assignment
บันทึกกิจกรรม
จัดทำแผนพัฒนาชุมชนโดยเยาวชน31 ตุลาคม 2559
31
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อร่างแผนงานการจัดการชุมชนโดยเยาวชนเสนอต่อกรรมการชุมชนบ้านปากกะแดะ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา จัดกระบวนการให้เยาวชนได้เสนอแผนงานที่ต้องการดำเนินงานในอนาคตร่วมกับชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา จัดกระบวนการให้เยาวชนได้เสนอแผนงานที่ต้องการดำเนินงานในอนาคตร่วมกับชุมชน มีดังนี้
  1. ละครสร้างปัญญาเกี่ยวกับปัญหาขยะในลำคลอง
  2. ปลูกป่าชายเลนเพิ่มเติม
  • แผนงานของชุมชน ได้แก่
  1. จัดทำแนวเขตป่าเลนชุมชน
  2. การจัดการปัญหาขยะริมคลองกะแดะ
  3. การปลูกป่าชายเลนเสริมตลอดแนวอ่าว
  4. การจัดทำพื้นที่อนุรักษ์สัตว์น้ำวัยอ่อนบ้านปลาบ้านหอยเพิ่มเติมในปี 2560
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 32 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • แกนนำเยาวชน
  • กลุ่มประมงชายฝั่ง
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

การจัดทำรายงานปิดโครงการ29 ตุลาคม 2559
29
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสรุปการเงินและรายงานปิดโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ตรวจทานเอกสารการเงินแต่ละกิจกรรม
  • แก้ไขรายละเอียดใบสำคัญรับเงินให้ตรงกับที่จ่ายจริง
  • บันทึกข้อูลลงในเว็บไซต์
  • ติดตามลายเซ็นใบสำคัญและใบลงทะเบียนที่ไม่เรียบร้อย
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการตรวจสอบการเงิน และใบสำคัญรับเงินทุกกิจกรรม ว่าขาดตกบกพร่องในส่วนใด รวมถึงติดตามบิลค่าใช้จ่ายต่างๆให้ครบถ้วน
  • บันทึกผลการจัดกิจกรรมลงสู่เว็บไซต์คนใต้สร้างสุข
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 6 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • หลายกิจกรรมใช้เงินไม่ถึงตามที่กำหนดไว้ในแผนงานโครงการ เนื่องจากค่าใช้จ่ายจริงถูกกว่าประมาณการ และบางกิจกรรมมีคนมาร่วมน้อยกว่าที่กำหนด ทำให้มีเงินเหลือคืน สสส.และไม่เบิกงวดที่ 3
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ (ครั้งที่ 10)28 ตุลาคม 2559
28
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อวางแผนการจัดทำรายงานเพื่อปิดโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมทีมงานและผู้ที่เกี่ยวข้องวางแผนการขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ในอนาคต
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมงานและผู้ที่เกียวข้องวางแผนการขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ในอนาคต
  1. การบรรจุแผนงานชุมชนเข้าสู่แผนพัฒนาของเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์โดยได้รับการแจ้งจากผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการมีส่วนร่วมสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 ว่าได้นำแผนของชุมชนเข้าสู่การพิจารณาแล้ว เนื่องจากไม่ทันในแผนงบประมาณ 2560 แต่จะบรรจุในแผนปี 2561 อย่างแน่นอน
  2. พัฒนาชุมชนต่อในเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง และจัดทำป่าเลชุมชน
  3. พัฒนาเรื่องการจัดการขยะริมคลอง
  • แผนงานที่จัดทำเพื่อนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์, สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4, สภาองค์ชุมชนตำบลกะแดะ และโรงเรียนบ้านปากกะแดะ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • กลุ่มประมงชายฝั่งจากสองฝั่งคลอง
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา (พี่เลี้ยงเยาวชน)
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เวทีสานเสวนาขับเคลื่อนปากกะแดะน่าอยู่26 ตุลาคม 2559
26
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานและร่วมกำหนดแนวทางชุมชนปากน้ำกะแดะให้น่าอยู่ร่วมกันในอนาคต
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • การนำเสนอผลการดำเนินงานโดยเยาวชน และผ่านสื่อไวนิล แผ่นพับ
  • มีการเสวนาและแลกเปลี่ยนเสนอแนะแนวทางร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ระหว่างชุมชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • มีการนัดหมายเพื่อจัดทำแผนชุมชนด้านการจัดการขยะ และการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • น.ส.กรรณิการ์ แพแก้ว กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา พี่เลี้ยงกลุ่มเยาวชนบ้านปากกะแดะ ได้พูดคุยกับเยาวชนถึงขั้นตอนการสำรวจสายน้ำ และนำเสนอผลของการสำรวจคุณภาพสายน้ำคลองกะแดะ บริเวณสามจุด ดังนี้ ท่าน้ำใกล้ร้านเคียงเล บริเวณปากอ่าว ท่าน้ำบริเวณศาลเจ้าไหหลำ ปากกะแดะ และศาลาท่าน้ำสัตว์น้ำที่ค้นพบเป็นจำนวนมาก ได้แก่ กุ้งฝอย หอยฝาเดียว และ ปลาขี้เกง ซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่สามารถบริโภคได้ อาศัยอยู่ในน้ำที่มีลักษณะไม่ค่อยสะอาดบ่งบอกว่าน้ำในคลองบริเวณดังกล่าวไม่ค่อยสะอาด

วงเสวนาร่วมสร้างปากน้ำกะแดะให้ชุมชนน่าอยู่

  • นายปรีชา ด่านกุลชัย ชี้แจงผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของโครงการว่า มีการปลูกป่าโกงกางเสริมในพื้นที่ปากอ่าวจำนวน 1,000 ต้น ผลปรากฎว่าต้นโกงกางรอดมากกว่า 80% กิจกรรมสร้างบ้านปลาบ้านหอย จำนวน 10 จุด ในพื้นที่อ่าวปากกะแดะตลอดสองตำบล จากการติดตามพบว่า มีหอยนางรม หอยติ๊บ หอยเจดีย์เกาะที่เสาปูนเกือบทุกจุด และมีปลามาอาศัยอยู่จำนวนมาก ได้แก่ ปลาขี้ตัง-ปลากระบอก-ปลาสลิด-ปลากด กิจกรรมนักสืบสายน้ำ มีการอบรมเยาวชนสามครั้ง และปฏิบัติการสำรวจลำคลองปากกะแดะสองครั้ง ทำให้เยาวชนสามารถใช้เครื่องมือตรวจวัดคุณภาพน้ำอย่างง่ายได้ ตามที่เยาวชนได้เสนอไปแล้ว
  • นายพัฒนพงศ์ ปลื้มพัฒน์ คณะกรรมการเครือข่าย ทสม.สุราษฎร์ธานี ได้นำเสนอความก้าวหน้าของการจัดการทรัพยากรชายฝั่งระดับจังหวัด ว่า ในการประชุมระดับจังหวัดได้มีการหารือแนวทางในการจัดการแนวเขตอนุญาต ซึ่งในอำเภอกาญจนดิษฐ์ ยังไม่เป็นที่เรียบร้อยเหมือนอำเภออื่นๆ และขอความร่วมมือประมงพื้นบ้านในการใช้อุปกรณ์จับสัตว์น้ำแบบทำลายล้างเพราะหลังจากนี้ทางเจ้าหน้าที่จะดำเนินงานตรวจจัอย่างเข้มงวด
  • คุณวิชัย สมรูปผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการมีส่วนร่วม สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ ๔ ได้ชี้แจงว่า แผนงานของชุมชนบ้านปากกะแดะได้มีการหารือกับคณะทำงานเพื่อบรรจุไว้ในแผนงานแล้ว แต่เป็นแผนงบประมาณปี 2560 เรื่องป่าเลชุมชน ซึ่งมีความยินดีที่ชุมชนได้ร่วมกันอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำในการทำบ้านปลาบ้านหอยทั้งสองตำบลในพื้นที่อ่าวปากกะแดะ สิ่งสำคัญที่จะต้องปรึกษาหารือและหาแนวทางแก้ไข คือ ขยะที่มีในชุมชน ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ปลายน้ำทำให้ขยะที่พัดผ่านมาตลอดสายคลองมาติดค้างบริเวณรากต้นโกงกางในช่วงน้ำลงทำให้ไม่สวยงามเมื่อมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมบริเวณสะพานลิง หรือ walk way เป็นโจทย์ที่ชุมชนจะต้องออกแบบร่วมกัน
  • คุณธีรพันธุ์ พวงสุนทร หัวหน้าสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 14 ได้แสดงความคิดเห็นว่าผมยังคงยืนยันตามเดิมที่ได้มาพูดคุยกับพี่น้องเมื่อครั้งที่ผ่านมาทางสถานีสนใจอยากทำกิจกรรมป่าเลชุมชนร่วมกับบ้านปากกะแดะ เช่นเดียวกับที่ทำที่ ต.ท่าทอง และ ต.ตะเคียนทอง และขอให้ทุกคนร่วมมือกันด้วยความสามัคคี ในการทำให้ชุมชนน่าอยู่
  • นายสุภาษิต อินทรภิรมย์ : ต.พลายวาส มีปัญหาเรื่องการจัดการขยะ เพราะ อบต.พลายวาส ไม่มีงบประมาณในการสร้างถังขยะให้กับชุมชนทำให้บ้านเรือนที่อยู่ริมคลองทิ้งขยะลงในคลอง ไม่ได้มาจากนักท่องเที่ยว หรือจากต้นน้ำมากนักหากจะร่วมกันทำให้ชุมชนน่าอยู่สิ่งสำคัญ คือ ทุกคนจะต้องมีจิตสำนึกร่วมกันไม่ทิ้งขยะลงในคลอง หาถุงดำมาใส่ขยะของบ้านตนเอง แล้วนำไปทิ้งให้ถูกต้อง
  • นายปรีชา ด่านกุลชัย : เสนอให้หลังจากนี้คณะกรรมการโครงการฯ และกลุ่มประมงพื้นบ้านมาร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาชุมชนเพื่อเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมกันขับเคลื่อนชุมชนปากน้ำกะแดะให้น่าอยู่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 88 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย
  • อสม.
  • กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน
  • คณะทำงานโครงการ
  • ชาวชุมชนสองฝั่งคลองกะแดะ ต.กะแดะ-ต.พลายวาส
  • เยาวชนบ้านปากกะแดะสองฝั่งคลอง
  • วิทยากรจากหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานจัดการทรัพยากรชายฝั่ง, สถานีพัฒนาป่าชายเลน ที่ 14, อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, อบต.พลายวาส
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • วิทยากรติดภารกิจต้อนรับรองผู้ว่าราชการจังหวัด ทำให้แต่ละท่านมาถึงงานไม่พร้อมกัน จึงเปลี่ยนรูปแบบจากการเสวนาเป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนเสนอแนะ
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน26 ตุลาคม 2559
26
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อนำเสนอผลการดำเนินโครงการ และการจัดทำข้อมูลทรัพยากรชุมชนสู่สาธารณะ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประมวลผลการดำเนินงานทุกกิจกรรม มาเป็นเอกสารแผ่นพับ และไวนิลแบบโรลอัพ เพื่อนำเสนอแก่ชุมชน
  • เยาวชนบ้านปากกะแดะสองฝั่งคลอง นำเสนอข้อมูลที่ได้จากกิจกรรมนักสืบสายน้ำต่อที่ประชุม
  • ร่วมกันให้ข้อเสนอแนะ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมงานได้มีการประมวลผลการดำเนินงานทุกกิจกรรม มาเป็นเอกสารแผ่นพับ และไวนิลแบบโรลอัพ เพื่อนำเสนอแก่ชุมชน โดยผลิตไวนิล จำนวน 8 ชิ้นพร้อมขาตั้ง ประกอบด้วยข้อมูลและภาพกิจกรรมอบรมกฎหมาย, ปลูกป่าชายเลน, นักสืบสายน้ำ, สร้างและติดตามบ้านปลาบ้านหอยรวมถึงผลิตแผ่นพับจากข้อมูลการติดตามบ้านปลาบ้านหอย และป่าชายเลน ดังนี้

