directions_run

อนุรักษ์คลองนาโอ่ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 1. เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนอนุรักษ์คลองนาโอ่มีความเข้มแข็ง
ตัวชี้วัด : 1. คนในชุมชนมีความรู้และความตระหนักในการอนุรักษ์คลอง ร้อยละ 80 2. มีคณะทำงานเกิดตัวแทนหลากหลาย และมีการแบ่งบทบาทสามารถจัดการและอนุรักษ์คลองได้เหมาะสม 3. มีข้อมูลและแผนการขับเคลื่อนการทำงานจัดการและอนุรักษ์คลอง 4. คณะทำงานติดตามเฝ้าระวังฟื้นฟูและอนุรักษ์คลองได้ 5. มีการขับเคลื่อนกติกา/ข้อตกลง ปฎิญญาร่มเมืองอนุรักษ์คลอง ยกระดับเป็นธรรมนูญ
20.00
  1. คณะทำงาน 30 สามารถขับคลื่อนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวแทนคณะทำงานมีส่วนของท้องที่ ท้องถิ่น แกนนำชุมชน และมีหน่วยงานในชุมชนสนับสนุนด้านการอนุรักษ์คลองและการส่งสริมสุขภาพ มีการประชุมและติดตามความก้าวหน้า
    การดำเนินงานประจำทุกเดือน
  2. กติกา/ข้อตกลง ปฎิญญาร่มเมืองอนุรักษ์คลอง จำนวน 10 ข้อ ยกระดับเป็นธรรมนูญ ได้รับการยอมรับคนในชุมชนและทุกภาคส่วนในชุมชนได้ยึดถือปฏิบัติ
  3. มีการไม่ยอมทำกติกา 3 ครั้ง ได้มีมาตรการปรับเงิน 1000 บาท
  4. คนในชุมชนมีความรู้และความตระหนักในการอนุรักษ์คลองผ่านเวทีการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านในตำบล จำนวน 9 หมู่บ้าน
    5.มีข้อมูลและแผนงานขับเคลื่อนงานที่เท่าทันสถานการณ์ แก้ปัญหาจุดเสี่ยงพังทะลายของตลิ่ง การมีไม้ไผ่กีดขวางทางน้ำ การเปลี่ยแปลงของเส้นทางน้ำเดิม การใช้ประโยชน์จากการใช้เครื่องสูบน้ำขนาดเล็กในการเกษตร การใช้น้ำคลองเพื่อ ทางการเกษตรมากว่าการอุปโภค และไม่มีการใช้เพื่อบริโภค แนวทางในการจัดการและอนุรักษ์คลองที่เกิดความร่วมมือทั้งส่วนเทศบาล ฝ่ายปกครอง หน่วยงานภาครัฐในชุมชน เช่น โรงเรียน หน่วยบริการสุขภาพ และภาคประชาชน รวมถึงวัด
  5. เกิดคณะทำงานติดตามเฝ้าระวังและอนุรักษ์คลองที่สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
  6. เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์คลองของคนในตำบลร่มเมือง ท้องที่ ท้องถิ่น หน่วยงานในตำบล เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงเรียนวัดนาโอ่ โรงเรียนวัดกลาง และหน่วยงานระดับยุทธศาสตร์ ทางอำเภอ มีตัวแทนปลัดอำเภอ ทสจ.
  7. เกิดกองทุนอนุรักษ์คลองนาโอ๋มีคณะทำงานดำเนินงานต่อเนื่องและคนในชุมชนได้ร่วมลงเงิน ลงสิ่งของในการอนุรักษ์คลอง เป็นเงิน 30,000 บาท คนร่วมสมทบจำนวน 100 คน ได้เงินสมทบในการทำฝ่ายมีชีวิตจากทางจังหวัดจำนวน 100,000 บาท ได้รับงบทางเทศบาลตำบลร่มเมืองดูแลสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
  • ประชาชนกลับมาใช้น้ำตามธรรมชาติเพิ่มขึ้น
  • การใช้เครื่องสูบน้ำขนาดเล็กในคลองมาใช้เพื่อการเกษตรเพิ่มขึ้น ลดค่าใช้จากจากการซื้อน้ำจากระบบประปา
  • แก้ปัญหาคนทิ้งขยะลงในคลอง
  • โรงเรียนในพื้นที่ให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อมมีการปลูกฝังนักเรียนอย่างต่อเนื่องและนำธรรมนูญร่มเมืองในการดูแลคลอง อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปใช้
  • กติกาข้อตกลงเป็นมาตรการที่ทำให้คนยอมรับและช่วยกันดูแล ฟื้นฟูคลอง

ภาคีหน่วยงาน องค์กรในชุมชน ต่างให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนมากขึ้น เช่น โรงเรียนจะให้นักเรียนเข้ามาเรียนรู้และทำกิจกรรมของโครงการด้วยทุกครั้ง - หน่วยบริการสุขภาพในชุมชนทั้ง 2 แห่ง ต่างช่วยให้ข้อมูลการเชื่อมโยงของการมีสุขภาพที่ดีและสิ่งแวดล้อมที่ดีที่มาจากธรรมชาติ เช่น อากาศดีทีมีต้นไม้ คุณภาพน้ำที่ดีถ้าทุกคนดูแลความสะอาดบริเวณโดยรอบแหล่งน้ำ แหล่งเพาะพันธุ์โรดไม่มีถ้าทุกคนไม่ทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง โดยใช้ อสม.เข้ามาไปกระบอกเสียง

