แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ผักปัญญาอ่อนสร้างสุขบ้านแขก ”

บ้านแขก ม.13 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นาย สานิตย์ แดงนวล

ชื่อโครงการ ผักปัญญาอ่อนสร้างสุขบ้านแขก

ที่อยู่ บ้านแขก ม.13 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03917 เลขที่ข้อตกลง 58-00-1885

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2015 ถึง 15 ตุลาคม 2016


กิตติกรรมประกาศ

"ผักปัญญาอ่อนสร้างสุขบ้านแขก จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านแขก ม.13 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ผักปัญญาอ่อนสร้างสุขบ้านแขก



บทคัดย่อ

โครงการ " ผักปัญญาอ่อนสร้างสุขบ้านแขก " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านแขก ม.13 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 58-03917 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 205,875.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 215 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เกิดการทำเกษตรอินทรีย์โดยการใช้ภูมิปัญญาการปลูกผักปัญญาอ่อน(ผักที่ใช้น้ำน้อย) แบบดั้งเดิมคือการเผาหน้าดินเพื่อปรับ PH ของดิน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนธาตุในดิน เพื่อทำลายเม็ดหญ้าที่อยู่บนผิวดิน การคลุมฟาง เพื่อรักษาน้ำในดิน
  2. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาการปลูกผักปัญญาอ่อน
  3. เพื่อนำพื้นที่ว่างเปล่าของครัวเรือนมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดนการทำแปลงปลูกผัก เกิดความรัก สามัครคีในครัวเรือน
  4. เพื่อให้เกิดกลุ่มสภาผู้นำในชุมชนที่สามารถขับเคลื่อนสู่ชุมชนเข้มแข็งได้
  5. เพื่อให้ครัวเรือนสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้
  6. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศร่วมกับ สจรส เดือน กันยายน 2558

    วันที่ 4 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมประชุมการดำเนินโครงการของ สสส.จากทีมงานตัวแทน สจรส มอ บรรยายและทีมพี่เลี้ยง ได้รับการแนะนำขั้นตอนในการลงกิจกรรมของโครงการ การปรับตัวชี้วัดให้ตรงกับวัตถุประสงค์ ปรับกิจกรรมให้ตอบตัวชี้วัด กิจกรรมที่จะต้องลงมีดังต่อไปนี้ กิจกรรมปฐมนิเทศ กิจกรรมชี้แจงชุมชนในการดำเนินงาน จากนั้นมีการชี้แจงกิจกรรมที่จะต้องทำ การเตรียมทีม การเตรียมกิจกรรม พร้อมทั้งชี้แจงเรียนการเงินการลงรายละเอียดและเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการเบิกจ่าย การลงข้อมูลในเวปคนใต้สร้างสุข จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานตลอดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 2 คน
    2. ได้ทำความเข้าใจในการลงเว็บไซร์ร่วมกัน

    ผลลัพธ์ ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจในการลงเว็บไซต์ และสามารถลงรายละเอียดโครงการ วางแผนการดำเนินงานโดยลงปฏิทินการทำกิจกรรมในเว็บไซต์ได้

     

    2 2

    2. ประชุมพัฒนาศักยภาพผู้นำ เดือนตุลาคม ครั้งที่ 1

    วันที่ 10 ตุลาคม 2015 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา 13.00-17.00 น ณศาลาเฉลิมพระเกีรติ ม.13 ต.ท่าขึ้น ผู้ใหญ่บ้าน น.ส.กัญญา สุทธิรักษ์เป็นประธานในการประชุมเพื่อ 1.ชี้แจงงบประมาณในงวดที่1 2.ร่วมกำหนดวันเปิดโครงการ 3.แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ 1.รายชื่อสภาผู้นำมี1.นายชวนชิต สุทธิรักษ์ 2.นางนุชรีย์ ไพนุพงษ์ 3.นางบุญพิน คงสิงห์ 4.นางสุขี สุทธิรักษ์ 5.นายบุญชู สบเหมาะ 6.นายสมศักดิ์ ทั่วด้าว 7.นางสุภานี สบเหมาะ 8.นางสาวขวัญฤทัย อินทอง 9.นางมาลัย คงนาน 10.นายหนูราย หนูทรัพย์ 11.นายสานิตย์ แดงนวล 12.นางอำไพ เชาวลิต 13.นางสุจิน ส้มแป้น 14.นางสมใจ ทั่วด้าว 15.นายวิเชียร จันทร์ชุม 16.นางล่วน ณนคร 17.นายศรชัย วิชัยนุรักษ์ 18.นางไพศรี เชาวลิต 19.นางสาวกัญญา สุทธิรักษ์ 20.นางสาวอุวนิช สบเหมาะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผู้เข้าร่วมประชุมสภาผู้นำจำนวน 20คน
    2. ได้คณะทำงาน 1ชุดจำนวน 20คน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบตามความถนัด

    ผลลัพธ์ รายชื่อสภาผู้นำมี
    1.นายชวนชิต สุทธิรักษ์ 2.นางนุชรีย์ ไพนุพงษ์ 3.นางบุญพิน คงสิงห์ 4.นางสุขี สุทธิรักษ์ 5.นายบุญชู สบเหมาะ 6.นายสมศักดิ์ ทั่วด้าว 7.นางสุภานี สบเหมาะ 8.นางสาวขวัญฤทัย อินทอง 9.นางมาลัย คงนาน 10.นายหนูราย หนูทรัพย์ 11.นายสานิตย์ แดงนวล 12.นางอำไพ เชาวลิต 13.นางสุจิน ส้มแป้น 14.นางสมใจ ทั่วด้าว 15.นายวิเชียร จันทร์ชุม 16.นางล่วน ณนคร 17.นายศรชัย วิชัยนุรักษ์ 18.นางไพศรี เชาวลิต 19.นางสาวกัญญา สุทธิรักษ์ 20.นางสาวอุวนิช สบเหมาะ

    ผลสรุปที่สำคัญ คณะกรรมการหมู่บ้านและผู้รับผิดชอบโครงการได้แบ่งหน้าที่กันทำงานและร่วมกันวางแผนดำเนินงาน ตามกิจกรรมทุกๆกิจกรรมในโครงการ

     

    20 20

    3. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 13 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่ ตามที่ สสส กำหนด ติดในสถานที่จัดกิจกรรมของโครงการในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิตมีป้ายเขตปลอดบุหรี่ ตามมาตราฐานที่สสส กำหนด จำนวน 1 ป้ายติดในสถานที่จัดทำกิจกรรมของโครงการ ผลลัพธ์กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่มีการสูบบุหรี่ ในเวลาการจัดกิจกรรมกลุ่มเป้าหมายเกิดจิตสำนึกงดสูบบุหรี่ในวันจัดกิจกรรม

     

    2 2

    4. ประชุมชี้แจงโครงการ

    วันที่ 17 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา 09.00 น ประธานโครงการ 1. น.ส.กัญญา สุทธิรักษ์ ประธานโครงการชี้แจงรายละเอียดโครงการ เล่ารายละเอียดในการขอโครงการตามขั้นตอนตั้งแต่ฟังคำชี้แจงจากพี่เลี้ง คือ ศุภกิจ กลับช่วย ร่วมพัฒนาโครงการกับพี่เลี้ยงในพื้นที่และ สจรส มอ จนถึงโครงการได้รับการสนับสนุนงบประมาณให้กับสมาชิกในหมู่บ้านและหมู่บ้านไกล้เคียงฟัง 2.นาย สุพจน์ เอี่ยมสกุลเวช กำนันตำบลท่าขึ้น และนายบุญโชค แก้วแกม นายกอบต คุยเรื่อง สสส คืออะไร ทำไมหมู่บ้านถึงได้รับสนับสนุนงบประมาณ 3.นายศุภกิจ กลับช่วย ชี้แจงขั้นตอนการของบประมาณ และแนะนำผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้ร่วมโครงการรวมถึงการรับสมัครและแต่งตั้งสภาผู้นำหมู่บ้าน 12.00 ร่วมรับประธานอาหารร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมประชุม 145 คน ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ 75 คน โดยผู้เข้าร่วมโครงการได้รับฟังรายละเอียด วัตถุประสงค์การโครงการ กำหนดการการดำเนินกิจกรรมของโครงการ ทำให้มีความเข้าใจในการดำเนินงานของโครงการ และตกลงร่วมกันตามข้อกำหนดของโครงการ

     

    140 140

    5. สร้างเครื่องมือและสำรวจข้อมูล

    วันที่ 24 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่ 23 ตค 2558 เวลา09.00-09.30 น ผู้เข้าประชุมลงทะเบียนที่ศาลาหมู่บ้านม.13 ต.ท่าขึ้น 09.30-12.00 น ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมกันออกแบบสำรวจข้อมูลโดยมี นางจารุวรรณ ไชยณรงค์ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ม.13 ตัวแทนเยาชน 15คน วัยทำงาน20คน เข้าร่วมออกแบบสำรวจด้วยดังมีรายละเอียดดังนี้1.ข้อมูลสภาพทั่วไป ด้านอาชีพด้านการศึกษา 2.ข้อมูลพื้นที่ทำกิน 3.ข้อมูลรายได้อาชีพหลัก อาชีพเสริม 4.ข้อมูลด้านสุขภาพ ที่ประชุมตกลงร่วมกันให้กลุ่มเยาวชนและวัยทำงานร่วมกันสำรวจข้อมูลโดยแบ่งออกเป็น 5กลุ่มตามคุ้มบ้าน คุ้มบ้านแขก มีผู้ร่วมสำรวจ 6คน กลุ่มบ้านมะม่วงทอง มีผู้ร่วมสำรวจ 6คน กลุ่มวัดป่าตะวันตกมีผู้ร่วมสำรวจ 6คน กลุ่มวัดป่าตะวันออกมีผู้ร่วมสำรวจ 6 คน และกลุ่มในโคร๊ะ มีผู้ร่วมสำรวจ 5คน และได้กำหนด วันที 24 ตค 2558 ทำการสำรวจข้อมูลทั้ง 119 ครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำและตัวแทนชุมชนจำนวน 34 คนได้ร่วมกันออกแบบสอบถามในการสำรวจข้อมูลชุมชนเกี่ยวกับข้อมูลสภาพทั่วไป ด้านอาชีพด้านการศึกษา ข้อมูลพื้นที่ทำกิน ข้อมูลรายได้อาชีพหลัก อาชีพเสริม และข้อมูลด้านสุขภาพ จากร่วมกันพูดคุยแลกเปลี่ยนเพื่อออกแบบสำรวจตามจากสภาพแวดล้อมที่เป็นบริบทของชุมชน และมีฐานข้อมูลของชุมชนที่ได้จากการสำรวจของเยาวชน จากจำนวนครัวเรือน 119 ครัวเรือน โดยแบ่งการสำรวจเป็นกลุ่ม 5 กลุ่มตามคุ้มบ้าน เยาวชนได้ร่วมฝึกทักษะประสบการณ์ในจัดเก็บข้อมูลของชุมชนเกิดกระบวนการมีส่วนร่วม ความตระหนักมีฐานข้อมูลของชุมชน

     

