แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 3

รหัสโครงการ 58-03948
สัญญาเลขที่ 58-00-1917

ชื่อโครงการ บ้านห้วยไทร หมู่ 10 น่าอยู่ฟื้นฟูเศรษฐกิจเน้นความเจริญด้านอาหาร
รหัสโครงการ 58-03948 สัญญาเลขที่ 58-00-1917
ระยะเวลาตามสัญญา 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นางสาวอนัญญา แสะหลี
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2 นางกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 15 ตุลาคม 2016
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 15 ตุลาคม 2016
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นายสุไหลหมาน สายเส็น 151 ม. 10 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล 0911709546
2 นายสุชาติ หมาดง๊ะ 136 ม. 3 ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล 0896544945

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งและสามารถจัดการข้อมูลชุมชนได้

  • มีฐานข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของคนในชุมชนจำนวน 1 ชุด
  • มีแกนนำชุมชนและเด็กเยาวชนที่มีทักษะในการเก็บข้อมูลจำนวน 20 คน
  • มีแผนปฏิบัติงานของพื้นที่

2.

เพื่อให้เกิดกระบวนการการจัดการปัญหาหนี้สินในชุมชน

  • มีครัวเรือนต้นแบบการทำบัญชีครัวเรือนจำนวน 30 ครัวเรือน
  • มีกติการ่วมของชุมชน

3.

เพื่อพัฒนาศักยภาพกลไกการขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่

  • มีคณะทำงานโครงการจำนวน 15 คน จำนวน 1 ชุด
  • เกิดสภาหมู่บ้าน1 สภา
  • สมาชิกสภาประกอบด้วย กรรมการหมู่บ้าน และตัวแทนกลุ่มต่างๆในชุมชนจำนวน30 คน
  • มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80
  • มีแผนปฏิบัติการอย่างน้อย 5 แผน
  • ประชุมกรรมการสภา 10 ครั้ง

4.

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

  1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด
  2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
  3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
  4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านจำนวน 10 ครั้ง/ปีi

8,200.00 0 ผลผลิต

ในงวดที่ 3 จัดกิจกรรมประชุมคณะทำงานสภาผู้นำหมู่บ้านจำนวน 1 ครั้ง จัดกิจกรรมวันที่ 10 ก.ย.59 มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 30 คน เป็นการวางแผนในการจัดกิจกรรมของพื้นที่และการสรุปปิดโครงการ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ได้วันเวลาในการลงพื้นที่ประเมินโครงการ
  • ได้รับแนวคิดของทีมสภาในการนำเสนอกวัตถุดิบในการจัดกิจกรรม
  • ได้มีการเสนอเพื่อให้กลุ่มมีการต่อยอดโครงการต่อไป

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 10 ครั้ง

ผู้ใหญ่บ้าน  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  บัณฑิตอาสาฯ  อสม.  กลุ่มสตรี  อบต.และผู้แทนกลุ่มต่างๆ

820.00 850.00 30 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้แต่งตั้งประธานรองประธานเลขานุการเหรัญญิกและคณะกรรมการฝ่ายต่างๆเกิดจิตอาสาการทำงานมากขึ้นเข้าใจและยอมรับกิจกรรมตามแผนที่ได้วางไว้
  • คณะทำงานได้เสนอความคิดเห็นกันปัญหาการรวมกลุ่มการอยู่ด้วยกันในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องไปด้วยกันและการพัฒนาสภาให้มีความรับผิดชอบมีจิตอาสาในการทำงานช่วยเหลือชุมชนให้มีผู้นำที่เข้มแข็งและพร้อมที่จะช่วยเหลือแก้ปัญหาให้กับคนในชุมชนและชุมชนเองก็จะเจริญก้าวหน้าสามารถรับกับสถานการณ์ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมากมายในปัจจุบันมีการเลือกแต่งตั้งประธานสภารองประธานสภาเลขานุการเหรัญญิกและกรรมการฝ่ายต่างๆ

คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา ส.อบต. อสม. โรงเรียน กลุ่มสตรี 

