แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 2

รหัสโครงการ 56-00249
สัญญาเลขที่ 56-00-0279

ชื่อโครงการ โคกเหล็กสะอาดจัดการขยะดีทุกชีวีมีสุข
รหัสโครงการ 56-00249 สัญญาเลขที่ 56-00-0279
ระยะเวลาตามสัญญา 1 เมษายน 2013 - 30 เมษายน 2014

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 กำไล สมรักษ์
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 10 กุมภาพันธ์ 2014
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 23 กุมภาพันธ์ 2014
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นายธีระชัย ช่วยชู 94/1 หมู่ 9 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 087-2707143
2 นางศศิวรรณ จันทร์สอน 3 หมู่ 9 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 081-3706984
3 นางหนูเวียง ศักดิ์ศรี 88/1 หมู่ 9 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 084-6270374

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ มีทักษะ และมีพฤติกรรมการจัดการขยะในครัวเรือนได้ถูกต้อง

1.1 ประชาชนในหมู่บ้านเข้าร่วมโครงการ 100 หลังคาเรือน มีความรู้ มีทักษะและสามารถปฏิบัติการจัดการขยะในครัวเรือนตนเองได้ถูกต้อง และทำอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 90

1.2 แกนนำชุมชน10 คน ได้รับคัดเลือกจากผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดให้เป็นผู้นำในการนำปฏิบัติจัดการขยะกลุ่มบ้านตนเอง โดยแบ่งเขตในละแวกบ้านใกล้เคียง 1 คนต่อ 10 หลังคาเรือน สามารถเป็นผู้นำปฏิบัติการจัดการขยะในครัวเรือนได้ถูกต้อง ร้อยละ 90

2.

เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมปฏิบัติการจัดการขยะในชุมชนให้หมู่บ้านสะอาด ปลอดภัย เอื้อต่อสุขภาพดี

2.1 ประชาชน 100 หลังคาเรือน เข้าร่วมในเวทีหมู่บ้าน ได้ร่วมคิด ร่วมออกแบบ ร่วมทำ และร่วมประเมินผล ร้อยละ 90

2.2 แกนนำการจัดการขยะมีทักษะการสอน การแนะนำ การติดตามสนับสนุน และประเมินผลการจัดการขยะให้กับประชาชนในหมู่บ้านได้ ร้อยละ 90

2.3 เกิดบ้านจัดการขยะดีเด่นเพื่อเป็นฐานเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะ 10 หลังคาเรือน

2.4 เกิดกองทุนการจัดการขยะ 1 กองทุน

3.

เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการฯ

 

2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมย่อย: i

0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

มีการพูดคุยตามกลุ่มบ้านใน 10 กลุ่มบ้าน หลังจากนั้น ผู้นำกลุ่มบ้านมาร่วมเสนอผลงาน บทเรียนการปฏิบัติ และการขับเคลื่อนผลการดำเนินงานต่อเนื่อง

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

ผู้นำกลุ่มบ้านและชาวบ้านมาร่วมกันเสนอความคิดเห็น บอกเล่าการทำกิจกรรมและผลงานที่ภูมิใจ เล่ากันทุกคน มีเสียงหัวเราะเป็นระยะๆ เห็นแววตาความภูมิใจของทุกคน

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

เกิดผลดีต่อทุกคนในหมู่บ้าน 1. คนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะในบ้านและรอบๆบ้าน ก่อนนี้ไม่สนใจดูแลบ้าน บ้านไม่เป็นระเบียบ ไม่ได้คัดแยกขยะ ไม่รู้ว่าขยะขายได้ ขยะมีพิษคืออะไร ต้องกำจัดอย่างไร หลังทำโครงการ พบว่ามีการคัดแยกขยะในครัวเรือน เก็บขยะมีพิษมาทิ้งในหลุมขยะมีพิษ มีการนำขยะเหลือใช้มาใช้ประโยชน์ และนำมูลสัตว์มาทำเป็นแก็สหุงต้ม 2. สิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านเปลี่ยนไปมาก จากเดิมไม่มีการจัดการขยะ ยังเพ่นพ่าน แต่ตอนนี้ทุกบ้านมีการคัดแยกขยะมาขาย และนำมารวมกันเพื่อแปรรูปให้เกิดประโยชน์ กวาดบ้านทุกวัน บ้านสะอาดเพื่อข้างบ้านชื่นชม 3. เกิดการประชุมอย่างต่อเนื่อง ติดตามงานต่อเนื่องในวันประชุมประจำเดือน ชาวบ้านได้เสนอความคิดเห็น และเล่าเรื่องที่ตนเองภูมิใจให้เพื่อได้เรียนรู้ และชวนกันทำเพิ่ม ส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความรู้ใหม่ และเกิดความรัก สามัคคีในกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มบ้านสิบกลุ่ม จะมีการพูดคุยปรึกษาหารือ ร่วมกันทำกิจกรรมกันอย่างต่อเนื่อง 4. มีข้อเสนอการพัฒนาต่อเรื่องบ้านพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี ขยายผลการพัฒนาหมู่บ้านต่อเนื่อง

