directions_run

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ม.3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ม.3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
ภายใต้โครงการ แผนงานร่วมทุนสร้างเสริมสุขภาวะพื้นที่จังหวัดปัตตานี
ภายใต้องค์กร องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
รหัสโครงการ 65-P1-0068-023
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 29 กุมภาพันธ์ 2567
งบประมาณ 98,300.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์อาสาสมัคร ม.อ.
ผู้รับผิดชอบโครงการ อิสมาแอ มาหะ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 084-8556346
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ air_749@hotmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางกัลยา เอี่ยวสกุล
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.855125,101.216415place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2566 31 ธ.ค. 2566 1 พ.ค. 2566 31 ธ.ค. 2566 78,640.00
2 1 ม.ค. 2567 31 ม.ค. 2567 1 ม.ค. 2567 29 ก.พ. 2567 19,660.00
รวมงบประมาณ 98,300.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งจำนวนและสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการดำรงอยู่ในสังคมก็แตกต่างกันไปจากวัยอื่น ๆ เนื่องจากวัยผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ ทั่วไปเริ่มอ่อนแอ และภูมิต้านทานโรคน้อยลงจึงเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคมที่ต้องพบกับความสูญเสียและการพลัดพรากของคู่ชีวิต ญาติสนิทหรือเพื่อนฝูง เกิดความเหงา ขาดที่พึ่งทางใจ ขาดคนพูดคุยปรึกษาหารือให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ขาดความผูกพันที่เคยมีต่อสังคม สูญเสียบทบาททางสังคม ปัญหาดังกล่าวส่งผลทำให้ผู้สูงอายุเกิดความวิตกกังวล เกิดความเครียด เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้ การส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและจิตใจที่แข็งแรง รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าโดยการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุออกสังคมหรือทำกิจกรรมนอกบ้านร่วมกัน ทำให้ผู้สูงอายุได้ออกมาพบปะผู้คน มีเพื่อนเพิ่มมากขึ้นทั้งเพื่อนรุ่นเดียวกันและเพื่อนต่างวัย และยังเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ หายเครียด ที่สำคัญคือเซลล์สมองของผู้สูงอายุเกิดการทำงานได้ดีขึ้นเป็นผลดีต่อสุขภาพผู้สูงอายุ จึงจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมและฟื้นฟูให้มีกำลังใจเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าและความสุข บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานีเป็นอีก 1 พื้นที่ที่มีสถานการณ์ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ด้วยชุมชนบ้านดอนรักมีครัวเรือนจำนวน 146 ครัวเรือน ประชากร 600 คน ชาย 308 คน หญิง 292 คน มีผู้สูงอายุจำนวน 30 คน ชาย 10 คน หญิง 20 คน ติดเตียง 2 คน ติดบ้าน 4 คน ติดสังคม 24 คน ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 8 คน โรคเบาหวาน 2 คน โรคหัวใจ 1 คน ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพดังนี้ รับจ้างทั่วไปและค้าขาย ในช่วงกลางวันประชากรวัยแรงส่วนใหญ่ออกทำงานในเมืองปัตตานี และลูกหลานจะเรียนโรงเรียนในเมืองเช่นกัน ทำให้ผู้สูงอายุอยู่เพียงลำพัง และบ้านดอนรักเป็นชุมชนชานเมือง มีลักษณะที่อยู่อาศัยแบบกระจุกตัวเลียบคลองดอนรัก ทำให้สภาพแวดล้อมทางด้านที่อยู่อาศัยแออัด มีขยะมูลฝอยและปัญหาการระบายน้ำเสียจากครัวเรือน ผู้สูงอายุที่อยู่แต่บริเวณบ้านไม่ได้ออกไปไหนต้องอยู่กับสภาพแวดล้อมดังกล่าวยิ่งส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุมากขึ้น สาเหตุของปัญหาด้านพฤติกรรม ได้แก่ ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว ความกังวลจากการไม่มีรายได้หรือรายได้ไม่เพียงพอ ไม่ได้ออกไปร่วมกิจกรรม มีความกังวลต่อภาระต่างๆ เช่น การดูแลลูกหลาน เศรษฐกิจในครอบครัว ทางสังคม ผู้สูงอายุอยู่เพียงลำพัง คนในครอบครัวมีการพูดคุยกันน้อย ผู้ดูแลไม่มีความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ บุตรไม่มีเวลาดูแลเนื่องจากต้องไปประกอบอาชีพต่างถิ่น ประกอบกับบ้านสังคมกึ่งเมืองที่ต่างคนต่างอยู่มากขึ้น ไม่ได้ไปมาหาสู่กันเหมือนในอดีต สภาพแวดล้อมทางกายภาพไม่มีพื้นที่หรือสถานที่สำหรับการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุ ด้านกลไกหรือระบบที่เกี่ยวข้อง ในชุมชนไม่มีคณะทำงานดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ไม่มีแผนงานหรือกิจกรรมให้เกิดการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุ ผลกระทบทางด้านสุขภาพ เช่น ปวดหัว นอนไม่หลับ รับประทานอาหารน้อยลง น้ำหนักลดลง ภาวะเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า โรคจิตเวช ผลกระทบทางสังคมเป็นภาระการเลี้ยงดูแลของลูกหลาน สร้างปัญหาความขัดแย้งของคนในครอบครัว ผลกระทบทางเศรษฐกิจปัญหาสุขภาพจิตส่งผลต่อสุขภาพกายของผู้สูงอายุทำให้ไม่สามารถทำงานได้เหมือนปกติ ทำให้รายได้ของครอบครัวลดลง ผู้ดูแลต้องหยุดงานเพื่อมาดูแลผู้สูงอายุ กรณีที่ผู้สูงอายุต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลต้องมีค่าใช้จ่ายในการรักษาและค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ดูแลที่ต้องมาเฝ้า ผู้นำชุมชนจึงมีความพยายามในการจัดการเรียนการสอนอัลกุรอ่าน และกิจกรรมทางศาสนาโดยใช้พื้นที่มัสยิดและบ้านของผู้นำศาสนาในการพบปะทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ แต่ยังไม่เพียงพอและแก้ปัญหาอย่างรอบด้านอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังขาดความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี ดังนั้นศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีการดำเนินงานด้านจิตสาธารณะและการทำงานตอบสนองต่อชุมชนและสังคมอย่างเป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับภารกิจของมหาวิทยาลัย จึงมีกระบวนการสำคัญในการพัฒนานักศึกษาอาสาสมัคร เยาวชนอาสา และมีการกำหนดให้อาสาสมัครเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับผู้สูงอายุ บ้านดอนรักตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เพื่อพัฒนากลไกอาสาสมัครดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

-

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาอาสาสมัครดูแลสุขภาพผู้สูงอายุหมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

1.1 มีข้อมูลสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตผู้สูงอายุจำนวน 1 ชุด 1.2 มีคณะทำงานดูแลผู้สูงอายุที่ประกอบด้วยผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณะสุข อาสาสมัครสาธารณสุข นักศึกษาอาสาสมัคร จำนวน 30 คน 1 ชุด 1.3 คณะทำงานดูแลผู้สูงอายุมีแผนการดำเนินงานอย่างชัดเจน 1 แผน การติดตามผลอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
1.4 ร้อยละ 100 ของคณะทำงานมีความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

30.00
2 เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี

2.1 มีกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุไม่น้อย 3 กิจกรรม 2.2 ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุมีความสุขเพิ่มขึ้นหลังจากเข้าร่วมโครงการ

24.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง คือ นักศึกษาอาสาสมัคร ประชาชนอาสา 20 20
กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้สูงอายุหมู่ที่ 3 บ้านดอนร 30 30
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67
1 งบสนับสนุนกิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการ สสส.(1 พ.ค. 2566-29 ก.พ. 2567) 10,000.00                    
2 ประชาสัมพันธ์รับสมัครอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน(1 มิ.ย. 2566-7 มิ.ย. 2566) 1,000.00                    
3 ประชุมคณะทำงาน 5 ครั้ง(11 ส.ค. 2566-12 ม.ค. 2567) 23,200.00                    
4 จัดทำข้อมูลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ(16 ก.ย. 2566-6 ม.ค. 2567) 5,000.00                    
5 ศาสนบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิตผู้สูงอายุสู่การมีสุขภสตจิตดี(10 ต.ค. 2566-10 ต.ค. 2566) 9,000.00                    
6 อาสาพาเพื่อนเยี่ยมเพื่อน(30 ต.ค. 2566-30 ต.ค. 2566) 12,100.00                    
7 อบรมเชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ(5 พ.ย. 2566-5 พ.ย. 2566) 17,400.00                    
8 แปลงผักสร้างสุข(13 ธ.ค. 2566-14 ธ.ค. 2566) 20,600.00                    
รวม 98,300.00
1 งบสนับสนุนกิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการ สสส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 26 10,000.00 16 10,000.00
6 - 7 มิ.ย. 66 อบรมเวทีปฐมนิเทศและพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน 2 400.00 400.00
30 มิ.ย. 66 - 31 ม.ค. 67 ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ต 1 2,000.00 2,000.00
10 ส.ค. 66 ค่าจัดทำตรายางหมึก 0 535.00 535.00
10 ส.ค. 66 ค่าจัดทำป้ายชื่อโครงการ 0 963.00 963.00
10 ส.ค. 66 ค่าเดินทางไปถอนเงินที่ธนาคารครั้งที่ 1 2 400.00 400.00
22 ส.ค. 66 ค่าเดินทางพบพี่เลี้ยงครั้งที่ 1 2 400.00 400.00
25 ก.ย. 66 เวทีอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่1/2566 2 400.00 400.00
8 พ.ย. 66 ค่าเดินทางไปถอนเงินธนาคาร ครั้งที่ 2 2 400.00 400.00
15 ธ.ค. 66 ค่าเดินทางไปถอนเงินธนาคาร ครั้งที่ 3 2 400.00 400.00
15 ม.ค. 67 เวทีอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย AREครั้งที่2/2567 3 600.00 600.00
15 ม.ค. 67 ค่าจัดทำไวนิล x-stand 0 1,200.00 1,200.00
16 - 17 ม.ค. 67 ประชุมเตรียมความพร้อมปิดโครงการย่อยฯ 2 800.00 800.00
16 ม.ค. 67 ค่าเดินทางไปถอนเงินธนาคาร ครั้งที่ 4 2 400.00 400.00
29 ม.ค. 67 ค่าเดินทางพบปะพี่เลี้ยงครั้งที่ 2 2 400.00 400.00
1 ก.พ. 67 ค่าเดินทางพบพี่เลี้ยงครั้งที่ 3 2 400.00 400.00
2 ก.พ. 67 ค่าเดินทางพบพพี่เลี้ยง ครั้งที่ 4 2 302.00 302.00
2 ประชาสัมพันธ์รับสมัครอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 1,000.00 1 1,000.00
1 - 7 มิ.ย. 66 ประชาสัมพันธ์เปิดรับสมัครอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ 30 1,000.00 1,000.00
3 ประชุมคณะทำงาน 5 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 23,200.00 5 23,200.00
11 ส.ค. 66 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1 (ชี้แจงรายละเอียดโครงการ) 30 5,000.00 5,000.00
3 ก.ย. 66 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 2 (ทบทวนแผนการทำงานและติดตามการเปลี่ยนแปลงโครงการ) 30 4,400.00 4,400.00
15 ต.ค. 66 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 3 (ติดตามการเปลี่ยนแปลงโครงการ) 30 4,400.00 4,400.00
25 ธ.ค. 66 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 4 (พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม) 30 4,400.00 4,400.00
12 ม.ค. 67 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 5 (ถอดบทเรียนโครงการ) 30 5,000.00 5,000.00
4 จัดทำข้อมูลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 5,000.00 2 5,000.00
16 ก.ย. 66 จัดทำข้อมูลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุครั้งที่ 1 50 2,500.00 2,500.00
6 ม.ค. 67 จัดทำข้อมูลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุครั้งที่ 2 50 2,500.00 2,500.00
5 ศาสนบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิตผู้สูงอายุสู่การมีสุขภสตจิตดี กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 9,000.00 1 9,000.00
10 ต.ค. 66 ศาสนบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิตผู้สูงอายุสู่การมีสุขภาพจิตดี 40 9,000.00 9,000.00
6 อาสาพาเพื่อนเยี่ยมเพื่อน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 12,100.00 1 12,100.00
30 ต.ค. 66 อาสาพาเพื่อนเยี่ยมเพื่อน 30 12,100.00 12,100.00
7 อบรมเชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 17,400.00 1 17,400.00
5 - 6 พ.ย. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ 30 17,400.00 17,400.00
8 แปลงผักสร้างสุข กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 20,600.00 1 20,600.00
13 ธ.ค. 66 แปลงผักสร้างสุข 30 20,600.00 20,600.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 2 586.70 2 586.70
10 ส.ค. 66 ถอนเงินเปิดบัญชี 2 500.00 500.00
3 ก.พ. 67 คืนดอกเบี้ยกองคลัง 0 86.70 86.70

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ระบุผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ
1. เกิดการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือของอาสาสมัครในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุหมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
2. ผู้สูงอายุหมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ดีส่งผลทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี 2.เมื่อโครงการแล้วเสร็จ หรือเมื่อทุนของ สสส. หมดลง จะมีการดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร
3.ระบุวิธีการขยายผลจากการดำเนินโครงการ และชุมชน หรือผู้อื่นจะใช้ประโยชน์จากผลของโครงการนี้อย่างไร

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2566 14:58 น.