directions_run

โครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนวัดนิโครธาราม - คลองน้ำใส

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมที่10. ติดตามผลโครงการ ARE (ครั้งที่2 ) สรุปผลถอดบทเรียนโครงการ27 สิงหาคม 2023
27
สิงหาคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เปิดเวที่ถอดบทเรียนการจัดการน้ำเสียชุมชนวัดนิโครธาราม-คลองน้ำใส โดยมีคณะทำงาน กลไกขับเคลื่อน และพี่เลี้ยงโครงการ เข้าร่วม แลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้การพูดคุย เรื่องของการดำเนินงานมาทั้งหมด มีการทำกิจกรรมไปตามกระบวนการขั้นบันไดสู่ผลลัพธ์ ตั้งแต่เริ่มแรก
มีการสร้างความเข้าใจกับสมาชิกในชุมชน มีข้อมูลปัญหา ของระบบการจัดการน้ำเสียในชุมชนและครอบครัว และมีครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมจำนวน 45 ครัวเรือน
มีการจัดการน้ำเสีย และร่วมกันไปศึกษาดูงานที่ชุมชนต้นแบบชุมชนบ้ารนส้มตรีดออก กลับมาวางผนงานการจัดการน้ำเสีย ในรูปแบบการการจัดการน้ำในครัวเรือน
โดยการมีทำถังดักไขมันอย่างง่าย เพื่อดักไขมัน ดักเศษอาหาร  ในส่วนเศษอาหารที่เหลือจะนำไปเสี้ยงไส้เดือน ถ้ามีมากก็นำไปจัดการโดย ถังรักษ์โลก
สำหรับการจัดการของชุมชน ได้มี การจัดธนาคารน้ำใต้ดินไว้ตรงจุดที่มีปัญหา และจะมีการติดตามวัดค่าน้ำของชุมชนด้วย โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลเมืองพัทลุง

บทเรียนการจัดการน้ำเสียครัวเรือนและชุมชน 1. กิจกรรมที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ คือ การจัดการน้ำเสียโดยมีการทำถังดักไขมันในครัวเรือน และการจัดการเศษอาหารแบบถังรักษ์โลก  และเป็นการจัดการน้ำเสียที่ต้นทาง 2. ปัญหาที่พบในชุมชนไม่มีคูคลองระบายน้ำ ทำให้น้ำเสียในครัวเรือนย้อนกลับไปสู่พื้นที่นา พื้นที่ข้างเคียง จึงทำให้เกิดปัญหาน้ำเสีย ในชุมชน
ปัญหาถังดักไขมัน เนื่องด้วยต้องตักไขมันออก ต้องดูแลความสะอาดบ่อยครั้ง  บางครัวเรือนก็ยังไม่ตระหนักที่จะจัดการน้ำเสีย ยังปล่อยเสียลงสู่ คูระบายน้ำ 3.การพัฒนาต่อยอด  การส่งเสริม การขยายผลการจัดการน้ำเสีย ในครัวเรือนให้มีถังบ่อดักไขมัน ให้ครบทั้งชุมชน มีการทำธนาคารน้ำใต้ดินเพิ่มที่จุดที่เป็นที่รองน้ำเพิ่ม 4. ภาคีที่เกี่ยวข้อง  เทศบาลเมืองพัทลุง โดยจะมีเจ้าที่ กองสาธารณะสุข เข้ามาเป็นกลไกขันเคลื่อนด้วย เป็นวิทยากร ทุนเสริมงบประมาณ  - กองช่าง เข้ามาเป็นกลไกขันเคลื่อน ช่วยในงานช่าง พมจ. เข้ามาหนุนเสริมในเรื่องการฝึกอบรม การวัดค่าน้ำในชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1. มีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ที่ชัดเจนจากการเก็บข่อมูลครัวเรือนที่มีปัญหาการจัดการน้ำเสีย มีแกนนำคณะทำงานกลไกขับเคลื่อนที่มาจากทุกภาคส่วนเข้าร่วม มีผู้นำชมชน กรรมการชุมชน อสม. ผู้แทนครัวเรือน ตัวแทนบริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาล 2.มีบ่อดักไขมัน มีธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อช่วยให้ลดน้ำเสียในครัวเรือน 3. การเกิดสภาพแวดล้อมทางสังคม มีกติกาชจัดการน้ำเสียในชุมชน การบำบัดน้ำเสียการปล่อยลงคู คลอง การจัดการคัดแยกเศษอาหารการก่อนทิ้ง ไม่ทิ้งขยะลงสู่ คู คลอง 4. กลไกการติดตามในชุมชน เป็นคนกลไกที่ติดตามการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน เกิดเป็นช่างชุมชนในการจัดทำถังดักไขมันอย่างง่าย การช่วยเหลือซ่อมบำรุงและวิทยากรในชุมชนที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไส้เดิอน 5. แผนการจัดการน้ำเสีย - มีแผนงานที่ชุมชนสามารถเองได้ การทำถังดักไขมันอย่างง่าย การกำจัดเศษอาหารแบบถังรักษ์โลก หรือแบบนำเศษอาหารไปเลี้ยงสัตว์ - มีแผนงานร่วมกับเทศบาล ทำบ่อดักไขมันของครัวเรือนที่มีปัญหา - แผนงานขอกับเทศบาล การจัดทำธนาคารน้ำใต้ดินเพิ่มในเขตชุมชนที่เป็นพื้นที่รองน้ำ การจัดการลองคูระบายน้ำ 6. จำนวนประชาชนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ มีครัวเรือนการจัดการน้ำเสียเป็นต้นแบบการจัดการน้ำเสีย ปริมาณการใช้ประโยชน์จากน้ำเสีย โดยส่วนมาก นำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแบบถังดักไขมันอย่างง่าย ไปรดน้ำผัก ต้นไม้ นำเศษอาหารที่ผ่านการดักจับไขมันมาเสี้ยงสัตว์ น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วเติมจุลินทรีย์ แล้วนำไปบำบัดน้ำเสีย 7. ภาคีร่วมการดำเนินงาน - เทศบาลเมืองพัทลุง สมทบงบประมาณ และมีทีม กองสาธารณสข และกองช่าง มาเป็นกลไกขับเคลื่อน - สำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จังหวัดพัทลุง สมทบงบประมาณ และเป็นวิยาการอบรม สทม. และการอบรมการตรวจวัดค่าน้ำ

งานสมัชชา คนพัทลุงหิ้วปิ่นโตมาชันชี15 สิงหาคม 2023
15
สิงหาคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สมัชชาคนเมืองลุง หิ้วชั้น มาชันชี 15 สิงหาคม 2566 การประชุมเพื่อนำเสนอประเด็นสมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข ครั้งที่ 2

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

“สมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข”  ครั้งที่ 2 ในวันที่ 15 สิงหาคม 2566 ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
สำหรับประเด็นที่ได้ร่วมกันพิจารณา 1. การออกแบบระบบการศึกษาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียน สร้างพลเมืองผู้ตื่นรู้ 2. การสร้างเศรษฐกิจเกื้อกูล 3.การออกแบบและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืน
4.จังหวัดอาหารปลอดภัยและรักษาพันธุ์พืช สร้างจุดเด่นด้านสมุนไพรและสุขภาพชุมชน
5.การสร้างความมั่นคงของชุมชน สวัสดิการชุมชนและที่อยู่อาศัย
6. ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ประเพณี และวัฒนธรรม
7.การออกแบบพื้นที่พิเศษของจังหวัดพัทลุง และ การสร้างการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
สมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข ครั้งที่ 2 “คนเมืองลุงหิ้วชั้นมาชันชี เพื่อกำหนดอนาคตตนเอง” เป็นการดำเนินการภายใต้โครงการขับเคลื่อนแผนชุมชนสู่การบูรณาการท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง
โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง และภาคีเครือข่าย การจัดงานดังกล่าวนอกจากจะมีการแบ่งกลุ่ม Focus Group แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อเสนอในการเดินทางสู่พัทลุงมหานครแห่งความสุขทั้ง
ยังมีการร่วมแสดงเจตจำนงในการขับเคลื่อน มอบแผนพัฒนา และลงฉันทามติในการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันคือ “พัทลุงมหานครแห่งความสุข”

ค่าบริการอินเตอร์เน็ต5 สิงหาคม 2023
5
สิงหาคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย Churee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดขอบโครงการและคณะทำงานสามารถรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้

เาทีติดตามประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ร่วมกับหน่วยการจัดการ (ARE1)12 กรกฎาคม 2023
12
กรกฎาคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ชุมชนวัดนิโครธาราม-คลองน้ำใส ได้เข้าร่วมประชุมเวที่การติดตามประเมินเพื่อการเรียนและพัฒนา
มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 3 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ  ผู้ประสานงานโครงการ
เริ่มเปิดเวทีโดยผู้รับผิดชอบโครงการหน่วยจัดการพื้นที่ ได้ชี้แจงรายละเอียด วัตถุประสงค์ หลังจากการจัดการบริหารจัดโครงการ ได้ดำเนินงานมาถึงช่วงระยะ ต้องมีการติดตามผลลัพธ์ การเปลี่ยนแปลง ของแต่ละประเด็น โดยมีการแบ่งกลุ่มตามรายประเด็นนำมาแลกเปลี่ยนในประเด็นการจัดการน้ำเสียชุมชน ในกลุ่ม มี ผู้นำนำเสนองานและช่วยกันแลกเปลี่ยนผลลัพธ์ที่เกิดขี้น โดยมีทีมพี่เลี้ยงช่วยกันเติมเต็มข้อมูลเพื่อให้เห็นผลลัพธืได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลลัพธ์รวมการดำเนินงาน ประเด็นการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนและชุมชน ชุมชนวัดนิโครธาราม-คลองน้ำใสและรวมถึงอีก8ชุมชนที่เข้าร่วม 1. มีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ที่ชัดเจน มาจากการเก็บข่อมูลครัวเรือนที่มีปัญหาการจัดการน้ำเสีย
โดยมีแกนนำคณะทำงานกลไกขับเคลื่อนที่มาจากทุกภาคส่วน ผู้นำชมชน กรรมการชุมชน อสม. ผู้แทนครัวเรือน ตัวแทนบริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาล 2.มีการทำบ่อดักไขมัน เกิดธนาคารน้ำใต้ดิน เลี้ยงไส้เดือน 3. การเกิดสภาพแวดล้อมทางสังคม มีการจัดการน้ำเสียเกิดขึ้นในชุมชน มีการบำบัดน้ำเสียการปล่อยลงคูคลอง
มีการจัดการคัดแยกเศษอาหารการก่อนทิ้ง 4.การติดตามในชุมชนกลไกที่ติดตามการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน ทำให้เกิดมีช่างชุมชนในการจัดทำถังดักไขมันและมีการช่วยเหลือในการซ่อมบำรุง 5. แผนการจัดการน้ำเสีย การทำถังดักไขมันอย่างง่าย การกำจัดเศษอาหาร นำเศษอาหารไปเลี้ยงสัตว์ ไส้เดือน มีแผนงานร่วมกับเทศบาล ทำบ่อดักไขมันของครัวเรือนที่มีปัญหา การจัดทำธนาคารน้ำใต้ดินเึึึพิ่มในเขตชุมชน 6.ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ มีครัวเรือนการจัดการน้ำเสียเป็นต้นแบบการจัดการน้ำเสีย โดยส่วนมาก นำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแบบถังดักไขมันอย่างง่าย ไปรดน้ำผัก ต้นไม้ นำเศษอาหารที่ผ่านการดักจับไขมันมาเสี้ยงสัตว์
7. มีภาคีร่วมการดำเนินงาน - เทศบาลเมืองพัทลุง สมทบงบประมาณ และมีทีม กองสาธารณสข และกองช่าง มาเป็นกลไกขับเคลื่อน สำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมพัทลุง และมีการอบรมการตรวจวัดค่าน้ำ

กิจกรรมที่1. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 714 มีนาคม 2023
14
มีนาคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะกรรมการหาแนวทางการแก้ปัญหาการจัดการน้ำเสียในชุมชน
โดยการติดตามประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ร่วมกับหน่วยการจัดการได้มีการวางแนวทางการดำเนินงานโครงการ มีแผนกิจกรรมที่ตอบตัวชี้วัดให้เกิดผลลัพธ์ รวมกัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม คณะทำงานกลไกขับเคลื่อนโครงการ สุดท้ายให้มีการสรุปบทเรียนการจัดการน้ำเสีย  กระบวนการ  วิธีการนำไปสู่ผลการเปลี่ยนแปลง
มีแนวคิดที่สร้างความเปลี่ยนแปลง  ปัญหา  อุปสรรค  การพัฒนาต่อยอดต่อเนื่องและยังยืน    เป็นกระบวนการประชุมของคณะทำงานกลไกขับเคลื่อนโครงและวางแผนงานร่วมกันอย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน จัด ณ ที่ทำการชุมชน  มี คณะทำงาน  กลไกขับเคลื่อน  ซึ่งมาจาก แกนนำชุมชน  ตัวแทนครัวเรือน ภาคที่เกี่ยวข้อง มาจาก เทศบาลเมืองพัทลุง  เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุข  และเจ้าหน้าที่สวัสดิการสังคม  เจ้าหน้าที่กองช่าง  ประชุมร่วมวางแนวทางการดำเนินงานโครงการ    ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย การเปลี่ยนแปลงโครงการ  วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมคนในชุมชนมีความตระหนักเรื่องการจัดการน้ำเสียชุมชน  2. เพื่อสร้างกลไกการขับเคลื่อนชุมชนลดน้ำเสียเข้มแข็ง  3. มีรูปแบบการจัดการน้ำเสียครัวเรือน  4. ครัวเรือนสามารถจัดการน้ำเสียได้  5. มีระบบจัดการนำ้เสียไปพื้นที่ร่วมของชุมชน    ผลลัพธ์เป้าหมาย คือ น้ำเสียในครัวเรือนลดลง

กิจกรรมที่9. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย17 กุมภาพันธ์ 2023
17
กุมภาพันธ์ 2023รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมสะท้อนปัญหาการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) ที่เกิดขึ้นจริง
1. แกนนำกลุ่ม 20 คน ตัวแทนครัวเรือนเป้าหมาย 20คน รวม 40 คน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงาน รวม 40 คน จำนวนครัวเรือนและกลุ่มเป้าหมาย ในการจัดทำถังบ่อดักไขมันมีเกินจำนวนที่วางไว้ จาก10ชุด เป็น 21ถัง 2. สรุปผลการดำเนินงาน ปรับแผนดำเนินงาน สู่ผลลัพธ์เสนอต่อทางเทศบาลรับเรื่องแก้ปัญหาคูระบายน้ำผ่านแผนชุมชน 3. มีสื่อสารสู่ชุมชนผ่านช่องทางหอกระจ่ายข่าว ป้ายประชาสัมพันธ์  การรณรงค์ 4. มีติดตามผลการสนับสนุนครัวเรือนเป็นต้นแบบให้เป็นแหล่งเรียนรู้จัดการน้ำเสียของชุมชน มีช่างชุมชนช่วยรับเรื่องแก้ปัญหา 5. มีติดตามผลการปฏิบัติตามกติกาเป็นมาตรการทางสังคม คือ การคัดแยกขยะก่อนทิ้ง  สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากขยะ การณรงค์ในวันสำคัญ 6. มีประกาศผลครัวเรือนผ่านเกณฑ์ตามมาตรการที่กำหนดเป็นครัวเรือนต้นแบบ 7. ยังไม่ทำแผนพัฒนาครัวเรือนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ 8. เสนอแผนจัดการน้ำเสียชุมชนต่อภาคียุทธศาสตร์(เทศบาลเมืองพัทลุง) ใผ้ดำเนินการมีคูระบายน้ำริมถนนในพื้นที่ชุมชน