    35 34

    6. วิเคราะห์ข้อมูลหาสาเหตุปัจจัย รายรับรายจ่าย หนี้ของครัวเรือนและชุมชน

    วันที่ 28 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.00-09.30 น ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียนพร้อมกันที่วัดป่าท่าขึ้น โดยมีเด็กวัยเรียน 15 คน วัยทำงาน 26 คน 09.30-11.30 น ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมกันสรุปข้อมูลพื้นฐานชุมชนจากการสำรวจวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจหาสาเหตุปัจจัยรายรับรายจ่าย ภาระหนี้สินและการดำเนินชีวิตภาพรวมของหมู่บ้านพบว่า มีครัวเรือน 119 ครัวเรือนมีประกรทั้งสิ้น 563 คน แยกเป็นชาย 278 คน หญิง 285 คน ทุกครัวเรือนมีที่ทำกินเป็นของตัวเอง กลุ่มด้านอาชีพ เกษตรกร 90 ครัวเรือน ค้าขาย 10 ครัวเรือน รับจ้าง 19 ครัวเรือน กลุ่มมีหนี้สิน ธกส และธนาคารหมู่บ้าน 87 ครัวเรือน ส่วนใหญ่กู้เพื่อการลงทุนทำการเกษตร ด้านสุขภาพ มีผู้ป่วยเรื้อรัง 41 คน ผู้พิการ 14 คน ผู้สูงอายุ 95 คนและได้ร่วมกันตกลงจัดเวทีคืนข้อมูลในวันที่ 20 พย 2558

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สภาผู้นำและตัวแทนในชุมชนผู้เข้าร่วมประชุม 38 คน ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจำนวน 119 ครัวเรือน มีการสรุปผลการวิเคราะห์ สาเหตุปัจจัยรายรับรายจ่าย ภาระหนี้สินและการดำเนินชีวิตทุกครัวเรือนมีที่ทำกินเป็นของตัวเอง มีกลุ่มมีหนี้สิน ธกส และธนาคารหมู่บ้าน 87 ครัวเรือน โดยสรุปเตรียมนำเสนอคืนข้อมูลให้ชุมชนรับทราบ และให้ชุมชนร่วมกันวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน
    2.ทำให้ทราบข้อมูลของครัวเรือนในเรื่องของปัญหาเรื่องหนี้สิน ปัญหารายรับน้อยกว่ารายจ่าย

     

    35 38

    7. ประชุมพัฒนาศักยภาพผู้นำ เดือน พฤศจิกายน ครั้งที่ 2

    วันที่ 10 พฤศจิกายน 2015 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมเวลา 9.00 น เรื่อง การขอเปลี่ยนแปลงการทำกิจกรรมการเพาะต้นกล้า มาทำในวันที่ 22 ธค 2558 เพื่อที่จะได้ปลูกในเดือน กพ 2559 ให้ทันกับต้นฤดูกาลเพาะปลูก และเลื่อนกิจกรรมสรุปบัญชีครัวเรือน ไปไว้ในงวดถัดไปเหตผลที่ต้องเพราะต้นกล้าในเดือน ธ.ค เพราะเดือน ธ.ค เป็นเดือนที้ฝนตกมากกรรมการจึงลงความเห็นตรงกันว่าให้เพราะต้นกล้าใส่แผงไว้เพื่อจะได้มีต้นกล้าปลูกกันตอนฝนอยุดตก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำจำนวน 16 คน ได้เข้าร่วมประชุมและร่วมกันสรุปปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำกิจกรรมเพาะต้นกล้า โดยเลื่อนกิจกรรมให้เหมาะสมกับพื้นที่ พร้อมทั้งแบ่งหน้าที่ความผิดชอบในการช่วยกันจัดกิจกรรมเป็น 5 กลุ่ม ให้หัวหน้ากลุ่มแต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่ให้สมาชิกในกลุ่มตามความถนัดของแต่ละคนแล้วนัดวันเพื่อมาทำกิจกรรมร่วมกัน

     

    20 16

    8. จัดเวทีคืนข้อมูลจากการสำรวจ รับสมัครและกำหนดกติกา

    วันที่ 20 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา 10.00 น ที่ศาลาเฉลิมพระเกีรติ ม.13 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา นายสานิตย์ แดงนวล ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงผลสรุปกิจกรรมสำรวจข้อมูลที่ได้สำรวจมา เรื่องรายรับรายจ่ายในครัวเรือนและปัญหาหนี้สิน ผลจาการสำรวจมีครัวเรือนทั้งหมด119ครัวเรือน ประชากรทั้งสิ้น563 คน เป็นชาย278 คนหญิง285คน ทุกครัวเรือนมีที่ทำกินเป็นของตัวเองมีอาชีพเกษตรกร90ครัวเรือน ค้าขาย10ครัวเรือน รับจ้าง19ครัวเรือน ภาระหนี้สิน 87ของครัวเรือนมีรายรับน้อยกว่ารายจ่าย 87 ของครัวเรือนมีหนี้สิน(ธนาคารหมู่บ้าน กองทุนหมู่บ้าน ธกส) ด้านสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรัง41คน พิการ14คน ผู้สูงอายุ95คน และร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพื่อหาวิธีการลดค่าใช้จ่าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนครัวเรือน 143 คน ได้เข้าร่วมกันรับทราบข้อมูลจากการสำรวจจากกลุ่มเยาวชนและวัยทำงานแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันทำให้เห็นปัญหาของหมู่บ้านมีความตระหนักที่จะช่วยกันแก้ปัญหาและเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ มีผู้สนใจเข้าร่วม 75 ครัวเรือน และได้แบ่งกลุ่มและกำหนดกติการ่วมกันดังนี้

    1. ผู้เข้าร่วม 75 คน
    2. ได้วิธีการลดค่าใช้จ่ายโดยสรุป ใช้วิธีการลดรายจ่ายในครัวเรือนก่อน สมาชิกได้ลงมติร่วมกันเพื่อปลูกผักทุกชนิดที่ใช้ในครัวเรือนเช่นผักที่กินได้ตลอดทั้งปี พริก มะเขือ ตะใคร้ ใบมะกรูด มะนาว หอมแบ่ง ชะอม กะเพรา โหระพา และหน่อไม้ฝรั่ง และผักอายุสั้น ผักกาด ผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้าและที่สำคัญต้องปลูกแบบประหยัดน้ำ เช่นปลูกรวมกันหลายชนิด เช่นมะเขือ หอมแบ่ง และผักอายุสั้นสามารถปลูกร่วมกันได้กำหนดกลุ่มตามคุ้มบ้านเพื่อสะดวกในการทำงานโดยแบ่งเป็น 5กลุ่มตามคุ้มบ้านเพื่อสะดวกในการทำกิจกรรม
    3. แบ่งกลุ่มตามคุ้มบ้าน 5 กลุ่ม ดังนี้ 1.กลุ่มมะม่วงทอง นางสุจิน ส้มแป้น เป็นประธานกลุ่ม สมาชิก15คน 2.กลุ่มบ้านแขก นายสมศักดิ์ ทั่วด้าวเป็นประธานกลุ่มสมาชิก 15 คน 3. กลุ่มวัดป่าตะวันตก นางมาลัย คงนาน เป็นประธานกลุ่ม มีสมาชิก 15 คน 4. กลุ่มวัดป่าตะวันออก นางสุภาณี สบเหมาะ เป็นประธานกลุ่ม มีสมาชิก 15 คน 5. กลุ่มในโคร๊ะ นางบุญพิน คงสิงห์ เป็นประธานกลุ่ม มีสมาชิก 15 คน
    4. เกิดกติกากลุ่มในการปลูกผักทุกชนิดไว้ในบริเวณบ้านของตัวเอง คือ
    • ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการจะต้องมีการปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือนอย่างน้อยครัวเรือนละ 5-10 ชนิด
    • ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการต้องให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทุกๆกิจกรรม
    • ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการจะต้องมีการทำบัญชีครัวเรือน
    • หลังเสร็จสิ้นโครงการจะต้องมีการคืนเมล็ดพันธ์ให้ชุมชนเพื่อให้ผู้สนใจในครัวเรือนอื่นๆเพื่อให้เกิดการต่อเนื่อง

     

    140 143

    9. การติดตามจาก สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 6 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.00น.ลงทะเบียนเข้าร่วมฟังคำชี้แจงการเขียนรายงาน อาจารย์ กำไล ชี้แจงการเขียนรายงานและเครื่องสำรวจการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาเขียนเป็นรายงาน อาจารย์ สุทธิพงศ์ ชี้แจงรายงานการเงิน และกานหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% พร้อมลงมือปฏิบัติจริง ทีมงาน สจรส มอ พร้อมพี่เลี้ยงช่วยกันตรวจสอบเอกสารพร้อมแนะนำการเขียนรายงานและการจัดทำเอกสารที่ถูกต้อง บันทึกกิจกรรมปฏิบัติในวันที่ผ่านมาพร้อมเขียนใบสำคัญรับเงินค่าเดินทาง จากการตรวจสอบเอกสารบางอย่างต้องแก้ไขเพิ่มเติมเช่นรายละเอียดการเขียนใบสำคัญรับเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมโครงการ 2คนนางสาวมาลัย คงนาน และนางสาวอุวนิช สบเหมาะ เข้าร่วมเรียนรู้การบันทึกกิจกรรม และเรียนรู้เรื่องการจ่ายภาษี ผลลัพธ์ ผู้เข้าร่วมโครงทั้งสองคนมีความเข้าใจในการลงบันทึกกิจกรรม และการหักภาษี

     

    2 2

    10. ประชุมพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ เดือน ธันวาคม ครั้งที่ 3

    วันที่ 20 ธันวาคม 2015 เวลา 11.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา 11.00 น ประธาน นายชวนชิต สุทธิรักษ์ชี้แจงผลกิจกรรมครั้งที่แล้ว คือคืนข้อมูลจากการสำรวจ และร่วมวางแผนกิจกรรมครั้งนี้ คือ ปฎิบัติการเพาะต้นกล้า มติที่ประชุมได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและตกลงกันว่า จะทำการเพาะพันธ์พริก(พันธ์คุระพังงา)เพราะเป็นพันธ์ที่ทนแล้ง โรค และแมลง และพันธ์มะเขือชนิดต่างๆ เช่นหยาดทิพย์ คางกบ มะเขือยาวม่วง มะเขือยาวเขียว และขาว ซึ่งได้ตกลงวันเพาะคือวันที่ 22ธค 2558 โดยแบ่งเป็น 5กลุ่มตามคุ้มบ้านดังนี้ 1.บ้านมะม่วงทอง 2.บ้านแขก 3.บ้านวัดป่าตะวันออก 4.บ้านวัดป่าตะวันตก 5.กลุ่มบ้านในโคร๊ะ และได้แบ่งการเพาะออกเป็น 2ช่วง คือ เช้า 8.00 น เพาะ 2กลุ่มคือ กลุ่มมะม่วงทอง เพาะที่บ้านหัวหน้ากลุ่มคือ นางเกษร พานทอง โดยเพาะพริกและมะเขือคางกบ และกลุ่มบ้านแขก เพาะบ้านนางสุขี สุทธิรักษ์ พันธ์ผักที่เพาะคือ พริกและมะเขือยาวสีม่วงและสีขาว ช่วงบ่ายเพาะ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มวัดป่าตะวันตก เพาะที่บ้าน นางมาลัย คงนาน ผักที่เพาะ คือ พริกและมะเขือนางพญา กลุ่มวัดป่าตะวันออก เพาะบ้าน นางสุภาณี สบเหมาะ ผักที่เพาะคือ พริกและมะเขือยาวม่วง กลุ่มในโค๊ะ เพาะที่บ้าน นางสุดใจ ทั่วด้าว ผักที่เพาะ คือ พริกและ มะเขือยาวเขียว และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ดังนี้ นายสานิตย์ แดงนวล นางสาวอุวนิช สบเหมาะ และนายอาทิตย์ สมทอง มีหน้าที่จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเพาะ และนัดวันรับวัสดุอุปกรณ์ วันที่ 21 ธค 2558 โดยให้หัวหน้ากลุ่มเป็นตัวแทนกลุ่มมารับวัสดุอุปกรณ์ที่ศาลาหมู่บ้านเพื่อนำเพาะคือวันที่ 22 ธค 2558 และมอบหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับหัวหน้ากลุ่มทุกกลุ่มในการแจ้งข่าวให้กับสมาชิกในกลุ่มของตังเองทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลที่เกิดขึ้นจริง 1.มีผู้เข่าร่วมประชุม 20คน 2.กำหนดให้มี 5 กลุ่มตามคุ้มบ้าน คือ กลุ่มมะม่วงทอง กลุ่มบ้านแขก กลุ่มวัดป่าตะวันออก กลุ่มวัดป่าตะวันตก กลุ่มในโคร๊ 3.กำหนดให้มีการเพาะในวันที่ 22 ธค 2558 โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ เช้า 8.00 น 2 กลุ่มคือ กลุ่มมะม่วงทอง และกลุ่มบ้านแขก ช่วงบ่าย 13.00น 3 กลุ่มคือ กลุ่มวัดป่าตะวันออก วัดป่าตะวันตก และกลุ่มในโคร๊ะ 4.กำหนดวันรับวัสดุ อุปกรณ์ คือวันที่ 21ธค2558

     

    20 20

    11. ปฎิบัติการ เพาะต้นกล้า อนุบาลต้นกล้า

    วันที่ 22 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่22 ธค 2558ได้ปฎิบัติกิจกรรมการเพาะต้นกล้าโดยได้กำหนดออกเป็น 5กลุ่ม ตามคุ้มบ้าน แต่ละกลุ่มใช้บ้านหัวหน้ากลุ่มในการเพาะต้นกล้า มีดังนี้ 1.กลุ่มบ้านแขก เพาะที่บ้านนางสุขี สุทธิรักษ์ พันธ์ผักคือพริก และมะเขือยาวม่วง เพาะเวลา 10.00น จำนวน 24 แผงเพาะ2.กลุ่มมะม่วงทอง เพาะที่บ้านนางเกษร พานทอง พันธ์ผัก พริก และ มะเขือคางกบ เพาะ 10.00น ทำเป็นร่องในการหว่านเมล็ด3.กลุ่มวัดป่าตะวันตก เพาะบ้านนางสาวมาลัย คงนาน พันธ์ผักพริกและมะเขือนางพญา จำนวน24แผงเพาะ เพาะเวลา13.00น 4.กลุ่มในโคร๊ะ เพาะบ้านนางสุดใจ ทั่วด้าว พันธ์ผักพริก และมะเขือยาวเขียว จำนวน 24แผงเพาะเพาะเวลา13.00น5.วัดป่าตะวันออก เพาะที่บ้านนางสุภาณี สบเหมาะ พันธ์ผักพริก และมะเขือยาวม่วง จำนวน 24แผงเพาะ เพาะเวลา 15.00น โดยกำหนดแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการรดน้ำให้กับหัวหน้ากลุ่ม ในการเพาะแต่ละกลุ่มผสมดินเพาะกันเอง โดยมีส่วนผสมดังนี้ ดินที่ผ่านการเผา 2 ส่วน ขุยมะพร้าวที่ผ่านการร่อน 1ส่วน แกบดำ 1% มูลไส้เดือน 1% คลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนนำไปเพาะต้นกล้า แผงเพาะใช้ขนาด100หลุม รดน้ำเช้าเย็นประมาณ 20-25 วันก็สามารถลงแปลงได้ และได้กำหนดให้ วันที่25 มค 2559 ให้สมาชิกมาแบ่งต้นกล้าพันธ์เพื่อไปทำการเพาะปลูก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเพาะต้นกล้า 60 ครัวเรือน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คนตามคุ้มบ้าน ทั้ง 5 กลุ่มได้มีการเพาะพริก และมะเขือโดยทำการเพาะไว้ที่บ้านหัวหน้ากลุ่มตามที่ได้กำหนดไว้ กลุ่มละ 24 แผงเพาะ แผงละ 110 หลุม
    2. ได้กำหนดให้หัวหน้ากลุ่มและสมาชิกภายในกลุ่มสับเปลี่ยนดูแลรักษาพันธ์ุผักจนกว่าจะทำการปลูกได้
    3. กำหนดให้วันที่ 25 มกราคม 2559 ให้สมาชิกมาแบ่งพันธ์ุกล้าเพื่อทำการเพาะปลูกต่อไป

     

    75 60

    12. ประชุมพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ เดือน มกราคม ครั้งที่ 4

    วันที่ 10 มกราคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมเวลา 09.00น ที่ศาลาหมู่บ้านโดยให้กรรมการแต่ละคุ้มบ้านรายงานผลการปฎิบัติในการเพาะกล้าของวันที่ 22ธค 2558 ของแต่ละคุ้มบ้านซึ่งมีผลดังนี้ กลุ่มมะม่วงทองขอหว่านร่อง(มะเขือคางกบ พริก) และผลกล้างอกหางแต่ต้นโตดี กลุุ่มบ้านแขก(มะเขือยาวขาว พริก) กลุ่มวัดป่าตะวันออก(มะเขือยาวเขียว พริก) กลุ่มวัดป่าตะวันตกมะเขือหยาดทิพย์ พริก) และกลุ่มในโคร๊ะ(มะเขือยาวม่วง พริก)งอกดี แต่อากาศร้อนมาก เลยตกลงกันว่าจะต้องมีการสำรองต้นกล้าไว้บ้าง โดยให้นางสุภาณี สบเหมาะหว่านสำรองไว้1ร่อง จากนั้นได้มีการมอบหมายการเตรียมการจัดกิจกรรมเรียนรู้และฝึกปฎิบัติการทำบัญชีครัวเรือนในครั้งต่อไป ดังนี้ นางสุภาณี สบเหมาะ จัดการเรื่องอาหารกลางวัน และเบรค นางสุจิน ส้มแป้น จัดการเรื่องสถานที่จัดกิจกรรม ส่านกรรมการที่เหลือช่วยกันแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำร่วมประชุม 16 คน ได้ร่วมกันพูดคุยสรุปผลจากการเพาะต้นกล้ากลุ่มที่เพาะแผงเพาะ 4 กลุ่มคือ บ้านแขก วัดป่าตะวันออก วัดป่าตะวันตก ในโคร๊ะ ผักงอกดีทุกกลุ่ม ส่วนกลุ่มมะม่วงทองหว่านร่องผักงอกดี ต้นโตดีได้กำหนดหน้าที่ในการทำกิจกรรมครั้งต่อไป คือการทำกิจกรรมฝึกการเรียนรู้การทำกิจกรรมการทำบัญชีครัวเรือนในเรื่องอาหารและเบรค สถานที่ และการประชาสัมพันธ์ในการจัดกิจกรรมให้กับสมาชิกกลุ่มของตัวเองทราบ

     

    20 16

    13. เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการจัดทำบัญชีครัวเรือน

    วันที่ 12 มกราคม 2016 เวลา 09:00 และ 17.00น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้เข้าร่วมโครงการ 75 ครัวเรือนได้ร่วมกันเรียนรู้เรื่องการทำบัญชีครัวเรือนแบบง่ายๆโดยนายสานิตย์ แดงนวล และได้แบ่งการเรียนรู้ออกป็น2ช่วง คือเช้าและบ่าย ตอนเช้า 2กลุ่มคือ กลุ่มมะม่วงทอง และกลุ่มบ้านแขก เรียนรู้ร่วมกันที่ศาลาเฉลิมพระเกีรติ ม.13 ต.ท่าขึ้น ตอ่นบ่าย 3 กลุ่มคือ กลุ่มวัดป่าตะวันตก กลุ่มวัดป่าตะวันออก และกลุ่มในโคร๊ะ เรียนรู้กันที่บ้านหวัหน้ากลุ่มวัดป่าตะวันออกโดยการร่วมกันทำความเข้าใจในการทำบัญชีครัวเรือนแบบง่ายๆเช่นการประหยัดค่าใช้จ่ายดังนี้ เช่น มีทุนในการจ่ายค่ากับข้าววันละ100บาท วันนี้จะทำน้ำพริก 1 ถ้วย พริกเราปลูกแล้ว ลดไป 10 บาท ผักจิ้ม มะเขือผักยอดต่างๆเราปลูกกันแล้วประหยัดอีก 20 บาทมะนาว10บาทไม่ต้องซื้อ ที่เหลือเป็นกะปิ น้ำตาล ประมาณ10บาทที่ต้องซื้อ น้ำพริกถ้วยนี้เราประหยัดไป 40 บาท ถ้าครัวเรือนนี้แม่บ้านทำน้ำพริกสัปดาห์ละครั้ง ลดต้นทุนในการทำน้ำพริก 40บาท เดือนหนึ่ง 120 บาท ปีหนึ่งก็ลดไป1,640ยกตัวอย่างแค่น้ำพริกบาทยังมีผักอีกหลาชชนิดที่ทุกครังเรือนปลูก ทุกคนเข้าใจถึงการลดต้นทุนค่ากับข้าวในครัวเรือนแบบง่ายๆว่าถ้าเรามีการจดบันทึกการทำบัญชีเราก็จะทราบถึงค่าใช้จ่ายและวิธีลดค่าใช้จ่ายแบบง่ายๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร้วมโครงการทั้ง5กลุ่มจำนวน 75 คนได้เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนของตนเองโดยการบันทึกรูปแบบง่ายๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้รายรับรายจ่ายและหนี้สินของตนเองและที่สำคัญจะได้ทราบถึงสถานะการใช้จ่ายของครัวเรือน เกิดกติกากลุ่มร่วมกันในการทำบัญชีครัวเรือน ทุก3เดือนจะมาร่วมสรุปกัน1ครั้ง และมีแนวทางในการปรับลดค่าใช้จ่ายโดยผู้เข้าร่วมโครงการทุกครัวเรือนตกลงร่วมกันเข้าร่วมโครงการจนกว่าจะเสร็จสิ้นโครงการ

     

    75 75

    14. ประชุมพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ เดือน กุมภาพันธ์ ครั้งที่ 5

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา 13.00นโดยมีพี่เลี้ยงโครงการ นายศุภกิจ กลับช่วยเข้าร่วมด้วย ตัวแทนคุ้มบ้านได้รายงานถึงผลของกิจกรรมที่ผ่านมา คือ กิจกรรมการเพาะต้นกล้า และกิจกรรมการเรียนรู้การฝึกปฏิบัติการทำบัญชีครัวเรือนซึ่งมีผลดังนี้ กิจกรรมการเพาะต้นกล้า ทั้ง 5 กลุ่ม ได้แบ่งต้นกล้าให้แก่สมาชิกทั้ง 60 ครัวเรือนลงปลูกแล้ว ส่วนใหญ่ปลูกในกระถาง ถุงดำ กระสอบ ตามความเหมาะสม และกำหนดให้กรรมการโครงการเข้าไปเยี่ยมครัวเรือนเพื่อประเมินผลการดำเนินงานเดือนละครั้ง เพื่อใช้ในการประเมินครัวเรือนตัวอย่างของโครงการ ส่วนกิจกรรมการฝึกปฎิบัติทำบัญชีครัวเรือน 60 ครัวเรือน ผลที่เกิดขึ้น บ้านที่มีเด็กนักเรียนไม่มีปัญหาในการทำบัญชีเพราะว่ามีเด็กคอยช่วยลงบัญชีรายรับ -รายจ่ายให้ ส่วนบ้านที่ไม่มีเด็กมีจำนวน 6 ครัวเรือน แกัปัญหาโดยทำสับดาห์ละครั้งโดยมีกรรมการโครงการคอยแนะนำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำร่วมประชุมจำนวน 14 คน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้พูดคุยสรุปผลการดำเนินกิจกรรมการเพาะต้นกล้า ใน 5 กลุ่มบ้าน มี 60 ครัวเรือนดำเนินการแล้วมีการมอบหมายให้หัวหน้าของแต่ละกลุ่มคอยติดตามแนะนำช่วยเหลือสมาชิกในกลุ่ม ประเมินผลการปลูกผัก และวางแผนแก้ปัญหาให้กับครัวเรือนในการทำบํญชีครัวเรือนเดือนละครั้งเพื่อประเมินครัวเรือนตัวอย่างเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

     

    20 14

    15. ประชุมสรุบรายงานปิดงบประมาณงวดที่1

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปรุชุมวันที่13กพ 2559 เวลา 09.00น ที่อาคารนวัตกรรมมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้เข้าร่วมโครงการและพี่เลี้ยงทำความเข้าใจร่วมกันกับ สจรสมอ ในการทำเอกสารไม่ว่าจะเป็นใบลงทะเบียน รายงานการเงิน และการบันทึกข้อมูลผ่านเวปไซต์ โดยมีการปรับปรุงตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่และพี่เลี้ยง พร้อมทั้งการจัดทำรายงานการปิดงวด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการสรุบข้อมูลตามโครงการที่ได้ทำไปแล้วและปรับปรุงแก้ไขบางกิจกรรมตามเจ้าหน้าที่และส่งเอกสารการทำกิจกรรมที่ทำแล้วให้เจ้าห้นาที่ตรวจสอบความเรียบร้อย และคืนเงินเปิดบัญชี 500 บาท

     

    2 2

    16. ประชุมพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ เดือน มีนาคม ครั้งที่ 6

    วันที่ 10 มีนาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำจำนวน15คนได้ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันที่ศาลาหมู่บ้านในเรื่องการทำกิจกรรมที่ผ่านมาว่าใครมีปัญหาหรึอข้อเสนอแนะอะไรบ้าง -สภาผู้นำจำนวน15คนได้นั่งจับกลุ่มล้อมวงกันซักถามถึงการสรุบการปิดงวด 1 กับทีม สสส สจรส ม.อเละทีมพี่เลียงว่าเป็นยังใงบ้าง สมาชิกที่ได้เข้าร่วมสรุบปิดงวด 1 ได้ชี้แจงว่าปัญหาของเราคือการลงรายงานของเราสันเกินไปและบิลบางใบยังไม่ถูกต้องเช่นบิลเงินสดกับบิลสงของที่ได้มาไม่ตรงหลักเกณฑ์จึงต้องกลับมาเเก่ไขให้ตรงตามหลักเกณฑ์แล้วรองบงวดสอง -ในขณะที่รองมงวดสองทางสภาผู้นำจำนวน15คนได้แบ่งหน้าที่กันเพื่อลงติดตามการทำบัญชีครัวเรือนเเละลงติดตามว่าผักที่ผู้เข้าร้วมโครงการเพาะไว้นำไปลงแปลงปลูกแล้วว่ามีปัญหาเรืองการการปลูกหรึอการดูแลไม่อยางไร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1สภาผู้นำได้ทราบถึงผลการทำงานของการปิดงวดครั้งที่หนึ่ง

    2คนทำบัญชีได้ทราบถึงรายละเอยีดของการทำบัญชีมากขึ้น

    3สภาผู้นำได้เข้าใจในการแบ่งงานและแบ่งห้นาที่กันรับผิดชอบกันมากขึ้น

     

    20 15

    17. เข้าร่วมประชุม ร่วมกับพี่เลี้ยง

    วันที่ 26 มีนาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.00น เข้าร่วมประชุมพร้อมกันที่อาคารวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน ระหว่างพี่เลี้ยงในพื้นที่ และผู้ทำโครงการในเรื่องการถอดบทเรียนจาก 6 เดือนที่ผ่านมา และตัวแทนโครงการได้อธิบายโครงการของตัวเองที่ผ่านมา และทางพี่เลี้ยงได้ชี้แนะแนวทางเรื่องนวัตกรรมที่เกิดขึ้นให้กับทุกโครงการทำความเข้าใจร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้เข้าร่วมโครงการ ได้ทำความเข้าใจร่วมกันกับพี่เลี้ยงในพื้นที่เรื่องการถอดบทเรียนของ 6 เดือนที่ผ่านมา 2.ได้ร่วมกันทำความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงของชุมชน การเกิดนวัตกรรมในชุมชน เพื่อเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมต่อไป

     

    3 3

    18. ประชุมพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ เดือน เมษายน ครั้งที่ 7

    วันที่ 10 เมษายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำรวมทั้งแกนนำกลุ่มร่วมเข้าประชุมพร้อมกัน ที่ศาลาหมู้บ้าน ม.13 ต.ท่าขึน นาย สานตย์ แดงนวล ได้ชี้แจงถึงผลการประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงในวันที่ 26 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา ถึงการถอดบทเรียนของกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งหมด และทางพี่เลี้ยงได้อธิบายทำความเข้าใจร่วมกันถึงนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในโครงการ เช่น การดักแมลงวันทองจากขวดน้ำ การแขวนขวดสีเพื่อไล่แมลงปีกแข็ง เป็นต้น และทางสภาผู้นำได้ประชุมร่วมกันต่อเพื่อเตรียมงานในกิจกรรมครั้งต่อไปคือการประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 8 ในวันที่ 10 พค 2559 และได้กำหนดกติกาในการประเมินการดำเนินกิจกรรมของสมาชิกในโครงการดังนี้ 1.ครัวเรือนต้องมีการทำปุ๋ยหมักใช้เอง 2.ครัวเรือนต้องปลูกผักอย่างน้อย10ชนิด 3.ครัวเรือนต้องมีการทำบัญชีคัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มสภาผู้นำได้เข้าใจถึงการปิดงวดครั้งที่ 1 ว่าได้ทำการปิดงวดเรียบร้อยแล้ว

    2.กลุ่มสภาผู้นำได้เข้าใจร่วมกันถึงนวัตกรรมของโครงการ

    3.ได้เกิดกติกากลุ่มในการประเมินครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียงตัวอย่าง

     

    20 19

    19. ประชุมพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ เดือน พฤษภาคม ครั้งที่ 8

    วันที่ 10 พฤษภาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำและผู้เข้าร่วมโครงการประชุมพร้อมกันที่ศาลาหมู่บ้าน ม.13 ต.ท่าขึ้น และในวันนี้ไดีมีการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านด้วย หัวหน้าโครงการนาย สานิตย์ แดงนวล ได้ชี้แจงผลการประเมินการดำเนินกิจกรรมการประเมินครัวเรือนตัวอย่างสรุปได้ดังนี้ 1.บัญชีครัวเรือนมีการทำ 44 ครัวเรือน 2.ปุ๋ยหมักมีการทำ 55 ครัวเรือน 3.ผักสวนครัว10 ชนิดปลูกกันทุกครัวเรือน ส่วนใหญ่จะเป็น พริก มะเขือ ผักหวาน ขิง ข่า ตะใคร้ ชะอม มะนาว มะละกอ ผักาดขาว ผักบุ้ง กวางตุ้ง โพเล่ กะเพรา โหระพา เป็นต้น และในตอนนี้ผักที่ปลูกเริ่มมีผลผลิตแล้ว เหลือจากรับประธานก็ได้มีการฝากขายโดยมีกติกาในการจัดการดังนี้ 1.ร้อยละ 73 แบ่งให้คนผลิต 2. 25% แบ่งให้ตัวแทนขาย 3.2%cแบ่งเข้ากลุ่ม และมอบหมายให้ นส อุวนิช เก็บรวบรวมข้อมูลการประเมินผลการดำเนินกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีทีมงานประเมินครัวเรือนตัวอย่าง 1 ทีม
    2.เกิดกติกากลุ่มการฝากขาย
    3.มีคนเก็บข้อมูลการประเมิน 1 คน

     

    20 16

    20. ติดตามประเมินการดำเนินกิจกรรมของครัวเรือนที่เข้าร่วมและคัดเลือกบ้านต้นแบบ

    วันที่ 15 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงาน และผู้เข้าร่วมโครงการได้ลงพื้นที่เพื่อดูผลการปฏิบัติงานของแต่ละกลุ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีการติดตามการประเมินครัวเรือนต้นแบบ
    2.มีการเสริมพลังใจให้กับครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ
    3.เกิดการเรียนรู้การประเมินติดตามผล - คณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงาน และผู้เข้าร่วมโครงการได้ลงพื้นที่เพื่อดูผลการปฏิบัติงานของแต่ละกลุ่ม ประเมินบ้านแต่ละกลุ่มที่สมาชิกกลุ่มได้เลือกไว้ กลุ่มบ้านแขกบ้านนางสาวกัญญาสุทธิรักษ์ กลุ่มมะม่วงทอง บ้านนางเกษร พานทอง กลุ่มวัดป่าตะวันตก บ้านนายสานิตย์ แดงนวล กลุ่มวัดป่าตะวันออกบ้านนาง วิไล ศรีภิรมย์ กลุ่มบ้านในโคร๊ะ บ้านนางบุญพิน คงสิงห์ เพื่อสะสมคะแนนจนเสร็จสิ้นโครงการ

     

    20 13

    21. ประชุมพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ เดือน มิถุนายน ครั้งที่ 9

    วันที่ 10 มิถุนายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำและผู้เข้าร่วมโครงการประชุมพร้อมกันที่ศาลาหมู่บ้าน ม.13 ต.ท่าขึ้น และได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิเคราะห์กิจกรรมที่ร่วมทำกันมาและชี้แจงความก้าวหน้าของ โครงการ การทำกิจกรรมต่างๆที่ผ่านมา รวมทั้งการวางแผนในการทำกิจกรรมครั้งต่อไปคือ กิจกรรมการประเมินครัวเรือนตัวอย่างครั้งที่2 ได้กำหนดการประเมินในวันที่ 15 มิถุนายน 2559

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ได้มีการวางแผนการประเมินครั้งที่2
    2 .มีการกำหนดการแบ่งหน้าที่ออกประเมิน
    3 .มอบหมายหน้าที่ให้ทีมงานประเมินแบ่งหน้าที่กันทำ

     

    20 13

    22. ติดตามประเมินการดำเนินกิจกรรมของครัวเรือนที่เข้าร่วมและคัดเลือกบ้านต้นแบบ

    วันที่ 15 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 10.00น ทีมคณะกรรมการลงเยี่ยมครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพื่อเก็บคะแนนสะสม ทุกครัวเรือนมีต้นผัก พริกมะเขือ ผักหวาน ชะอม ถั่วฝ้กยาว แตงกวา ที่ปลูกแบบระบบปลอดภัยไม่ใช้สารเคมี และอื่นๆ ที่เริ่มจะมีผลผลิตออกมาให้เห็นแล้ว และผลผลิตผักปลอกภัยเริ่มออกสู่ตลาดแล้วนัดเพื่อสุขภาพแล้ว วันจันทร์ตลาดนัดเช้า รพ.ท่าศาลา บ่ายตลาดนัดสุขภาพมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วันพฤหัสตลาดนัดหน้าเกษตรท่าศาลา วันอาทิตย์ตลาดอาทิตย์ท่าศาลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีการติดตามการประเมินครัวเรือนต้นแบบ
    2.มีการเสริมพลังใจให้กับครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ
    3.เกิดการเรียนรู้การประเมินติดตามผล
    4.มีผลผลิตในครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ
    5.มีผักออกสู่ตลาดนัสุขภาพ 3 วัน ต่อสัปดาห์

