แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 1

รหัสโครงการ 58-03971
สัญญาเลขที่ 58-00-2180

ชื่อโครงการ ปลุกจิตสำนึกชุมชน คนป่าเสม็ดอนุรักษ์ป่าชายเลน
รหัสโครงการ 58-03971 สัญญาเลขที่ 58-00-2180
ระยะเวลาตามสัญญา 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นฤมล ฮะอุรา
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 8 กุมภาพันธ์ 2016
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 28 กุมภาพันธ์ 2016
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นายฮะเฉดยาพระจันทร์ 53 หมู่ที่ 2 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล 0872950551
2 นายอับดุลเลาะหล่าด้ำ 71 หมู่ที่ 2 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล 0812758285
3 นายวรวุฒิหล่าด้ำ 71 หมู่ที่ 2 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล 0899786290

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อสร้างกลไกสภาผู้นำชุมชนป่าเสม็ด ตำบลท่าเรือ ในการจัดการป่าชายเลนและสัตว์น้ำ ทั้งการอนุรักษ์ ป้องกัน ฟื้นฟู และพัฒนาและดึงการมีส่วนร่วมของชุมชน

1.มีการประชุมทุกเดือน จำนวน 10 เดือน

2.แต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

3.การประชุมทุกครั้ง มีการปรึกษาหารือเรื่อง โครงการ และ เรื่องอื่นๆของชุมชน

2.

เพื่อใช้พลังของข้อมูลสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลน

  1. ได้ข้อมูลป่าชายเลนของชุมชน 1 ชุดข้อมูลที่ประกอบไปด้วย ข้อมูลต้นไม้ สัตว์บก สัตว์น้ำ และความสมบูรณ์ของสิ่งเหล่านั้น

3.

เพื่อหนุนเสริมให้เกิดปฏิบัติการป้องกัน อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาป่าชายเลน

  1. ป่าชายเลนได้รับการต่อยอด พัฒนาให้เกิดประโยชน์ 1-3 กิจกรรม
  2. เกิดกติกาชุมชนในการป้องกัน อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาป่าชายเลน

4.

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

  1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด
  2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
  3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
  4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : ประชุมทำความเข้าใจกับแกนนำโครงการi

3,675.00 35 ผลผลิต
  • ทีมแกนนำ เรียกว่า สภาผู้นำป่าเสม็ด จำนวน35ได้ทราบที่มาวัตถุประสงค์และรายละเอียดกิจกรรม
  • ได้ทำแผนกิจกรรมคร่าวๆว่ากิจกรรมใดควรจัดเมื่อไหร่

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • สภาป่าเสม็ด 35 คนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเมื่อได้รับทราบรายละเอียดกิจกรรม
  • เกิดการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบว่าใครจะทำหน้าที่หลักเรื่องอะไร

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

ผู้นำศาสนา อสม. กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเยาวชน กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านป่าเสม็ดกลุ่มอาสาสมัครรักษาทะเลและชายฝั่ง 

3,675.00 3,675.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้คณะกรรมการสภาชุมชนคนรักษ์ป่าเสม็ด จำนวน 35 คน