กิจกรรมย่อย: i

0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

พี่เลี้ยงและคณะกรรมการหมู่บ้า้น แกนนำกลุ่มบ้าน 10 กลุ่มบ้าน ร่วมกับชาวบ้านพูดคุยผลการดำเนินงาน เพื่อนำข้อมูลมาสรุปโครงการ

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

พี่เลี้ยงและคณะกรรมการหมู่บ้า้น แกนนำกลุ่มบ้าน 10 กลุ่มบ้าน ร่วมกับชาวบ้านพูดคุยผลการดำเนินงาน เพื่อนำข้อมูลมาสรุปโครงการ

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

ชาวบ้านได้เสนอข้อคิดเห็นว่า ควรทำต่อ ทุกคนได้ยกมือทุกคนว่าทำต่อ โดยเฉพาะทำเป็นกลุ่มบ้าน อยากให้ทำทุกบ้าน เพราะดีมาก ที่ได้ลดการใช้สารเคมีมาปลูกผักกินเอง และช่วยกันเสนอการทำกิจกรรมต่อเนื่อง อยากให้เกิด "บ้านพอเพียง หลีกเลี่ยงสารเคมี โดยมีกติกาตามพื้นฐานของบ้านโคกเหล็ก คือ 1. มีการปลูกผักเพิ่มจากเดิมโดยใช้มูลสัตว์ในชุมชน 2. ใช้วัสดุเหลือใช้จากขยะในครัวเรือนมาปรับเป็นวัสดุในการปลูกพืชผัก 3. ทำต่อยอดแก็สชีวมวลจากมูลสัตว์ 4. ลดการบริโภคอาหารผสมสารกันบูด 5. ลดการใช้เครื่องปรุงรสอาหาร เช่น ผงชูรส รสดี 7. เรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก ทำน้ำหมักใช้ในครัวเรือน และมาเรียนรู้พร้อมกับปฏิบัติจริง ทุกคนลงมติทำด้วย โดยมีแกนนำหลักตามกลุ่มบ้านเดิม แล้วรับสมัครเพิ่มมาอีก มีผู้สนใจร่วมก็ให้เข้ามาร่วมทำในปีต่อไป ขยายผลไปหมู่บ้านใกล้เคียงได้ และนัดกันมาประชุมทุกเดือน ถือว่าเป็นการจัดสังสรรค์หมู่บ้านทุกเดือน

กิจกรรมย่อย: i

0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมทำ ดังนี้ 1) แบ่งกลุ่มให้ทุกคนได้เล่าเรื่องราวที่ร่วมปฏิบัติการ นำจุดเด่น จุดควรพัฒนามาเรียนรู้ร่วมกันเพื่อประเมินผลการปฏิบัติของแกนนำและชาวบ้านทุกครัวเรือน แล้วนำมาสรุปในกลุ่มใหญ่ 2) ให้ทุกคนช่วยกันคิด/เสนอแนว/และลงมติการจัดตั้งกองทุนขยะเพื่อชุมชน เพื่อคืนความดีให้กับคนทำดี จากรายได้การขายขยะจัดเป็นกองทุนเพื่อสวัสดิการชุมชน มีผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิการชุมชนมาให้ข้อเสนอแนะในเวที และให้ทุกคนได้เสนอและลงมติร่วมกัน ได้แก่ ชื่อคณะทำงาน หน้าที่ของคณะทำงาน วิธีการ การประสานงานร้านรับซื้อของเก่า ให้เข้าร่วมโครงการขยะรีไซเคิลเกิดคนดีศรีบ้านโคกเหล็ก กำหนดระยะเวลาที่จะเข้ามารับซื้อการวางแผนกำหนดวัน เวลา นัดพบเพื่อส่งมอบขยะ โดยมีการนำขยะมารวมตามกลุ่มบ้าน ประสานรถซาเล้งมารับเดือนละ 2 ครั้ง มีคณะกรรมการของกลุ่มบ้านเป็นผู้ทำหน้าที่รับ-จ่ายขยะ และนำข้อมูลมาสรุปในที่ประชุมกรรมการเป็นรายเดือน มีข้อสรุปจากกรรมการกองทุนขยะนำมาชี้แจงให้กับชาวบ้านทุกคนได้ทราบ และร่วมเสนอแนะการจัดสวัสดิการเพื่อคนทำดีของหมู่บ้านต่อไป เป็นขวัญและกำลังใจให้กับคนในหมู่บ้าน

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

จัดเวทีแลกเปลี่ยนผลงานการจัดการขยะของทุกกลุ่มบ้าน และเชิญหน่วยงานมาร่วมให้ข้อมูลความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้ปฏิบัติต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

มีผู้นำกลุ่มบ้าน ปลัดอำเภอ หมออนามัย อาจารย์จากวลัยลักษณ์ สมาชิกของกลุ่มบ้าน มาร่วมกันเล่าเรื่องการจัดการขยะ และร่วมกันสนับสนุนถังขยะ โดยมีการสมทบทุนเพิ่มเติมจากชาวบ้าน ทั้งหมดได้วางแผนการดำเนินงานต่อเนื่อง คือ ให้สมาชิกของกลุ่มบ้านจัดการขยะเตรียมตัวทำให้ดีกว่าเดิมเพื่อร่วมประกวดบ้านต้นแบบ ในวันนี้พบว่ามีบ้านต้นแบบสมัครมาแล้วและพร้อมจะไปพัฒนาต่อไป นอกจากนี้ได้ตกลงเรื่องการทำแก็สชีวมวลที่บ้านสมาชิกที่มีการเลี้ยงหมู โดยเจ้าของบ้านสมทบทุนทำแก็สชีวมวลเพื่อทำเป็นตัวอย่างให้กับชาวบ้านอีกด้วย นอกจากนี้ได้กำหนดวันจัดกกิจกรรมอย่างต่อเนื่องจนถึงปีใหม่ด้วย ผู้อำนวยการ กศน. ท่าศาลา มาร่วมประชุมสรุปผลงาน กศน.ตำบล ช่วยกันสรุป ได้ผลว่า มีความสำเร็จเรื่องบ้านสะอาดขึ้น มีการจัดการขยะเป็น กวาดบ้านทุกวัน มีบ้านต้นแบบให้ความร่วมมือดี มีความสัมพันธ์อันดีในกลุ่มบ้าน แต่ละกลุ่มบ้านมีการปรับปรุงดีกว่าเดิม มีบ้านตัวอย่างทำแก็สชีวมวล เพื่อบ้านเห็นแล้วอยากทำที่บ้านตนเองต่อเพื่อขยายผลเรื่องลดสารเคมี ลดค่าใช้จ่ายค่าแก็สหุงต้ม มีหลุมขยะพิษไว้ทิ้ง มีชาวบ้านหิ้วขยะมาใส่เกือบเต็มปล้องแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นกระป๋องยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ยาฉีดมด สเปรย์ซ่อมรถ ที่เกิดประโยชน์มากคือหลอดไป เนื่องจากหาที่ทิ้งยากมาก มีหลุ่มขยะมีพิษจึงมีประโยชน์กับหมู่บ้านเป็นอย่างดี วางแผนการทำโครงการต่อยอดอีกปี เรื่องบ้านพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
แกนนำกลุ่มบ้านจัดการขยะ

ผู้นำกลุ่มบ้านสอนการจัดการขยะและเป็นบ้านตัวอย่างการจัดการขยะได้ มีการนำขยะมาทำแก็สชีวมวล

ถ่ายทอดกระบวนการทำงานและขยายผลให้ครัวเรือนอื่นได้

2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
ผู้นำกลุ่มบ้านจัดการขยะ

รวมกลุ่มเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจนสำเร็จเป็นตัวอย่างเพื่อบ้านได้

ถ่ายทอดและขยายผลในครัวเรือนอื่นๆ ได้

2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
นางศศิวรรณ จันทร์สอน 3 หมู่ 9 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

แกนนำจัดการขยะกลุ่มบ้าน สอนการทำแก็สชีวมวลได้ ปฏิบัติเป็นตัวอย่างของครัวเรือนอื่นๆ ได้ดี

2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

 

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

 

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

 

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

 

2.2 การใช้จ่ายเงิน

 

2.3 หลักฐานการเงิน

 

ผลรวม 0 0 0 0
ผลรวมทั้งหมด 0 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

เกิดแกนนำกลุ่มบ้านจัดการขยะเป็นตัวอย่างได้ดี

สร้างรายงานโดย Nongluk_R