directions_run

บ่อร้างสร้างคุณค่า เลี้ยงปลากะชังเสริม ปลูกผักเพิ่ม เติมรายได้ให้ชาวเกาะพุด

assignment
บันทึกกิจกรรม
ร่วมกันจัดทำรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์9 สิงหาคม 2014
9
สิงหาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย sutham
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรวบรวมรายงานงวด และรายงานฉบับสมบูรณ์ 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดการรวบรวมเอกสาร และข้อมูล เป้นจำพวก เป็นชุดแยกรายกิจกรรม และมีการทำงานเป็นทีม ในชุดกรรมการหลัก เป็นผุ้ตรวจสอบการเงิน และบัญชี รวบรวมกิจกรรมและภาพถ่าย ช่วยกันพิมพ์ รายงานแต่ละชุด พี่รวยจัดการเรื่องใบสำคัญต่างๆให้ถุกต้อง จัดรวบรวมรายชื่อรายการลงทะเบียน และรวบรวมเอกสารเข้าเล่ม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการทำงานเป็นทีม ชุดกรรมการหลัก เป็นผุ้ตรวจสอบการเงิน และบัญชี รวบรวมกิจกรรมและภาพถ่าย ช่วยกันพิมพ์ รายงานแต่ละชุด พี่รวยจัดการเรื่องใบสำคัญต่างๆให้ถุกต้อง จัดรวบรวมรายชื่อรายการลงทะเบียน และรวบรวมเอกสารเข้าเล่ม โดยมีพี่เลี้ยงเป็นที่ปรึกาาโครงการ ดังนี้ 1. ผญ.ชะอ่อน เดชศรี ตราวจสอบเรื่องบประมาร บัญชีรับจ่าย และผลสรุปภาพรวมโครงการ และให้ข้อมูลในรายงาน ว .3 ร่วมกับนายสุธรรม  แก้วประดิษฐ์ 2. นายทวี  ศรีเกตุ เลขาโครงการ ทำหน้าที่ รวบรวมบันทึกกิจกรรมให้ครบถ้วน และค่าใช้จ่ายรายกิจกรรม และ ให้รวบรวมรางาน ส1
3. นายประสิทธิ์ คงเคล้า จนท.อบต. ให้ช่วยดูแลเรื่องงบดุลย์ การเงิน และการลงบัญชี และรายงาน ง.1 4. นายสุคนธ์ และนายทวี ดุแลเรื่อง ชุดความรู้การดำน้ำหมักหอยเชอรี่ และ การเลี้ยงปลากะชัง  การเขียนรายงานประกอบผลลัพธ์ เชิงคุณภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ติดตามโครงการครั้งที่ 33 สิงหาคม 2014
3
สิงหาคม 2014รายงานจากพี่เลี้ยง โดย sutham
circle
วัตถุประสงค์

เพือประเมินผลโครงการและสังเคาระหืสิ่งดีดีคุณค่าร่วมกับชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 50 คน และกรรมการโครงการ ร่วมกันให้ข้อมูลกับพี่เลี่ยงเรื่องผลการทำกิจกรรมเลี้ยงปลานิลในกะชัง และการปลูกผักพืชไร่อินทรีย์ในเกาะพุด