กิจกรรมที่1. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 617 กุมภาพันธ์ 2023
17
กุมภาพันธ์ 2023รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะกรรมการหาแนวทางการแก้ปัญหาการจัดการระบน้ำเสียในชุมชน
โดยการจัดทำแผนการปฏิบัติการตามแผนแก้ไขน้ำเสีย แผนทำร่วมหรือแผนทำร่วม เพื่อน้ำมาใช้วิเคราะห์แก้ปัญหาน้ำเสียในชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต คณะทำงานกลไกขับเคลื่อนโครงการจำนวน 25 คน ได้มีการวางแนวทางการดำเนินงานโครงการ มีแผนกิจกรรมที่ตอบตัวชี้วัดให้เกิดผลลัพธ์ รวมกัน

ผลลัพธ์ คณะทำงานจัดการน้ำเสียของชุมชนมีความรู้และมีข้อมูลร่วมกันคิดวิเคราะห์ร่วมกันในการออกแบบวางแผนเมื่อมีข้อมูลมาประกอบครั้งต่อไป

กิจกรรมที่8. ประชุมกลไกเพื่อติดตามโครงการ ARE ครั้งที่117 มกราคม 2023
17
มกราคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมกลไกเพื่อติดตามโครงการ
ผู้รับผิดชอบโครงการชวนคุยตามบันไดผลลัพธ์
บันไดขั้นที่ 1 คนในชุมชนให้มีความตระหนักในเรื่องการจัดการน้ำเสียชุมชน บันไดขั้นที่ 2 เกิดกลไกขับเคลื่อนชุมลดน้ำเสียเข้มแข็ง บันไดขั้นที่ 3 เกิดรูปแบบการจัดการน้ำเสียครัวเรือน บันไดขั้นที่ 4 เกิดครัวเรือนจัดการน้ำเสีย บันไดขั้นที่ 5 เกิดระบบจัดการน้ำเสียไปยังพื้นที่ร่วมของชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

บันไดขั้นที่ 1 คนในชุมชนให้มีความตระหนักในเรื่องการจัดการน้ำเสียชุมชน ผลลัพธ์ 1. มี ข้อมูลน้ำเสียของครัวเรือนและชุมชน ก่อนและหลัง ในการดำเนินงานโครงการ ทำให้ครัวเรือนได้รับทราบข้อมูลน้ำเสียของครัวเรือนและชุมชน
เกิดการปฏิบัติการในครัวเรือนต้นแบบการจัดน้ำเสียในครัวเรือน 2.การเก็บข้อมูล นำข้อมูลมาวิเคราะห์ ให้เห็นถึงปัญหา เกิดแผนการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน 60 ครัวเรือน ใน3 รูปแบบ 1. ถังดักไขมันอย่างง่่าย 2. การเลี้ยงไส้เดือน 3. การเลี้ยงไส้เดือน 3. มีกิตกาชุมชนในการจัดการน้ำเสีย 1.มีการแยกขยะอินทรีย์ออกจากน้ำเสีย 2.ไม่ทิ้งขยะลงคู คลอง

บัดไดขั้นที่ 2 เกิดกลไกขับเคลื่อนชุมลดน้ำเสียเข้มแข็ง . ผลลัพธ์ 1. มีคณะทำงานที่มีส่วนร่วมจาก ท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและตัวแทนครัวเรือนเข้าเป็นคณะทำงาน  รวมเป็นกลไกขับเคลื่อนโครงการ 25 คน มี การแบ่งงานและมอบหมายหน้าที่ในการดำเนินงาน มีการวางแนวทางการดำเนินงานโครงการ 2. มี ข้อมูลพฤติกรรมการใช้น้ำของครัวเรือน จากการเก็บข้อมูล ก่อนและหลัง ในการดำเนินงานโครงการ 3. มีแผนผังทางน้ำชุมชน

บันไดขั้นที่ 3 เกิดรูปแบบการจัดการน้ำเสียครัวเรือน ผลลัพธ์ 1. มีถังดักไขมันอย่างง่าย 2. มีธนาคารน้ำใต้ดิน 3. มีแผนติดตามการจัดน้ำเสียชุมชน โดย การ ตรวจวัดคุณภาพน้ำ

บันไดขั้นที่ 4 เกิดครัวเรือนจัดการน้ำเสีย

บันไดขั้นที่ 5 เกิดระบบจัดการน้ำเสียไปยังพื้นที่ร่วมของชุมชน

ในการดำเนินงานโครงการ ยัง เกิด ผลลัพธ์ ที่มีการอบรมการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน การจัดการน้ำเสียชุมชน เรียนรู้การวัดค่าน้ำเสีย

กิจกรรมที่7. ปฏิบัติการตามแผนแก้ไขน้ำเสีย( แผนทำร่วมหรือแผนทำร่วม)17 ธันวาคม 2022
17
ธันวาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ปฏิบัติการตามแผนแก้ไขน้ำเสีย( แผนทำร่วมหรือแผนทำร่วม)ร่วมกับเทศบาลเมืองในโครงการพระราชดำริ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จำนวนครัวเรือนต้องการถังดักไขมัน และไส้เดือนเพิ่ม เทศบาลทำธนาคารใต้ดิน ตามโครงการพระราชดำหริ

กิจกรรมที่6. ประชุมเชิงปฏิบัติการครัวเรือนเป้าหมายและรับรองแผนปฏิบัติการ17 ธันวาคม 2022
17
ธันวาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ันพฤหัสที่ 27 กรกฎาคม 2566 เวลา 10.00น. นายวาทิต ไพศาลศิลป์นายกเทศมนตรีเมืองพัทลุง
มอบหมายให้นายสมหมาย หนูเจริญ รองนายกรัฐมนตรีเมืองพัทลุง นายโสภณ จันทรเทพ รองนายกเทศมนตรีเมืองพัทลุง นายประเสริฐ รัตนวิชา ปลัดเทศบาลเมืองพัทลุง
พร้อมด้วย ผู้อำนวยการกองช่าง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม นายอิทธิพัทธ์ ฮัอบุตร ประธานชุมชนบ้านดอนรุน
และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมโครงการจัดการน้ำเสีย กิจกรรมมอบถังดักไขมัน โดยชุมชนวัดนิโครธาราม คลองน้ำใส โดยมี นายสัญญา บุญสม ประธานกรรมการชุมชนวัดนิโครธาราม คลองน้ำใส
ครัวเรือนเป้าหมายต้นแบบ ครัวเรือนเป้าหมายจำนวน 6 ครัวเรือน แต่มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมทำถังดักไขมันในครัวเรือนจำนวน 21ครัวเรือน เกินเป้าหมาย 15 ครัวเรือน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การดำเนินงานโครงการตามบันไดผลลัพธ์ บันไดขั้นที่ 1 1. มีการจัดเก็บ ข้อมูลน้ำเสียของครัวเรือนและชุมชน ก่อนและหลัง ในการดำเนินงานโครงการจำนวน  119 ครัวเรือน
รับทราบข้อมูลน้ำเสียของครัวเรือนและชุมชน เกิดการปฏิบัติการครัวเรือนต้นแบบการจัดน้ำเสียในครัวเรือน122 ครัวเรือน 2. จากการเก็บข้อมูลสถานการณ์ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ เห็นถึงปัญหา เกิดแผนการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน 65 ครัวเรือน
ในรูปแบบ 3 รูปแบบ   1. ถังดักไขมันอย่างง่าย 21 จากเดิม 13   2. การเลี้ยงไส้เดือน 7
  3.ธนาคารน้ำใต้ดิน 1 3. มีมาตราการชุมชนในการจัดการน้ำเสีย 1. แยกขยะอินทรีย์ออกจากน้ำเสีย 2. มีจุดพักขยะ ทำป้ายทิ้งขยะ 3.รณรงค์ร่วมกับเทศบาลในวันสำคัญ ทำความสะอาดชุมชนและแหล่งน้ำ