    • ชุมชนบ้านปากกะแดะ ตั้งอยู่ที่หมู่ ๗ ต.กะแดะ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นชุมชนที่มีชื่อเสียงในด้านอาหารทะเล และแหล่งเพาะพันธุ์หอยนางรม ตามคำขวัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานี “เมืองหอยใหญ่” ภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ราบและพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล ส่วนใหญ่ดำรงชีพโดยการทำประมงชายฝั่งการเพาะเลี้ยงหอยนางรม และจับสัตว์น้ำชายฝั่งอ่าวปากกะแดะ อำเภอกาญจนดิษฐ์ ครอบคลุมพื้นที่ ๒ ตำบล ๕ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๖, ๗ ตำบลกะแดะ และหมู่ที่ ๑, ๓, ๖ ตำบลพลายวาสมีพื้นที่ป่าชายเลนตลอดริมอ่าวด้วยความเป็นพื้นที่ปลายน้ำของคลองกะแดะ ทำให้ได้รับผลกระทบในเรื่องของน้ำเสีย และขยะที่พัดพามากับลำคลองกะแดะ รวมถึงคลื่นมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ ที่ชาวบ้านเรียก “ลมพัดหลวง” ช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคมทุกปี และ คลื่นมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เรียก “ลมอุตตรา” ที่ทำลายป่าชายเลนด้านนอกอ่าวให้ล้มโค่น ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมของทุกปี
    • ชุมชนบ้านปากกะแดะ ได้ลุกขึ้นมาอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน รวมถึงเพิ่มพื้นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่ง ผ่าน โครงการร่วมอนุรักษ์ปากน้ำกะแดะให้ชุมชนน่าอยู่โดยประสานความร่วมมือระหว่างชุมชนบ้านปากกะแดะ ต.กะแดะ และ ต.พลายวาส, โรงเรียนบ้านปากกะแดะ, กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา และหน่วยงานราชการทั้งระดับอำเภอและระดับจังหวัด มีการจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์บ้านปากกะแดะ ที่มีสมาชิกจากสองพื้นที่เข้าร่วม ตั้งกฎกติการ่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง หยุดการใช้เครื่องมือทำลายล้างในการจับสัตว์น้ำ และสร้างแกนนำเยาวชน “นักสืบสายน้ำ” มาร่วมดูแลรักษาทรัพยากรชายฝั่งของชุมชน ร่วมกันสร้างบ้านปลาบ้านหอย (ปะการังเทียม) และปลูกต้นโกงกางเสริมในพื้นที่อ่าวปากกะแดะ
    • ภาพอนาคตของชุมชนบ้านปากกะแดะ ที่ทุกคนอยากเห็น คือ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่ปลอดภัยไม่ทำลายสัตว์น้ำด้วยเครื่องมือประเภททำลายล้างสร้างป่า-เลชุมชน เพื่อให้ทุกคนได้ร่วมกันดูแลรักษาทรัพยากรชุมชนต้องการพัฒนาและยกระดับพื้นที่สู่ความมั่นคงทางอาหารให้ชุมชนแห่งนี้ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ของอาหารทะเลที่หลากหลาย และเป็นความภาคภูมิใจของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • ข้อมูลในการผลิตไวนิลโรลอัพ ดังนี้

  1. นักสืบสายน้ำ เยาวชนบ้านปากน้ำกะแดะสองฝั่งคลอง ผ่านการอบรมหลักทฤษฎีและปฏิบัติกระบวนการ นักสืบสายน้ำ เพื่อเรียนรู้เทคนิคในการสำรวจคุณภาพน้ำ และสัตว์น้ำขนาดเล็กที่บ่งบอกถึงคุณภาพน้ำในชุมชน มีการฝึกปฏิบัติเพื่อสำรวจแหล่งน้ำในคลองกะแดะ ๒ จุด ได้แก่ บริเวณตลาดกาญจนดิษฐ์ (กลางน้ำ) พบปลาเข็ม, กุ้งฝอย, หอยกาบ, หอยเจดีย์ บ่งบอกว่าคุณภาพน้ำในบริเวณดังกล่าวพอใช้ได้และชุมชนบ้านปากกะแดะ (ปลายน้ำ) สำรวจ ๒ จุด คือ ศาลาท่าน้ำบ้านปากกะแดะ, ศาลเจ้าไหหลำปากกะแดะ, ท่าน้ำใกล้ร้านอาหารเคียงเลซีฟู้ด พบปลาขี้จีน, ปลาบู่ทราย, กุ้งฝอย, กุ้งหนวดแดง และหอยฝาเดียวหลายชนิด บ่งบอกคุณภาพน้ำสะอาดพอใช้ได้
  2. ปลูกป่าชายเลน เดือนมีนาคม ๒๕๕๙ ชุมชนบ้านปากกะแดะสองฝั่งคลอง ร่วมกับส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ ๑๔, นักศึกษาวิชาการ, กอ.รมน., โรงเรียนบ้านปากกะแดะ และจิตอาสาจำนวนมาก ร่วมปลูกป่าชายเลนเสริมในพื้นที่สะพานลิง (สะพานวอล์คเวย์) ด้านในอ่าวปากกะแดะ จำนวน ๑,๐๐๐ ต้น เพื่อเสริมป่าชายเลนที่หักล่มโค่นเป็นประจำทุกปี ในช่วงลมอุตตรา หรือคลื่นลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมและร่วมกันปล่อยหอยจำนวนมาก โดยจากการติดตามผลหลังจากปลูกป่าแล้ว ๗ เดือน พบไม้โกงกางขึ้นใหม่ไม่ต่ำกว่า ๘๐% สูงขนาด ๑ เมตรรอบพื้นที่ด้านในอ่าว
  • จัดทำแผ่นพับร่วมสร้างปากน้ำกะแดะให้ชุมชนน่าอยู่ จำนวน 300 ชุด ไวนิลโรลอัพ กิจกรรม จำนวน 8 ชิ้น พร้อมอุปกรณ์ติดตั้ง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 88 คน จากที่ตั้งไว้ 45 คน
ประกอบด้วย
  • อสม.
  • กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน
  • คณะทำงานโครงการ
  • ชาวชุมชนสองฝั่งคลองกะแดะ ต.กะแดะ-ต.พลายวาส
  • เยาวชนบ้านปากกะแดะสองฝั่งคลอง
  • วิทยากรจากหน่วยงานภาครัฐ
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ (ครั้งที่ 9)25 ตุลาคม 2559
25
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานเวทีเสวนาร่วมสร้างปากกะแดะน่าอยู่
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมวางแผนการจัดเวทีเสวนาขับเคลื่อนปากกะแดะน่าอยู่ โดยมอบหมายความรับผิดชอบในการเชิญกลุ่มเป้าหมายจากสองฝั่งคลองกะแดะเข้าร่วม เนื่องจากเนื้อหาสาระของเวทีมีความสำคัญกับประมงพื้นบ้าน เพื่อได้ทราบความเคลื่อนไหวระดับจังหวัดของ พรก.ประมง รวมถึงการวางแผนขับเคลื่อนตำบลในอนาคตร่วมกันทั้งสองฝั่งคลอง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มอบหมายภารกิจ การเชิญกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้