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การจัดกิจกรรมถอดบทเรียนโดยมีผู้ดำเนินการหลัก 1 นายทวี  ศรีเกตุ 2 นายประสิทธิ์  คงเคล้า 3 นางชะอ่อน  เดชศรี  4 นายสุคนธ์  เดชศรี 5 นายสุธรรม  แก้วประดิษฐ์ ซึ่งจากการร่วมอภิปราย พบว่ามีข้อสังเกตดังนี้ 1. จำนวนครัวเรือน ร่วมปลูกผักแลอดสารพิษ จำนวน 25 ครัวเรือน ได้รับผลผลิต ทั้งหมด  โดยผลผลิตที่ได้ผลดี เป็นผลผลิตจากไร่ ผักสวนครัว แต่ขายได้น้อย เนื่องจากปัญหาผักล้นตลอด และผู้ซื้อยังไม่ตระหนักในประโยชน์ของผักอินทรีย์ ในด้านการป้องกันสารพิษจากอาหารการ ช่วยลดรายจ่าย ปุ๋ย ยา ฮอร์โมน ทำให้ปีนี้คนรับซื้อน้อย  กำนันประสิทธฺ์ บอกว่า เอาหอยเชอรี่ในไร่ มาทำน้ำหมัก ต้องทำต่อ เพราะ ได้ประโยชน์สองต่อ ได้ปุ๋ยหมักชีวภาพ แล้ว ยังได้จัดการศัตรูพืช ตัวฉกาจ 2. เกิดองค์ความรู้ด้านการทำน้ำหมักหอยเชอรี่ พี่สุคนธ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในการทำน้ำหมัก เล่าว่า น้ำหมักหอยเชอรี่ ช่วงแรกๆที่หมักจะมีกลิ่นเหม็นแรงสักหน่อย แก้ปัญหาโดยการใส่กากน้ำตาลให้เพิ่มขึ้น และเพิ่ม ยูเรีย เพื่อทำให้ช่วยเพิ่มธาตุอาหารแก่พืช และเพิ่มเติม ว่า การใช้สูตรป้องกันแมลง อาจใช้ใบพืชที่มีฤทธิ์ต้านแมลงได้แก่ น้อยหน่า และพริก ช่วยป้องกัน แมลงวันทอง ด้วงงวง หนอนชานใบ ส่วนบอระเพ็ด ตะไคร้หอม ป้องกัน แมลง ต่างๆชบา ก็นำมาาใส่เพิ่มได้ แก้ปัญหา เพลี้ย ไร ได้ เป็นต้น 3. การเลี้ยงปลานิลในกะชัง พบว่า จำนวน 25 รา ย ได้ผลผลิตปลาเต็มวัยตามเกณฑ์ เพียง 10 ราย ส่วน ที่เหลือ ประสบภาวะน้ำในบ่อแห้ง ขอด ต่อเนี่ยง ถึง 6 เดือน ทำให้ ต้องย้ายปลาออกกจากกะชัง นำไปเลี้ยงรวมในบ่อรวม หรือในบึง ที่น้ำพอมี และทำให้ปลาโตช้า เนื่องจากให้อาหารไม่ได้ตามสัดส่วน แก้ไขโดยการนำปลาขึ้นเมือเห็นว่าได้ขนาดพอแปรรูปทำปลาแห้ง ปลาร้า ปลาแดดเดียวได้ ก้นำมาแบ่งปันกัน และขายเพื่อนบ้าน และนำไปขายที่ตลาดนัดในหมู่บ้านใกล้เคียง ส่วน คนที่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจาก บ่อกว้าง น้ำมีพอ กะชังจำนวน 2 ใบ ที่ตนเองทำเพิ่มขึ้น เลี้ยงปลานิลได้ผลดี และนำไปทำอาหารเลี้ยงผู้ และ พบว่า ปลานิลที่เลี้ยงกะชัง มีรสชาดดี ไม่คาว ไม่เหม็น เนื่องจาก ใช้น้ำหมักผสมในอหารที่บดสับจากวัสดุที่เหลือในครัวเรือน  ช่วยลดต้นทุนได้ มาก ปีที่ผ่านมา แกเล่าว่า อาหารปลาเดือน สี่ถึงห้าพัน  ปีๆ รายจ่ายเป้นหมื่น ปีนี้ แค่ค่าทำหัวเชื้อทำน้ำหมัก ไม่กี่พัน ลดรายจ่ายลงมาก และปลานำมาทำอาหารรสชาดดี ไม่มีคาว 4. สิ่งที่มีคุณค่า จากการพุดคุย ได้แก่ ความสัมพันธ์ที่ดี ของคนในชุมชน ผญ.ชะอ่อน บอกว่า แกเป็นผู้ใหญ่บ้านที่เป็นผู้หญิง และได้รับการเลือกตั้งมาเป้นผู้นำในปีที่แล้ว ปีนี้ จับงานสร้างชุมชนเกาะพุดให้น่าอยู่การชวนคุนมาร่วมทำโครงการนี้ ช่วยสร้างคุณค่าความสัมพันธ์ที่ดีกลับคืนมา เหมือน คสช.คืนความสุขให้ประชาชน ซึ่งพี่หมู ก็สะท้อน ว่า เดี่ยวนี้ สังคมออนไลน์ ทำให้คนสื่อสารกันโดยไม่ต้องเห็นหน้าเจอตัวกัน การทำโครงการและกิจกรรมต่างๆ ช่วยทำให้คนได้เจอกัน ไม่ต่างตนต่างอยู่ สนุกสนานหยอกล้อ จากนั้นก้โพสต์รูปกิจกรรม ให้คนอื่นเห็นเป็นตัวอย่างๆและเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการอย่างดี ตอนนี้ผมเก่งแล้ว 5. การเกิดนวตกรรมในชุมชนจากการทำโครงการ พบว่า กะชังลอยน้ำไม่ได้แก้ปัญหา ภาวะน้ำท่วม เหมือนทุกปี เนื่องจากปีน้ำน้ำแห้ง ฝนไม่ตกยาวนาน ไม่มีน้ำในบ่อปลา ท่วมไม่ถึงท้องกะชัง ทำให้ ปัญหากะชังลอยน้ำ แก้ไม่ได้ หลายครัวเรือน จึงไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ก็ยังเก็บกระชังไว้เลี้ยงปลาในปีต่อไป แต่ก็ได้ นวตกรรมการหมักหอยเชอรี่ ผสม หัวปลา เศษปลา มาเป้นน้ำหมัก ลดขยะ สร้างมูลค่าในชุมชน เนื่องจากเศษผัก เศษปลา มีจำนวนมาก ปล่อยทิ้งก็เหม็น เกิดประโยชน์มากในการทำน้ำหมักชีวภาพ และช่วยสร้างความตระหนักและเป็นตัวอย่างแก่คนในชุมชนที่ยังใช้ระบบเดิมในการปลูกผัก ให้เห็นว่า ถึงแม้ผักปลาอ้วน สมบูรณ์ แต่ คนผู้ซื้อไม่มั่นใจเท่ากับผักปลาในโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดกิจกรรมถอดบทเรียนปิดโครงการ3 สิงหาคม 2014
3
สิงหาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย sutham
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและรับรู้ผลการดำเนินโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กรรมการผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ช่วยกันจัดกิจกรรมสร้างสุขเกาะพุดเพื่อปิดโครงการ ในช่วงวันแม่ และได้ประชาสัมพันธ์การเปิดศูนย์เรียนรู้ที่เป็นศูนยกลา การจำหน่าย แลกเปลี่ยนผลผลิตจากครัวเรืือน ที่เน้นการปลูกแบบปลอดสารพิษ ลดการใช้ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี แตามแนวเกษตรอินทรีย์ โดยเชิญตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการร่วมกันอภิปราย ผลการร่วมกิจกรรมที่ผ่านมา ข้อดี ข้อเสีย ปัญหา อุปสรรค และเชิญพี่เลี้ยงที่ปรึกษาโครงการ นายสุธรรม  แก้วประดิษฐ์ และตัวแทนจา อบต.คลองกระบือ มาร่วมรับฟังผลการในลักษณะถอดบทเรียน และประเมินคุฯค่าจากโครงการ ในด้านต่างๆ 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การจัดกิจกรรมถอดบทเรียนโดยมีผู้ดำเนินการหลัก 1 นายทวี  ศรีเกตุ 2 นายประสิทธิ์  คงเคล้า 3 นางชะอ่อน  เดชศรี  4 นายสุคนธ์  เดชศรี 5 นายสุธรรม  แก้วประดิษฐ์ ซึ่งจากการร่วมอภิปราย พบว่ามีข้อสังเกตดังนี้ 1. จำนวนครัวเรือน ร่วมปลูกผักแลอดสารพิษ จำนวน 25 ครัวเรือน ได้รับผลผลิต ทั้งหมด คิดเป้น ร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยผลผลิตที่ได้ผลดี ส่วนใหญ่ ได้แก่ ฟัก ฟักทอง มะเขือ พริก และผักกินใบ สวนครัว ได้แก่ ถั่วฝักยาว ผักกวางตุ้ง คะน้า ซึ่งทุกครัวเรือน ทุกคน ขานรับแนวการปลูกผักอินทรีย์ เนื่องจาก ช่วยลดรายจ่าย ปุ๋ย ยา ฮอร์โมน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ลดได้ถึง 12,000 บาท  นอกจากนั้น เราเก็บมากินเอง ก็มั่นใจว่าปลอดภัย ส่วน น้าสิทธิ์ เพิ่มเติมว่า เอาหอยเชอรี่ในไร่ มาทำน้ำหมัก ต้องทำต่อ เพราะ เอาศัตรูพืชมาทำประโยชน์ ได้ประโยชน์สองต่อ ได้ปุ๋ยหมักชีวภาพ แล้ว ยังได้จัดการศัตรูพืช ตัวฉกาจ 2. บทเรียนการทำน้ำหมักหอยเชอรี่ พี่สุคนธ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในการทำน้ำหมัก เล่าว่า น้ำหมักหอยเชอรี่ ช่วงแรกๆที่หมักจะมีกลิ่นเหม็นแรงสักหน่อย แก้ปัญหาโดยการใส่กากน้ำตาลให้เพิ่มขึ้น และเพิ่ม ยูเรีย เพื่อทำให้ช่วยเพิ่มธาตุอาหารแก่พืช และเพิ่มเติม ว่า การใช้สูตรป้องกันแมลง อาจใช้ใบพืชที่มีฤทธิ์ต้านแมลงได้แก่ น้อยหน่า และพริก ช่วยป้องกัน แมลงวันทอง ด้วงงวง หนอนชานใบ ส่วนบอระเพ็ด ตะไคร้หอม ป้องกัน แมลง ต่างๆ เป็นต้น 3. การเลี้ยงปลานิลในกะชัง ในการดำเนินการ พบว่า จำนวน 25 รา ชบา ก็นำมาาใส่เพิ่มได้ แก้ปัญหา เพลี้ย ไร ได้ย ไดผลผลิตปลาเต็มวัยตามเกณฑ์ เพีง 10 ราย ได้แก้ กำนันประสิทธิ นายไพทูร พี่เตี้ยน พี่ชะอ่อน เป็นต้น ส่วน จำนวน 15 ราย ที่เหลือ ประสบภาวะน้ำในบ่อแห้ง ขอด ต่อเนี่ยง ถึง 6 เดือน ทำให้ ต้องย้ายปลาออกกจากกะชัง นำไปเลี้ยงรวมในบ่อรวม หรือในบึง ที่น้ำพอมี และทำให้ปลาโตช้า เนื่องจากให้อาหารไม่ได้ตามสัดส่วน แก้ไขโดยการนำปลาขึ้นเมือเห็นว่าได้ขนาดพอแปรรูปทำปลาแห้ง ปลาร้า ปลาแดดเดียวได้ ก้นำมาแบ่งปันกัน และขายเพื่อนบ้าน และนำไปขายที่ตลาดนัดในหมู่บ้านใกล้เคียง ส่วน คนที่ประสบผลสำเร็๗ เนื่องจาก บ่อกว้าง น้ำมีพอ กะชังจำนวน 2 ใบ ที่ตนเองทำเพิ่มขึ้น เลี้ยงปลานิลได้ผลดี และนำไปทำอาหารเลี้ยงผู้มาทำบุญในงานศพพ่อ เมื่อเดือนกรกฎาที่ผ่านมา ได้ตลอดงาน และ พบว่า ปลานิลที่เลี้ยงกะชัง มีรสชาดดี ไม่คาว ไม่เหม็น เนื่องจาก ใช้น้ำหมักผสมในอหารที่บดสับจากวัสดุที่เหลือในครัวเรือน  ช่วยลดต้นทุนได้ มาก ปีที่ผ่านมา แกเล่าว่า อาหารปลาเดือน สี่ถึงห้าพัน  ปีๆ รายจ่ายเป้นหมื่น ปีนี้ แค่ค่าทำหัวเชื้อทำน้ำหมัก ไม่กี่พัน ลดรายจ่ายลงมาก และปลานำมาทำอาหารรสชาดดี ไม่มีคาว 4. สิ่งที่มีคุณค่า จากการพุดคุย ได้แก่ ความสัมพันธ์ที่ดี ของคนในชุมชน ผญ.ชะอ่อน บอกว่า แกเป้นผู้ใหญ่บ้านที่เป็นผู้หญิง และได้รับการคัดเลือดมาเป้นผู้นำในปีที่แล้ว ปีนี้ จับงานสร้างชุมชนเกาะพุดให้น่าอยู่ รึลูกคน เพราะที่ผ่านมาก็ยังเกิดความขัดแย้งอยู่ การชวนคุนมาร่วมทำโครงการนี้ ช่วยสร้างคุณค่าความสัมพันธ์ที่ดีกลับคืนมา เหมือน คสช.คืนความสุขให้ประชาชน ซึ่งพี่หมู ก็สะท้อน ว่า เดี่ยวนี้ สังคมออนไลนื ทำให้คนสื่อสารกันโดยไม่ต้องเห็นหน้าเจอตัวกัน การทำโครงการและกิจกรรมต่างๆ ช่วยทำให้คนได้เจอกัน ไม่ต่างตนต่างอยู่ สนุกสนานหยอกล้อ จากนั้นก้โพสต์รูปโม้ ให้คนอื่นเห็นเป็นตัวอย่างๆและรู้ไปทั่ว เป็นการประชาสัมพันธ์โครงการอย่างดี ตอนนี้ผมเก่งแล้ว 5. ด้านภาพรวมการเกิดนวตกรรมในชุมชนจากการทำโครงการ พบว่า กะชังลอยน้ำไม่ได้แก้ปัยหา ภาวะน้ำท่วม เหมือนทุกปี เนื่องจากปีน้ำน้ำแห้ง ฝนไม่ตกยาวนาน ไม่มีน้ำในบ่อปลา ท่วมไม่ถึงท้องกะชัง ทำให้ ปัญหากะชังลอยน้ำ แก้ไม่ได้ หลายครัวเรือน จึงไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ก็ยังเก็บกระชังไว้เลี้ยงปลาในปีต่อไป แต่ก็ได้ นวตกรรมการหมักหอยเชอรี่ ผสม หัวปลา เศษปลา มาเป้นน้ำหมัก ลดขยะ สร้างมูลค่าในชุมชน เนื่องจากเศษผัก เศษปลา มีจำนวนมาก ปล่อยทิ้งก็เหม็น เกิดประโยชน์มากในการทำน้ำหมักชีวภาพ และช่วยสร้างความตระหนักและเป็นตัวอย่างแก่คนในชุมชนที่ยังใช้ระบบเดิมในการปลูกผัก ให้เห็นว่า ถึงแม้ผักปลาอ้วน สมบูรณ์ แต่ คนผู้ซื้อไม่มั่นใจเท่ากับผักปลาในโครงการ พี่เลี้ยงโครงการได้สรุป บทเรียนชองเกาะพุดว่า การใช้วิธีที่แตกต่างกันนัเน ย่อมทำให้เกิดการเปรียบเทียบ ดี เสี เด่น ด้อย และควรนำมาเชื่อมโยงปรับปรุงให้เกิดประดยชน์ต่อครอบครัว ชุมชน เศราฐกิจ และสภาพแวดล้อมต่อไป ไม่ควรสร้างความขัดแย้ง ซึ่งชุมชนตอบรับ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงานและจัดทำป้ายสรุปผลการดำเนินงานเผยแพร่3 สิงหาคม 2014
3
สิงหาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย koaput
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชาสัมพันธ์ผลของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กรรมการิ โครงการ ร่วมกันจัดทำรายละเอียด บันทึกรายงาน และเอกสารการเงินน รูปถ่าย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดทำเป้นป้ายไวนิลสรุปผลโครงการ  จำนวน 2 ป้าย ติดไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ และจัดทำหนังสือคู่มือการทำน้ำหมักหอยเชอรีสูตรเกาะพุด จำนวน 60 เล่ม  รวมทั้งอุปกรณ์สาธิตที่ศูนย์เรียนรู้จำนวน 1 ชุด วิธีการเลี้ยงปลานิลกะชัง และ การทำกะชังลอยน้ำ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

กรรมการโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

รับการติดตามจากพี่เลี้ยง27 กรกฎาคม 2014
27
กรกฎาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย sutham
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรับการติดตามความก้าวหน้าโครงการและรับการพัฒนาจากสสส.

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ เลขา เหรัญญิก และประธาน เข้าร่วมพัฒนาการเขียนรายงานรายงวด รายงานการเงิน การทำบัญชี การตรวจสอบ และรายงานฉบับสมบูรณ์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการเข้าร่วมพัฒนาจากพี่เลี้ยงได้ผลสำคัญดังนี้ 1. มีผู้เข้าร่วมพัฒนาจากโครงการจำนวน 4 คน  และจากโคงการอื่นๆในจังหวัดนครศรีธรรมราช
2. ร่วมแลกเปล่ยนเรียนรู้ คุณค่าและผลลัพธ์โครงการอื่นๆ เพื่อเป็นความรู้ในการพัฒนาและนำมาใช้ประโยชน์ 3. ได้ประเมินผลลัพธ์  คุณค่าของโครงการที่รับผิดชอบ ในแง่ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนหลังดเนินโครงการ ที่พบว่า มีการรวมตัวกันมากขึ้น ต่อเนื่อง มีวิธีการทำงานร่วมกันที่ดีมากขึ้น รู้จักปรับใช้เวลาช่วงหลังเลิกงาน ก่อนกินข้าวมื้อเย็นเป็นเวลานัดพบปะคุยกัน  การจัดกิจกรรมในชุมชนที่เน้นการลงแขก ในการปลุกผัก ลอกบ่อ ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครัวเรือน คนที่ไม่ค่อยได้พูดกัน ก็ได้พบกัน ยิ้มให้กัน เหมือนกับการคืนความสุขให้ชาวเกาะพุดอีกครั้ง หลังจากที่เกิดความขัดแย้งทางการเมืองท้องถิ่น และที่สำคัญ คือ ความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในแนวทางเกษตรอินทรีย์ ในวิถีแห้่งความพอเพียง เป็นช่วยเหลือแบ่งปันผลผลิตพืขไร่ ในหมู่บ้าน เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี ขายผลผลิตไม่ออก การแลกเปลี่ยนของกินของใช้ แบบในอดีต ถูกนำมาใช้กันในเกาะพุดอีกครั้ง ถึงไม่ได้กำไร แต่ได้เพื่อนบ้านที่ดี นอกจากนั้น การประชุมกันของกรรมการโครงการ ทุกๆเดือน เวลา 2 ชม. กว่า ๆ ทำให้ ช่วยให้หนุ่มที่เป็นกรรมการ รู้จักอดทนและตระหนักในการเลิกสูบบุหรี่ หรือ ยาเส้น มวนเอง ได้ เพิ่มขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 4 คน จากที่ตั้งไว้ 4 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ เลขา เหรัญญิก และประธาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดประชุมตัวแทนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินโครงการ13 กรกฎาคม 2014
13
กรกฎาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย koaput
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินผลโครงการและเป็นให้ข้อมูลผู้เข้าร่วมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดเวทีชาวบ้านเพื่อร่วมกันถอดบทเรียนโครงการและคุณค่าจากโครงการสสส. โดยใช้วิธีการถามให่พูดความรู้สึกก่อนและหลังการทำโครงการ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น สิ่งดีๆที่พบ และคุณค่า ปัญหา อุปสรรค โดยทุกคนมีกติกาให้พูดคนละ 5 นาที และมีการจดบันทึกในกระดาศชาท

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการถอดบทเรียนพบดังนี้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มที่เข้าร่วมโครงการ กรรมการ และพี่เลี้ยงโครงการ ตัวแทนอบต.

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมประจำเดือน กค.575 กรกฎาคม 2014
5
กรกฎาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย koaput
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประสานงาน ติดตามโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานร่วมประเมินโครงการเพื่อค้นหานวตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิธีการใหม่ๆที่เรียนรู้จากกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการประชุมและร่วมกันอภิปรายผลการดำเนินโครงการพบว่า

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

กรรมการโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พี่เลี้ยงติดตามโครงการในพื้นที่24 มิถุนายน 2014
24
มิถุนายน 2014รายงานจากพื้นที่ โดย koaput
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะกรรมการได้เชิญปราชญ์ชาวบ้านซึ่งมีความรู้ด้านการทำน้ำหมัก และด้านการทำกระชัง และด้านการปลูกผักปลอดสารพิษมาร่วมพูดคุยเล่าถึงประสบการณ์ ร่วมกับตัวแทนกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการโดยพี่เลี้ยงของโครงการเป็นผู้ซักถามในประเด็นเกี่ยวกับข้อสงสัยต่าง และส่วนหนึ่งพี่เลี้ยงลงไปดูพื้นที่จริงโดยการสุ่มตัวอย่างจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากจำนวนตัวแทนผู้เข้าร่วมโครงการกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษประมาณ10 คนประสบปัญหาเช่นเดียวกันคือเรื่องของภัยแล้ง ลำบากเรี่องน้ำที่จะใช้รดผักที่ปลูก ซึ่งเมื่อก่อนที่มีน้ำในบ่อมาก บางคนที่มีเวลาสามารถรดผักได้ทั้งเช้า-บ่าย แต่เมื่อน้ำมีในบ่อมีน้อยลงประมาณ 7คน ใช้วิธีการรดน้ำเฉพาะช่วงบ่าย หรือบางครั้งใช้วิธีการ รดวันเว้นวัน แต่มีอยู่ประมาณ 3คนใช้วิธีการใช้เศษฟางข้าวโรยปกคลุมโคน แต่วิธีนี้พบว่าใช้ได้ดีในผักที่เป็นลำต้นเช่น มะเขือ ถั่วฝักยาว แต่ก็มีบางคนใช้ซาแลนกางมุงแทนหลังคาแต่ก็พบปัญหาคือซาแลนมีราคาแพงไม่คุ้มทุน ส่วนน้ำหมักนั้นช่วงหลังหอยเชอรี่หายากแต่ก็ใช้เศษผักมาทำน้ำหมักแทนได้ ส่วนเรื่องการเลี้ยงปลาในกระชังนั้นเจอปัญหามากเลยเพราะ  น้ำในบ่อ และในคลองแห้ง ในช่วงนั้นปลากำลังอยู่ในช่วงการเจริญเติบโต บางคนไม่มีบ่อน้ำสำรองจำเป็นต้องนำไปกิน หรือใส่เกลือตากแดด บางคนก็นำไปขายแต่น่าเสียดายปลาไม่ได้น้ำหนักเท่าที่ควร ที่ได้ผลเลี้ยงได้ตามกำหนดระยะเวลามีประมาณ5 คน ซึ่งคนกลุ่มนี้น้ำในบ่อไม่แห้ง แต่ก็อาศัยการใช้ซาแลนช่วยขึงที่ปากกระชังไม่ให้น้ำในบ่อร้อนเกินไป คนที่เลี้ยงได้ตามกำหนดได้นำปลาไปขายและได้ช่วยเหลือในงานศพเพื่อนในกลุ่มได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการและตัวแทนกลุ่มด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ ตัวแทนกลุ่มเลี้ยงปลากระชัง และปราชญ์ชาวบ้าน จำนวนประมาณ30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นาย สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ตลาดผัก ปลา ปลอดสารพิษที่ศูนย์เรียนรู้15 มิถุนายน 2014
15
มิถุนายน 2014รายงานจากพื้นที่ โดย koaput
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เกิดศูนย์เรียนรู้ของชุมชนเรื่องเกษตรในครัวเรือนลดสารเคมีสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ครัวเรือนที่ปลูกผักได้นำผักมาขายและส่วนหนึ่งแลกเปลี่ยนกันผักส่วนใหญ่ที่นำมาได้มาจากที่ทางคณะกรรมการมอบเมล็ดพันธ์ผักให้ และส่วนหนึ่งเป็นพันธ์ผักที่ชาวบ้านจัดหาเอง โดยใช้การปลูกแบบผสมปนเปกันในแปลงเดียวกันผักที่เห็นนำมาในวันนั้นมีผักบุ้ง ผักคะน้า นำ้เต้า ผักหวาน แตงกวา ขี้พร้า ลูกบวบ สะตอเบา ผักกวางตุ้ง พริกขี้นก แตงไทย และมีการสาธิตทำน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่แบ่งแจกจ่ายกันไป ส่วนกลุ่มที่เลี้ยงปลาในกระชังก็ได้นำปลามาขายซึ่งมีอยู่จำนวนไม่มากเนื่องจากก่อนหน้านี้นำ้ในบ่อและในคลองแห้งปลาได้ตายไป 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการนำพูดชวนคุยโดยพี่เลี้ยงโครงการโดยนาย สุธรรม แก้วประดิษฐ์ในเรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน มีผู้ที่ทำจริงจังประมาณ 10 ครัวเรือน ซึ่งยึดถือเป็นต้นแบบได้ แต่เป็นที่น่าสังเกตูว่า กลุ่มบุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรมนั้นละการสูบบุหรี่ลงได้ในขณะที่เข้าร่วมกิจกรรมโดยจากการสังเกตุ ถ้าจะมีการสูบบ้างก็จะปลีกตัวไปสูบที่ร้านค้าใกล้กับสถานที่ประชุม เป็นที่น่ายินดีว่าในวันจัดกิจกรรมนั้นมีเด็กตามผู้ปกครองมาเข้าร่วมกิจกรรมด้วย จากการพูดคุยกันชาวบ้านค้นพบวิธีการจับหอยเชอรีโดยไม่ต้องลงลุยน้ำโดยการเอา ทางมะพร้าวแห้งเป็นตัวล่อให้หอยเชอรี่มาเกาะที่ทางมะพร้าวโดยใช้ทางมะพร้าวไปแช่ไว้ในน้ำ 1 คีนช่วงกลางคืนจะมีหอยเชอรี่มาเกาะเป็นจำนวนมาก แต่มีพี่ตึ่งบอกว่าของพี่ตึ่งใช้ต้นมะละกอ หรือทางมะละกอเป็นตัวล่อหอยเชอรี่ให้มาเกาะ ส่วนการเลี้ยงปลาในกระชังของกำนันประสิทธฺ์ คงเคล้า นั้นได้รับผลเป็นที่น่าพอใจ เพราะบ่อเลี้ยงปลาในกระชังของท่านน้ำไม่แห้ง เมื่อตอนที่พ่อของท่านเสียชีวิตได้นำปลาในกระชังมาทอดเลี้ยงแขก ส่วนผักที่ปลูกนั้นส่วนใหญ่จะแลกกันกิน แบ่งกันไป และยังได้นำไปช่วยในงานศพของคุณพ่อของกำนันประสิทธิ์ คงเคล้าอีกด้วย ส่วนปลาที่ตายบางคนนำไปใส่ผสมทำน้ำหมักชีวภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