820.00 750.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 2 ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยไทร จำนวน 30 คน มีการประชุมชี้แจงเรื่องประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบ และร่วมวางแผนการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป คือ ประชุมคณะทำงานวิชาการออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชน และแกนนำกลุ่มภาคีต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียนผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้าน และกำหนดจัดประชุมสภาผู้นำทุกวันที่ 20 ของเดือน

คณะทำงานโครงการ คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา ส.อบต. อสม. โรงเรียน กลุ่มสตรี กองทุนหมู่บ้าน จำนวน 30 คน

820.00 750.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 3 ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยไทร จำนวน 30 คน มีการประชุมชี้แจงเรื่องประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบ และร่วมวางแผนการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป คือ ประชุมคณะทำงานลงเก็บข้อมูล จำนวน 20 คน ตามแบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชน และแกนนำกลุ่มภาคีต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้าน และกำหนดจัดประชุมสภาผู้นำทุกวันที่ 20 ของเดือน

คณะทำงานโครงการรพ.สต. สมาชิก อบต อสม. 30 คน

820.00 820.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่20กุมภาพันธ์2559เวลา13.00 น นางกิ่งดาวเอ็กหลีประธานชุมชนได้กล่าวพูดถึงการดำเนินกิจกรรมสังเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของชุมชนเพื่อการขับเคลื่อนการทำงานให้เป็นทีมงานที่มีความสามัคคีในหมู่คณะภายใต้กิจกรรมของโครงการบ้านห้วยไทร หมู่ที่ 10 เน้นความเจริญด้านอาหาร ในที่ประชุมประธานได้เน้นย้ำถึงการทำงานเป็นทีม ซึ่งให้ข้อมูลที่ได้มานั้นตรงกับเป้าหมายและให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้โดยการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ุ

คณะทำงานโครงการ  สี่เสาหลัก  อสม.  กลุ่มองค์กรต่างๆ

820.00 820.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 20 มีนาคม 2559 เวลา 14. 00 น ณ อาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้านหว้ยไทร จัดประชุมทีมสภาผู้นำหมู่บ้านเพื่อติเตามดำเนินกิจกรรมของงานทีผ่านมาโดยมีนายสุไลหมานสายเส็น และ นายสุชาติหมาดง๊ะผู้ช่วยในการจัดกิจกรรมประชุมสภาผู้นำชุมชนเพื่อให้งานที่ผ่านมานั้นกลับมาทบทวนรายละเอียดและพูดคุยเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่อาจเกินขึ้นในอนาคตเพื่อวางแผนกำหนดกลไกลหารือพร้อมกัน และพร้อมที่จะเสนอแนวทางพร้อมกันและที่ประชุมได้เสนอว่าจะมีการเปลี่ยนสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากตำบลย่านซื่ออำเภอควนโดนจังหวัดสตูลเป็นบ้านลำธุ์สินเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โดยได้ติดต่อนายอุทัยบุญดำ วิทยากรเป็นที่เรียบร้อยแล้วก่อนไปศึกษาดูงานส่วนค่าใช้จ่ายหากเป็นส่วนเกินทางผู้ใหญ่บ้านสมทบจากค่าใช้จ่ายทั้งหมด ที่ประชุมได้มีการเห็นชอบที่จะไปศึกษาดูงานที่จังหวัดพัทลุง ปิดประชุมเวลา15.00 น

  • คณะทำงานและคนในชุมชน
820.00 1,100.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 6 ณ อาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้านห้วยไทร จำนวน  30 คนมีการชี้แจงการทำกิจกรรมต่างๆ
  • โดยได้รับความร่วมมือจากคณะทำงานสภาผู้นำหมู่บ้านเป็นอย่างดี
  • ทีมสภาได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบการเตรียมจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
  • ผู้นำภาคีเครือข่ายต่างๆผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี ผู้นำศาสนาและกองทุนหมู่บ้าน แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในพื้นที่
  • คณะทำงานโครงการ
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • สมาชิกอบต.
  • อสม.
  • กลุ่มสตรี

จำนวน 30 คน

820.00 950.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีสภาผู้นำหมู่บ้าน จำนวน 1 สภา ประกอบด้วย คณะกรรมการหมู่บ้านและกลุ่มองค์กรต่างๆในชุมชน จำนวน 30 คน
  • ที่ประชุมลงมติจัดทำศูนย์เรียนรู้ จัดแบ่งพื้นที่ในการปลูกผัก เพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้โดยใช้พื้นโรงเรียนบ้านห้วยไทรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำล และพื้นที่ในหมู่บ้านห้วยไทร