    • ผูู้ประสานงานโครงการ ประสาน วิทยากร
    • นายสุภาษิต อินทรภิรมย์ ประสานชาวบ้านหมู่ที่ 6 ต.พลายวาส อ.กาญจนดิษฐ์
    • นายสิทธิชัย วรสิทธิกร ประสานชาวบ้านหมู่ที่ 7 ต.กะแดะ
    • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา ประสานเยาวชนนักสืบสายน้ำโดยเลี้ยงอาหารเป็นโล้งโต้ง สำหรับคนจำนวน 100 คน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มประมงพื้นบ้าน
  • อสม.
  • คณะทำงานโครงการ
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ออกหนังสือเชิญช้า และติดวันหยุดราชการจึงต้องใช้วิธีการโทรประสานเพื่อความมั่นใจว่าวิทยากรสามารถมาร่วมได้
  • ช่วงปิดเทอมนัดหมายเยาวชนเข้าร่วมประชุมยาก
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ (ครั้งที่ 8)18 ตุลาคม 2559
18
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชุมคณะทำงานเยาวชนเพื่อสรุปงานและวางแผนกิจกรรม
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา พี่เลี้ยงแกนนำเยาวชนบ้านปากกะแดะ ได้ชักชวนให้เยาวชนสรุปผลการสำรวจสายน้ำคลองกะแดะโดยการวาดภาพแผนที่สายน้ำบริเวณชุมชนบ้านปากกะแดะ ม.7 ต.กะแดะ อ.กาญจนดิษฐ์ และวาดภาพประกอบว่าในการสำรวจสายน้ำคลองกะแดะ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา พี่เลี้ยงแกนนำเยาวชนบ้านปากกะแดะ ได้ชักชวนให้เยาวชนสรุปผลการสำรวจสายน้ำคลองกะแดะโดยการวาดภาพแผนที่สายน้ำบริเวณชุมชนบ้านปากกะแดะ ม.7 ต.กะแดะ อ.กาญจนดิษฐ์ และวาดภาพประกอบว่าในการสำรวจสายน้ำคลองกะแดะ ได้พบสัตว์น้ำขนาดเล็กอะไรบ้างโดยมีการแบ่งกลุ่มเยาวชนเป็นสามกลุ่ม เพื่อรับผิดชอบการวาดภาพในสามจุดที่มีการสำรวจ คือ
  1. ศาลาท่าน้ำบ้านปากกะแดะ
  2. ศาลเจ้าไหหลำปากกะแดะ
  3. บริเวณท่าน้ำปลายแหลมปากกะแดะ ใกล้ร้านอาหารเคียงเลซีฟู้ด
  • จากการสำรวจที่ผ่านมา พบกุ้งฝอย กุ้งหนวดแดง หอยฝาเดียว ปลาขี้เกง ปลาบู่ทราย ซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่อาศัยในน้ำค่อนข้างสะอาด และสามารถบริโภคได้บ่งบอกถึงสภาพความสะอาดของสายน้ำบริเวณปากน้ำกะแดะ
  • ป้ายผ้าแผนที่สายน้ำ ที่วาดโดยเยาวชน โดยระบุสถานที่ และสัตว์น้ำแต่ละชนิดที่พบในบริเวณนั้น เพื่อใช้ในการนำเสนอในเวทีเสวนาอนุรักษ์ปากน้ำกะแดะให้ชุมชนน่าอยู่ จำนวน 1 ผืน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 16 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา (พี่เลี้ยงเยาวชน)
  • แกนนำเยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ถอดบทเรียนคณะทำงานเยาวชน17 ตุลาคม 2559
17
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อถอดบทเรียนการทำงาน และติดตามผลการปลูกป่าชายเลน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา ซึ่งเป็นทีมวิทยากรและพี่เลี้ยงเยาวชน ได้ชวนพูดคุยถึงการดำเนินกิจกรรมทั้งหมดที่ผ่านมาที่เยาวชนได้เข้าร่วม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา ซึ่งเป็นทีมวิทยากรและพี่เลี้ยงเยาวชน ได้ชวนพูดคุยถึงการดำเนินกิจกรรมทั้งหมดที่ผ่านมาที่เยาวชนได้เข้าร่วม ได้แก่ การปลูกป่าชายเลน และปฏิบัติการนักสืบสายน้ำ ซึ่งเยาวชนได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ที่ไม่เคยได้รับจากการเรียนในโรงเรียนการได้มาร่วมกิจกรรมของชุมชน เช่น ปลูกป่าชายเลน แม้จะทำเป็นประจำ เนื่องจากโรงเรียนบ้านปากกะแดะ และชุมชนดำเนินการร่วมกันมาตลอด แต่การมีพี่เลี้ยงจากนอกชุมชนมาร่วมให้ความรู้ และทำกิจกรรมสันทนาการก่อนดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทำให้มีความสนุก ผ่อนคลาย และอยากมีส่วนร่วมกับหลายๆกิจกรรมของชุมชน
  • ในส่วนของปฏิบัติการนักสืบสายน้ำทำให้เยาวชนได้รู้จักสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นหลายประเภท กระบวนการเรียนรู้มีความสนุกสนาน ได้ปฏิบัติการจริงทั้งในชุมชนและนอกชุมชน เป็นประสบการณ์ใหม่ และอยากให้จัดขึ้นบ่อยๆจากนั้นได้เดินทางไปยังสะพานลิงเพื่อติดตามผลของป่าชายเลนที่มีการปลูกเมื่อเดือนมีนาคม 2559 พบว่า มีต้นโกงกางขึ้นใหม่จำนวนมาก จาก 1,000 ต้นที่ร่วมกันปลูกในครั้งนั้นคาดว่าเกิดป่าใหม่จำนวน 80% ในพื้นที่ด้านในของอ่าวปากกะแดะ
  • เยาวชนได้ทบทวนกระบวนการ และการเรียนรู้ที่ผ่านมา
  • เยาวชนได้ติดตามผลของการปลูกป่าชายเลน ที่มีไม้โกงกางขึ้นสูงประมาณ 100 เซนติเมตรจำนวนกว่า 80% ของที่ลงมือปลูก
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำเยาวชน
  • คณะทำงานโครงการ
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ถอดบทเรียนการทำงาน ครั้งที่ 215 ตุลาคม 2559
15
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อถอดบทเรียนการทำงาน และติดตามปะการังเทียม
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ติดตามและสำรวจปะการังเทียม หรือ บ้านปลาบ้านหอยว่าใน 8 จุดที่ลงปะการังไว้มีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ติดตามและสำรวจปะการังเทียม หรือ บ้านปลาบ้านหอยว่าใน 10 จุดที่ลงปะการังไว้มีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรโดยได้สำรวจจำนวน 6 จุดพบว่า บริเวณบ้านปลาบ้านหอย มีปลาขี้เกงอาศัยจำนวนมาก และมีหอยนางรมเกาะในเสาปูนอย่างน้อย 1-2 ตัวซึ่งทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงหลังสร้างบ้านปลาบ้านหอยในระยะ 7 เดือนและกลุ่มประมงชายฝั่ง ได้มีการทำแนวเขตโดยการปักไม้ไผ่ ทาสีแดงเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าบริเวณดังกล่าว เป็นพื้นที่บ้านปลาบ้านหอย ณ จุดนั้น
  • ได้มีการประชุมเพื่อถอดบทเรียนการทำงาน ที่พบว่าหลังจากมีการสร้างบ้านปลาบ้านหอยในพื้นที่ใกล้เคียงคอกหอยนางรมของกลุ่มแระมงพื้นบ้าน จนเกิดผลลัพธ์ชัดเจนในเรื่องของสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีคนต้องการสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มเพิ่มมากขึ้นและที่สำคัญคือ กฎที่กำหนดไว้ว่าสมาชิกกลุ่มจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนทุกครั้ง และให้ความร่วมมือในงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
  • ได้แนวทางการขยายสมาชิกกลุ่มประมงชายฝั่งที่ทำงานอนุรักษ์ร้วมกันของสองตำบลที่มีพื้นที่ติดคลองกะแดะ และอ่าวปากกะแดะ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • กลุ่มประมงชายฝั่ง
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • สมาชิกเข้าร่วมประชุมได้น้อย เพราะเป็นฤดูกาลออกเรือ
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

อบรมและแลกเปลี่ยนข้อกฎหมายประมงและทรัพยากรชายฝั่ง14 ตุลาคม 2559
14
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อชี้แจงและแลกเปลี่ยนสถานการณ์กฎหมายและทรัพยากรชายฝั่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นายธีรพันธ์ พวงสุนทร ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 14 ได้ชี้แจงสถานการณ์ป่าชายเลน
  • นายประมวล รัตนานุพงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายและ แผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติได้อธิบายเนื้อหาของ พรบ.บริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
  • นายปรีชา ด่านกุลชัย ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงการดำเนินงานโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นายธีรพันธ์ พวงสุนทร ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 14 ได้ชี้แจงสถานการณ์ป่าชายเลนในขณะนี้ว่าอำเภอกาญจนดิษฐ์ มีพื้นที่ติดอ่าวบ้านดอนได้แก่ คลองกระแดะแจะ, คลองเฉงอะ, คลองกะแดะ, คลองนุ้ย และคลองท่าทองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง และเพาเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ การทำนากุ้ง พบว่า มีการปล่อยทิ้งนากุ้งร้างมีป่าขึ้น จนจำเขตแดนเดิมไม่ได้ และบางส่วนมีการเปลี่ยนแปลงเอกสาร ภทบ.5 เป็นเอกสารสิทธิ์บุรุกเข้าไปในป่าชายเลน แต่ยังถือว่าน้อย เพราะมีสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งมากันอาณาเขตขากพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 20% ช่วยป้องกันชายฝั่งได้เป็นอย่างดีในการดำเนินงานที่ผ่านมา ต.ตะเคียนทอง อ.กาญจนดิษฐ์ มีการทำป่าชุมชน ปี 2558 ชื่อว่า ป่าเลชุมชน กำหนดกติกาชุมชน ปล่อยหอยแครงเพิ่มเติมในพื้นที่ และเมื่อถึงฤดูกาลปล่อยให้มีการจับสัตว์น้ำเพื่อหากินเลี้ยงชีพสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน อ.ดอนสัก มีพื้นที่ป่าชายเลน 14,000 ไร่ มีเขตป่าสงวน พบการบุกรุก จากนั้นได้มีการเจรจาตามนโยบายทวงคืนผืนป่า ได้พื้นที่ป่าชายเลนคืนมา 10,000 ไร่, อ.ท่าฉาง และ อ.ไชยา มีการทำแนวเขตชุมชน ทำซั้งปลา หรือบ้านปลา กำหนดกติกาชุมชนสำหรับบ้านปากกะแดะ ต.กะแดะ เป็นพื้นที่ปลายน้ำมีปัญหาเรื่องขยะจำนวนมาก ซึ่งจะต้องหาแนวทางแก้ไขรวมถึงขอเสนอให้จัดหาพื้นที่เหมาะสมติดป่าชายเลน เพื่อทำป่าเลชุมชน ปลูกป่าเสริมด้านในอ่าว และปล่อยสัตว์น้ำเพิ่มพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อน รวมถึงกำหนดกติกาชุมชน เพื่อช่วยกันอนุรักษ์พื้นที่ป่าชายเลนของชุมชน
  • นายประมวล รัตนานุพงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายและ แผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติได้อธิบายเนื้อหาของ พรบ.บริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ไว้ว่า ตนในฐานะตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒืในกฎหมายฉบับนี้ ดูแลพื้นที่ ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี กฎหมายนี้เป็นกฎหมายของชาวบ้านที่มาจากชุมชนชายฝั่งอย่างแท้จริงจากตราด-นราธิวาส อ่าวบ้านดอนเป็นพื้นที่แรมซาไซต์อันดับหนึ่งของประเทศไทยจากปัญหา EU ให้ใบเหลืองเหตุเพราะระมงพาณิชย์ที่จับสัตว์น้ำแบบทำลายล้าง โดยการใช้เรดาร์สำรวจบริเวณที่มีปลาชุกชุมและจับภายในระยะเวลาคืนเดียว แตกต่างจากประมงชายฝั่งที่หากินแบบไม่ทำลายล้าง แต่ยังพบการใช้ลอบงู หรือ ไอ้โง่ที่ไม่โง่ตามชื่อ เพราะสามารถจับสัตว์ทุกอย่างได้ทั้งหมดที่อาศัยอยู่ใต้ดิน ขอแจ้งว่าจากนี้ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะดำเนินการจับจริงสำหรับคนที่ใช้เครื่องมือทำลายล้างในการจับสัตว์น้ำและในเรื่องการรื้อคอกหอยนางรมที่บุกรุกแนวเขตน่าน้ำในพื้นที่ อ.กาญจนดิษฐ์ อยู่ในระหว่างการเตรียมการ ขนำหรือคอกหอยของใครที่อยู่ในระยะชิดชายฝั่งน้อยหว่า 1 กิโลเมตรจะต้องถูกรื้อถอน ซึ่ง อ.ท่าฉางได้มีการรื้อถอนแล้ว
  • นายปรีชา ด่านกุลชัย ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงว่า ที่ผ่านมาได้มีการปลูกป่าชายเลนเสริมในพื้นที่ด้านในของอ่าวปากกะแดะ โดยได้รับความร่วมมือจากชุมชน ทหาร เยาวชน และจิตอาสาจำนวนมากรวมถึงมีการวางปะการังเทียม ที่ทำด้วยเสาปูนวางในลักษณะ ซอม คือ เสาสามขาวางพิงกัน จำนวน 20 ชุด เพื่อเพิ่มพื้นที่แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อนแต่กรณีการจัดทำป่าเลชุมชน ยังอยู่ในระหว่างการรอมติที่ประชุมของจังหวัด ว่าแนวเขตน่านน้ำของ อ.กาญจนดิษฐ์ มีระยะเท่าไหร่กันแน่ที่ห้ามบุกรุก เนื่องจากยังขาดความชัดเจน แต่ ต.กะแดะ และ ต.พลายวาส มีพื้นที่สาธารณะในทะเลจำนวนกว่าร้อยไร่ สามารถจัดทำแนวเขตป่าเลชุมชนได้ในอนาคต
  • ชุมชนได้รับทราบสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับป่าชายเลนและทรัพยากรชายฝั่งในระดับจังหวัด ซึ่งเกี่ยวข้องกับประมงชายฝั่งในชุมชน เพื่อทราบความก้าวหน้า
  • มีการนัดหมายพูดคุยเพื่อหารือแนวทางการจัดทำป่าเลนชุมชน ร่วมกับสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 14 ในโอกาสต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 55 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มเยาวชน
  • กรรมการชุมชน
  • ผู้นำหมู่บ้าน ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  • อสม.
  • กลุ่มประมงพื้นบ้าน
  • ประชาชนในพื้นที่
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ป้ายไวนิลรณรงค์ไม่สูบบุหรี่12 ตุลาคม 2559
12
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์และรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ผลิตไวนิลประชาสัมพันธ์ติดตั้งถาวรในศาลาประชาคมหมู่บ้าน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ไวนิลรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ จำนวน 2 ผืน แล้วนำไปติดในชุมชน ในศาลาประชาคมหมู่บ้านเพื่อให้เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ และรณรงค์ให้คนในชุมชนไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • ศาลาเอนกประสงค์บ้านปากกะแดะ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ (ครั้งที่ 7)7 ตุลาคม 2559
7
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงการสิ้นสุดโครงการ และได้ทำเรื่องขอขยายเวลาโครงการ 1 เดือน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงการสิ้นสุดโครงการ และได้ทำเรื่องขอขยายเวลาโครงการ 1 เดือน คือเดือนตุลาคม 2559 โดยมีกิจกรรมหลักที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ได้แก่ อบรมข้อกฎหมายครั้งที่ 2, ถอดบทเรียนคณะทำงาน, เวทีคืนข้อมูลชุมชน และเสวนาร่วมสร้างชุมชนปากกะแดะให้น่าอยู่ซึ่งจะต้องดำเนินการทั้งหมด ไม่เช่นนนั้นจะต้องคืนเงินแก่ สสส.
  • มีมติกำหนดกิจกรรม ดังนี้
  1. ถอดบทรียนคณะทำงาน 2 ครั้ง โดยแบ่งเป็นถอดบทเรียนเยาวชนกรณีการปลูกป่าชายเลน และถอดบทเรียนคณะทำงานและติดตามผลลัพธ์ของปะการังเทียม
  2. อบรมข้อกฎหมาย ครั้งที่ 2 วันที่ 14 ตุลาคม 2559 โดยเชิญผู้อำนวยการสถานีและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 14 และ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการประมงชายฝั่งระดับชาติ มาร่วมให้ความรู้และแลกเปลี่ยน
  3. เวทีเสวนาให้กำหนดวันร่วมกันอีกครั้ง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 13 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ติดช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญของชุมชนปากกะแดะ ทำให้ช่วงดังกล่าวไม่สามารถดำเนินกิจกรรมใดๆในชุมชนได้ เพราะกรรมการชุมชน และคนในชุมชนจะต้องช่วยงานของศาลเจ้าไหหลำปากกะแดะ
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

งานสร้างสุขภาคใต้ 25593 ตุลาคม 2559
3
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อแลกเปลี่ยนและร่วมกิจกรรมงานสมัชชาคนใต้สร้างสุข
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ร่วมกิจกรรมการเสวนาวิชาการคนใต้สร้างสุข
  • ร่วมแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานชุชนท้องถิ่นภาคใต้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เข้าร่วมรับฟังการดำเนินงานโครงการชุมชนน่าอยู่ในกลุ่มย่อย ที่มีการถอดบทเรียนการทำงานหลายประเด็น ที่เด้กและเยาวชน การจัดการขยะ การจัดการทรัพยากร ทำให้ได้รับแนวทางใหม่ๆ ในการขับเคลื่อนงานชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่จากจังหวัดอื่นๆ และสามารถนำมาปรับใช้กับชุมชนบ้านปากกะแดะได้
  • เห็นภาคีเครือข่ายการทำงานของ สสส. สจรส.มอ. สปสช. สช. ที่สามารถหนุนเสริมการทำงานของชุมชนได้
  • ได้แนวคิด รูปแบบ วิธีการจัดนิทรรศการที่หลากหลาย สามารถนำไปปรับใช้ได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • นายปรีชา ด่านกุลชัย
  • นางสาวกรรณิการ์ แพแก้ว
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปฏิบัติการนักสืบสายน้ำ ครั้งที่ 318 กันยายน 2559
18
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อทดลองปฏิบัติ และเก็บข้อมูลแหล่งน้ำคลองกะแดะบริเวณปลายน้ำ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วิทยากรและพี่เลี้ยงแบ่งเยาวชนเป็นสามกลุ่ม และแจกเครื่องมือประกอบสำหรับการสำรวจสายน้ำ
  • เยาวชนลงพื้นที่เก็บตัวอย่าง
  • สรุปผลการเก็บข้อมูล
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วิทยากรและพี่เลี้ยงแบ่งเยาวชนเป็นสามกลุ่ม และแจกเครื่องมือประกอบด้วย คู่มือสัตว์น้ำขนาดเล็ก, แว่นขยาย, สวิงตาถี่, ถ้วยและกระบะใส่น้ำเพื่อให้เยาวชนได้ทดลองสำรวจสัตว์น้ำบริเวณบ้านปากกะแดะ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลายน้ำของคลองกะแดะโดยมีการเก็บตัวอย่างจำนวน 3 จุด ได้แก่
  1. บริเวณท่าน้ำใกล้ร้านอาหารเคียงเล
  2. บริเวณสะพานศาลเจ้าไหหลำปากกะแดะ
  3. บริเวณท่าน้ำชุมชนปากกะแดะ
  • จากนั้นเยาวชนสำรวจว่าสัตว์น้ำที่ใช้สวิงตักว่ามีสัตว์น้ำอะไรบ้าง โดยทำการเปิดคู่มือเพื่อตรวจสอบว่าเป็นสัตว์น้ำชนิดไหน อาศัยอยู่ในน้ำลักษณะแบบใด แล้วจึงบันทึกผลลัพธ์ลงในกระดาษฟลิปชาร์ตของกลุ่ม
  • จากการสำรวจสัตว์น้ำทั้ง 3 จุด พบว่ามีสัตว์น้ำในแหล่งน้ำคลองกะแดะ ประกอบด้วย กุ้งหนวดแดง, กุ้งฝอย. ปลาขี้จีน, ปลาบู่ทราย, หอยฝาเดียว เป็นสัตว์น้ำชนิดรับประสานน้ำบ่งบอกว่าบริเวณเหล่านี้มีสภาพน้ำค่อนข้างสะอาด
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย
  • เยาวชนบ้านปากกะแดะ
  • คณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

การประชุมเพื่อจัดทำรายงานงวดที่ 2 (ครั้งที่ 4)17 กันยายน 2559
17
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเตรียมความพร้อมงานสร้างสุขภาคใต้ 2559- เพื่อจัดทำรายงานงวดที่ 2
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • พี่เลี้ยงชี้แจงรายละเอียดงานสร้างสุข
  • เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ. ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารการเงิน
  • เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ. ตรวจรายละเอียดรายงานผลการดำเนินงาน
  • เพิ่มเติมรายละเอียดรายงานกิจกรรมลงในเว็บไซต์คนใต้สร้างสุขให้ครอบคลุม ครบถ้วน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง ชี้แจงรายละเอียดงานสร้างสุขภาคใต้ ปี 2559 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญคือ ให้ใช้เงิบงบประมาณในส่วนของค่าประชุมกับ สจรส. มอ. 10000 บาท ที่ สสส. มอบให้เป็นค่าเดินทาง ให้จองห้องพักด้วยตนเองตามรายชื่อห้องพักที่แนะนำมา ซึ่งอยู่บริเวณหอประชุมนานาชาติ ม.อ. สำหรับพื้นที่ที่จัดกิจกรรม คือ บ้านถ้ำผุด และบ้านเขาปูน ให้เป็นตัวแทนของ จ.สุราษฎร์ธานี จัดนิทรรศการและผลงานในแนวคิด "สุราษฎร์ธานีเมืองสมุนไพร"
  • เอกสารการเงินมีความถูกต้อง ผ่านการตรวจสอบจากทีมงาน สจรส. ม.อ. แล้ว
  • รายละเอียดกิจกรรม มีเนื้อหาและอธิบายกระบวนการครอบคลุม
  • บันทึกข้อมูลลงเว็บไซต์เป็นปัจจุบันจนถึงวันที่ 17 กันยายน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • นายปรีชา ด่านชัยกุล คณะทำงานโครงการ
  • นางสาวกรรณิการ์ แพแก้ว อาสาสมัครพื้นที่
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • กิจกรรมใหญ่ยังดำเนินการไม่ครบถ้วน เนื่องจากสัมพันธ์กับกิจกรรมนักสืบสายน้ำ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ตามระยะเวลาโครงการ ต้องขอขยายเวลาโครงการ เพื่อให้ได้ปฏิบัติงานครบทุกกระบวนการที่สำคัญที่กำหนดไว้ในแผนงาน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปฏิบัติการนักสืบสายน้ำ ครั้งที่ 215 กันยายน 2559
15
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อทบทวนความรู้เกี่ยวกับของสัตว์น้ำขนาดเล็กในน้ำจืด
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นักเรียนโรงเรียนบ้านปากกะแตะ ในระดับชั้น ป.3-ป.6 รวมจำนวน 42 คน ได้เข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติการนักสืบสายน้ำครั้งที่ 2 กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา ซึ่งเป็นทีม สันทนาการเพื่อละลายพฤติกรรมก่อนเข้าบทเรียน โดยแบ่งกลุ่มย่อยโดยอ้างอิงกลุ่มเดิมจากการอบรมเชิงปฏิบัติการนักสืบสายน้ำครั้งที่ผ่านมา โดยมีกลุ่มย่อยจำนวน 5 กลุ่ม คละระดับชั้น มีการทบทวนบทเรียนเรื่องสัตว์น้ำขนาดเล็ก ประเภทชนิดนี้ในทุกกลุ่ม ได้แก่
  1. หอยเจดีย์
  2. มวนน้ำ
  3. แมลงอ่อนซิกโก้
  4. กุ้งฝอย
  5. แมงชีปะขาว และลักษณะของน้ำที่สัตว์เหล่านั้นอยู่อาศัย ว่าเป็นน้ำดี หรือน้ำเสีย
  • ทีมวิทยากรนัดหมายการจัดกิจกรรมอาสาสมัครปฏิบัติการนักสืบสายน้ำ ครั้งที่ 3 ในวันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน 2559 เวลา 12.00-15.00 น. โดยขอให้เยาวชนอาสาสมัครมาเข้าร่วมกิจกรรมด้วยตนเองมีนักเรียนส่งรายชื่อเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 10 คน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นักเรียนโรงเรียนบ้านปากกะแดะ จำนวน 5 กลุ่ม ได้ทบทวนบทเรียนเกี่ยวกับชนิดของสัตว์น้ำขนาดเล็กโดยสัตว์น้ำที่นักเรียนจดจำได้มากที่สุด คือ มีชื่อสัตว์น้ำชนิดนี้ในทุกกลุ่ม ได้แก่
  1. หอยเจดีย์
  2. มวนน้ำ
  3. แมลงอ่อนซิกโก้
  4. กุ้งฝอย
  5. แมงชีปะขาว
  • นักเรียนยังจดจำประเภทน้ำที่สัตว์แต่ละชนิดอาศัยอยู่ไม่ได้ยังมีการตอบคำถามผิดว่าสัตว์ชนิดใดอาศัยอยู่ในน้ำประเภทใด
  • มีแผนกิจกรรมปฏิบัติการนักสืบสายน้ำ ครั้งที่ 3 ในวันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน 2559 เวลา 12.00-15.00 น. โดยขอให้เยาวชนอาสาสมัครมาเข้าร่วมกิจกรรมด้วยตนเองมีนักเรียนส่งรายชื่อเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 10 คน
  • เด็กนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดคลองกะแดะ และบริเวณฝายกั้นน้ำ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 58 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ จำนวน 10 คน
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา (วิทยากร) จำนวน ุ6 คน
  • นักเรียนโรงเรียนบ้านปากกะแดะ จำนวน 42 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • บ้านปากกะแดะอยู่บริเวณริมอ่าวปากกะแดะ ซึ่งทำให้สภาพน้ำในคลองเป็นน้ำกร่อยทำให้พบสัตว์น้ำน้อยชนิด และไม่หลากหลาย
  • การเดินทางออกนอกพื้นที่ชุมชน หรือโรงเรียน เพื่อค้นหาพื้นที่เหมาะสมในการตรวจสัตว์น้ำ ไม่สามารถเดินทางไปได้ไกลนัก เนื่องจากความปลอดภัยของเยาวชนซึ่งส่วนใหญ่อายุค่อนข้างน้อย ทำให้ผู้ปกครองเป็นห่วงจึงต้องเน้นค้นหาและตรจสัตว์น้ำในพื้นที่ใกล้ชุมชน หรือโรงเรียน โดยมุ่งเน้นไปในเรื่องของความรู้เกี่ยวกับสัตว์น้ำ และการทำงานกลุ่ม
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปฏิบัติการนักสืบสายน้ำ ครั้งที่ 127 สิงหาคม 2559
27
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อทดลองปฏิบัติ และเก็บข้อมูลแหล่งน้ำคลองกะแดะบริเวณกลางน้ำ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ทดสอบตักน้ำบริเวณฝายน้ำล้นใกล้ตลาดกาญจนดิษฐ์ มาตรวจหาสัตว์น้ำ
  • สรุปผลการทดลองปฏิบัติ
  • เชื่อมโยงสภาพน้ำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหา
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • น้องๆ ที่ร่วมโครงการ 8 คนได้ช่วยกันใช้สวิงช้อนลงไปในลำน้ำ ได้สัตว์ต่างๆมาหลายประเภท จากนั้นได้นำมาใส่ถ้วยเล็กๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ตามหลักวิชาการว่าจากสัตว์หน้าดินต่างๆ ที่พบมันบอกถึงอะไร เช่น ปลาเข็ม น้องๆ บอกว่าคุณภาพน้ำไม่ค่อยสะอาดกุ้งฝอย เป็นตัวบ่งบอกว่าน้ำไม่ค่อยสะอาด แต่กุ้งนั้นยังสามารถบริโภคได้ หอยกาบ และหอยเจดีย์ ตัวบ่งบอกถึงคุณภาพน้ำยังคงดีอยู่ แต่จากการค้นหาอยู่หลายรอบ เราไม่เจอจิ้งโจ้น้ำ เราไม่เจอตัวอ่อนแมลงปอ เราไม่เจอชีปะขาว นั่นแสดงว่าคุณภาพน้ำบริเวณนี้ค่อนข้างไม่สะอาดจำเป็นต้องหาวิธีปรับปรุงให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้น นี่คือผลสรุปที่น้องๆตัวเล็กๆใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงค้นหาความเป็นไปของสายน้ำ
  • เด็กหญิงจีระนันท์ แซ่ด่านบอกว่า วันนี้สนุกมาก ที่ได้ร่วมกิจกรรมใช้เวลาว่างเป็นประโยชน์และเราต้องแนะนำชาวบ้านว่าอย่าทิ้งขยะลงในลำคลอง น้ำเสียก็ไม่ควรปล่อยลงลำคลอง และจะร่วมโครงการอีกหากมีการจัดขึ้น
  • เด็กชายอภินันท์ ศิลา ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่บอกว่าสนุกมากชอบด้วยอยากให้มีการจัดกิจกรรมอีก ซึ่งปกติตนเองและเพื่อนวันหยุดจะไปรวมกันที่ร้านเกมส์จะกลับบ้านอีกทีก็ตอนเย็นๆ มาทำงานแบบนี้สนุกกว่าและจะนำเรื่องนี้ไปเล่าให้เพื่อนที่ไม่ได้มาร่วมฟังด้วยรวมถึงจะแนะนำเพื่อนๆว่าเราไม่ควรทำให้ลำลคลองสกปรก
  • จากการสำรวจทำให้ทราบถึงประเภทของสัตว์น้ำขนาดเล็ก และคุณภาพน้ำบริเวณตลาดกาญจนดิษฐ์ที่พบ ได้แก่ ปลาเข็ม กุ้งฝอย หอยกาบ หอยเจดีย์
  • แนวทางการแก้ไขคุณภาพน้ำ คือ ไม่ทิ้งขยะมูลฝอย การบำบัดน้ำเสียของตลาดก่อนปล่อยลงลำคลองสาธารณะ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย
  • กรรมการชุมชนบ้านปากกะแดะ จำนวน10 คน
  • ตัวแทนเยาวชนบ้านปากกะแดะ จำนวน 15.คน
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา จำนวน 4 คน
  • สื่อมวลชน 1 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

