directions_run

อนุรักษ์คลองนาโอ่ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อนุรักษ์คลองนาโอ่ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 63001690009
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 มีนาคม 2564
งบประมาณ 108,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายปกครองตำบลร่มเมือง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประพาส แก้วจำรัส
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ น.ส.จุฑาธิป ชูสง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2563 31 ต.ค. 2563 1 มิ.ย. 2563 31 ต.ค. 2563 43,200.00
2 1 พ.ย. 2563 28 ก.พ. 2564 1 พ.ย. 2563 30 ก.ย. 2564 54,000.00
3 1 มี.ค. 2564 31 มี.ค. 2564 10,800.00
รวมงบประมาณ 108,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การจัดการคลองนาโอ่ ในปีที่ผ่านมาจากการได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส.สำนัก6 ของหน่วยจัดการNode Flageship จังหวัดพัทลุง เพื่อแก้ไขปัญหาของการกัดเซาะของดินริมคลอง การมีสิ่งกีดขวางของต้นไม้ในลำคลอง การมีน้ำไม่เพียงพอในการอุปโภค การเกษตรในฤดูแล้ง การขาดความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ จนทำให้ขาดความสมดุลทางระบบนิเวศน์ ขาดความมีชีวิตของวิถีชุมชน จึงต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าว จนทำให้กลุ่มผู้นำชุมชนเริ่มต้นของการเปลี่ยนมุมมอง ทัศนคติในเรื่องสิ่งแวดล้อมจนทำให้เกิดขบวนการทำงาน การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่โดยเป็นการขับเคลื่อนกิจกรรมของ 3 ภาคส่วนเสาหลักของตำบลร่มเมือง นำขบวนด้านการมีส่วนร่วมด้วยฝ่ายปกครองตำบลร่มเมือง บวกผสานความเข้มแข็งจากภาคส่วนประชาชนในพื้นที่ หนุนเสริมการผนึกกำลังด้วยเทศบาลตำบลร่มเมือง ผ่านกระบวนการกิจกรรมทั้ง 14 กิจกรรม เกิดเป็นผลการดำเนินงาน ดังนี้
  1. สามารถสร้างพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นจากการปลูกต้นไม้หัวสวน จำนวน 2,056 ต้น และช่วยลดการพังทลายของดินริมคลองจากการปลูกต้นระฆังทองตลอด 2 ฝั่งริมคลองระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร
  2. การมีคุณภาพน้ำที่ดีสำหรับสิ่งมีชีวิตโดยการไม่ทิ้งขยะทุกประเภทและปลดปล่อยน้ำเสียลงสู่ลำคลอง และมีค่าฉลี่ยของความเป็นกรด – ด่าง คือ 7 และค่าทำละลายออกซิเจนเฉลี่ย 7 ppm.   3. แก้ไขปัญหาสิ่งกีดกั้นลำคลองสายน้ำได้ตลอกระยะทาง 9 กิโลเมตร
  4. การมีปริมาณน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นจากขอบริมตลิ่งคลองและมีความชุ่มชื้นในระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตรจากตัวฝายมีชีวิต ทำให้มีน้ำทางการเกษตรที่เพียงพอสังเกตได้จากการไม่มีข้อร้องเรียนในทุกช่องทางของระบบประปาเทศบาล
5. เกิดวิถีชีวิตที่เชื่อมความสัมพันธ์ของชาวบ้าน สายคลอง ป่าไม้ สัตว์น้ำ เช่น มีบันไดลิงของชาวบ้านเพิ่มขึ้น
6. เกิดเป็นปฎิญญาคนร่มเมืองในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน ได้แก่ เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำตลอดแนวคลอง การจัดการขยะของชุมชน การจัดการต้นไม้อนุรักษ์(ต้นระฆังทอง)