     

    20 13

    23. เจ้าหน้าที่ สสส ร่วมกับพี่เลี้ยงเยี่ยมชมโครงการ

    วันที่ 18 มิถุนายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 13.00น เจ้าหน้าที่ สสส และพี่เลี้ยง นายศุภกิจ กลับช่วย ได้ร่วมพูดคุย ถึงผลการปฏิบัติงานในกิจกรรมที่ผ่านมา รวมถึงวิเคราะห์ปัญหา และหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน และลงพื้นที่เยี่ยมบ้านที่เข้าร่วมโครงการ และแนะนำเกี่ยวกับการทำเอกสารต่างๆกับกลุ่มผู้นำที่มีหน้าที่ทำเอกสารและบัญชี และลงตรวจเยี่ยมครัวเรือนเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เจ้าหน้าที่ สสส และพี่ลี้ยงได้เยี่ยมครัวเรือนผู้เข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่
    2.สมาชิกสมาผู้นำได้เข้าใจถึงการทำเอกสาร และการทำบัญชี

     

    20 20

    24. ประชุมพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ เดือน กรกฎาคม ครั้งที่ 10

    วันที่ 20 กรกฎาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการพูดคุยปรึกษาหารือเรื่องกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในกิจกรรมมหกรรมเกษตรอินทรีย์ที่บ้านแขกและมอบรางวัลเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแกนนำครัวเรือนเกษตรอินทรีย์ และแบ่งหน้าที่กันเพื่อรับผิดชอบร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีการหน้าแบ่งหน้าที่ันอย่างชัดเจนในการจัดกิจกรรมมหกรรมเกษตรอินทรีย์
    • เริ่มประชุมเวลา 13.00น โดยผู้รับผิดชอบโครงการพูดคุยปรึกษาหารือเรื่องกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในกิจกรรมมหกรรมเกษตรอินทรีย์ที่บ้านแขกและมอบรางวัลเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแกนนำครัวเรือนเกษตรอินทรีย์ และแบ่งหน้าที่กันเพื่อรับผิดชอบร่วมกัน ในการปรึกษาหารือได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบกันดังต่อไปนี้ หัวหน้าคุ้มบ้านทั้ง5 คุ้มบ้าน รับผิดชอบในการประสานงานกับสมาชิกเพื่อประกวดการตำน้ำพริก และจัดผักในการส่งประกวด นายสานิตย์ แดงนวล มีหน้าที่ประสานงานงานทีมงานตัดสิน นายบุญชู สบเหมาะ รับผิดชอบจัดสถานที่ นส อุวนิช สบเหมาะ รับผิดชอบรับผิดชอบเรื่องของรางวัล กรรมการที่เหลือรับผิดชอบและเป็นแกนนำในการจัดงานมกัน

     

    20 16

    25. เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านการปลูกผักที่ใช้น้ำน้อย

    วันที่ 21 กรกฎาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมวลา 10.00น นาย สานิตย์ แดงนวล ผู้รับผิดร่วมเรียนรู้วิธีการปลูกพืชสำหรับพืชที่ใช้น้ำน้อย (ผักปัญญาอ่อน)ให้เหมาะสมตามฤดูการโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านแบบดั้งเดิม เช่น การเผาแปลงปลูกเพื่อเปลี่ยนธาตุอาหารในดิน การปลูกตะใคร้หอมตามจุดต่างๆ รอบแปลงเพื่อไล่แมลง การปลูกแฝกเพื่อรักษาความชื้นของหน้าดิน การคลุมฟางเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ บวกกับการใช้ความรู้ใหม่ที่ทำคู่กันได้เช่น ระบบจุลินทรีย์ที่เป็นภูมิปัญญาเก่าแต่เป็นความรู้ใหม่ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น จุลินทรีย์จาวปลวก ในการช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับผักและช่วยป้องกันโรค ในการปลูกจะต้องเลือกชนิดผักที่ให้ผลผลิตเร็ว ทนแล้งและเป็นพืชที่เหมาะสมกับตลาด และพร้อมปฏิบัติ การเตรียมดิน และการปลูกพืชร่วมเพื่อไล่แมลง โดยมีกรรมการในแต่ละกลุ่มคอยให้คำแนะนำในการเตรียมดินการใส่ปุ๋ยปรับปรุงดิน การใส่จุลินทรีย์ การคลุมแปลงเพื่อป้องกันวัชพืช
    ประเภท และอายุการเก็บเกี่ยว ของผักแต่ละชนิด 1.ผักปัญญาอ่อน อายุไม่เกิน 50 วัน เช่น คะน้า กวางตุ้ง ฮ่องเต้ ผักกาดขาวผักบุ้ง 2.ผักเก็บเกี่ยวในรอบ 1 ปี พริก มะเขือ ตะใคร้ ถั่วพลู ขมิ้น 3.ใช้ได้ยาวตลอด เช่น ชะอม ผักหวาน มะกอก มะเขือพวง มันปู หัวครก ต้นหอม ผักชี กุ่ยช่ายชอบ และเปิดโอกาศให้สมาชิกปลูกแล้วแต่ความถนัด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สมาชิกในชุมชนได้มีความเข้าใจถึงการปลูกผักใช้น้ำน้อย
    2.สมาชิกในชุมชนได้มีความเข้าใจถึงการใช้จุลินทรีย์ในการปลูกผัก
    3.สมาชิกในชุมชนได้มีความข้าใจถึงความสำคัญของการเตรียมดินก่อนปลูก
    4.สมาชิกในชุมชนได้มีความเข้าใจถึงการวางระบบพืชให้เข้ากับฤดูกาล

     

    75 75

    26. ปฏิบัติการทำปุ๋ยหมักชีวภาพแบบน้ำและแบบแห้ง

    วันที่ 22 กรกฎาคม 2016 เวลา 11:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่ 20 กรกฎาคม 2559

    หลังจากแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบทุกคนก็ทำหน้าที่ดังนี้ นายบุญชู สบเหมาะ นายอาทิตย์ สมทอง และนางสาวอุวนิช สบเหมาะ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ นายสานิตย์ แดงนวล และ นางบุญพิน คงสิงห์ ประสานงานสมาชิกและประสานงานสถานที่


    วันที่ 22 กรกฎาคม 2559

    เวลา 11.00น ปฎิบัติการทำปุ๋ยหมัก ที่โรงเรียน วัดป่า(ท่าขึ้น)โดยมีคณะครูและนักเรียนโรงเรียนวัดป่า(ท่าขึ้น)เข้าร่วมเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักวิธีการทำปุ๋ยหมักแห้ง ส่วนผสม ขี้ไก่แกลบ กลุ่มละ 15 กระสอบ ขุยมะพร้าว กลุ่มละ 15 กระสอบ รำละเอียด กลุ่มละ 1กระสอบ กากน้ำตาลกลุ่มละ 5 ลิตร โดโรไม กลุ่มละ 2.5 กระสอบ จุลินทรีย์ กลุ่มละ 10 ลิตร น้ำหมักชีวภาพ กลุ่มละ 10 ลิตร กากน้ำตาล กลุ่มละ 5 ลิตร นำขี้ไก่แกลบ ขุยมะพร้าว โดโรไม มาผสมให้เข้ากัน นำส่วนผสมที่เป็นน้ำมาผสมรวมกัน รดลงไปในกองผสมรวมให้เข้ากัน แล้วใส่รำละเอียดเป็นตัวสุดท้าย สังเกตุดูความชื้น โดยการบีบให้แน่น แบมือออกถ้าแตกออกเป็น 3 ส่วนใช้ได้ หลังจาก 15 วัน ใช้ใด้ วิธีทำปุ๋ยหมักน้ำ ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนช่วยกันนำเศษอาหาร และเศษพืชผักมา ส่วนผสมใช้สูตร เศษอาหาร 3 ส่วน จุลินทรีย์ 1 ส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วนผสมรวมกันหมักไว้ 1 เดือน แต่ละกลุ่มมาช่วยกันกรอง และแบ่งไปใช้ และนำเศาอาหารมาหมักต่อเพื่อใช้ในครั้งต่อไป โดยมีนายบุญชู สบเหมาะ ผู้มีความรู้ในการทำปุ๋ยหมักและทำปุ๋ยหมักใช้เองเป็นประจำ สมาชิกกลุ่มคณะครู และนักเรียน ได้ร่วมกันผสมปุ๋ยตามสูตร และ แบ่งกันนำกลับไปใช้ที่บ้าน ส่วนปุ๋ยหมักน้้ำได้ทำการหมักไว้ที่บ้านนายสานิตย์ แดงนวล เพื่อสะดวกในการดูแลในการกวน 3 วันต่อครั้ง หลังจาก 15 วันให้สมาชิกกลุ่มนำภาชนะมาใส่เพื่อนำไปใช้ต่อไป หลังจากพูดคุยอธิบายเร็จก็ได้ลงมือปฎิบัตเลย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการได้มีการเรียนรู้ร่วมกันในการทำปุ๋ยหมัก แบบน้ำและแบบแห้งและทำจุลินทรีย์ต่างๆพร้อมทั้งวิธีการนำไปใช้
    2.เกิดองค์ความรู้ในการทำปุ๋ยหมัก
    3.เกิดความสามัคคีในชุมชน
    4.สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการมีปุ๋ยหมักใช้เป็นการลดต้นทุนในการผลิต

     

    75 75

    27. ลงแปลงปลูก

    วันที่ 30 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มเวลา09.00 น ทางคณะกรรมการได้ชี้แจงให้ทางสมาชิกกลุ่มร่วมกันไปเรียนรู้การปลูกผัก เรียนรู้วิธีลงแปลงปลูก วิธีดูแลรักษา ที่วัดป่าท่าขึ้น และได้นัดหมายในตอนเย็นเพื่อช่วยกันทำแปลงสาธิตและแบ่งพันธ์ุผักไปปลูกกันที่บ้านบ้านหัวหน้ากลุ่มมะม่วงทอง และวัดป่าตะวันตกทำที่บ้านนายสานิตย์ แดงนวล ได้สาทิต การปลูกผักกาดหอม โดยทำการเพาะลงในแผงเพาะก่อน 17 วัน ในระหว่างนั้นก็เตรียมแปลง ใส่ปุ๋ยหมักเตรียมไว้ เตรียมฟางไว้ด้วยเพื่อคลุมแปลง ข้อดีของการเพาะเมล็ดในแผงเพาะ

    1.ง่ายต่อการดูแลไม่ว่าจะเป็นมด หรือแมลงที่กินเมล็ดพันธ์ุ

    2.ประหยัดเมล็ดพันธุ์ เพราะเราจะปลูกแค่ไหนก็เพาะแค่นั้น ประหยัดน้ำในการรด ส่วนข้อดีของการคลุมฟางช่วยปรับโครงสร้างดินที่เป็นกรดเป็นด่างให้เกิดความสมดุลในตัวมันเอง พืชทนต่อโรคเจริญเติบโตดี