อบรมนักสืบสายน้ำ23 สิงหาคม 2559
23
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสร้างแกนนำเยาวชนอนุรักษ์สายน้ำกะแดะผ่านเครื่องมือนักสืบสายน้ำ- เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้กับเยาวชนในการอนุรักษ์สัตว์น้ำในพื้นที่บ้านกะแดะ อ่าวบ้านดอน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา 12.30 น.-16.00 น. ได้จัดกิจกรรมอบรมนักสืบสายน้ำ โดยมีเด็กนักเรียนเรียนจาก 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านปากกะแดะ, โรงเรียนวัดกาญจนาราม และโรงเรียนกาญจนดิษฐ์ เข้าร่วมเป็นทีมอาสาสมัครนักสืบสายน้ำ รู้น้ำกับชีวิต โดยมีวิทยากรนำโดย นางสาวนงเยาว์ ยุทธชนะ และทีมได้บรรยายจำนวน 4 ชั่วโมง โดยมีเนื้อหาในการบรรยาย ประกอบด้วย

1) ความจำเป็นของน้ำต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิต
2) เรียนรู้สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในน้ำจืด วิทยากรสอนการอ่านคู่มือสัตว์น้ำขนาดเล็ก
3) ทดลองปฏิบัติ ค้นหาประเภทของสัตว์น้ำขนาดเล็กว่าเป็นสัตว์อะไร อยู่ในน้ำประเภทไหน
4) บันทึกข้อมูลการเรียนรู้ และนำเสนอรายกลุ่ม
5) ทดลองตักน้ำบริเวณใกล้เคียงมาตรวจว่าพบสัตว์น้ำประเภทไหนบ้าง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เยาวชนรู้จักสัตว์น้ำขนาดเล็ก
  • เยาวชนฝึกทดลองปฏิบัติการตรวจสัตว์น้ำในลำคลอง
  • เยาวชนได้ฝึกการทำงานเป็นทีม และการนำเสนอข้อมูล
  • เด็ก เยาวชน มีความรู้ ความเข้าใจเนื้อหาการบรรยาย ประกอบด้วย

1) ความจำเป็นของน้ำต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิต
2) เรียนรู้สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในน้ำจืด วิทยากรสอนการอ่านคู่มือสัตว์น้ำขนาดเล็ก
3) ทดลองปฏิบัติ ค้นหาประเภทของสัตว์น้ำขนาดเล็กว่าเป็นสัตว์อะไร อยู่ในน้ำประเภทไหน
4) บันทึกข้อมูลการเรียนรู้ และนำเสนอรายกลุ่ม
5) ทดลองตักน้ำบริเวณใกล้เคียงมาตรวจว่าพบสัตว์น้ำประเภทไหนบ้าง

  • เกิดกลุ่มเด็กอาสาสมัคร จำนวน 15 คน เป็นแกนนำในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำบ้านกะแตะ อ่าวบ้านดอน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย
  • นักเรียนโรงเรียนบ้านปากกะแดะ ระดับ ป.3-ป.6 จำนวน 53 คน

  • สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14 จำนวน 4 คน

  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา จำนวน 3 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่สามารถประสานเยาวชนจากโรงเรียนอื่นได้ เนื่องจากเป้าหมายโครงการไม่ตรงกับแนวทางของโรงเรียนนั้น
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรมนักสืบสายน้ำ23 สิงหาคม 2559
23
สิงหาคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสร้างจิตสำนึก และกระบวนการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เชิญวิทยากรมาอบรม เรื่อง นักสืบสายน้ำ ให้กับเยาวชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เป็นการอบรมนักสืบสายน้ำวันที่ 1 โดยวิทยากรเน้นเรื่องการสังเกตคุณภาพน้ำ การดูสัตว์ที่เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของน้ำ เป็นการเรียนภาคทฤษฎีให้เข้าใจก่อนที่จะมีการลงปฏิบัติการจริงในวันต่อไป
  • เห็นถึงความตั้งใจจริงของวิทยากร และเยาวชนที่เข้าร่วม จากเป้าหมายที่วางไว้ 40 คน แต่ทางโณงเรียนเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์จึงให้นักเรียนตั้งแต่ชั้น ป.3 - ป.6 เข้าร่วม จำนวน 60 คน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย
  • นักเรียนโรงเรียนบ้านปากกระแดะ
  • วิทยากรจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14 
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ (ครั้งที่ 6)8 สิงหาคม 2559
8
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อวางแผนและออกแบบกิจกรรมนักสืบสายน้ำ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • หารือแนวทางการจัดอบรมนักสืบสายน้ำ โดยค้นหาวิทยากรจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมาเป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านปฏิบัติการนักสืบสายน้ำ
  • ค้นหาพื้นที่เยาวชนที่จะเข้าร่วมปฏิบัติการจาก 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดกาญจนาราม(พื้นที่ต้นน้ำคลองกะแดะ), โรงเรียนวัดพ่วง(พื้นที่กลางน้ำคลองกะแดะ) และ โรงเรียนบ้านปากกะแดะ (พื้นที่ปลายน้ำคลองกะแดะ)
  • มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบของคณะทำงาน และทีมวิทยากรสันทนาการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากการประสานงานโรงเรียนวัดกาญจนาราม ได้รับการปฏิเสธในการเข้าร่วมกิจกรรม เนื่องจากแนวทางของโรงเรียนมุ่งเน้นไปที่การจัดการขยะ ไม่ได้เน้นเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • เป้าหมายหลักโรงเรียนบ้านปากกะแดะ เนื่องจากได้รับความร่วมมือจากผู้อำนวยการและเยาวชนเป็นอย่างดีโดยกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมเป็นนักเรียนระดับ ป.3-ป.6
  • วิทยากรหลัก ประสานสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14 มาเป็นผู้ให้ความรู้และจัดกระบวนการ โดยวันแรกเป็นความรู้ภาคทฤษฎี วันที่สองเป็นภาคปฏิบัติ
  • ประสานกลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา เป็นวิทยากรสันทนาการ และพี่เลี้ยงเยาวชน
  • มอบหมายให้มีการจัดเตรียมอาหาร/เครื่องดื่มมาเลี้ยงเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม เนื่องจากช่วงเวลาที่ทางโรงเรียนอนุญาตให้ทำกิจกรรมได้ คือ 12.30-16.00 น. ของวันที่ 23-24 สิงหาคม 2559 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเรียนรู้ที่ต่อเนื่องยาวนาน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • สภาองค์กรชุมชนตำบลกะแดะ
  • อสม.บ้านปากกะแดะ
  • คณะทำงานโครงการ
  • กรรมการชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • กลุ่มเป้าหมายที่กำหนดต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ของคลองกะแดะ ในพื้นที่ตำบลกะแดะ ไม่สามารถประสานงานได้เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกิจกรรมไม่ตอบโจทย์ของโรงเรียนเหล่านั้นจึงมุ่งเน้นเป้าหมายที่โรงเรียนบ้านปากกะแดะ
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปฏิบัติการสร้างปะการัง คืนบ้านให้ปลาและหอย ครั้งที่ 23 มิถุนายน 2559
3
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่ออนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมในคลองกะแดะให้มีความสมบูรณ์ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
  • เพื่อสร้างบ้านปลาและหอยในบริเวณอ่าวปากกะแดะ จำนวน 7 จุด
  • เพื่อเพิ่มพื้นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำเขตชายฝั่ง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • สมาชิกมีการสำรวจพื้นที่วางปะการัง ว่าอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งเขตอนุญาตเพาะเลี้ยงหอยหรือไม่ เพื่อไม่ให้ผิดกฎหมายการเพาะเลี้ยงของอ่าวบ้านดอน
  • สำรวจผู้ดูแลปะการัง เพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงหลังสร้างบ้านปลาและหอย
  • มีการจัดซื้อเสาปูนเพื่อทำปะการัง โดยว่าจ้างนายภควัฒน์ เจริญกิจ ในการหล่อเสาปูนให้ เพื่อใช้ในการทำปะการังให้เป็นที่อยู่อาศัยของปลาและหอยในพื้นที่บ้านกะแตระ อ่าวบ้านดอน
  • เวลา 09.00 น. สมาชิกกลุ่มประมงพื้นบ้าน และกลุ่มหอยนางรม จำนวน 27 คน สมาชิกแบ่งกลุ่มสมาชิกออกเป็น 10 ชุด และได้ไปบรรทุกเสาปูนที่บ้านนายภควัฒน์ เจริญกิจ ซึ่งเป็นคนที่กลุ่มได้ว่าจ้างให้ทำเสาปูน ขนาด 4นิ้ว ยาว 1.7 เมตร ทั้งหมด 700 ต้น สมาชิกได้ใช้เรือหัวโทง เรือหางยาว จำนวน 7 ลำ บรรทุกเสาปูนไปวางในทะเลบ้านกะแตระะ เพื่อทำเป็นบ้านปลาและหอย เช่น นางรม หอยแมลงภู่ ในรอบที่ 2 จำนวน 7 ชุด รวม 10 ชุด โดยมีการเลือกพื้นที่การวางบ้านปลา และมีผู้ที่จะรับผิดชอบในพื้นที่
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สมาชิกกลุ่มประมงพื้นบ้าน และกลุ่มหอยนางรม จำนวน 27 คน สมาชิกแบ่งกลุ่มสมาชิกออกเป็น 10 ชุด และได้ไปบรรทุกเสาปูนที่บ้านนายภควัฒน์ เจริญกิจ ซึ่งเป็นคนที่กลุ่มได้ว่าจ้างให้ทำเสาปูน ขนาด 4 นิ้ว ยาว 1.7 เมตร ทั้งหมด 700 ต้น สมาชิกได้ใช้เรือหัวโทง เรือหางยาว จำนวน 7 ลำ บรรทุกเสาปูนไปวางในทะเลบ้านกะแดะ เพื่อทำเป็นบ้านปลาและหอย เช่น นางรม หอยแมลงภู่ ในรอบที่ 2 จำนวน 7 ชุด รวม 10 ชุด โดยมีการเลือกพื้นที่การวางบ้านปลา และมีผู้ที่จะรับผิดชอบในพื้นที่ ดังนี้
  1. นายพงษ์ศักดิ์ พรหมรณงค์
  2. นายแพรวพรรณ ศักดา
  3. นางศิริ วรสิทธิพร
  4. นางวนิดา เสทิน
  5. นายปราโมทย์ ด่านกุลชัย
  6. นายพิชัย ชุมแดง
  • สมาชิกทั้งได้ร่วมมือร่วมใจในการวางปะการังจนแล้วเสร็จ ประมาณ บ่าย 2 โมง กลุ่มประมงพื้นบ้าน ร่วมแรงกันวางปะการังในเขตเพาะเลี้ยง
  • เกิดเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ ปลาและหอยในพื้นที่บ้านกะแดะ ทำให้เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน
  • เกิดทีมในการทำงานร่วมกันของกลุ่มประมงพื้นบ้านและกลุ่มเลี้ยงหอยนางรม
  • เกิดความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่บ้านกะแดะ ตลอดจนความมั่นในอาชีพและรายได้ของคนในพื้นที่ของกลุ่มประมงพื้นบ้าน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 27 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มประมงพื้นบ้าน
  • กลุ่มผู้เลี้ยงหอยนางรม
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ฤดูน้ำหลาก ไม่สามารถวางปะการังได้ ทำให้ต้องเลื่อนกิจกรรม
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • พี้เลี้ยงได้ลงพื้นที่หนุนเสริมกิจกรรม ทำให้กลุ่มมีความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ (เช่น การสังเกตุปริมาณสัตว์น้ำหลังจากมีการวางปะการังไปแล้ว เช่น การเปลี่ยนแปลงของสัตว์น้ำ ปลา และหอย ในพื้นที่ )
ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่(ครั้งที่ 5)20 พฤษภาคม 2559
20
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสร้างกลไกขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่
  • เพื่อเตรียมแผนการดำเนินงานในระยะที่สอง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นายปรีชา ด่านกุลชัย ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ชี้แจงความล่าช้าในการจัดกิจกรรมการวางปะการังเนื่องจากสภาพภูมิอากาศในพื้นที่มีคลื่นลมแรง และวัสดุที่ใช้ เช่น เสาปูน มีน้ำหนักมาก ไม่เหมาะที่จะบรรทุกใส่เรือไปวางในทะเลได้ จึงได้มีการเลื่อนการทำกิจกรรมนี้ออกไปเพื่อความปลอดภัย และงบประมาณในงวดที่ 2 ยังไม่ได้รับจาก สสส.
  • คณะกรรมการมีการวางแผนการวางปะการัง บริเวณอ่าวบ้านปากกะแตะ อ.กาญจนดิษย์ ครั้งที่ 2 จำนวน 7 จุด
  • คณะกรรมการวางแผนและหารือการจัดอบรมนักสืบสายน้ำ ระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคม 2559
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชี้แจงความล่าช้าในการจัดกิจกรรมโครงการที่ผ่านมา เนื่องจากงบประมาณของ สสส. งวดที่ 2 ล่าช้า ทำให้ต้องระงับบางกิจกรรมเนื่องจากเป็นเวทีใหญ่ จัดต่อเนื่อง ใช้งบประมาณสูง
  • วางแผนการวางปะการัง ครั้งที่ 2 จำนวน 7 จุดโดยให้สมาชิกไปสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสม โดยต้องอยู่ในเขตอนุญาตเพาะเลี้ยงหอยนางรมอ่าวบ้านดอนและมีผู้ดูแลใกล้ชิด เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของสัตว์น้ำชายฝั่ง
  • วางแผนและหารือการจัดอบรมนักสืบสายน้ำ ประกอบด้วยนักเรียนจาก 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดกาาญจนาราม และ โรงเรียนบ้านปากกะแดะ
  • ได้พื้นที่วางปะการัง จำนวน 7 จุด โดยมีผู้รับผิดชอบแต่ละฝ่าย ประกอบด้วย
  1. ฝ่ายประสานงานโรงเรียนและกลุ่มเป้าหมาย
  2. ฝ่ายเตรียมเนื้อหาการอบรม และประสานวิทยากร
  3. ฝ่ายจัดเตรียมอาหาร สถานที่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • กลุ่มประมงพื้นบ้าน
  • กลุ่มผู้เลี้ยงหอยนางรม
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดทำรายงานปิดโครงการ งวดที่ 120 มีนาคม 2559
20
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อจัดทำรายงานปิดโครงการ งวดที่ 1
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารการเงิน
  • แก้ไขรายละเอียดการเงิน
  • จัดทำรายละเอียดรายงานกิจกรรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • พี่เลี้ยงโครงการตรวจสอบเอกสารการเงิน และมีการแนะนำการปรับแก้เอกสารอย่างถูกต้อง
  • มีการจัดทำรายงานกิจกรรมโครงการเพิ่มเติม ให้มีเนื้อหาสาระที่ครบถ้วน
  • สามารถจัดทำรายงานโครงการ และรายงานการเงิน ปิดโครงการ งวดที่ 1 ตามเวลาที่กำหนด และขออนุมัติงบประมาณโครงการในงวดที่ 2
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  1. นายปรีชา ด่านกุลชัย
  2. นางสาวกรรณิการ์ แพแก้ว
  • พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปลูกป่าชายเลนเพื่อเพิ่มพื้นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำ15 มีนาคม 2559
15
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสร้างจิตสำนึก และกระบวนการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม- เพื่อเพิ่มพื้นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่ง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 14 ให้ความรู้เรื่องการดูแลป่าชายเลน
  • รับกล้าไม้จากส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 14 จำนวน 3,000 ต้น
  • กลุ่มเยาวชน และชุมชนร่วมกันปลูกต้นโกงกางบริเวณพื้นที่ป่าชายเลน ด้านในสะพาน walk way ของชุมชนบ้านปากกะแดะ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 14 โดยวิทยากร คือ นายวิชัย สมรูป ให้ความรู้เรื่องการดูแลป่าชายเลน โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญ คือ
  1. โครงการป่า-เลชุมชนบ้านปากกะแดะ ที่สำนักงานมาร่วมกับโครงการร่วมอนุรักษ์ปากน้ำกะแดะให้ชุมชนน่าอยู่ เพื่อขยายพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่งป่าชายเลนโดยการสนับสุนนต้นกล้าโกงกางจำนวน 3,000 ต้นและพันธุ์หอยจุ๊บแจง จำนวน 2 กระสอบ ประมาณ 50 กิโลกรัม เพื่อปล่อยด้านในสะพาน walk way ปากน้ำกะแดะ หลังจากนี้ หากว่าทางชุมชนมีความต้องการในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าชายเลน ทางสำนักงานยินดีให้ความร่วมมือ

  2. โครงการเส้นทางศึกษาธรรมชาติ และกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ โดยเป็นโครงการที่ดำเนินการร่วมกับ อบจ.สุราษฎร์ธานี โดยการสร้างสะพานศึกษาเส้นทางธรรมชาติ ระยะที่ 2 (สะพาน walk way) ให้เชื่อมต่อจากสะพานเดิมเป็นรูปวงกลม สามารถเดินศึกษาธรรมชาติตลอดริมอ่าวปากกะแดะ มติที่ประชุมเสนอให้สร้างสะพานระยะที่ 2 โดยเชื่อมเส้นทางเดิมมาจนถึงข้างป้อมตำรวจปากกะแดะ

  • ส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 14 อนุเคราะห์พันธุ์ต้นโกงกาง จำนวน 3,000 ต้น ให้กับทางโครงการ โดยให้กลุ่มเยาวชน และชุมชนร่วมกันปลูกต้นโกงกางบริเวณพื้นที่ป่าชายเลน ด้านในสะพาน walk way ของชุมชน
  • กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมมากกว่าที่กำหนดไว้และเกิดความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการร่วมเพิ่มพื้นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่ง ไม่ว่าจะเป็นกอ.รมน. ส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 14 โรงเรียนบ้านปากกะแดะ ประมงชายฝั่งนักศึกษาวิชาทหาร และชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 150 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย
  • กอ.รมน.
  • ส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 14
  • โรงเรียนบ้านปากกะแดะ
  • ประมงชายฝั่ง
  • นักศึกษาวิชาทหาร -ชุมชนสองฝั่งคลองกะแดะ -อาสาสมัคร
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • เป็นการทดลองปลูกในฤดูร้อน ต้องตรวจสอบการรอดของต้นโกงกางที่ปลูกในระยะ 3 เดือนหลังจากนี้ ว่ามีอัตราการรอดสูงกว่าการปลูกช่วงปลายปีหรือไม่
ปฏิบัติการสร้างปะการัง คืนบ้านให้ปลาและหอย ครั้งที่ 18 มีนาคม 2559
8
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสร้างจิตสำนึก และกระบวนการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • เพื่อสร้างพื้นที่แหล่งอาหารในชุมชน
  • เพื่ออนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมในคลองกะแดะให้มีความสมบูรณ์ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • หารือตำแหน่งการวางปะการัง ครั้งที่ 1
  • รวมสมาชิกช่วยกันขนท่อปูนปะการังลงเรือ และช่วยลงแรงในการลงปะการังสู่ทะเล
  • กำหนดครั้งที่ 2 ประมาณเดือนเมษายน 2559
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ก่อนการวางประการัง มีการประชุมเพื่อวางแผนกำหนดจุดในการวาง และได้มีการจัดจ้างคนในชุมชนจัดทำท่อปูนซีเมนต์เตรียมเอาไว้แล้ว จำนวน 1000 ท่อ
  • หารือตำแหน่งการวางปะการัง ครั้งที่ 1 เนื่องจากเดือนนี้น้ำทะเลหนุนสูง ไม่สามารถออกเรือไปได้ไกล จึงต้องวางปะการังในเขตน้ำตื้น ซึ่งมีเขตคอกหอยนางรมจำนวน 3 จุด ที่สามารถดำเนินการได้ โดยจะวางในคอกหอยในตำแหน่งดังนี้
  1. คอกหอยของนายประชา ไทยาพงศ์สกุล
  2. คอกหอยของนายปรีชา ชุลีธรรม
  3. คอกหอยสันติ ไทยาพงศ์สกุล
  • รวมสมาชิกช่วยกันขนท่อปูนปะการังลงเรือ และช่วยลงแรงในการลงปะการังสู่ทะเล
  • มีการกำหนดการวางประการัง ครั้งที่ 2 ประมาณต้นเดือนเมษายน 2559
  • เกิดความร่วมมือในการทำงานของคนในชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะเป็นประโยชน์ร่วมของคนในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • ชุมชนสองฝั่งคลองกะแดะ
  • ประมงชายฝั่ง
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ช่วงเวลาของกิจกรรม ทำได้ยากในช่วงเดือนนี้ เนื่องจากน้ำทะเลหนุนสูง เรือประมงขนาดเล็กไม่สามารถฝ่าคลื่นออกไปได้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทะเล ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาได้ชัดเจน เนื่องจากช่วงเวลาที่กำหนด (เดทไลน์โครงการ) ไม่ตรงกับฤดูกาลที่เหมาะสมในบางกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ (ครั้งที่ 4)15 กุมภาพันธ์ 2559
15
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสร้างกลไกขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่
  • เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมหารือแนวทางการจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน และสร้างปะการัง และกำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละฝ่าย
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมหารือแนวทางการจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน และสร้างปะการัง

1.ปลูกป่าชายเลน

  • ปลูกป่าชายเลน ต้องมีกลุ่มจากภายนอกชุมชนมาร่วมดำเนินการ เพื่อประสานความร่วมมือและประชาสัมพันธุ์กิจกรรมสู่ภายนอก
  • ต้องมีการสอบถามจำนวนพันธุ์ไม้จากสำนักงานบริหารทรัพยากรป่าชายเลนฯ เพื่อขอกล้าไม้มาปลูก
  • ต้องตรวจสอบระดับน้ำ ว่าวันใดเหมาะสม น้ำไม่สูงเกินไปจนลงปลูกไม่ได้

2.สร้างปะการัง

  • กำหนดให้มีการรวมกลุ่มเป็นกลุ่มอนุรักษ์ โดยเน้นประมงชายฝั่งจากสองฝั่งคลอง ต.กะแดะ และ ต.พลายวาสมาเป็นคณะกรรมการ เพื่อปรึกษาหารือและวางแผนการจัดการทรัพยากรชุมชนร่วมกันโดยผู้ที่มาประชุมวันนี้เป็นสมาชิกทั้งหมด
  • ปะการังใช้การจ้างหล่อท่อปูน ปักในเขตคอกหอยนางรมของสมาชิก เพื่อให้มีผู้ดูแลและรับผิดชอบ
  • กำหนดวันวางปะการัง ต้องตรวจสอบว่าท่อปูนพร้อมให้ทำกิจกรรมได้วันใด โดยจะมีการประสานอีกครั้งหนึ่ง

3.กำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละฝ่าย ดังนี้

  • นายปรีชา ด่านกุลชัย รับผิดชอบประสานการจ้างทำท่อปูน จำนวน 1,000 ชิ้น
  • นายสุภาษิต อินทรภิรมย์ ประสานกล้าไม้
  • นายประชา ไทยาพงศ์สกุล ประสานงานเยาวชนและนักเรียน
  • นายสิทธิพร วรสิทธิกรรับผิดชอบอาหารทั้งสองกิจกรรม

4.มีการรวมกลุ่มเพื่อเป็นสมาชิกร่วมกันดูแลทรัพยากรสองฝั่งคลองกะแดะจากสองตำบลรวม 20 คน มีการกำหนดบทบาทความรับผิดชอบชัดเจน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 24 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • ชาวชุมชนสองฝั่งคลอง
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พี่เลี้ยง สจรส.และโครงการร่วมกันจัดทำรายงานงวดที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559
5
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย Yuttipong Kaewtong
circle
วัตถุประสงค์

พี่เลี้ยง สจรส.และโครงการร่วมกันจัดทำรายงานงวดที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พี่เลี้ยง สจรส.และโครงการร่วมกันจัดทำรายงานงวดที่ 1

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พี่เลี้ยง สจรส.และโครงการร่วมกันจัดทำรายงานงวดที่ 1 เอกสารการเงินได้รับการตรวจสอบ แนะนำการแก้ไขและต้องขยายเวลาดำเนินงานโครงการในงวดที่ 1 เนื่องจากมีการใช้จ่ายงบประมาณไม่ถึง ร้อยละ 50 ของงบประมาณโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

การประชุมเพื่อจัดทำรายงานงวดที่ 1 (ครั้งที่ 3)5 กุมภาพันธ์ 2559
5
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อจัดทำรายงานงวดที่ 1 ส่ง สสส.
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดทำรายงานกิจกรรมที่ยังไม่ได้บันทึก
  • ตรวจแก้เอกสารการเงิน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สามารถบันทึกรายงานกิจกรรมที่ผ่านมาได้ทั้งหมด
  • เอกสารการเงินได้รับการตรวจสอบ แนะนำการแก้ไขจากพี่เลี้ยง
  • ต้องขยายเวลาดำเนินงานโครงการในงวดที่ 1 เนื่องจากมีการใช้จ่ายงบประมาณไม่ถึง ร้อยละ 50 ของงบประมาณโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • นายปรีชา ด่านกุลชัย ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • คณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ (ครั้งที่3)15 มกราคม 2559
15
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลกิจกรรมเดือนธันวาคม 2558
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมเพื่อสรุปผลการจัดกิจกรรมอบรมเครื่องมือประมง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ที่ประชุมได้มีการประเมินผลการอบรมกฏหมายประมง พบว่า ทำให้ชาวบ้านเข้าใจกฏหมายประมงชายฝั่งเพิ่มขึ้นในหลายเรื่อง เช่น เครื่องมือที่ผิดกฎหมาย เขตพื้นที่ชายฝั่งที่กฏหมายกำหนดในประมงในการทำประมงแต่ละประเภท เรื่องการต่ออาชบัติเครื่องมือประมงและการต่อทะเบียนเรือ การจัดตั้งองค์กรชุมชน ตามกฏหมายประมงกำหนด การตั้้งกลุ่มอาชีพ ประมงชายฝั่ง
  • การอบรมที่ผ่านมา มีผู้ให้ความสนใจมาก เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว จากที่วางแผนไว้ จะอบรม 80 คน แต่กลับมีผู้เข้าร่วมกว่า 200 คน ทำให้อาหารไม่เพียงพอ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • ชาวบ้านหมู่ที่ 7 ปากกะแดะ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ชุมชนยังต้องเรียนรู้เรื่องกฏหมายประมงที่ยังมีการเปลี่ยนแปลง ยังต้องติดตามมาตราที่ 34 ของกฏหมายประมงและกฏหมายลูกยังไม่เรียบร้อย
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ถอดบทเรียนการทำงานครั้งที่ 1 (สื่อ สสส. ลงพื้นที่)9 มกราคม 2559
9
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อต้อนรับสื่อจาก สสส.มอ. มีการทำถ่ายทำลงพื้นที่โครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นำสื่อลงถ่ายทำในพื้นที่จะปลูกป่าชายเลน พื้นที่อนุรักษ์ของชุมชน พื้นที่จะลงบ้านปลา และพื้นที่ลำคลองที่จะทำกิจกรรมเรื่องคุณภาพน้ำและขยะ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • แกนนำและชุมชนมีความเข้าใจถึงสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์เพื่อความยั่งยืนของฐานทรัพยกรในท้องถิ่น โดยเรื่องป่าชายเลน เรื่องขยะ และเรื่องความมั่งคงทางอาหารทางทะเล เพราะได้มีการพูดคุยถอดบทเรียน ความรู้กับนายถนอม ขุนเพชร
  • ทีมสื่อจาก สสส. ถ่ายทำสื่อโดยการสัมภาษณ์คณะทำงาน และลงไปถ่ายทำบรรยากาศชุมชนในพื้นที่จริง ที่คลองกะแดะ ปากน้ำกระแดะ พื้นที่จะปลูกป่าชายเลน พื้นที่อนุรักษ์ของชุมชน พื้นที่จะลงบ้านปลา และพื้นที่ลำคลองที่จะทำกิจกรรมเรื่องคุณภาพน้ำและขยะ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • เจ้าหน้าที่ สสส.มอ จำนวน 8 คน
  • คณะทำงานโครงการ 10 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • วันนี้ทีมถ่ายทำไม่สามารถลงดูพื้นที่ว่างบ้านปลาเนื่องจากน้ำทะเลหนุนสูง
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

อบรมและแลกเปลี่ยนข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประมงและทรัพยากรชายฝั่ง14 ธันวาคม 2558
14
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้ชาวบ้านรู้ถึงกฏหมายประมง และ เครื่องมือที่ผิดกฎหมาย
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เชิญวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกฏหมายกับประมงชายฝั่ง และการจัดตั้งกลุ่ม องค์กรชุมชนตามกฏหมายประมง
  • เชิญวิทยากรประมงอำเภอ นายประภาส ขาวหนูนา และ อ.ประวีณ จุลภักดี นายสุภาษิต อินทรภิรมณ์ นายเชวง กาญจนดิษฐ์ มาร่วมเป็นวิทยากร
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การอบรมเรื่องข้อกฎหมายใหม่ และข้อกฎหมายที่มีการเปลี่ยนแปลงของการทำประมงและทรัพยากรชายฝั่งตามประกาศของ คสช. โดยเชิญวิทยากรที่มีความรู้จากประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายประภาส ขาวหนูนา นายประวีณ จัลภักดี จากมูลนิธิป่าทะเลเพื่อชีวิต นายสุภาษิต อินทรภิรมณ์ และนายเชวง กาญจนดิษฐ์ ทำให้ชาวบ้านเข้าใจกฏหมายประมงชายฝั่งทำให้ชาวบ้านเข้าใจกฏหมายประมงชายฝั่งมากขึ้น โดยเรื่องที่อบรม คือ

    • เครื่องมือที่ผิดกฎหมาย มีสาระสำคัญ
    • เขตพื้นที่ชายฝั่งที่กฏหมายกำหนดในประมงในการทำประมงแต่ละประเภท
    • เรื่องการต่ออาชบัติเครื่องมือประมงและการต่อทะเบียนเรือ
    • การจัดตั้งองค์กรชุมชน ตามกฏหมายประมงกำหนด
    • การตั้้งกลุ่มอาชีพ ประมงชายฝั่ง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 200 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • ชาวบ้านหมู่ที่ 7 ปากกะแดะ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • มีคนสนใจมาเข้าร่วมอบรมเกินเป้าหมายที่วางไว้ จนทำให้ไม่มีอาหารพอสำหรับคนเข้าร่วมกิจกรรม
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พี่เลี้ยงเป็นวิทยากรอบรมการจัดทำรายงาน และการจัดทำเอกสารการเงิน12 ธันวาคม 2558
12
ธันวาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย Yuttipong Kaewtong
circle
วัตถุประสงค์

