directions_run

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ม.3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อพัฒนาอาสาสมัครดูแลสุขภาพผู้สูงอายุหมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
ตัวชี้วัด : 1.1 มีข้อมูลสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตผู้สูงอายุจำนวน 1 ชุด 1.2 มีคณะทำงานดูแลผู้สูงอายุที่ประกอบด้วยผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณะสุข อาสาสมัครสาธารณสุข นักศึกษาอาสาสมัคร จำนวน 30 คน 1 ชุด 1.3 คณะทำงานดูแลผู้สูงอายุมีแผนการดำเนินงานอย่างชัดเจน 1 แผน การติดตามผลอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 1.4 ร้อยละ 100 ของคณะทำงานมีความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
30.00 30.00
  1. มีข้อมูลสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตผู้สูงอายุจำนวน 1 ชุด 2.มีคณะทำงานดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณะสุข อาสาสมัครสาธารณสุข นักศึกษาอาสาสมัคร จำนวน 30 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คณะทำงานในพื้นที่จำนวน 15 คนประกอบด้วย แกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มที่ 2 อาสาสมัคร จำนวน 15 คน ประกอบด้วย นักศึกษา จิตอาสา 3.มีคณะทำงานดูแลผู้สูงอายุมีแผนการดำเนินงานอย่างชัดเจน 1 แผน การติดตามผลอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
    4.ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
2 เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี
ตัวชี้วัด : 2.1 มีกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุไม่น้อย 3 กิจกรรม 2.2 ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุมีความสุขเพิ่มขึ้นหลังจากเข้าร่วมโครงการ
24.00 30.00

1.มีกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพจิต 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมอาสาพาเพื่อนเยี่ยมเพื่อน กิจกรรมแปลงผักสร้างสุข และกิจกรรมศาสนบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิตผู้สูงอายุสู่การมีสุขภาพจิตดี ส่งผลทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีแก่ผู้สูงอายุ 2.ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุ หรือผู้สูงอายุ จำนวน 24 คน มีความสุขเพิ่มขึ้นหลังจากเข้าร่วมโครงการ โดยวัดจากแบบประเมินความสุขผู้สูงอายุเทียบก่อนและหลังการดำเนินโครงการ และแบบประเมิน Health literacy ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และวัดได้จากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง คือ นักศึกษาอาสาสมัคร ประชาชนอาสา 20 20
กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้สูงอายุหมู่ที่ 3 บ้านดอนร 30 30

บทคัดย่อ*

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ม.3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 65-P1-0068-023 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอาสาสมัครดูแลสุขภาพผู้สูงอายุหมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี และเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี มีระยะเวลาโครงการ 10 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 98,300 บาท ด้วยแกนนำชุมชนบ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานีในการดำเนินโครงการฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานในการดำเนินกิจกรรมในโครงการ ภายใต้กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ผู้สูงอายุ หมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวนรวม 30 คน และกลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ นักศึกษาอาสาสมัคร ประชาชนอาสา และแกนนำชุมชน จำนวนรวม 20 คน รวมทั้งหมด 50 คน โดยมีกิจกรรมในการดำเนินงาน 7 กิจกรรม มีผลลัพธ์ในการกิจกรรม ดังนี้ 1) เกิดคณะทำงานดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณะสุข อาสาสมัครสาธารณสุข นักศึกษาอาสาสมัคร จำนวน 30 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คณะทำงานในพื้นที่จำนวน 15 คน ประกอบด้วย แกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มที่ 2 อาสาสมัคร จำนวน 15 คน ประกอบด้วย นักศึกษาจิตอาสา โดยคณะทำงานดูแลผู้สูงอายุมีแผนการดำเนินงานอย่างชัดเจน 1 แผน การติดตามผลอย่างน้อย 2 เดือน/ 1 ครั้ง และมีข้อมูลสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตผู้สูงอายุจำนวน 1 ชุด 2)อาสาสมัคร /นักศึกษา/ผู้ดูแล แบ่งเป็นอาสาสมัครในพื้นที่จำนวน 15 คน และนักศึกษาจิตอาสา จำนวน 15 คน มีความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ได้แก่ มีความรู้และเข้าใจวิถีของผู้สูงอายุ มีทักษะการให้กำลังใจและให้คำปรึกษาแก่ผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีทักษะการเยี่ยมบ้าน มีทักษะการประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้นและการส่งต่อแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีทักษะการนวดเพื่อการผ่อนคลายให้แก่ผู้สูงอายุหรือกิจกรรมสร้างความผ่อนคลายแก่ผู้สูงอายุ 3) มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ คือ มีกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุไม่น้อยกว่า 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมอาสาพาเพื่อนเยี่ยมเพื่อน กิจกรรมแปลงผักสร้างสุข และกิจกรรมศาสนบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิตผู้สูงอายุสู่การมีสุขภาพจิตดี ส่งผลทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีแก่ผู้สูงอายุ 4) ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี คือ ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุ หรือผู้สูงอายุจำนวน 24 คน มีความสุขเพิ่มขึ้นหลังจากเข้าร่วมโครงการ โดยวัดจากแบบประเมินความสุขผู้สูงอายุเทียบก่อนและหลังการดำเนินโครงการ และแบบประเมิน Health literacy ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พบว่า หลังดำเนินโครงการผู้สูงอายุมีความสุขในการใช้ชีวิตมาก ได้มีโอกาสในการพบปะเพื่อนผู้สูงอายุด้วยกัน ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ได้อยู่กับครอบครัว ลูกหลาน ไม่รู้สึกขาดหายทั้งความรัก ความอบอุ่น รวมไปถึงได้เห็นแกนนำชุมชนได้ให้ความร่วมมือตลอดการดำเนินงาน และผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมเป็นอย่างดี

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh