แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 1

รหัสโครงการ 56-01838
สัญญาเลขที่ 56-00-1066

ชื่อโครงการ สร้างชุมชนอยู่ดีมีสุขที่บ้านเขาเพ-ลา
รหัสโครงการ 56-01838 สัญญาเลขที่ 56-00-1066
ระยะเวลาตามสัญญา 1 กันยายน 2013 - 30 กันยายน 2014

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 10 พฤศจิกายน 2013
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 20 มีนาคม 2014
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นายธรรมนูญ นาคขำ 250 ม.9 ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี 087-4698955
2 พระอาจารย์ สำนักสงฆ์ถ้ำเขาเพ-ลา อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี 084-8545425

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อฟื้นความสัมพันธ์ สร้างความสามัคคีของคนในชุมชน

  • เกิดเวที วงพูดคุยปัญหาชุมชนอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
  • ปริมาณผู้เข้าร่วมประชุมและร่วมกิจกรรมในชุมชนเพิ่มขึ้น 10  เปอร์เซนต์
  • มีกติกาชุมชน ข้อตกลงในการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชน

2.

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเขาเพ-ลา

  • มีเครือข่ายการทำงานเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 2 เครือข่าย
  • ปริมาณสัตว์ป่า ต้นไม้ เพิ่มขึ้น (ความสมบูรณ์ของพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืช)  10 เปอร์เซนต์
  • จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติการในชุมชนเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซนต์

3.

เพื่อติดตาม สนับสนุนโครงการ

  • การทำรายงานความก้าวหน้าแต่ละงวด และรายงานฉบับสมบูรณ์เมื่อปิดโครงการ
  • มีภาพถ่ายกิจกรรมตลอดทั้งโครงการ
  • มีการจัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่
  • มีการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส. หรือ สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมย่อย: i

0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :
  • สร้างความรู้ และการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเขาเพ-ลา ให้กับเยาวชน และคนในชุมชน
ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :
  • มีวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติบนเขาเพ-ลา และทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน ด้วยกระบวนการ "ธนาคารต้นไม้" ทำให้คนในชุมชนเพิ่มองค์ความรู้ และแนวคิดในการแก้ไขปัญหาในชุมชน
สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :
  • กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม เป็นเยาวชนที่มาจากภายนอกชุมชน ไม่ใช่คนในชุมชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนอย่างแท้จริง การสร้างการเรียนรู้จึงอาจไม่บรรลุตามเป้าหมายจที่วางไว้

กิจกรรมย่อย: i

0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :
  • สามารถสร้างพื้นที่สีเขียวจากการปลูกต้นไม้ พื้นที่เรียนรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เยาวชนและคนในชุมชน
ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :
  • เจ้าหน้าที่ป่าไม้ในพื้นที่ให้การสนับสนุนพันธุ์กล้าไม้เพื่อนำมาใช้ในการทำกิจกรรม
  • เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นนักศึกษาจาก กศน. ท่าชนะ ไม่ใช่เยาวชนในชุมชนโดยตรง  ซึ่งมาทำกิจกรรมเป็นครั้งคราว ทำให้ไม่มีความต่อเนื่องในการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้
  • เห็นความร่วมมือของภาคีจากภายนอกในการทำงานมากกว่าภาคีภายในชุมชน
  • สามารถเพิ่มพื้นที่เสียวเขียวภายในวัด และเขาเพ-ลา ให้มีความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติโดยการนำต้นไม้ทั้งไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ยืนต้นมาปลูกเพิ่ม
สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :
  • ความร่วมมือจากภาคีการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เยาวชน
  • การเพิ่มพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชน

กิจกรรมย่อย: i

0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :
  • ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ รายงานกิจกรรม รายงานการเงิน และรายงานการติดตามได้อย่างถูกต้อง
ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :
  • ทีมงาน สจรส. พี่เลี้ยงโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ภาคใต้ ร่วมกันให้ความรูุ้เรื่องการบริหารจัดการโครงการ การจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน รายงานผลการจัดกิจกรรมในพื้นที่ รายงานการเงิน และรายงานการติดตามโครงการทางเว็บไซด์ คนใต้สร้างสุข (happynetwork.org) เพื่อให้ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถจัดทำรายงานได้อย่างถูกต้อง
สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :
  • ชุมชนส่งตัวแทนมา 1 คน โดยเป็นผู้ที่อาสาเข้ามาช่วยเหลือชุมชนในการจัดทำรายงาน แต่ไม่ใช่ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ หรือแกนนำชุมชน พี่เลี้ยงจึงสอนเรื่องการรายงานผลการดำเนินงานโครงการทางเว็บไซด์ให้ เพื่อที่จะได้นำไปถ่ายทอดต่อให้แกนนำชุมชน หรือผู้รับผิดชอบโครงการอีกครั้ง
  • ชุมชนสามารถจัดทำรายงานกิจกรรมได้บางส่วน เนื่องจากข้อมูลการจัดกิจกรรมในชุมชนมีไม่ครบ และไม่มีภาพประกอบกิจกรรม
2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์

 

 

2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม
  • มีการดึงภาคีเครือข่ายจากภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และองค์กรอื่นๆ ให้เข้ามาทำกิจกรรมในพื้นที่ เช่น ป่าไม้ โรงเรียน กศน. ทำให้กิจกรรมมีความน่าเชื่อถือ และทำให้คนในชุมชนเกิดความต่ืนตัวมากขึ้น
  • การใช้พื้นที่กลางในการจัดกิจกรรม คือ สำนักสงฆ์ ซึ่งเป็นสถานที่รวมของคนในชุมชนและนอกชุมชน ทำให้ไม่มีข้อโต้แย้ง หรือความขัดแย้งเกิดขึ้นในการทำงานร่วมกัน

การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและนอกชุมชนในการทำกิจกรรมทางสังคมอื่นๆ ร่วมกัน

2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง

 

2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

สำนักสงฆ์เขาเพ-ลา / เขาเพ-ลา

  • ต้นไม้เพิ่มมากขึ้น พื้นที่สีเขีวเพิ่มขึ้น ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติมีมากขึ้น
  • คนเข้าวัดมากขึ้น มาร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นในวัดมากขึ้น
  • เป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ ปลอดอบายมุข
  • เป็นพื้นที่สร้างการเรียนรู้สำหรับเยาวชนและคนในชุมชน

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
  • สัญญานอินเตอร์และคนจัดทำรายงาน
  • มอบหมายให้คนที่อยู่นอกชุมชนที่มีสัญญานอินเตอร์เน็ตช่วยในการจัดทำรายงานให้
  • ต้องสร้างแกนนำชุมชน คนในชุมชน หรือเยาวชนที่สามารถช่วยในการจัดทำรายงานได้ เพื่อที่จะไดเกิดคนที่สามารถสร้างการเรียนรู้ในชุมชนได้อย่างแท้จริง
  • ความล่าช้าในการทำรายงาน
  • พยายามติดตามให้คนทำรายงาน ช่วยในการทำรายงานอย่างสม่ำเสมอ
  • ยังไม่สามารถแก้ไขได้ เน่ืองจากยังไม่มีคนในชุมชนมารับผิดชอบในการทำรายงาน ยังคงพึ่งพาคนนอกชุมชนที่อาสาเข้ามาช่วยทำงาน ซึ่งไม่สามารถช่วยเหลือได้อย่างเต็มที่
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน
  • โครงสร้างการดำเนินงานโครงการมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงาน แต่ภาระหลักในการจัดการโครงการกลับตกไปอยู่ที่พระอาจารย์ เนื่องจากเป็นศูนย์รวมของชุมชน ผู้รับผิดชอบโครงการไม่สามารถดำเนินงานโครงการ หรือตัดสินใจในการทำงานด้วยตัวเองได้
1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน
  • การทำงานที่ผ่านมาไม่เกิดการพัฒนาศักยภาพหรือทักษะการดำเนินงานโครงการของผู้รับผิดชอบโครงการหรือแกนนำเลย เนื่องจากไม่ได้มีกระบวนการทำงานที่มาจากพื้นฐานของการทำงานที่เกิดจากการประชุม ตัดสินใจร่วมกัน รอฟังคำสั่งจากสำนักสงฆ์เพียงอย่างเดียว ซึ่งเป้าหมายของการทำงานจริงๆ แล้ว ต้องการใช้วัดเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนมากกว่าการจัดกิจกรรมในวัด
1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน
  • ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการทำงาน เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากวัดเป็นพื้นที่กลางที่เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชนและคนนอกชุมชน เมื่อมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้น จึงสามารถดึงคนเข้ามามีส่วนร่วมได้มาก
2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ
  • ยังไม่มีความชัดเจนในระบบหรือกลไกที่ใช้ในการบริหารคจัดการโครงการ ซึ่งในเริ่มแรกใช้กลไกของกลุ่มท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญานเขาเพ-ลา ที่คณะทำงานก็ไม่สามารถทำงานในบทบาทหน้าที่ของตัวเองได้อย่างเต็มที่ เป็นเพียงผู้เข้าร่วมเท่านั้น โดยเฉพาะบทบาทของผู้ประสานงานโครงการที่กลายเป็นพระอาจารย์เป็นเจ้ของโครงการแทนคนในชุมชน
2.2 การใช้จ่ายเงิน
  • มีการใช้จ่ายงบประมาณดำเนินงานโครงการตามเกณฑ์ที่กำหนด
2.3 หลักฐานการเงิน
  • มีการตรวจสอบหลักฐานการเงินไปบางส่วน บางกิจกรรมเท่านั้น ไม่ครบทุกกิจกรรม ต้องตรวจสอบเพิ่มเพื่อความโปร่งใสในการทำงาน
ผลรวม 0 2 3 0
ผลรวมทั้งหมด 5 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

-

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก- ต้องมีการติดตามเรื่องการบริหารจัดการโครงการ และการจัดทำรายงาน ให้สามารถทำงานได้ตามเป้าหมาย มีการรายงานผลโครงการอย่างทันท่วงที และเป็นปัจจุบันที่สุด
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

  • ปัญหาด้านการบริหารจัดการโครงการ กำลังอยู่ในช่วงของการแก้ไข เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมให้ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน ได้แสดบทบาทหน้าที่ของตัวเองอย่สงแท้จริง

สร้างรายงานโดย kannapat janthong