คณะทำงานสี่เสาหลักผู้นำชุมชนองค์กรต่าง ๆ จำนวน 30 คน

820.00 1,190.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชุมชนมีคว่ามเข้มแข็งมีความรักสมัคคีของคนในชุมชนและได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ ในการประกอบอาชีพ

คณะทำงานโครงการ  สี่เสาหลัก  อสม.  กลุ่มกองทุนต่างๆ

820.00 950.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีสภาหมู่บ้าน จำนวน 1 สภาประกอบด้วย คณะกรรมการหมู่บ้าน และตัวแทนกลุ่มต่างๆในชุมชน จำนวน 30 คน
  • ที่ประชุมรับทราบของการทำงานกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ สสส.

-คณะทำงานโครงการสี่เสาหลักอสม.กลุ่มกองทุนต่างๆ

820.00 1,230.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้วันเวลาในการลงพื้นที่ประเมินโครงการ
  • ได้รับแนวคิดของทีมสภาในการนำเสนอกวัตถุดิบในการจัดกิจกรรม
  • ได้มีการเสนอเพื่อให้กลุ่มมีการต่อยอดโครงการต่อไป
  • มีผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน
  • มีการประชุมกันอย่างต่อเนื่องจำนวน 10 ครั้งต่อปี
  • มีแผนปฏิบัติการในการทำงานแต่ละครั้งที่นำไปสู่การทำงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน
  • สรุปผลรายงานกิจกรรมแต่ละครั้ง

กิจกรรมหลัก : ลงพื้นที่ประเมินโดยคณะกรรมการ แบ่งประเมินจำนวน 2 วันi

5,400.00 15 ผลผลิต
  • ลงพื้นที่ประเมินโดยคณะกรรมการ แบ่งประเมินจำนวน 2 วัน ดำเนินการวันที่ 24-25 ส.ค.59 โดยคณะกรรมการประเมินลงพื้นที่ประเมินตามเกณฑ์ที่ได้ร่วมกันวางไว้

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ได้ครัวเรือนต้นแบบที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการประเมิน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

วันที่24 - 25สิงหาคม2559ในการลงพื้นที่ประเมินครัวเรือนนำร่องจะมีผูั้ใหญ่บ้าน อบต.ปลัดอำเภอพัฒนากรชุมชนผู้อำนวยการโรงเรียน รพ.สต. อสม. และกลุ่มตัวแทนต่าง ๆ ในหมู่บ้านเข้ามาช่วยประเมินโครงการในครั้งนี้จะมีเกณฑ์วัดระดับการให้คะแนน

  • ด้านการลดรายจ่าย
  • ครัวเรือนทำสวนครัว
  • ครัวเรือนปลอดอบายมุข 2 ด้านการเพิ่มรายได้
  • ครัวเรือนมีอาชีพเสริม
  • ครัวเรือนใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 3 ด้านการประหยัด
  • ครัวเรือนมีการออมทรัพย์ 4 ด้านการเรียนรู้
  • ชุมชนมีการสืบทอดและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ครัวเรือนมีการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5 ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
  • ชุมชนใช้วัตถุดิบอย่างยั่งยืนในการประกอบอาชีพ
  • ชุมชนปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่นเป็นหมู่บ้านที่น่าอยู่ 6 มีความสมัคคีในหมู่คณะ 7 ความเอาใจใส่ของงาน 8 มีความต่อเนื่องอย่างยั่งยืน 9 ผักที่ปลูกปลอดสารพิษ

จำนวนจริง 20 คน

5,400.00 5,400.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ในการลงพื้นที่จะมีตัวแทนจากกลุ่มต่าง ๆเข้ามาร่วมประเมินครัวเรือนำร่อง จะมีแบบประเมินให้กับคณะกรรมการทุกท่านเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินครั้งนี้และสามารถนำครังเรือนนำร่องมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้

กิจกรรมหลัก : เวทีประกวดครัวเรือนดีเด่นตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงi

21,700.00 30 ผลผลิต
  • เวทีประกวดครัวเรือนดีเด่นตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจัดกิจกรรมวันที่ 6 ต.ค.59 ,ีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 120 คน เป็นการมอบรางวัลให้กับครัวเรือนต้นแบบที่ผ่านการประเมินจากคณะกรรมการ

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ครัวเรือนต้นแบบได้รับรางวัลเพื่อเป็นการสร้างแจงจูงใจในการทำงานของชุมชน
  • หลายได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานเข้าร่วมหลายภาคส่วน เช่น ท้องถิ่น อำเภอ โรงเรียน เป็นต้น
  • ประชาชนที่เข้าร่วมได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากหลายหน่วยงานเพื่อขับเคลื่อนการทำงานในหมู่บ้านต่อไป

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

  • พี่เลี้ยงโครงการ
0.00 0.00 1 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ครัวเรือนต้นแบบได้รับรางวัลเพื่อเป็นการสร้างแจงจูงใจในการทำงานของชุมชน
  • หลายได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานเข้าร่วมหลายภาคส่วน เช่น ท้องถิ่น อำเภอ โรงเรียน เป็นต้น
  • ประชาชนที่เข้าร่วมได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากหลายหน่วยงานเพื่อขับเคลื่อนการทำงานในหมู่บ้านต่อไป
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • นายก อบต.
  • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  • สมาชิกอบต.
  • อสม.
  • กลุ่มกองทุนต่างๆ
  • ครัวเรือนนำร่อง
  • คณะทำงานโครงการ
21,700.00 21,500.00 120 120 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีรูปแบบครัวเรือนดีเด่นสามารถให้คนในชุมชนดูเป็นแบบอย่างได้
  • เป็นกำลังใจให้คนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น คนในชุมชนมีความสามัครคีมากยิ่งขึ้น
  • ทำให้ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ สุขภาพคนในชุมชนแข็งแรง
  • สมาชิกในชุมชนเห็นความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง เกิดความกระตือรือร้น

กิจกรรมหลัก : ถอดบทเรียนการทำงานโครงการi

6,120.00 30 ผลผลิต
  • ถอดบทเรียนการทำงานโครงการจัดกิจกรรมวันที่ 7 ต.ค.59 มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 30 คน เป็นการถอดบทเรียนการทำงานโครงการ

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • คณะทำงานโครงการได้ร่วมแลกเปลี่ยนการทำงานโครงการที่ผ่านมา
  • ร่วมกันกำหนดทิศทางในการขับเคลื่อนการทำงานต่อไป

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • กลุ่มครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการจำนวนจริง 22 คน
6,120.00 6,020.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่7ตุลาคม2559เวลา 09.00 น ณอาคารอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้านห้วยไทรได้มีการถอดบทเรียน โดยมีวิทยากรให้ความรู้และมีการให้ชาวบ้านสรุปผลการทำงานในกิจกรรมที่ผ่านมาเพื่อให้เห็นว่าโครงการที่ได้ปฏิบัตินี้เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่ว่างไว้หรือไม่อย่างไรโดยมีรายละเอียดตามหัวข้อย่อยจากการถอดบทเรียนดังนี้

  1. ความคาดหวังของโครงการ จากเริ่มต้นสิ้นสุดโครงการ 1.1 จะได้มีอาชีพเสริมในครอบครัว 1.2 จะได้มีการรวมกลุ่มของคนในหมู่บ้าน 1.3 อยากมีรายได้เสริม 1.4 อยากให้มีโครงการต่อเนื่องเพื่อลดรายยจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน 1.5 อยากให้พี่น้องในชุมชนได้รับเงินสนับสนุนโครงการมากกว่านี้ 1.6 ลดการใช้สิ่งที่ไม่จำเป็นของโครงการให้มาเพิ่มเป็นทุนในภาคการเกษตรให้มากที่สุด