  1. นายฉะเฉด ยาพระจันทร์

  2. นายอับดุลเหลาะ หล่าด้ำ

  3. นายสมโชค ศรีสังเวช

  4. นายศราวุธ เตาวะโต

  5. นายดลเล๊าะ ยาพระจันทร์

  6. นายรอหนี สังหยาหยา

  7. นายวาเหยบ ยาพระจันทร์

  8. นายยูโสบ ขุนสะเร๊ะ

  9. นายอุเส็น สตันหน็อต

  10. นางกัญญา ชุมประเสร็ฐ

  11. นายประเสร็ฐ ส่งเอียด

  12. นางนที ส่งเอียด

  13. นางสรรเสิญ เตาวะโต

14.นางวันดี หมันทุย

  1. นายแอ๋ว ส่งเอียด

  2. นายมอหัมมาด ยาประจัน

  3. นางสนธยา เตาวะโต

  4. นายนิสัน สตันหน็อต

19.นางตีกาโสม สังหยาหยา

20.นางฮาดีเย๊าะ หมิแลหมัน

21.นายดลเลาะ ยาพระจันทร์

22.นายวิจิตร เจริญสุข

23.นายวาหาบ ยาพระจันทร์

24.นายปรีชา เหมมันต์

25.นายฮาซัน กลิ่นรส

26.นายกาหรีม สุวรรณ

27.นางสาวสุนันทา สตันหน็อต

28.นายสักรียา ยาพระจันทร์

29.นายณัฐพงค์ หล่าด้ำ

30.นายดลฮาซาน สตันหน็อต

31.นายวรวุฒิ หล่าด้ำ

32.นายสมใจ สตันหน็อต

33.นายศิริชัย รักธรรม

34.นายมนัส อุรุกะชาติ

35.นายจิต สตันหน็อต

กิจกรรมหลัก : ประชาสัมพันธ์โครงการi

22,500.00 200 ผลผลิต
  • ชาวบ้าน 200 คน มาร่วมฟังการชี้แจงโครงการ
  • กิจกรรมร่วมได้แก่ วิทยากรบรรยายความสำคัญของป่าชายเลน การอ่านอัลกรุอาน การขับร้องอัลนาชีดของนักเรียนตาดีกา

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ประชาชน 200 คน มาร่วมเวทีอย่างเนืองแน่น และพร้อมให้ความร่วมมือที่จะร่วมอนุรักษ์ป่าชายเลนของหมู่บ้าน
  • ประชาชน 200 คน รับทราบถึงวัตถุประสงค์ รายละเอียดของโครงการอย่างทั่วถึง
  • ประชาชนได้รู้จักคณะทำงาน 5 คนสมาชิกสภาป่าเสม็ด 35 คน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

กลุ่มผู้นำศาสนา อสม. กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเยาวชน กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านป่าเสม็ดกลุ่มอาสาสมัครรักษาทะเลและชายฝั่ง และประชาชนพื้นที่ใกล้เครียง เจ้าหน้าที่ อบต.

22,500.00 22,500.00 200 210 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชาวบ้านในหมู่บ้านและบ้านใกล้เคียง มีความรู้สึกรื่นเริง สนุกสนานในกิจกรรมประชาสัมพันธ์ และได้ความรู้ ความเข้าใจ เกียวกับข้อมูลที่วิทยากรได้บรรยาย ให้มีความรู้สึกรักและห่วงแหนป่าชายเลนให้คงอยู่จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน

  • มีความเข้าใจกิจกรรมรายละเอียด ที่มาของโครงการ เกิดความร่วมมือในการทำกิจกรรมของคนในชุมชน

ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ กลุ่มผู้นำศาสนา กลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มสตรี เยาวชน ข้าราชการเกษียญ ผู้สูงอายุ ตัวแทนครัวเรือน

0.00 0.00 200 200 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชาวบ้าน200คนในชุมชนได้รับทราบโครงการและตอบรับการจัดทำโครงการที่จะเกิดขึ้นต่อไปเป็นอย่างดี
  • แกนนำโครงการ 35 คน ที่ไม่ได้ไปเข้าร่วมปฐมนิเทศ มีความเข้าใจ เรื่อง ระยะเวลางวดเงิน การทำงานส่งแต่ละงวด เอกสารทางการเงิน และการรายงานกิจกรรมบนเว็บไซต์
  • ทีมผู้รับผิดชอบโครงการ และสภาฯ รวม 15 คนมีความเข้าใจในการวางแผนดำเนินงาน การทำเอกสารคำสั่งสภาผู้นำ การทำใบลงทะเบียนมากขึ้น

กิจกรรมหลัก : อบรมบทบาทสภาผู้นำชุมชนป่าเสม็ดi

5,550.00 35 ผลผลิต
  • สมาชิกสภาฯ 35 คน ได้อบรมบทบาทหน้าที่ของสภา ข้อบังคับสภา และแนวคิดเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถนำไปขยายผลและต่อยอด
  • มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบตามกลุ่มกิจกรรมโครงการ เพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้
  • สมาชิกสภาฯ35 คน ได้ทำความรู้จักซึ่งกันและกัน มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานในแต่ละกลุ่มที่สังกัด และประชาสัมพันธ์งานของตนเอง

