stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนบ้านแร่
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 65-00232-0019
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 เมษายน 2566 -
งบประมาณ 75,460.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนบ้านแร่
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณวัสพล สุขไฝ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอำนวย กลับสว่าง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 30,184.00
2 1 ต.ค. 2565 31 มี.ค. 2566 37,730.00
3 1 เม.ย. 2566 30 เม.ย. 2566 7,546.00
รวมงบประมาณ 75,460.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัญหาชุมชนบ้านแร่ คือ การจัดการน้ำเสียในครัวเรือนและสถานที่ประกอบการ ยังไม่มีระบบการจัดการที่เป็นรูปธรรม โดยการใช้น้ำเพื่ออุปโภคส่

1.1 สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ สาเหตุของปัญหา โดยมีข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจน   ชุมชนบ้านแร่ ในอดีต คือ ตำบลควนมะพร้าว และตำบลพญาขัน ต่อมาภายหลังเทศบาลเมืองพัทลุง มีนโยบายจัดตั้งชุมชนบ้านแร่ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2538 ตามประกาศเทศบาลเมืองพัทลุง ปัจจุบันมีคณะกรรมการชุมชนบริหารงานที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง ครั้งแรกใน ปี พ.ศ.2556
เรื่องการจัดตั้ง/เพิ่มชุมชน อาณาเขตของชุมชน ทิศเหนือ จด หมู่.1 ตำลบพญาขัน ทิศใต้ จด หมู่.1 และ หมู่.2 ตำบลควนมะพร้าว ทิศตะวันออก จด ชุมชนบ้านไร่ ทิศตะวันตก จด ชุมชนบ้านควนมะพร้าว ชุมชนบ้านแร่ เป็นชุมชนพื้นที่ราบอยู่ติด ถนนอภัยบริรักษ์ มีจำนวนครัวเรือน 263 ครัวเรือน  มีประชากรทั้งสิ้น 709 คน  แยกเป็น ชาย 305 คน หญิง 404 คน  พื้นที่ของชุมชน 0.2 ตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพข้าราชการ พนักงานบริษัท รับจ้างทั่วไป ค้าขาย และเกษตรกรรม สภาพพื้นที่เป็นสังคมกึ่งเมือง กึ่งชนบท ชุมชนมีความหนาแน่นปานกลาง เป็นส่วนของครัวเรือน สถานศึกษา สถานที่ประกอบการ ที่อยู่อาศัย และเกษตรกรรม เช่น โรงเรียนวัดควนแร่ ห้องแถวห้องเช่า ร้านขายของชำ ร้านขายไก่ทอด ร้านเสริมสวย ร้านขายอาหาร ร้านขายน้ำชา กาแฟ ร้านขายยา และพื้นที่เกษตรกรรม และมีแม่น้ำสายหลักที่พาดผ่านชุมชนสู่ทะเลสาบลำปำ คือ คลองบ้านแร่
    ปัญหาชุมชนบ้านแร่ คือ การจัดการน้ำเสียในครัวเรือนและสถานที่ประกอบการ ยังไม่มีระบบการจัดการน้ำเสียที่เป็นรูปธรรม โดยการใช้น้ำเพื่ออุปโภคส่งลงท่อคูระบายน้ำใช้เป็นช่างทางส่งน้ำเสียลงลำคลอง (คลองบ้านแร่) ก่อให้ท่อ และคูระบายอุดตัน เป็นที่อยู่ของยุงลาย น้ำที่ลงคลองก่อให้เกิดเป็นน้ำเสีย มี กลิ่นเหม็น มีสีคล้ำ มีคราบคล้ายน้ำมัน และมีวัชพืชมากขึ้น ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นยังไม่ข้อมูลการจัดการน้ำเสียในเครัวเรือนและสถานที่ประกอบการ

60.00
2 ปัญหาชุมชนบ้านแร่ คือ การจัดการน้ำเสียในครัวเรือนและสถานที่ประกอบการ ยังไม่มีระบบการจัดการที่เป็นรูปธรรม โดยการใช้น้ำเพื่ออุปโภคส่งลงท่อคูระบายน้ำใช้เป็นช่างทางส่งน้ำเสียลงลำคลอง (คลองบ้านแร่) ก่อให้ท่อ และคูระบายอุดตัน เป็นที่อยู่ของยุงลาย น้ำที่ลงคลอง
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ด้วยสภาพปัญหาและสาเหตุของชุมชนบ้านแร่ ที่มี ชุมชนบ้านแร่เป็นชุมชนกึ่งเมือง มีพื้นที่ในการจัดการน้ำเสียอย่างจำกัด ประกอบกับการ ยังขาดความตระหนักเรื่องการจัดการน้ำเสีย ยังไม่เห็นถึงสถานการณ์ปัญหา ผลเสีย ผลกระทบ ในเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ยังไม่มีกลไกที่เข้ามาขับเคลื่อน ยังไม่มีหน่วยงานที่เข้ามาหนุนเสริมสร้างกระบวนการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนและชุมชน  ทางชุมชนบ้านแร่ โดยมี  คณะกรรมการชุมชนได้ร่วมกับวางแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำเสียชุมชน   1.  สร้างความเข้าใจคนในชุมชนมีความตระหนักเรื่องการจัดการน้ำเสียของชุมชน ด้วยข้อมูล สถานการณ์น้ำเสียของชุมชน และ สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งครัวเรือน สถานประกอบการ ภาคีร่วม ภาคียุทธศาสตร์
ผลลัพธ์ คนในชุมชนได้มีความเข้าใจถึงสถานการณ์ปัญหาน้ำเสียของชุมชน มีความตระหนักเรื่องการจัดการน้ำเสีย


    2.  สร้างกลไกการขับเคลื่อนชุมชนลดน้ำเสียที่เข้มแข็ง จัดตั้งกลไก ผู้นำชุมชน ตัวแทนครัวเรือน  ท้องที่ และภาคียุทธศาสตร์ เพื่อร่วมกันจัดการน้ำเสียระดับครัวเรือน และสถานประกอบการก่อนปล่อยลงคูระบายน้ำ ผลลัพธ์ มีกลไกที่เข้ามาขับเคลื่อนการจัดการน้ำเสียชุมชน ที่มี ส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

  3.  จัดให้มีแผนจัดการน้ำเสียและมีรูปแบบการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน  เพื่อให้มีแผนการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนวางแนวทางปฏิบัติการลดน้ำเสีย ในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับครัวเรือน และสถานที่ประกอบการ ผลลัพธ์  เกิดแผนการจัดการน้ำเสียของชุมชน

  4. จัดให้มีครัวเรือนต้นแบบในการจัดการน้ำ  เพื่อเป็นต้นแบบครัวเรือนปฏิบัติการลดน้ำเสีย ตามแผนและรูปแบบการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน ผลลัพธ์ มีครัวเรือนต้นแบบในการปฏิบัติการลดน้ำเสียในครัวเรือน

  5.  จัดให้มีระบบจัดการน้ำสียไปยังพื้นที่ร่วมของชุมชน  ที่มีการจัดการร่วม ระหว่างพื้นที่ หน่วยงานท้องถิ่น (แผนทำร่วม แผนทำขอ)
ผลลัพธ์ มีระบบมีกระบวนการจัดการน้ำเสียอย่างมีความร่วม


จะดำเนินงานตามโครงการอย่างไร

  1. ประชุมคณะทำงานโครงการ จำนวน 6 ครั้ง  ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแนวทางการดำเนินงานโครงการ  เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล  วางแนวทางดำเนินงานกิจกรรม ประสานเชื่อมภาคีและหน่วยจัดการ NFS ติดตามประเมินผล สรุปผลถอดบทเรียนความสำเร็จ
  2. เก็บข้อมูลน้ำเสียของครัวเรือนและชุมชน จำนวน 2 ครั้ง เก็บข้อมูลสถานการณ์น้ำเสียชุมชนเพื่อสร้างความเข้าใจคนในชุมชนให้มีความตระหนักเรื่องการจัดการน้ำเสียของชุมชน ด้วยข้อมูล สถานการณ์น้ำเสียของชุมชน เก็บข้อมูลการจัดการน้ำเสีย ก่อน/หลัง ผลลัพธ์การจัดการน้ำเสียชุมชน
  3. สร้างความเข้าใจครัวเรือนจัดการน้ำเสีย ด้วยข้อมูลสถานการณ์ น้ำเสีย ครัวเรือน สถานที่ประกอบการและผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เพื่อสร้างความเข้าใจความตระหนักของคนในชุมชน 4.ประชุมกลไกขับเคลื่อนการจัดการน้ำเสียชุมชน ด้วยกลไกที่มาจาก ท้องที่ ผู้นำชุมชน ตัวแทนครัวเรือน ภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนและชุมชน โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วน เป็น กลไกประสานเชื่อมต่อไปยังยุทธศาสตร์จังหวัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวกระทรวงทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
  4. วิเคราะห์ข้อมูลน้ำเสียของรัวเรือนและชุมชน  นำข้อมูลจากการจัดเก็บสถานการณ์ของน้ำเสียในครัวเรือนและชุมชน ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมชุมชน เพื่อนำข้อมูลที่การผ่านวิเคราะห์ มาวางแนวทางการการแก้ไข ปัญหาน้ำเสียครัวเรือนชุมชน ได้ถูกจุด 6.จัดทำแผนผังน้ำชุมชน  เป็นแผนทางเดินของน้ำจากต้นทางครัวเรือน สถานที่ประกอบ ที่ลงสู่คลองสายหลักของชุมชน จะได้เห็นเส้นทางของน้ำเสีย เพื่อจัดการ ระบบการจัดการน้ำเสีย ได้ตามจุดที่มีปัญหา
  5. ประชุมจัดทำแผนการจัดการน้ำเสียครัวเรือนและชุมชน ประชุมคณะทำงานและกลไก ขับเคลื่อนโครงการ นำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ สาเหตุ ปัญหาและผลกระทบที่ก่อให้เกิดน้ำเสียในครัวเรือน สถานที่ประกอบการ ประกอบกับแผนผังทางเดินของน้ำเสีย วางแนวทางกำหนดแผนการแก้ไขปัญหาน้ำเสียชุมชน
  6. ศึกษาดูงานการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนและชุมชน  ศึกษาดูงาน จากชุมชนต้นแบบการจัดการน้ำเสียชุมชน กระบวนการจัดการน้ำเสีย  รูปแบบการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน และชุมชน
  7. อบรมแกนนำเป็นช่างการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน อบรม  ให้เป็น    ( ทสม.) เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน และอบรมแกนนำให้เป็นช่างปฏิบัติชุมชน ในเรื่องการ สร้างสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมจัดการน้ำเสีย ( บ่อดักไข้มันอย่างง่าย การเสี้ยงไส้เดือนจากอาหารที่เหลือจากครัวเรือน ถังกำจัดเศษอาหารใต้ต้นไม้ ธนาคารน้ำใต้ดิน ) และช่างซ่อมบำรุงรักษา
  8. ปฏิบัติการการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนต้นแบบ การจัดการน้ำเสียครัวเรือน ต้นทาง ใน รูปแบบ บ่อดักไข้มันอย่างง่าย การเสี้ยงไส้เดือนจากอาหารที่เหลือจากครัวเรือน ถังกำจัดเศษอาหารใต้ต้นไม้ ธนาคารน้ำใต้ดิน ตามแผนข้อมูล แก้ไขตามความเหมาะสม ตามสถาพแวดล้อมของครัวเรือน
  9. ติดตามประเมินผล จำนวน 3 ครั้ง(ARE)  ติดตามประเมินการดำเนินงานของโครงการในแต่ช่วง 3 ช่วง ในการดำเนินกิจกรรม  ติดตามผลลัพธ์ ผลกระทบ ปัญหา อุปสรรค เมื่อเห็นปัญหา อุปสรรค สามารถวางแนวทางแก้ไขการดำเนินงานให้เกิดผลลัพธ์และเป้าหมายที่วางไว้
  10. เวทีถอดบทเรียนการจัดการน้ำเสียชุมชน  สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ข้อมูลการจัดการน้ำเสียชุมชน กระบวนการ วิธีการ นำไปสู่ผลการเปลี่ยนแปลง  กิจกรรมสำคัญที่สร้างความเปลี่ยนแปลง  ปัญหา อุปสรรค  การพัฒนาต่อยอด ต่อเนื่องและยั่งยืน
stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมคนในชุมชนมีตระหนักเรื่องการจักน้ำเสียชุมชน
  1. ครัวเรือนมีความรู้การจัดการน้ำเสีย ไม่น้อยกว่า60 ครัวเรือน
  2. มีแผนการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน ไม่น้อยกว่า.60 ครัวเรือน
  3. มีกติกาชุมชนในการจัดการน้ำเสีย
60.00 0.00
2 เพื่อสร้างกลไกการขับเคลื่อนชุมชนลดน้ำเสียเข็งแข็ง
  1. มีคณะทำงานที่มีส่วนร่วมจากท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมเป็นคณะทำงาน
  2. มีข้อมูลพฤติกรรมการใช้น้ำของครัวเรือน
  3. เกิดผังน้ำชุมชน
0.00 0.00
3 3. มีรูปแบบการจัดการน้ำเสียครัวเรือน
  1. จำนวนบ่อกัดไขมันอย่างง่ายที่ชุมชนได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80%
  2. จำนวนธนาคารน้ำเสียไต้ดินครอบคลุมครัวเรือนที่ต้องการจัดการน้ำเสียด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
  3. เกิดครัวเรือนที่มีการใช้ประโยชน์จากกระบวนการจัดการน้ำเสีย ไม่น้อยกว่า  10 ครัวเรือน
  4. มีแผนการติดตามการจัดการน้ำเสียชุมชน
0.00
4 4. ครัวเรือนจัดการน้ำเสีย
  1. จำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาการจัดการน้ำสามารถจัดการน้ำเสียได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ70%
  2. ปัญหาที่เกิดจากน้ำเสียลดลง(กลิ่นเหม็น แหล่งวเพาะพันธ์ยุงลาย
0.00
5 5. มีระบบจัดการน้ำเสียไปพื้นที่ร่วมของชุมชน
  1. จำนวนจุดจัดการน้ำเสียที่ชุมชนร่วมกับท้องถิ่นดำเนินการไม่น้อยกว่า10 จุด
    2.  เกิดข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือธรรมมูญน้ำเสียเทศบาลเมืองพัทลุง
0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ชุมชนบ้านแร่ 60 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 7,935.00 1 1,625.00
11 มิ.ย. 65 1.ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 25 4,125.00 1,625.00
18 มิ.ย. 65 2.เก็บข้อมูลน้ำเสียครัวเรือนและชุมชน 0 3,810.00 -
11 ก.ค. 65 1.ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 25 0.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2565 14:16 น.