  2. สิ่งที่เกิดขึ้นจริงจากโครงการ 2.1 มีสภาของหมู่บ้าน๑สภา 2.2 เกิดการทำงานเป็นกลุ่ม 2.3 ชาวบ้านเกิดการตื่นตัวในการอยากปลูกผักสวนครัวมากขึ้น 2.4 ชาวบ้านมีความรู้ความเข้าใจในการปลูกผักสวนครัีวมากยิ่งขึ้น 2.5 ช่วยลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน 2.6 ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 2.7 รู้จักใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์ 2.8 ผู้บริโภคสามารถรับประทานอาหารที่ปลอดสารพิษ 2.9 รายได้จากการปลูกผักสามราถใช้ต่อยอดในการปลูกผักครั้งต่อไป 2.10 ช่วยให้เกิดความสามัคคีภายในหมู่บ้าน

  3. สิ่งที่เกิดขึ้นจากความคาดหวัง (ปัญหา- อุปสรรค) 3.1 ได้เม็ดพันธ์น้อยเกินไป 3.2 ขาดความรู้ในการเพาะปลูก 3.3 ขาดอุกปรณ์ในการปลูก ไม่เพียงพอ 3.4 มีพื้นที่ในการทำเกษตรน้อย 3.5 ให้ความรู้ในการกำจัดแมลงสัตว์ตรูพืช 3.6 อยากให้มีการปรับปรุงฟื้นฟูสภาพหน้าดิน 3.7 อยากได้ปุ๋ยอินทีร์ชีวภาพ 3.8 อยากได้ปุ๋ยหรือน้ำหมักชีวภาพในการเพิ่มผลผลิต 3.9 การตลาดยังไม่มี 3.10 อยากไปศึกษาดูงานเพื่อกลับมาพัฒนาในหมู่บ้าน

4 ข้อเสนอแนะ 4.1 พันธ์ผักมีคนสนใจเยอะแต่พันธุ์ผักไม่เพียงพอ 4.2 ขอให้มีวิทยากรแนะนำในการปลูกผักให้ทั่วถึง 4.3 ควรจะมีเครื่องมือในการปลูกผักให้มากกว่านี้ 4.4 ควรจัดหาพื้นที่รองรับสมาชิกกลุ่ม สสส.ที่เหมาะสมทางการเกษตร 4.5 อยากให้เพิ่มงบประมาณ เพราะงบไม่เพียงพอ 4.6 อยากให้ฟื้นฟูสภาพดิน 4.7 อยากให้ไปศึกษาดูงานภายในจังหวัดเดีวกัน 4.8 อยากให้มีการตลาดรองรับผลผลิต

กิจกรรมหลัก : การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามi

10,000.00 2 ผลผลิต
  • ในงวดที่ 3 ได้มีการพบพี่เลี้ยงและร่วมงานสร้างสุขภาคใต้จำนวน 8 ครั้ง เป็นการปรึกษาเรื่องการจัดทำเอกสารโครงการและรายงานกิจกรรมก่อนสุปปิดโครงการ
  • เข้าร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ในวันที่ 3-5 ต.ค.59 เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงาน

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • คณะทำงานได้ปรับเอกสารการเงินและจัดทำรายงานกิจกรรมจนสามารถสรุปปิดโครงการได้
  • ได้ร่วมไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานสร้างสุขภาคใต้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 18 ครั้ง

ผู้รับผิดชอบโครงการ/เจ้าของโครงการ

2,000.00 400.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ฝึกปฏิบัติในการลงข้อมูล เข้าใจหลักการบริหารจัดการโครงการ วางแผนปฏิทินกิจกรรมตลอดทั้งโครงการ และเข้าใจหลักเอกสารการเงิน การใช้จ่ายให้ตรงกับสัญญาโครงการและบริหารจัดการในโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

คณะทำงานโครงการ

0.00 200.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มาปรึกษาพี่เลี้ยงเรื่องการจัดทำเอกสารและร่วมกันกำหนดวันในการจัดกิจกรรมจริงของพื้นที่
  • ได้หารือกับพี่เลี้ยงในการกำหนดกิจกรรมโครงการในครั้งต่อไป

ผู้รับผิดชอบโครงการ

0.00 500.00 1 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการรับเงินคืนสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน 2 คน

2,000.00 500.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

•คณะทำงานโครงการแต่ละพื้นที่เข้าใจการเขียนรายงานและหลักการในการจัดการเอกสารการเงินโครงการ และเข้าใจการหักภาษีโครงการชุมชนน่าอยู่

  • คณะทำงานโครงการ จำนวน 2 คน
0.00 200.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานโครงการมีความเข้าใจการจัดการเอกสารและร่วมกันปรับตามคำแนะนำของพี่เลี้ยงในการจัดทำเอกสารและการรายงานกิจกรรมลงในเวบไซค์

คณะทำงานโครงการ

0.00 200.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้เอกสารที่ได้รับการตรวจความถูกต้องพร้อมที่รายงานการปิดงวด

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน 

2,000.00 880.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทำการตรวจสอบเอกสารการเงินโครงการ โดยมีเจ้าหน้าที่ สจรส.ทำการตรวจเอกสารการเงินและรายงานในเวปไซด์ ตามกิจกรรมที่พื้นที่ได้จัดดำเนินการในแต่ละกิจกรรม พร้อมทั้งตรวจรายงานและเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบพร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะและเขียนรายงานเพิ่มเติม

  • เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการ
0.00 1,200.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีความรู้ความเข้าใจในการเขียนรายงาน และการเงินปิดงวด 1 ได้ดียิ่งขึ้น

คณะทำงานโครงการ(เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ

0.00 200.00 1 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เพื่อสรุปงานกิจกรรมโครงการที่ได้ดำเนินงานและแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

  • คณะทำงานโครงการ 2 คน
0.00 200.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • พบพี่เลี้ยงในการดำเนินการปรับปฏิทินโครงการสำหรับกิจกรรมที่ยังไม่ดำเนินการ ให้เป็นปัจจุบัน และเพิ่มเติมรายละเอียดการบันทึกรายงานกิจกรรมให้ละเอียด ครบถ้วนและชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้ผลการดำเนินกิจกรรมไปตามแผนที่วางไว้

คณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการ

0.00 200.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ผลลัพธ์จากการรวบรวมเอกสารทางการเงินและการนำรายงานเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์

  • คณะทำงานโครงการ
2,000.00 3,280.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ วันที่ 3 ตุลาคม เวลา 12.00-13.00 น.มีการแสดงโขน และพิธีเปิด โดยร่วมกันร้องเพลงชาติไทย กล่าวต้อนรับ นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และกล่าวพิธีเปิด โดยนายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เวลา 13.30-15.00 มีการปาฐกถา เรื่องบทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียนโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี จากนั้นมีการเสวนาเรื่องมุมมองใหม่ในการพััฒนาระบบสุขภาพในอนาคตการพัฒนาที่มุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญโดยเฉพาะการพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วง4ทศวรรษที่ผ่านมาเป็นการพัฒนาที่ก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อทรัพยากรโลกเป็นอย่างมากเมื่อปี2543ดังนั้นเพื่อให้เกิดความต่อเนื่ององค์การสหประชาชาติจึงได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาขึ้นใหม่โดยอาศัยกรอบความคิดที่มองการพัฒนาเป็นมิติของเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีความเชื่อมโยงเรียกว่าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งจะใช้เป็นทิศทางการพัฒนาตั้งแต่เดือนกันยายนปี2558ถึงเดือนสิงหาคม2573 ครอบคลุมระยะเวลา15ปีโดยประกอบไปด้วย17เป้าหมายคือองค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน17เป้าหมายหลักเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมิติสุขภาวะของโลกและประเทศไทย วันที่ 4 ตุลาคม 2559 เวลา 09.00-17.00 น.ประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ ชมวิดีทัศน์การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ หลังจากนั้นมีการเสวนา เรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่สาธารณะโครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชันสน จังหวัดพัทลุง โดยผู้ใหญ่บ้านทุ่งยาว นายกเทศมนตรีตำบลโคกม่วง สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดพัทลุง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดพัทลุง เลขานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง จากนั้นมีการแสดงโขนคน ตอน เชิดพระอิศวร และต่อมาได้มีการนำเสนอกรณีศึกษา ในประเด็นต่างๆ เช่น ประเด็นการจัดการจัดการขยะ ประเด็นเศรษฐกิจพอเพียง ประเด็นเด็กและเยาวชน ประเด็น การจัดการทรัพยากรและการท่องเทียว และประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัย วันที่5ตุลาคม2559เวลา10.30-11.45น.หัวข้อเสวนาการขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียนภาคใต้มีกระบวนการขับเคลื่อนงานสุขภาพของประชาชนในพื้นที่โดยในทุกๆปีจะมีการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ปีละครั้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2549กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายหัวข้อที่หลากหลายโดยการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับประเทศมาเป็นวิทยากรนอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยของบุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐอาจารย์นักวิจัยนักศึกษาระดับบัณฑิตอาสาและบุคคลผู้สนใจทั่วไปการประชุมห้องย่อยตามประเด็นปัญหาของพื้นที่ซึ่งประเด็นสำคัญที่เป็นวิกฤตสุขภาพได้แก่1. ความมั่นคงทางมนุษย์2.ความมั่นคงทางอาหาร3.ความมั่นคงทางทรัพยากร4.ความมั่นคงทางสุขภาพ
  • คณะทำงานโครงการ 2 คน
0.00 200.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ตรวจสอบเอกสารทางการเงินของโครงการ
  • ได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมจากพี่เลี้ยงในการรายงานการบันทึกกิจกรรม
  • คณะทำงานโครงการจำนวน 2 คน
0.00 200.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • พี่เลียงได้ตรวจเอกสารโครงการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
  • คณะทำงานโครงการ จำนวน 1 คน
0.00 200.00 1 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • พี่เลียงได้ตรวจเอกสารโครงการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
  • คณะทำงานโครงการ
0.00 200.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ตรวจสอบเอกสารทางการเงินของโครงการ
  • คณะทำงานโครงการ จำนวน 2 คน
0.00 200.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • พี่เลี้ยงสามารถตรวจสอบเอกสารทางการเงินของโครงการ
  • ตัวแทนคณะทำงาน 2 คน
2,000.00 200.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สรุปจัดทำรายงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปิดงวดโครงการงวดที่ 2
2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน
  • ใช้สภาผู้นำหมู่บ้านในการขับเคลื่อนการทำงานโดยโครงสร้างสภาผู้นำหมู่บ้านมาจากคณะกรรมการหมู่บ้านและตัวแทนกลุ่มองค์กรต่างที่มีอยู่ในชุมชน
  • การขับเคลื่อนงานของพื้นที่มีคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นโดยการกระจายการทำงานของคณะทำงานสภาผู้นำหมู่บ้าน
  • มีหน่วยงาน เช่นอำเภอท้องถิ่นเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นที่ปรึกษาของทีมพื้นที่
1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน
  • คณะทำงานโครงการมีความพร้อมในการเรียนรู้และพร้อมรับสิ่งใหม่ๆ
  • คนทำงานมีประสบการณ์ในการทำงานและรับฟังคำแนะนำของพี่เลี้ยงเป็นอย่างดี
  • เมื่อทำงานมาได้ระยะหนึ่งคนทำงานก็มีประสบการณ์ในการทำงานมากขึ้น
1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน
  • จากการติดตามการทำงานของพื้นที่ในเรื่องการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้และมีการทำกิจกรรมต่างๆเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้คนในชุมชนได้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและให้มีครัวเรือนนำร่องในการทำกิจกรรม และมีศูนย์เรียนรู้ที่สามารถขยับต่อได้ 2 ศูนย์และอีก 1 ศูนย์ไม่สามารถดำเนินการต่อได้แต่คณะทำงานพื้นที่ก็ยังต้องพัฒนาให้ศูนย์เรียนรู้สามารถดำเนินการต่อได้โดยการศึกษาเพื่อปรับพื้นที่อีกครั้งและให้มีพื้นที่เรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ
  • มีแนวทางจัดหาทรัพยากรทางด้านการเงิน ตามแผนการใช้จ่าย มีการวางแผนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้และมีการจัดทำรายงานทางการเงินอย่างเป็นระบบ และมีการรายงานต่อคณะกรรมการโครงการได้รับทราบ
2.2 การใช้จ่ายเงิน
  • การดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมีการกำหนดเป้าหมายแผนการทำงาน ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานและงบประมาณที่ต้องใช้เบิกจ่ายงบประมาณตามห้วงเวลาของกิจกรรม งานมีความต่อเนื่อง ตามเป้าหมาย ภายในระยะเวลาที่กำหนด ใช้งบประมาณสอดคล้องตามแผน การดำเนินเปิดเผยและเที่ยงธรรม เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและบรรลุภารกิจตามแผนที่กำหนดไว้
2.3 หลักฐานการเงิน
  • มีหลักฐานการใช้จ่ายเงินทุกกิจกรรม
  • ปรับเอกสารการเงินตามที่ทีม สจรส.และพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ
  • มาพบพี่เลี้ยงอย่างต่อเนื่องเพื่อตรวจสอบเอกสารการเงิน
ผลรวม 0 0 0 0
ผลรวมทั้งหมด 0 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