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • เกิดสภาผู้นำชุมชน ในชื่อ สภาผู้นำป่าเสม็ด 1 สภา มีสมาชิก 35 คน
  • ได้โครงสร้างการทำงาน ประธาน รอง ทีมเลขาและวิชาการ ทีมจัดกิจกรรม และทีมประสานงานแจ้งข่าว
  • ได้แผนการทำงานอย่างคร่าวๆ ของการทำกิจกรรมสำรวจป่าชายเลน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

กลุ่มผู้นำศาสนา อสม. กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเยาวชน กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านป่าเสม็ดกลุ่มอาสาสมัครรักษาทะเลและชายฝั่ง

5,550.00 5,550.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานสมาชิกสภาชุมชนคนรักษ์ป่าเสม็ดได้รู้ถึงหน้าที่การทำงานของแต่ละบุคคล

นายฮะเฉด ยาพระจันทร์ ประธานสภาชุมชนคนรักษ์ป่าเสม็ด

นายรอหนี สังหยาหยา รองประธานคนที่ 1

นายศราวุธ เตาวะโต รองประธานคนที่ 2

นายวรวุฒิ หล่าด้ำ การเงิน
นายอับดุลเหลาะ หล่าด้ำ ประสานงาน

นายสมใจ สตันหน๊อต หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์

นายยูโสบ ขุนสะเร๊ะ หัวหน้าฝ่ายฟื้นฟู

และคณะกรรมการ

กิจกรรมหลัก : ประชุมสภา ประจำเดือนi

9,220.00 35 ผลผลิต
  • สภาฯ 35 คน ได้ประชุมร่วมกันเพื่อติดตามงาน และวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมถัดไป ได้แก่ กิจกรรมประชาสัมพันธ์ การอบรมบทบาทสภาผู้นำ การจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลน และการสำรวจป่าชายเลน

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • สภาฯได้รู้จักการบริหารจัดการโครงการ การติดตามงาน การเตรียมจัดกิจกรรม
  • กิจกรรมได้ดำเนินไปตามเป้าหมายที่วางไว้ มีล่าช้าบ้างถือเป็นโอกาสพัฒนาของโครงการ
  • นายวรวุฒิ หล่าด้ำ เป็นผู้ประสานโครงการ ที่เพิ่งจบปริญญาตรี มาช่วยงานชุมชน ได้ฝึกประสบการณ์การทำงานทั้งการประสานงานกับหน่วยงานภายนอก กับพี่เลี้ยง การจัดทำเอกสารการเงิน และการรายงานหน้าเวป

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 9 ครั้ง

กลุ่มผู้นำศาสนา อสม. กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเยาวชน กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านป่าเสม็ดกลุ่มอาสาสมัครรักษาทะเลและชายฝั่ง

1,380.00 1,380.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สมาชิกสภาชุมชนคนรักษ์ป่าเสม็ดรับทราบรายละเอียดกิจกรรมที่จัดขึ้น ทุกคนที่เชิญมาวันนี้จะแต่งตั้งให้เป็นตัวแทน สภาผู้นำชุมชน ในชื่อว่า สภาชุมชนคนรักษ์ป่าเสม็ด จำนวน 35 คน มีบทบาทหน้าที่การบริหารจัดการโครงการนี้ให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
  • สมาชิกสภาชุมชนคนรักษ์ป่าเสม็ดมีหน้าที่รับผิดชอบ อนุรักษ์ ป้องกัน ฟื้นฟู ป่าชายเลน
  • ตั้งสภาชุมชน และตั้งกลุมฟื้นฟู สำรวจป่าเสื่อมโทรมและปลูกป่าทดแทน ฟื่นฟูกติกาอนุรักษ์ป่าชายเลน ทำแหล่งท่องเที่ยวศูนย์การเรียนรู้ป่าชายเลน โดยให้เด็กเยาวชนเป็นมัคคุเทศน์ โดยเราจะจัดกิจกรรมต่อไปตามแบบแผนที่ตีั้งไว้