    3.ช่วยในการรักษาหน้าดิน

    4.ประหยัดน้ำ ช่วยให้เกิดวัฎจักรชีวิตของสัตว์ที่มี ประโยชน์ต่อดินเช่นไส้เดือน กลุ่มบ้านแกและวัดป่าตะวันออกบ้านนายบุญชู สบเหมาะ สาทิตผักบุ้งในแปลงผักรวม กลุ่มในโคร๊ะบ้านนางบุญพิน คงสิงห์ สาทิตผักบุ้งในแปลงผักรวม และเมื่อได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเรียบร้อยก็แยกย้ายกันไปปฏิบัติที่บ้านของตัวเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สมาชิกทุกคนได้มีความเข้าใจร่วมกันถึงการวางระบบการปลูกผักปัญญาอ่อน
    2.มีแปลงสาธิตเกิดขึ้น 3 แปลง
    3.มีองค์ความรู้ในการวางระบบในการปลูกผักปัญญาอ่อน

     

    75 79

    28. ติดตามประเมินการดำเนินกิจกรรมของครัวเรือนที่เข้าร่วมและคัดเลือกบ้านต้นแบบ

    วันที่ 31 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มเยี่ยมเวลา 10.00น ครั้งนี้ติดตามผล การทำปุ๋ยหมักและผักที่ปลูกไว้ ผู้เข้าร่วมโครงการได้นำไปหมักต่อแล้วประมาณ 30 ครัวเรือน และได้มีการปลูกผักตามโครงการทุกครัวเรือน ส่วนใหญ่ผักที่ปลูกจะเป็น ถั่ฝักยาว บวบ ผักกาดขาว ผักบุ้ง กวางตุ้ง ฮ้องเต้ คะน้า ตะใคร้ โหระพา มะนาว กะเพรา พริก มะเขือ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการมีปุ๋ยหมักใช้ทุกครัวเรือน

     

    20 14

    29. วิเคราะห์บัญชีครัวเรือนนำไปปฏิบัติ

    วันที่ 6 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่ 6 สิงหาคม 2559 นายสานิตย์ แดงนวล ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มได้ทำหนังสือเชิญผู้เข้าร่วมโครงการมาทำกิจกรรมวิเคราะห์บัญชีครัวเรือนพร้อมปฎิบัติ โดยแบ่งให้หัวหน้ากลุ่มทำหน้าที่แจกจ่ายหนังสือให้กับครัวเรือนในกลุ่มของตัวเอง และในวันที่ 8 สิงหาคม 2559 มาทำกิจกรรมร่วมกันที่ศาลาหมู่บ้าน เวลา 10.00 น ในวันที่ 8 สิงหาคม 2559สมาชิกโครงการมาประชุมพร้อมกันที่ศาลาหมู่บ้าน เพื่อสรุปวิเคราะห์บัญชีครัวเรือน ว่าตั้งแต่เริ่มทำกิจกรรมในโครงการนี้ คือปลูกผักไว้ทานเอง และแบ่งขายบ้างรายจ่ายลดลงทุกครัวเรือน ครัวเรือนละประมาณ 300-500 บาทต่อครัว สมาชิกในครัวเรือนและในกลุ่มได้ทำงานร่วมกัน ได้ทานผักปลอดภัย และจะทำกันอย่างนี้ต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ มีรายจ่ายลดลงจากการที่ไม่ต้องซื้อผักต่างๆประมาณครัวเรือนละ 300-500 บาท
    2.สมาชิกบางท่านที่เหลือทานแล้วได้ขายก็มีเช่น นางบุญพิน คงสิงห์ นางสุภาณี สบเหมาะ นางเกษร พานทอง นายสานิตย์ แดงนวล นายบุญชู สบเหมาะ และนางสาวอุวนิช สบเหมาะ มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายผักประมาณ 500-1,000บาทต่อเดือน 3. สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการเริ่มเข้าใจถึงระบบบัญชีแบบง่ายๆเริ่มเห็นความแตกต่างว่าถ้าเราทำบัญชีเราจะรู้ว่าแต่ละเดือนเราประหยัดและเพิ่มรายได้กี่บาทในการเข้าร่วมโครงการนี้

     

    75 77

    30. เรียนรู้กลไกการตลาด และวิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิต

    วันที่ 10 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 10.00น สมาชิกเริ่มลงทะเบียนและประชุมร่วมกัน โดยมีทีมนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เข้าร่วมด้วย นายสานิตย์ แดงนวล ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการและเป็นตัวแทนฝ่ายการตลาดในหมู่บ้าน ได้ชี้แจงเกี่ยวกับตลาดของผักปลอดภัย วิธีล้างผักก่อนบรรจุถุงวิธีการล้าง ละลายน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ จุลินทรีย์ 2 ช้อนโต๊ะ น้ำ 10 ลิตร ล้างให้สะอาดก่อนบรรจุ ส่วนการบรรจุให้ใช้ถุงใส(ถุงไฮโซ)ในการบรรจุมะเขือ พริก ส่วนถุงใสยาวใช้บรรจุ ผักบุ้ง คะน้า กวางต้ง และผักใบต่างๆ การขาย ผู้เข้าร่วมโครงการ นำมารวมกันที่ศาลาเอนกประสงค์ ของหมู่บ้าน ตัวแทนสมาชิกจะเป็นคนจำหน่าย ใน 3 วัน ต่อ1 สัปดาห์วันอาทิตย์ ตลาดนัด วันจันทร์ ตลาดนัดเพื่อสุขภาพ รพ ท่าศาลา วันพุธตลาดเปิดท้ายหมอจวน วันพฤหัสบดี ตลาดนัดหน้าเกษตรอำเภอ สมาชิกทุกคนต้องทำการแพ็กถุงมา และมาบให้ฝ่ายการตลาดนำไปติดสติ๊กเกอร์และนำไปขายในตลาด
    กฎกติกา ทางสมาชิกต้องมีการคืนทุนเข้ากลุ่ม ร้อยละ 2 บาท เพื่อเป็นการต่อยอดให้กับทางโครงการต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สมาชิกทุกคนได้มีความรู้และนำไปปฏิบัติในการล้างผัก

    1. มีการทำความเข้าใจร่วมกันในการบรรจุถุงและการแยกผักแต่ละชนิดในการบรรจุ

    3.สมาชิกทุกคนได้ทราบร่วมกันว่าตลาดมีวันไหนบ้างจะได้เตรียมสินค้าถูก

    4.สมาชิกได้เข้าใจถึงการทำงานระบบกลุ่มมากขึ้น เช่น กลุ่มเดียวกันต้องมีคุณภาพสินค้าที่เหมือนกัน

     

    75 77

    31. จัดเวทีประชาสัมพันธ์ยื่นข้อเสนอในชุมนให้ผู้สนใจเข้าร่วมต่อเนื่อง

    วันที่ 21 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสานิตย์ แดงนวล ได้พูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำร่วมกันมาจนสำเร็จ และผลผลิตที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมที่ได้ทำให้สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการได้ลดค่าให้จ่ายในการซื้อผัก และสมาชิกได้เข้าใจถึงระบบบัญชีครัวเรือนแบบง่ายๆ และการทำปุ๋ยหมักเพื่อลดต้นทุนในการผลิต รวมถึงการปลูกผักแบบประหยัดน้ำ รวมถึงข้อตกลงร่วมกันถึงการฝากขายผลผลิตที่เหลือจากการรับประทาน สมาชิกทุกคนยอมรับในเรื่องการฝากขายผัก โดยมีกฎกติกาดังนี้ แบ่งให้คนขาย 25% และเข้ากลุ่ม 2%สมาชิกโครงการทุกคนตกลงร่วมกัน และตกลงร่วมกันที่จะขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆร่วมกัน 1.ทุกครัวเรือนจะต้องมีผักสวนครัวอย่างน้อย 10 ชนิด 2.ทำบัญชีครัวเรือนแบบง่ายๆ 3.ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมเรียนรู้ในกิจกรรมต่างๆทุกครั้ง4.จดกลุ่มวิสาหกิจชุมชน1กลุ่มโดยมีตัวแทนในการจดดังนี้ 1.นายสานิตย์ แดงนวล ประธาน 2.นายบุญชู สบเหมาะรองประธาน 3.นางสุนันทา สมทอง เลขา 4.นางสาวอุวนิช สบเหมาะ เหรัญญิก 5.นายภาณุวัฒน์ สบเหมาะ สมาชิก 6.นางวิไล พรหมเสน สมาชิก 7.นางวิไลลักษณ์ สายรุ้ง สมาชิก 8.นางบุญพิน คงสิงห์ สมาชิก ประชาสัมพันธ์ยื่นข้อเนอเรียบร้อยแล้วก็ทำปุ๋ยหมักกันต่อ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผู้เข้าร่วมจัดเวทีประชาสัมพันธ์คน ได้มีข้อตกลงร่วมกันดังนี้

    1. ทุกครัวเรือนจะต้องมีผักสวนครัวอย่างน้อย 10 ชนิด
    2. ทุกครัวเรือนจะทำบัญชีครัวเรือนแบบง่ายๆต่อไป
    3. การฝากขายของจะต้องมีการแบ่งกันดังนี้ แบ่งผู้ผลิต73% ผู้ขาย 25% เข้ากลุ่ม2%
    4. ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมทำกิจกรรมต่อๆไปทุกครั้ง
      5.จดทะเบียนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 1กลุ่ม ชื่อ กลุ่มผักปัญญาอ่อนสร้างสุขบ้านแขก

     

    100 102

    32. มหกรรมเกษตรอินทรีย์ที่บ้านแขกและมอบรางวัลเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแกนนำครัวเรือนเกษตรอินทรีย์

    วันที่ 27 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มเวลา 07.00น ทีมคณะทำงานมาช่วยกันเตรียมงาน08.00น ทีมผู้แข่งขันตำน้ำพริกและสมาชิกในชุมชนและหมู่บ้านไกล้เคียงเริ่มทยอยมาร่วมกิจกรรม09.00นเริ่มเปิดงานโดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายบุญโชค แก้วแกม ได้ชี้แจงถึงโครงการที่ได้ทำกันมารวมถึงชักชวนหมู่บ้านใกล้เคียงที่สนใจที่จะร่วมโครงการในปีหน้าให้เตรียมจัดทีมงานที่จะเสนอโครงการในปีนี้ นายชวนชิต สุทธิรักษ์ ที่ปรึกษาโครงการขอบคุณคณะทีมงานและสมาชิกรวมถึงคนในชุมชนทุกคนที่ให้ความร่วมมือกันทำงานจนสำเร็จ และนายสานิตย์ แดงนวล ได้ชี้แจงกิจกรรมทุกๆกิจกรรมที่ร่วมทำกันมาผ่านหน้าจอโปรแจคเตอร์ และเล่าเรื่องสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นในโครงการ พร้อมทั้งชี้แจงการขอจดทะเบียนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผักปลอดภัยบ้านแขก หมู่13 ต.ท่าขึ้น หลังจากเสร็จสิ้นโครงการ และต่อด้วยการแข่งขันการตำน้ำพริกบ้านแขก จากตัวแทนกลุ่มทั้ง 5กลุ่ม จาก5คุ้มบ้าน ประกวดเป็นน้ำพริกกะปิ แกงเลียง และไข่เจียว โดยมีคณะกรรมการตัดสินจาก ตัวแทนชุมชนคือนายกองค์การบริหารส่านตำบล นายบุญโชค แก้วแกม ตัวแทนเกษตร คือ นางสุมาลี จุทิ่น และตัวแทนเกษตรตำบล พัฒนาชุมชนประจำตำบล และประธาน อสม คือนางสาครเรืองรอง ผลการแข่งขัน ทีมวัดป่าตะวันออก ชนะเลิศ ทีมวัดป่าตะวันตกรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ทีมในโคร๊ะรองชนะเลิศอันดับสอง และทีมมะม่วงทองและบ้านแขกได้รับรางวัลชมเชย ต่อจากนี้ก็มอบประกาศณียบัติ พร้อมทั้งของขวัญให้กับครัวเรือนตัวอย่าง 20 ครัวเรือน และได้คัดเลือกครัวเรือนตัวอย่างที่สามารถเข้าไปเรียนรู้การปลูกผักปัญญาออ่นขึ้นมา 5 ครัวเรือนซึ้งแบ่งออกเป็นคุ้มบ้านคุ้มบ้านละ1คน คือ 1 คุ้มบ้านวัดป่าตะวันออกเป็นบ้านของนายบุญชู สบเหมาะ 2 คุ้มบ้านมะม้วงทองเป็นบ้านของนางเกษรพานทอง 3 คุ้มบ้านในโคร๊ะเป็นบ้านของนางบุญพิน คงสิงห์ 4 คุ้มบ้านวัดป่าตะวันตกเป็นบ้านนางอำนวย แดงนวล 5 คุ้มบ้านแขกเป็นบ้านของนางสุขี สุทธิรักษ์เส็จเเล้วก็ได้ของขวัญให้กับการประกวดน้ำพริก และร่วมรับประทานอาหารกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ชุนชนมีการเรียนรู้และมีส่วนรวมในการจัดกิจกรรมมหกรรมเกษตรอินทรีย์บ้านแขก
    2.คณะกรรมการโครงการร่วมบริหารจัดกิจกรรมในชุมชน
    3.สร้างการมีส่วนร่วมและความตระหนักในการพัฒนาและความสามัคคีของคนในชุมชน
    4.มีครัวเรือนเกษตรปลอดภัย 60 ครัวเรือน
    5.เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักปลอดภัย 1กลุ่ม
    6.มีตวแทนจำหน่ายผลผลิต 2คน
    7.มีกติกากลุ่มในการขายชัดเจน คือ ต้องแบ่งตัวแทนขาย 25%และเข้ากลุ่ม 2%ของยอดขาย 8.ครัวเรือนอย่างน้อย 50 ครัวเรือนทำบัญชีแบบง่ายๆเป็น
    9.มีองค์ความรู้ในการทำปุ๋ยหมักใช้เอง
    10.มีความรู้ในการปลูกผักปัญญาอ่อนแบบประหยัดน้ำ
    11 เกิดจุดเรียนรู้ที่สามารถเข้าไปเรียนรู้การปลูกผักปัญญาอ่อนใช้น้ำน้อยขึ้นทั้ง 5 ละแวกบ้าน

     

    150 157

    33. ถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    วันที่ 28 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มเวลา 10.00น ตัวแทนกลุ่มได้ร่วมกันประชุมเพื่อถอดบทเรียนในกิจกรรมที่ได้ร่วมทำกันมา และได้จัดทำให้เป็นองค์ความรู้ไว้ให้กับสมาชิกในหมู่บ้านเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และร่วมกันสรุปสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นในชุมชน และตกลงร่วมพัฒนาต่อยอดกิจกรรมเพื่อขอรับงบสนับสนุนต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ชุมชนมีการเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน
    2. คณะกรรมการได้ร่วมกันเรียนรู้ในการบริหารจัดการกลุ่ม
    3. สร้งการมีส่วนร่วมและความตระหนักในการพัฒนาและสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนผลที่เกิดขึ้น
    4. สมาชิกในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น มีความสนใจในการปลูกผักปลอดภัย และเข้าใจการทำงานเป็นกลุ่ม สภาพแวดล้อม มีการทำเกษตรแบบปลอดภัยอย่างน้อย 60 ครัวเรือน กลไก
    5. เกิดกลุ่มสภาผู้นำในการพัฒนาโครงการ1ชุด
    6. เกิดกลุ่มแม่ครัว 1กลุ่ม
    7. เกิดกลุ่มปลูกผักปลอดภัย1กลุ่ม
    8. มีพ่อค้าประจำโครงการ 2คน

     

    20 13

    34. เข้าร่วมประชุมกับ สสส สจรส ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามและคืนเงินปิดบัญชี 500 บาท

    วันที่ 3 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา 09.00 น ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ.กำไล ได้ชี้แจงเกี่ยวกับการส่งรายงานให้กับทีม สจรส มอ.เพื่อให้ทีม สจรส มอ. ตรวจสอบก่อนทำการปิดงบงวดที่ 2

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกผู้ข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันทำรายงาน และแก้ไขข้อผิดพลาดตามความหมาะสมของพี่เลี้ยง

     

    2 2

    35. ร่วมงานสร้างสุขคนใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนโครงการจำนวน 2 คนเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมทางวิชาการระดับชาติเรื่อง " นวัตกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพ" ที่หอประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัติครล 60ปี มอ.หาดใหญ่ ในวันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 1600 คน ประกอบด้วย ภาคีพันธมิตรสุขภาพ จาก ภาคีภาคประชาชน ภาค ประชาสังคม ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสื่อสารมวลชน ภาควิชรการซึ่งมีองค์กรร่วมจัดดังนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช) กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันการจัดการระบบสุขภาพมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(สจรส.ม.อ)
    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 พิธีเปิดการประชุมมีการแสดงโขน ตอน ศึกพรหมาสตร์ ศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พิธีเปิดกล่าวต้อนรับ โดย นายทรงพลสวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ปาฐกถา เรื่อง “บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน”โดย นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี จากนั้นมีกล่าวรายงานสุขภาวะคนใต้ สรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.ม.อ.) การเสวนา “มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต” โดย ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี นายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนม์เจริญนายกเทศมนตรีนครยะลา นายทวีวัตรเครือสาย ตัวแทนภาคประชาสังคมจังหวัดชุมพร นายแพทย์ยอร์นจิระนครสาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ ๑๒
    วันที่ 4 ตุลาคม ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม การประชุมห้องย่อย 1.การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ 2.การท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 3. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น 4. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ 5. ความมั่นคงทางมนุษย์ : การลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม การประชุมห้องย่อยลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ซึ่งในวันนี้ก็ได้เข้าร่วม การประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โดยในเวลา 09.00 น. เริ่มกิจกรรม เริ่มด้วยการร่วมสนุกเต้นเพลงchicken dance ร่วมกันก่อน และหลังจากนั้น ก็ได้มีการเสวนา ในหัวข้อเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาวตำบลโคกม่วงอำเภอเขาชัยสนจังหวัดพัทลุงซึ่งจากปัญหาในหมู่บ้านในเรื่องวิกฤติภัยแล้งทำฝาย ปลูกป่า ขยะ ไฟไหม้ป่าซึ่งจะใช้ฐานข้อมูลพื้นที่กำหนดทิศทางในการทำงาน ซึ่งคนในชุมชนมีส่วนร่วมกัน มีการแบ่งภาระงานเป็นหุ้นส่วน ร่วมกันทำงานในชุมชน ซึ่งมีโครงการจาก สสส เป็นฐานโดยมีอบต. สนับสนุนงบ ประมาณและนักวิชาการ ช่วยเสริม หัวหน้าสำนักปลัด นวก.สาธารณสุขจนท.อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ทสจ.) ราชการช่วยจัดการขยะซึ่งจะทำให้ตื่นตัวมากขึ้นซึ่งมีปัจจัยแห่งความสำเร็จโดยการมีผู้นำ ซึ่งนำแบบมีส่วนร่วม ใช้ความรู้ เกิดความร่วมมือ แบ่งภารกิจ และการหนุนเสริมข้อมูลเด่นเฉพาะชุมชน คือ มีพื้นที่ป่าสงวนเต็มพื้นที่ โดยการกำหนดกติกาชุมชน คือ ใช้พื้นที่แล้วต้องปลูกป่าเพิ่ม กันเขตพื้นที่ เป็นพื้นที่ฟื้นฟูมีการเชื่อมโยงเครือข่าย จาก ทสม. (อาสาจัดการทรัพยากรและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) ภาควิชาการ (มอ.ปัตตานี ม.ทักษิณ) หลังจากจบการเสวนาก็ ชม การแสดงโขนคนตอน เชิดพระอิศวร 10.10 น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการคัดแยกขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชนตำบลทรายขาวอำเภอคลองท่อมจังหวัดกระบี่ 10.30น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเศรษฐกิจพอเพียงโครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียงตำบลตะโกอำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร 11.50น.นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเด็กและเยาวชนโครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนดตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 11.20 น. ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย 14.00 น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรชัยตำบลนาท่อม ตำบลไม้ขาวอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 14.20 น.นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัยโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเองตำบลนาท่อมอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง 14.40 น. ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย 15.30 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ สู่การยกระดับเชิงนโยบายโดย อ.กำไล สารักษ์ และ อ.สุวิทย์ เมื่อเสร็จกิจกรรมการเสวนาแลกเปลี่ยนกันก็คนที่เข้าร่วมกิจกรรมในห้องประชุมย่อยก็ได้มาจับมือร่วมกันเป็นวงกลม และร้องเพลงศรัทธาร่วมกัน
    วันที่ 5 ตุลาคม 2559 ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทยสรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้เสวนาเรื่อง “การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียน”โดยนายแพทย์ศักดิ์ชัยกาญจนวัฒนารักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพนายแพทย์พลเดชปิ่นประทีป เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติรศ.ดร.วิลาสินีพิพิธกุล รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยสถานีโทรทัศน์ (TPBS)ผู้ดำเนินการอภิปราย นางสาวณาตยา แวววีรคุปต์ และพิธีปิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก 2.ได้ศึกษาเรียนรู้กันหลายกิจกรรม 3.ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน ผลลัพธ์ 1.กลุ่มเป้าหมายได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน 2.ได้สร้างเครือข่ายกันระหว่างกลุ่มเป้าหมาย 3.ได้แนวคิดในการจัดทำแผนชุมชนต่อไป

     

    2 2

    36. สรุปปิดโครงการ

    วันที่ 10 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนลงและผู้เข้าร้วมโครงการทะเบียน 2.นายสานิตย์ แดงนวลกล่าวชี้แจงรายงานผลการดำเนินโครงการ 3.คณะกรรมการสภาผู้นำและผู้เข้าร้วมจำนวน 46 คน ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร หลักฐานการใช้จ่ายงบประมาณตามโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต - ผู้เข้าร้วมโครงการและคณะกรรมของโครงการจำนวน 46 คนได้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานการใช้จ่ายงบประมาณ ผลลัพธ์ - เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม

     

    40 46

    37. เข้าร่วมประชุมกับ สสส สจรส ม.อ. ติดตามสรุปโครงการ

    วันที่ 15 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้เข้ารับผิดชอบโครงการและผู้เข้าร่วมโครงการ ได้ทำความเข้าใจร่วมกันกับพี่เลี้ยงและ สจรส มอ เพื่อสรุปปิดโครงการและแก้ไขรายงายในส่วนที่ผิดพลาด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้ารับผิดชอบโครงการและผู้เข้าร่วมโครงการ เข้าใจร่วมกันกับพี่เลี้ยงและ สจรส มอ เพื่อสรุปปิดโครงการและแก้ไขรายงายในส่วนที่ผิดพลาด