การดำเนินงานของพื้นที่ชุมชนมีการทำงานเป็นทีม และดึงศักยภาพ บทบาท ของแต่ละคนแต่ละกลุ่ม ที่มีจิตอาสาในการทำงานมาร่วมกันขับเคลื่อนเป็นโครงสร้างการทำงานที่ชัด และเห็นถึงศักยภาพของผู้รับทุนที่เป็นคนรุ่นใหม่นักพัฒนา ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน และคณะกรรมการ ที่มีวฺิธีการเรียนรู้ ในการปรับรูปแบการทำงานที่ดีขึ้น ตามศักยภาพและเสริมหนุนการทำงานแก่ทีมงานได้เป็นอย่างดี และการขอสนับสนุนหน่วงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเสริมหนุนกิจกรรม เกิดความยั่งยืน และมีการนำทุนทางสังคม โดยเฉพาะด้านบุคคลมาร่วมในการทำงานและเป็นที่ปรึกษามีการใช้สถานที่ของชุมชนร่วมกันซึ่งกิจกรรมการดำเนินงานมีความตั้งใจมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานและการเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม มีมาตราการทางสังคม/กติกาชุมชน ที่สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนร่วมกันคิด ร่วมกันวางแผน ร่วมกันทำ และร่วมกันชื่นชม มีการใช้บัณฑิตอาสาในการเป็นทีมวิชาการในการขับเคลื่อนการทำงานของพื้นที่และสามารถต่อยอดโครงการโดยการให้กลุ่มองค์กรที่มีอยู่ในชุมชนขอโครงการกองทุนท้องถิ่นมาขับเคลื่อนการทำงานต่อไป

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

  • จากการติดตามการทำงานของโครงการบ้านห้วยไทรน่าอยู่ฟื้นฟูเศรษฐกิจเน้นความเจริญด้านอาหาร มีการประชุมคณะทำงานสภาผู้นำหมู่บ้านอย่างต่อเนื่องและลงพื้นที่ประเมินโดยคณะกรรมการ แบ่งประเมินจำนวน 2 วัน ดำเนินการวันที่ 24-25 ส.ค.59 โดยคณะกรรมการประเมินลงพื้นที่ประเมินตามเกณฑ์ที่ได้ร่วมกันวางไว้ ทำให้ได้ครัวเรือนต้นแบบที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการประเมิน ต่อด้วยการจัดเวทีประกวดครัวเรือนดีเด่นตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจัดกิจกรรมวันที่ 6 ต.ค.59 มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 120 คน เป็นการมอบรางวัลให้กับครัวเรือนต้นแบบที่ผ่านการประเมินจากคณะกรรมการโดยครัวเรือนต้นแบบได้รับรางวัลเพื่อเป็นการสร้างแจงจูงใจในการทำงานของชุมชนและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานเข้าร่วมหลายภาคส่วน เช่น ท้องถิ่น อำเภอ โรงเรียน เป็นต้น ประชาชนที่เข้าร่วมได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากหลายหน่วยงานเพื่อขับเคลื่อนการทำงานในหมู่บ้านต่อไป มีการถอดบทเรียนการทำงานโครงการจัดกิจกรรมวันที่ 7 ต.ค.59 มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 30 คน เป็นการถอดบทเรียนการทำงานโครงการ ทำให้คณะทำงานโครงการได้ร่วมแลกเปลี่ยนการทำงานโครงการที่ผ่านมาและร่วมกันกำหนดทิศทางในการขับเคลื่อนการทำงานต่อไป

สร้างรายงานโดย Yuttipong Kaewtong