กลุ่มผู้นำศาสนา อสม. กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเยาวชน กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านป่าเสม็ดกลุ่มอาสาสมัครรักษาทะเลและชายฝั่ง

980.00 980.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สมาชิกสภาชุมชนคนรักษ์ป่าเสม็ด รับทราบรายละเอียดกิจกรรมที่จะจัดขึ้นและหน้าที่ความรับผิดชอบของตนที่ได้รับมอบหมาย ได้แก่ การเตรียมข้อมูลที่พูดคุยเรียนเชิญวิทยากร ดูแลเรื่องอาหาร การจัดสถานที่ การประสานงานให้คนมาร่วมกิจกรรม
  • สมาชิกสภาชุมชนคนรักษ์ป่าเสม็ด ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

กลุ่มผู้นำศาสนา อสม. กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเยาวชน กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านป่าเสม็ดกลุ่มอาสาสมัครรักษาทะเลและชายฝั่ง

980.00 980.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ประชาชนมีความรู้สึกตื่นเต้น ที่จะจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยว

  • มีกลุ่มอนุรักษ์ 30 คน รับผิดชอบตามหลัก ป้องกัน อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา

  • ได้ผลตอบรับเป็นอย่างดีในการจัดกิจกรรม

สมาชิกสภาชุมชนคนป่าเสม็ดอนุรักษ์ป่าชายเลน

980.00 980.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รายงานผลการสำรวจความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน ไป 1/3ของพื้นที่ ให้สภาผู้นำได้รับทราบ
  • สามแยกคลองปากวัง ป่าชายเลนข้างๆมีความอุดมสมบูรณ์ดี
  • คลองหลังน้อย มีป่าชายเลนข้างๆมีความสมบูรณ์น้อย
  • เกาะกลาง มีป่าชายเลนข้างๆมีความอุดมสมบูรณ์ เพราะมีพื้นที่เป็นเกาะกลางทะเลมีทางเดินเรือข้างๆ
  • คลองไร่ จะมีป่าสมบูรณ์เลนข้างๆเล็กน้อย

สมาชิกสภาผู้นำป่าเสม็ด 35 คน

980.00 980.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้แผนการลงสำรวจ ทีม และโจทย์การสำรวจ
  • วางแผนครั้งที่ 3 นี้ ต้องสำรวจให้หมด 2 โซน เนื่องจากกิจกรรมการสำรวจครั้งที่ 4 จะเป็นการลงป่าชายเลนเพื่อติดป้ายเขตอนุรักษ์
  • วางแผนแบ่งกลุ่มอาสาอนุรักษ์ป่าชายเลนลงสำรวจออกเป็น 2 กลุ่ม คือทีมนายสราวุธ และนายประเสริฐ
  • สิ่งที่ต้องสำรวจคือ การกะประมาณจำนวนไร่ของป่าชายเลนว่า สมบูรณ์กี่ไร่ เสื่อมโทรมกี่ไร่ และเปลี่ยนสภาพไปโดยสิ้นเชิงกี่ไร่ พร้อมทั้งพบเห็นสัตว์อะไรบ้าง เพื่อยืนยันความอุดมสมบูรณ์