ชาวบ้านบ้านเกาะพุดจำนวนประมาณ100คน และตัวแทนอสม.ประมาณ5คน และตัวแทนจากอบต.คลองกระบือ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นาย สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมประจำเดือน มิย.577 มิถุนายน 2014
7
มิถุนายน 2014รายงานจากพื้นที่ โดย koaput
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนและผู้นำอย่างต่อเนื่อง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดวันในการจัดกิจกรรม และแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบโดยกำหนดให้ผู็ใหญ๋บ้านเป็นคนกล่าวรายงาน นายประสิทธิ์ คงเคล้า รับผิดชอบด้านการประสานงาน ให้นายสุพจน์รับผิดชอบด้านเครืองเสียง นางชะอุ่ม เดชศรี ช่วยรับผิดชอบอาสาหาคนมาช่วยทำอาหาร น้องหมูอาสาเป็นคนไปจ่ายตลาด และให้นาย ทวี ศรีเกตุ รับผิดชอบด้านเอกสาร โดยกำหนดวันในการจัดกิจกรรม วันที่ 15 มิถุนายน เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทุกคนอาสากันรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความเต็มใจอยากให้กิจกรรมออกมาดี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชนและผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 15 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นาย สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการจัดการศูนย์เรียนู้ตามวิถีเกษตรอินทรีย์31 พฤษภาคม 2014
31
พฤษภาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย koaput
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เกิดศูนย์เรียนรู้ของชุมชนเรื่องเกษตรในครัวเรือนลดสารเคมีสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ตัวแทนแต่ละกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการมาจัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันโดยมีวิทยากรเป็นคนดำเนินการ ถาม-ตอบ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ในการจัดทำบัญชีครัวเรือนนั้นมีผู้ที่ทำจริงจังและต่อเนื่องมีประมาณ 10 ครัวเรือน พบว่าการจัดทำบัญชีครัวเรือนนั้นมีผลต่อเยาวชนอย่างมากเพราะได้ให้ลูกเป็นคนจดให้ทุกคืน และเด็กก็ได้เข้าใจและเห็นใจผู้ปกครองถึงร่ายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีอยู่ครอบครัวหนึ๋งที่แม่สัญญาว่าจะซื้อมอเตอร์ไซด์ให้ลูกเมื่อลูกสอบเข้าเรียนในระดับมัธยม ปรากฎว่าเมื่อถึงเวลาลูกปฎิเสธไม่เอามอเตอร์ไซด์ แต่ขอเปลี่ยนเป็นรถจักรยานแทน ด้วยเหตุผลที่เห็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละวันจากการทำบัญชีครัวเรือน ส่วนผู้ที่เข้าร่วมโครงการคนอื่นปรากฏว่าการจัดทำบัญชีไม่ต่อเนื่องขาดหายการจดบันทึกไม่สมำ่เสมอเหตุผลไม่ได้ให้ความสำคัญกับการจดบันทึกและส่วนหนึ่งก็ลืม ถึงแม้ว่าจะไม่ได้จดบัญชีครัวเรือนรายจ่ายประจำวัน แต่ก็มีการจดบัญชีรายรับ-รายจ่าย ในการลงทุน ส่วนในประเด็นของการลด ละ เลิก บุหรี่ไม่สามารถเลิกได้โดยเด็ดขาดแต่ก็สามารถปรับฟฤติกรรมจากการสูบบุหรี่วันละ 2 ซอง หันมาสูบบุหรี่ใบจากแทนซึ่งเป็นการลดรายจ่าย แต่จากการพูดคุยจะพยายามเลิกบุหรี่ให้ได้ ส่วนเรื่องสุราผู้ที่เข้าร่วมโครงการไม่นิยมดื่มสุรา แต่จะเน้นการกินกาแฟกันเป็นส่วนใหญ่ 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการและตัวแทนกลุ่มและเครือข่ายจากสถานีอนามัยบ้านตรงบนประมาณ 50คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นาย สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ส่งเอกสารโครงการตรวจสอบและรับการติดตามครั้งที่220 พฤษภาคม 2014
20
พฤษภาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย sutham
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรับการติดตามโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รวบรวมเอกสาร และรับการตรวจสอบจาก จนทง สจรส.มอ. พร้อมแก้ไข รายงานและปรับปรุงเอกสาร งวด 2 ให้เรียบร้อย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ทางสจรส.ได้ให้คำแนะนำในเรื่องของการจัดกิจกรรมให้มีส่่วนภาคี และเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรม
  2. ทางสจรส.ได้ให้คำแนะนำในเรื่องของใบเสร็จและใบสำคัญรับเงินไม่สมควรมีการแก้ไขใดๆ กรณีที่เขียนผิด หากจำเป็นจะต้องเแก้ไขให้ซ็นชื่อผู้แก้กำกับไว้ด้วย
  3. ในใบสำคัญรับเงินให้เขียนกิจกรรมให้ละเอียด
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบ เลข และจนท.การเงินโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การรายงานกิจกรรมช้ากว่ากำหนด ให้ผู้บันทึกพยายามทำให้ตรงเวลา

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายวินิจ ชุมนุรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พี่เลี้ยงติดตามโครงการรูปแบบการทำเลี้ยงปลากะชังและปลูกผักเชิงเกษตรอินทรีย์15 พฤษภาคม 2014
15
พฤษภาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย koaput
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ปราชญ์ชาวบ้านและผู้รับผิดชอบโครงการนำเสนอนำเสนอรูปแบบการทำกระชังลอยน้ำแบบบ้านๆแก่ผู้สนใจและการปลูกผักอินทรีย์ไร้สารพิษ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ปราชญ์ชาวบ้านและผู้รับผิดชอบโครงการนำเสนอนำเสนอรูปแบบการทำกระชังลอยน้ำแบบบ้านๆแก่ผู้สนใจและการปลูกผักอินทรีย์ไร้สารพิษและได้มีการจัดทำการแสดงสาธิตการตัดกระชังสำหรับเลี้ยงปลานิล และ คู่มือการทำน้ำหมักด้วยหอยเชอรี่ มาแสดงไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ และทำข้อตกลงการใช้ประโยชน์จากศูนย์เรียนรู้ ของหมู่บ้านในด้านแนวเกษตรอินทรีย์ จากนั้นพี่เลี้ยง ได้ติดตามในไร่นา และแปลงผัก ของผู้ร่วมโครงการ พบว่า ได้ผลผลิต จำนวนมาก แต่ขายไม่ออก ไม่มีผู้มารับซื้อ มีปัญหาการระบายส่งในตลาดระดับหมู่บ้าน และตลดหัวอิฐ ซึ่งปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาใหญ่ด้่นปากท้อง ที่ทำให้ขาดสภาพคล่อง และขาดเงินทุนหมุนเวียนมาลงแปลงต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

