แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 3

รหัสโครงการ 56-00268
สัญญาเลขที่ 56-00-0474

ชื่อโครงการ ชุมชนหูยาน บ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง
รหัสโครงการ 56-00268 สัญญาเลขที่ 56-00-0474
ระยะเวลาตามสัญญา 1 พฤษภาคม 2013 - 31 พฤษภาคม 2014

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นายเสณี จ่าวิสูตร
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2 นางสาวจุรีย์ หนูผุด
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 29 มิถุนายน 2014
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 30 มิถุนายน 2014
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นายถาวร คงศรี 199 หมู่ที่ 8 ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง 93000 098 - 0178131
2 นายอนุชา เฉลาชัย 135 หมู่ที่ 7 ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง 081 - 3288784

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

1.เพื่อพัฒนาศักยภาพสภาแกนนำฯ บ้านหูยานและครัวเรือนขยายผลเลี้ยงผึ้ง

1.1 ได้แผนพัฒนาชุมชนพึ่งตนเอง 1.2 เรียนรู้และทำบัญชีครัวเรือน 50 ครัวเรือน 1.3 ชักชวนประชาชนขยายผู้เลี้ยงผึ้งจาก 25 เป็น 50 ครัวเรือน

2.

2.เพื่อจัดตั้งและขยายผลโรงเรียนผึ้งและพัฒนาเป็นหลักสูตรชุมชน

2.1 ตั้งโรงเรียนผึ้งและทำหลักสูตรผึ้ง 1 หลักสูตรเป็นหลักสูตรชุมชน 2.2 เรียนรู้หลักสูตรผึ้ง 1 รุ่น 25 คน 2.3 รวมกลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างน้อย  3 กลุ่ม

3.

3.พัฒนาตลาดเขียวพื้นที่คนรักษ์สุขภาพมีการรับรองมาตรฐานสินค้าอาหารปลอดภัย

3.1 พัฒนาตลาดเขียวเปิดพื้นที่คนรักษ์สุขภาพจำหน่ายผลผลิตอาทิตย์ละ 1 ครั้ง 3.2 พัฒนาสินค้าตลาดเขียวให้ได้รับตราสินค้ามาตรฐานอาหารปลอดภัยมาตรฐานจากคณะกรรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลนาท่อม
3.3 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมตลอดโครงการ.

4.

4.เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

จำนวนครั้งที่พื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม

2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : ฝึกการนำเสนอวิทยากรแหล่งเรียนรู้i

8,550.00 35 ผลผลิต

มีการจัดทำข้อมูลความรู้ในการเลี้ยงผึ้งอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน และนางบุญเรือง แสงจันทร์ ได้นำไปเป็นหัวข้อในการถ่ายท อดความรู้ได้ตามที่กำหนดไว้


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

วิทยากรแหล่งเรียนรู้โรงเรียนผึ้งโดยมีนางบุญเรือง แสงจันทร์ เป็นวิทยากรหลักสามารถนำเสนอและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับสมาชิกแกนนำและผู้ที่สนใจมาเรียนรู้ทั้งในและนอกพื้นที่ได้อย่างเป็นกระบวนการ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

-ตัวแทนครัวเรือน -สมาชิกแกนนำ -กลุ่มบทบาทสตรี

8,550.00 8,550.00 35 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้นจริง นางบุญเรือง  แสงจันทร์เป็นผู้ที่สามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องการเลี้ยงผึ้งให้ผู้เข้าร่วมดูงานแลกเปลี่ยนได้เป็นระบบตามที่ออกแบบและนายมานพ แสงจันทร์ ซึ่งเป็นสามีสามารถเป็นวิทยากรควบคู่ได้เป็นอย่างดี
-ผลที่เกิดขึ้นตามมา ได้รับความสนใจจากผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นอย่างดีมีมีผู้สนใจมาศึกษาเพิ่มขึ้นจากการสื่อสารทางวิทยุ -เปลี่ยนแหล่งเรียนรู้ที่ที่มีวิทยากรการนำเสนอได้ทั้ง 2 คน ลูกสาวก็มีความรู้สามารถนำเสนอได้เช่นเดียวกัน -กลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งมาให้การต้อนรับผู้มาศึกษาดูงานเป็นอย่างดี  สะท้อนให้เห็นความตื่นตัวต้อนรับ เห็นความสำคัญของคนมาท่องเที่ยวในชุมชนบ่อยขึ้น -จากการมาเยี่ยม,ดูงาน หลายครั้งที่ผ่านมา ทำให้ทางกลุ่มเลี้ยงผึ้งบ้านหูยาน น้ำผึ้งมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ,ผลผลิตของประชาชน เช่น ผัก ผลไม้ ให้บริการจนเป็นที่พอใจของผู้มาดู
-การเข้ามาดูการเลี้ยงผึ้ง ทำให้ประชาชนขาย สินค้าได้มากขึ้นและมีการปรับตัวเป็นผู้ให้บริการได้ดีขึ้นจากเดิมไม่เคยมีต้องนำสินค้าไปขายให้แม่ค้าคนกลาง ปัจจุบันขายตรงมากขึ้น

-วิทยากรของแหล่งเรียนรู้โรงเรียนผึ้ง  มีความรู้และถ่ายทอดได้อย่างรอบรู้และเข้าใจของผู้มาดูงาน โดยที่มีกำนันอนุชา เฉลาชัยและนางสุมาลี  ศรีโดนได้ฝึกถ่ายทอดอย่างเป็นกระบวนการและนำชมกิจกรรมของกลุ่ม ผึ้ง สวนผัก ,สินค้าทดแทน จนเป็นที่พอใจของกลุ่มผู้นำบทบาทสตรี