บัดไดขั้นที่ 2 เกิดกลไกขับเคลื่อนจัดการน้ำเสียในชุมชน ผลลัพธ์ 1. มีคณะทำงานที่มีส่วนร่วมจาก ท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและตัวแทนครัวเรือนเข้าเป็นคณะทำงาน คณะทำงานโครงการ 15 คน
กรรมการชุมชนตัวแทนครัวเรือน  อสม.8 คน ภาคีที่เกี่ยวเทศบาล 2 คน รวมเป็นกลไกขับเคลื่อนโครงการ 25 คน
มี การแบ่งบทบาทมอบหมายหน้าที่การดำเนินงาน มีการวางแนวทางการดำเนินงานโครงการ 2.ข้อมูลพฤติกรรมการใช้น้ำของครัวเรือน จากการเก็บข้อมูล ก่อนและหลัง ในการดำเนินงานโครงการ มีข้อมูลพฤติกรรมการใช้น้ำของครัวเรือน จากการเก็บข้อมูล ที่มาของน้ำเสียครัวเรือน อาบ ซักล้าง 4370ลิตร/วัน อาหาร/ล้างจาน 4280ลิตร/วัน

การจัดการน้ำเสียครัวเรือน ไม่มีระบบจัดการน้ำเสีย 115 หลัง มีระบบจัดการน้ำเสีย 43 หลัง
ถังดักไขมัน 21 ถัง

ผลกระทบจากน้ำเสีย จะร่วมกันจัดการน้ำเสียอย่างไร ระดับครัวเรือน
1. บ่อดักไขมัน
2.แยกขยะอินทรีย์จากน้ำเสีย
3. ไม่ทิ้งขยะลงคูน้ำ

บันไดขั้นที่ 3 เกิดรูปแบบการจัดการน้ำเสียครัวเรือน ผลลัพธ์ 1. มีถังดักไขมันอย่างง่ายที่ชุมชนได้รับจำนวน 21 ถัง 2. มีธนาคารน้ำใต้ดิน 1 3. เกิดครัวเรือนที่มีการใช้ประโยชน์จากกระบวนการจัดน้ำเสีย 4. มีแผนติดตามการจัดน้ำเสียชุมชน โดย การ ตรวจวัดคุณภาพน้ำ

บันไดขั้นที่ 4 เกิดครัวเรือนจัดการน้ำเสีย 1. จำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาการจัดการน้ำเสียสามารถจัดการน้ำเสีย 2. ปัญหาที่เกิดจากน้ำเสียลดลง

บันไดขั้นที่ 5 เกิดระบบจัดการน้ำเสียไปยังพื้นที่ร่วมของชุมชน ผลลัพธ์ 1. มีครัวเรือนต้นแบบ 2หลัง ถังดักไขมัน เลี้ยงไส้เดือนครบวงจร 2. ธนาคารน้ำใต้ดินรอ

กิจกรรมที่5. เปิดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงกระบวการเพื่อค้นหาแนวทางวางแผนแก้ไขรายกลุ่มบ้าน2ครั้ง26 พฤศจิกายน 2022
26
พฤศจิกายน 2022รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สมาชิกครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมประชุมเปิดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงกระบวการเพื่อค้นหาแนวทางวางแผนแก้ไข และพูดคุยร่วมสะท้อนปัญหาการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน ปัญหาน้ำเสียในชุมชน
การทำบ่อดักไขมัน การเลี้ยงไส้เดือน ธนาคารน้ำใต้ดิน ผ่านแผนงานที่ร่วมกันออกแบบไว้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต -เกิดแหล่งเรียนรู้ จำนวน3 แหล่ง  คิอ ธนาคารน้ำใต้ดิน
เกิดมีวิทยากรในชุมชน ถังดักไขมัน การเลี้ยงไส้เดือน 1.นายอรุณ แสงเปี่ยมสุข  2.นาง ขนิษฐา ศรีทองแก้ว
ผลลัพธฺ -เกิดหลักสูตรการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ธนาคารน้ำใต้ดิน  ถังดักไข  เลี้ยงไส้เดือน
เกิดช่างชุมชน2 คน นายไพโจน์ รัตนะ  2.นายสัญญา บุญสม

กิจกรรมที่1. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 523 พฤศจิกายน 2022
23
พฤศจิกายน 2022รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมแจ้งพื้นที่่ศึกษาดูงานนอกสถานที่ที่ชุมชนส้มตรีดออก นัดหมายคณะทำงาน คนในชุมชน กำหนดการนัดหมายเวลาเดินทาง จุดขึ้นรถ ณที่ทำการชุมชนวัดนิโครธาราม-คลองน้ำใส

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต คณะกรรมการเข้ามาประชุมปรึกษาพร้อมพี่เลี้ยงโครงการ

ผลลัพธ์ 1. คณะทำงานรับทราบการแบ่งหน้าที่ดูแลคนในชุมชนที่จะไปดูงาน 2. นัดหมายเวลาขึ้นรถไปดูงาน