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้เกิดการทำเกษตรอินทรีย์โดยการใช้ภูมิปัญญาการปลูกผักปัญญาอ่อน(ผักที่ใช้น้ำน้อย) แบบดั้งเดิมคือการเผาหน้าดินเพื่อปรับ PH ของดิน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนธาตุในดิน เพื่อทำลายเม็ดหญ้าที่อยู่บนผิวดิน การคลุมฟาง เพื่อรักษาน้ำในดิน
    ตัวชี้วัด : 1.มีแปลงเกษตรอินทรีย์เกิดขึ้น 60 ครัวเรือน ครัวเรือนละแปลง รวมจำนวน 60 แปลง 2.เกิดกลุ่มปลูกผักปัญญาอ่อน(ผักที่ใช้น้ำน้อย) 1 กลุ่ม 3.มีแปลงสาธิตการปลูกผัก 4 แปลง 4.เกิดครัวเรือนเกษตรอินทรีย์ต้นแบบ 20 ครัวเรือน

    1.มีแปลงเกษตรอินทรีย์เกิดขึ้น 60 ครัวเรือน ครัวเรือนละแปลง รวมจำนวน 60 แปลง
    2.เกิดกลุ่มปลูกผักปัญญาอ่อน(ผักที่ใช้น้ำน้อย) 1 กลุ่ม
    3.มีแปลงสาธิตการปลูกผัก 3 แปลง
    4.เกิดครัวเรือนเกษตรอินทรีย์ต้นแบบ 20 ครัวเรือน

    2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาการปลูกผักปัญญาอ่อน
    ตัวชี้วัด : 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 60 ครัวเรือน 2. คนในชุมชนมีความรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์แบบวิถีพอเพียงเพิ่มขึ้น 50% 3.มีการทำปุ๋ยหมักใช้ในชุมชน จำนวน 4 กลุ่ม

    1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 60 ครัวเรือน
    2.คนในชุมชนมีความรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์แบบวิถีพอเพียงเพิ่มขึ้น 60 ครัวเรือน
    3.มีการทำปุ๋ยหมักใช้ในชุมชน จำนวน 4 กลุ่ม

    3 เพื่อนำพื้นที่ว่างเปล่าของครัวเรือนมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดนการทำแปลงปลูกผัก เกิดความรัก สามัครคีในครัวเรือน
    ตัวชี้วัด : 1.พื้นที่ว่างเปล่าของครัวเรือนมีการปลูกผัก จำนวน 60 ครัวเรือน 2.แปลงผักในครัวเรือนปลอดสารพิษ จำนวน 60 ครัวเรือน

    1.พื้นที่ว่างเปล่าของครัวเรือนมีการปลูกผัก จำนวน 60 ครัวเรือน
    2.แปลงผักในครัวเรือนปลอดสารพิษ จำนวน 60 ครัวเรือน

    4 เพื่อให้เกิดกลุ่มสภาผู้นำในชุมชนที่สามารถขับเคลื่อนสู่ชุมชนเข้มแข็งได้
    ตัวชี้วัด : 1.มีสภาผู้นำร่วมกันขับเคลื่อนการทำกิจกรรมในชุมชนอย่างต่อเนื่องขึ้นมาอย่างน้อย 1 กลุ่ม จำนวน 20 คน

    1.มีสภาผู้นำร่วมกันขับเคลื่อนการทำกิจกรรมในชุมชนอย่างต่อเนื่องจำนวน 20 คน

    5 เพื่อให้ครัวเรือนสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้
    ตัวชี้วัด : 1.มีแผนปฏิบัติการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ 2.ครัวเรือนมีการทำบัญชีครัวเรือนจำนวน 60 ครัวเรือน

    1.มีแผนปฏิบัติการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้เข้าแผนของชุมชน
    2.ครัวเรือนมีการทำบัญชีครัวเรือนจำนวน 50 ครัวเรือน

    6 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ร้อยละ 100 ของจำนวนครั้งที่จัด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เกิดการทำเกษตรอินทรีย์โดยการใช้ภูมิปัญญาการปลูกผักปัญญาอ่อน(ผักที่ใช้น้ำน้อย) แบบดั้งเดิมคือการเผาหน้าดินเพื่อปรับ PH ของดิน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนธาตุในดิน เพื่อทำลายเม็ดหญ้าที่อยู่บนผิวดิน การคลุมฟาง เพื่อรักษาน้ำในดิน (2) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาการปลูกผักปัญญาอ่อน (3) เพื่อนำพื้นที่ว่างเปล่าของครัวเรือนมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดนการทำแปลงปลูกผัก เกิดความรัก สามัครคีในครัวเรือน (4) เพื่อให้เกิดกลุ่มสภาผู้นำในชุมชนที่สามารถขับเคลื่อนสู่ชุมชนเข้มแข็งได้ (5) เพื่อให้ครัวเรือนสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้ (6) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ผักปัญญาอ่อนสร้างสุขบ้านแขก

    รหัสโครงการ 58-03917 รหัสสัญญา 58-00-1885 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    การปลูกผักใช้น้ำน้อยในภาวะที่ชุมชนขาดแคลนเป็นภูมิปัญญาของคนในชุมชนที่เลือกปลูกพืชและขั้นตอนวิธีในการจัดการโดยใช้น้ำน้อย

    เอกสารสรุปโครงการ

    ให้ชุมชนมีการเรียนรู้การปลูกผักใช้น้ำน้อยเพื่อแก้ปัญหาในภาวะขาดแคลนน้ำในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    เกิดกระบวนการเรียนรู้โดยเยาวชนร่วมจัดเก็บและสำรวจข้อมูลของชุมชน

    เอกสารสรุปโครงการ

    ให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมทำกิจกรรมในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    ปราชญ์ในชุมชนร่วมถ่ายทอดความรู้การปลูกผักใช้น้ำน้อย การทำปุ๋ยหมักแบบน้ำและแบบแห้ง คนในชุมชนเรียนรู้ร่วมกัน

    เอกสารสรุปโครงการ

    ให้ชุมชนมีการเรียนรู้โดยคนในชุมชนร่วมถ่ายทอด ความรู้สู่ไปยังคนรุ่นต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    บ้านต้นแบบการปลูกผักใช้น้ำน้อยของคนในชุมชน โดยมีการแบ่งเป็นละแวกบ้านปลูกพืชตามความเหมาะสมของพื้นที่

    โซนละแวกบ้านจำนวน 4 โซน

    ขยายผลเพิ่มเติมให้ครอบคลุมทั้งหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    บ้านต้นแบบการปลูกผักใช้น้ำน้อยของคนในชุมชน

    โซนละแวกบ้านจำนวน 4 โซน

    เป็นฐานเรียนรู้ของคนในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    คนในครัวเรือนได้บริโภคผักปลอดสารพิษ

    เอกสารสรุปโครงการ

    ส่งเสริมการปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษจากการเกษตรในครัวเรือนเอง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    คนในครัวเรือนได้บริโภคผักปลอดสารพิษ

    เอกสารสรุปโครงการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    ได้มีการรณรงค์การลด ละ เลิกบุหรี่แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและประชาสัมพันธ์ผ่านทางแผ่นป้ายในชุมชน

    ป้ายลดละเลิกบุหรี่ในชุมชน

    ส่งเสริมให้มีการรณรงค์ลด ละ เลิก อบายมุข อื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการปลูกผักใช้น้ำน้อยให้เหมาะสมกับฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไป มีการนำวัสดุในชุมชน เช่น มูลสัตว์ เศษพืชมาใช้ให้เกิดประโยชน์

    เอกสารสรุปโครงการ

    ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้การปลูกผักใช้น้ำน้อยตามฤดูที่ขาดแคลนน้ำ ให้คนในชุมชนเรียนรู้ร่วมกัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    คนในชุมชนได้มีการปลูกผักและบริโภคผักปลอดสารพิษ

    เอกสารสรุปโครงการ

    ส่งเสริมให้คนในชุมชนได้มีการปลูกผักและบริโภคผักปลอดสารพิษขยายสู่กลุ่มอื่น ๆ ในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    มีการใช้มูลสัตว์ เศษพืช เศษวัสดุที่มีในบ้านในชุมชนเพื่อนำมาทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพลดต้นทุนและลดการใช้สารเคมีในการเกษตร

    เอกสารสรุปโครงการ

    ส่งเสริมการปลูกผัก การทำปุ๋ยหมัก เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    มีการปลูกผักปลอดสารพิษ ทำปุ๋ยหมักใช้เองเพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้

    เอกสารสรุปโครงการ

    ส่งเสริมการปลูกผัก การทำปุ๋ยหมัก เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    มีการประชุมประจำเดือนของคณะกรรมการเพื่อวางแผน แก้ไขปัญหา และให้ผู้เข้าร่วมโครงการปฏิบัติตามกติกากลุ่ม

    บันทึกการประชุม

    ให้มีการประชุมประจำเดือนเพื่อวางแผน พัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มเครือข่ายอื่นๆ ในชุมชนเพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ในการพัฒนาชุมชน

    เอกสารสรุปโครงการ

    เชื่อมโยงเครือข่ายแลกเปลี่ยนความรู้ช่วยเหลือซึ่งกันและอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีปราชญ์ในชุมชนร่วมกันถ่ายทอดให้ความรู้เรื่องการปลูกผักใช้น้ำน้อยตามภูมิปัญญท้องถิ่น ร่วมฝึกปฏิบัติพร้อมกัน ร่วมเพาะปลูกตามละแวกบ้านใช้พื้นที่ว่างรอบครัวเรือนของตนเองลดการใช้สารเคมี

    เอกสารสรุปโครงการ

    ค้นหาทุนของชุมชมเพื่อนำเข้ามาร่วมช่วยกันพัฒนาชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    กลุ่มคนในชุมชนร่วมมือกันทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

    รายงานบันทึกกิจกรรมโครงการ

    ส่งเสริมการทำกิจกรรมที่มีประโยชน์อย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    คนในชุมชนร่วมกันจัดการความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมัก การปลูกผักใช้น้ำน้อยตามภูมิปัญญาท้องถิ่น

    เอกสารสรุปโครงการ

    ส่งเสริมการทำกิจกรรมในชุมชนเพื่อสร้างความสามัคคี ร่วมเรียนรู้ซึ่งกันและกันเพื่อช่วยการพัฒนาชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    คณะกรรมการร่วมกันประชุมทุกเดือนเพื่อวางแผน ประเมิน ตัดสินใจแก้ปัญหา โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

    รายการบันทึกประชุม

    ส่งเสริมให้มีกระบวนการจัดการแก้ไขปัญหาในชุมชน โดยนำข้อมูลปัญหามาจัดลำดับ และระดมความคิดเห็นของคนในชุมชน วางแผน หาแนวทางแก้ไข ประเมินติดตาม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    คนในชุมชนเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาของชุมชน ปราชญ์ในชุมชนร่วมถ่ายทอดความรู้การทำปุ๋ยหมัก การปลูกผัก ร่วมฝึกปฎิบัติและร่วมเรียนรู้ ร่วมแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน

    บันทึกกิจกรรมโครงการ

    ให้มีการดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วม คงไว้ซึ่งกิจกรรมการช่วยเหลือกันเองในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    เด็กเยาชนช่วยกันสำรวจข้อมูลชุมชน คนในชุมชนนมีการนำมูลสัตว์ เศษพืช ช่วยกันในการทำปุ๋ยฝึกปฏิบัติพร้อมกัน เรียนรู้การปลูกผักเกิดความรู้ความช่วยเหลือซ่ึ่งกันและกัน

    เอกสารสรุปโครงการ

    ให้มีการดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วม คงไว้ซึ่งกิจกรรมการช่วยเหลือกันเองในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ผักปัญญาอ่อนสร้างสุขบ้านแขก จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 58-03917

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย สานิตย์ แดงนวล )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด