directions_run

โครงการสร้างแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะอำเภอกงหรา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะอำเภอกงหรา
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 61-01865
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤศจิกายน 2561 - 30 พฤศจิกายน 2562
งบประมาณ 199,760.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวอำเภอกงหรา
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดลเล๊าะ เหล็มปาน
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอรุณ ศรีสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25 พ.ย. 2561 30 เม.ย. 2562 25 พ.ย. 2561 15 มิ.ย. 2562 99,880.00
2 1 พ.ค. 2562 31 ส.ค. 2562 16 มิ.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 79,904.00
3 1 ก.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 19,976.00
4 0.00
รวมงบประมาณ 199,760.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1 ปัญหาแหล่งท่องเที่ยวมีขยะตกค้างในแหล่งท่องเที่ยว ร้อยละ80คือแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นน้ำตกซึ่งขยะส่วนใหญ่เป็นขยะประเภทขวดน้ำ ถุงพลาสติก กล่องโฟมใส่อาหาร ที่มาของขยะส่วนหนึ่งนักท่องเที่ยวนำติดตัวมาจากข้างนอก อีกส่วนหนึ่งเกิดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวเองจากการประ
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อำเภอกงหรา มีแหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ มีน้ำตกจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ น้ำไพรวัลย์ น้ำตกมโนราห์ น้ำตกนกรำ น้ำตกหนานสูง น้ำตกปากราง น้ำตกวังตอ น้ำตกวังสายใหม่ มีถ้ำอยู่ตามแนวภูเขาที่ขึ้นชื่ออยู่ คือ ถ้ำลูกยา ถ้ำไก่ชน ถ้ำชี ถ้ำปลา ถ้ำแมวขาวและรวมไปถึงแหล่งท่องเที่ยวที่เรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนผ่านรูปแบบของตลาดชุมชนที่เป็นแหล่งรวมภูมิปัญญาต่างๆของชุมชนไว้ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่เขตพื้นที่ของตำบลคลองเฉลิม ตำบลคลองทรายขาว ตำบลกงหรา มีเส้นทางคมนาคมที่ใช้เป็นเส้นทางหลักในการท่องเที่ยวคือถนนสายบ้านนา-ป่าบอนซึ่งสามารถเชื่อมโยงถึงแหล่งท่องเที่ยวทั้งหมดที่มีอยู่ แหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่อยู่ในการดูแล และบริหารจัดการโดยชุมชน ปัจจุบันการท่องเที่ยวอำเภอกงหรา ส่วนใหญ่ยังไม่เป็นที่นิยมมากนักในกลุ่มนักเที่ยวจากภายนอก นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ เป็นคนในละแวกใกล้เคียงหรือคนในจังหวัดเป็นส่วนใหญ่ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการท่องเที่ยวไม่ได้เป็นนโยบายหลักในการพัฒนา และส่งเสริมไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้เห็นเด่นชัด ส่วนท้องถิ่นเองก็ไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนการท่องเที่ยวของชุมชน ในขณะที่ชุมชนก็ยังขาดความรู้ในการจักการ การท่องเที่ยวที่เป็นระบบแบบแผนของชุมชนเองจากการพูดคุยของเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวเห็นว่าปัญหาหลักคือปัญหาที่เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวคือ 1 ปัญหาแหล่งท่องเที่ยวมีขยะตกค้างในแหล่งท่องเที่ยว ร้อยละ80คือแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นน้ำตกซึ่งขยะส่วนใหญ่เป็นขยะประเภทขวดน้ำ ถุงพลาสติก กล่องโฟมใส่อาหาร ที่มาของขยะส่วนหนึ่งนักท่องเที่ยวนำติดตัวมาจากข้างนอก อีกส่วนหนึ่งเกิดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวเองจากการประกอบการของร้านค้าต่างๆที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆส่งผลให้ทัศนียภาพแหล่งท่องเที่ยวไม่สวยงาม ชุมชนต้องเสียเวลาในการทำความสะอาดสถานที่ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บขยะอยู่ที่เดือนละไม่ต่ำกว่า 5,000บาท 2 ปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ในแหล่งท่องเที่ยวผลกระทบส่วนที่เกิดขึ้นการการดื่มเครื่องดื่ม    แฮลกอฮอล์คือมักจะเกิดการทะเลาะวิวาทเกิดขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เป็นเยาวชน และมักจะเกิดอุบัติเหตุระหว่างการท่องเที่ยวอยู่บ่อยครั้ง 3 ปัญหาคุณภาพอาหารและความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร รวมถึงปะเภทและปริมาณอาหารในแหล่งท่องเที่ยว ส่วนใหญ่อาหารที่จำหน่ายในแหล่งท่องเที่ยวจะเป็นอาหารประเภทขบเคี้ยว และอาหารปรุงสำเร็จและส่วนประกอบอาหารส่วนมากต้องนำมาจากข้างนอกไม่ว่าจะเป็นประเภทเนื้อ ผักและผลไม้ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวขาดการบริโภคที่มีคุณภาพและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ จากปัญหาโดยรวมดังกล่าวส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวยังไม่เป็นที่ประทับใจแก่นักท่องเที่ยวมากนัก จึงทำให้แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอกงหราเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ได้รับการนิยมมากนัก ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนมากมักจะมาสัมผัสกับบรรยากาศในแหล่งท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว ยังไม่ได้เกิดความประทับใจโดยรวมกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการท่องเที่ยวตามวิถีชุมชนคนอำเภอกงหรา จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวอำเภอกงหราจึงเห็นร่วมกันในการที่ทำให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวที่เอื้อต่อสุขภาวะทางการท่องเที่ยว มุ่งเน้นในการสร้างแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพใน3ประเด็นคือ ชุมชนต้องจัดการกับปัญหาขยะในแหล่งท่องเที่ยว ด้วยการดำเนินการให้แหล่งท่องเที่ยวต่างๆมีการจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยว แก้ปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ในแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการจำหน่ายด้วย โดยการใช้กติกาและกลไกการขับเคลื่อนของกรรมการแหล่งท่องเที่ยวชุมชน จัดหาหรือจัดการให้เกิดการผลิตและจำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพให้แก่นักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ในปีแรกของการดำเนินงานเริ่มเน้นที่อาหารประเภทผักและผลไม้ที่มีคุณภาพและปลอดภัยให้มีการจำหน่ายและบริการไว้ตามแหล่งท่องเที่ยวโดยเน้นที่ผักและผลไม้พื้นถิ่นที่มีการผลิตอยู่ในชุมชน ในแนวทางการแก้ปัญหาและการจัดการดังกล่าวชุมชนต้องสร้างกระบวนการการทำงานโดยเน้นการเรียนรู้ของชุมชนแบบมีส่วนร่วมตามสภาพปัญหาในแต่ละประเด็น 1 เรื่องขยะ เริ่มต้นด้วยการเก็บข้อมูลขยะในแหล่งท่องเที่ยวเนื้อหาของการจัดเก็บคือประเภทและปริมาณของขยะต่างๆที่ตกค้างอยู่พร้อมทั้งที่มาของขยะที่เกิดขึ้นแล้วมาข้อมูลดิบผ่านกระบวนการวิเคราะห์เพื่อค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อกำหนดเป็นแผนการทำงานร่วมกัน ค้นหาประเด็นร่วมและแนวทางการจัดการร่วมกันแล้วร่วมกันกำหนดเป็นกติการ่วมกันในเรื่องที่สามารถจัดการร่วมได้แต่ในส่วนของกติกาย่อยในระดับพื้นที่นั้นขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่จะกำหนดกันเองตามสภาพและจารีตประเพณีของแต่ละพื้นที่แล้วร่วมกันสร้างกลไกการจัดการของแต่ละพื้นที่ ผ่านกิจกรรมที่จะเกิดการเรียนรู้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติการระดับพื้นที่ให้เห็นผลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม 2 เรื่องเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ ในแหล่งท่องเที่ยว กระบวนการและวิธีการเริ่มจากการจัดเก็บข้อมูลเชิงปริมาณการจำหน่ายและการดื่ม และช่วงวัยของกลุ่มที่มีการดื่มในแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดื่มเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ระหว่างการท่องเที่ยว เมื่อมีข้อมูลของแต่ละพื้นที่ก็นำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาในรูปแบบของกติกาต่างๆในแหล่งท่องเที่ยว แล้วนำกติกาที่เกิดขึ้นประกาศใช้กับแหล่งท่องเที่ยวต่างๆและมีการติดตามการใช้กติกาอย่างต่อเนื่องโดยใช้กลไกของกรรมการแหล่งท่องเที่ยวของแต่ละชุมชนเป็นกลไกหลักในการติดตามการใช้กติกาและมีการประเมินผลเชิงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความพึงพอใจของพื้น

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

แหล่งท่องเที่ยวชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมชุมชน ชุมชนสามาถดูแลแหล่งท่องเที่่ยวโดยชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างการเรียนรู้เรื่องการจัดการแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะของชุมชน 2. เพื่อร่วมสร้างข้อตกลงและกลไกการจัดการแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะระดับพื้นที่ 1. เพื่อสร้างกลไกการหนุนเสริมการจัดการแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะในระดับเครือข่ายอำเภอ 2. เพื่อสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะอำเภอกงหรา
  1. มีข้อมูลพื้นฐานตามประเด็น  การจัดการ  4  ประเด็น 1.1 แหล่งท่องเที่ยวมีการจัดการขยะ  อย่างน้อย  6  จุด 1.2 แหล่งท่องเที่ยว  6  จุด  ปลอดโฟม  100% 1.3 แหล่งท่องเที่ยวปลอดแฮลกอฮอล์  อย่างน้อย  2  จุด 1.4 แหล่งท่องเที่ยวมีผักผลไม้ปลอดภัย
  2. มีคณะทำงานระดับพื้นที่  อย่างน้อยพื้นที่ละ  10  คน  และมีความสามารถออกแบบการจัดเก็บข้อมูล
  3. สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดแนวทางการจัดการท่องเที่ยวสุขภาวะระดับพื้นที่ได้
  4. มีกติกาในแต่ละประเด็นของ  6  พื้นที่  ทั้ง  4  ประเด็น
  5. แต่ละพื้นที่มีแผนปฏิบัติแต่ละประเด็นทั้ง  4  ประเด็น ของ  6  พื้นที่
  6. มีข้อตกลงร่วมในระดับเครือข่ายอำเภอ
  7. มีแผนงานประเมินผลในแต่ละประเด็น
  8. มีแผนความร่วมมือกับภาคีหนุนเสริม (เทศบาล,อำเภอ) อย่างน้อย 2แผนงาน
  9. แหล่งท่องเที่ยวมีการจัดการขยะ  อย่างน้อย  6  จุด
  10. แหล่งท่องเที่ยว  6  จุด  ปลอดโฟม  100%
  11. แหล่งท่องเที่ยวปลอดแฮลกอฮอล์  อย่างน้อย  2  จุด
  12. แหล่งท่องเที่ยวมีผักผลไม้ปลอดภัยบริโภค  อย่างน้อย  6  จุด
0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงานโครงการและคณะทำงานแกนนำในพื้นที่ 100 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 56,446.00 24 196,480.00
6 ก.พ. 62 พัฒนาศักยภาพแกนนำ(ศึกษาดูงาน) 0 28.00 21,280.00
15 ก.พ. 62 ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่2 0 3.00 3,120.00
15 ก.พ. 62 ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่3 0 3.00 3,120.00
20 ก.พ. 62 เก็บข้อมูลพื้นที่ 0 12.00 12,100.00
15 มี.ค. 62 ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่4 0 3.00 3,120.00
3 เม.ย. 62 ประชุมคณะทำงานงานโครงการประจำเดือน ครั้งที่1 0 3.00 3,120.00
3 เม.ย. 62 ประชุมเปิดโครงการ 0 5.00 5,180.00
3 เม.ย. 62 เวทีวิเคราะห์ข้อมูลตามประเด็นระดับพื้นที่ 0 0.00 13,300.00
3 เม.ย. 62 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ 0 18.00 19,800.00
3 เม.ย. 62 ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่8 0 3.00 3,120.00
3 เม.ย. 62 กิจกรรมสร้างข้อตกลงร่วมระดับเครือข่าย 0 12,340.00 9,200.00
8 เม.ย. 62 กิจกรรมเวทีสร้างกติการะดับพื้นที่ 0 6.00 6,600.00
20 - 17 เม.ย. 62 ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือน ครั้งที่5 0 3.00 3,120.00
27 เม.ย. 62 กิจกรรมประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่1 0 10.00 8,600.00
2 พ.ค. 62 พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน เรื่องการบริหารจัดการโครงการ 0 0.00 7,200.00
10 พ.ค. 62 สร้างแผนปฏิบัติการระดับพื้นที่ 0 12,820.00 12,820.00
15 พ.ค. 62 ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่6 0 3.00 3,120.00
15 มิ.ย. 62 ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่7 0 3.00 3,120.00
20 มิ.ย. 62 เรียนรู้การจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยวชุมชน 0 16,020.00 16,020.00
3 ก.ค. 62 กิจกรรมเรียนรู้การจัดการอาหารปลอดภัยและเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ในแหล่งท่องเที่ยว 0 12,020.00 12,020.00
15 ส.ค. 62 ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่9 0 3.00 3,120.00
25 ส.ค. 62 กิจกรรมประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่2 0 10.00 10,580.00
15 ก.ย. 62 ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่10 0 3,120.00 3,120.00
27 ก.ย. 62 กิจกรรมประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่3 0 10.00 10,580.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

การดำเนินโครงการในครั้งนี้เครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวมีความคาดหวังเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพที่เอื้อต่อสุขภาวะต่อการท่องเที่ยวและชุมชนท่องเที่ยว มีแหล่งท่องเที่ยวที่สะอาด มีการจัดการขยะอย่างเป็นระบบในแหล่งท่องเที่ยว สามารถลดปริมาณขยะในแหล่งเที่ยวนำไปสู่แหล่งท่องเที่ยวปลอดขยะ มีการควบคุมการหรือจัดการกับการดื่มและจำหน่ายเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ในแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งจะส่งผลต่อความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยวและความปลอดภัยในการเดินทางในการท่องเที่ยวรวมถึงสอดคล้องกับประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนในชุมชนด้วย และมีการผลิตและจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัยในแหล่องท่องเที่ยวชุมชนจะส่งผลให้ชุมชนมีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าการเกษตรของชุมชนและนักท่องเที่ยวก็มีความมั่นใจการซื้อและบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ซึ่งความคาดหวังนี้ส่งผลโดยรวมทั้งคนในชุมชน นักท่องเที่ยว และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆที่มีอยู่ในชุมชน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2562 13:23 น.