แกนนำโครงการและตัวแทนกลุ่มปลูกผักเลี้ยงปลา

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การนำปัญหาเศรษฐกิจการขายผลผลิตการเกษตร สู่การแก้ปัญหาระดับแผนพัฒนาเศราฐกิจรูปแบบตลาดผลิตผลพื้นบ้าน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พี่เลี้ยงติดตามโครงการรูปแบบการทำเลี้ยงปลากะชังและปลูกผักเชิงเกษตรอินทรีย์15 พฤษภาคม 2014
15
พฤษภาคม 2014รายงานจากพี่เลี้ยง โดย sutham
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินติดตามโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พี่เลี้ยงนัดติดตามโครงการและร่วมซักถามประเมินโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลจากการพูดคุยอุปสรรค และปัญหาในการดำเนินโครงการดังนี้ 1. การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามแผน ทั้งการเลี้ยงปลากะชัง และการปลูกผักเชิงเกษตรอินทรีย์ 2. การเลี้ยงปลากะชัง และการปลูกผักเชิงเกษตรอินทรีย์ประสบปัญหาภัยแล้ง ขาดน้ำ ได้ผลผลิตน้อย  รายได้ต่ำกว่าที่ตั้งไว้ 3. การทำบัญชีครัวเรือนไม่ต่อเนื่องทำกันเป็นส่วนน้อย ไม่สามารถเปรียบเทียบรายรับรายจ่ายก่อนและหลังทำโครงการได้ 4. กระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชนเกิดขึ้นตามวิถีชุมชนเกษตร เช่นการนัดพบปะพูดคุยในขณะเวลาลงแขกช่วยกัน และหลังเลิกงานหัวค่ำ ส่วนใหญ่แบบไม่เป็นทางการ ส่วนการประชุมพบปะแบบเป็นทางการเดือนละครั้งใช้เวทีประชุมชาวบ้านประจำเดือนของผู้ใหญ่และสอดแทรกกิจกรรมโครงการสสส.ผ่านการประชุมในการซักถามพูดคุย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

กรรมการโครงการ 15 คน ปราชญ์ชาวบ้านและตัวแทนผู้เข้าร่วมโครงการ 2คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การทำกระชังลอยน้ำช่วยแก้ปัญหาภาวะน้ำขึ้น ส่วนเวลาน้ำลง น้ำแห้งขอด ยังแก้ปัญหาไม่ได้ แก้ไขโดยการปล่อยปลาเลี้ยงในบ่อนอกกระชังเพื่อป้องกันปลาตาย หรือการนำปลามาขายก่อนกำหนดในรูปปลาเล็ก ปลาแห้ง ปลาร้า

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงานประจำเดือนพค.5615 พฤษภาคม 2014
15
พฤษภาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย koaput
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนร่วมกันขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็ง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.คณะทำงานร่วมปรึกษาแลกเปลี่ยนกับผู้รับผิดชอบโครงการเกี่ยวกับการขับเคลื่อนและความก้าวหน้าการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ 2. พี่เลี้ยงติดตามโครงการ และร่วมประชุม 3. ตัวแทนกลุ่มผัก และปลากะชังร่วมประชุม แลกเปลี่ยนปัญหา

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานร่วมปรึกษาแลกเปลี่ยนกับผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงนายสุธรรม และนางปาลีรัตน์  แก้วประดิษฐ์ซึ่งเข้าติดตามโครงการและร่วมประชุมกับกรรมการโครงการ ซักถามปัญหาอุปสรรคในการทำโครงการเกี่ยวกับการขับเคลื่อนและความก้าวหน้าการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ สรุปผลการประชุมดังนี้ 1. ปัญหาการเลี้ยงปลากะชังในหน้าแล้ง พบว่า ประมาณ 15 ครัวเรือน เป็นกะชังในบ่อ 5 ราย และกะชังริมคลอง 10 ราย ซึ่งเกิดปัญหาภัยแล้งทำให้น้ำในบ่อและลำคลองแห้ง จนน้ำไม่พอเลี้ยงปลาในกะชัง ทำให้สูญเสียปลาไปบางส่วน แก้ปัญหา โดยการนำปลาที่เหลือไปปล่อยเลี้ยงรวมในบ่อใหญ่ และนำมาที่สามารถนำมาเป็นผลผลิต อาหารในครัวเรือน ส่วนครัวเรือนที่บ่อน้ำมีเพียงพอ ก็ชักน้ำจากอีกแหล่งเติม และพบว่าเกิดปัญหาปลาโตช้า ได้ผลผลิตต่ำ ปลาตายเยอะ 2. การทำกะชังลอยน้ำ ทำได้ ประมาณ 3 ราย ได้แก่ นายประสิทธิ คงเคล้า  นายไพทูล ช่วยหนู นางจำเนียร คงเมือง เนื่องจากน้ำในบ่อไม่แห้ง ได้ผลผลิตปลานิล ปลากะพง นำมาทำอาหาร แปรรูป และแบ่งขายในชุมชนได้ 3. กลุ่มพืชผัก ซึ่งนำโดยผญ.ชะอ่อน เดชศรี รายงานว่า ปลูกตัดขาย ส่งไปรายละ 1รอบ ได้แก่ พริก (ดีปลี) มะเขือ ซึ่งผู้ที่ปลูกจำนวนมากได้เก็บขายส่งตลาดหัวอิฐ และรายที่ปลูกจำนวนน้อยเก็บขายส่งตลาดนัด ในปากพนัง ส่วน ฟักทอง  ส่งขายกับรถที่มารับผลผลิตถึงไร่ ส่วนปัญหา ภัยแล้งก็มีผลทำให้ผลผลิตต่ำเช่นเดียวกัน สำหรับแผนขั้นต่อไป ก็นำทุนที่ขายได้นำมาซื้อลูกปลา เลี้ยงขายรอบต่อไป ซึ่งคาดว่าดีขึ้นเนื่องจากฝนเริ่มตก น้ำในลำคลองและในบ่อเริ่มเต็มและแก้ปัญหาพืชผักขาดน้ำได้

  1. ตกลงจัดวันเปิดศูนย์เรียนรู้ปลาย้เดือนพฤษภาคม และให้กรรมการตัวแทนที่ตกลงไว้ประสานงานกับตัวแทนโครงการนำผลผลิตมาวางจำหน่าย แลกเปลี่ยน และเชิญปราชญ์ชาวบ้านด้านการเลี้ยงปลากะชัง และการทำน้ำหมัก ช่วยกันรวบรวมเรียบเรียงเอกสารชุดความรู้เผยแพร่ในศูนย์เรียนรู้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

กรรมการโครงการ 15 คน พี่เลี้ยงโครงการ 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมเพื่อจัดการให้มีคณะทำงานที่ศูนย์เรียนรู้ทุกสัปดาห์5 เมษายน 2014
5
เมษายน 2014รายงานจากพื้นที่ โดย koaput
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสนับสนุนชุมชนให้เกิดศูนย์เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดตั้งคณะทำงานที่ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ในชุมชนด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ และร่วมเรียนรู้ในกลุ่มการทำน้ำหมัก ปุ๋ยชีวภาพและการทำกระชังเลี้ยงปลา นวัตกรรมโดยปรึกษาเรื่องต่อไปนี้ 1.กำหนดวันเปิดศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ ภายในเดือนพฤษภาคม 2.กำหนดผู้รับผิดชอบ ด้านตัวแทนพืชผักปลอดสารพิษ ได้แก่น้องกุ้ง กับพี่สุรัช ด้านปลากะชัง ได้แก่น้องสุธน กับหมู  ด้านน้ำหมัก กำหนด พี่สุคนธ์ เป็นผู้ประสานงาน 3. กำหนดเปิดตลาดแลกเปลี่ยนผลผลิตจากครัวเรือน เดือนละ 2 ครั้ง ทุก 2 สัปดาห์ วันอาทิตย์ 4.ตัวแทนครัวเรือนปลูกผักรับผิดชอบนำผลผลิตนำมาวางแผง ตัวแทนเลี้ยงปลากะชังให้นำปลามาวางแผงอย่างน้อยรอบละ 5 ราย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรมการร่วมประชุมได้ข้อสรุปดังนี้ 1.กำหนดวันเปิดศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ ภายในเดือนพฤษภาคม 2.กำหนดผู้รับผิดชอบ 5 คน ด้านตัวแทนพืชผักปลอดสารพิษ ได้แก่น้องกุ้ง กับพี่สุรัช ด้านปลากะชัง ได้แก่น้องสุธน กับหมู  ด้านน้ำหมัก กำหนด พี่สุคนธ์ เป็นผู้ประสานงาน 3. กำหนดเปิดตลาดแลกเปลี่ยนผลผลิตจากครัวเรือน เดือนละ 2 ครั้ง ทุก 2 สัปดาห์ วันอาทิตย์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 10 คน ผู้รับผิดชอบ ศูนย์เรียนรู้ 5 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงานประจำเดือนมีนาคม2 มีนาคม 2014
2
มีนาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย koaput
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินติดตามโครงการต่อเนื่อง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ร่วมประชุม ประเมินติดตามโครงการ และวางแผนการประชุมในกิจกรรมเดือนมีนาคมดังนี้ 1. การจัดกิจกรรมร่วมทำบัญชีครัวเรือนในกรรมการ 2. การแลกเปลี่ยนเรื่องความก้าวหน้ากิจกรรมเลี้ยงปลา ปลูกผัก

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุมสรุปผลดังนี้ 1. กรรมการโครงการ 15 คน ร่วมทำบัญชีครัวเรือนและช่วยแนะนำผู้เข้าร่วมทำโครงการให้ทำด้วยกัน และนัดมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมครั้งต่อไป 2. การแลกเปลี่ยนเรื่องความก้าวหน้ากิจกรรมเลี้ยงปลา ปลูกผัก พบว่า กลุ่มปลูกผัก ได้ผลผลิต ได้แก่ น้ำเต้า(ฟักทอง) ดีปลี เพราะพืชกลุ่มนี้ทนแดด แต่ไม่ค่อยสมบูรณ์ เนื่องจากขาดน้ำ 3. การใช้น้ำหมักหอยเชอรี่ มีบางครัวเรือนทำต่อเนื่อง และแบ่งปันให้ผุ้เข้าร่วมโครงการ ที่สนใจ นำไปแบ่งใช้ และ มาช่วยกันทำให้มีไว้ในศูนย์เรียนรู้ เพื่อไว้ใช้ตลอด

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ 5 คน คณะทำงาน 10 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดกิจกรรมปลูกผักอินทรีย์ไร้สารพิษที่แปลงสาธิตและลงแขกปลูกผัก8 กุมภาพันธ์ 2014
8
กุมภาพันธ์ 2014รายงานจากพื้นที่ โดย koaput
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสนับสนุนชุมชนร่วมกิจกรรมเกษตรอินทรีย์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดกิจกรรมปลูกผักอินทรีย์ไรัสารพิษในแปลงสาธิตที่ศูนย์เรียนรู้ชองหมู่บ้าน และครัวเรือนจนครบ โดยการลงแขก ผลัคเปลี่ยนกันจนครบ โดยช่วยกันลงแขกวันละ 5 แปลง ตามรายชื่อแนบในรายงานการประชุม แปลงส่วนใหญ่ เนนปลูกฟักทอง ดีปลี  และ ไร่สวนผสม 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดกิจกรรมปลูกผักอินทรีย์ไรัสารพิษในแปลงสาธิตที่ศูนย์เรียนรู้ชองหมู่บ้าน และครัวเรือนจนครบ โดยการลงแขก ผลัคเปลี่ยนกันจนครบ โดยช่วยกันลงแขกวันละ 5 แปลง ตามรายชื่อแนบในรายงานการประชุม แปลงส่วนใหญ่ เนนปลูกฟักทอง จำนวน 10 ราย ดีปลี จำนวน 10 ราย และ ไร่สวนผสม จำนวน 5 ราย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการปลูกผักอินทรีย์ 25 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ยังไม่ได้รับงบงวด 2 กลุ่มครัวเรือนเข้าร่วมโครงการได้จัดหาอาหารกลางวันมาจากบ้านมาร่วมกัน โดยการทดรองจ่ายไปก่อนแล้วเบิกคืน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัคหาพันธ์ปลานิล พันธ์ผักเช่นพันธ์น้ำเต้า มะเขือ พริก7 กุมภาพันธ์ 2014
7
กุมภาพันธ์ 2014รายงานจากพื้นที่ โดย koaput
circle
วัตถุประสงค์

ดำเนินการจัดหาพันธ์ปลาเพื่อสนับสนุนแก่ผู้เข้าร่วมโครงการเลี้ยงปลากะชัง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กรรมการโครงการและกลุ่มผูัเข้าร่วมโครงการเลี้ยงปลาในกระชัง จำนวน 25 ราย ร่วมกัน จัดสรรพันธ์ปลานิล ปลาดุก ตามเป้าหมายโครงการ จำนวน รายละ 300 ตัว และร่วมฟังวิธีการเลี้ยงปลาในกะชัง การให้อาหารระยะแรก และการดูแลสภาพน้ำในบ่อ โดยเจ้าของนายทวี ศรีเกตุ จากทวีฟาร์ม มาให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนกับผู้มีประสบการณ์ในพืนที่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กรรมการโครงการร่วมปรึกษาและจัดหาพันธ์ปลาแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับพันธ์ปลาจำนวน 300  ตัวต่อ กะชัง
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และร่วมแลกเปลั่ยนวิธีเลี้ยงปลากะชัง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย

กรรมการโครงการ 5 คน
ผู้เลี้ยงปลากะชัง 25 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหานำในบ่อมีน้อย แก้ไขโดยการปรับกะชังให้ขึ้นลงตามระดับน้ำ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมแกนนำประจำเดือนกุมภาพันธ์2 กุมภาพันธ์ 2014
2
กุมภาพันธ์ 2014รายงานจากพื้นที่ โดย koaput
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินติดตามโครงการและปรึกษาหารือ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กรรมการร่วมประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการ 15 คน วาระประชุม 1.ประธานโครงการผญ.ชะอ่อน เดชศรี แจ้งให้ทราบเรื่องงบประมาณโครงการงวดแรก
2.คณะทำงานแจ้งเรื่องครัวเรือนที่ลงกะชังจำนวน 25 ราย ลงในบ่อ จำนวน 15 ราย และลงในลำคลองจำนวน 10 ราย ส่วนครัวเรือนที่เข้าร่วมปลูกผัก จำนวน 25 ราย ได้ร่วมกันลงแขกหว่านเมล็ดพันธ์ ครบ
3.การจัดประชุมเรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือนแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ 4. หารือเรื่องการจัดหาพันธ์ผักปลาในโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กรรมการร่วมประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการ 15 คน โดยประธานโครงการผญ.ชะอ่อน เดชศรี แจ้งให้ทราบเรื่องงบประมาณโครงการงวดแรก  แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ว่าดำเนินการตามแผนเรียบร้อย และส่งรายงานประจำงวด เพื่อรองบประมาณ งวดที่ 2คณะทำงานแจ้งเรื่องครัวเรือนที่ลงกะชังจำนวน 25 ราย ลงในบ่อ จำนวน 15 ราย และลงในลำคลองจำนวน 10 ราย ส่วนครัวเรือนที่เข้าร่วมปลูกผัก จำนวน 25 ราย ได้ร่วมกันลงแขกหว่านเมล็ดพันธ์ ครบ และ มัปัญหาฝนแล้ง น้ำแห้ง มา 2 เดือนกว่าแล้ว ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อผลิตภัณฑพืชไร่ได้ ส่วนเรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการ ยังไม่ได้จัดทำ จึงแจ้งให้กรรมการโครงการจัดทำบัญชีครัวเรือนนำร่องก่อน เรื่องพันธ์ปลา จัดซื้อพันธ์ปลาตามงบประมาณโครงการ โดยจัดจากทวีฟาร์มซึ่งอยู่ในพื้นที่ เป็นพันธ์ปลาดุก และปลานิล จำนวน 500 ตัว ต่อ กะชัง ส่วนพันธ์ผัก โครงการจัดซื้อเมล็ดพันธ์ตามที่ประชุมเสนอ ได้แก่ พริกเกษตร น้ำเต้า ถั่ว แตง มะเขือ เป็นหลัก  ส่วนพันธ์อื่นๆ ให้ผู้เข้าร่วมจัดหาเอง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ 5 คน คณะทำงาน 10 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหาฝนแล้ง ทำให้น้ำในบ่อแห้ง น้ำในลำคลองน้อย อาจเลี้ยงปลาปลูกผักไม่ได้ผล แนวทางแก้ไข กรณีน้ำในบ่อน้อยมาก อาจต้องเปิดกะชังให้ปลาก่อน และปรับแก้กะชังให้ลอยขึ้นลงตามระดับน้ำ กรณีที่มีน้ำพอในบางครัวเรือน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กลุ่มเลี้ยงปลากระชังร่วมใจกันลงแขกลอกบ่อร้าง (18-19 ธ.ค. 56)1 กุมภาพันธ์ 2014
1
กุมภาพันธ์ 2014รายงานจากพื้นที่ โดย koaput
circle
วัตถุประสงค์

ผู้ร่วมโครงการได้ร่วมกันเตรียมบ่อปลาสำหรัวางกระชัง เพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมลงแขก

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กลุ่มเลี้ยงปลากระชังร่วมใจกันลงแขกลอกบ่อร้างและตัดอวนทำกระชัง โดยการจัดซื้อวัสดุเย็บอวนตัดกระชัง และเชิญปราชญ์ชาวบ้านผู้ชำนาญการตัดกระชังมาเป็นวิทยากร ชื่อ นายนิพนธ์  ช่วยจันทร์  โดยแบ่งกลุ่มบ้านใกล้กันกลุ่มละ 5 คนมาช่วยกันลอกบ่อเอาผักตบออก และผลัดกันทีละบ่อ จนครบ จากนั้น ช่างสาธิตพร้อมโครงการแจกวัสดุให้กลุ่มเพื่อตัดอวนให้เป็นกระชัง จนครบทั้ง 25 คน และนำไปติดตั้งที่บ่อ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการเลี้ยงปลาในกระช้ง โดยการช่วยกันจัดเตรียมวัสดุอวน ไม้ไผ่ เชื้อ มาประกอบการตัดัดกะชังสำหรับเลี้ยงปลานิล จากนั้นคนที่เหลือช่วยกันลอกบ่อร้าง จำนวน 20 บ่อ โดยทำกันจนค่ำ เหนื่อยก็หยุดพัก โม๋หญิงก้หุงหาอาหารกินกันมีกลุ่มเลี้ยงปลา กะชังในบ่อร้าง หรือ ริมคลอง จำนวน อย่างน้อย 25 คนกลุ่มเลีฺ้ืยงปลากะชัง จำนวน 25 คน ช่วยกันจัดหาอุปกรณ์จัดอวน นำมารวมไว้ที่จุดนัดหมาย 5 จุด ได้แก่ บ้านผญ.ชะอ่อน บ้านกำนันสิทฺธิ์  บ้านนายไพทูล บ้านนายหมู ในวันแรก จากนั้น เตรียมลงลอกบ่อบ วันละ 4-5 บ่อ โดยการทำแต่เช้ามืด พักไปเรื่อยเมื่อเหนื่อย จากนั้นลงต่อจนมืดค่ำ สลับกันไปจนครบ ผลสรุป ว่า จำนวน 5 วัน ก็ลอกบ่อร้างจำนวน 20 บ่อ และเป็นการช่วยรื้อผักเศษไม้ริมคลองวางกะชัง  5 แห่ง บรรยากาศ สนุกสนาน ครึกคริ้นดี นายหมูเป็นคนพูดว่า นานๆจะบรรยากาศลงโคกลลงบ่อ ช่วยกันเหมือนสมัยเด้กๆ โม๋หญิงเอาเปรียบ อยู่บนโคกทำกับข้าวไป กินไป ฝ่ายชายก็เหนื่อยสายตัวแทบขาด เข็ดเอว ไปหมด แต่สนุกมาก มีกลุ่มแปลงผักปลอดสารพิษในชุมชน โดยมีจำนวนสมาชิกอย่างน้อย 25 คน ครัวเรือนที่ร่วมโครงการ มีรายได้เพิ่มมากขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ราคาวัสดุอวน เพิ่มขึ้น ทำให้กาาตัดอวนต้องใช้งบมากขึ้น ดังนั้น การทำกระชังลอยน้ำได้นั้น จะดำเนินการทำหลังจากติดตั้งกระชังในบ่อเรียบร้อย โดยเน้นทำในบ่อที่น้ำท่วมประจำก่อน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมแกนนำประจำเดือน (3 ม.ค. 57)1 กุมภาพันธ์ 2014
1
กุมภาพันธ์ 2014รายงานจากพื้นที่ โดย koaput
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อขับเคลื่อนโครงการโดยสภาผู้นำ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แกนนำกลุ่ม 5 คน กรรมการโครงการ 10 คน ร่วมพูดคุย ซักถามบัญหาจากคณะทำงาน ปรึกษาหารือ เตรียมความพร้อมกิจกรรมเตรียมจัดหาพันธุ์ปลาน้ำจืดและพันธุ์ผัก โดยใช้เวลาประมาณ ช่วงกลางวันก็อยู่ไม่ครบ ต้องนัดประชุมกันตอนกลางคืนเสียเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากวิถีชาวไร่นา เสร็จงานมืดค่ำเลิกงาน มาร่วมใช้เวลาประมาณ 2 ชม.ได้ข้อสรุปเรื่องพันธุ์ปลาโดยมอบหมายให้ปราชญ์และผู้ชำนาญการในพื้นที่ นายทวี  ศรีเกตุ และ นายประสิทธิ์  คงเค้า ช่วยกันจัดหาพันธ์ปลาน้ำจืด โดยตกลงว่าเป็นปลานิลเป็นหลัก 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ที่ประชุมตกลงเรื่องการเลี้ยงปลานิล โดยมอบพันธ์ปลาตั้งต้นให้คนละ 400 ตัว ขนาดตัวละ 3 บาท ส่วนเกินงบที่กำหนดไว้ในสัญญาเพียง 10000 บาท ทวีฟาร์มให้การอนุเคราะห์ 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

แกนนำกลุ่ม 5 คน กรรมการโครงการ 10 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

กระชังไม่พอเนื่องจากราคาวัสดุขึ้นราคากว่าเดิม และการทำให้กระชังลอยขึ้น-ลง ตามระดับน้ำ ต้องเพิ่มมูลค่าอีก ประมาณ1000 บาท ต่อ ลูก จึงมีมติให้จัดการเฉพาะที่ศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านจำนวน 2 ใบก่อน และกรณีมีงบโครงการเหลือจัดให้เพิ่ม และส่วนที่งบทำกระชังไม่พอ ขาด 4 ใบ  จึงให้เฉพาะพันธ์ปลาจำนวน 4 รายแก่ผู้ที่มีกระชังเดิม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ติดตามโครงการครั้งที่ 127 มกราคม 2014
27
มกราคม 2014รายงานจากพี่เลี้ยง โดย sutham
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการเพื่อสนับสนุนและช่วยแก้ปัญหา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สอบถาม ติดตาามการปฏิบัติงานตรวจเอกสารทางด้านการเงิน ตวจดูแผ่นป้ายปลอดบุหรี่ แผ่นป้ายโครงการ การเขียนรายงานการประชุม ลายเซ็นประกอบในการร่วมกิจกรรมแต่ละครั้ง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการสอบถามแกนนำโครงการ มีผู้สนใจจะเข้าร่วมโครงการมากกว่าจำนวนที่เขียนโครงการขอรับงบประมาณจากสสส. กลุ่มผู้สนใจเลี้ยงปลาในกระชังไม่สามาถให้เข้าร่วมโครงการได้ตามจำนวน 25ครัวเรือน เพราะงบประมาณที่ตั้งไว้ไม่พอ แต่ส่วนหนี่งสมาชิกของกลุ่มมีกระชังเก่าอยู่บ้างแล้วทางแกนนำแก้ปัญหาด้วยการ ให้พันธ์ปลาไปเลี้ยง บางสว่นของชาวบ้านจะขอร่วมทั้ง 2 โครงการ แต่ทางแกนนำให้เลือกอย่างใดอย่างหนี่ง  กระชังของสมาชิกไม่สามารถลอยน้ำได้เพราะ อวน และวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นราคา แต่แก้ปัญหาด้วยการให้สมาชิก จัดทำไว้ตามจุดสาธิต ประมาณ 2จุด แต่ท้ายที่สุดของโครงการหากมีงบประมาณเหลือจะจัดสรรให้สมาชิกทำเพิ่มเติมตามแผนที่วางไว้     ส่วนเอกสารประกอบทางด้านการเงินไม่มีปัญหาอะไร การใช้จ่ายงบประมาณถูกต้องตามระเบียบ     แผ่นป้ายปลอดบุหรี่ และแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ปิดในที่เห็นเด่นชัด     การเขียนรายงานการประชุมมีทุกครั้งของการประชุม และลายเซ็นประกอบช่วงแรกเซ็นไม่ถูกต้อง เช่นกิจกรรมทั้งวันแต่ลายเซ็นประกอบมีเฉพาะช่วงเช้าได้ปรับแก้เป็นการเรียบร้อยถูกต้อง     การประชุมเฉพาะแกนนำส่วนใหญ่จะประชุมในช่วงตอนหัวค่ำ เพราะจะเป็นเวลาที่แกนนำเสร็จจากภารกิจ     สรุป  ทางกลุ่มปฏิบัติได้เหมาะสม ถูกต้อง ร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น รับฟังข้อเสนอแนะจากพี่เลี้ยง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมปฐมนิเทศโครงการ สจรส.21 ธันวาคม 2013
21
ธันวาคม 2013รายงานจากพื้นที่ โดย koaput
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการเพื่อสนับสนุนและช่วยแก้ปัญหา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับ ผิดชอบโครงการ 3 คน ร่วมประชุมกับผู้ติดตามจากสจรส.ที่ รร.ทวินโลตัส  ซึ่งตกลงประชุมเพียงวันเดียวเนื่องจากสถานการณ์ด้านการเมือง และกรณีโครงการยังเก็บรวบรวมเอกสารไม่เรียบร้อยไม่ครบถ้วนให้พื้นที่และพี่เลี้ยงโครงการช่วยดูให้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าใจ และรับทราบ แต่ บางกิจกรรม มีอุปสรรคเรื่องการเก็บไฟล์รูปถ่าย ซึ่ง ถ่ายด้วยโทรศัพท์ และหน่วยความจำเต็มทำให้ล้างรูปเพื่อเก็บรวบรวมส่งในวันที่ 21 ธค จากนั้นได้ลบรูปในหน่วยความจำทำให้เกิดปัญหาไม่มีไฟล์รูปเลาส้งรูปบนเวบคนใต้สร้างสุข

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหาเรื่องเข้าใจผิดและความจำเป็นเรื่องการส่งไฟล์รูปไฟล์รูปถูกลบ และล้างรูปถ่ายเพื่อส่งไว้

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายสุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ควรให้ข้อมูลที่ชัดเจนกว่านี้

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ขอส่งรูปล้างเลยได้หรือไม่

กลุ่มเลี้ยงปลากระชัง ช่วยกันตัดอวนทำกระชังลอยน้ำ18 ธันวาคม 2013
18
ธันวาคม 2013รายงานจากพื้นที่ โดย koaput
circle
วัตถุประสงค์

เพีื่อสนับสนุนการเลี้ยงปลากระชังและสร้างความสัมพันธ์ในหมู่บ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กลุ่มผู้เลี้ยงปลากระชัง ร่วมใจกันช่วยกันตัดอวนทำกระชัง โดยโครงการมีการจัดซื้อวัสดุเย็บอวนตัดกระชัง และเชิญปราชญ์ชาวบ้านผู้ชำนาญการตัดกระชังมาเป็นวิทยากรแนะนำสาธิตและช่วยกลุ่มผู้เลี้ยงปลาจนได้กระชังขนาด 3*5 เมตรครบทั้ง 25 ราย ส่วน การทำรูปแบบลอยน้ำได้ตามระดับน้ำขึ้นน้ำลงนั้น ช่างจะทดลองวิธีทำในกลุ่มที่น้ำท่วมบ่อเป็นประจำก่อน ส่วนกลุ่ม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เลี้ยงปลา 25 คน ได้ร่วมกันตัดกระชัง และช่วยเหลือกันด้วยดี มีความสมัครสมานสัมพันธ์ กันมากขึ้น ทุกคนพอใจได้กระชังตามที่ต้องการ บางรายอยากได้ 2 ชุด ผู้รับผิดชอบแจ้งข้อตกลงและมติให้ทราบ ทุกคนเข้าใจ และพบว่า เกิดความสัมพันธ์ในหมู่บ้านมากขึ้น พบปะบ่อยขึ่น ลดความขัดแย้งที่เคยมีได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มูผู้ร่วมเลี้ยงปลากะชัง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

บระชุมแกนนำประจำเดือน16 ธันวาคม 2013
16
ธันวาคม 2013รายงานจากพื้นที่ โดย koaput
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อวางแผนเตรียมพร้อมการทำกิกจกรรม ประชุมเปิดโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แจ้งหลักเกณฑ์กฏ กติกา ในการเข้าร่วมกิจกรรม และวางแผนการจัดกิจกรรม วันที่ 18-22 ธค คือกิจกรรมร่วมกันตัดกระชัง โดยมอบหมายหน้าที่ผู้เชิญช่างตัดกระชังในหมู่บ้านมาให้ความรู้และสาธิตการตัดกระชังโดยกำหนดสถานที่ บ้านผู้ใหญ่เนื่องจากมีลานหน้าบ้านกว้าง และสะดวก โดยแจ้งให้ผู้นำกลุ่มทั้ง 5 คน ประสานลูกโซนทั้ง 25 ราย ผลัดกันมาร่วมรับการตัดกระชังโดยวัสดุในการทำนั้นอยู่กองกลางที่บ้านผู้ใหญ่ โดยกิจกรรมกำหนดทำทั้งวัน มีอาหารกลางวันรับประทานตลอด 5 วัน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กติกาที่ตกลงคือให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะต้องจัดทำบัญชีครัวเรือนตั้งแต่เข้าร่วมโครงการ และ ลด ละ เลิก การพนัน บุหรี่ สุรา เพื่อการลดรายจ่ายในครัวเรือน และให้ทุกคนที่ลงชื่อไว้มาร่วมตัดกระชังของตัวเอง โดยมีช่างแนะนำและช่วยเหลือให้ตัดสำเร็จได้กระชังขนาด 3*5 ม 1 ชุด

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นาย สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีเลี้ยงปลาในกระชังและ การปลูกผักอินทรีย์9 ธันวาคม 2013
9
ธันวาคม 2013รายงานจากพื้นที่ โดย koaput
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการร่วมกิจกรรมเลี้ยงปลากระชังและปลูกผักปลอดสารพิษ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ในวันแรก วิทยากรและแกนนำได้ร่วมกันจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีเลี้ยงปลาในกระชัง โดยนายทวี  ศรีเกต เป็นวิทยากรแนะนำและ วันที่ 2 แลกเปลี่ยนเรื่อง การปลูกผักอินทรีย์ ด้วยการใช้น้ำหมักชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี โดยวิทยากรนายณรงค์  เดชศรี อาศัยในชุมชนที่มีประสปการณ์เป็นผู้จัดกระบวนการ 2. ให้ผู้ร่วมโครงการฝึกทำโดยสนับสนุนวัสดุกากน้ำตาล และหัวเชื้อ เป็นกองกลาง โดยในวันถัดไปให้แต่ละรายนำไปทำเองที่บ้าน และวิทยากรและแกนนำจะเดินไปติดตามและให้คำแนะนำ เป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 ราย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการได้ฝึกปฏิบัติทำหน้ำหมักจากเศษผักผลไม้ และจากหอยเชอรี่ ซึ่งในหน้านี้พบว่ามีหอยเชอรี่ระบาดน้อย จึงใช้เศษผักผลไม้ที่แต่ละบ้านเก็บไว้มาทำน้หมัก ซึ่งพบว่า ส่วนใหญ่ชาวบ้านมีความรู้และประสบการรณ์บ้างแล้ว เพียงแต่มาร่วมกลุ่ทพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อดี ข้อเสียในการใช้วัสดุแต่ละแบบ บางคนสามารถหมักแบบสะอาดใช้วัสดุที่สามารถนำไปบริโภคได้ หมักเกิน  6 เดือน ซึ่งบรรยาการเรียบง่าย และผู้เข้าร่วมพึงพอใจ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 65 คน
ประกอบด้วย

ผู้เข้าร่วมโครงการ 50 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

กลุ่มชาวบ้านทำให้ไม่สามารถจัดประชุมให้ครบตามเวลาที่กำหนด จึงประชุมและฝึกเชิงปฏิบัติการให้เข้าใจและแจกคู่มือในการนำไปประกอบการทำที่บ้านต่อไป  เนื่องจากแต่ละคนมีงานประจำทุกวัน เช่นเลี้ยงวัว ตัดหญ้าให้วัว เอาวัวออกเข้าคอก  หลังเลี้ยงอาหารกลางวันคนเหลือน้อยลง

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายสุธรรม แก้วประกิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้สนใจและรับสมัครร่วมโครงการ30 พฤศจิกายน 2013
30
พฤศจิกายน 2013รายงานจากพื้นที่ โดย koaput
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดตั้งคณะทำงานและมอบหมายงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบชี้แจงรายละเอียดโครงการ งบประมาณแก่ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน50คน ร่วมจัดตั้งคณะทำงาน 10 คน ร่วมทำปฏิทินโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบชี้แจงรายละเอียดโครงการ งบประมาณแก่ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 50 คน สรุปว่ามีผู้ร่วมกลุ่มปลากระชังกำหนดไว้ 25 ราย  และปลูกผัก จำนวน 25 ราย และแจ้งรายชื่อแกนนำชุมชนเพื่อประสานงานกลุ่มให้ผู้ร่วมโครงการทราบ จัดตั้งคณะทำงาน 10 คน และกำหนดละแวกบ้านในการช่วยกันและประสานงาน ให่ทุกคนร่วมทำปฏิทินโครงการ ว่าเดือนไหนทำอะไร ตามประเพณีและตามฤดูกาลเพ่ือความเหมาะสมในการลงทำกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 65 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมแกนนำประจำเดือน24 พฤศจิกายน 2013
24
พฤศจิกายน 2013รายงานจากพื้นที่ โดย koaput
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อวางแผน สำรวจ วิเคราะห์เพื่อรวมกลุ่ม ผูัเลี้ยงปลา และกลุ่ปลูกผักปลอดสารพิษ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แกนนำจำนวน15คน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ในการที่จะหาผู้เข้าร่วมกิจกรรมในการนัดประชุมเพื่อหาผู้เข้าร่วมโครงการ ควรจะทำหนังสึอแจ้งทุกครัวเรือน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

แกนนำกลุ่ม 5 คน กรรมการโครงการ 10 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

มีไม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นาย สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปฐมนิเทศโครงการจากพี่เลี้ยงพื้นที่10 พฤศจิกายน 2013
10
พฤศจิกายน 2013รายงานจากพี่เลี้ยง โดย sutham
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาทีมงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แกนนำร่วมประชุมและฝึกการรายงานเอกสาร การเงิน บัญชี แลรายงานบนอินเตอรเน็ต

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แกนนำเข้าประชุม 5 คน ทำความเข้าใจและชี้แจงเรื่องแบบฟร์ม รายงาน เอกสารการบันทึก

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ผู้รับผิดชอบเอกสาร และรายงานบนเวบยังไม่ชำนาญ ให้มาฝึกกับพี่เลี้ยงครั้งต่อไป

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

พื้นที่จัดประชุมต่อเนื่อง และให้มาฝึกการทำ

ประชุมแกนนำโครงการครั้งที่ 1ประจำเดือนตค 5626 ตุลาคม 2013
26
ตุลาคม 2013รายงานจากพื้นที่ โดย koaput
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดตั้งคณะทำงานและมอบหมายงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการนัดหมายกลุ่มกรรมการร่วมรับผิดชอบโครงการ 7 คน ตามสัญญาระบุ และเชิญแกนนำในหมู่บ้านที่สมัครใจ มีความรู้และจิตอาสาจำนวน 8 คน ร่วมประชุมโดยเน้นให้มีการกระจายของคนตามจุดต่างๆเพื่อเน้นการประสานงานโครงการที่ง่ายสะดวก มีประสิทธิภาพ พบว่า มีคนมาประชุม ตามกำหนด และมีผู้สนใจที่เป็นตัวแทนครัวเรือนร่วมเข้าฟังด้วย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

  มติจากการประชุม  ให้คณะทำงาน ทั้ง 15 คน ช่วยกันประชาสัมพันธ์โครงการตามแต่โอกาสที่มีในกล่มละแวกบ้านที่ตนเองอยู่  นัดผู้สมัครใจมาลงทะเบียนร่วมโครงการในวันที่ 3  เดือนพย. 56 จำนวนแยกประเภทเลี้ยงปลากระชัง 25 คน และ ปลูกผักปลอดสารพิษ 25 คน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

แกนนำกลุ่ม 5 คน กรรมการโครงการ 10 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นาย สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี