แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 3

รหัสโครงการ 56-01838
สัญญาเลขที่ 56-00-1066

ชื่อโครงการ สร้างชุมชนอยู่ดีมีสุขที่บ้านเขาเพ-ลา
รหัสโครงการ 56-01838 สัญญาเลขที่ 56-00-1066
ระยะเวลาตามสัญญา 1 กันยายน 2013 - 30 กันยายน 2014

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 1 ตุลาคม 2014
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 20 ตุลาคม 2014
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อฟื้นความสัมพันธ์ สร้างความสามัคคีของคนในชุมชน

  • เกิดเวที วงพูดคุยปัญหาชุมชนอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
  • ปริมาณผู้เข้าร่วมประชุมและร่วมกิจกรรมในชุมชนเพิ่มขึ้น 10  เปอร์เซนต์
  • มีกติกาชุมชน ข้อตกลงในการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชน

2.

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเขาเพ-ลา

  • มีเครือข่ายการทำงานเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 2 เครือข่าย
  • ปริมาณสัตว์ป่า ต้นไม้ เพิ่มขึ้น (ความสมบูรณ์ของพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืช)  10 เปอร์เซนต์
  • จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติการในชุมชนเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซนต์

3.

เพื่อติดตาม สนับสนุนโครงการ

  • การทำรายงานความก้าวหน้าแต่ละงวด และรายงานฉบับสมบูรณ์เมื่อปิดโครงการ
  • มีภาพถ่ายกิจกรรมตลอดทั้งโครงการ
  • มีการจัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่
  • มีการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส. หรือ สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : ประชุมคณะทำงาน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งในชุมชนและนอกชุมชนi

2,500.00 60 ผลผลิต
  • เกิดเวที วงพูดคุยปัญหาชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
  • มีเวทีการประชุม เพื่อให้คนในชุมชน และภาคีเครือข่ายการทำงานเข้าใจแนวทางการดำเนินงานของโครงการ และทราบบทบาทในการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นรแกนนำชุมชน คณะทำงาน และภาคีการทำงานเข้าร่วมกว่า 40 คน

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • เกิดเวที วงพูดคุยปัญหาชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
  • มีเวทีการประชุม เพื่อให้คนในชุมชน และภาคีเครือข่ายการทำงานเข้าใจแนวทางการดำเนินงานของโครงการ และทราบบทบาทในการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นรแกนนำชุมชน คณะทำงาน และภาคีการทำงานเข้าร่วมกว่า 40 คน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • แกนนำชุมชน 10 คน
  • คนในชุมชน 25 คน
  • เครือข่ายการทำงาน 10 คน
2,500.00 2,125.00 60 45 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การเปิดเวทีพูดคุยในครั้งนี้เป็นการเปิดการชี้แจงการทำงานเหตุผลที่คณะผู้รับผิดชอบได้จัดทำโครงการโดยของบสนับสนุน จาก สสส. ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจให้กับคนในชุมชน รวมถึงภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งท้องที่ท้องถิ่นให้มีความเข้าใจตรงกัน ซึ่งปรากฎว่าส่วนใหญ่มีความเห็นด้วยกับการจัดโครงการเพราะส่วนหนึ่งนอกจากเป็นการรักษาทรัพยากรและสร้างความเข้าใจในชุมชนแล้ว โครงการนี้ยังต่อเนื่องไปถึงการท่องเที่ยวเชิงจิตยวิญญาณที่ พุทธอุทยานสำนักสงฆ์ถ้ำเขาเพ-ลา ได้จัดอยู่ ถือเป็นแรงผลักดันให้มีความพร้อมยิ่งขึ้น แต่ก็มีหลายคนเช่นกันที่มีความกังวลในเรื่องความร่วมมือของคนในชุมชนจะเข้ามามีส่วนร่วมน้อยจะส่งผลให้ไม้่คุ้มค่าของงบประมาณ ซึ่งในประเด็นนี้ก็มีการแลกเปลี่ยนกันมากพอสมควร แต่ก็หาข้อสรุปได้ว่า การจัดโครงการแม้จะไม่คุ้มทุนบ้างแต่อย่างน้อยยังดีกว่าที่เราจะไม่ทำอะไรเลย ปล่อยให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายไปเรื่อยๆ รอวันสูญสลายไปโดยไม่มีการทำอะไรเลย ซึ่งหากมีการเริ่มต้นคิดว่าคงจะมีผลตามมาบ้าง ก็ถือว่าคุ้มค่า

กิจกรรมหลัก : วงเสวนา "ทางออกบ้านเขาเพ-ลา (ทบทวนอดีต ค้นหาปัจจุบัน วาดฝันอนาคต) จำนวน 10 ครั้งi

18,000.00 60 ผลผลิต
  • เกิดเวที วงพูดคุยปัญหาชุมชนอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • จากการล้อมวงพูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอหลักเสร็จสิ้นกิจกรรมทางศาสนา และการใช้วัดเป็นพื้นที่กลางในการพูดคุยเรื่องราว สถานการณ์ปัญหาชุมชน สถานการณ์ปัญหาบ้านเมือง ทำให้คนในชุมชนมีเวลาอยู่ในวัดมากขึ้น มีเวลาอยู่กับคนอื่นมากขึ้น ได้พูดคุยหารือกันมากขึ้น ทำให้ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนมีความสนิทสนมกัน และมีการช่วยเหลือกันในกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในวัด ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และความรักความสามัคคีก็มีมากขึ้น

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 10 ครั้ง

  • คณะทำงานและคนในชุมชน จำนวน 40  คน
1,800.00 1,300.00 60 40 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วงเสวนาหาทางออกบ้านเขาเพ-ลา เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่วัดใช้รวมคนมาทำกิจกรรมร่วมกัน  และมีโอกาสได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน มีการเสนอแนวคิดต่างๆออกมา เช่น อนาคตน่าจะมีหน่วยเฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติโดยการสับเปลี่ยนหมุนเวียน เป็นหูเป็นตาเพื่อป้องกันทรัพยากร แต่ยังมีข้อกังวล หลายๆท่านไม่ค่อยมีเวลาเนื่องจากภารกิจส่วนตัว หลายคนเสนอแนวคิดเรื่องนี้ว่า การเฝ้าระวังไม่จำเป็นต้องทำเหมือนยามรักษาการณ์ แต่คอยสังเกตบุคคลที่ผ่านเข้าออกหากผิดสังเกตค่อยว่ากันอีกที ซึ่งก็เป็นข้อตกลงที่ดี และมีข้อเสนอให้มีการหางบประมาณมาทำป้ายในป่าเพื่อบอกชื่อพันธุ์ไม้ เวลานักท่องเที่ยวหรือมีผู้มาเยี่ยมสามารถให้เขารู้ได้เลยว่าเป็นไม้อะไร ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง รวมทั้งอนาคตต้องมีการสร้างแปลงสมุนไพรเพื่อทำการรวบรวมสมุนไหฃพรชนิดต่างๆที่เป็นประโยชน์ไว้ ทั้งนี้เพื่อการศึกษาและการนำมาใช้ในชุมชนด้วย
  • คนในชุมชน
  • เยาวชน
1,800.00 1,300.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้สาระจากพระคุณเจ้า ได้แนวทางที่เป็นธรรมมาปฏิบัติเพื่อความปกติสุขในการอยู่ร่วมกันของชุมชน เช่น การเอาใจเขามาใส่ใจเรา การให้อภัย การดูแลซึ่งกันและกัน การเอื้อเฟ้อแก่กัน ฯลฯ
  • คนในชุมชนมีความสามัคคี ใกล้ชิดกันเป็นผลจากการที่ได้ร่วมรับประทานอาหาร ร่วมพูดคุยกัน การแบ่งสีแบ่งพวกเริ่มน้อยลง
  • คณะทำงานโครงการ
  • ชาวบ้านในพื้นที่
  • ภาคีเครือข่าย
1,800.00 1,550.00 60 45 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนมาล้อมวงพูดคุยถึงเรื่องราวบ้านเขาเพ-ลาในอดีต และร่วมกันวางอนาคตเข้าเพ-ลาไว้ให้ลูกหลาน ซึ่งการพูดคุยที่เกิดขึ้นมีการเสนอแนวคิดที่หลากหลายในการดูแลเขาเพ-ลา
  • มีการร่วมมือในการพัฒนาสถานที่ ได้สถานที่บริเวณวัดดูดียิ่งขึ้น
  • คนในชุมชนร่วมกันแข่งกีฬาพื้นบ้าน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทำให้เห็นความสามัคคีจากการแข่งขันกีฬา และเป็นการกระตุ้นให้คนอยากจะร่วมกิจกรรมโดยใช้กีฬา
  • ทุกคนช่วยกันพัฒนา บูรณะวัด ปรับปรุงภูมิทัศน์รอบๆ วัดให้น่าอยู่ น่ามอง
  • คณะทำงาน จำนวน 20 คน
  • คนในชุมชนจำนวน 40 คน
1,800.00 1,800.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนได้ร่วมทำบุญ และบำเพ็ญสารธารณประโยชน์
  • ได้มีโอกาสพูดคุย ช่วยกันแก้ปัญหาที่ค้างคาใจ รวมถึงร่วมกันแก้ปัญหาชุมชน
  • คณะทำงาน จำนวน 20 คน
  • คนในชุมชนจำนวน 40 คน
1,800.00 1,800.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมได้มีโอกาสเปิดใจพูดคุยกัน ฟื้นความสัมพันธ์ที่เคยห่างไป ทำให้เกิดความสามัคคีในชุมชนยิ่งขึ้น
  • คณะทำงาน จำนวน 20 คน
  • คนในชุมชนจำนวน 30 คน
1,800.00 1,800.00 60 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลสรุปสำคัญมีเรื่องของการจัดทำเขตพุทธอุทยานที่ต้องทำอย่างชัดเจนเพื่อง่ายแก่การดูแล และหลีกเลี่ยงการกระทบกระทั่งกับคนในชุมชน หลายคนเห็นด้วยว่าควรจะทำและต้องทำด้วยความรอบคอบ
  • คณะทำงาน จำนวน 20 คน
  • คนในชุมชน และเยาวชน จำนวน 40 คน
1,800.00 1,800.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การใช้หลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนามาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสามัคคี สมานฉันท์ปรองดอง จะทำให้ง่ายในการรวมกลุ่ม อ้างเรื่องบาปบุญคุณโทษ คนตจะรู้สึกละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำผิดซึ่งเป็นข้อห้ามตามหลักพระพุทธศาสนา
  • บริเวณวัดได้รับการดูแลเอาใจใส่ ทำความสะอาดอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
  • คณะทำงานจำนวน 20 คน
  • คนในชุมชนจำนวน 40 คน
1,800.00 1,800.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เดือนละ 1 ครั้งได้ทำบุญร่วมกันของคนในชุมชน
  • เดือนละ 1 ครั้งได้พูดจา ปรึกษาหารือ ทำความเข้าใจ ลดปัญหาความขัดแย้ง
  • ได้ร่วมกันทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ให้กับวัด เช่นการทำความสะอาดบริเวณวัด
  • คณะทำงาน 15 คน
  • คนในชุมชน 45 คน
1,800.00 1,800.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทุกคนได่ร่วมกันทำบุญ ร่วมพูดคุย และรับประทานอาหารร่วมกัน ทำให้ความสามัคคีในชุมชนดีขึ้น
  • ได้ช่วยกันทำความสะอาดบริเวณวัด ทำให้ดูดีอยู่เสมอ
  • คณะทำงานจำนวน 20 คน
  • คนในชุมชนจำนวน 40 คน
1,800.00 1,800.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีคนเข้าวัดมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
  • คนที่เข้ามาวัดมีคนใหม่ที่ไม่เคยขึ้นมาเลยร่วมด้วย
  • มีการลงแรงช่วยกันพัฒนาเส้นทางเข้าวัด ทำให้คนด้านทิศตะวันตกของวัดสามารถเข้ามาร่วมกิจกรรมในวัดง่ายขึ้นและเพิ่มขึ้น

กิจกรรมหลัก : กิจกรรม "ธรรม=ธรรมชาติ" จำนวน 8 คร้งi

14,400.00 60 ผลผลิต
  • ปริมาณผู้เข้าร่วมประชุมและร่วมกิจกรรมในชุมชนเพิ่มขึ้น

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • จากการใช้วัดพระเป็นวันทำกิจกรรม หลังจากการถวายเพลเสร็จแล้ว ก็จะมีการจัดกิจกรรมให้คนที่มาวัดได้เรียนรู้ธรรมชาติภายในวัด ช่วยกันสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีภายในวัด เช่น ปลูกต้นไม้ ให้อาหารสัตว์ (ลิง) ทำให้คนคนการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจการอยู่ร่วมกันของธรรมชาติ และการใช้ธรรมในการดูแลรักษาธรรมชาติ
  • เด้กและเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมในวัดมากขึ้น เนื่องจากโรงเรียนใช้พุทธอุทยานเป็นพื้นที่เรียนรู้ด้านการศึกษาธรรมชาติ และศาสนาให้กะับเยาวชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 8 ครั้ง

  • คนในชุมชนและนอกชุมชน จำนวน 40 คน
1,800.00 1,300.00 60 40 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เห็นคนบางคนที่ไม่ค่อยได้เข้าวัดก็มาร่วมกิจกรรม ทำให้คนที่ห่างเหินจากวัดเริ่มเข้ามาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  • สถานที่ในวัดดูสวยงานขึ้นเนื่องจากจัดกิจกรรมทุกครั้งก็มีการพัฒนากันทุกครั้ง ปลูกต้นไม้กันทุกครั้ง และนอกจากนี้ยังมีการช่วยกันทำศาลาทางเข้าวัดแบบร่วมแรงร่วมใจ ช่วยกันลงแรง เพื่อพัฒนาวัดให้สวยงาม น่าอยู่ น่ามาศึกษาเรียนรู้ และเป็นจุดศูนย์กลางของชุมชน เป็นที่พึงพึงทางกาย ทางใจ สำหรับคนและสัตว์ได้เข้ามาอาศัย และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
  • วัดเป็นพื้นที่กลางในการจัดกิจกรรม เป็นพื้นที่เปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้พูดคุยกันมากขึ้น
  • คณะทำงาน 10 คน
  • เยาวชนและคนในชุมชน 30 คน
1,800.00 1,300.00 60 40 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนมาวัดเพิ่มขึ้น มีกลุ่มนักเรียน นักศึกษาขึ้น โดยโรงเรียนสามารถใช้วัดเป็นสถานที่มาศึกษาหาความรู้จากพระได้หลายเรื่อง ทั้งเรื่องธรรม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • เยาวชนที่ผ่านการอบรมเรื่อง สารเสพติด แอลกอฮอล์ บุหรี่ ได้รับการปลูกฝักคุณธรรม จริยธรรมเพิ่มขึ้น
  • เยาวชนผู้ร่วมโครงการได้มีโอกาสมาร่วมทำประโยชน์ต่างๆ เช่น กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • พระภิกษุสงฆ์
  • คนในชุมชน
1,800.00 1,100.00 60 32 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กิจกรรม ธรรม-ธรรมชาติ เป็นการนำคนในชุมชนมาร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา โดยทำกันเดือนละ 1 ครั้ง  ทำให้คนมาวัดมากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มกลุ่มเยาวชนมาทำให้มีการศึกษาเรียนรู้ของเยาวชน
  • มีการทำความสะอาดบริเวณวัด ปลูกต้นไม้เพิ่มเติมบริเวณวัด ทำให้สถานที่ดูสวยงามขึ้น น่าอยู่ น่ามอง และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้คนในชุมชน
  • แกนนำชุมชน คณะทำงาน จำนวน 20 คน
  • คนในชุมชนจำนวน 30 คน
  • เครือข่ายการทำงานจำนวน 10 คน
1,800.00 1,800.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนมีโอกาสได้พบปะ พูดคุยกัน เพื่อสร้างความเข้าใจและจะสามารถทำงานร่วมกันได้ โอกาสที่จะนำไปสู่ชุมชนที่สงบสุขได้
  • แกนนำชุมนคณะทำงาน จำนวน 20 คน
  • คนในชุมชน จำนวน 30 คน
  • เครือข่ายการทำงาน จำนวน 10 คน
1,800.00 1,800.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การที่คนในชุมชนได้ทำงานร่วมกัน รับประทานอาหารร่วมกัน และได้พูดคุยกันบ่อยๆ ทำให้ความสัมพันธ์ดีขึ้น มีการเสียสละมากขึ้น
  • แกนนำชุมชน คณะทำงาน จำนวน 15 คน
  • คนในชุมชน จำนวน 30 คน
  • เครือข่ายการทำงาน จำนวน 10 คน
1,800.00 1,800.00 60 55 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กิจกรรมนี้อย่างน้อยได้มีการพบปะพูดคุยกันของคนในชุมชน มีการเข้ามาดูแลสถานที่ที่เป็นศูนย์รวมของคนเขาเพ-ลาอย่างน้อยเดือนละครั้ง หลายคนไม่เคยร่วมงานกันก็ได้ร่วมงานกัน ไม่ค่อยรุ้จักกันก็ได้พูดคุยกัย อันจะนำไปสู่การพัฒนาร่วมกันในอนาคต
  • แกนนำชุมชน คณะทำงาน จำนวน 20 คน
  • คนในชุมชนจำนวน 30 คน
  • เครือข่ายการทำงานจำนวน 10 คน
1,800.00 1,800.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชุมชนได้พบปะกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
  • ได้สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน ระหว่างวัดกับชุมชน ระหว่างคนในชุมชนกับชุมชน
  • ได้มีการช่วยวัดบำเพ็ญประโยชน์ เช่น ตัดหญ้าบริเวณวัด หาอาหารให้ลิง
  • แกนนำชุมชน คณะทำงานจำนวน 20 คน
  • คนในชุมชนจำนวน 30 คน
  • เครือข่ายการทำงานจำนวน 10 คน
1,800.00 1,800.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้ร่วมได้เข้าใจในพุทธศาสนา ได้รู้จักการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
  • เพิ่มการพูดคุยที่มากขึน ได้ความเข้าใจซึ่งกันและกัน นำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมหิ้วปิ่นโตมาวัด นัดกันนำต้นกล้ามาปลูกi

4,500.00 60 ผลผลิต
  • ปริมาณผู้เข้าร่วมประชุมและร่วมกิจกรรมในชุมชนเพิ่มขึ้น
  • ปริมาณสัตว์ป่า ต้นไม้ เพิ่มขึ้น (ความสมบูรณ์ของพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืช)

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • การหิ้วปิ่นโตมาวัดพื่อทำบุญ นอกจากจะได้ถวายพระแล้ว ยังเป็นเครื่องมือในการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในชุมชน จากการล้อมวงรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน และการช่วยกันปลูกต้นไม้ ดูแลสิ่งแวดล้อมภายในวัด ซึ่งเป็นสถานที่ของส่วนรวม

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • คณะทำงาน
  • คนในชุมชน
  • เยาวชน
4,500.00 4,125.00 60 45 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนและนอกชุมชนหิ้วปิ่นโตมาวัด ทำบุญ ตักบาตร ถวายอาหารเพล พร้อมกับการฟังธรรมร่วมกันจากพระอาจารย์
  • ทุกคนช่วยกันปลูกต้นไม้รอบๆ บริเวณวัด เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในวัดและเขาเพ-ลา
  • เกิดแนวคิดหลายประการจากการฟังธรรมจากพระคุณเจ้า เช่น การฟังที่ได้ประโยชน์ การมีส่วนร่วมในชุมชน การอบรมบุตรหลาน เยาวชนที่ต้องใส่ใจให้มากขึ้น ฯลฯ
  • เกิดการนำเสนอแนวคิดส่วนบุคคลที่ไม่ค่อยปรากฏในหมู่ชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่ทำหน้าที่นั่งฟังอย่างเดียว

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมสะสมบุญ "ธนาคารศีล 5i

12,500.00 100 ผลผลิต
  • ปริมาณผู้เข้าร่วมประชุมและร่วมกิจกรรมในชุมชนเพิ่มขึ้น

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • เป็นวิธีการในการสร้างแรงบันดาลใจให้คนอยากเข้าวัด อยากทำความดี โดยเฉพาะเป็นการสร้างให้เยาวชนและคนในชุมชนเห็นความสำคัญของการทำความดี หันมาเข้าวัดเพิ่มมากขึ้น ช่วยงานในชุมชนมากขึ้น

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • ผู้เข้ามาสมัครเปฌนประชาชนบริเวณชุมชนเขาเพ-ลา จำนวน 100 คน
12,500.00 12,500.00 100 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการแข่งขันกันเพื่อเอาคะแนนและหวังได้รับการยกย่องพร้อมทั้งอยากได้ของรางวัล ผลก็คือคนจะเข้าวัดมากขึ้น เพราะเข้าวัด 1 ครั้งได้ 1 คะแนน กลายเป็นแรงจูงใจ ผู้ใหญ่ได้นำครอบครัวขึ้นมาด้ว คนในวัดจึงมากขึ้น

กิจกรรมหลัก : ประชุมคณะทำงาน และคณะกรรมการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณเขาเพขลา เดือนละ 1 ครั้งi

7,000.00 20 ผลผลิต
  • เกิดเวที วงพูดคุยปัญหาชุมชนอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • การมีพื้นที่ มีวงสนทนา ทำให้คณะทำงานเข้าใจแนวทางการดำเนินงานโครงการที่ตรงกัน และมีการวาแผนการทำงานร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 10 ครั้ง