สมาชิกสภาผู้นำป่าเสม็ด 35  คน

980.00 980.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ผลสรุปความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน
  • ได้แผนการดำเนินการอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าชายเลน
  • ได้แผนการลงป่าชายเลนติดป้ายแนวเขตอนุรักษ์
  • นายฮะเฉด ยาพระจันทร์ ผู้ใหญ่บ้านกล่าวเปิดการประชุม ขอบคุณพี่น้องสภาที่มาให้ความร่วมมือประชุมกันอย่างครบถ้วน วันนี้ทำการสำรวจป่าชายเลนครบทุกโซน จะได้มาสรุปกันว่าสถานการณ์ป่าชายเลนมีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงไร โดยมอบหมายให้นายอับดุลเลาะห์ สมาชิก อบต.เป็นผู้รายงาน
  • นายอับดุลเลาะห์ รายงานว่าจากการสำรวจทั้งหมด 3ครั้ง ครั้งที่ 1 สำรวจป่าชายเลนโซนคลองปากวัง ครั้งที่ 2 สำรวจโซนคลองหลังน้อย ครั้งที่ 3 สำรวจโซนท่าตลาดนัดถึงท่าป่าเสม็ด และโซนเกาะกลาง ผลสรุปจากพื้นที่ป่าชายเลนของบ้านป่าเสม็ดมีทั้งหมด 1500ไร่ เป็นป่าสมบูรณ์ 1000ไร่ ป่าเสื่อมโทรม 400 ไร่ และป่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง100ไร่
  • นายสราวุฒิ เตาวะโต ประธานทีมอาสาอนุรักษ์ฯ วิเคราะห์บทสรุปว่า ป่าชายเลนของหมู่บ้านมีความสมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งได้เป็นแหล่งเพาะพันธ์ุสัตว์ เป็นแหล่งอาหารของคนในหมู่บ้านเราและหมู่บ้านข้างเคียง ในส่วนป่าเสื่อมโทรม 400 ไร่ เราควรวางแผนไปปลูกซ่อมแซม และลาดตระเวนติดตาม และพื้นที่ป่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงที่ถูกทำเป็นนากุ้ง 100 ไร่ ในส่วนที่เป็นนากุ้งร้างให้เราขอพื้นที่คืน แล้วปรับเป็นพื้นที่ศึกษาป่าชายเลน ปลูกซ่อมไปเรื่อยๆ ส่วนไหนขอคืนไม่ได้ก็ค่อยๆ ทำส่วนนี้ให้เขาเห็น เขาอาจคืนให้สักวัน ซึ่งมีข่าวดีว่าพื้นที่นากุ้งติดตลาดนัด คนที่ทิ้งร้างไว้จะคืนกลับให้หมู่บ้านประมาณ 8 ไร่
  • นายอับดุลเลาะห์ สมาชิก อบต. แจ้งว่า การออกป่าชายเลนครั้งต่อไป จะเป็นการลงไปติดป้ายแนวเขตอนุรักษ์ จำนวน 60 ป้าย ขอให้ทุกคนพร้อมใจมาช่วยกันอีกครั้ง

สมาชิกสภาผู้นำป่าเสม็ด 35  คน

980.00 980.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดการทบทวนผลงาน ว่าขาดการดำเนินกิจกรรมอะไร เนื่องจากอะไร จะแก้ไขอย่าง
  • ได้แผนการทำงานทบทวนกติกาอนุรักษ์ป่าชายเลน
  • ได้แผนการทำงานลาดตระเวนป่าชายเลน 6 ครั้ง

สมาชิกสภาป่าเสม็ด 35 คน

980.00 980.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้สรุปผลกิจกรรม ที่มีข้อมูลมาแจ้งให้สภาฯรับทราบถึงสานการณ์การลักลอบตัดไม้
  • เกิดกลไกกลุ่อนุรักษฯมาเร่งการจัดเวทีเพื่อยกร่างกติกาอนุรักษ์ขึ้นมาใหม่
  • ได้แผนการทำงานกิจกรรมค่ายอนุรักษ์ฯของเยาวชน

สมาชิกสภาผู้นำป่าเสม็ด 35 คน

980.00 980.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดการมีส่วนร่วมในเรื่อง การร่วมประเมินผล และวางแผนหาแนวทางทำงานต่อไป

กิจกรรมหลัก : ป้องกันการทำร้าย ทำลายป่าชายเลนi

28,525.00 30 ผลผลิต
  • กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลน 30 คน และเยาวชน15 คน การออกสำรวจป่าชายเลนของหมู่บ้านจำนวน 4 ครั้ง

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

-ได้ผลการสำรวจ 1 ชุดข้อมูล ประกอบด้วยจำนวนพื้นที่ถูกบุรุก พื้นที่เปลี่ยนแปลงสิ้นเชิง พื้นที่เสื่อมโทรม และพื้นที่สมบูรณ์ ชนิดพันธุ์สัตวื และพืชที่พบ - กลุ่มอนุรักษ์ 30 คน และเยาวชน15 คน มีความรู้สึกอนุรักษ์ หวงแหนป่าชายเลน เพื่อรักษาให้เป็นแหล่งอาหารของทุกคนต่อไป

