directions_run

โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

assignment
บันทึกกิจกรรม
การประชุมวางแผนการทำงาน รพสต.กับกองทุนตำบล การวางแผนขับเคลื่อนคลินิกพัฒนาโครงการ (สนง.สสส.กรุงเทพฯ)7 ธันวาคม 2561
7
ธันวาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุมวางแผนการทำงาน รพสต.กับกองทุนตำบล
การวางแผนขับเคลื่อนคลินิกพัฒนาโครงการ วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เวลา 13.00-16.30 น. ณ เวลา 13.00 - 16.30 น. ณ ห้องประชุม 321
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปประชุมวางแผนการทำงาน รพสต.กับกองทุนตำบล ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนทั้งหมด.....15.....คน  ประกอบด้วย องค์กร สสส. , สปสช., สำนักงานระบบปฐมภูมิและครอบครัว กระทรวงสาธารณสุข, สจรส.มอ.

เรื่องโปรแกรมพัฒนาและติดตามโครงการ
1. โปรแกรมฯ ปัจจุบันมี 4 โปรแกรม
ชื่อโปรแกรม ชื่อเว็บไซต์ ผู้พัฒนาโปรแกรม รูปแบบการใช้งาน 1) โปรแกรมบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ http://obt.nhso.go.th/obt/home สปสช. ส่วนกลาง กองทุนฯ ใช้คีย์ข้อมูลชื่อโครงการ วัตถุประสงค์ กิจกรรมทำอะไรและการเงินโครงการ 2) โปรแกรมระบบรายงานการโอนเงิน (NHSO Budget ) http://ucapps1.nhso.go.th/budgetreport/ สปสช. ส่วนกลาง การเงินโครงการ 3) โปรแกรม LongTermCare http://ltc.nhso.go.th/ltc/#/login สปสช. ส่วนกลาง LongTermCare 4) โปรแกรม พัฒนาและติดตามโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ http://localfund.happynetwork.org/ สปสช.เขต 12 พัฒนาร่วมกับ สจรส.มอ. - กองทุนนำร่อง 270 กองทุน/12 เขตทั่วประเทศ (ดำเนินการด้วยโครงการของ สจรส.มอ.) ได้ใช้โปรแกรมในการพัฒนาโครงการและติดตามโครงการ
- เฉพาะเขต 12 ที่มีการใช้โปรแกรมฯ เต็มระบบ คือ ใช้ในการพัฒนาโครงการ ติดตามโครงการ และการเบิกจ่ายการเงิน รายงานการเงิน

  1. รายละเอียดโปรแกรม พัฒนาและติดตามโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตอนนี้โปรแกรมได้พัฒนาแผนงานกองทุน 5 แผน ได้แก่ เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด อาหาร และกิจกรรมทางกาย เป็นหลัก รวมทั้งมีแผนงานอื่นๆ  โปรแกรมได้ออกแบบมาให้ทุกภาคส่วน สามารถเขียนโครงการขอทุนสนับสนุนได้ /แต่การขอทุนสนับสนุนนั้นมีกิจกรรมบางอย่างที่ใช้เงินกองทุนไม่ได้ เช่น โครงการปลูกผักปลอดสารพิษ ขอสนับสนุนในเรื่องกระบวนการกับกองทุนฯ ได้ แต่ถ้าใช้สิ่งก่อสร้างทำแปลงปลูกผักจะใช้เงินกองทุนไม่ได้ ระบบจึงได้ออกแบบเปิดโปรแกรมที่สามารถใช้เงินท้องถิ่นที่สามารถของบด้านการก่อสร้าง

  2. เรื่องการซิงค์ข้อมูลด้วยกัน ระหว่าง 1) เว็บพัฒนาและติดตามโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (http://localfund.happynetwork.org/) กับ 2) โปรแกรมส่วนกลาง ซึ่งทางส่วนกลาง สปสช.ตอนนี้ยังไม่มีนโยบายจะซิงค์ข้อมูลก่อน ถ้าจะซิงค์ข้อมูลเข้าส่วนกลางต้องประชุมกันอีกครั้งว่าจะเลือกซิงค์ข้อมูลใดได้บ้าง โปรแกรมเมอร์ต้องคุยในเชิงเทคนิค และส่วนกลางต้องประชุมในเชิงนโยบายอีกครั้ง

เรื่องวางแผนกระบวนการการทำงาน 1. โจทย์คือ การพัฒนาศักยภาพ รพสต.  การพัฒนาการรวมกลุ่มของ รพสต.ในพื้นที่ให้มากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่การทำงานจะอยู่ในรูปแบบการออกแบบโครงการ และจะมีกระบวนการอย่างไรให้ช่วยคิดออกแบบโครงการถึงระดับพื้นที่ รวมไปถึงการสร้างพื้นที่เรียนรู้ หรือเซตระบบศูนย์การเรียนรู้ 2. มองว่าโปรแกรมฯ เป็นเครื่องมือ ไปใช้แก้ปัญหาสุขภาพให้ดีขึ้น ซึ่งท้องถิ่นมีกลไกกองทุนตำบลอยู่ ให้ดึงเอา รพ.สต.มาช่วยทำแผนกองทุน จะทำให้มีคุณภาพดีขึ้น
3. กลไกการทำงาน ให้ใช้กลไกพี่เลี้ยง สปสช. พี่เลี้ยงสาธารสุข (พัฒนาพี่เลี้ยงจาก รพ.สต.) และทีมวิชาการ สสส. โดยรวมทีมกันทำงาน 4. การเลือกพื้นที่ค่อยๆ ชวนโดยความสมัครใจของพื้นที่ เป็นพื้นที่เข้มแข็งพอและเห็นโอกาสในการพัฒนา และประกอบกับให้กระทรวงออกนโยบายและเลือก พชอ.ต้นแบบ ควบคู่กัน / บางพื้นที่มีกลไกของ สช.ที่น่าสนใจ มี กขป.เขตสุขภาพ / มี สปสช.เขต ดังนั้นการทำงานจะเป็นความร่วมมือระหว่าง สสส. สปสช. สช. สธ. แต่การทำงานในพื้นที่จะใช้เงินของกองทุนตำบลฯ

สรุปประเด็นขับเคลื่อนงานต่อ
1. การเลือกพื้นที่เป้าหมาย ให้กระทรวงสาธารสุขเลือกพื้นที่ พชอ.ที่เข็มแข็ง ไม่บังคับ มีความพร้อมนำร่อง
2. จำนวนพื้นที่ 77 จังหวัด (เลือก พชอ. 77 อำเภอ (หรืออาจมากกว่า 1-2 อำเภอ) อำเภอละ 10 กองทุน รวมทั้งหมด 770 กองทุน) 3. กลไกการทำงาน ให้ใช้กลไกพี่เลี้ยง สปสช. พี่เลี้ยงสาธารสุข (พัฒนาพี่เลี้ยงจาก รพ.สต.) และทีมวิชาการ สสส.
4. การพัฒนา proposal โครงการที่จะขับเคลื่อน ให้ทาง สจรส.มอ. เขียนโครงการ วางแผน กระบวนการ (ร่างตุ๊กตาการทำงาน) 5. พื้นที่นำร่อง 77 พชอ. ให้ใช้โปรแกรมพัฒนาและติดตามโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (http://localfund.happynetwork.org/) ในการพัฒนาโครงการ และติดตามโครงการ ใช้กับพื้นที่นำร่อง 77 จังหวัด 77 พชอ. ก่อน ยังไม่ได้ใช้เชิงนโยบายทั้งประเทศ
6. นัดประชุมครั้งต่อไป วันที่ 30 มกราคม 2562 เวลา 13.30-16.00 น. รายงานความก้าวหน้า proposal โครงการกองทุนตำบลฯ

สรุปประชุมการวางแผนขับเคลื่อนคลินิกพัฒนาโครงการ ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนทั้งหมด.....8....คน ประกอบด้วยองค์กร สสส. และ สจรส.มอ.

  1. การขับเคลื่อนมติสมัชชา PA
    การขับเคลื่อนมติสมัชชา PA องค์กรที่ขับเคลื่อนร่วมกัน แนวทางการทำงาน มติ 1 สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่อง PA สร้างแนวทางวิธีการเพิ่ม PA และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ PA เครือข่ายสมัชชา กขป. (อีสาน เหนือ ใต้ กลาง) ดำเนินการสร้างความเข้าใจ PA ในงานสร้างสุขฯ แต่ละภาค มติ 2 Health literacy เรื่อง PA กรมอนามัย กรมอนามัยดำเนินการเอง
    มติ 3

- วางหลักเกณฑ์หรือปรับปรุงระเบียบออกแบบฯ ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย - การจัดให้มีและจัดการพื้นที่ในการครอบครองเอื้อต่อ PA เครือข่ายสถาปนิก - เครือข่ายสถาปนิก ขับเคลื่อนมติของสถาปนิก (SP) จะจัดทำคู่มือหลักเกณฑ์การออกแบบพื้นที่ฯ จะเสร็จประมาณปลาเดือน มกราคม ถึง กพ. 62 นี้ นัดคุยอีกครั้ง เพื่อเอาองค์ความรู้เครือข่ายสถาปนิก สสส.แลกเปลี่ยนเข้าไปในคู่มือด้วย
- วางแผนการทำงานมติด้านสถาปนิกอีกครั้ง มติ 4 สร้างครอบครัว PA พัฒนามนุษย์และสังคม นัดวงคุย มติ 5 การพัฒนาหลักสูตร PA ฯ กระทรวงศึกษาธิการ นัดวงคุย มติ 6 พัฒนาสถานประกอบการมี PA ฯ กระทรวงแรงงาน นัดวงคุย มติ 7 กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีแผน โครงการ PA ฯ กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ สจรส.มอ.ดำเนินการอยู่ / รอดำเนินการพร้อมกันกับโครงการพัฒนาศักยภาพ รพสต. ในพื้นที่ พชอ. 77 จังหวัด (770 กองทุน) มติ 8 มาตรการทางภาษี สวรส. และสจรส.มอ. นำร่างโครงการมาตรการทางภาษีมานำเสนอกับ สน.5 สสส. อีกครั้ง
มติ 9 สื่อสารเรื่อง PA สื่อสารมวลชน สสส.ดำเนินการอยู่

  1. พัฒนาโครงการคลินิก สสส.
    1) ได้โจทย์การพัฒนาศักยภาพทีมวิชาการ  โดยจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่อง Active play และทีมวิชาการ สสส. สามารถทำแผน โครงการของกองทุนตำบลฯ ได้
    2) เว็บไซต์ PA thailand สสส. (https://www.pathailand.com/) นำโครงการ Active play และ โครงการวิ่งฯ มาเรียนรู้ระบบพัฒนาโครงการ และการกรอกข้อมูลต่างๆ ทั้งนี้ในเรื่องการกรอกข้อมูลการติดตามประเมินผล ทางโปรแกรมจะออกแบบให้สอดคล้องกับบริบทของโครงการอีกครั้ง
ประชุมคณะทำงาน สจรส.มอ. (สจรส.มอ.)4 ธันวาคม 2561
4
ธันวาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงาน สจรส.มอ.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คลินิกพัฒนาโครงการ PA
    1) คู่มือพัฒนาโครงการ 2) คู่มือติดตามประเมินผล 3) ปรับเว็บไซต์ 4) ปฏิบัติติดตามโครงการ (เปิดรับทั่วไป, เดินวิ่ง, atc.) • workshop
    • พัฒนาโครงการ • ติดตามโครงการ 5) บูรณาการทีมพี่เลี้ยง จากทีมวิชาการภาค สสส.และทีมพี่เลี้ยงกองทุนตำบลฯ ในการพัฒนาและติดตามโครงการ

  2. แผนกองทุน ขยายเพิ่ม 270 กองทุน 1) พัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง (เก่า+ใหม่) 2) ปรับปรุงเว็บไซต์กองทุน 3) พัฒนาโครงการ+แผน  ติดตามโครงการ 4) ระบบติดตาม โดยพี่เลี้ยงในพื้นที่ 5) ปฏิบัติการ พี่เลี้ยงในพื้นที่ ในการพัฒนา-ติดตาม 6) ถอดบทเรียนพื้นที่ดีๆ 7)  บูรณาการทีมพี่เลี้ยง จากทีมวิชาการภาค สสส.และทีมพี่เลี้ยงกองทุนตำบลฯ ในการพัฒนาและติดตามโครงการ

  3. ขับเคลื่อนมติสมัชชา 1) สร้างเครือข่ายสมัชชา กขป. (อีสาน เหนือ ใต้ กลาง) 2) กรมอนามัย สสส. (เราไม่ทำ) 3) สถาปนิก 4) พม. -ครอบครัว 5) กระทรวงศึกษา –หลักสูตร 6) สถานประกอบการ 7) กองทุน 8) มาตรการทางภาษี 9) สื่อสารมวลชน หมายเหตุ: มติ 4, 5, 6, 9 จัดให้เขาคุยกัน

มหกรรมสานพลังสร้างสุข"โฮมสุขอีสาน" (จ.ขอนแก่น)29 พฤศจิกายน 2561
29
พฤศจิกายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ชมนิทรรศการ : ลานกิจกรรม
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานของพี่เลี้ยงจังหวัด
  • สรุปบทเรียนการดำเนินงานของพี่เลี้ยงกองทุน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แลกเปลี่ยนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนหลังรับงานโครงการกิจกรรมทางกาย เช่น เดินเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาทางาน เช่น เดินไปทางาน เดินไปเข้าห้องน้าทุก 1-2 ชั่วโมงเพื่อให้เกิดกิจกรรมทางกาย การเปลี่ยนแปลงที่พบคือ น้าหนักลดลง 5 กิโลกรัม วิทยากรตั้งคาถามให้กับผู้เข้าประชุม - กิจกรรมทางกายที่พอเพียงคืออะไร - ผู้เข้าร่วมคนใดที่มีคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดัน กิจกรรมทางกายที่พอเพียง คือ กิจกรรมที่มีความพอเพียงด้านออกแรงและระยะเวลาในการออก เช่น เด็กควรมีกิจกรรมทางกายมากกว่า 60 นาทีต่อวัน ผู้สูงอายุควรมีกิจกรรมทางกายมากกว่า 150 ครั้งต่อสัปดาห์ กิจกรรมทางกายมีประโยชน์ในการลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือด

การแลกเปลี่ยนบทเรียนPA ในท้องถิ่น ผู้ดาเนินรายการคือ อาจารย์ ธวัชชัย เคหบาล ชี้แจงวัตถุประสงค์การเสวนา เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดาเนินการโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยน ภาคีที่มาเข้าร่วมประกอบด้วย ตัวแทนเขตซึ่งมีประสบการณ์การทากิจกรรมทางกายในพื้นที่ คณะกรรมการกองทุน ตัวแทนจากท้องถิ่น ท้องที่ รพ.สต. ตัวแทนภาคชุมชน ทุกคนเป็นผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ โดยมีผู้แทน 4 เขตสุขภาพร่วมดาเนินการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วย - ตัวแทนเขต 7 คุณเอมอร ชนะบุตร ตัวแทนภาคประชาชน ประธานอสม.ทุ่งคลองตัวแทนประกันสุขภาพเทศบาลคาม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ - ตัวแทนเขต 8 คุณจุไรรัตน์ เผ่าพันธุ์ รพ.สต. คาด้วง จังหวัดอุดรธานี - ตัวแทนเขต 9 คุณสุพรรณ ชูชื่น ผอ.รพ.สต บ้านโคกมั่งงอย ชัยภูมิ คณะกรรมการกองทุนสุขภาพ ที่ปรึกษาศูนย์คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ และ นส.พรสุดา ต่อชีพ ผอ.กองสธ. - ตัวแทนเขต 10 รัตนา สาธุภาพ นักวิชาการสาธารณสุข รพ.สต.กุดตระกร้า ตาบลสร้างก่อ จังหวัดอุบลราชธานี

ประชุมติดตามความก้าวหน้าหน้าพี่เลี้ยง 4 ภาค (กรุงเทพฯ)15 พฤศจิกายน 2561
15
พฤศจิกายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมติดตามความก้าวหน้าหน้าพี่เลี้ยง 4 ภาค

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปประชุม พี่เลี้ยง ผลงานพี่เลี้ยง 1. กองทุนนำร่องต้องมีแผน 5 แผน
- บุหรี่ - เหล้า - ยาเสพติด - PA - อาหาร
2. แต่ละแผนมีโครงการพัฒนา 1 โครงการ (รวมทั้งโครงการพัฒนาใหม่, โครงการพัฒนาที่มีอยู่เดิม) 3. โครงการที่มีการติดตามประเมินผล - รวมอย่างน้อย 5 โครงการ
- ทั้งหมด 270 กองทุน x 5 โครงการ เท่ากับ 1,350 โครงการ

แนวทางพี่เลี้ยงดำเนินการต่อ
- แผน (ในส่วนนี้ให้พี่เลี้ยงลงข้อมูลเองก่อน) 1. ตรวจสอบข้อมูลสถานการณ์
2. ปรับปรุง ป้าหมาย 1 ปี
3.  เพิ่มโครงการที่ควรดำเนินการ เพื่อบรรลุเป้าหมาย 1 ปี ที่วางไว้

  • โครงการ (พัฒนาโครงการ)
  1. ตรวจสอบข้อมูลสถานการณ์
  2. ปรับปรุง วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  3. ความสอดคล้องของโครงการกับแผน
  4. ปรับวิธีการ กิจกรรม – แยกกิจกรรม (จัดคนละวัน ให้แยกกิจกรรมออก)
การประชุมวางแผนและติดตาม มติสมัชชาข้อ 3 สถาปนิค (สช.กรุงเทพฯ)12 พฤศจิกายน 2561
12
พฤศจิกายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุมวางแผนและติดตาม มติสมัชชาข้อ 3 สถาปนิคฯ 3.1 การวางหลักเกณฑ์หรือปรับปรุงฯ 3.2 ให้พื้นที่กลางเปิดโอกาสให้คนในชุมชนใช้ประโยชน์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ปรึกษาหารือขับเคลื่อน
1. การขับเคลื่อนกับองค์กรวิชาชีพสถาปนิกและผังเมืองเป็นหลัก
2. องค์กรวิชาชีพ มีคู่มือแนะนำหลักเกณฑ์ จะเสร็จประมาณปลายเดือน มกราคม ถึง กพ.นี้
ในคู่มือจะมีทั้ง Process และ settings

ประชุมความก้าวหน้าเศรษฐศาสตร์ PA (สจรส.มอ.)2 พฤศจิกายน 2561
2
พฤศจิกายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมความก้าวหน้าเศรษฐศาสตร์ PA

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ติดตามความก้าวหน้าโครงร่างวิจัย เรื่อง ค ว า ม คุ้ม ค่า ข อ ง โ ค ร ง ก า ร ส่ง เ ส ริม ก า ร เ พิ่ม กิจ ก ร ร ม ท า ง ก า ย ข อ ง ค น ไ ท ย เ พื่อล ด ค ว า ม เ สี่ย ง ข อ ง ก า ร เ กิด โ ร ค ใ น ก ลุ่ม โ ร ค ไ ม่ติด ต่อ เ รื้อ รัง

ประชุมวางแผน PA เตรียมงานมหกรรสุขภาพ (สจรส.มอ.)18 ตุลาคม 2561
18
ตุลาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมวางแผน PA เตรียมงานมหกรรสุขภาพ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เตรียมมหกรรมสุขภาพ ภาคเหนือ จ.นครสวรรค์ วันที่ 2-3 พ.ย.61 เรื่องบูทออกแบบบูทแบบพับได้ และเตรียมกระบวนการห้องย่อย
  2. เว็บ PA
    • เช็ค ลองกรอก / และ comment ที่ปรับแก้
  3. คู่มือพัฒนาโครงการ
    • เช็ค
    • ดูตัวอย่างเพิ่มเติม
    • ให้น้องกิ๊ฟอ่าน
  4. นัดพี่โอ๋และพี่นิ

- คลินิกพัฒนาโครงการ - โปรแกรมกองทุน คุยกับ ผจก.และ สน.3
5. แผนนัดพี่เลี้ยงแต่ละภาค
ตามคุณภาพงานเก่า และขยายพื้นที่กองทุนใหม่
1. ใต้ล่าง: ปัจจัยเสี่ยงนัด 30 ต.ค.61
2. ใต้บน: นัดวันอีกที ให้ พี่เปิ้ล สปสช.ไปช่วย /ทีมพี่เผือก พี่ชยานิน
3. เหนือ: คุยแผนกับ อ.สุวิทย์วันที่ 2 พย.นี้ / อาจมีทีมพี่แดงมาช่วยเสริม
4. กลาง: วางแผนอีกที / พี่โต ดูเฉพาะนครสวรรค์
5. อีสาน: วางแผนอีกที ปีนี้ทีมพี่ตุ๊กตากับพี่เต่า = ประมาณวันที่ 20 พย.61 6. นัด อ.ภารนี
- สมัชชาปีนี้ อ.ภารนีจะมีเรื่อง พื้นที่สาธารณะเข้ามา
- คุยกับพี่จันว่ามีประชุมกลุ่มเมื่อไหร่ / เราขอแทรกเข้าไปคุยด้วย

ประชุม เศรษฐศาสตร์กิจกรรมทางกาย (PA) (สจรส.มอ.)16 ตุลาคม 2561
16
ตุลาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมในประเด็น ดังนี้
1. กระบวนการวิจัย 2. เป้าหมายของการวิจัย
3. จำนวนโครงการวิจัย 2 โครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปประชุม ดังนี้
1. ในมติสมัชชาพูดถึงการใช้มาตรการทางภาษี สิ่งที่พูดมาจะเป็นตุ๊กตา ถ้า PA ลด cost ได้จริง ก็จะนำไปเป็นข้อมูลหลักการและเหตุผล จะประหยัดค่าใช้จ่าย 1.1 สิ่งแรก PA ลดโรคเท่านี้ๆ
1.2 ค่าใช้ในการรักษาโรคเท่านี้ๆ

  1. ความคุ้มค่าของโครงการ
    ไม่ต้องไปรู้หรอกว่า PA ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงเท่าไร แต่ว่าให้ไปดูการที่เรามี นวัตกรรมลงไป ทำให้คนเพิ่ม PA เท่าไร สมมติว่าโรงการนี้ทำให้คน มี PA เพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์
    เช่น โครงการ 200,000 บาท ลงทุนไปในโครงการดูว่าคุ้มไหม

  2. สิ่งที่ต้องดู outcome ดู อินไดเรกด้วย เช่น การทำให้เกิดเครือข่ายการออกกำลังกาย กิจกรรมเสริมหลักสุตรแอคทีฟเพล
    ถ้าเปรียบเทียบตรงๆ จัด 5 หมื่น / คนละ 1000 บาท อันนี้จะง่ายเกินไป  บางครั้งไม่ได้บอก ต้องตีแอคตีวิตี ทางอ้อม ออกมาด้วย

  3. สิ่งที่ต้องตอบโจทย์ คือ ความคุ้มค่าของโครงการเพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนไทย
    สรุปการเขียน 2 โปรเจ๊ก

  4. ความคุ้มค่าของโครงการ
  5. มาตรการทางภาษี
สรุปประชุมแกนประสานพี่เลี้ยง (เหนือ กลาง อีสาน ใต้) (กรุงเทพ)6 ตุลาคม 2561
6
ตุลาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สรุปเตรียมงาน มหกรรมสุขภาพ และวางแผนการทำงานกับกองทุนสุขภาพตำบลฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปเตรียมงาน มหกรรมสุขภาพ จัดบูท PA และเสวนา - ภาคเหนือ จัด วันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2561
- ภาคอีสาน จัด วันที่ 28 – 29 พฤศจิกายน 2561

จากมติสมัชชา ข้อที่ 1 นำมาสู่ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนมติดังกล่าวในงานมหกรรมสุขภาพ โดยมีวัตถุประสงค์สร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดการรับรู้ เข้าใจ ตระหนักและมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการ กิจกรรมและการจัดพื้นที่เพื่อนำไปสู่การมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น
รายละเอียดกิจกรรม ดังนี้ 1. การจัดเสวนาถอดบทเรียนต้นแบบกิจกรรมทางกายในเขตภาคอีสาน 2. การจัดบูทนิทรรศการเพื่อสื่อสารการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (ขนาดบูทประมาณ 2 x 3 เมตร) 3. การจัดเสวนาสรุปบทเรียนการดำเนินการโครงการกับกองทุนสุขภาพตำบล 4. แลกเปลี่ยนข้อเสนอในพื้นที่ เชิงนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน และโครงการ ในการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น เพื่อจะนำไปสู่แนวทางปฏิบัติในพื้นที่ต่อไป

ประชุมเศรษฐศาสตร์กิจกรรมทางกาย (PA) กับคณะเศรษฐศาสตร์ ม.อ. (สจรส.มอ.)3 ตุลาคม 2561
3
ตุลาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมประเด็นเศรษฐศาสตร์กิจกรรมทางกาย
1. แนะนำโครงการ PA ปี 1 ได้ผลักดันมติสมัชชา “กิจกรรมทางกาย” มีข้อ 1 ได้ผลักดันเรื่องมาตราการทางภาษีและการเงิน 2. อธิบายความหมายคำว่า กิจกรรมทางกาย  หมายถึงมากกว่าการออกกำลังกาย เช่น - การออกแรงในชีวิตประจำวัน
- การเดินทาง
- การออกกำลังกาย
3. PA เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยป้องกันโรค NCDs / มีมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์
4. มีแนวทางศึกษาความเป็นไปได้เรื่องมาตรการทางภาษี และมาตรการทางเงิน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปประเด็น
1. PA มีผลทางเศรษฐกิจ เป็นต้นทุน การทำโครงการ PA เพื่อเทียบมากน้อยแค่ไหน กับการลงทุนไปคุ้มหรือไม่

  1. มาตรทางภาษี ในหลายประเทศมีอยู่ อาจจะต้อง review เพิ่มเติม

แนวทางในประเทศไทย
1. โครงการส่งเสริม PA / รัฐบาลลงทุนค่าใช้จ่ายในการเพิ่มโครงสร้าง / อัตราภาษี ภาษีที่เก็บโดยตรงกับ PA / เก็บภาษีอุปกรณ์กีฬา ให้ภาษีน้อยกว่า
2. เครื่องมืออะไรทีเคยเก็บ โครงสร้างภาษี
3. ภาษีนิติบุคคล BOI / สิทธิประโยชน์การลงทุนเศรษฐกิจ / การผลิต / ใช้อุปสรรคเครื่องมือ /โดยใช้โครงสร้างภาษี
4. ดูงบประมาณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. CSR บริษัทเอกชนทำในเรื่องนี้ เช่น จัดกิจกรรมส่งเสริม PA เหมือนที่ผ่านมา CSR กับสิงแวดล้อม
6. ทางอ้อม กฎระเบียบต่างๆ ตั้งชมรมเงื่อนไข
- องค์กร > ขอทุน
7. ดอกเบี้ย การกู้เงินในระบบ เช่น สถาบันการเงิน ออมสิน / ธกส. / ธอส.

ประชุมวางแผนเศรษฐศาสตร์ PA และวางแผนเว็บไซต์ (สจรส.มอ.)20 กันยายน 2561
20
กันยายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วางแผนการประเมินเศรษฐศาสตร์ PA และออกแบบระบบเว็บไซต์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประเมินเศรษฐศาสตร์ PA
1. ต้นทุนทางตรง
- ตรง / ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ - ตรง / ค่าใช้จ่ายไม่ใช่ทางแพทย์
2. ต้นทุนทางอ้อม / ผลิตภาพที่สูญเสีย

จุดหมาย : เพิ่ม PA / ลดอ้วน > สถานการณ์ > จุดหมาย
สถานการณ์ PA ในประเทศไทย เป้าหมายตั้งไว้ 80 %
1. PA ในเด็ก 64.8 %
2. PA ในวัยทำงาน 75.8 %
3. PA ในผู้สูงอายุ 68.5 %

ยุทธศาสตร์ PA
1. เพิ่ม PA 3 ส่วน
- เด็ก - วัยทำงาน
- ผู้สูงอายุ

  1. เกิด PA / 4 setting

- บ้าน
- โรงเรียน
- ที่ทำงาน
- ชุมชน

ลักษณะ PA
1. กิจวัตรประจำวัน : ลักษณะงาน
2. การเดินทาง : เดิน/จักรยาน 3. กิจกรรมนันทนาการ / กีฬา / ออกกำลังกาย : Active play , Excers , sport

  • บางโครงการจัดแบบอีเว้น เช่น เต้น 2 วัน แล้วกลับไป โอกาสที่จะทำต่อมีน้อย
  • เศรษฐศาสตร์ มี PA เพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีมิติอื่นๆ เช่น ความมั่นคงทางอาหาร / เศรษฐกิจ
  • Paper เด็ก > เพิ่ม outcome  เพิ่มความฉลาด
     โรคอ้วน ในเด็ก อาจเสี่ยงเป็น NCD ในอนาคต

  • BMI COST การรักษาเด็กอ้วน

  • เข้ามาจัดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม / กายภาพบำบัด
  • หลังจากโครงการเสร็จสิ้นมีความต่อเนื่องไหม

การพิจารณาโครงการ
1. มีประชากรกี่คน 2. มีความต่อเนื่อง

Cost ที่ลด NCDs มีประมาณเท่าไร
เมื่อเทียบกิจกรรมก่อนทำโครงการ

.................................................................................................................................

การออกแบบระบบเว็บไซต์ 1. ชื่อโครงการ 2. ประเภทโครงการ
3. ผู้เสนอโครงการ
4. ผู้รับผิดชอบโครงการ
5. ประเภทองค์กร
6. - กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์
- ภาพรวมเนื้อหามาตรา 5
- ประเด็น
7. ความเป็นมา (สถานการณ์) 8. วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัด / สถานการณ์ / เป้าหมาย

  1. กลุ่มเป้าหมาย

- 3 ช่วงวัย
- 4 setting
- ลักษณะทาง PA

  1. แนวทางและวิธีการสำคัญ
  2. วิธีการดำเนินการ
  3. ระยะเวลา
  4. งบประมาณ
  5. แหล่งทุนอื่น

ออกแบบเว็บ กราฟฟิก ดีไซน์

ประชุมคู่มือพัฒนาโครงการฯ และเว็บไซต์ PA (สจรส.มอ.)19 กันยายน 2561
19
กันยายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุม คู่มือพัฒนาโครงการฯ และเว็บไซต์ PA

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คู่มือพัฒนาโครงการ
- ควรประกอบด้วยหลักการ
1. อยุ่ไหน :ที่มา/หลัก เหตุผล 2. จะไปไหน :วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัด / เป้าหมาย
3. ไปอย่างไร :วิธีการ 4. ไปถึงหรือยัง : ผลการดำเนินการ / ผลที่คาดไว้

เว็บกองทุน
- ใส่ข้อมูลพื้นฐานด้วย เช่น กองทุนมีจำนวนคนทั้งหมดกี่คน
/ ชายกี่คน
/ หญิงกี่คน
/ ช่วงอายุ วัยเด็ก วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ
- นำข้อมูลมาคำนวณเว็บ ค่าร้อยละ PA

ประชุมคู่มือพัฒนาโครงการฯ / วางแผนเวทีมหกรรมสุขภาพ (สจรส.มอ.)18 กันยายน 2561
18
กันยายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ปรับปรุงคู่มือพัฒนาโครงการฯ / วางแผนเวทีมหกรรมสุขภาพ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คู่มือพัฒนาโครงการ
    ตัวตน/ปัจเจกบุคคล

- ความรู้/ความเข้าใจ - ตระหนัก
- พฤติกรรม - กรรมพันธุ์
- ความเชื่อ/ความศรัทธา

สภาพแวดล้อม
- สิ่งแวดล้อม (กายภาพ/ชีวภาพ/เคมี) - ดิน/น้ำ/ลม/ไฟ (อากาศ/น้ำ) - สังคม วัฒนธรรม : ประเพณี สภาพแวดล้อม
- นโยบาย/การเมือง : รัฐ/ท้องถิ่น
- เศรษฐกิจ - การศึกษา
- ระบบการศึกษา

ระบบและกลไก
- กลไก “กองทุน สปสช.” / ท้องถิ่น/รัฐ/เอกชน/สถาบันการศึกษา/กลไกพี่เลี้ยง
- ระบบสนับสนุน ระบบการจัดการข้อมูล
- กระบวนการเรียนรู้ / กระบวนการมีส่วนร่วม

2 วางแผนเวทีมหกรรมสุขภาพ - ภาคเหนือ 2-3 พ.ย.2561
- ภาคอีสาน 28-29 พ.ย.2561

รูปแบบห้องวิชาการ
1.ทำความเช้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย 2.แลกเปลี่ยนเครือข่ายสุขภาพ
3.โจทย์ให้เขาคิดต่อ
4.สสส.ขอเคสตัวอย่าง

ประชุม คู่มือพัฒนาโครงการฯ (สจรส.มอ.)17 กันยายน 2561
17
กันยายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุม คู่มือพัฒนาโครงการ และเว็บไซต์ PA

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คู่มือพัฒนาโครงการ

    • ดูวัยทำงาน หรือ วัยผู้ใหญ่
    • แขวนท่ายกขวดน้ำในเว็บ สสส.
    • โครงการ ดูโครงการดีๆ แล้วแต่งเพิ่ม / ดูโครงการในพื้นที่ และทำตัวอย่าง
  2. เว็บ PA

    • ข้อ 10 ระบุกลุ่มเป้าหมายว่าเป็นใครบ้าง จำนวนเท่าไร  มีวิธีการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายอย่างไร หากมีกลุ่มเป้าหมายหลายกลุ่มควรระบุกลุ่มเป้าหมายหลักและเป้าหมายรองด้วย
      พื้นที่ควรระบุ
    1. บ้าน
    2. โรงเรียน
    3. ชุมชน
    4. สถานที่ทำงาน/องค์กร
    • ข้อ 11 “กิจกรรมการดำเนิน” ออก /ดูว่ากรอบวิธีการจาก สสส.ไหม
    • ข้อ 13 วิธีการดำเนินงาน และงบประมาณ
ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 49 กันยายน 2561
9
กันยายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงาน วางแผนงานประเด็น คู่มือพัฒนาโครงการ เว็บไซต์โครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คู่มือ กำลังทำ นัดคุยกันแล้ว 17 กันยายน 2561 ปรับให้สอดคล้องกับเว็บไซต์ วิธีการ ดูเว็บไซต์ไปดูกองทุนที่กรอกอย่างไรบ้าง

2.เว็บโครงการ / ควรระบุชื่อชุมชน / เป็นเรื่องการออกกำลังกาย
ปัญหาใหญ่ คือ ทำโครงการ PA แต่ชื่อโครงการเป็นออกกำลังกาย / เราไปเทรนพี่เลี้ยง ยังไม่เข้าใจ PA
- ทำไงให้คนเข้าใจ PA ลองนึกถึงแผนงานเรา ตามการขับเคลื่อนมติสมัชชาด้วย ทำให้เขาเข้าใจเรื่อง PA
ตาม มติสมัชชา เราทำงานเครือข่าย สมัชชาเครือข่าย สช. เครือข่าย

3.วิธีการที่จะทำให้เขาเข้าใจ PA :
- ทำงานร่วมกับเครือข่าย สมัชชาจังหวัด เครือข่าย พชอ. เครือข่าย กขป.
- โจทย์ คือ ทำอย่างไรให้เขาเข้าใจเรื่องนี้

4.กลับมาดูที่คู่มือ ต้องแสดงให้เห็นว่า ต้องอธิบาย PA ให้ชัด

5.กลับมาดูชื่อโครงการ เป็นการออกกำลังกายกับกีฬาทั้งนั้น / ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีแต่มวยกีฬา / ข้อมูลไม่เวิกซ์ ตอนนี้ที่บอกว่าให้ดูเว็บไซต์ มีปัญหาอะไร
- บางโครงการยังเปิดรับทั่วไป
- กลับมาดูที่โครงการ ก่อนขยายกองทุน ปรับปรุงให้ดีก่อน

6.คู่มือ มีจุดอ่อนอะไร / วิธีการเทรนนิ่งให้ดีควรทำอะไร
- ปรับให้สอดคล้องกับเว็บไซต์ ยึดคู่มือกองทุนตำบล เพิ่มการเขียนโครงการในคู่มือ - ระบุสถานการณ์ ที่สำคัญ ต้องมีตัวอย่างดีๆ
- วัยเด็ก ควรมีอะไรบ้าง BBL play และ การเรียนการสอนทำกิจกรรมตลอด ลองดูว่าควรมีกิจกรรมอะไรบ้าง / เวลาเรียนเหมือนเรียนให้เดิน จิกซอร์แต่ละเส้น รูปแบบในโรงเรียน active play Active Leaning / ดูตัวอย่างในต่างประเทศ

7.ในคู่มือ ขาดตัวอย่าง ในแต่ละอย่าง เช่น การสำรวจ /กิจกรรมทางกายในโรงเรียน / จัดประกวดกิจกรรมทางกาย รักษ์สุขภาพ พอไปดูแนวทางวิธีการสำคัญ

8.แนวทางวิธีการสำคัญ มันไม่ค่อยเป็นรูปธรรม มองไม่เห็นเวลาเขียน
ยกตัวอย่าง พัฒนาครูพลที่ไม่เน้นการออกกำลังกาย / จัดกิจกรรมพ่อแม่ลูกเดินปั่น / พัฒนาศูนย์เด็ก / เขียนให้มันแล้วมีภาพประกอบ
-พอเขียนคู่มือเป็นเล่มส่วนใหญ่จะไม่อ่าน

9.เว็บไซต์ต้องมีส่วนสำคัญ ในการสื่อสารเรื่อง PA / เมนูอีกเมนู เปนตัวอย่างกิจกรรมทางกาย ในกลุ่มเด็กมีอะไรบ้าง / กลุ่มวัยทำงานมีอะไร

10.คู่มือนี้เอาไปใช้ กับ กขป. สมัชชา พชอ. เพื่อให้เขารู้ว่า PA คืออะไร เขียนแบบให้คนอ่าน อยากอ่านต่อ ตอนนี้เขียนแบบวิชาการ / ตอนนี้มองเป็นพี่เลี้ยงตอนนั้น สรุป 1. ทำแบบคู่มือแบบนี้
  2. ทำแบบคู่มืออย่างง่าย

11.PA คือ อะไร / สรุป PA คำง่ายๆ คือ ออกแรง เคลื่อนไหวยังไม่พอ แต่ต้องออกแรงด้วย พอจับคีย์เวิดออกมา / ถ้าเดินไปมาแต่ไม่เหนื่อย / วันนี้ 30 นาที ปานกลางถึงมาก (รวมสัปดาห์ 150 นาที) / เด็ก วันละ 60 นาที /
พอจับแบบนี้คิดว่า กิจกรรมหรือรูปแบบอะไรทำให้เกิดแบบนี้ / review มาแล้ว ลงสู่ปฏิบัติ นำมาปรับคำ ใช้คำง่ายๆ และใส่ตัวอย่าง /
- เราต้องสื่ออีกแบบ สือคำง่ายๆ ใส่ภาพตัวอย่าง กิจกรรมที่สื่อสาร
- นิยาม เป็นการเคลื่อนไหวหรือออกแรง มีความหมายมากกว่าการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา - ทำอย่างไรให้ คีย์เวิด ไปฝังในความเข้าใจของคน / ตอนนี้ทุกอย่างกลายเป็นการออกกำลังกาย
- หน้าที่ของเราคือ ทำอย่างไร ให้เขาเข้าใจ / ตอนนี้คนไม่ออกกำลังกาย เพราะไม่มีเวลา แต่เขาสามารถมีกิจกรรมทางกายได้ตลอดทั้งวัน
- เช่น ยกขวดน้ำ 1 วันละ 100 ครั้ง ข้างละ 100 ครั้ง / ลิงค์ที่เกี่ยวช้องหน้าเว็บ

12.เรื่องเว็บไซต์ / ปัญหาใหญ่ ขณะนี้เว็บมี พี่เลี้ยง กรรมการกองทุน และเครือข่าย พี่เลี้ยงยังไม่เข้าใจ ทำไงให้กรรมการกองทุน // ต้องมีสื่อที่บอก ตัวอย่างคืออะไร ให้ชัดว่าท้องถิ่นทำอะไรได้มั้ง
- เอาวิดีโอ สสส. มาใส่ ที่เกี่ยวข้องกับ PA ทั้งหมด /ทั้ง 2 เว็บ ทั้งหมดต้องใส่ในเว็บ
- ประเด็นเว็บไซต์ นัดพี่หมี วิเคราะห์ทำให้เสร็จเรียบร้อย ก่อน 20 นี้ ว่าจะคุยอะไร

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 35 กันยายน 2561
5
กันยายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงานวางแผนโครงการแผน PA ปี 2
ประเด็นประชุม 1. ปรับคู่มือพัฒนาโครงการ ให้สอดคล้องกับเว็บไซต์ PA
2. พัฒนา proposal ด้านเศรษฐศาสตร์ PA

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ปรับ “คู่มือพัฒนาโครงการ” ให้สอดคล้องกับ “เว็บไซต์” เว็บไซต์ PA / เว็บไซต์กองทุน

- เอาเว็บไซต์เป็นตัวตั้ง - ใช้คู่มือของ อ.กุลทัต มาปรับต่อยอด

เพิ่มเติมการเขียนโครงการในคู่มือ
1. ต้องระบุสถานการณ์
2. วิเคราะห์ปัจจัยอะไรที่มีผลต่อสถานการณ์นั้น
3. วางจุดหมาย เป้าหมาย
4. วิธีการสำคัญ 5. กิจกรรมต่างๆ ควรเขียนอย่างไร งบประมาณ แจกแจงงบประมาณอย่างไร
6. การประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ประเมิน อย่างไร

แลกเปลี่ยนประเด็น
- กรอบนี้ยังไม่พอ / เว็บ PA สสส. / โครงการของ PA / แนะนำการกรอกข้อมูล
- ในเว็บตัวชี้วัดของแผน PA เพิ่มตัวชี้วัดของแผน PA ด้วย
- ???? ตัวชี้วัด ของกองทุนที่ออกแบบตอนนี้ สามารถตอบตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ สสส.ไหม - การระบุสถานการณ์ตามหัวข้อควรมีอะไรบ้าง / มี 2 เรื่อง คือสถิติและผลกระทบ
- ถ้าชุมชนใช้ Format ของกองทุนได้

  1. พัฒนา proposal ด้านเศรษฐศาสตร์ PA
  • มติข้อ 8. ขอให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับหน่วยงานวิชาการอื่นๆศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการทางภาษีและมาตรการทางการเงิน รวมถึงองค์ความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น เพื่อเสนอต่อกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาดำเนินการ โดยมุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
  • TOR การศึกษาความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การศึกษาความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยการศึกประโยชน์ทางตรงและประโยชน์ทางอ้อมต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของโครงการที่รับการสนับสนุนจากแผนกิจกรรมทางกายโดยการคิดมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

แลกเปลี่ยนประเด็น
- Tor เรื่องความคุ้มทุนให้ทางอาจารย์เสนอ
- ปัญหาคือยังไม่เคยมีการประเมินมาเลย
- การประเมินตั้งแต่เริ่มต้นมี PA หรือไม่ / หรือประเมิน PA ตั้งแต่ต้น /
- นัดประชุมอีกครั้ง 20 กันยายน 2561
- ประสาน สวรส. การขับเคลื่อน PA เขาจะสโคปงานไหม หรือให้เราส่งไป
มติ 8 ในตอนนั้นจะมีมาตาการทางภาษีและมาตรการทางการเงินด้วย

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 23 กันยายน 2561
3
กันยายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประเด็นประชุมสำคัญ : ทบทวนแผน และคู่มือพัฒนาโครงการ 1. ปรับคู่มือพัฒนาโครงการ ให้สอดคล้องกับเว็บไซต์
2. ดู Timeline โครงการปัจจัยเสี่ยง เพื่อวางแผนลงพื้นที่ / และทำ Time line PA
3. คุยกับพี่จอย ว่าจะนำวาระ PA เข้าไปในวาระอย่างไร 4. คุยกับ อ.จูน คณะเภสัช ให้พัฒนา proposal การศึกษาความคุ้มทุนของโครงการ PA

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมคณะทำงานวางแผนโครงการแผน PA ปี 2
วันที่ 3 กันยายน 2561 ณ ห้องอาจารย์ ชั้น 10 สจรส.มอ. เวลา 13.30 – 15.00 น.
ผู้เข้าร่วมประชุม
- ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
- นายญัตติพงศ์ แก้วทอง

1.ปรับ “คู่มือพัฒนาโครงการ” ให้สอดคล้องกับ “เว็บไซต์” เว็บไซต์ PA / เว็บไซต์กองทุน
- เอาเว็บไซต์เป็นตัวตั้ง - เอาคู่มือของ อ.กุลทัต มาปรับ
การทำโครงการ
- สถานการณ์ - ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง - วางจุดหมาย - วิธีการสำคัญ
- กิจกรรมต่างๆ เขียนอย่างไร ให้ละเอียด - การแจกแจงงบประมาณอย่างไร
- ประเมินผลอย่างไร

2.การพัฒนาคลินิกพัฒนาโครงการ
พัฒนา : - กองทุนสุขภาพตำบล/ท้องถิ่น
- สสส. อาจจะเป็นชุดโครงการ หรือ โครงการเปิดรับทั่วไป

3.คุยกับผู้ประสาน สสส. ว่าลักษณะโครงการเป็นอย่างไร - ถ้ามีกองทุนจะพัฒนาโครงการจะต้องทำอย่างไร จะใช้ระบบพี่เลี้ยง หรือ ใช้ระบบศูนย์

4.กองทุนตำบล
- ดูโครงการ Timeline อย่างไร / ทำอะไรในแต่ละเดือน ได้ลงพื้นที่พร้อมกัน และบูรณาการร่วมกัน

5.การขับเคลื่อนมติสมัชชา เรื่อง PA และบรรจุไปในงานสร้างสุข
- ภาคเหนือ ขับเคลื่อนระดับเขต กขป. - ภาคใต้
- มีงานสร้างสุข เอาไปเป็นวาระงานสร้างสุข / สมัชชาสุขภาพ - เอาประเด็น PA เข้าไปเป็นวาระในมหกรรมสุขภาพของ สช. จะมีวิธีการทำอย่างไรได้บ้าง และเลือกพื้นที่บางพื้นที่เท่านั้น

6.งานเศรษฐศาสตร์ วิจัยกับ สวรส. ทำ Proposal ส่งให้กับ สวรส. - เอาคณะเภสัชมาทำเรื่องนี้ อ.จูน (คณะเภสัช)

7.เรื่องพื้นที่สุขภาวะ
- กรรมการขับเคลื่อนสมัชชา
- สมาคมสถาปนิกมาคุยด้วย / ประสานพี่จั่น (อ.ภารนี)

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 121 สิงหาคม 2561
21
สิงหาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 21 สิงหาคม 2561 ณ ห้อง 1403 ชั้น 14 สจรส.มอ. เวลา 10.30 – 12.00 น.

ผู้เข้าร่วมประชุม
- ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
- ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร
- น.ส.จินดาวรรณ รามทอง - นายญัตติพงศ์ แก้วทอง

ประเด็นประชุม
1. วางแผนเรื่อง คลินิกพัฒนาโครงการ
2. วางแผนเรื่อง การพัฒนาโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
3. วางแผนเรื่อง การขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็น การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.วางแผนเรื่องคลินิกพัฒนาโครงการ - การประชุมทีมคณะทำงานวิชาการแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส. : ปฏิบัติตามแผน
- พัฒนาคู่มือการพัฒนาโครงการ และการติดตาม และประเมินผลโครงการ: นัดประชุมวางแผนการทำคู่มือ
- ปรับปรุงระบบ (เว็บไซต์ https://www.pathailand.com/) : นัดประชุมกับโปรแกรมเมอร์ เรื่องการปรับปรุงเว็บไซต์
- ดำเนินการคลินิกพัฒนาโครงการL นัดคุยกับ สสส. เรื่องลักษณะโครงการที่จะดำเนินคลินิกพัฒนาโครงการ
2.วางแผนเรื่อง การพัฒนาโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ - การพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน (พี่เลี้ยงกองทุน) ยกระดับพัฒนาศักยภาพกรรมการกองทุน ให้เข้าใจเรื่อง PA เพื่อกรรมการกองทุนได้ขยาย- โครงการกิจกรรมทางกายในพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป
- ปรับปรุงระบบ http://localfund.happynetwork.org/ นัดพี่หมีกับพี่เอ๋ ปรับปรุงเว็บไซต์
- ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ ปฏิบัติตามแผน
- ปฐมนิเทศผู้รับทุนโครงการ ปฏิบัติตามแผน
- การติดตามสนับสนุนการดำเนินงานของผู้รับทุนในพื้นที่ พี่เลี้ยง/ผู้ติดตามสนับสนุน ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนผู้รับทุนโครงการ ปฏิบัติตามแผน
- การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการสรุปภาพรวมชุดความรู้และนวัตกรรม และสกัดบทเรียน model ปฏิบัติตามแผน
- การติดตามสนับสนุนลงพื้นที่ติดตามโครงการของทีม สจรส.ม.อ.และทีมสังเคราะห์ ลงพื้นที่ 25 โครงการ ปฏิบัติตามแผน
- การสรุปภาพรวมชุดความรู้และนวัตกรรม สังเคราะห์และสกัด บทเรียน model การสนับสนุนปฏิบัติงานวิชาการ ทบทวนเอกสาร สรุป สังเคราะห์และสกัดบทเรียน model การดำเนินงานทั้งหมดของโครงการ ปฏิบัติตามแผน
- จัดทำเอกสาร ชุดการสังเคราะห์ความรู้และประสบการณ์ ปฏิบัติตามแผน
เพิ่มเติม นัด อ.ซอ อ.เพ็ญ อ.กุลทัต วาง timeline ทำงานกับกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ

3.วางแผนเรื่อง การขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็น กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ - การประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของมติสมัชชา PA ดำเนินการตามแผนและมติสมัชชา
- การประชุมเชิงปฏิบัติการกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สร้างพื้นที่ตัวอย่างที่ เทศบาลนครยะลา
- การศึกษาความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ดำเนินการร่วมกับ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

4.การขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
- นัดประชุมกับเครือข่ายสมัชชาจังหวัดภาคเหนือ กับภาคใต้ - ดูงานสร้างสุข สสส.ภาคเหนือ กับภาคอีสาน
- นัดคุยกับอาจารย์ภารนีเรื่องจะขับเคลื่อนมติกับเครือข่ายสถาปนิค - ดำเนินการร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่