7. เกิดภาคีภายนอกจากหน่วยงานภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นชลประทานจังหวัดพัทลุงเข้ามาสำรวจสายคลอง
  สำนักงานป่าไม้จังหวัดพัทลุงที่คอยส่งเสริมให้ประชาชนปลูกต้นไม้ และช่วยสำรวจพันธุ์ไม้ มหาวิทยาลัยทักษิณในการส่งเสริมวิชาการและนักศึกเข้าร่วมการสำรวจเส้นทางทั้งภาคพื้นดินและลำคลองเพื่อช่วยเสริมความรู้เรื่องของระบบนิเวศน์ และอำเภอเมืองพัทลุงในนามของนายอำเภอเมืองพัทลุงได้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในการช่วยผลักดันให้ภาคีภายนอกได้เข้ามามีส่วนในการระดมทุนจนผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงได้คัดเลือกคลองนาโอ่ และสายคลองที่ต่อเนื่องลงไปตลอดถึงทะเลสาปลำปำผ่าน 7 ตำบลเป็นคลองเฉลิมพระเกียรติ
  การดำเนินงาน 1 ปีที่ผ่านมาเรียกได้ว่ามีความสำเร็จในระดับหนึ่งเพราะสามารถทำให้ผู้นำชุมชนทุกภาคส่วนมองเห็นและเข้าใจ มีความตระหนักในประเด็นการจัดการสิ่งแวดล้อม เรียนรู้คำว่าสามัคคี ร่วมใจ ทำให้ประชาชนเห็นถึงความสามัคคีของผู้นำชุมชน เห็นถึงโอกาสในการพัฒนาชุมชน ตำบลของตนเอง แต่ตลอด 1 ปีในการทำงานของคำว่าทีมยังมีส่วนของการเรียนรู้ในการจัดการข้อมูลอย่างต่อเนื่อง การวิเคราะห์ที่มีการใช้เครื่องมือวิชาการ การแบ่งบทบาทที่จะต้องร่วมกันรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความสำเร็จในส่วนของทีมทำงาน และการผลักดันกิจกรรมให้เกิดการสร้างพื้นที่ป่าไม้ การสร้างพื้นที่แหล่งอาหารทั้งในน้ำและบนดิน การทำให้แหล่งน้ำมีความสะอาด สะดวก เพียงพอ และดำรงไว้ซึ่งคุณประโยชน์ของสายน้ำ

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

แนวทางการแก้ไขปัญหาที่จะเสนอในโครงการนี้ ควรใช้ทุนเดิม จุดแข็งที่มี มาช่วยหนุนเสริมการดำเนินงานโครงการอย่างไร ในการขับเคลื่อนการดูแลสายน้ำคลองลำตลอดสายที่มีพื้นที่ครอบคลุม 9 หมู่บ้านของตำบลร่มเมือง จะต้องใช้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ตำบลร่มเมือง ทั้งที่มีอยู่แล้ว และที่เพิ่งก่อตัวใหม่จากการขับเคลื่อนโครงการที่ผ่านมา ดังนี้
1. คณะทำงานโครงการอนุรักษ์คลองนาโอ่ ปี 1 จำนวน 17 คน คือกลุ่มทำงานที่ได้เรียนรู้ระบบ
ขั้นตอน รูปแบบของการทำงานที่ผ่านมาในปีที่ 1 จะทำให้เข้าใจในเรื่องระบบที่ต้องดำเนินการร่วมกันระหว่างNode Flageship 2. กลุ่มอนุรักษ์พัฒนาคลองนาโอ่ จำนวน 13 คน เป็นกลุ่มที่ก่อตัวจากการทำงานในปีที่ 1 ที่จัดตั้ง ขึ้นและได้รับการบริจาคเงินเข้ามาช่วยในการดูแลลำคลองนาโอ่ 3. กลุ่มอนุรักษ์คลองลำ เป็นต้นทุนเดิมที่ช่วยกันฟื้นฟูการดูแลสายน้ำเบื้องต้น
4. กองทุนสวัสดิการตำบลร่มเมือง เป็นองค์กรที่จะช่วยเหลือหนุนเสริมงบประมาณให้กับการทำ ประโยชน์สู่ชุมชน 5. ฝ่ายปกครองตำบลร่มเมือง ถือเป็นกลุ่มขุมกำลังหลักของการเป็นแรงงานในการจัดการที่จะ กระตุ้นให้เกิดการทำงานที่เรียกว่ามวลชนคนร่มเมือง 6. เทศบาลตำบลร่มเมือง เป็นหน่วยงานราชการที่มีงบประมาณหลักในการดูแลพื้นที่ตำบลร่มเมือง และพร้อมด้วยกำลังเครื่องจักรกล การประสานงาน การเอื้ออำนวยความสะดวกในการขับเคลื่อน 7. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำ และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านหูแร่ หน่วยบริการ สาธารณสุขในพื้นที่ตำบลร่มเมือง ที่หนุนเสริมความปลอดภัยทางการแพทย์ให้การดำเนินงาน 8. ชมรมผู้สูงอายุตำบลร่มเมือง ทีมปัญญาปราชญ์ของชุมชนที่มีประสบการณ์ชีวิตที่มากมายพร้อมให้ คำแนะนำ ช่วยแหลือ เกื้อกูล สนับสนุนทุกเรื่องราวในตำบล 9. ชมรมอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน กลุ่มจิตอาสาในทุกเรื่องราวของตำบลที่สามารถหนุนเสริม ตลอดเวลา 10. มวลชนจัดตั้งดังเดิมในพื้นที่ - ลูกเสือชาวบ้าน 3 รุ่น จำนวน 450 กลุ่ม - กลุ่มกองทุนหมุนเวียนปุ๋ย จำนวน 1 กลุ่ม - กลุ่มผสมปุ๋ย จำนวน 1 กลุ่ม - กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 9 กลุ่ม - กลุ่มสหกรณ์กองทุนสวนยาง จำนวน 1 กลุ่ม 11. พื้นที่น่าท่องเที่ยว - สวนป่านาโอ่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านนาโอ่ ตำบลร่มเมือง ซึ่งเป็นพื้นที่ป่า ชุมชนที่มีพื้นที่ 21 ไร่ ที่ได้รับการดูแลโดยภาคประชาชนในกลุ่มชุมชนหมู่ที่ 4 ซึ่งสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้พันธุ์ไม้และเพาะกล้าพันธุ์ไม้ - สวนป่าโหล๊ะเคียน ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 7 บ้านลำ ตำบลร่มเมือง เป็นพื้นที่ที่มีต้นสาย ของสายน้ำคลองลำที่ไหลผ่านตำบลร่มเมือง และเป็นพื้นที่สาธารณในการระดมคนในการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น งานประเพณีชักพระ ลานออกกำลังกายของชุมชน - น้ำตกวังหลุมพอหรือน้ำตกผีสิง กั้นกลางระหว่างหมู่ที่ 3 บ้านหูแร่ และหมู่ที่ 4 บ้านนาโอ่
ตำบลร่มเมือง เป็นพื้นที่การใช้สอยของการพักผ่อนหย่อนใจของคนตำบลร่มเมือง และพื้นที่ตำบลใกล้เคียงเช่นตำบลนาท่อม ตำบลท่าแค ตำบลท่ามิหรำ ที่มีความหลากหลายของคนในตำบลและนอกตำบลที่เอื้อต่อการใช้เป็นเวทีสาธารณในการสื่อสารเรื่องราวการดูแลรักษาสายน้ำ บทเรียนในการดำเนินการในการจัดการและอนุรักษ์คลอง ได้พัฒนาเป็นโมเดลการจัดการน้ำเพื่อนำไปสู่การยกระดับขยายต่อไป ในกระบวนการพัฒนาโมเดลยังไม่สมบูรณ์ ในปีที่ 2 กระบวนการดำเนินการในการจัดการและอนุรักษ์คลองมีกระบวนการในการพัฒนาช่องว่างที่เกิดขึ้น พร้อมกับมีกระบวนการทำซ้ำ และการนำบทเรียนที่ได้ทดลองขยายไปในตำบล แนวทางแก้ไขปัญหา 1. พัฒนากลไกและคณะทำงานมีการขับเคลื่อนงานอยางต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ การ สร้างความเข้าใจ ทัศนะคติ การกำหนดความต้องการสูงสุดที่ต้องการจะดำเนินกิจกรรมให้เห็นร่วมกัน และเห็นในทิศทางเดียวกัน เพิ่มทักษะในการทำงานแบบมีส่วนร่วม
2. การพัฒนาองค์ความรู้ และโมเดลการจัดการน้ำสมบูรณ์ มีข้อมูลผลลัพธ์ชัดเจนในการ ตอบผลลัพธ์ความเปลี่ยนแปลงในการบริหารจัดการ การเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของการดำเนินกิจกรรมจากผู้ที่ดำเนินการในเรื่องที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน และยกระดับเป็นศูนย์เรียนรู้ในการอนุรักษ์และจัดการน้ำที่เหมาะสมกับภูมินิเวศน์
3. การสร้างความร่วมมือ ร่วมใจ รวมพลังในจากภายในเพื่อการดำเนินการจากทุกคนใน ชุมชน องค์กรทุกองค์กรในชุมชน 4. การสร้างความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์คลอง โดยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว พื้นที่แหล่ง อาหาร ความสะอาดของสายน้ำ ความปลอดภัยของลำคลอง ความเพียงพอของน้ำเพื่ออุปโภคและการเกษตร 5. การมีกระบวนการจัดการโดยชุมชนเอง มีการนำบทเรียนที่ได้ทดสอบโมเดลขยายไปยัง หมู่บ้านที่ 4 5 8 ในการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมามีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมมือ ร่วมใจ ร่วมใจ ในการอนุรักษ์และจัดการน้ำที่เหมาะสม เพื่อสร้างฐานความมั่นคงทางอาหารให้เกิดสุขภาวะของคนในคลองนาโอ่ 1.3 แสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานโครงการจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายของ Node
Flagship ได้อย่างไร) จะเห็นได้ว่าผลลัพธ์สุดท้ายจากการคาดหวังของโครงการในครั้งนี้ นั่นคือ การทำให้สายน้ำคลองลำ ในส่วนพิกัดของพื้นที่คลองนาโอ่ ตั้งเขตที่เรียกว่าหนูนบหลวง ถึง สะพานคตกรีต และมีการขยายไปยังคลองอยู่ในหมู่ที่ 5บ้านร่มเมือง หมู่ที่ 8 บ้านป่าตอ โดยไหลผ่านชุมชนในพื้นตำบลร่มเมือง ใน 6 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 3 บ้านหูแร่ หมู่ที่ 4 บ้านนาโอ่ หมู่ที่ 1 บ้านโหล๊ะพันหงส์ และหมู่ที่ 2 บ้านบ่อโพธิ์ หมู่ที่ 5 บ้านร่มเมือง หมู่ที่ 8 บ้านป่าตอ ตามลำดับ ที่อาศัยในพื้นที่ได้มีโอกาสได้เรียนรู้ รับทราบเรื่องราว และเกิดเป็นความตระหนักที่จะดูแลสายน้ำจนเกิดเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูให้มีชีวิตกลับคืนมาอีกครั้งโดยคนในชุมชนกันเอง กระบวนการขับเคลื่อนสามารถไป ซึ่งเป็นการสร้างขบวนการเข้มแข็งของการดูแลทรัพยากรธรรมชาติสู่การเป็นเมืองที่น่าอยู่ Phatthalung Green City และยังสามารถพัฒนาโมเดลการจัดการทรัพยากรน้ำให้สมบูรณ์เพื่อการส่งต่อให้กับภาคียุทธศาสตร์ในจังหวัดได้นำไปใช้เป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนยุทธศาตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อสร้างสุขและสุขาวะของคนเมืองลุงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนอนุรักษ์คลองนาโอ่มีความเข้มแข็ง
  1. คนในชุมชนมีความรู้และความตระหนักในการอนุรักษ์คลอง ร้อยละ 80
  2. มีคณะทำงานเกิดตัวแทนหลากหลาย และมีการแบ่งบทบาทสามารถจัดการและอนุรักษ์คลองได้เหมาะสม
  3. มีข้อมูลและแผนการขับเคลื่อนการทำงานจัดการและอนุรักษ์คลอง
  4. คณะทำงานติดตามเฝ้าระวังฟื้นฟูและอนุรักษ์คลองได้
  5. มีการขับเคลื่อนกติกา/ข้อตกลง ปฎิญญาร่มเมืองอนุรักษ์คลอง ยกระดับเป็นธรรมนูญ
20.00
2 เพื่อให้คลองนาโอได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูให้มีชีวิตยกระดับสู่ต้นแบบ
  1. คนในชุมชนมีส่วนร่วมอนุรักษ์คลองเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 100 คน
  2. มีคุณภาพน้ำดีขึ้น มีค่าความเป็นกรดด่างและค่าออกซิเจนละลายในน้ำดีขึ้น
  3. มีต้นไม้เพิ่มขึ้นตามแนวริมคลองระยะทาง 1 กิโลเมตร
  4. มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นความสูง 2 เมตรระยะทางอย่างน้อย 1 กม.และมีการใช้ประโยชน์น้ำเพิ่มขึ้น
  5. มีความหลากหลายของสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น มากกว่า 10 ชนิด
  6. มีพืชอาหารเพิ่มขึ้น มากกว่า 20 ชนิด
100.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 200
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ครัวเรือนท่ี่มีพื้นท่ี่หัวสวน 200 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 935 108,000.00 41 104,000.00
2 มิ.ย. 63 ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 1 30 900.00 900.00
11 มิ.ย. 63 สร้างความสมบูรณ์ รณรงค์การฟื้นฟู อนุรักษ์ เฝ้าระวัง คลองนาโอ ครั้งที่1 10 300.00 300.00
20 มิ.ย. 63 ปฐมนิเทศโครงการ NFS จังหวัดพัทลุง 3 5,000.00 200.00
2 ก.ค. 63 ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 2 30 2,550.00 2,550.00
10 ก.ค. 63 เวทีทำความเข้าใจโครงการ 100 9,600.00 9,600.00
17 ก.ค. 63 โรงเรียนพันธ์ไม้ (เพาะพันธุ์กล้าไม้และครูต้นไม้) ครั้งที่ 1 50 2,500.00 2,500.00
2 ส.ค. 63 ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่3 30 900.00 900.00
5 ส.ค. 63 สร้างความสมบูรณ์ รณรงค์การฟื้นฟู อนุรักษ์ เฝ้าระวัง คลองนาโอ ครั้งที่2 10 300.00 300.00
20 ส.ค. 63 สร้างความสมบูรณ์ รณรงค์การฟื้นฟู อนุรักษ์ เฝ้าระวัง คลองนาโอ ครั้งที่3 10 300.00 300.00
2 ก.ย. 63 ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่4 30 900.00 900.00
18 ก.ย. 63 สร้างความสมบูรณ์ รณรงค์การฟื้นฟู อนุรักษ์ เฝ้าระวัง คลองนาโอ ครั้งที่4 10 300.00 300.00
30 ก.ย. 63 ค่าตอบแทนในการจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ 1 1,000.00 1,000.00
2 ต.ค. 63 ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่5 30 900.00 900.00
7 ต.ค. 63 กิจกรรมเวทีเชื่อมร้อยเครือข่าย 3 0.00 200.00
14 พ.ย. 63 กิจกรรมส่งตรวจเอกสารการเงินร่วมกับหน่วยงวดที่1 3 0.00 300.00
18 พ.ย. 63 สร้างความสมบูรณ์ รณรงค์การฟื้นฟู อนุรักษ์ เฝ้าระวัง คลองนาโอ ครั้งที่5 10 300.00 300.00
23 พ.ย. 63 ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 6 30 900.00 900.00
25 พ.ย. 63 ปรับปรุงข้อมูลคลองและแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการจัดการและอนุรักษ์คลอง ครั้งที่ 1 10 600.00 600.00
29 พ.ย. 63 สร้างความสมบูรณ์ รณรงค์การฟื้นฟู อนุรักษ์ เฝ้าระวัง คลองนาโอ ครั้งที่6 10 300.00 300.00
2 ธ.ค. 63 ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 7 30 900.00 900.00
18 ธ.ค. 63 สร้างความสมบูรณ์ รณรงค์การฟื้นฟู อนุรักษ์ เฝ้าระวัง คลองนาโอ ครั้งที่ึ7 10 300.00 300.00
2 ม.ค. 64 ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 8 30 900.00 900.00
11 ม.ค. 64 สร้างความสมบูรณ์ รณรงค์การฟื้นฟู อนุรักษ์ เฝ้าระวัง คลองนาโอ ครั้งที่8 10 300.00 300.00
2 ก.พ. 64 ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 9 30 900.00 900.00
15 ก.พ. 64 สร้างความสมบูรณ์ รณรงค์การฟื้นฟู อนุรักษ์ เฝ้าระวัง คลองนาโอครั้งที่9 10 300.00 300.00
2 มี.ค. 64 ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 10 30 1,250.00 1,250.00
4 มี.ค. 64 ปรับปรุงข้อมูลคลองและแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการจัดการและอนุรักษ์คลอง ครั้งที่ 2 10 2,600.00 2,600.00
10 มี.ค. 64 ฝายมีชีวิต(ออกแบบฝายใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เวทีประชาร่วมใจ)ครั้งที่ 1 25 1,250.00 1,250.00
18 มี.ค. 64 สร้างความสมบูรณ์ รณรงค์การฟื้นฟู อนุรักษ์ เฝ้าระวัง คลองนาโอ ครั้งที่10 10 300.00 300.00
19 มี.ค. 64 ฝายมีชีวิต(ออกแบบฝายใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เวทีประชาร่วมใจ)ครั้งที่2 25 1,250.00 1,250.00
19 มี.ค. 64 จัดทำป้าย 1 1,000.00 1,000.00
20 มี.ค. 64 ฝายมีชีวิต(ออกแบบฝายใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เวทีประชาร่วมใจ)ครั้งที่ 3 25 43,750.00 43,750.00
20 มี.ค. 64 กิจกรรมเวทีติดตามประเมินผล เพื่อทำการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกับหน่วยงาน 3 0.00 200.00
23 มี.ค. 64 โรงเรียนพันธ์ไม้ (เพาะพันธุ์กล้าไม้และครูต้นไม้) ครั้งที่่ 2 50 5,600.00 5,600.00
28 มี.ค. 64 โรงเรียนพันธ์ไม้ (เพาะพันธุ์กล้าไม้และครูต้นไม้) ครั้งที่ 3 50 1,500.00 1,500.00
30 มี.ค. 64 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 100.00
20 เม.ย. 64 ฝายมีชีวิต(ออกแบบฝายใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เวทีประชาร่วมใจ)ครั้งที่4 25 1,250.00 1,250.00
27 เม.ย. 64 ฝายมีชีวิต(ออกแบบฝายใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เวทีประชาร่วมใจ)ครั้งที่5 25 1,250.00 1,250.00
21 มิ.ย. 64 ฝายมีชีวิต(ออกแบบฝายใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เวทีประชาร่วมใจ)ครั้งที่6 25 1,250.00 1,250.00
25 มิ.ย. 64 ผ้าป่าต้นไม้(เวทีสรุปบทเรียนและนำเสนอข้อมูลต่อชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) 100 13,600.00 13,600.00
25 มิ.ย. 64 จัดทำชุดนิทรรศการ 1 1,000.00 1,000.00

ชื่อกิจกรรมที่ 1 เวทีทำความเข้าใจโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม 1. ประชุมคณะผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน คณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการ และคณะกรรมการกลุ่มอนุรักษ์พัฒนาคลองวัดโอ่ เพื่อสร้างความเข้าใจ แนวทางการทำงานโครงการและการขับเคลื่อนกิจกรรมร่วมกันทุกภาคส่วน   2. กำหนดเป้าหมายการรับรู้เรื่องราวของกิจกรรม   3. ชี้แจงผู้นำชุมชน ประชาชน หน่วยงานภายในของกระบวนการขับเคลื่อนคลองนาโอ่ปี 2   ก.ค. 2563
ชื่อกิจกรรมที่ 2 ปรับปรุงข้อมูลคลองและแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการจัดการและอนุรักษ์คลอง
รายละเอียดกิจกรรม 1. นำข้อมูลจากปีที่ 1 มากำหนดแนวทางการจัดเก็บข้อมูลในปี 2 พร้อมร่วมกันออกแบบการเก็บข้อมูล และแบ่งบทบาทการเก็บข้อมูล
  3. ปฏิบัติการเก็บข้อมูล ตามที่ออกแบบและกำหนดไว้   4. ทีมข้อมูลรวบรวมข้อมูลและจัดทำแผนปฏิบัติการในการจัดการและอนุรักษ์คลองนาโอ่พร้อมสรุปข้อมูล

  5. ทบทวนข้อมูลและผลสรุปข้อมูลก่อนส่งต่อในเวที่คืนข้อมูล ก.ย.
ชื่อกิจกรรมที่ 3 ประชุมคณะทำงานคลอง
รายละเอียดกิจกรรม 1. กำหนดการประชุมคณะทำงานคลอง อย่างน้อย 10 ครั้งตามความเหมาะสม   2. แจ้งรายงานผลความก้าวหน้าของโครงการพร้อมทั้งรายงานการเงินของโครงการ   3. ค้นหาความสำเร็จ ความล้มเหลว ในการขับเคลื่อนกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว มิ.ย.2563 – 2564
ชื่อกิจกรรมที่ 4 โรงเรียนพันธุ์ไม้ (เพาะพันธุ์กล้าไม้และครูต้นไม้)
รายละเอียดกิจกรรม 1. กำหนดพันธุ์ไม้ในแต่ละชนิด แต่ละกลุ่มประเภท ความต้องการปลูกของชาวบ้านริมคลองหัวสวน
  2. ดำเนินการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์สำหรับเพาะพันธุ์กล้าไม้เพื่อใช้ในการปลูกบริเวณริมคลอง   3. จัดทำโรงเรือนเพาะพันธุ์ อนุบาลกล้าไม้ สำหรับเป็นแหล่งพันธุ์ไม้ให้กับชาวบ้านที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายหลัก 2 ข้างฝั่งริมคลองพื้นที่ขยายจำนวน 1 กิโลเมตร และชาวบ้านทั่วไปในตำบลร่มเมือง
  4. ดำเนินการจัดตั้งศูนย์เพาะกล้าไม้ชุมชน มีกระบวนการเรียนรู้และถอดบทเรียนความรู้ในการเพาะและขยายพันธุ์พืชแลกเปลี่ยน เรียนรู้จากการทำ มีการถ่ายทอดความรู้เชื่อมร้อยคน 3 วัย กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขยายพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมตามภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดซื้อจัดหากล้าไม้ที่หายาก เพื่อการขยายพันธุ์   5. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนชาวบ้านทั่วไปเข้าร่วมปลูกต้นไม้บริเวณริมฝั่งคลองทั้ง 2 ข้าง ส.ค. 2563
ชื่อกิจกรรมที่ 5 ฝายมีชีวิต(ออกแบบฝายใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เวทีประชาร่วมใจ) รายละเอียดกิจกรรม 1. กำหนดวันเวลา และจุดจัดทำฝายมีชีวิต และท่าน้ำ   2. จัดเตรียมพื้นที่ที่กำหนดจัดทำฝายมีชีวิตและท่าน้ำ   3. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการทำฝายมีชีวิตและท่าน้ำ   4. จัดทอดผ้าป่าฝายมีชีวิตเชื่อมร้อยวิถีวัฒนธรรม สร้างความรักความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจและร่วมบุญในการระดมทุน วัตถุ แรง เพื่อใช้ในการทำฝายมีชีวิตที่เหมาะสมพื้นที่   4. ประชาสัมพันธ์กำหนดการเพื่อรวมพลังชาวบ้านชาวร่มเมืองทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างฝายมีชีวิตและท่าน้ำ   5. ดำเนินการสร้างฝายมีฃีวิตและท่าน้ำ ก.ค-กย. 2563
ชื่อกิจกรรมที่ 6 สร้างความสมบูรณ์ รณรงค์การฟื้นฟู อนุรักษ์ เฝ้าระวัง คลองนาโอ
รายละเอียดกิจกรรม 1. ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ เช่น ป้ายคัดเอาท์ สื่อพิมพ์ลาย(โลโก้)เคลื่อนที่ได้ เสียงตามสาย สัญลักษณ์หรือเครื่องหมาย   2. การตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยทางกายภาพ การค้นหาค่าOD ทุกเดือนและรายงานผลผ่านเวทีการประชุมคณะทำงานคลอง จัดหาแหล่งพันธุ์ปลาพร้อมขอความอนุเคราะห์พันธุ์ปลา   3. กำหนดจุดปล่อยพันธุ์ปลาให้มีความสมดุล   4. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนชาวบ้านและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมปล่อยปลา   5. ดำเนินการปล่อยพันธ์ปลาลงสู่คลอง ชื่อกิจกรรมที่ 7 ผ้าป่าต้นไม้(เวทีสรุปบทเรียนและนำเสนอข้อมูลต่อชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)
รายละเอียดกิจกรรม 1. ประชุมคณะผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน คณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการ และคณะกรรมการกลุ่มอนุรักษ์พัฒนาคลองวัดโอ่ เพื่อรายงานผลลัพธ์ ปัญหาอุปสรรค โครงการในการนำข้อมูลมานำเสนอต่อชุมชน   2. กำหนดวัน เวลา สถานที่ ในการจัดเวที
  3. แจ้งประชาสัมพันธ์ชาวบ้าน กลุ่มผู้นำในทุกภาคส่วนภายในตำบลและหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเวที   4. จัดเตรียมสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์   5. รายงานผลสรุปเวที่สรุปบทเรียน

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2563 14:02 น.