  • คณะทำงานโครงการ จำนวน 15 คน
700.00 575.00 20 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานและคณะกรรมการการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณเขาเพ-ลา จำนวน 20 คน เข้าร่วมประชุมวางแผนการทำงาน
  • มีการมอบหมายภาระกิจให้คณะทำงานแต่ละคนเพื่อความชัดเจนในการทำงาน มีการแต่งตั้งที่ปรึกษาขึ้นเพื่อให้คำปรึกษหารือเรื่องต่างๆ แก่คณะทำงาน
  • คณะทำงานทราบแผนการดำเนินงาน แนวทางการดำเนินงานโครงการตรงกัน เพื่อที่จะได้ร่วมมือกันในการดำเนินงานโครงการให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุุประสงค์ของโครงการ
  • คณะทำงานโครงการ จำนวน 16 คน
700.00 600.00 20 16 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้มีการพูดคุยกันอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
  • การมีส่วนร่วมที่ดีขึ้นจากแต่เดิมที่เคยเป็นมา
  • ทุกคนในคณะทำงานมีหน้าที่รับผิดชอบชัดเจน เข้าใจบทบาทของตัวเอง และช่วยกันทำกิจกรรมตามแผนการดำเนินงานโครงการ
  • คณะทำงานโครงการ จำนวน 15 คน
700.00 700.00 20 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องบได้ทราบถึงความก้าวหน้าของโครงการ
  • ได้มีการหารือแนวทางการเตรียมความพร้อมในการดูและทรัพยากรและต้อนรับผู้มาเยือน
  • ได้หารือแนวทางการจัดหารอุปกรณ์ เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการบันทึกข้อมูล และใช้รายงานผลการจัดโครงการ
  • กำหนดแผนการจัดกิจกรรมบวชชีพราหมณ์ประจำปี 2557
  • คณะทำงาน จำนวน 13 คน
700.00 650.00 20 13 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ประธานคณะทำงาน นายสุพรรณ แสมรัมย์ รายงานผลการทำงานที่ ใกล้จะเสร็จสิ้นงวดที่ 1 ต้องเร่งดำเนินการตามเป้าพร้อมทั้งการรายงานทางอินเตอร์เน็ตไปเรื่อยๆ
  • มีการเสนอจัดกิจกรรมช่วงปีใหม่ เพื่อเป็นการทำบุญร่วมกันไปด้วย อาจจะมีกิจกรรมสนุกๆ เช่น แข่งขันกีฬา แลกเปลี่ยนของขวัญกันในชุมชน ทุกคนเห็นด้วยว่าควรจะจัด
  • มีการเสนอเกี่ยวกับ การมีส่วนร่วมของกรรมการว่า หลายท่านต้องจัดเวลาไว้พื่อการประชุมประจำเดือน หากไม่จำเป็นไม่ควรจะขาด เพราะการรับทราบการทำงานจะไม่ต่อเนื่อง
  • คณะกรรมการ ผู้เข้าร่วมประชุมรับทราบการดำเนินงาน ความก้าวหน้าการดำเนินงาน
  • กำหนดกิจกรรมช่วงปีใหม่ มีการแข่งขันกีฬาเพื่อความสนุกและเชื่อมความสามัคคี มีการแลกของขวัญกัน กิจกรรมเยาวชนในการแสดงออกด้านต่างๆ พร้อมมีรางวัล และกิจกรรมถวายภัตราหารพระภิกษุและรับประทานอาหารร่วมกัน
  • คณะทำงานและกรรมการท่องเที่ยวเชิงจิตรวิญญาณ จำนวน 20 คน
700.00 700.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วงพูดคุยไ้ด้สรุปผลงานช่วงที่ผ่านมา และปัญหาที่ยังมีคนเข้ามาร่วมน้อย ยังคงมีอีกหลายคนที่ยังไม่ได้มาร่วมกิจกรรม จำเป็นต้องขอความร่วมมือคณะทำงานและกรรมการช่วยกันทำความเข้าใจกับคนเหล่านั้นเพื่อเข้ามาร่วม
  • คณะทำงานและกรรมการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณเขาเพ-า จำนวน 22 คน
700.00 700.00 20 22 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เริ่มประชุมทุกคนทบทวนผลงานที่ผ่านมา  พร้อมทั้ง นำเสนอการติดต่อประสานงานกับการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่ง การท่องเที่ยวชุมชนเขาเพ-ลาต้องเชื่อมประสานและเป็นเครือข่ายอยู่
  • มอบหน้าที่ให้ อ.ธรรมนูญ เป็นผู้ประสานงานหลักกับเครือข่าย เช่น การเข้าร่วมประชุมกับเครือข่ายทั้งนี้เพื่อการเก็บข้อมูลที่จะมานำเสนอต่อทีมงานได้
  • คณะทำงานและกรรมการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ จำนวน 15 คน
700.00 875.00 20 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การหารือการจัดกิจกรรมงดเหล้าช่วงเข้าพรรษา ปี 2557 ที่จะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม ให้คนที่จะเข้าร่วมโครงการเตรียมตัง และคณะทำงานเริ่มหากลุ่มเป้าหมายได้ตั้งแต่บัดนี้เพื่องายต่อการทำงาน
  • การประชุมร่วมเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนที่เขาเพ-ลาเป็นเครือข่ายอยู่ได้มีการหารือเรื่องการประชุมสัญจร ในครั้งต่อไปในพื้นที่ บ้านนางกำ อำเภอดอนสัก ใครจะเป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุมก็เสนอตัวได้ หากไม่มีใครไปร่วมก็ส่ง อ.ธรรมนูญ ไปแทน
  • ประชุมคณะทำงาน และแกนนำชุมชนวางแผนการทำงาน ปรึกษาการทำงาน
700.00 700.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานได้มีโอกาสปรึกษาหารรือเดือนละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย
  • สามารถติดตามความก้าวหน้าในงานที่มอบหมายให้บางคนไปทำ เช่นเรื่องการประชุมการท่องเที่ยวจังหวัด โครงการที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวขอ้งกับเขาเพ-ลา
  • คณะทำงานและคณะกรรมการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ จำนวน 20 คน
700.00 700.00 0 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมได้ทราบความก้าวหน้าโครงการ
  • หลายคนได้นำเสนอปัญหาอุปสรรคที่ยังเป็นปัญหาและการแก้ปัญหาที่ผ่านมาได้สำเร็จ
  • หลายคนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น มากกว่าช่วงต้นโครงการ
  • คณะทำงานและคณะกรรมการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณบ้านเขาเพ-ลา จำนวน 20  คน
700.00 700.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ทำให้หลายคนทราบวิธีการแก้ปัญหาชุมชน
  • คนชุมชนเขาเพ- ลา ทราบว่าปัญหาเขาเพ-ลาอยุ่ตรงไหน รวมทั้งวิธีแก้ไข แต่ยังไม่สำเร็จเท่าที่ควร
  • การมีส่วนร่วมเป็นเรื่องสำคัญ การแก้ปัญหาของชุมชนต้องให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมสำรวจเขาเพ-ลา เพื่อการอนุรักษ์ (สำรววจป่า สำรวจใจ )i

7,500.00 50 ผลผลิต
  • มีเครือข่ายการทำงานเพิ่มขึ้น
  • จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติการในชุมชนเพิ่มขึ้น

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • การจัดกิจกรรมสำรวจป่า สำรวจใจ เป็นการฝึกสติ สมาธิให้คนที่เข้าร่วมกิจกรรมอยู่กับปัจจุบัน อยู่กะับสิ่งที่กำลังทำ คือ การเรียนรู้ธรรมชาติรอบๆ เขาเพ-ลา ทำให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และหวงแหนทรัพยากร ไม่ทำลาย ส่งผลให้ธรรมาติสมบูรณ์

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

  • ชาวบ้านผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมจำนวน 50 คน
7,500.00 8,000.00 50 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้การอยู่แบบธรรมชาติของป่าไม้ที่จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน หากขาดบางอย่างไปเช่นเฟิร์นที่ขึ้นตามต้นไม้ ต้นไม้จะขาดความชุ่มชื้น เป็นต้น

  • กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ว่า การอนุรักษ์ไม่ใช้การหา้มใช้ทรัพยากร แต่เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน

  • กลุ่มเป้าหมายได้ทราบถึงความจำเป็นที่ต้องรักษาป่าไม้ไว้ และหากไม่มีป่าจะเป็นอย่างไร กระตุ้นเตือนให้รักธรรมชาติมากขึ้น
  • คณะทำงาน 20 คน
  • คนในชุมชนและนักเรียน 60 คน
  • เครือข่าย เจ้าหน้าที่ป่าไม้ 20 คน
0.00 4,000.00 100 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ป่าไม้ในเรื่องของการดูแลรักษาป่า รวมทั้งการเฝ้าระวังรักษาทั้งป่าและทรัพยากรต่างๆของเขาเพ-ลา
  • กลุ่มเป้าหมายได้เห็นและรับรู้ว่า เขาเพ-ลา มีอะไรบ้างที่มีคุณค่าที่จำเป็นต้องดูแลรักษา รวมทั้งการรับทราบถึงประโยชน์ต่างๆ ที่ได้จากการดูแลรักษาป่าและทรัพยากรธรรมชาติ
  • เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ฝึกสมาธิ ฝึกสติ ในการเดินทางสำรวจป่า เน่ืองจากต้องคอยสังเกตสิ่งรอบข้าง และต้องเดินอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ใหเกิดอันตราย เป็นการกำหนดสติ และสมาธิให้อยู่กับสิ่งที่ทำในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังสอนให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนด้วย เพราะถ้าหากคนในชุมชน คนทีี่เข้ามาศึกษาเรียนรู้ในชุมชนไม่ช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ ก็อาจไม่มีป่า ไม่มีภูเขา ไม่มีแหล่งอาหารให้ลิง นก ค้างคาวแม่ไก่ ที่มาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมกาบนเขาเพ-ลา

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมสำรวจเขาเพ-ลา เพื่อการอนุรักษ์ ( แกนนำชุมชน เยาวชนในพื้นที่และภาคีสำรวจข้อมูลสภาพแวดล้อมในป่าฯ)i

10,200.00 60 ผลผลิต
  • มีเครือข่ายการทำงานเพิ่มขึ้น
  • ปริมาณสัตว์ป่า ต้นไม้ เพิ่มขึ้น (ความสมบูรณ์ของพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืช)
  • จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติการในชุมชนเพิ่มขึ้น

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • การนำเยาวชนลงพื้นที่ศึกษาเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติรอบเขาเพ-ลา ทำให้เกิดเครือข่ายในการทำงาน คือ การทำงานร่วมกับคณะครูของโรงเรียนที่พาเด็กมาเรียนรู้ นอกจากนี้ยังสามารถดึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาสร้างการเรียนรู้ให้กับเยาวชน เช่น เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ทำให้สามารถเพิ่มจำนวนผู้ที่เข้ามาศึกษาเรียนรู้ เข้าวัดเพิ่มมากขึ้น

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • แกนนำชุมชน จำนวน 15 คน
  • แกนนำเยาวชน จำนวน 15 คน
  • คนในชุมชน จำนวน 20 คน
  • ภาคีเครือข่าย จำนวน 10 คน (เจ้าหน้าที่ป่าไม้)
10,200.00 10,200.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีข้อมูลเกี่ยวพืชหายาก ไม้ใหญ่ พืชอาหาร พืชสมุนไพร ที่ควรศึกษาและอนุรักษ์
  • หลายภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และร่วมกันเพิ่มเติมพันธ์ไม้ที่หายากหรือใกล้สูญพันธ์
  • มีการนำพืชสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้ได้ทันที  เพิ่มภูมิปัญญาให้คนในชุมชน

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมสำรวจเขาเพ-ลา เพื่อการอนุรักษ์ (ประชุมแกนนำและภาคีเครือข่ายเพื่อสรุปข้อมูล)i

3,500.00 60 ผลผลิต
  • ได้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรในุชุมชน

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • จากการสำรวจและสังเกตด้วยตาเปล่า พบว่า จำนวนทรัพยากรในชุมชนเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ เช่น ลิงกัง นก งู ค้างคาวแม่ไก่ ซึ่งเป็นผลมาจากการร่วมกันอนรุรัก์ของคนในชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • แกนนำชุมชน จำนวน 15 คน
  • แกนนำเยาวชน จำนวน 15 คน
  • คนในชุมชน จำนวน 20 คน
  • ภาคีเครือข่าย จำนวน 10 คน (เจ้าหน้าที่ป่าไม้และ ส.อบต.)
3,500.00 3,500.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ที่ประชุมได้ทำการสรุปข้อมูล ยกระดับข้อมูลเป็นแผนปฏิบัติการเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานของคณะทำงานได้

กิจกรรมหลัก : กิจกรรม "คืนต้นไม้ให้เขาเพ-ลา" ( กิจกรรม "คืนกล้วยไม้ให้เขาเพ-ลา)i

27,500.00 100 ผลผลิต
  • ปริมาณสัตว์ป่า ต้นไม้ เพิ่มขึ้น (ความสมบูรณ์ของพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืช)

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • การร่วมกันนำกล้วยไม้ที่ได้จากการบริจาคของคนในชุมชนมาปลูกในวัดและบนเขาเพ-ลา เพื่อเพิ่มจำนวน และยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชนที่ต้องช่วยกันดูแลรักษา เป็นการเพิ่มจำนวนพันธุ์ไม้ให้ชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • คณะทำงาน
  • คนในชุมชนและนอกชุมชน
27,500.00 23,125.00 100 61 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วม มีทั้ง ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ คณะกรรมการ ประชาชนที่อยู่ใน/นอก ท้องที่และนักศึกษาของการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าชนะ
  • มีการคัดแยกกล้วยไม้บางส่วน นำไปปลูก (แขวน/ผูกไว้กันต้นไม้) และกล้วยไม้บางส่วนแยกไว้เพื่ออนุบาลในโรงเรือนเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการนำไปปลูกในโอกาสต่อไป
  • สิ่งที่ได้จากกิจกรรมในเรื่องนี้สิ่งแรกคือจิตสำนึกการเสียสละ หลายท่านยอมมอบกล้วยไม้ที่เลี้ยงมานานให้กับวัด ได้เห็นการมีส่วนร่วมจากคนหลายกลุ่มที่มาร่วมกันทำงาน ร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นรวมทั้งการให้คำเสนอแนะเฉพาะเรื่องคือการดูแลกล้วยไม้ที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะ
  • ในอนาคต พุทธอุทยานสำนักสงฆ์ถ้ำเขาเพ-ลา จะเป็นที่รวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ป่า และต่อจากนี้ไป กล้วยไม้ป่าที่เขาเพ-ลา จะไม่ถูกนำออกไปจากเขาเพ-ลา เพราะว่าต่อจากนี้ไปคงมีแต่คนนำกล้วยไม้มาให้ จึงเป็นเรื่องที่สามารถรักษาทรัพยากรธรรมชาติประเภทกล้วยไม้ได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กล้วยไม้พันธุ์รองเท้านารี  ที่มีในเขาเพ-ลา จะได้รับการรักษาไว้ให้อยู่กับเขาเพ-ลาได้ตลอดไป

กิจกรรมหลัก : กิจกรรม "คืนต้นไม้ให้เขาเพ-ลา" ( กิจกรรม "คืนต้นไม้ให้เขาเพ-ลา )i

15,000.00 100 ผลผลิต
  • ปริมาณสัตว์ป่า ต้นไม้ เพิ่มขึ้น (ความสมบูรณ์ของพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืช)

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • การร่วมกันนำต้นไม้ที่ได้จากการบริจาคของคนในชุมชนมาปลูกในวัดและบนเขาเพ-ลา เพื่อเพิ่มจำนวน และยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชนที่ต้องช่วยกันดูแลรักษา เป็นการเพิ่มจำนวนพันธุ์ไม้ให้ชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • นักเรียน กศน. อำเภอท่าชนะ 40 คน
  • คณะทำงานและคนในชุมชน 30 คน
  • เจ้าหน้าที่ป่าไม้ 10 คน
15,000.00 8,600.00 100 80 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • บริเวณที่ว่างเปล่าของเขาเพ-ลา มีต้นไม้เพิ่มเติม
  • ผู้เข้าร่วมได้ลงมือปลูกต้นไม้ด้วยต้นเองย่อมมีความรู้สึกหวงแหนต้นไม้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลให้ปัญหาการทำลายธรรมชาติลดลงหรือหมดไปในอนาคต
  • หลังจากปลูกต้นไม้แล้ว ทุกคนมีหน้าที่ในการดูแลรักษา รวมทั้งกำจัดวัชพืช ทำให้มีโอกาสได้มาพบปะพูดคุยกันบ่อยขึ้น ทำให้ความสามัคคีในชุมชนดีขึ้นด้วย

กิจกรรมหลัก : กระบวนการสร้างการเรียนรู้จากพื้นที่รูปธรรม "พื้นที่จัดการตนเอง"i

14,900.00 20 ผลผลิต
  • มีเครือข่ายการทำงานเพิ่มขึ้น

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • เป็นการสร้างการเรียนรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้คนในชุมชนเพิ่มขึึ้น และเพิ่มเครือข่ายการทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับหน่วยจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ จ.ชุมพร ที่เป็นพื้นที่ตัวอย่างในการทำงานที่ดี

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • คณะทำงานและคนในชุมชน จำนวน 35 คน
14,900.00 14,900.00 20 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กลุ่มเป้าหมาย/คณะทำงานได้เรียนรู้กระบวนการจัดการป่า และการจัดการน้ำ ที่ถูกวิธีสามารถอยู่ร่วมกันได้ระหว่างคนกับป่า รวมถึงการรักษาสมดุลของธรรมชาติให้ใกล้เคียงที่สุดที่หน่วยจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร
  • ได้แลกเปลี่ยนกับผู้รู้ คือ หัวหน้า พงศา ชูแนมที่สามารถนำมาเป็นแบบอย่างได้เป็นอย่างดี และยกตัวอย่างให้เห็นการอยู่ร่วมกันของคนกับป่า การใช้ประโญชน์จากป่าอย่างรู้คุณค่า และการสร้างจิตสำนึกในการร่วมกันดูแลป่า
  • ได้แนวคิดในการสร้างกติการชุมชน ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับบ้านเขาเพ-ลาได้

กิจกรรมหลัก : กิจกรรม" กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างถูกวิธี"i

13,100.00 30 ผลผลิต
  • มีเครือข่ายการทำงานเพิ่มขึ้น

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • เป็นการสร้างการเรียนรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้คนในชุมชนเพิ่มขึึ้น และเพิ่มเครือข่ายการทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับหน่วยจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ จ.ชุมพร ที่เป็นพื้นที่ตัวอย่างในการทำงานที่ดี และมีแนวคิดประสานเครือข่ายเพื่อดำเนินงาน "ธนาคารต้นไม้" ในชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

 

0.00 0.00 60 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการร่วมพูดคุยกับคณะทำงานโครงการ ได้ทราบความก้าวหน้าโครงการ ดังนี้

  • โครงการจัดกิจกรรมตามแผนการดำเนินงานโครงการไปแล้วกว่า 10 กิจกรรม
  • วันนี้เป็นการจัดกิจกรรม 2 กิจกรรม คือ ช่วงเช้า เป็นกิจกรรม "คืนต้นไม้ให้เขาเพ-ลา" โดยมีคณะครู นักเรียน จาก กศน. ท่าชนะ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ และคนในชุมชน กว่า 50 คน ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์ ตัดหญ้าบริเวณทางขึ้นวัด และร่วมกันปลูกต้นไม้บริเวณรอบๆ วัด และบนเขาเพ-ลา ส่วนช่วงบ่าย เป็นการจัดกิจกรรม "กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างถูกต้อง" โดยได้เชิญนายพงษา ชูแนม หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ มาให้ความรู้เรื่อง "ธนาคารต้นไม้" ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการร่วมกันอนุรักษ์ป่า
  • กิจกรรมกระบวนการสร้างการเรียนรู้จากพื้นที่รูปธรรม “พื้นที่จัดการตนเอง”  คณะทำงานและคนในชุมชน 35 คน ร่วมเดินทางไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากพื้นที่ต้นแบบ พื้นที่รูปธรรมที่มีการสร้างกติกาชุมชน ธรรมนูญชุมชนในการจัดการชุมชน ณ หน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ จ.ชุมพร เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเขาเพ-ลา ให้กับคนในชุมชน
  • กิจกรรมคืนกล้วยไม้ให้เข้าเพ-ลา ได้ดำเนินการไปแล้ว โดยการนำต้นกล้วยไม้กว่า 200 ต้น ขึ้นไปปลูกคืนในป่า แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากโดนลิงในพื้นที่กัดแทะ ทำลาย อาจเพราะนึกว่าเป็นอาหาร หรือสิ่งแปลกปลอมที่เพิ่งเข้ามาอยู่ในป่า
  • มีการจัดกิจกรรมอื่นๆ ตามแผนโครงการในทุกวันพระ ทำให้มีคนในชุมชนสนใจกิจกรรมที่ทางวัดจัด และเข้ามาทำบุญในวัดมากขึ้น โรงเรียนก็ใช้วัดเป็นพื้นที่ศึกษาหาความรู้ให้กับเยาวชน
  • นักเรียน กศน. อำเภอท่าชนะ 51 คน
  • คณะทำงานและคนในชุมชน 10 คน
  • เจ้าหน้าที่ป่าไม้ 10 คน
13,100.00 12,920.00 80 71 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 60 คน ประกอบด้วย ครูและนักศึกษา กศน. ประมาณ 40 คน เจ้าหน้าที่ป่าไม้ และชาวบ้านในชุมชน
  • นายพงษา ชูแนม หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำพะโต๊ะให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์ป่าด้วยโครงการธนาคารต้นไม้
  • ผู้เข้าร่วมได้ความรู้ ในเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
  • ชุมชนได้แผนการดำเนินงาน ในการจัดการทรัพยากร รวมทั้งกระบวนการปฏิบัติ
  • ได้เห็นความต้องการที่แท้จริงของชุมชนที่สะท้อนออกมาจากคนในชุมชนซึ่งแต่เดิมจะคิดจากคนเพียงกลุ่มเดียวคือคณะทำงาน

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมเฝ้าระวังเขาเพ-ลาi

15,700.00 40 ผลผลิต
  • ปริมาณสัตว์ป่า ต้นไม้ เพิ่มขึ้น (ความสมบูรณ์ของพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืช)

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • มีการตรวจตรา เฝ้าระวังการตัดไม้ทำลายป่า ล่าสัตว์บนเขาเพ-ลา โดยคณะทำงานโครงการ และเจ้าหน้าที่ป่าไม้เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • คณะทำงานจำนวน 20 คน
  • ภาคีเครือข่ายจำนวน 20 คน (เจ้าหน้าที่ป่าไม้)
15,700.00 15,700.00 40 40 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้คณะทำงานที่พร้อมที่จะทำงาน รู้วิธีการดูแล รักษา เฝ้าระวัง ทรัพยากรธรรมชาติ เขาเพ-ลา
  • ได้ภาคีที่พร้อมจะสนับสนุน ช่วยเหลือ กรณีที่มีเหตุ เช่นการบุกรุกป่าไม้หรือการล่าสัตว์
  • ได้มีแนวทางในการทำงานร่วมกัน มีแนวทางในการดูแล เฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติไม่ให้ถูกทำลาย

กิจกรรมหลัก : ปฏิบัติการสร้างข้อตกลงชุมชน "กติกาชุมชนบ้านเขาเพ-ลา" (ประชุมแกนนำ ภาคีเครือข่าย คนในชุมชน ร่วมกำหนดข้อตกลงการอยู่ร่วมกัน ในชุมชน)i

6,200.00 60 ผลผลิต
  • มีกติกาชุมชน ข้อตกลงในการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชน

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ได้กติกา ข้อตกลงที่คนในชุมชนช่วยกันคิด และเป็นข้อตกลงร่วม เช่น การไม่สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าในวัด การดูแลเรื่องการตัดไม้ทำลายป่า

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • คณะทำงาน จำนวน 20 คน
  • ภาคีเครือข่ายการทำงาน จำนวน 10 คน
  • คนในชุมชน 30 คน
6,200.00 6,200.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีกติกาชุมชนที่เกิดจากการเสนอของคนในชุมชน ใช้เป็นกรอบกติกา ข้อตกลงในการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชน
  • นัดวันที่จะประกาศการใช้กติกาชุมชนให้ทุกคนทราบและได้ถือปฏบัติ
  • จัดทำเป็นป้ายประการ ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติแสดงไว้ในที่เปิดเผย ใช้ข้อความสำคัญของกติกาชุมชน

กิจกรรมหลัก : ปฏิบัติการสร้างข้อตกลงชุมชน "กติกาชุมชนบ้านเขาเพ-ลา" ( เผยแพร่ ประกาศข้อตกลงชุมชน กติกาชุมชน )i

5,000.00 60 ผลผลิต
  • มีกติกาชุมชน ข้อตกลงในการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชน

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • คนในชุมชนปฏิบัติตามกติกาชุมชนที่ช่วยกันกำหนด เช่น ไม่สูบบุหรี่ในวัด ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ช่วยกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • จัดทำป้ายไวนิล จำนวน 10 ชิ้น
5,000.00 5,500.00 10 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีข้อตกลงชุมชนประกาศ ประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนรับรู้ รวมถึงผู้ที่มาเยี่ยมเยือนได้รับทราบและถือปฏิบัติ

กิจกรรมหลัก : เวทีสรุปบทเรียนการทำงานi

12,500.00 100 ผลผลิต
  • ได้บทเรียนการทำงานเพื่อนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้น

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ชุมชนสามารถเข้าใจกระบวนการทำงาน เรียนรู้วิธีการบริหารจัดการโครงการพัฒนาในพื้นที่และสร้างกามีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการพัฒนาชุมชนของตนองให้น่าอยู่
  • ชุมชนสามารถดำเนินงานโครงการได้ตามแผนการทำงาน และเข้าใจแนวทงการดำเนินงานโคงการพัฒนาในชุมนมากขึ้น แต่ยังขาดการจัดการด้านระบบเอกสาร และการจัดทำข้อมูลที่เป็นระบบ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

  • คณะทำงาน  จำนวน 10 คน
  • เยาวชน จำนวน 60 คน
  • ภาคีเครือข่าย จำนวน 10 คน
12,500.00 13,000.00 100 80 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการถอดบทเรียนการทำงาน สามารถสรุปบทเรียนได้ดังนี้

  1. ความคาดหวังในการดำเนินงานโครงการ
  • สร้างความสุขให้คนในชุมชน
  • สร้างความรัก ความสามัคคีในชุมชน
  • ฟื้นวิถีชุมชนแบบดั้งเดิม แบบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เกื้อกูลกัน
  1. เป้าหมายในการดำเนินงานโครงการ
  • ชุมชนเขาเพ-ลา อยู่ดี มีสุข
  1. กระบวนการทำงาน มีการจัดกิจกรรมกว่า 40 ครั้ง เฉลี่ยเดือนละ 3-4 ครั้ง ดังนี้
  • เดือนกันยายน 2556 ประชุมคณะทำงาน คณะกรรมการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญานเขาเพ-ลา / ประชุมคณะทำงาน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งในชุมชนและนอกชุมชน ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจให้คณะทำงาน แกนนำชุมชน และภาคเครือข่าย
  • เดือนตุลาคม 2556 กิจกรรมธรรม = ธรรมชาติ / ประชุมคณะทำงาน กรรมการการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญานเขาเพ-ลา / วงเสวนา ”ทางออกบ้านเขาเพ-ลา” (ทบทวน อดีต ค้นหาปัจจุบัน วาดฝันอนาคต) / กระบวนการสร้างการเรียนรู้จากพื้นที่รูปธรรม "พื้นที่จัดการตนเอง"
  • เดือนพฤศจิกายน 2556  สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างถูกวิธี / ประชุมคณะทำงาน และคณะกรรมการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณเขาเพ-ลา / กิจกรรม “ธรรม = ธรรมชาติ” / กิจกรรม “คืนกล้วยไม้ ให้เขาเพ-ลา” / วงเสวนา ”ทางออกบ้านเขาเพ-ลา” (ทบทวน อดีต ค้นหาปัจจุบัน วาดฝันอนาคต)
  • เดือนธันวาคม 2556 กิจกรรม “คืนต้นไม้ ให้เขาเพ-ลา” / ประชุมคณะทำงาน คณะกรรมการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญานเขาเพ-ลา / กิจกรรม “ธรรม = ธรรมชาติ” / กิจกรรมหิ้วปิ่นโตมาวัด นัดกันนำต้นกล้ามาปลูก / วงเสวนา ”ทางออกบ้านเขาเพ-ลา” (ทบทวน อดีต ค้นหาปัจจุบัน วาดฝันอนาคต) / เข้าร่วมปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
  • เดือนมีนาคม 2557 กิจกรรมสำรวจเขาเพ-ลา เพื่อการอนุรักษ์ สำรวจป่า สำรวจใจ (ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ) / กิจกรรม “ธรรม = ธรรมชาติ”
  • เดือนเมษายน 2557 กิจกรรมสำรวจเขาเพ-ลา เพื่อการอนุรักษ์ แกนนำชุมชน เยาวชนในพื้นที่ และภาคีเครือข่ายสำรวจข้อมูลสภาพแวดล้อมในป่าเขาเพ-ลา / วงเสวนา ”ทางออกบ้านเขาเพ-ลา” (ทบทวน อดีต ค้นหาปัจจุบัน วาดฝันอนาคต)  / กิจกรรมสะสมบุญ “ธนาคารศีล 5” / กิจกรรม “ธรรม = ธรรมชาติ” / ประชุมคณะทำงานและกรรมการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณเขาเพ-ลา
  • เดือนพฤษภาคม 2557 ประชุมคณะทำงานและกรรมการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณเขาเพ-ลา / กิจกรรมสำรวจเขาเพ-ลา เพื่อการอนุรักษ์ (ประชุมแกนนำและภาคีเครือข่ายเพื่อสรุปข้อมูล) / วงเสวนา ”ทางออกบ้านเขาเพ-ลา” (ทบทวน อดีต ค้นหาปัจจุบัน วาดฝันอนาคต)  / กิจกรรม “ธรรม = ธรรมชาติ” / ปฏิบัติการเฝ้าระวังเขาเพ-ลา /
  • เดือนมิถุนายน 2557 ปฏิบัติการสร้างข้อตกลงชุมชน “กติกาชุมชนบ้านเขาเพ-ลา” (ประชุมแกนนำชุมชน ภาคีเครือข่าย และคนในชุมชน ร่วมกันกำหนดข้อตกลงการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชน (กติกาชุมชน) ) / เผยแพร่ ประกาศใช้ข้อตกลงชุมชน กติกาชุมชน / วงเสวนา ”ทางออกบ้านเขาเพ-ลา” (ทบทวน อดีต ค้นหาปัจจุบัน วาดฝันอนาคต) / กิจกรรม “ธรรม = ธรรมชาติ” / ประชุมคณะทำงานและกรรมการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณเขาเพ-ลา /
  • เดือนกรกฎาคม 2557 ประชุมคณะทำงานและกรรมการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณเขาเพ-ลา / วงเสวนา ”ทางออกบ้านเขาเพ-ลา” (ทบทวน อดีต ค้นหาปัจจุบัน วาดฝันอนาคต) / กิจกรรม ธรรม-ธรรมชาติ
  • เดือนสิงหาคม 2557 ประชุมคณะทำงานและกรรมการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณเขาเพ-ลา / วงเสวนา ”ทางออกบ้านเขาเพ-ลา” (ทบทวน อดีต ค้นหาปัจจุบัน วาดฝันอนาคต) /
  • เดือนกันยายน 2557 ประชุมคณะทำงานและกรรมการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณเขาเพ-ลา / วงเสวนา ”ทางออกบ้านเขาเพ-ลา” (ทบทวน อดีต ค้นหาปัจจุบัน วาดฝันอนาคต) /
  • เดือนตุลาคม 2557 เวทีสรุปบทเรียนการทำงาน / กิจกรรมสำรวจเขาเพ-ลา เพื่อการอนุรักษ์ (สำรวจป่า สำรวจใจ) ครั้งที่ 2 / จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ
  1. ผลการดำเนินงานโครงการ
  • ธรรมชาติ

    • สิ่งแวดล้อมในชุมชนดีขึ้น ต้นไม้ สัตว์ป่า (ลิง นก งู ค้างคาวแม่ไก่) เพิ่มขึ้น (มีการปลูกต้นไม้เพิ่ม)
    • มีกฎ กติกาชุมชนในการร่วมกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
    • มีการปรับรูปแบบการท่องเที่ยวที่เอ้ือและสอดคล้องกับวิถีชุมชน (ท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ) อนุรักษ์วิถีชุมชน + จิตวิญญาณ (ฝึกสมาธิ สติ)
  • ชุมชน

    • ใช้ธรรมฟื้นวิถีชุมชน (เข้าวัด พูดคุย แลกเปลี่ยน) ชวนพี่น้องในชุมชนเข้าวัด ศึกษาธรรมในการรักษาธรรมชาติ
    • สร้างความเข้มแข็งของคน องค์กรในการดูแลชุมชนผ่านหลักธรรมคำสอนทางศาสนา
    • ใช้วัดเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมคน ร่วมพัฒนาชุมชน
    • มีแหล่งเรียนรู้ด้านธรรม ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    • มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชนเพิ่มขึ้น
    • คนในชุมชนสามารถลดการดื่มเหล้าในช่วงเทศกาลสำคัญได้ อย่างน้อย 20 คน
  • เยาวชน

    • ฝึกสมาธิ สติ โดยการเดินศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติจริง
    • เยาวชนได้ซึบซับวิถีชีวิต หลักธรรม คำสอนทางศาสนา
  1. บทเรียนการทำงาน
  • เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับคนในชุมชน คนนอกชุมชน และเยาวชนเพื่อการสืบทอด สืบสานศาสนา
  • มีการจัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
  • สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเยาวชนจากกิจกรรมที่ทำ เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง
  • การจัดกิจกรรมที่เหมาะสมต้องประสานความร่วมมือจากองค์กรภาคีภายนอกที่หลากหลาย เช่น ป่าไม้ โรงเรียน การท่องเที่ยวและกีฬา ธนาคารออมสิน ธกส. หน่วยอนุรักษ์พะโต๊ะ -
  1. ก้าวต่อไป
  • ใช้ป่าเป็นเครื่องมือในการสำรวจใจ
  • ส่งเสริมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงร่วมกับป่าไม้
  • สานต่่อกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ในชุมชน
  • คณะทำงานโครงการ จำนวน 30 คน
  • คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนบ้านคลองสง จำนวน 70 คน
  • เจ้าหน้าที่หน่วยอนุรักษืป่าไม้ จำนวน 20 คน
0.00 0.00 100 120 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากกระบวนการถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2557 - กันยายน 2558 สามารถสรุปการเรียนรู้ และผลการดำเนินงานโครงการ ได้ดังนี้

  1. การบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ พบว่า
  • ในส่วนของการเพิ่มทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน การดำเนินงานโครงการสามารถทำให้ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ เช่น กล้วยไม้ ต้นไม้ ลิง นก ค้างคาวแม่ไก่ เป็นต้น
  • ในส่วนของการพัฒนาศักยภาพของคนทำงาน ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกลไกการทำงานที่มีอยู่เดิม ให้มีศักยภาพมีความสามารถในการบริหารจัดการโครงการได้เอง แต่มีพระอาจารย์ชลธาร ทำหน้าที่เป็นแกนนำ คอยกำกับดูแลการทำงานแทนแกนนำชุมชน
  • ในส่วนของการสร้างภาคเครือข่ายการทำาน พบว่า มีภาคีเครือข่ายการทำงานเพิ่มขึ้น มีคนสนใจเข้ามาทำกิจกรรมการเรียนรู้ และช่วยพัฒนาชุมชนเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จ.สุราษฎร์ธานี เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เครือขายท่องเที่ยวชุมชน จ.สุราษฎร์ธานี โรงเรียนในเขตอำเภอท่าชนะ และอำเภอใกล้เคียง เป็นต้น
  1. ผลสำเร็จจากการทำงาน
  • ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น สัตว์ป่าเพิ่มขึ้น
  • คนในชุมชนและนอกชุมชน หันมาเข้าวัดมากขึ้น เยาวชนเข้าวัดมากขึ้น จากการที่โรงเรียนนำมาจัดกิจกรรมในวัด
  • วัดพเป็นพื้นที่กลาง เป็นพื้นที่เรียนรู้ของคนในชุมชนและนอกชุมชน

กิจกรรมหลัก : การเข้าร่วมกิจกรรม ร่วมประชุมกับ สจรส. สสส. พี่เลี้ยงโครงการ / จัดทำรายงานi

13,000.00 2 ผลผลิต
  • รายงานมีความสมบูรณ์ ถูกต้อง
  • การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามวัตถุประสงค์

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ชุมชนไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้ ทำให้การลายงานผลการจัดกิจกรมล่าช้า เพราะต้องอาศัยคนภายนอกช่วยทำให้ ซึ่งต้องเขาไปเอาข้อมูลมาทำ ทำให้บางครั้งการรายงานผล ไม่เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในชุมชน แต่ก็สามารถรายงานผลกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง
  • ชุมชนใช้งบประมาณโครงการตามวัตถุประสงค์และกิจกรรม

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

  • คณะทำงาน 1 คน
13,000.00 800.00 2 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้เรียนรู้การจัดกิจกรรมตามโครงการ
  • เรียนรู้วิธีการใช้งบประมาณ
  • เรียนรู้การบันทึกและการรายงานกิจกรรมโครงการทางอินเตอร์เน็ท

 

13,000.00 0.00 2 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานโครงการ 1 คน เป็นตัวแทนชุมชนเข้าร่วมปฐมนิเทศโครงการ เพื่อนำแนวคิด วิธีการทำงานที่ได้ไปถ่ายทอดต่อให้แกนนำโครงการคนอื่นๆ และคนในชุมชนทราบ
  • คณะทำงานโครงการสามารถจัดทำรายงานกิจกรรม รายงานผลการดำเนินงานโครงการ รายงานการเงิน ผ่านทางเว็บไซด์คนใต้สร้างสุขได้ และรายงานกิจกรรมจนสมบูรณ์ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้ทีมงานคนอื่นได้ช่วยกันทำงานเพื่อการแบ่งเบาภาระงาน
  • เอกสารการเงินได้รับการตรวจสอบ และคำแนะนำเพื่อการปรับแก้ให้ถูกต้อง สมบูรณ์
  • คณะทำงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ
0.00 3,000.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานสามารถสรุปกิจกรรมลงในเว็บไซด์ สรุปค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการ และจัดทำรายงานต่างๆ ได้อย่างสมบูุรณ์ พร้อมส่ง สสส.
2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์

 

 

2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์

 

 

2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
พระชลธาร ถาวโร พุทธอุทยานสำนักสงฆ์เขาเพ-ลา
  • เป็นผู้นำจิตวิญญาณ
  • สามารถเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมในชุมชนได้
  • เป็นนักคิด นักพัฒนา นักจัดกิจกรรม
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

พุทธอุทยานสำนักสงฆ์เขาเพ-ลา

  • เป็นศูนย์รวมของคน และเป็ฯจุดศูนย์กลางของชุมชนในการทำกิจกรรม
  • เป็นพื้นที่ปลอดเหล้า
  • เป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเยาวชนในการเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติ และเรียนรู้ธรรมไปพร้อมๆ กัน

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
  • ไม่มีสัญญาณอินเตอร์ในชุมชน
  • รวบรวมรายงานกิจกรรมหลายๆ ครั้งแล้วออกมาทำรายงานนอกชุมชนซึ่งมีระยะทางกว่า 20 กิโลเมตร
  • ให้มีการจ่ายค่าตอบแทนให้กับคนที่เดินทางออกมาทำรายงานกิจกรรม เพื่อเป็นค่าพาหนะในการทำงาน โดยเอาค่าจัดทำรายงานในงบประมาณที่วางไว้มาจ่าย
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน
  • โครงการสร้างการดำเนินงานโครงการ มีการออกแบบเป็นอย่างดี แต่ขาดการปฏิบัติ
1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน
  • แกนนำยังขาดศักยภาพและทักษะในการดำเนินงานโครงการ แต่มีพระชลธารที่สามารถเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมได้
1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน
  • บรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ
2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ
  • มีระบบและกลไกการบริหารจัดการโครงการ แต่ยังไม่สามารถทำตามระบบหรือกลไกได้ เนื่องจากกลไกที่วางไว้ ยังไม่เข้าใจบทบาทของตนเองมากนักในการบริหารจัดการโครงการ
2.2 การใช้จ่ายเงิน

เป็นไปตามแผนการดำเนินงาน และงบประมาณที่วางไว้

2.3 หลักฐานการเงิน

เมื่อได้รับคำแนะนำ ก็สามารถแก้ไขได้อย่างถูกต้อง

ผลรวม 0 0 3 0
ผลรวมทั้งหมด 3 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น
  • สามารถปิดโครงการได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ มีการจัดกิจกรรมครบตามแผนการดำเนินงานโครงการ
ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

  • สามารถปิดโครงการได้ตามแผนการดำเนินงานโครการ
  • วัดสามารถเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ของชุมชนและเยาวชนได้อย่างแท้จริง

สร้างรายงานโดย Yuttipong Kaewtong