สร้างความเข้าใจเรื่องการจัดทำรายงาน และการจัดทำเอกสารการเงิน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำรายงาน และการจัดทำเอกสารการเงิน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงาน เข้าใจการจัดทำบัญชี รายรับ - รายจ่าย และการหักบัญชี ณ ที่จ่าย 1% 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

การติดตามจาก สจรส.ม.อ. (ครั้งที่ 2)12 ธันวาคม 2558
12
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อแลกเปลี่ยนการดำเนินงานโครงการท้องถิ่นน่าอยู่
  • เพื่ออบรมการจัดทำรายงาน และการจัดทำเอกสารการเงิน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง สอนเรื่องการตัดทำรายงาน และการจัดทำเอกสารการเงินแบบหักภาษี ณ ที่จ่าย
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงาน เข้าใจการจัดทำบัญชี รายรับ - รายจ่าย ของโครงการมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการหักบัญชี ณ ที่จ่าย 1% โดยมีรายละเอียดดังนี้

    • ค่าตอบแทนวิทยากร ที่จ่ายตั้งแต่ 1000 บาทเป็นต้นไป ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% เพื่อนำส่งให้สรรพากร ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป วิธีการแก้ไข คือ ให้จ่ายค่าตอบแทนวิทยากรเป็นชั่วโมงละ 600 บาท x 1.5 ชั่วโมง เป็นเงิน 900 บาท จะได้ไม่ต้องหักภาษี
    • ค่าจัดทำไวนิลโครงการ เป็นค่าจ้าง โครงการต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 แต่ถ้าเกิน 1000 บาท ทางร้านต้องจ่ายภาษีเงินได้ ร้อยละ 1 ด้วย
    • ค่าอาหาร หากเกิน 5000 บาท ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 1
    • สินค้าที่มีใบเสร็จ ใบกำกับภาษีจากร้านค้าแล้ว ไม่ต้องเสียภาษีเพิ่ม เช่น ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าถ่ายเอกสาร
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • นายปรีชา ด่านกุลชัย ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • นางสาวภัทรียา กลิ่นคล้าย คณะทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ใบเสร็จร้านค้าในชุมชนไม่มีใบกำกับภาษี ต้องใช้ใบสำคัญรับเงินแทน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ (ครั้งที่ 2)4 ธันวาคม 2558
4
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรมอบรมกฎหมาย
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมวางแผนการจัดกิจกรรมอบรมกฎหมายประมง และการเชิญวิทยากร
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการเตรียมงานเป็นไปตามที่คาดหมายไว้ โดยที่ประชุมได้ชี้แจงการเชิญวิทยากรในการอบรม ดังนี้

    • วิทยากรจากประมงอำเภอกาญจนดิษฐ์ได้ทำการเชิญเป็นที่เรียบร้อย
    • มีการเชิญวิทยากรร่วมจากมูลนิธิป่า-ทะเลเพื่อชีวิต และเครือข่ายอ่าวบ้านดอนเป็นวิทยากรร่วมด้วย
    • มีการกำหนดแนวทางการเชิญกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมทั้งสองชุมชนฝั่งคลองกะแดะ คือ ชุมชน ม.7 ต.กะแดะ และชุมชน ม.6 ต.พลายวาส
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 8 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย
  • กรรมการชุมชน ม.7 ต.กะแดะ
  • กรรมการชุมชน ม.6 ต.พลายวาส
  • กลุ่มประมงพื้นบ้าน
  • ครูโรงเรียนบ้านปากกะแดะ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • กิจกรรมล่าช้า เนื่องจากรอช่วงน้ำในคลองเพิ่มขึ้น ที่ส่งผลต่อการออกเรือประมง
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

คืนเงินเปิดบัญชี26 ตุลาคม 2558
26
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อคืนงานค่าเปิดบัญชี
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ทำเอกสารคืนเงินค่าเปิดบัญชี
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นายปรีชาได้รับเงินค่าเปิดบัญชีโครงการคืน 500 บาท
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย
  • นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่26 ตุลาคม 2558
26
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อผลิตสื่อรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ในพื้นที่
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • สั่งผลิตไวนิลตามขนาดที่โครงการกำหนด
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้สื่อรณรงค์ตามเงื่อนไขที่โครงการกำหนด คือ ป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ในสถานที่ประชุม เพื่อนำมา ติดตั้งภายในชุมชน ในสถานที่ประชุม ให้คนในชุมชนได้เกิดจิตสำนึกในการไมาสูบบุหรี่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย
  • กองเลขาคณะทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-ไม่มี-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-ไม่มี-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-ไม่มี-

ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ (ครั้งที่ 1)26 ตุลาคม 2558
26
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อหารือปฏิทินงานตามแผนงานโครงการ และมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ชี้แจงรายละเอียดโครงการ และการสนับสนุนงบประมาณของ สสส.
  • วางแผนกิจกรรมในแต่ละเดือน
  • มอบหมายภารกิจรับผิดชอบ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการประชุม สามารถสรุปผลการประชุมได้ดังนี้

  • กำหนดการจัดเวทีอบรมกฎหมายประมงพื้นบ้าน โดยเป็นช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน
  • แบ่งการจัดอบรมเป็น 2 วัน วันแรกอบรมกฎหมาย โดยเชิญนิติกรสำนักงานประมงจังหวัด, ประธาน ทสจ.สุราษฎร์ธานี และเครือข่ายประมงพื้นบ้านใน อ.กาญจนดิษฐ์ มาร่วมนำเสนอแลกเปลี่ยน วันที่สอง กำหนดกฎกติกาชุมชนในกลุ่มประมงพื้นบ้านบ้านปากกะแดะ
  • จะต้องให้ได้กฎกติกากลุ่ม เพื่อเป็นผลเชื่อมโยงไปสู่การดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ในชุมชนและภายใต้โครงการ
  • สถานที่ใช้ศาลาโรงเรียนบ้านปากกะแดะ ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้ และนักเรียนได้มาร่วมเรียนรู้ด้วย
  • ประสานผู้เข้าร่วมภายใน 2 ชุมชนริมคลองกะแดะ คือ หมู่ 7 ต.กะแดะ และ หมู่ 6 ต.พลายวาสเข้าร่วม โดยแจ้งในเวทีประชุมหมู่บ้าน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • กรรมการหมู่บ้าน 10 คน
  • คณะทำงานโครงการ 5 คน
  • อสม. 5 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • งบประมาณมาช้า ทำให้ต้องเลื่อนแผนกิจกรรมออกไปทุกแผน อย่างน้อย 1 เดือน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-ไม่มี-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-ไม่มี-

การประชุมปฐมนิเทศน์โครงร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม (ครั้งที่ 1)3 ตุลาคม 2558
3
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายปรีชา ด่านกุลชัย
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อทราบแนวทางการดำเนินโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • กระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ การทำงานร่วมกันระหว่าง สจรส.ม.อ. โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
  • สังเคราะห์ผลของโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ โดยคุณถนอม ขุนเพ็ชร์
  • การเข้าใช้ระบบเวบไซต์คนใต้สร้างสุข www.happynetwork.org โดย คุณภานุมาศ นนทพันธ์ และคุณสุทธิพงษ์ อุสาหพงษ์สิน
  • ผู้รับผิดชอบโครงการกรอกข้อมูลรายละเอียดโครงการลงในเว็บไซต์รายละเอียดโครงการ (วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด กิจกรรม และงบประมาณ) แผนภาพเชิงระบบโครงการกำหนดปฏิทินการดำเนินงานใน 1 ปี รายงานผู้รับผิดชอบ
  • การบริหารจัดการโครงการการรายงานผลผ่านเว็บไซต์ การทำรายงานโครงการและรายงานการเงิน โดย อ.กำไล สมรักษ และนางสุดา ไพศาล
  • ทำรายงานบันทึกกิจกรรมประชุมปฐมนิเทศโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สสส. = สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ นำเงิยภาษีเหล้าบุหรี่ = 100 + 2% มาใช้ในการทำงานพัฒนา โดยมีจุดมุ่งหมาย = พัฒนาขีดความสามารถของคน ----> ความสามารถของชุมชน---->ชุมชนเข้มแข็งจัดการตนเองได้----->สุขภาวะของชุมชน
  • ชุมชนน่าอยู่ = ชุมชนจัดการตนเองได้ ในเรื่องรู้จักใช้ข้อมูล รู้จักวางแผนการทำงานเป็นขั้นตอน รู้จักบริหารจัดการงาน/คน/เงิน มีกลไกในการขับเคลื่อนชุมชน มีกลุ่มที่กระตือรือร้นที่จะจัดการกับงาน มีธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้
  • สจรส.มอ. = สถาบันการจัดการระบบสุขภาพมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีทีมพี่เลี้ยงระดับจังหวัด = หนุนเสริม ช่วย = ตัวช่วย ไม่ตรวจสอบ
  • กิจกรรมที่ต้องลงใน website

    • ปฐมนิเทศ วันนี้3-4 ตุลาคม 58 อาคารเรียนรวม 5 ม.วลัยลักษณ์ จ.นครศรีฯ ใช้เงินไปเท่าไร
    • การประชุมชี้แจงชุมชน (พี่เลี้ยงลงครั้งที่1 )
    • ต้องมีการรายงานผลการดำเนินงานกับที่ประชุม คณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน และการปิดงวดแต่ละครั้งต้องแนบรายงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน ถ้าไม่มีรายงานจะไม่ปิดงวดให้
  • การลงของพี่เลี้ยงอีกอย่างน้อย 2 ครั้ง - ปิดงวด

    • สังเคราะห์ / ทำรายงาน
    • (การให้ สจรส. ตรวจสอบ)
    • กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำเอกสารการเงินอย่างน้อย 2 เดือน การปิดงวด 1 และการปิดโครงการ
  • หลักฐานที่ต้องมี

  1. ใบลงทะเบียน
  2. ใบสำคัญรับเงิน ช่องสัญญาเลขที่ ใส่ เลขสัญญาข้อตกลง ค่าเดินทาง ระยะทาง กิโลละ 4 บาท
  3. ใบเสร็จรับเงินที่ทางร้านออกให้
  • การเบิกเงิน ให้ดูว่าเดือนนั้นมีกี่กิจกรรมแล้วให้เบิกให้พอกับกิจกรรม ห้ามมีเงินสดในมือเกิน 5,000
  • การจัดทำรายงาน ทำตามขั้นตอน คือ โครงการในความรับผิดชอบ -----> คลิกโครงการเรา----->ใส่แผนที่-----> ใส่งวดสำหรับทำรายงาน---> ใส่รายละเอียดแผนงาน -----> ประชุมปฐมนิเทศร่วมกับ สจรส.ม.อ. -----> รายละเอียดขั้นตอน 1 ฟังบรรยาย 2ปฏิบัติ----->ใส่ภาพกิจกรรม พร้อมเขียนบรรยาย
  • การส่งรายงาน -----> รายรายผู้รับผิดชอบ ----->รายงาน ง.1-----> ใส่รายละเอียด ส่วนที่ 2 เงินเปิดสมุดให้ใส่ในเงินรับอื่น ----->กดพิมพ์

    • รายงาน ส 1-----> สร้างรายงาน ส1-----> เพิ่ม ปัญหา อุปสรรค-----> กดพิมพ์ ปิดโครงการ----->ส่งรายงาน ง2----->กดพิมพ์
    • รายงาน ส3 คือรายงานฉบับสมบูรณ์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • นายปรีชา ด่านกุลชัย ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • นางสาวภัทรียา กลิ่นคล้าย คณะทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-