2 เพื่อให้คลองนาโอได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูให้มีชีวิตยกระดับสู่ต้นแบบ
ตัวชี้วัด : 1. คนในชุมชนมีส่วนร่วมอนุรักษ์คลองเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 100 คน 2. มีคุณภาพน้ำดีขึ้น มีค่าความเป็นกรดด่างและค่าออกซิเจนละลายในน้ำดีขึ้น 3. มีต้นไม้เพิ่มขึ้นตามแนวริมคลองระยะทาง 1 กิโลเมตร 4. มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นความสูง 2 เมตรระยะทางอย่างน้อย 1 กม.และมีการใช้ประโยชน์น้ำเพิ่มขึ้น 5. มีความหลากหลายของสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น มากกว่า 10 ชนิด 6. มีพืชอาหารเพิ่มขึ้น มากกว่า 20 ชนิด
100.00 0.00
  1. คนในชุมชน 200 คนในพืนที่ 9 หมู่บ้าน โดยเฉพาะหมู่บาน ขยาย 3 หมู่บ้าน ร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนาและอนุรักษ์คลอง และในระดับครอบครัวได้มีการปลูกต้นไม้ หรือตกแต่งกิ่งไม้ป่่าริมครองที่ไดกำหนดร่วมกันเขตดูแลเพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดินลงคลอง ป้องกันการพังของตลิ่่ง
  2. คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี มีค่าออกซิเจนละลายในน้ำ 6-7.5 ppm ค่าความเป็นกรดและด่างPH 6.5-7.5 ลักษณะกายภาพ น้ำมีสีและขุนเล็กน้อย น้ำไม่มีกลิ่น กระแสน้ำไหลตลองปี ปัญหาเฉพาะหน้าแล้งที่เคยมีปัญหาน้ำขังบางจุดเกิดน้ำเน่า หายไป
  3. เกิดฝายมีชีวิตเพิ่มขึ้นจำนวน 1 ฝาย ฝายสวนป่านาโอ่ และมีท่าน้ำ 2ฝั่งคลอง มีลานสำหรับใช้เป็นพื้นทที่เรียนรู้ ห้องประชุมธรรมชาติได้ ทำให้คนได้ลงไปใช้ประโยชน์และรักผูกพันธ์คลองเพิ่มขึ้น น้ำคือชีวิต
  4. มีต้นไม้ริมคลองเพิ่มขึ้น ระยะทาง สองฝั่งคลอง ความยาวฝั่งละ 1 และมีพื้นที่เข้าไปในพื้นดิน กิโลเมตร หัวสวนของแต่ละคนช่วยกันดูแล โดยชุมชนได้มีโรงเรียนเพาะพันธุ์ไม้ของชุมชนจำนวน 5 แห่ง มีพื้นที่สาธารณะปลูกต้นไม้เพื่อป้องกันการพังหน้าดินจะทำให้น้ำขุนมีตะกอนมาก
  5. น้ำในบ่อน้ำตื้นมีปริมาณเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูแล้ง มีระยะห่างจากริมคลองเข้าไปในฝั่ง 1 กิโลเมตร
  6. คนในชุมชนโดยเฉพาะคนริมคลองมีนำน้ำคลองมาใช้ในการปลูกพืช จำนวน 80 ครัวเรือน เช่น พลู ปลูกผักกินและขาย
  7. มีจำนวนของปลาเพิ่มมากขึ้น ปลาที่ปล่อยมีอัตราการรอดร้อยละ 90 ริมฝั่งมีต้นไม้ให้ปลาและสัตว์น้ำได้อยู่อาศัย
  8. มีการปลูกพืชอาหารปลอดภัยโดยใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเพิ่มขึ้น ทำให้มีอาหารปลอดภัยไว้บริโภค และขายเพิ่มรายได้
  • ความชื้นของต้นไม้ ต้นหญาบริเวณสองฝั่งคลองมีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น
  • น้ำในคลองมีระดับสูงขึ้นทำให้คนได้นำน้ำมาใช้สะดวกง่ายขึ้น ตั้งระบบสูบน้ำเอง ลดต้นทุนค่าน้ำ ของครัวเรือนใช้ในการทำการเกษตรลงได้ พืช เช่น พลู พืชผักให้ผลผลิตดีได้น้ำ เพียงพอจำนวน ครัวเรือน -
  • น้ำมีคุณภาพดีตามเกณฑ์มาตรฐานสามารถนำไปใช้เพื่อการอุปโภค บริโภคได้
  • คนในคลองนาโอ่ปลูกพืชผักได้ตลอดปี มีครัวเรือนลดรายจ่ายจำนวน ครัวเรือน ครัวเรือนละ บาท
  • ส่งเสริมการอนุรกษ์ในพื้นที่สาธารณะและระดมคนเชื่อมโยงงานวัฒนธรรม ความเชื่อทำให้เกิดพลังความร่วมมือ เกิดความผูกพันธ์เพิ่มขึ้น
  • ฝายมีชีวิต น้ำคือชีวิต คนมีความรู้ เกิดปัญญามองและวางแผนการบริหารจัดการรอบคอบและรอบด้านคำนึงถึงผลกระทบด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตคน ทำให้สามารถจัดการดูแลทรัพยากรน้ำ/ลุ่มน้ำย่อยสาขาของตนได้ โดยเน้นการมีส่วนร่วมชุมชนและภาคีความร่วมมือทุกภาคส่วน