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 4 ครั้ง

  • เยาวชน 5 คน กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านป่าเสม็ด 20 คน และกลุ่มอาสาสมัครรักษาทะเลและชายฝั่ง 10 คน ออกสำรวจป่าชายเลน
4,925.00 4,925.00 30 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลการสำรวจพบว่าป่าชายเลนบริเวณนี้ในภาพรวมจัดว่าอยู่ในระดับสมบูรณ์ ไม่มีพื้นที่ถูกบุกรุก
  • ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์และเยาวชนได้ร่วมกันออกสำรวจป่าชายเลน ทำให้เกิดจิตสำนึกอนุรักษ์ หวงแหนป่าชายเลน
  • ได้ข้อมูลความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนโซนสามแยกคลองปากวัง

กลุ่มอนุรักษ์ ป่าชายเลน และ และกลุ่มอาสาสมัครรักษาทะเลและชายฝั่ง 

4,925.00 4,925.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กลุ่มอนุรักษ์ ป่าชายเลน และ และกลุ่มอาสาสมัครรักษาทะเลและชายฝั่ง รวม 30 คน
    ออกสำรวจความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนบริเวณคลองหลังน้อยโดยทางเรือ
  • ผลการสำรวจพบว่าป่าชายเลนบริเวณนี้ในภาพรวมจัดว่าอยู่ในระดับเสื่อมโทรม
    ต้นไม้แคระแกร็นเจริญเติบโตไม่ดี และตายไปเป็นส่วนใหญ่

กลุ่มอาสาสมัครดูแลป่าชายเลน 30 คน

4,050.00 4,050.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดกลไก และกระบวนการติดตามสภาพป่าชายเลนโดยชุมชนเอง
  • ได้ข้อมูลป่า 2 โซน รวม 800 ไร่ มีสภาพสมบูรณ์600 ไร่ เสื่อมโทรม 50 ไร่ เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง 150 ไร่
  • ได้ข้อมูลว่าพบสัตว์น้ำและนก แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า และระบบนิเวศน์

กลุ่มอาสาอนุรักษ์ป่าชายเลน 30 คน

4,050.00 7,775.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้แนวเขตอนุรักษ์ 1 พื้นที่ คือ โวนเกาะกลาง
  • ได้สร้างการณรงค์ โดยติดป้ายรณรงค์การอนุรักษ์ 30 ป้าย

กิจกรรมหลัก : การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามi

10,000.00 2 ผลผลิต
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ 3 คน ได้ประชุมร่วมกับ สจรส 2ครั้ง คือ ปฐมนิเทศ และการเขียนรายงาน/การเสียภาษี
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ 3 คน ได้พบพี่เลี้ยงเพื่อรับคำแนะนำการจัดทำรายงานปิดงวด 2ครั้ง

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ 3 คน ได้เรียนรู้กฎ กติกาของ สสส ระเบียบการเงิน การรายงานผลงานทางเวป
  • ได้จัดเตรียมเอกสารปิดงวด1ให้เรียบร้อย

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 6 ครั้ง

ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้รับผิดชอบทางด้านไอทีโครงการปลุกจิตสำนึกชุมชน คนป่าเสม็ดอนุรักษ์ป่าชายเลนู

2,000.00 1,750.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 5-6 ตุลาคม 2558

  • รับฟังคำบรรยายจาก อ.พงษ์เทพ ในเรื่องการดำเนินโครงการ
  • รับฟังคำบรรยายจาก อ.ภานุมาศ ในเรื่องการใช่เว็ปและการคีย์ข้อมูล
  • สอบถามและรับฟังคำบรรยายจาก คุณนฤมล เรื่องการทำโครงการอย่างชัดเจนและจริงจัง
  • ฟังคำอธิบายและบรรยายเรื่องเรื่อง การทำบัญชี จากคุณธิดา
  • ฟังอธิบายและบรรยายการถ่ายรูป เก็บข้อมูล ของโครงการให้เห็นรูปอย่างเด่นชัด จาก คุณถนอม
  • เริ่มทำการคีย์ข้อมูลแผนดำเนินงานและรายละเอียดกิจกรรมในเว็ป