ประชุมเวทีสรุปผลการดำเนินงานของโครงการสสส.(เวทีรวม)10 พฤศจิกายน 2022
10
พฤศจิกายน 2022รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะกรรมการได้ประชุม เข้าร่วม เวที การติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ณ ที่ลำปำรีสอร์ท ห้องโดม
นายไพฑรูณ์ ทองสม ผู้รับผิดชอบหน่วยจัดการพื้นที่ ที่มีจุดเน้นสำคัญทางยุทธศาสาตร์ มีการชี้แจงวัตถุประสงค์  เพื่อเป็นการติดตามประเมินผล การดำเนินงาน ของพื้นที่ ที่ได้ทุนในระยะเวลาที่ผ่านมา 6 เดือน
มีกระบวนการดำเนินงานไปตามทิศทางอย่างไร  มีปัญหาอุปสรรคหรือไม่ มีการแก้ไขปัญหาอย่างไร จากนั้นมีการแบ่งกลุ่มตามรายประเด็น  แต่ละกลุ่มจะมีพีเลี้ยงประเด็นเป็นผู้ชวนคุยแลกเปลี่ยนผลลัพธ์ของแต่ละพื้นที่  ในประเด็นการจัดการน้ำเสียครัวเรือนและชุมชน มี 8 ชุมชน มีการแลกเปลี่ยนตามกระบวนการบันไดผลลัพธ์ ที่ผ่านมา การติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาของแต่ละพื้นที่ (ARE) มีผลติดตามประเมินร่วมกัน ที่ผ่านมาแต่ละพื้นที่ได้ดำเนินการ มีคณะทำงานโครงการ มีการแบ่งหน้าที่ในดำเนินงาน  มีข้อมูลสถานการณ์น้ำและผลกระทบ มีแผงผังทางเดินน้ำ มีกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมเป็นครัวเรือนการจัดการน้ำเสียครัวเรือน มีแผนการจัดการน้ำเสียครัวเรือนและชุมชน สรุปผลการติดตาม ช่วงบ่าย มีแลกเปลี่ยนแปลงเรื่องการเงินและบัญชีโดยให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดเตรียมเอกสารหลักการเงิน ได้พบว่าการจัดเตรียมเอกสารของพื้นที่ ยังไม่สมบรูณ์ พบว่าเอกสารบ้างกิจกรรมยังมีความเข้าใจที่คาดเคลื่อน ระหว่างการใช้ใบสำคัญเงินสด และ บิลเงินสด ใบเสร็จ การลงนามผู้จ่าย ระหว่างจ่ายในนามของหน่วยจัดการ และจ่ายในนาม สสส.และได้สร้างความเข้าใจ เพื่อในงวดต่อไปจะได้จัดเตรียมเอกสาร ถูกต้อง ครบถ้วน สมบรูณ์ จากนั้นได้มีการ แลกเปลี่ยนในเรื่องระบบรายงานในเวปไซล์ โดย คุณไพฑรูณ์ ทองสม  การลงข้อมูลรายละเอียด ลงไม่ครบ ส่วนในกิจกรรมยังขาดรายละเอียดในการอธิบายขั้นตอนการดำเนินการ ส่วนมากจะลงแค่หัวข้อ ส่วนในของผลผลิตและผลลัพธ์ยังไม่อธิบายว่าได้อะไร เกิดผลลัพธ์อย่าง วิทยากรได้เพิ่มเติมการรายงานกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ จากนั้น เป็นการเสร็จสิ้นกระบวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนซวัดนิิโครธาราม-คลองน้ำใส  ได้ร่่วมเข้ารับฟังการประชุมและประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาความรู้ ได้มีการติดตามประเมินพื้นที่ มีผลลัพธ์ของพื้นที่ ที่เกิดขึ้นตามแผนงานที่กำหนด พื้นที่และภาคีได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่4. ศึกษาดูงานของแกนนำครัวเรือนและกลไก4 พฤศจิกายน 2022
4
พฤศจิกายน 2022รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ศึกษาดูงานของแกนนำครัวเรือนและกลไก ชุมชนส้มตรีดออก คณะทำงาน ตัวแทนครัวเรือนปฏิบัติการการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนได้ไปดูงานที่พื้นที่ต้นแบบ การจัดการน้ำเสีย ชุมชนบ้านส้มตรีดออก ทีมวิทยากร เจ้าหน้าที่เทศบาลเมือง ทีมวิทยากรได้ให้ความรู้ในเรื่อง การจัดการน้ำเสียในครัวเรือน

สาธิตการทำถังดักไขมันอย่างง่าย ถังพลาสติกมีฝาปิด -ตะกร้าพลาสติก
ข้อต่อเกลียวใน-ข้อต่อเกลียวนอก-ข้องอ-ท่อพีวีซี-กาวซิลิโคน วิธีการทำถังดักไขมันอย่างง่าย เจาะฝาถังพลาสติก ขนาดเท่ากับตะกร้า
ใช้ใบเลื่อยตัดเหล็ก นำมาปิดตะกร้าเพื่อป้องกันแมลงวัน ใช้สว่าน เจาะรูข้างถังให้ห่างจากขอบถัง หรือเท่ากับความสูงของตะกร้า เพื่อให้วางตะกร้าชั้นในได้ นำข้อต่อเกลียวใน-เกลียวนอก มาใส่เข้ากับรูที่เจาะข้างถัง ขันเกลียวให้แน่นสนิทกับตัวถัง นำข้องอ และท่อพีวีซี มาต่อที่ด้านในถังเป็นตัวดักไขมัน
ตัดท่อพีวีซีให้อยู่สูงจากก้นถังเพื่อให้ น้ำไหลเข้าท่อแล้วล้นออกนอกถังได้ นำข้องอและท่อพีวีซีมาต่อที่ด้านนอกถัง
สามารถต่อท่อให้น้ำไหลไปลงร่องระบายน้ำตามความเหมาะสมกับพื้นที ใช้กาวซิลิโคน ยารอยรั่วตรงที่เจาะรูทั้งด้านใน ด้านนอก ป้องกันการรั่วซึม ส่วนท่อและข้องอต่างๆไม่ต้องทากาว
เพื่อให้ถอดทำความสะอาดได้สะดวก นำฝาถังที่มีตะกร้าสำหรับกรองเศษอาหาร และมีฝาปิด ป้องกันแมลงวันมาประกอบบนตัวถัง ก็จะได้ถังดักไขมันตามที่ต้องการในการใช้งาน

ไปดูการเลี้ยงไส้เดือน เพื่อการกำจัดเศษอาหารจากการคัดแยก ก่อนจะปล่อยน้ำเสียลงสู่ถังดักไข่มัน
เศษอาหารเศษเลี้ยงไส้เดือนเป็นการย่อยสลายเป็นกลายปุ๋ย

ธนาคารน้ำใต้ดิน ใช้หินเรียงเป็นหินที่น้ำสามารถไหลผ่านได้ จะเป็นก้อนหินขนาดกลาง มีผ้าในล่อนวัดขนาดความยาวตามขนาดของธนาคารน้ำใต้ดินที่ต้องการทำ ใช้ท่อพีวีซีมีความยาวกับความลึกของธนาคารน้ำใต้ดินที่ต้องการทำและใช้ข้อต่อพีวีซี3ทางเพื่อใช้เป็นทางระบายอากาศ ยางรถยนต์-หินกรวด-เพื่อให้น้ำแทรกซึมไปได้ง่าย ประโยชน์ของธนาคารน้ำใต้ดิน 1. แก้ปัญหาน้ำเน่าเสียในครัวเรือน 2. แก้ไขปัญหาความแห้งแล้ง 3. ช่วยให้พืชมีการดูดซึมน้ำได้- สามารถกักเก็บน้ำให้ต้นพืชได้

ผลที่เกิดขึ้นจริง-ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม คณะทำงานตัวแทนครัวเรือนได้เรียนรู้กระบวนการการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนและชุมชน
เรียนรู้การทำถังดักไขมัน การเสี้ยงใส้เดือน ธนาคารน้ำใต้ดิน เพือที่จะนำไปใช้ในครัวเรือนได้อย่างเข้าใจดี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ศึกษาดูงานของแกนนำครัวเรือนและกลไก ชุมชนส้มตรีดออก ผลผลิต ผู้เข้าร่วมกิจกรรมดูงาน

ผลลัพธ์ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสนใจ เข้าใจกระบวนการจัดการน้ำเสียครัวเรือน ด้วยระบบธนาคารน้ำใต้ดิน การเลี้ยงไส้เดือนเพิ่มขึ้น
ได้แนวทางการจัดการน้ำเสียครัวเรือนมาออกแบบดำเนินการในชุมชน

กิจกรรมที่3. เปิดเวทีสร้างความเข้าใจการจัดการน้ำเสียและจัดทำป้ายนิทรรศการ26 ตุลาคม 2022
26
ตุลาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรมกิจกรรมร้างความเข้าใจการจัดการน้ำเสียและโครงการพัฒนาระบบสุขภาภิบาลในชุมชน ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็นพระเทพรัตนราชสุดาฯ 1. สร้างการเรียนรู้เรื่องสถานการณ์น้ำเสียชุมชนโดยการคืนข้อมูลจากการเก็บและวิเคราะห์สถานนการณ์น้ำเสียของชุมชน  ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างไร และ  เพื่อเรียนรู้และเพิ่มความตระหนักต่อการจัดการ โดยให้มีประชาชนตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 58 คน หรือร้อยละ 50 โดยที่เป็นตัวแทนครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 58 คน หรือร้อยละ 50 2. เชิญประธานชุมชนส้มตรีออก เป็นวิทยากรสอนการทำบ่อดักไขมันอย่างง่าย และประธานชุมชนท่ามิหรำสอนการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อจัดการเศษขยะอินทรีย์หลังจากการคัดแยก 3. เชิญภาคียุทธศาสตร์ คือ รองนายกเทศมนตรีของเทศบาลเมือง สมาชิกสภาเทศบาล และหัวหน้ากองสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง  เข่น สำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมไม่ได้เข้าร่วมเนื่องจากตรงกับชุมชมอื่น แต่ผู้นำชุมชนท่ามิหรำเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้รายละเอียดเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของน้ำเสียในระดับพื้นที่ 4. จัดทำไวนิลเพื่อคืนข้อมูลสถานการณ์น้ำเสียในชุมชน 5. สร้างความเข้าใจโครงการพัฒนาระบบสุขภาภิบาลในชุมชน ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็นพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในการทำงานร่วมกันของชุมชนกับเทศบาลเพื่อแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบกับสุขภาพในพื้นที่อันเนื่องจากน้ำเสีย โดยการประสานงานของประธานชุมชน เพื่อนำมาทำงานร่วมกับการจัดการน้ำเสียในชุมชน โดยใช้ทำ บ่อดักไขมันอย่างง่าย  เลี้ยงไส้เดือน  และทำธนาคารน้ำใต้ดิน  ในการแก้ปัญหาน้ำเสียในชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต มีผู้เข้าร่วมตัวแทนครัวเรือน จำนวน 80  คน  ประกอบ ด้วย อสม  กรรมการชุมชน แกนนำคณะทำงานน้ำเสีย  รองนายกเทศมนตรี  ผู้อำนวยการกองสาธารณะสุข สมาชิกสภาเทศบาล ได้มีความรู้ ความเข้าใจ การชี้แจงสร้างความเข้าใจโครงการการจัดการน้ำเสียในชุมชนวัดนิโครธาราม  คลองน้ำไส ร่วมกับโครงการพัฒนาระบบสุขภาภิบาลในชุมชน ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็นพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในการแก้ปัญหาน้ำเสียในชุมชน ผลลัพธ์       1. ตัวแทนชุมชนและผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้และเข้าใจข้อมูลสถานการณ์น้ำเสียของชุมชนวัดนิโครธารราม  คลองน้ำไส  จากการเก็บและวิเคราะห็ข้อมูลของชุมชนวัดนิโครธาราม คลองน้ำไส ดังนี้ คือ จากข้อมูล 92 ครัวเรือน จำนวนคนใช้น้ำ 323 คน ปริมาณน้ำเสียจากครัวเรือนมาจาก 2 แหล่ง คือ น้ำอาบ-ชักผ้า จำนวน 4370 ลิตร/วัน และ น้ำประกอบอาหาร-ล้างจาน จำนวน 4260 ลิตร/วัน ร้อย 92.39 ไม่มีบ่อดักไขมันในครัวเรือน การจัดการน้ำเสียในครัวเรือนiร้อยละ 59.78 ปล่อยให้ไหลซึมไปเอง ร้อยละ 35.86 ปล่อยลงคูระบายน้ำ มีบ่อพัก ร้อยละ 5.43         ผลของกระทบของชุมชนมีดังนี้  ตามข้อมูลที่สะท้อน ยังไม่มีผลกระทบ ร้อยละ 78.26 น้ำเสียส่งกลิ่นรบกวน ร้อยละ 11.95 และปัญหาน้ำเสียเอ่อล้นเข้าบ้านเวลาน้ำท่วม ร้อยละ 13.04         มีข้อเสนอต่อการแก้ปัญหาน้ำเสียในระดับครัวเรื่อน 1 ให้มีบ่อดักไขมันทุกครัวเรือน 2 ให้ใช้ประโยชน์จากน้ำที่ใช้ในครัวเรือน  3.ให้เทศบาลเมื่องทำท่อระบายข้างถนนเนื่องจากถนนส่วนใหญ่ไม่มีท่อระบายน้ำ 4.รณรงค์ไม่ทิ้งขยะลงแหล่งน้ำ/ท่อตัน 5 รณรงค์เรื่องความสะอาด 6 ป้ายรณรงค์ให้ความรู้ 7 ปล่อยลงคูระบาย 8 สร้างบ่อบำบัด 9 ให้ครัวเรือนคัดแยกขยะ 10 ยังเฉยๆ จากข้อเสนอเหตุที่น้ำเสียไม่กระทบพราะ  1 พื้นที่กว้างและอยู่ห่างกัน  2 ปัจจุบันยังสามารถปล่อยลงทุ่งนาได้
      2.ใช้แผนที่เดินดินของชุุมชนเรียนรู้ทางไหลของน้ำ และมีน้ำดีไล่น้ำเสียในช่วงฤดีน้ำมาก

จากผลการเก็บและวิเคราะห็ข้อมูล
        คณะทำงานจัดการน้ำเสียได้รู้ถึงฐานข้อมูลแต่ละครัวเรือน ส่วนใหญ่จะไม่มีถังดักไขมันในครัวเรือน จะมีการปล่อยน้ำเสียทิ้งจากครัวเรือนลงสู่พื้นดิน
ซึ่งก่อให้เกิดมีปัญหาน้ำเสียเพิ่มมากยิ่งขึ้น และในชุมชนไม่มีคูระบายร่องน้ำข้างถนน ทำให้คนที่อยู่ในชุมชนไม่สามารถจัดการน้ำเสียในครัวเรือนได้ เพราะส่วนใหญ่ชาวบ้านจัดการน้ำ้เสียโดยปล่อยน้ำทิ้งลงสู่พื้นดิน ซึ่งบางบ้านมีบ่อดักไขมัน แต่ไม่สามารถที่จะดำเนินการจัดการน้ำเสียได้ต่อได้ เนื่องจากไม่มีคูระบายน้ำสาธารณะที่จะเชื่อมต่อกับตัวบ้าน จึงจำเป็นต้องปล่อยน้ำทิ้งลงพื้นที่ว่างเปล่า วิธีการแก้ไขคือ บูรณาการกับทางส่วนกลางหรือเทศบาล เพื่อให้มีการจัดทำคูร่องระบายน้ำสองข้างถนนเพื่อเชื่อมกับตัวเรือน เพื่อจัดทำการจัดการน้ำเสียโดยเต็มรูปแบบ จัดทำแผนรณรงค์ให้ชาวบ้านได้มีจิตสำนึกในการจัดการน้ำเสียในตัวเรือนก่อนที่จะทิ้งน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ้หรือในที่สาธาณะ ด้วยการไม่ทิ้งขยะและน้ำเสียลงในแม่น้ำ และช่วยกันดูแลไม่ให้เกิดน้ำเสียในชุมชน

กิจกรรมที่1. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 4 คืนข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูล12 ตุลาคม 2022
12
ตุลาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะกรรมการจัดการน้ำเสียชุมชนวัดนิโครธาราม คลองน้ำไส คืนข้อมูลและผลการวิเคราะห์น้ำเสียจากแผนที่ทางเดินน้ำในชุมชน และเตรียมนำเสนอการถอดบทเรียน AREครั้งที่1 โดยมีพี่เลี้ยงเข้าร่วม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต คณะกรรมการจัดการน้ำเสียชุมชน เข้าร่วม 25 คน ได้ร่วมเรียนรู้แลกเปลี่ยน หลังจากที่ได้เก็บ วิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันโดยใช้แผนที่ชุมชนที่สะท้อนการไหลของน้ำในชุมชน

ผลลัพธ์   จากการเก็บและวิเคราะห็ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนวัดนิโครธาราม คลองน้ำไส ดังนี้ คือ จาก 92 ครัวเรือน จำนวนคนใช้น้ำ 323 คน ปริมาณน้ำเสียจากครัวเรือนมาจาก 2 แหล่ง คือ น้ำอาบ-ชักผ้า จำนวน 4370 ลิตร/วัน และ น้ำประกอบอาหาร-ล้างจาน จำนวน 4260 ลิตร/วัน ร้อย 92.39 ไม่มีบ่อดักไขมันในครัวเรือน การจัดการน้ำเสียในครัวเรือนiร้อยละ 59.78 ปล่อยให้ไหลซึมไปเอง ร้อยละ 35.86 ปล่อยลงคูระบายน้ำ มีบ่อพัก ร้อยละ 5.43   ผลของการเป็นอยู่ของชุมชนมีดังนี้ตามข้อมูลที่สะท้อน ยังไม่มีผลกระทบ ร้อยละ 78.26 น้ำเสียส่งกลิ่นรบกวน ร้อยละ 11.95 และปัญหาน้ำเสียเอ่อล้นเข้าบ้านเวลาน้ำท่วม ร้อยละ 13.04   ข้อเสนอต่อการแก้ปัญหาน้ำเสียในระดับ ครัวเรื่อน 1 บ่อดัก 2 ใช้ประโยชน์จากน้ำที่ใช้ในครัวเรือน 3.ให้เทศบาลเมื่อง ทำท่อระบายข้างถนนเนื่องจากถนนส่วนใหญ่ไม่มีท่อระบายน้ำ 4.รณรงค์ไม่ทิ้งขยะลงแหล่งน้ำ/ท่อตัน 5 รณรงค์เรื่องความสะอาด 6 ป้ายรณรงค์ให้ความรู้ 7 ปล่อยลงคูระบาย 8 สร้างบ่อบำบัด 9 ให้ครัวเรือนคัดแยกขยะ 10 ยังเฉยๆ   จากข้อเสนอเหตุที่น้ำเสียไม่กระทบ 1 พื้นที่กว้างและอยู่ห่างกัน 2 ยังสามารถปล่อยลงทุ่งนาได้
    ใช้แผนที่ชุุมชนเรียนรู้ทางเดินน้ำ และมีน้ำดีไล่น้ำเสียในช่วงฤดีน้ำมาก

จากการผลการเก็บและวิเคราะห็ข้อมูล
    คณะทำงานจัดการน้ำเสียได้รู้ถึงฐานข้อมูลแต่ละครัวเรือน ส่วนใหญ่จะไม่มีถังดักไขมันในครัวเรือน จะมีการปล่อยน้ำเสียทิ้งจากครัวเรือนลงสู่พื้นดิน
ซึ่งก่อให้เกิดมีปัญหาน้ำเสียเพิ่มมากยิ่งขึ้น และในชุมชนไม่มีคูระบายร่องน้ำข้างถนน ทำให้คนที่อยู่ในชุมชนไม่สามารถจัดการน้ำเสียในครัวเรือนได้ เพราะส่วนใหญ่ชาวบ้านจัดการน้ำ้เสียโดยปล่อยน้ำทิ้งลงสู่พื้นดิน ซึ่งบางบ้านมีบ่อดักไขมัน แต่ไม่สามารถที่จะดำเนินการจัดการน้ำเสียได้ต่อได้ เนื่องจากไม่มีคูระบายน้ำสาธารณะที่จะเชื่อมต่อกับตัวบ้าน จึงจำเป็นต้องปล่อยน้ำทิ้งลงพื้นที่ว่างเปล่า วิธีการแก้ไขคือ บูรณาการกับทางส่วนกลางหรือเทศบาล เพื่อให้มีการจัดทำคูร่องระบายน้ำสองข้างถนนเพื่อเชื่อมกับตัวเรือน เพื่อจัดทำการจัดการน้ำเสียโดยเต็มรูปแบบ จัดทำแผนรณรงค์ให้ชาวบ้านได้มีจิตสำนึกในการจัดการน้ำเสียในตัวเรือนก่อนที่จะทิ้งน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ้หรือในที่สาธาณะ ด้วยการไม่ทิ้งขยะและน้ำเสียลงในแม่น้ำ และช่วยกันดูแลไม่ให้เกิดน้ำเสียในชุมชน

งานสมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข12 กันยายน 2022
12
กันยายน 2022รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สมัชชาคนเมืองลุง หิ้วชั้น มาชันชี ที่มีเป้าหมาย "พัทลุงเมืองสีเขียว Phatthalung Green City

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

งานกิจกรรมสมัชชาคนเมืองลุง หิ้วชั้น มาชันชี ที่มีเป้าหมาย "พัทลุงเมืองสีเขียว Phatthalung Green City" มีนโยบายสู่การขับเคลื่อน ผ่านโครงการภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยจัดการระดับ flagship พัทลุง สสส. อีก 10 เดือนข้างหน้าเมืองลุงน่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในจุดต่างๆ - พื้นที่นาอินทรีย์ที่จะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 100 ไร่
- พื้นที่พืชร่วมยางที่จะเพิ่มขึ้นกว่า 200 ไร่
- พื้นที่ชายฝั่งทะเลสาบสงขลาตอนกลางที่จะเกิดเขตอนุรักษ์เพิ่มขึ้นกว่า 300 เมตร
- พื้นที่ลุ่มน้ำคลองนาโอที่จะมีปฏิญญาคนร่มเมืองมาเป็นเกราะในการปกป้องดูแลสายน้ำ - พื้นที่ชุมชนที่จะสามารถบริหารจัดการขยะในชุมชนให้ลดลงไม่น้อยกว่าพื้นที่ละ 50% ทั้งหมดนี้เกิดจากการมียุทธศาสตร์ร่วมภายใต้การขับเคลื่อนของเครือข่าย เพื่อตอบโจทย์ "ปัญหาคนเมืองลุง คนเมืองลุงร่วมกันจัดการตนเอง"

กิจกรรมที่1. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 39 สิงหาคม 2022
9
สิงหาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะกรรมการ แบ่งงานลงพื้นที่ เก็บข้อมูลเพิ่มเติม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้พูดคุยกับชาวบ้านในชุมชน ได้รู้ถึงข้อมูลจริงในการแก้ปัญหาจัดการน้ำเสียในแต่ละครัวเรือน

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 25 กรกฎาคม 2022
5
กรกฎาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะกรรมการหาแนวทางการแก้ปัญหาการจัดการระบน้ำเสียในชุมชน โดยการจัดทำแผนที่ชุมชน และทำแผนผังทางเดินน้ำในชุมชน เพื่อน้ำมาใช้วิเคราะห์แก้ปัญหาน้ำเสียในชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต คณะทำงานจัดการน้ำเสียในชุมชนเข้าร่วมประชุมจัดทำแผนที่ชุมชน จำนวน 25 คน ร่วมกันจัดทำแผนที่ทางเดินน้ำ โดยมีคณะกรรมการช่วยกันเขียนโครงสร้างทางเดินน้ำที่ไหลผ่านในชุมชน

