชุมชนบ้านลาไม23 เมษายน 2012
23
เมษายน 2012รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วม  จำนวน  14  คน 5. ผู้ประสานงานโครงการ 6. ผู้ช่วย (การเงินโครงการ) 7. แกนนำเกษตรกรชุมชนบ้านลาไม ม.2 และ 8 สถานที่
    ณ.ลานประชุมกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บ้านลาไม หมู่ที่ 2  ตำบลวังอ่าง  อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

ประเด็นเนื้อหา - สถานการณ์สวนพ่อเฒ่า  ในพื้นที่ตำบลวังอ่าง
- เทคนิคและกระบวนการขับเคลื่อนสวนพ่อเฒ่า  ในชุมชน - ยุทธวิธีในการขับเคลื่อน ต้องเป็นการทำงานในเชิงงานวิจัย  เนื่องจากในพื้นที่มีประเด็นร้อน  (กรมชลประทาน กำลังจะสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ )

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้แกนนำ ที่จะเป็นผู้ขับเคลื่อน เรื่องสวนพ่อเฒ่าในพื้นที่
  2. ได้แนวทางในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ ที่จะทำให้ชุมชนรอดพ้นจาก  การสร้างอ่างเก็บน้ำ  ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาวะของชุมชน
2. ศึกษารวบรวมรูปแบบสวนพ่อเฒ่า ตามสภาพภูมินิเวศที่แตกต่าง ในพื้นที่ 5 อำเภอ31 มีนาคม 2012
31
มีนาคม 2012รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงพื้นที่ ต.ควนมุด อ.จุฬาภรณ์  ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด ลงพื้นที่  ต.ป่าระกำ  อ.ปากพนัง  ต.เชียรเขา  อ.เฉลิมพระเกียรติ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พบสวนที่มีลักษณะเข้าข่ายสวนพ่อเฒ่าอยู่  3  แปลง คือ 1. แปลงของนายไพโรจน์  ชูวงศกร  อยู่ที่ ม.1 ต.เชียรเขา
2. แปลงของนางหนูพับ  เพชรบูรณ์  อยู่ที่ ม.3  ต.เชียรเขา อ.เฉลิมพระเกียรติ           แปลงเกษตรของเกษตรกร  ในปัจจุบัน เข้าหลักเกณฑ์และตัวชี้วัด  แทบจะไม่มีเลย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ ราบ และพื้นที่ป่าพรุ  ที่มีเข้าหลักเกณฑ์อยู่บ้าง ก็เป็นรุ่นใหม่ ไม่มากนัก  สวนพ่อเฒ่าที่พบส่วนใหญ่ เจ้าของแปลงจะเคยเป็น พลพรรคคอมมิวนิตส์ ที่เคยผ่านการอยู่ในป่า มาก่อน

ศึกษารวบรวมรูปแบบสวนพ่อเฒ่า27 กุมภาพันธ์ 2012
27
กุมภาพันธ์ 2012รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงพื้นที่ ต.นาหมอบุญ ต.ควนมุด ต.สามตำบล  อ.จุฬาภรณ์ ลงพื้นที่  ต.ทุ่งโพธิ์  อ.จุฬาภรณ์  ต.ร่อนพิบูลย์  อ.ร่อนพิบูลย์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พบสวนที่มีลักษณะของสวนพ่อเฒ่า อยู่  2  แปลง คือ
1. แปลงของนายสมพร  ยอดระบำ  เนื้อที่ประมาณ  9  ไร่  อยู่ที่ ม. 5 ต.ทุ่งโพธิ์  อ.จุฬาภรณ์
2. แปลงของนายจรัญ    (เจ้าของแปลงไม่อยู่ )  เนื้อที่ประมาณ  -  ไร่  อยู่ที่ ม. 5 ต.ทุ่งโพธิ์  อ.จุฬาภรณ์

เข้าร่วมปฐมนิเทศ โครงการ25 กุมภาพันธ์ 2012
25
กุมภาพันธ์ 2012รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ผู้เข้าร่วม  จำนวน  2  คน คือ การเงิน และหัวหน้าโครงการ
  • สถานที่  ณ. โรงแรมฮอลลิเดย์  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา ประเด็นเนื้อหา
  • ทำความรู้จัก เครือข่าย
  • ทำความเข้าใจหลักคิด  หลักปฎิบัติ  และเงื่อนไขของ สสส.
  • ทำความเข้าใจเรื่องแนวทางการติดตาม  ของคณะติดตาม  สสส. ในพื้นที่ ภาคใต้
  • ฝึกปฎิบัติการ การเขียนรายงานความก้าวหน้า และรายงานสิ้นสุดโครงการ  และการทำรายงานการเงินโครงการ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รู้จักเพื่อน  ได้เข้าใจกระบวนการทำงาน  ของทีม  สสส.มากขึ้น
  • ได้เรียนรู้  การเขียนรายงานและการทำการเงิน ต่างๆ
ศึกษารวบรวมรูปแบบสวนพ่อเฒ่า17 กุมภาพันธ์ 2012
17
กุมภาพันธ์ 2012รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงพื้นที่  ต.แหลม  ต.ควนชะลิก  อ.หัวไทร
ลงพื้นที่ ต.เขาพระบาท  ต.การะเกด ต.แม่เจ้าอยู่หัว  อ.เชียรใหญ่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ไม่พบสวนที่เข้าข่ายลักษณะของสวนพ่อเฒ่า  ส่วนใหญ่จะเป็นสวนปาล์มน้ำมัน  ที่เหลือจะเป็นสวนเชิงเดี่ยว เช่น สวนมะพร้าว  ที่บ้านน้ำบ่อ  และ นาข้าวมีอยู่บ้าง

ศึกษารวบรวมรูปแบบสวนพ่อเฒ่า14 กุมภาพันธ์ 2012
14
กุมภาพันธ์ 2012รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงพื้นที่สำรวจ  รวบรวมสวนพ่อเฒ่า  ที่ ต.วังอ่าง  ต.เขาพระทอง อ.ชะอวด
  • ลงพื้นที่  ต.ท่าประจะ  ต.เกาะขันต์ อ.ชะอวด
  • ลงพื้นที่ ต.ขอนหาด  ต.นางหลง  อ.ชะอวด
  • ต.ท่าประจะ  ต.ชะอวด  อ.ชะอวด
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้พบสวนที่มีลักษณะเป็นสวนพ่อเฒ่าอยู่  4  แปลง คือ
  1. แปลงของนายจรูญ  ไชยรักษา อยู่ที่ ม.5  ต.เขาพระทอง  เนื้อที่ประมาณ  3  ไร่เศษ  เป็นสวนที่นายจรูญรับมรดก  มาจากคุณตา
  2. แปลงของนายประเสริฐ  เพชรคงทอง  อยู่ที่ ม.6  ต.วังอ่าง  เนื้อที่ประมาณ  5  ไร่  เป็นแปลงที่เจ้าของแปลงได้สร้างขึ้นมาจากความคิดตนเอง หลังออกจากแนวร่วม
  3. แปลงของนายประชา  ศรีวงศ์แวว  อยู่ที่  ม.2 ต.วังอ่าง  เนื้อที่ประมาณ 3  ไร่  คิดเองและสร้างเองต้องการพึ่งตนเอง  ปัจจุบันได้ขยายให้ลูกด้วย
  4. แปลงของนาย  สุธรรม  คงสุก  เป็นแปลงที่สร้างขึ้นมาเอง  เพื่อต้องพึ่งตนเองให้มากที่สุด  เนื้อที่ประมาณ  6  ไร่
ศึกษารวบรวมรูปแบบสวนพ่อเฒ่า12 กุมภาพันธ์ 2012
12
กุมภาพันธ์ 2012รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงพื้นที่ ต.เคร็ง  ต.บ้านตูล ลงพื้นที่ ต.ร่อนพิบูลย์  ต.ควนพัง  อ.ร่อนพิบูลย์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พบว่า แปลงที่เข้าข่ายลักษณะสวนพ่อเฒ่า  มีอยู่  3  แปลง คือ
1. แปลงของนายกฐิน  อารีย์กิจ  อยู่ที่ 10  ต.ร่อนพิบูลย์  อ.ร่อนพิบูลย์  เนื้อที่ประมาณ 6 ไร่ 2. แปลงของนาย มนู  ชูแก้ว  อยู่ที่ 10  ต.ร่อนพิบูลย์  อ.ร่อนพิบูลย์  เนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ 3. แปลงของนายนิกร  คงเย็น  ต.บ้านตูล  อ.ชะอวด  แต่มีเนื้อเพียงประมาณ  3 งาน เท่านั้น

ศึกษารวบรวมรูปแบบสวนพ่อเฒ่า6 กุมภาพันธ์ 2012
6
กุมภาพันธ์ 2012รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • คณะทำงาน  3  คน  ได้ลงพื้นที่ ต.เกาะเพชร  และต.ท่าซอม  อ.หัวไทร  เพื่อสำรวจรวบรวมสวนพ่อเฒ่า  ในพื้นที่

  • ลงพื้นที่ ต.ศาลาแก้ว  ต.ทรายขาว อ.หัวไทร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่  อดีตเป็นพื้นทำนา  และต่อมาได้เปลี่ยนสภาพเป็นนากุ้ง  ปัจจุบัน  ได้เปลี่ยนเป็นสวนปาล์มน้ำมัน  เกือบเต็มพื้นที่
  • พบว่า  มีสวนที่เข้าข่ายสวนพ่อเฒ่า  อยู่ที่บ้านทรายขาว  ต.ทรายขาว  อยู่หนึ่งแปลง  เนื้อที่ประมาณ  4  ไร่ เศษ  เจ้าของแปลง  ชื่อนายเล็ก  เอียดแก้ว
  • และอีก พื้นที่หนึ่ง  ที่มีลักษณะคล้ายสวนพ่อเฒ่าอยู่  3  แปลง คือที่ บ้านเนินหนองหงษ์  เป็นสวนที่เจ้าของแปลงได้พยายามพัฒนาจากบ่อกุ้งร้าง ให้เป็นสวนผสม (โอกาสอาจจะเข้าข่ายสวนพ่อเฒ่าได้)คือ  แปลงของนาย  สวัสดิ์  สมมุ่ง  จำนวน 4  ไร่  แปลงนายคะนึง  สะอาด  จำนวน  9  ไร่และแปลงของนาย อนงค์  ขุนบุญจันทร์  จำนวนประมาณ  4  ไร่ ลักษณะของสวนมีความหลากหลายและมีการปลูกพืชตามลักษณะของพื้นที่  แม้จะมีความคิดจะแตกต่างอยู่บ้างคือ ปลูก เพื่อใช้ในครอบครัวและขายด้วย แต่ลักษณะสวนดังกล่าวพึ่งเริ่มทำมาไม่เกิน  5  ปี
2. ศึกษารวบรวมรูปแบบสวนพ่อเฒ่า ตามสภาพภูมินิเวศที่แตกต่าง ในพื้นที่ 5 อำเภอ6 กุมภาพันธ์ 2012
6
กุมภาพันธ์ 2012รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • คณะทำงาน 3  คน ลงพื้นที่ อ.ปากพนัง  ต.ขนาบนาค ต.ปากพนังฝั่งตกและ ต.บางศาลา
      เพื่อศึกษา สำรวจรวบรวมสวนพ่อเฒ่า
  • ลงพื้นที่  ต.ท่าพญา , ต.คลองน้อย  อ.ปากพนัง
  • ลงพื้นที่  ต.บางจาก  ต.ท่าเรือ  อ.เมือง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ไม่พบสวนพ่อเฒ่า  มีเพียงแต่ไร่นาสวนผสมและสวนปาล์ม  จากการสอบถาม  พูดคุย  ทราบว่า  ในอดีต ในพื้นที่บ้านบางไทร  ต.บางศาลา เคยมีสวนพ่อเฒ่าอยู่เหมือนกัน  แต่ปัจจุบันนี้  ไดเปลี่ยนสภาพเป็นสวนปาล์มน้ำมันไปแล้ว
3. จัดเวทีนำเสนอแนวทางการส่งเสริมสวนพ่อเฒ่าต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน ต่อ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เป้าหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1 ครั้ง30 มกราคม 2012
30
มกราคม 2012รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วม  จำนวน  33  คน  ประกอบด้วย 1. ผู้บริหารโครงการ  3  คน 2. นักวิชาการจาก ม.วลัยลักษณ์ จ.นครศรีฯ  3 คน 3. ผอ.ศูนย์อำนวยการและประสานงาน การพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง 4. เจ้าหน้าที่ สถานีพัฒนาที่ดิน  จังหวัดนครศรีธรรมราช 2 คน 5. เจ้าหน้าที่ สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น  5  คน 6. หัวหน้าฝ่ายพัฒนา นโยบายแผน เทศบาล ตำบลเกาะเพชร 7. ผู้นำท้องที่/ท้องถิ่น
8. เกษตรกรในพื้นที่ /และผู้อาวุโส  ที่มีบทบาท สถานที่ ณ.ศาลาประชุมประจำหมู่บ้าน ม.8 ต.เกาะเพชร อ.หัวไทร จ.นครศรีฯ

ประเด็นเนื้อหา     สภาพปัญหาในพื้นที่ หลังหมดยุคนากุ้ง  เกษตรกรมีหนี้สิน ล้นตัว  ขาดการเหลียวแลจากหน่วยงานรัฐ  ชาวบ้านเกษตรกรต้องช่วยเหลือตัวเอง  โดยการกลับมาใช้พื้นที่เพื่อการการเกษตรอีกครั้ง  โดยการทดลองและหาวิธีการต่าง  เพื่อหวังจะเป็นทางออกของชุมชน  แต่ ปัญหาที่ใหญ่และเกินความสามารถ คือ  โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง  ได้กำหนดให้พื้นที่  ดังกล่าว  อยู่ในเขตน้ำเค็ม และกำหนดให้เป็นพื้นที่ประมงชาย  ซึ่งชาวชุมชนดังกล่าวได้ทำการทดลอง  ( ทำเป็นงานวิจัยขึ้นมา โดยได้รับการสนับสนุนจากสมาคมฅนรักษ์ถิ่น และสกว.ท้องถิ่น เมื่อ ปี 2554 )
      ชุมชนได้เสนอแนวทาง ให้หน่วยงานที่เข้าร่วมดังกล่าว  เข้ามาส่งเสริมและสนับสนุน  การทำเกษตรแบบผสมผสาน แบบสวนพ่อเฒ่าในอดีต  ในชุมชนคิด ชุมชนทำ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคอยให้การสนับสนุน  ไม่ใช่แบบคิดให้ ทำให้  ซึ่งข้อเสนอดังกล่าว

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก (โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง )  ได้รับไปพิจารณา และหารือกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง  และหาทางช่วยเหลือสนับสนุนไป       ในส่วนของฝ่ายนักวิชาการ  รับที่จะให้การสนับสนุน  และคอยติดตาม  การสนับสนุนของหน่วยง่านภาครัฐอีกครั้ง และต่อมาชุมชนได้รับการสนับสนุน  งบประมาณจำนวน  300,000 บาท จาก เทศบาลตำบลเกาะเพชร  เพื่อให้เกษตรกรได้ปรับสภาพคันบ่อกุ้ง  ให้สามารถทำสวนแบบผสมผสานตามแนวทางสวนพ่อเฒ่า ได้
    ในส่วนหน่วยงาน กปร.  ในช่วงระยะแรกๆ  มีทีท่าว่าจะมีโครงการลงมาสนับสนุนในพื้นที่  แต่ตอนหลังปรากฏว่า  โครงการดังกล่าวได้ถูกโยกย้ายไปลงพื้นที่อื่น  ในตำบลท่าซอม
    อาจจะยังติดความคิดเดิมๆ  ของคนเก่าๆ  ที่บอกว่า “ โซนน้ำเค็ม  เป็นเขตส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำ  ไม่ใช่การเกษตร ”  เกษตรกรบางคนมีคำถามว่า  “ เพื่อไม่ใช่พื้นที่การเกษตร  แต่ทำไม  มีเกษตรหมู่บ้าน  และทำไม เมื่อครั้งน้ำท่วม  ทางเจ้าหน้าที่รับแจ้ง  ทำไม ?) ผลในครั้งนี้  จะนำไปสู่การติดตามต่อไป ว่า  ทำไม  และทำไม  อีกหลายคำถามที่ต้องการคำตอบจากภาครัฐ

14. ประชุมหาหรือ กับผู้บริหาร องค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น อบต. เป็นทางการและไม่เป็นทางการ17 มกราคม 2012
17
มกราคม 2012รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เทศบาลตำบลเกาะเพชร  อ.หัวไทร  จ.นครศรีฯ (ทำ ๒ วัน คือ ๑๗ กับวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๕) หารือไม่เป็นทางการ เรื่อง ทิศทางการทำงานส่งเสริมสวนพ่อเฒ่า  กับเกษตรกรในพื้นที่
ประเด็นเนื้อหา - สถานการณ์ปัญหา  อาหารในชุมชน - สถานการณ์เศรษฐกิจ /หนี้สิน/รายได้ /กองทุนหมู่บ้าน - แนวทางการทำงานกองทุน สป.สช.ระดับตำบล - สถานการณ์สวนพ่อเฒ่าในพื้นที่  อดีต/ปัจจุบัน - ความเป็นไปได้  ในการส่งเสริมให้เกษตรกรทำสวนพ่อเฒ่า

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

อบต.ร่วมผลักดันในตำบลให้มีสวนพ่อเฒ่าเพิ่มมากขึ้น

1. ประชุมออกแบบการเก็บข้อมูล โดย ใช้กระบวนการร่วมชุมชนเป้าหมายมีส่วน ( ระดมความคิด สวนพ่อเฒ่าและตัวชี้วัด)9 มกราคม 2012
9
มกราคม 2012รายงานจากพื้นที่ โดย rong-505
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ณ.ศาลาประชุมประจำหมู่บ้าน ม.8 ต.เกาะเพชร อ.หัวไทร จ.นครศรีฯมีผู้เข้าร่วม  จำนวน  17  คน ประกอบด้วย 1. คณะกรรมการบริหารโครงการจำนวน  3  ท่าน 2. ผู้ทรงคุณวุฒิ  1  ท่าน 3. ผู้นำท้องที่ 2  ท่าน 4. เกษตรกรในพื้นที่ ที่สนใจและทำสวนแบบผสมผสาน 11ท่าน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประเด็นเนื้อหา 1.นิยามสวนพ่อเฒ่า  สวนพ่อเฒ่าหมายถึง สวนผสมผสาน  ที่เจ้าของแปลงได้ใช้ภูมิปัญญาของตนเองในการออกแบบ  และดำเนินกิจกรรม
2. รูปแบบสวนพ่อเฒ่า  เป็นสวนที่มีการผสมผสาน  กิจกรรมการเกษตร ที่มีความหลากหลาย  ทั้งการปลูกพืช  การเลี้ยงสัตว์ และการจัดการแบบแปลง  ที่เหมาะสมกับระบบนิเวศน์ของพื้นที่ 3.ตัวชี้วัด และเป้าหมาย สวนพ่อเฒ่า  ต้องมีกิจกรรมหลายอย่างรวมกัน  ต้องมีเทคนิคและภูมิปัญญาของตนเอง  เป้าหมายพึ่งตนเองได้  ทั้งความคิด  การจัดการ  และปัจจัย 4.การปลูกส้มโอ  ในพื้นที่ดินเค็ม  และการดูแลรักษา  เนื่องจากพื้นที่ หมู่ที่ 8  ตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร  ชุมชนได้ล้มสลายจากการเลี้ยงกุลาดำ  เกษตรกรส่วนหนึ่งได้มีความพยายามที่จะปรับตัวเอง  มาทำการเกษตรแบบผสมผสาน  หรือสวนพ่อเฒ่า  และกำลังศึกษาว่า พืชที่เหมาะสมกับสภาพดินที่เค็มนั้น ควรปลูกอะไร  ซึ่ง  ส้มโอเป็นข้อสรุปหนึ่งที่สามารถปลูกได้  แต่เกษตรกรในพื้นที่ยังขาดความรู้  ดังนั้น ทางโครงการจึงได้เชิญ ผู้ทรงวุฒิที่มีประสบการณ์  การปลูกส้มโอในพื้นที่ดินเค็ม (บ้านแสงวิมาน  อ.ปากพนัง) มาให้ความรู้เรื่องการปลูกส้มและการดูแลรักษา
ผลที่เกิดขึ้น - ผู้เข้าร่วมได้เข้าใจ  สวนพ่อเฒ่า  มากยิ่งขึ้น - ได้กรอบในการจัดทำแบบสำรวจสวนพ่อเฒ่า
- เกษตรกรได้เข้าใจ  เรื่องการปลูกและการดูแลส้มโอ - ทำให้เกษตรกร  สนใจที่จะปลูกส้มโอเป็นพืชเสริม

ประชุม หารือ กับ ผู้บริหารและสมาชิก องค์กรบริหารส่วนตำบล ในรูปต่าง ทั้งรูปแบบเป็นทางการและไม่ เป็นทางการ5 มกราคม 2012
5
มกราคม 2012รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ ๕ ๑๗ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๕ หาืรือกับ อบต.วังอ่าง เกาะเพชร จำนวนผู้ร่วมพูดคุยหารือ  จำนวน  5 คน - แกนนำเกษตรกร - ผู้ใหญ่บ้าน - ผู้ประสานงานโครงการ สถานที่
  อบต.วังอ่าง  อ.ชะอวด  เทศบาลตำบลเกาะเพชร อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช จำนวน ๓ วัน (๕,๑๗,๒๔ มกราคม ๒๕

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้แนวทางการทำสวนพ่อเฒ่า และการทำกิจกรรม ได้ความร่วมมือการทำงานเพื่อขับเคลื่อนงานสวนพ่อเฒ่าทำให้มีการประสานงานกันเป็นระยะๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  เทศบาลตำบลเกาะเพชร  จะมีผู้แทนเข้าร่วมกิจกรรมหลักทุกครั้งเมื่อมีการเชิญชวน และ  หลังจากที่มีเวทีเสนอแนวทางการส่งเสริม  เทศบาลก็ให้การสนับสนุนทันที
      ส่วน อบต.วังอ่าง  อ.ชะอวด  หลังจากที่มีการหาหรือ ในครั้งนั้น  ในพื้นที่ เกิดความขัดแย้งทางการเมืองสูง  มีหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้นำ  มีการเลือกตั้ง  ผู้ใหญ่บ้านใหม่  เนื่องจาก คนเก่าลาออกก่อนวาระ  และหลังนั้นไม่นาน  แกนนำคนสำคัญ  ลงสมัครรับตั้ง สมาชิก  อบต.  และ มีการเลือก ผู้บริหารใหม่ทั้งชุด  หลังจากการเลือกตั้ง ปรากฏว่า  การเมืองมีการเปลี่ยนขั้ว  ทางโครงการไม่ได้เข้าไปในพื้นที่เป็นเวลาระยะหนึ่ง  ซึ่งนานสมควร  ทำให้กิจกรรมขาดความต่อเนื่อง  และยิ่งเกิดการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองด้วย  ยิ่งเหมือนกับ  เริ่มต้นโครงการใหม่  คาดว่า  คงไม่ทันเวลา  จึงยุติไป