นาย วรวุฒิ หล่าด้ำ รับผิดชอบทางด้านไอที

200.00 200.00 2 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

บันทึกข้อมูลเพื่อมารับรู้การทำงานร่วมกันและเข้าใจการทำงานในระบบผ่านเว็ปและติดตามการดำเนินโครงการให้เสร็จสมบูรณ์พร้อมทั้งเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน เช่นการเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการ
การจัดการเอกสารการเงินและการทำรายงานการเงินที่ถูกต้อง
การหักภาษีโครงการชุมชนน่าอยู่ ซักถามแลกเปลี่ยน
สรุปและถอดบทเรียนร่วมกัน

ผู้รับผิดชอบโครงการ 2 คน

0.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ2คน เข้าใจการเขียนรายงานมากขึ้น สามารถทำได้ดีขึ้น เข้าใจการจัดการเอกสารการเงิน ทำได้ถูกต้อง

ผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้ประสานงาน

800.00 800.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

  - เอกสารงวดที่หนึ่งเรียบร้อย เบิกเงินงวดที่สองได้

แกนนำโครางการ 2 คน

3,000.00 2,028.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้เห็นผลงานของโครงการแต่ละโครงการที่นำมาจัดบูตเสนอผลงาน  ซึ่งผลงานที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการสามารถมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน
  • ได้ข้อคิดและแรงบันดาลใจจากการฟังเสวนาจากโครงการที่ได้นำเสนอเป็นตัวอย่างบนเวที  เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาโครงการของตนเองต่อไป
  • ได้รับข้อมูลและความรู้ใหม่ๆ มากมายจากจัดกิจกรรมครั้งนี้ เช่นจากหนังสือ จากห้องเสวนาย่อย จากการถามตามบูตต่างๆ เป็นต้น

แกนนำโครงการ 2  คน

4,000.00 1,599.77 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เอกสารหลักฐานการทำงานปิดงวด 2 เรียบร้อย สมบูรณ์

กิจกรรมหลัก : ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงานi

3,000.00 2 ผลผลิต
  • ได้ป้ายจำนวน8ป้ายติดที่อาคารอเนกประสงค์ มัสยิด ถนนในหมู่บ้าน

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • คนในหมู่บ้าน 700 คน ได้รับการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่
  • มัสยิด อาคารอเนกประสงค์กลายเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

ชาวบ้านป่าเสม็ดที่ผ่านไปมาในสถานที่ติดป้าย

1,000.00 1,000.00 500 500 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทำป้ายปลอดบุหรี่ จำนวน 7 แผ่น ปิดประกาศในชุมชน จัดทำพื้นที่เขตปลอดบุหรี่

ภาพถ่ายจำนวน 100 รูป ซีดีภาพ 10 แผ่น

1,000.00 1,000.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ภาพถ่ายจำนวน 100 รูป ซีดีภาพ 10 แผ่น

รายงานสรุปผลการทำงาน 5 เล่ม

1,000.00 1,000.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รายงานสรุปผลการทำงาน 5 เล่ม

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
นายอับดุลเลาะ หล่าด้ำ 71 หมู่ที่ 2 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
  • เป็นสมาชิก อบต.ที่มีความสามารถในการประสานงานกับชุมชน มีความคิดรวบยอดเข้าใจการวางแผนการทำงานได้ง่าย ช่วยสนับสนุนการประสานงานกับภายนอก สนับสนุนทรัพยากร ชักชวนการมีส่วนร่วมจากชุมชนได้เป็นอย่างดี
นายวรวุฒิ หล่าด้ำ 71 หมู่ที่ 2 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

เป็นบุตรของสมาชิก อบต.ผู้รับผิดชอบโครงการ เพิ่งจบปริญญาตรี มาช่วยประสานงานโครงการ ยังขาดทักษะการเขียนรายงานขึ้นเวป แต่งานอื่นสอนงานง่าย เป็นงานไว ทำหลักฐานการเงินได้ถูกต้อง เรียบร้อย

2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม

ผู้ประสานงานขาดทักษะการเขียนรายงานขึ้นเวป

เข้าพบพี่เลี้ยงบ่อย เพื่อขอคำแนะนำ เมื่อได้รับคำแนะนำลองทำเพื่อให้พี่เลี้ยงให้ชี้แนะต่อไป

สอนแนะแบบตัวต่อตัว สอนทักษะการสรุปประเด็น และวางแผนหาคนมาช่วยเสริมการเขียนรายงาน

3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

เห็นทีมการทำงานเป็นสองทีม แบ่งแยกชัดเจน คือทีมบริหารจัดการจะทำหน้าที่อำนวยความสะดวก ประสานงานภายนอก และทีมเคลื่อนงานจะทำหน้าที่กำหนดรูปแบบกิจกรรม จัดงาน ทำเอกสาร และรายงานลงเวป

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

ทีมเคลื่อนงานที่ทำหน้าที่ลงเวปไซด์ยังขาดความเข้าใจในการเขียนรายงาน พี่เลี้ยงให้คำแนะนำแต่ยังเขียนสรุปสิ่งที่ได้ไม่เข้าใจ พี่เลี้ยงวางแผนค้นหาคนในชุมชนมาช่วยภาระงานด้านนี้อีกคน

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

กิจกรรมงวด 1ยังใช้เงินไม่หมด แต่เกินร้อยละ 50แล้ว และร่วมปรับแผนการทำงานให้เร่งจัดกิจกรรมในงวดที่สอง ผลของการจัดกิจกรรมบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเฉพาะการสำรวจป่าชายเลน มีการวางแผนก่อนลงสำรวจ และได้ข้อมูลจริง

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

มีการเบิกเงินมาไว้ในมือเกิน5,000 บาท โดยไม่ได้จัดกิจกรรม พี่เลี้ยงได้ติดตามให้นำเงินเข้าธนาคารไว้ก่อน ค่อยเบิกเวลาใกล้จัดกิจกรรม

2.2 การใช้จ่ายเงิน

การใช้จ่ายเงินตรงตามสัญญาโครงการ

2.3 หลักฐานการเงิน

หลักฐานการเงินช่วงแรกไม่เข้าใจเรื่องการใช้ใบเสร็จ หรือการใช้ใบสำคัญรับเงิน พี่เลี้ยงแนะนำ เข้าใจ และปฏิบัติได้ถูกต้อง

ผลรวม 0 0 4 0
ผลรวมทั้งหมด 4 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

มีทีมในการทำงาน มีแผนการทำงาน แต่ต้องปรับในงวดที่สอง มีศักยภาพในการทำงาน แต่ผลลัพธ์อาจต้องรอดูในงวดถัดไป เนื่องจากงวดที่ 1 ไม่ได้ทำกิจกรรมมาก การใช้จ่ายเงินมีการทำผิดข้อตกลงเรื่องการถือเงินสดในมือแต่ได้แก้ไขแล้ว หลักฐานการเงินถูกต้อง ครบถ้วน จึงเห็นควรให้ปิดงวด1 ได้

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

บ้านป่าเสม็ดมีสมาชิกอบต.เป็นผู้รับผิดชอบและเป็นกลไกการดำเนินงาน โดยมีผู้ประสานงานหลักเป็นเยาวชนเพิ่งจบปริญญาตรี มีความติดขัดเรื่องการประสานงานกับชาวบ้านแต่มีทีมบริหารจัดการเป็นทีมสนับสนุนและจัดการการประสานชาวบ้านอยู่ นอกจากนี้ผู้ประสานงานยังขาดทักษะเรื่องการเขียนรายงานทางเวปไซด์ แต่ทั้งหมดถือเป็นโอกาสพัฒนาของพื้นที่ต่อไป พี่เลี้ยงต้องดูแลช่วยวางแผนใกล้ชิดต่อไปในงววดที่สอง

สร้างรายงานโดย narumon Satun