ผลลัพธ์ คณะทำงานจัดการน้ำเสียของชุมชนมีความรู้และมีข้อมูลที่เป็นแผนที่ชุมชน  เป็นแผนที่ทางเดินน้ำ เส้นทางน้ำเสียในชุมชนร่วมกันคิดวิเคราะห์ร่วมกันในการออกแบบวางแผนเมื่อมีข้อมูลมาประกอบครั้งต่อไป

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส.4 กรกฎาคม 2022
4
กรกฎาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานที่ได้รับมอบหมายจากการประชุมคณะทำงานไปจัดจ้างทำป้าย ร่วมกันกำหนดเขตปลอดบุหรี่ ที่ทำการชุมชนนิโครธาราม  คลองน้ำใส ติดป้ายเขตปลอดบุหรี่ฯ  พื้นที่ได้กำหนด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ป้ายเขตปลอดบุหรี่ฯ และเขตปลอดบุหรี่ฯที่ได้รับการยอมรับ

ผลลัพธ์ 1.ติดไว้ ณ ที่ทำการชุมชนวัดนิโครธาราม-คลองน้ำใส ซึ่่งเป็นสถานที่จัดกิจกรรมหลักของโครงการกำจัดน้ำเสีย 2. ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่สูบบุหรี่ ในเขตที่ทำการชุมชน

กิจกรรมที่2. เก็บวิเคราะห์ข้อมูลการจัดการน้ำเสียของชุมชน17 มิถุนายน 2022
17
มิถุนายน 2022รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เก็บวิเคราะห์ข้อมูลการจัดการน้ำเสียในชุมชนและเก็บข้อมูลการใช้น้ำในครัวเรือน วิธีการ รายละเอียดกิจกรรม 1. คณะทำงานร่วมกันออกแบบเก็บข้อมูลน้ำเสียของชุมชน ย้อนอดีตสายน้ำคลองนุ้ยและคลองน้ำไส  น้ำเสียมาจากไหน มีผลกระทบอย่างไร 2. เก็บข้อมูลการจัดการน้ำเสียครัวเรือนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 3. คณะทำงานร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลเป็นฐานข้อมูล (Base Line) เพื่อสื่อสารสู่ชุมชนในเวทีสร้างความเข้าใจ/เปิดโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต  ได้มีการเก็บข้อมูลการจัดการน้ำเสียในแต่ละครัวเรือน จำนวน 92 ครัวเรือน เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงแนวทางการแก้ปัญหา ทำให้รู้ถึงปัญหาในแต่ละครัวมีการจัดการน้ำเสีย ผลลัพธ์ คณะทำงานจัดการน้ำเสียในชุมชน เก็บข้อมูลได้ 92 ครัวเรือน กำลังประมวลผลจะนำมาคืนในการประชุมคณะทำงานและชุมชนครั้งถัดไป

กิจกรรมที่1. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 126 พฤษภาคม 2022
26
พฤษภาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะกรรมการโครงการจัดการน้ำเสีย สร้างเข้าความใจในการวางแผน วางระบบแนวทางการทำงาน โดยมีพี่เลี้ยงและวิทยากรจากชุมชนส้มตรีดออกเข้ามาช่วยแนะนำเพิ่มเติมความรู้ รายละเอียดกิจกรรม โดยพี่เลี้ยงชี้แจงให้คณะกรรมการชุมชนและผู้เข้าร่วมได้เข้าใจเบื้องต้น ดังนี้ 1. ชุมชนต้องสร้างการเรียนรู้เรื่องสถานการณ์น้ำเสียชุมชน ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม  เพื่อเรียนรู้และเพิ่มความตระหนักต่อการจัดการ โดยให้มีประชาชนตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 58 คน หรือร้อยละ 50 โดยที่เป็นตัวแทนครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 58 คน หรือร้อยละ 50
2. คณะทำงานต้องเชิญภาคียุทธศาสตร์หรือเทศบาลเมือง และภาคีที่เกี่ยวข้องเช่นทรัพยาการและสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมเรียนรู้และให้รายละเอียดเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของน้ำเสียในระดับครัวเรือนและระดับชุมชน
3. ต้องมีการจัดทำจัดป้ายหรือแผนที่เพื่อสื่อสารสถานการณ์น้ำเสียในชุมชนให้ชุมชนและผู้สนใจได้ทราบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
มีผู้เข้าร่วมที่เป็นคณะกรรมการชุมชน อสม และหน่วยงานเทศบาลเมือง จำนวน 25 คน ได้รับทราบการชี้แจงรายละเอียดโครงการและเป้าหมายการดำเนินโครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนวัดนิโครธาราม  คลองน้ำไส ผลลัพธ์ คณะทำงาน ที่เป็นคณะกรรมการชุมชน อสม ประชาชน เจ้าหน้าที่หน่วยงาน มีความเข้าใจ ประธานชุมชน พี่เลี้ยง สสส  และประธานชุมชนส้มตรีตออก ในการให้คำแนะนำคณะกรรมการร่วมทำงาน เข้าใจถึงการดำเนินงานและสิ่งที่จะได้รับหลังจากการทำโครงการ  โดยมีพี่เลี้ยงโครงการเข้ามาช่วยแนะนำ สร้างความเข้าใจ มีการวางแผนขั้นตอนการดำเนินงาน วางระบบแนวทาง โดยมีวิทยากรมาให้ความรู้ เข้ามาพูดคุยถึงการทำงานที่ประสบผลสำเร็จ และแนวทางการแก้ปัญหาของการทำงานที่จะเกิดขึ้น

ค่าอินเตอร์เนตเพื่อจัดทำกิจกรรม24 พฤษภาคม 2022
24
พฤษภาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทำป้ายโครงการจัดการน้ำเสีย - ป้ายการรับทุนโครงการจัดการน้ำเสีย - ป้ายสสส.ต่อต้านยาเสพติดในชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดทำบอร์ดโครงการจัดการน้ำเสีย เพื่อให้คนในชุมชนได้รับรู้ถึงข่าวสารของโครงการจัดการน้ำเสีย ที่จะเกิดขึ้น
โดยดูได้จากผลงานจากแผ่นป้าย และบอร์ดกิจกรรม และสื่อหอกระจายข่าวในชุมชน

ค่าเปิดบัญชีธนาคาร17 พฤษภาคม 2022
17
พฤษภาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย Churee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการได้สำรองเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร จำนวน 500 บาท เพื่อเปิดบัญชีธนาคารรับเงินสนับสนุนโครงการย่อยจาก สสส.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้เปิดบัญชีธนาคารเรียบร้อยแล้วและได้เบิกเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชี จำนวน 500 บาทคืน

ปฐมนิเทศรับทุนโครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนวัดนิโครธาราม-คลองน้ำใส9 พฤษภาคม 2022
9
พฤษภาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย ลักขณา lakkana
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมปฐมนิเทศรับทุนโครงการจัดการน้ำเสีย ประกอบด้วยการชี้แจงการดำเนินงาน แนวทางการบริหารการจัดการ โครงการ การเงิน  การจัดการเอกสารที่เกี่ยวข้อง ออกแบบการจัดเก็บข้อมูล แบ่งกลุ่มย่อย โดยมีพี่เลี้ยงแนะนำให้ความรู้กับชุมชนที่ได้รับทุน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต มีผู้เข้าอบรมจำนวน 3 คน ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงาน ผลลัพธ์ ทั้ง 3 คน มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนชุมชนวัดนิโครธาราม  และมีความรู้การวางแนวทางการบริหารการจัดการ โครงการ การเงิน  การจัดการเอกสารที่เกี่ยวข้อง การออกแบบการจัดเก็บข้อมูล และการรายงานผลผ่านระบบออนไลน์คนใต้สร้างสุข