-เจ้าหน้าที่เทศบาล -สมาชิกผู้เลี้ยงผึ้ง,กลุ่มสวนผักชุมชน -ผู้นำในพื้นที่

8,550.00 0.00 35 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สมาชิกในกลุ่มผึ้งและกลุ่มสวนผักได้เรียนรู้และเข้าใจหลักคิดการเลี้ยงผึ้งเพื่อสุขภาพ  สิ่งแวดล้อม อย่างเป็นระบบ -สมาชิกแกนนำและกลุ่มที่เลี้ยงผึ้งสามารถถ่ายทอดหลักคิดการเลี้ยงผึ้งของชุมชน -นางบุญเรือง แสงจันทร์เป็นวิทยากรถ่ายทอดได้อย่างเป็นระบบ คือ มีแนวคิด  แนวปฎิบัติ  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

กิจกรรมหลัก : พัฒนาบ้านผึ้งเป็นโรงเรียนผึ้งโดยมีหลักสูตรผึ้งi

6,800.00 10 ผลผลิต

ได้กำหนดเนื่อหา  เป็น  20:60:20 คือ 20= แนะนำภาคทฤษฏี: 60= เย่ี่ยมชมภาคปฏิบัติ: 20= แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนา -กำหนดการใช้สื่อนำเสนอตอนสาธิต  ประกอบด้วย กล่องหรือหีบผึ้ง,ชุดเก็บนำ้ผึ้ง,ไวนิลนำเสนอ,แผ่นพับ,และอุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง -ได้กำหนดวิทยากรประจำศูนย์ 2 ท่าน คือ นางบุญเรือง  แสงจันทร์และนายมานพ  แสงจันทร์ -สถานที่ดู สามารถดูได้จากสมาชิกกลุ่มเลี้ยงผึ้งคนอื่นนอกจากนี้


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

มีหลักสูตรในการเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งอย่างเป็นระบบและสมบูรณ์

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

-กลุ่มของสภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน,สมาชิกกลุ่มสวนผัก,และกลุ่มผู้นำที่สนใจเข้าร่วม

6,800.00 6,800.00 10 19 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ได้กำหนดเนื่อหา  เป็น  20:60:20 คือ 20= แนะนำภาคทฤษฏี: 60= เย่ี่ยมชมภาคปฏิบัติ: 20= แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนา -กำหนดการใช้สื่อนำเสนอตอนสาธิต  ประกอบด้วย กล่องหรือหีบผึ้ง,ชุดเก็บนำ้ผึ้ง,ไวนิลนำเสนอ,แผ่นพับ,และอุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง -ได้กำหนดวิทยากรประจำศูนย์ 2 ท่าน คือ นางบุญเรือง  แสงจันทร์และนายมานพ  แสงจันทร์ -สถานที่ดู สามารถดูได้จากสมาชิกกลุ่มเลี้ยงผึ้งคนอื่นนอกจากนี้

คณะผู้ทรงคุณวุฒิร่วมพิจารณาหลักสูตร 8 คน

15,050.00 0.00 35 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้หลักสูตรผึ้งเป็นหลักสูตร ชุมชนฉบับสมบูรณ์ที่ผ่านคณะกรรมการร่วมคิด

กิจกรรมหลัก : ใช้สื่อประชาสัมพันธ์ รณรงค์สร้างจิตสำนึก ครั้งที่ 2i

9,000.00 50 ผลผลิต

มีการใช้สื่อสาธารณะที่หลากหลาย  เช่น ขบวนพาเหรดผัก, ขบวนพาเหรดผู้สูงอายุสุขภาพดีและลดขยะ,ขบวนพาเหรดเด็กนำขยะมารีไซคเคิล ฯลฯ กิจกรรมงานแข่งขั้นเรือนพาย กิจกรรมยิ้มนี้ที่ริมคลอง การจัดทำนิทรรศการเผยแพร่ผลงาน ผ่านงานระดับจังหวัดเช่นงานรวมพลคนรักษ์ลุ่มน้ำพัทลุง งานสมัชชาเมืองลุงน่าอยู่


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชุมชนสามารถถ่ายทอดและประชาสัมพันธ์ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมของโครงการผ่านสื่องานรณรงค์ทั้งในระดับตำบลและนอกพื้นที่ ส่งผลต่อคนในชุมชนให้ความร่วมมือในโครงการมากขึ้น มีจิตสำนึกในการร่วมกันจัดการโครงการ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

กลุ่มคน 3 วัย -แกนนำ  21  คน -ครัวเรือนต้นแบบ -ประชาชนทั่วไป หมู่ที่ 1-8 -เทศบาลตำบลนาท่อม

9,000.00 9,000.00 50 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ชุมชนหูยานมีความตื่นตัวและให้ความร่วมมือเป็นจำนวนมาก -คิดกิจกรรมนำเสนอให้คนรู้จักได้ด้วยวิธีการร่วมคิด  ร่วมทำ สิ่งที่นำเสนอเป็นรูปธรรมทั้งสิ้น  เช่น ขบวนพาเหรดผัก, ขบวนพาเหรดผู้สูงอายุสุขภาพดีและลดขยะ,ขบวนพาเหรดเด็กนำขยะมารีไซคเคิล ฯลฯ -ชุมชนอื่น รู้และเข้าใจโครงการหูยานจัดการตนเองเพิ่มมากขึ้นเมื่อกำนันอนุชา  เฉลาชัยได้รับรางวัล กำนันแหนบทองคำ และมีโรงเรียนผึ้ง ที่เกิดจากโครงการนี้ ทำให้มีคนมาดูงานจำนวนมาก จนต้องบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้โดยการกำหนดวันมาดู

ประชาชนทั่วไปในชุมชนที่มาชนกิจกรรมงานแข่งขั้นเรือนพาย

0.00 0.00 100 300 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุมชนได้รวมผลผลิตในชุมชนมานำเสนอในงาน ทำให้ผู้ร่วมงานได้รู้จักนาท่อม ได้รู้จักพื้นที่สุขภาพเพิ่มขึ้นจากงานรณรงค์

ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนาท่อม หมู่ที่ 1-8 เพื่อใบใช้บริหารของเทศบาล

0.00 0.00 100 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มต่างได้ร่วมกันรงณรงค์ให้ประชาชนหันมาสนใจสุขภาพ,รณรงค์ให้เลี้ยงผึ้งเพื่อสุขภาพ,เพื่อสิ่งแวดล้อมและเพื่อรายได้, ได้มีการแปรรูปผลืตภัณฑ์สินค้าทดแทนที่ขายดี,ได้ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนที่ร่วมงานได้มีความมั่นใจในผลิตภันฑ์ -เห็นประชาชนประชาชนที่ร่วมกลุ่มคิด และร่วมทำจนเพื่องตนเองอย่างเห็นได้ชัดจากการร่วมทำอย่างไม่เด็ดเหนือย

กิจกรรมหลัก : เวทีถอดบทเรียนชุมชนหูยานสู่การจัดการตนเองi

4,750.00 50 ผลผลิต

มีกิจกรรมการถอดบทเรียนการดำเนินงานตามโครงการ 1 ครั้ง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

โครงสร้างสภาแกนนำจำนวน 21 คน มีการแบ่งบทบาทหน้าที่แต่ละฝ่ายอย่างชัดเจนและเหมาะสมกับคนทำงาน มีการประชุม  พูดคุยกันอย่างสมำเสมอ สามารบจัดการชุมชนตนเองได้ จากการทำงานของชุมชนเองต้องมีตัวแทนชุมชนและคนในชุมชนให้ความร่วมมือและใช้สื่อประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้านที่มีเช่นสื่อหอกระจายข่าวในการสื่อสารการทำกิจกรรมโครงการ กับครัวเรือนในหมู่บ้านจึงเกิดครัวเรือนปลูกผักกินเองเพิ่มขึ้นมากกว่า 70 ครัว และขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียง จนกลายมาเป็นสมาชิกตลาดเขียวของกลุ่มสวนผักชุมชนคนหูยานฯ จากการขับเคลื่อนโครงการมาระยะหนึ่ง ผู้นำได้เห็นความสำคัญกับแผนชุมชน ที่ใช้เป็นกระบวนการพัฒนา จึงได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ตำบลร่วมกับเทศบาล และทบทวนแผนชุมชนบ้านหูยาน ตลอดจนเชื่อมต่อกับหน่วยงานสำนักงานเทศบาล ร่วมให้การสนับสนุนดโครงการสืบชะตาคลองนาท่อม สนับสนุนการทำกิจกรรม เก็บขยะ ปลูกไม้ ปล่อยปลา ขยายเขต และผู้นำชุมชนนำกิจกรรมกรรมหลากหลายเข้ามาร่วมเนื่องจากคนในชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้น อย่าง เช่น ตลาดหูยาน สะพานคนเดิน มีการรวบรวมผลผลิตจากชุมชนมาขายทุกวันเสาร์สุดท้ายของเดือน มีการจัดกิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชนในกิจกรรม ยิ้ม  ริมคลองนาท่อม เป็นการรณรงค์ให้ใช้พื้นที่ดี ๆ ในชุมชน ให้เด็กได้ร่วมกันเก็บขยะ  ปล่อยปลาในคลองเป็นการอนุรักษ์  จัดพื้นที่ให้เป็นลานศิลป, ลานเล่น, ลานกินอาหารเพื่อสุขภาพ ,มีเวทีให้ความรู้เรื่องอาหารกับสุขภาพ  สิ่งต่าง ๆ เล่านี้เกิดขึ้นในพื้นที่ชุมชนบ้านหูยานอย่างต่อเนื่องมาตลอดท้้งปี

