directions_run

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ม.3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อพัฒนาอาสาสมัครดูแลสุขภาพผู้สูงอายุหมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
ตัวชี้วัด : 1.1 มีข้อมูลสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตผู้สูงอายุจำนวน 1 ชุด 1.2 มีคณะทำงานดูแลผู้สูงอายุที่ประกอบด้วยผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณะสุข อาสาสมัครสาธารณสุข นักศึกษาอาสาสมัคร จำนวน 30 คน 1 ชุด 1.3 คณะทำงานดูแลผู้สูงอายุมีแผนการดำเนินงานอย่างชัดเจน 1 แผน การติดตามผลอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 1.4 ร้อยละ 100 ของคณะทำงานมีความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
30.00 30.00

 

 

  1. มีข้อมูลสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตผู้สูงอายุจำนวน 1 ชุด 2.มีคณะทำงานดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณะสุข อาสาสมัครสาธารณสุข นักศึกษาอาสาสมัคร จำนวน 30 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คณะทำงานในพื้นที่จำนวน 15 คนประกอบด้วย แกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มที่ 2 อาสาสมัคร จำนวน 15 คน ประกอบด้วย นักศึกษา จิตอาสา 3.มีคณะทำงานดูแลผู้สูงอายุมีแผนการดำเนินงานอย่างชัดเจน 1 แผน การติดตามผลอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
    4.ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
2 เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี
ตัวชี้วัด : 2.1 มีกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุไม่น้อย 3 กิจกรรม 2.2 ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุมีความสุขเพิ่มขึ้นหลังจากเข้าร่วมโครงการ
24.00 30.00

 

 

1.มีกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพจิต 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมอาสาพาเพื่อนเยี่ยมเพื่อน กิจกรรมแปลงผักสร้างสุข และกิจกรรมศาสนบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิตผู้สูงอายุสู่การมีสุขภาพจิตดี ส่งผลทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีแก่ผู้สูงอายุ 2.ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุ หรือผู้สูงอายุ จำนวน 24 คน มีความสุขเพิ่มขึ้นหลังจากเข้าร่วมโครงการ โดยวัดจากแบบประเมินความสุขผู้สูงอายุเทียบก่อนและหลังการดำเนินโครงการ และแบบประเมิน Health literacy ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และวัดได้จากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