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

สมาชิกสภาแกนนำ ๅ16  คน สมาชิกครัวเรือนต้นแบบ  14คน ผู้นำรับเชิญ  1 คน

4,750.00 4,750.00 50 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ข้อสรุปจากผลการรดำเนเินโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง - ด้านพัฒนาสภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน เพื่อ ร่วมกันเรียนรู้การกำหนดบทบาทหน้าที่และโครงสร้าง       1.ได้เรียนรู้กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนจาก หัวหน้าสำนักงานปลัดเทศบาลตำบลนาท่อมจนรู้และเข้าใจจนสามารถร่วมกันกำหนดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ให้กับชุมชน เช่น ชักชวนสมาชิกครัวเรือนทำบัญชครัวเรือนเพื่่อเรียนรู้ตนเอง ผลที่เกิดขึ้นสมาชิคสภาแกนนำและครัวเรือนฝึกทำบัญชีอย่างต่อเนื่อง จำนวน 50  ครัวเรือนและร่วมกันรณรงค์ให้ออมทรัพย์สวัสดิการเดือนละ 30 บาทเพื่อเป็นสวัสดิการแก่สมาชิกครัวเรือนต้นแบบ       2. สมาชิกสภาแกนนำเรียนรู้โครงสร้างกรรมการหมู่บ้านและบทบาทหน้าที่ จากปลัดจริญา  จันทร์ดำ ผลของการเรียนรู้ส่งให้การจัดกระบวนการชุมชน ให้สภาแกนนำเป็นกรรมการหมูบ้าน ที่มีโครงสร้างและแต่ละคนแต่ละฝ่ายให้มีบทบาทหน้า  ผลที่เกิดขึ้น  หัวหน้าชุมชนหรือกำนันได้รับการประเมินหมู่บ้านที่บริหารโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน ไ้ด้รับรางวัล กำนันแหนบทอง และมีผลงานต่อเนื่อง เป็นคณะทำงานกับผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผลลัพธ์จากการพัฒนาศักยภาพแกนนำ - ด้านการตั้งแหล่งเรียนรู้เป็นโรงเรียนผึ้งและมีหลักสูตรพัฒนาเป็นหลักสูตรชุมชนเรียนรู้ขยายผล ผลที่เกิดขึ้น จำนวนคนที่ขยายผลการเลี้ยงผึ้งเพิ่มขึ้นภายในชุมชน ครัวเรือนต้นแบบขยายผล มากกว่า 25  คน ภายนอกชุมชนจำนวนมากหลายพื้นที่ สื่อเนื่องจากการประชาสื่อประชาสัมพันธ์ ทางวิทยุ,หนังสือพิ่มย์ไทยรัฐ จำนวน 2 ครั้ง,วารสารจังหวัด,การออกบูทแสดงในงานของจังหวัด จำนวนหลายครั้ง ผลผลิต เกิดหลักสูตร ผึ้งภูมิปัญญา ฟื้นชุมชนให้น่าอยู่ ใชักับแหล่งเรียนรู้โรงเรียนผึ้ง โดยนางบุญเรื่อง  แสงจันทร์เป็นวิทยากรและนายมานพ  แสงจันทร์ ผลผลิตเป็นกลุ่มรวมกันขาย - ด้านการพัฒนาตลาดเขียวพื้นที่คนรักษ์สุขภาพให้มีตรารับรองมาตรฐาน สิ่งที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาพื้นที่คนรักษ์สุขภาพหรือตลาดเขียว
      1. มีตรารับรองมาตรฐานสินค้า ที่มาจากจาก คณะกรรมการคุมครองผู้บริโคภ ร่วมกันกำหนดขึ้น จากเทศบาลนาท่อม  อานามัยนาท่อม และคณะทำงานภาคประชาชนร่วมกันกำหนดมาตรฐานอาหารปลดภัย       2. ชุมชนมีความรู้และความตระหนักเพิ่มขึ้น จนครัวเรือนปลูกกินเองมากขึ้นและนำมาขายผ่านร้านค้าของชำในชุมชนและร้านขนมจีนจำนวนมากในชุมชนทำให้สินค้าผลิตไม่พอต่อความต้องการ เป้าหมายที่วางไว้จะเปิดเป็นตลาดนัดมีสินค้าไม่พอ เป็นช่องทางการเพิ่มรายได้แต่โครงการนี้มุ่งเน้นสุขภาพมาเป็นลำดับสำคัญ สำหรับการสื่อสาร เน้นจากหอกระจายข่าว,กิจกรรมในชุมชน,งานออกบูทในสถานที่ต่าง ๆ,ในร้านค้าชุมชนเป็นการขยายผล,มีแม่ค้าเข้ามารับจนไม่พอจำหน่าย ข้อสรุปทีได้ คือ ตลาดนัดคนรักษ์สุขภาพไม่สามารถขายได้ทุกวันพุทธ เนื่อจากผลผลิตไม่พอ เน้นการปลูกไว้กินเอก และแบ่งปัน ส่วนที่เหลือขายในร้านค้าชุมชน คนได้กินของดี ส่วนตลาดไม่มีสินค้าขาย ถึงมีก็ไม่คุ้มค่า

สรุปภาพรวมสิ่งที่ได้รับจากการดำเนินการโครงการ ชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง         ชุมชนหูยาน หมู่ที่ 8  ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เป็นชุมชนน่าอยู่เนื่องจาก ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมหลายเรื่องเกิดขึ้น เช่น กรรมการหมู่บ้านที่เป็นสภาแกนนำจำนวน 21 คน มีการประชุม  พูดคุยกันอย่างสมำเสมอในการให้ความรู้กับชุมชน มีการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานข้างนอกเพื่อนำกิจกรรมมาสู่ชุมชน จัดระบบชุมชนแบบมีโครงสร้าง แบ่งบทบาทหน้าที่จนแต่ละฝ่ายมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง จนผู้นำ คือ นายอนุชา  เฉลาชัยที่เป็นผู้จัดการโครงการ เป็นกำนัน จนได้รับรางวัล กำนันแหนบทอง ในการดำเนินโครงการนี้จากการประเมินผู้นำท้องถิ่นดีเด่น , ด้านเศรษฐกิจ ที่มีนางบุญเรือง  แสงจันทร์ ได้รับการแต่งตั้งจาก ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง นายเสรี  ศรีหไตร เป็น คณะทำงาน ครม น้อย เพื่อขับเคลือนขยายผล การเลี้ยงผึ้งเพื่อเพิ่มรายได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  และฟื้นสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้สารเคมี เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรจากการที่มีผึ้งเพิ่มขึ้น ดีต่อสุขภาพ และเป็นประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้านในการ ใช้สื่อหอกระจายข่าวในการสื่อสารโครงการ จนได้รับไว้วางใจให้ไปจัดแปลงสวนผักชุมชน ในจวนผู้ว่าเพื่อเป็นโมเดล, ด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ได้มีกลุ่มสวนผัก และกลุ่มสินค้าทดแทน ในการร่วมกันรณรงค์การปลูกผักกินเอง สร้างแปลงผักครัวเรือน เพิ่มขึ้นมากกว่า 70 ครัว และขยายไปยังชุมชนไกล้เคียงจากการมาเป็นสมาชิกตลาดเขียวของกลุ่มสวนผักชุมชนคนหูยานฯ สำหรับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เกิดขึ้นจริงมีรูปธรรม 3 แหล่งเรียนรู้ที่เป้าหมายเดียวกัน  คือ สิ่งแวดล้อมเรื่องสุขภาพของคน คือ แหล่งเรียนรู้เรื่องสวนผักชุมชน  ผลลัพธ์เกิดผึ้งจำนวนมากขึ้น  เพราะชุมชนไม่ใช้สารเคมี  ส่งผลให้เกิดกลุ่มผึ้งมากขึ้น  ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้น รายได้เกษตรกรมากขึ้น  แก้ปัญหาเศรษฐกิจรายได้น้อยกว่ารายจ่าย และกลุ่มสินค้าทดแทน ที่ผลิตจากผลผลิตในชุมชนเพื่อลดรายจ่ายครัวเรือน สมาชิกครัวเรือนต้นแบบเรียนรู้และทำบัญชีครัวเรือน 50 คนทุกคนเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตเป็นเงื่อนไขหนี่งในการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่         จากการขับเคลื่อนโครงการมาระยะหนึ่ง ผู้นำได้เห็นความสำคัญกับแผนชุมชน ที่ใช้เป็นกระบวนการพัฒนา จึงได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ตำบลร่วมกับเทศบาล และทบทวนแผนชุมชนบ้านหูยาน ตลอดจนเชื่อต่อหน่วยงานภาครัฐ เช่น สหกรณืการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพัทลุงในการหนุนเสริมกิจกรรมของชุมชนอย่างต่อเนื่องปีที่ 2 โดยการหนุนเสริมกิจกรรมอาชีพ เช่น เมล็ดพันธุ์พืช,ปลา,การพัฒนากลุ่มเป็นต้น  หน่วยงานพัฒนาชุมชนมาต่อให้กลุ่มกิจกรรมไปแสดงสินค้า ในเมืองเมื่อมีงาน  อนามัยบ้านนาท่อม มาหนุนเสริมการให้ความรู้กับชุมชนให้เป็นตัวอย่างหมู่บ้านเปลี่ยนพฤติกรรม  สปสช. ตำบลนาท่อม ให้การหนุ่นเสริมกิจกรรมโดยนำกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เป็นระยะ ส่วนหน่วยงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษ ร่วมให้การสนับสนุนดโครงการสืบชะตาคลองนาท่อม สนับสนุนการทำกิจกรรม เก็บขยะ ปลูกไม้ ปล่อยปลา ขยายเขต และผู้นำชุมชนนำกิจกรรมกรรมหลากหลายเข้ามาร่วมเนื่องจากคนในชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้น อย่าง เช่น ตลาดหูยาน สะพานคนเดิน เป็นการรวบรวมผลผลิตจากชุมชนมาขายทุกวันเสาร์สุดท้ายของเดือน มีการจัดกิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชนในกิจกรรม ยิ้ม  ริมคลองนาท่อม เป็นการรณรงค์ให้ใช้พื้นที่ดี ๆ ในชุมชน ให้เด็กได้ร่วมกันเก็บขยะ  ปล่อยปลาในคลองเป็นการอนุรักษ์  จัดพื้นที่ให้เป็นลานศิลป, ลานเล่น, ลานกินอาหารเพื่อสุขภาพ ,มีเวทีให้ความรู้เรื่องอาหารกับสุขภาพ  สิ่งต่าง ๆ เล่านี้เกิดขึ้นในพื้นที่ชุมชนบ้านหูยานอย่างต่อเนื่องมาตลอดท้้งปี จากการดำเนินงานมา 2 ปี ชุมชนสามารเป็นชุมชนต้นแบบเรื่องการดูแลระบบสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อสุขภาพ ตอบตัวชี้วัดความสุข ความน่าอยู่ คือ คัวเลขสารปนเปื้อนในร่างกาย จาก 97 % ลดต่ำกว่า 97%  ซึ่งตัววัดที่เป็นรูปธรรม เช่น ผึ้งเพิ่มมากขึ้น ครัวเรือนมีแปลผักมากกว่า 70 ครัว สะท้อนให้เห็นชุมชนไม่ใช้สารเคมี

กิจกรรมหลัก : ประชุมสภาแกนนำประจำทุกวันที่ 10 ของเดือนi

10,000.00 40 ผลผลิต

มีการประชุมคณะทำงานสภาแกนนำ จำนวน 14 ครั้ง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

สภาแกนนำหมู่บ้านมีการพัฒนาศักยภาพมากขึ้น สามารถคิดวิเคราะห์ วางแผน จัดทำแผนและปฏิบัติตามแผนได้ มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ก่อนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการและงานพัฒนาหมู่บ้านทุกครั้งอย่างเป็นระบบ มีการติดตามและปะเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 14 ครั้ง

 

1,000.00 1,000.00 40 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สมาชิกสภาแกนนำเข้าใจผังความคิดโครงการ -สมาชิกร่วมกำหนดหนดออกแบบกิจกรรมวันเปิดโดยการให้ประชาชนเอาปินโตมาร่วมกัน รับประทานอาหารร่วมกัน

 

1,000.00 1,000.00 40 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-แกนนำรู้และเข้าใจสามารถนำมาออกแบบกับชุมชนหูยานได้ -หัวหน้าสวนราชการจำนวน มาก มาให้การสนใจกิจกรรมที่ชุมชนหูยานทำทั้งชุมชนโดยสนใจมากเรื่องการมีความตะหนักทำกันทั้งชุมชน และจะให้การสนับสนุนใหม่ในงบประมาณหน้า

-สมาชิกสภาแกนนำ -สมาชิกครัวเรือนต้นแบบ -ประชาชนทั่วไป

1,000.00 1,000.00 40 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ประชาชน,สมาชิกสภาแกนนำเข้าใจ -แกนนำทราบกิจกรรมต่อไปคือ การประชุมเพื่อกำหนดทิศทางทำแผนชุมชนหูยานสู่การจัดการตนเอง

-สมาชิกสภาแกนนำ ทีร่วมศึกษาดูงาน -สมาชิกกลุ่มสวนผัก

1,000.00 1,000.00 20 22 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สมาชิกสภาแกนนำได้แสดงความเห็นจากการดูงานที่คีรีวงแต่ละคนมีความคิดมุมมองที่เหมือนและต่างกัน เช่น
-เห็นการให้บริการของศูนย์บริการการท่องเที่ยว,การต้อนรับของเจ้าหน้าที่,ความรู้ของเจ้าหน้าทีบริการศูนย์นักท่องเที่ยว,เห็นกฎกติกาของชุมชนที่ประชาชนร่วมกันคิด ร่วมทำ
-เห็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้ที่พร้อมให้บริการ ทั้งความรู้ ความตั้งใจ และผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในศูนย์สินค้าบริการนักท่องเที่ยว -เห็นการเอื้อกันของแหล่งเรียนรู้แต่ละสถานที่ มีการแนะนำนักท่องเที่ยวให้ไปดู ชม ในสถานที่ของคนอื่นด้วยไม่ไส่ร้าย แถมยังแนะนำ -การบริหารการท่องเที่ยวแบบศูนย์ประสานงานที่มีประสิทธิภาพเพราะนักท่องเที่ยวประทับใจ

-สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน 15 คน -ตัวแทนครัวเรือน  11 คน

1,000.00 0.00 40 26 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สมาชิกสภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้านรู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย

-สมาชิกสภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน -สมาชิกครัวเรือน

1,000.00 1,000.00 40 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-แจ้งที่ประชุมหยุดดำเนินกิจกรรม 1 เดือนเนื่องจากเป็นช่วงการหาเลียงเลือกตั้ง  ผู้บริหารตำบลนาท่อม
-รวมเด็กเยาวชนทำกิจกรรมเข้าร่วมกับกลุ่มครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์ร่วมรณรงค์ทำกิจกรรมในชมชนวันอาทิตย์

หัวหน้ากลุ่มสวนผักฯ และคณะทำงาน หมู่ 8 ไปดูงานร่วมกับชุมชนอื่น ม.5 ตำบลนาท่อม เพื่อนำความรู้มาพัฒนากลุ่มสวนผัก

1,000.00 1,000.00 6 6 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สมาชิกกลุ่มที่เข้าร่วม เห็นการบริหารจัดการกลุ่ม และสามารถนำมาจัดการกับกลุ่มตนเองได้ -เป็นการรวมผักของสมาชิก คือ กลุ่มรับชื้อผักจากสมาชิกรายย่อย นำมาแปรรูปเป็นชุด รวมผัก หลายชนิด เปลี่ยนภาชะ ให้น่าสนใจ
-เป็นการจัดการพื้นที่เพาะปลูกที่ไม่ใช้สารเคมี,เห็นการทำปุ๋ยหมัก ที่ได้จากทะเล คือ ขี้เล ซึ่งเป็นวัตถุดิจากท้องที่ และมีราคาถูกนำมาใส่พืชได้ผลผลิตคุณภาพสูง ลดต้นทุน,เห็นการสร้างกลุ่มย่อย ๆ ที่เติบโตขึ้นเป็นลำดับ -ผลที่ได้เรียนรู้สามารถนำมาปรับใช้กับกลุ่มได้หลายเรื่อง เช่น การรวมกลุ่มย่อย ในการรวมผักมาแปรรูป ไม่ตัองหลายคนแต่ละกลุ่ม คนทำเป็นกลุ่มบ้านและมารวมที่กลุ่มใหญ่ในการนำไปจำหน่าย

-สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน  15 คน -สมาชิกครัวเรือนต้นแบบ 17 คน -ทั่วไป 3  คน

1,000.00 1,000.00 40 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ได้มีการพูดคุยและเปลี่ยนสร้างความสัมพันธ์กันทุกเดือน -ได้พาเด็ก ๆ เยาวชน ออกกำลังกายช่วงเช้าวันอาทิตย์ เพื่อสร้างความอบอุ่นของครอบครัว -ได้รายงานความก้าวหน้าโครงการและมีการสอบถามปัญหาอุปสรรค์ ผลตามมาได้ข้อเสนอและการคุยกันเพิ่มขึ้น

สมาชิกสภาแกนนำและสมาชิกครัวเรือน

1,000.00 1,000.00 40 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตวามตั้งใจและการพัฒนากิจกรรมอย่างต่อเนื่องจนเป็นกลุ่ม  กิจกรรมและผลผลิตมีผลต่อสุขภาพของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ผึ้งทำให้ชุมชนปลอดสารเคมี ได้ผลผลิตเพื่อสุขภาพทั้งคนและสิ่งแวดล้อม ,ผํกที่ปลอดสารพิษทำให้สุขภาพลดสารปนเปื้อนเข้าสู่ร่างการ ทั้งคนปลูกและคนกิน ส่วนสินค้าทดแทนคือ การลดรายจ่ายให้ครัวเรือนและยังมีรายได้จากการขายด้วย

-แกนนำกลุ่มบ้านและครัวเรือนต้นแบบ -กลุ่มทั้วไปเข้าร่วมรับฟัง

1,000.00 1,000.00 40 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมที่เข้าร่วมประเมิน -กลุ่มผึ้ง -กลุ่มสินค้าทดแทน -กลุุ่่มสวนผัก -ฝ่ายต่าง ๆ ของชุมชนเป็นตัวแทนในการนำเสนอตนเอง

สมาชิกแกนนำ,สมาชิกครัวเรือน

1,000.00 1,000.00 40 36 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-การรวมกลุ่มทำกิจกรรมของชุมชนอย่างสม่ำเสมอส่งผลต่อการรวมเด็กที่ไปเรียนในเมืองช่วงปิดภาคเรียนมาทำกิจกรรม ทำให้เกิดกิจกรรมใหม่ ๆ ขึ้นในชุมชน ผลที่เกิดขึ้น เด็กเข้ามาร่วมทำกิจกรรมมากขึ้นจำนวน กว่า 20-50 คน สม่ำเสมอ -เห็นชุมชนให้ความร่วมมือทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น ชุมชนไว้วางใจกัน  เด็ก ผู้ใหญ ผู้สูงอายุ  ให้ความสำคัญกับกิจกรรมของชุมชน  ผลที่เกิดขึ้น  ชุมชนมีความพร้อมและได้รับการถูกเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมหรือเขาเข้ามาดูกิจกรรมของชุมชนเพิ่มขึ้น

-กลุ่มสมาชิกแกนนำ ที่มาจากกลุ่มบ้านที่มีบทบาทหน้าที่ในการสื่อสารให้สมาชิกที่ไม่ได้มาร่วมประชุมทราบ เป็นการสื่อสารในระดับกลุ่ม -ครัวเรือนต้นแบบ ต้องเข้าร่วมประชุม ร่วมแลกเปลี่ยนรับรู้ข้อมูลข่าวสารใหม่ และสะท้อนปัญหาอุปสรรค์จากการดำเนินงาน เช่น การทำบัญชีครัวเรือน  การมาจ่ายเงินสวัสดิการ,มาร่วมแลกเปลี่ยน -หัวหน้ากลุ่มผึ้ง,สินค้าทดแทน,กลุ่มผัก,อสม,บทบาทสตรี แต่ละกลุ่มเตรียมข้อมูลนำเสนอ

1,000.00 1,000.00 40 38 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ชุมชนหูยานจัดการตนเองสามารถดำเนินการเปิดประชุมได้เองตามบาทที่ได้รับจากชุมชน -กลุ่มสวนผัก โดยการประสานงานของคุณสุมาลี  ศรีโดน มีหน่วนงานราชการ เกษตรสหกรณ์การเกษตร เข้ามาช่วยหนุนเสริมกิจกรรม โดยเข้ามาสำรวจด้านอาชีพเสริม(เลี้ยงไก่,ปลาดุ) เสริมให้กลุ่มสวนผัก -กลุ่มผึ้ง โดยคุณบุญเรื่อง  แสงจันทร์ ประธาน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประชาสัมพันธ์จังหวัด คอยประชาสัมพันธ์และสื่อสารให้ชุมชนเกิดความรู้เข้าใจกิจกรรมโครงการอยู่สมำ่เสมอ -นางจริญา  ฮั่นพิพัฒน์ แกนนำกลุ่ม เป็นประธานบทบาทสตรัตำบลนาท่อม มีกิจกรรมเข้ามาช่วยเสริมหนุนให้ชุมชนมีกิจกรรมเพิ่มขึ้น เพื่อร่วมกันสร้างชุมชนน่าอยู่ได้ประชาสัมพันธ์กิจกรรมให้กลุ่มเข้าร่วม -นายวิเชียร  สุวรรณจินดา แกนนำกลุ่มบ้าน ทำหน้าที่แทนหัวหน้าโครงการเิปิดการประชุมและรายงานความก้าวหน้าและบอกกิจกรรมข้างหน้าให้ประชาชนเตรียมร่วมขายของงานกิฬา

-สมาชิกครัวเรือน -สมาชิกสภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน -กำนันประธานอำนวยการ -นายกเทศมนตรีที่ปรึกษาอำนวยการ

1,000.00 1,000.00 40 37 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-การรายงานผลการดำเนินงานจากฝ้ายแผนและด้านเศรษฐกิจ ให้ที่ประชุมทราบถึงกิจกรรมที่กลุ่มผึ้งได้ดำเนินการ ของนางบุญเรือง  แสงจันทร์  หลังจากที่ได้รับตำแหน่งเป็นโฆษก ในครมน้อย ได้ประชาสัมพันธ์โครงการให้ได้รับชื่อเสียงมีประชาชนมาดูงานจำนวนมาก -นายพีรพงศ์ บาลทิพย์ นายกเทศมนตรี ได้รับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนกับประชาชนในชุมชนถึงเรื่องโดยทั่วไป เพื่อต้องการรับฟังเสียงสะท้อนจากชุมชน ผลที่เกิดขึ้น ได้สะท้อนให้เห็นว่ามีคนเก่งและมีความสามารถเพิ่มขึ้นในหมู่ที่ 8 และประชาชนมีความพร้อม,ให้ความร่วมมือมากกว่าหมู่อื่น ๆ ในการประชุมแต่และครั้งหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ,แกนนำมีความกล้าแสดงออก  เช่น นางบุญเรื่องมีการสื่อสารหอกระจายข่าวหมู่บ้านเพราะเป็นโฆษกหมู่บ้าน เป็นเจ้าของแหล่งเรียนรู้ -กำนันอนุชา  เฉลาชัย เป็นกำนันแนบทองจากโครงการนี้  ได้สรุปโดยการคุยให้ชุมชนเข้าใจ  ที่ได้จัดกระบวนการปรับสภาแกนนำให้สอดคล้องกับคณะกรรมการหมู่บ้าน และจัดโครงสร้างการบริหารจัดการเป็นระบบ ได้รายงานและทบทวนให้ประชาชนเข้าใจยิ่งขึ้น ผลที่ได้รับ  เป็นการคุยย้ำ ทำซ้ำ จนสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ และยั้งยืน -นายถาวร  คงศรี ผู้รับผิดชอบโครงการและที่ปรึกษาอำนวยการ ได้นำชวนคุย ในการเตรียมความพร้อมของชุมชน ในการร่วมจัดงาน  ร่วมนำกิจกรรมของเราไปนำเสนอ ออกนิทรรศการ เตรียมของไปนำเสนอขายผ่านกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน เช่น กลุ่มผึ้ง,กลุ่มวผัก,กลุ่่มสินค้าทดแทน และการแปรรูปต่าง ๆ
-นางสุมาลี ศรีโดน หัวหน้ากลุ่มสวนผักแล้ว ยังเป็นผู้ดูแลเรีืองกองทุนสวัสดิการให้กับสมาชิกนำเงินมาฝากและเป็นแกนการทำบัญชีครัวเรือนที่กลุ่มต้องดำเนินการ

-สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน -สมาชิกครัวเรือน

0.00 0.00 40 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้านได้ตระหนักเห็นความสำคัญของการบันทึกกิจกรรมที่ร่วมทำกันเพื่อสร้างร่องรอยแห่งการดำเนินงานของกลุ่ม -สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่่บ้านได้ร่วมกันกำหนดชื่อ คุ้มบ้าน,แหล่งเรียนรู้.และชื่อซอยถนนในหมู่บ้าน

กิจกรรมหลัก : ค่าจัดทำรายงานส่ง สสส.i

1,000.00 0 ผลผลิต

มีการจัดทำรายงานผลที่ถูกต้อง ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ใน่โครงการ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

รายงานผลการดำเนินงานโครงการฉบับสมบูรณ์มีรายละเอียดครบถ้วน สมบูรณ์

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงิน และพี่เลี้ยงจังหวัด

1,000.00 1,000.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการได้จัดทำรายงานได้เสร็จสมบูรณ์

กิจกรรมหลัก : ค่าภาพถ่ายกิจกรรมi

1,000.00 0 ผลผลิต

มีการถ่ายภาพกิจกรรมในการดำเนินงานตามโครงการครบทุกกิจกรรม


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

การดำเนินกิจกรรมของโครงการผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานที่รับผิดชอบมีภาพถ่ายการจัดกิจกรรมไว้เป็นหลักฐานและจัดเก็บเข้าเล่มเรียบร้อย

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

ผู้รับผิดชอบโครงการมีหน้าที่หลักในการจัดทำภาพถ่ายประมวลกิจกรรมการดำเนินงานตามโครงการ

1,000.00 1,000.00 0 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การดำเนินงานตามโครงการแต่ละกิจกรรมมีภาพถ่ายเป็นหลักฐานในการดำเนินงานตามโครงการจริง

กิจกรรมหลัก : ค่าจัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่โดยมีสัญลักษณ์ของ สสส.i

1,000.00 0 ผลผลิต

ผลิตป้ายเขตปลอดบุหรี่จำนวนตรงตามที่กำหนดไว้ในโครงการ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ป้ายรณรงค์ "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" โดยมีสัญลักษณ์ของ สสส. เป็นป้ายรณรงค์ที่เป็นสื่อให้คนในชุมชนเคารพกฎในการสถานที่จัดกิจกรรมของโครงการ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

ผู้รับผิดชอบโครงการได้จัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่เพื่อรณรงค์การลด ละ เลิก การสูบบหรี่ในสถานที่สาธารณะและสถานที่จัดกิจกรรมโครงการ

1,000.00 1,000.00 0 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุมมีพฤติกรรมเคารพสถานที่ประชุมปฏิบัติตามข้อตกลง

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
โรงเรียนผึ้ง

เกิดจากการถอดความรู้ในการเลี้ยงผึ่้งและนำมาเรียบเรียงตามขั้นตอน กำหนดเนื่อหา  เป็น  20:60:20 คือ 20= แนะนำภาคทฤษฏี: 60= เย่ี่ยมชมภาคปฏิบัติ: 20= แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนา -กำหนดการใช้สื่อนำเสนอตอนสาธิต  ประกอบด้วย กล่องหรือหีบผึ้ง,ชุดเก็บนำ้ผึ้ง,ไวนิลนำเสนอ,แผ่นพับ,และอุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง -ได้กำหนดวิทยากรประจำศูนย์ 2 ท่าน คือ นางบุญเรือง  แสงจันทร์และนายมานพ  แสงจันทร์ โดยใช้บ้านที่เลี้ยงผึ้งทั้งหมดในชุมชนเป็นสถานที่ถ่ายทอดควมรู้แก่นทั้งในและนอกชุมชน

เป็นแหล่งเรียนรู้ถ่ายทอดความรู้ในการเลี้ยงผึ้งต่อคนทั้งในและนอกชุมชน

2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
นางบุญเรือง แสงจันทร์ 89/1 ม.8 ต.นาท่อม ด.เมือง จ.พัทลุง

เป็นวิทยากร ถ่ายทอดความรู้ในการเลี้ยงผึ้งแก่คนทั้งในและนอกชุมชน

นายมานพ แสงจันทร์ 89/1 ม.8 ต.นาท่อม ด.เมือง จ.พัทลุง

เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ในการเลี้ยงผึ้งแก่คนที่สนใจทั้งในและนอกชุมชน

2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ลานวัฒนธรรมชุมชน หน้าวัดนาท่อม ตำบลนาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆของชุมชน ได้แก่ ตลาดเขียว ลานเด็กเล่น จัดงานทางวัฒนธรรมชุมชนเช่น การแข่งเรือ งานประเพณีทางศาสนา

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

 

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

 

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

 

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

 

2.2 การใช้จ่ายเงิน

 

2.3 หลักฐานการเงิน

หลักฐานการเงินบางกิจกรรมไม่เรียบร้อย ไม่สมบูรณ์เช่น... - ใบลงทะเบียนไม่ระบุชื่อกิจกรรม - ใบสำคัญรับเงินไม่ระบุเลขที่สัญญา ไม่ระบุรายละเอียดค่าใช้จ่าย - ผู้รับเงิน/จ่ายเงินยังไม่ลงนามในใบสำคัญรับเงิน

ผลรวม 0 0 1 0
ผลรวมทั้งหมด 1 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

พื้นที่นี้ สามารถบริหารจัดการโครงการได้ในเกณฑ์ดี มีการแบ่งหน้า่ที่กันทำตามงานที่แต่ละคนมีความถนัด มีเรื่องราวสนุกๆที่ต่อเนื่องมาได้เช่นการพัฒนาเรื่องจักรยานสานฝันวันอาทิตย์ ที่พัฒนาขยายผลมาจากปีที่แล้ว ขยายมาเป็นกิจกรรมเยาวชนที่มีความหลากหลายมากขึ้น อีกทั้งไปเช่อมต่อกับโครงการภายนอก เป็นยิ้มริมคลอง ลานวัฒนธรรมละเล่นของเด็กๆ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของบ้านวัดและโรงเรียน ว่าสามารถพัฒนายกระดับได้ตามที่กำหนดไว้จึงสามารถขยายงานเชื่อมต่ออย่างต่อเนื่องได้

สร้างรายงานโดย Nongluk_R