แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 3

รหัสโครงการ 56-01506
สัญญาเลขที่ 56-00-1427

ชื่อโครงการ สร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ
รหัสโครงการ 56-01506 สัญญาเลขที่ 56-00-1427
ระยะเวลาตามสัญญา 1 กันยายน 2013 - 30 กันยายน 2014

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2 นายมนูญ พลายชุม
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 31 สิงหาคม 2014
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 6 กันยายน 2014
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นางพิไลวรรณ พรายชุม 83 หมู่ที่ 2 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 0810849766
2 นางสาวจารีย์ สมบูรณ์ 43 หมู่ที่ 2 ตำบล เขาพระบาท อำเภอ เชียรใหญ่ จังหวัด นครศรีธรรมราช 0873801214
3 นางวันทนา เส้งทั่น 23 หมู่ที่ 2 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
4 นางสาวสาคร ปานหนู 90/1 หมู่ที่ 2 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
5 พระเกียรติศักดิ์ สายพือ รองเจ้าอาวาสวัดทองพูน หมุ่ที่ 2 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 0810915543
6 นางสมศรี ด้วงทอง 181 หมู่ที่ 2 ตำบล เขาพระบาท อำเภอ เชียรใหญ่ จังหวัด นครศรีธรรมราช
7 นางสมจิตร อินทะศรี 15 หมู่ที่ 2 ตำบล เขาพระบาท อำเภอ เชียรใหญ่ จังหวัด นครศรีธรรมราช
8 นางสาลี พลายชุม 172 หมู่ที่ 2 ตำบล เขาพระบาท อำเภอ เชียรใหญ่ จังหวัด นครศรีธรรมราช
9 นางทำนอง สมัย 34 หมู่ที่ 2 ตำบล เขาพระบาท อำเภอ เชียรใหญ่ จังหวัด นครศรีธรรมราช
10 นางไพฑูรย์ หวานทอง 8 หมู่ที่ 2 ตำบล เขาพระบาท อำเภอ เชียรใหญ่ จังหวัด นครศรีธรรมราช

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

1.เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านทองพูนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสร้างกระบวนการมีสวนร่วม ลดปริมาณการใช้สารเคมีในภาคเกษตรของชุมชน

1.มีฐานเรียนรู้เกี่ยวเศรษฐกิจพอเพียง 3 ฐาน ได้แก่ ฐานทำปุ๋ยหมัก  ฐานน้ำหมักชีวภาพ  ฐานเกษตรวิถี
2. ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนา จาก 10 ครัวเรือนเพิ่มเป็น 40 ครัวเรือนภายใน  1 ปี

2.

2.เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเหมาะสม

1.กลุ่มเป้าหมายปลูกผักกินเองและบริโภคผักทุกวัน อย่างน้อยวันละครึ่งกิโลกรัม ร้อยละ 80
2.กลุ่มเป้าหมายมีการออกกำลังกายด้วยวิธีต่างๆ วันละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ เพิ่มเป็น เป็นร้อยละ 90 3.มีแนวทางลดอ้วนที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน 1 ชุด

3.

เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการ โดยทีม สสส.และสจรส.

  1. คณะทำงานโครงการเข้าร่วมการประชุมที่สสส./สจรส.ม.อ.จัดขึ้น
  2. มีรายงานความก้าวหน้า และรายงานฉบับสมบูรณ์จัดส่งสสส.
  3. มีการถ่ายภาพทุกกิจกรรมตลอดระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ และติดตั้งป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่ในสถานที่จัดกิจกรรม
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างกระบวนมีส่วนร่วมในการพัฒนา (10 ครั้ง)i

30,000.00 30 ผลผลิต

1.คณะทำงานเข้าร่วมประชุมครบ 10 ครั้ง ตามที่กำหนด 2.มีการแบ่งมอบหมายหน้าท่ี่การงานอย่างชัดเจน 3.มีกระบวนการพูดคุย แลกเปลี่ยน เรียนรู้ในการพัฒนางาน 4.มีฐานข้อมูลของชุมชน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

การเปลี่ยนแปลงในกลุ่มคน : กลุ่มคณะทำงานได้เรียนรู้กระบวนการพัฒนาบ้านทองพูน ตามสภาพปัญหา ได้ร่วมกันคิดวิธีการสร้างกลุ่มทำงานทุกคนได้เปิดโอกาสและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และแบ่งกลุ่มกันทำงาน การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม : กลุ่มเป้าหมายได้นำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนที่เหลือใช้ เช่นเศษขยะครัวเรือน มาทำน้ำหมักและปุ๋ยหมักชีวภาพ นำสมุนไพรมาแปรรูปเป็นสบู่หรือน้ำยาเอนกประสงค์เพื่อใช้ในครัวเรือน เป็นการลดการใช้สารเคมีและสร้างสุภาพ การเปลี่ยนแปลงกลไก : ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนแบบสมัครใจ และใช้วิถีชุมชนเป็นกลไกในการขับเคลื่อน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 10 ครั้ง

 

3,000.00 3,000.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปวาระประชุม
1.จัดประชุมคระทำงานเพื่อปรึกษาขับเคลื่อนกิจกรรม 2.ประชุมคณะกรรมการ เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการอย่างน้อย 10 ครั้ง 3.คณะกรรมการจัดหาครู ก เพื่อถ่ายทอดความรู้ 4.ชี้แจงให้ชาวบ้านรู้การทำฐานเรียนรู้ 10 ฐานภายในชุมชน

เนื้อหาวาระประชุมเรื่อง หัวหน้าโครงการแจ้งให้ทราบว่า ส.ส.ส. สนับสนุน ชื่อโครงการ สร้างคน สร้างชุมชนทองพูน ตามรอยพ่อ ต้องพัฒนาครู ก ทำเป็นฐานเรียนรู้ 10 ฐาน ดังนี้ 1.ฐานเรียนรู้เรื่องปุ๋ยหมัก 2.ฐานเรียนรู้เรื่องน้ำหมักชีวภาพ 3.ฐานเรียนรู้เรื่องน้ำส้มควันไม้ 4.ฐานเรียนรู้เรื่องสมุนไพร 5.ฐานเรียนรู้เรื่องการทำสบู่สมุนไพร 6.ฐานเรียนรู้เรื่องการปลูกผักสวนครัว 7.ฐานเรียนรู้เรื่องการทำน้ำยาเอนกประสงค์ 8.ฐานเรียนรู้เรื่องการทำบัญชีครัวเรือน 9.ฐานเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาพื้นบ้าน 10.ฐานเรียนรู้เรื่อง ยาสระผม ยาสีฟันสมุนไพร และต้องกำหนดให้มีการพัฒนาครู ก กำหนดระยะเวลาดังนี้ ครั้งที่ 1  วันที่ 18 ธันวาคม 2556  เรียนรู้เรื่อง น้ำยาเอนกประสงค์ น้ำยาสระผม สบู่ ครั้งที่ 2  วันที่ 23 ธันวาคม 2556  เรียนรู้เรื่อง น้ำหมักชีวภาพ ทำปุ๋ยหมัก สมุนไพรไล่แมลง ครั้งที่ 3 วันที่ 24 ธันวาคม 2556  เรียนรู้เรื่อง บัญชีครัวเรือน ปลุกผักปลอดสารพิษ ยาสีฟันสมุนไพร

 

3,000.00 3,000.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

  นางจารีย์ สมบูรณ์  ผู้รับผิดชอบชี้แจงโครงการ สร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ ด้วยวิถีเกษตรพอเพียง หรือลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน โดยการประชุมครั้งนี้เรามาเตรียมการทำงานฐานเรียนรู้จำนวน 3 ฐาน โดยมีฐานต่างๆดังนี้ 1. น้ำยาเอนกประสงค์ 2.น้ำยาสระผมสมุนไพร 3.สบู่สมุนไพร เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน โดยมอบหมายให้ อสม. ม.2 ทองพูน และประชาชน 10 ครัวเรือน จัดกิจกรรมทำฐานโดยให้ทุกคนมีส่วนร่วม  โดยมีครูสอนในการทำฐานเรียนรู้ โดยมอบหมายให้
1. ฐานน้ำยาเอนกประสงค์    นางวันทนา เส่งทั่น  2 นางสมศรี ด้วงทอง น.ส. สาคร ปานหนู , จารีย์  สมบูรณ์ , วาสนา  ทองส่งโสม , วิไลวรรณ พลายชุม 2.ฐานน้ำยาสมุนไพร      ทำนอง สมัยม , บุญนี ชูแสง, สาลี พลายชุม, ปลิตา แก้วศิลา, เสาวภา เรืองเอียด, แววมยุรา แก้วกาญจน์ 3.ฐานสบู่สมุนไพร ไพทูรณ์ หวานทอง,รสสุคนธ์ ทองสงฆ์,เพ็ญศรี ศรีวาริน,สมจิตร อิทรศรี,จินดา หนูเดช,หนูน้อย สมัย วาระที่ 2 นางจารีย์ สมบูรณ์  ได้ชี้แจงให้ทุกคนทำงานที่ได้รีบมอบหมายให้ดีโดยหลังจากนี้เรามีแกนนำประมาณ 30 คน เพื่อมาเป็นครู ก และแกนนำครบ 30 คน แล้วเราจะพยายามเผยแพร่กิจกรรมตามโครงการสร้างคนสร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ ด้วยวิถีเศรษฐกิจพอเพียง หรือผู้เข้าร่วมโครงการให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี ทางแกนนำและผู้ดำเนินโครงการจำนวน 100 คน และเราจะปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนทองพูนมาใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ได้มีการให้ปลูกผักกินเอง ลดการใช้สารเคมีหันมาทำน้ำยาเอนกประสงค์ น้ำยาสระผม สบู่สมุนไพร ทำใช้เองในครัวเรือน

 

3,000.00 3,000.00 30 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประธานแจังให้ทราบว่า สิ่งที่พวกเราทำต้องการให้ทุกคนในชุมชนมีส่วนในการพัฒนาสังคม สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อด้วยวิถีเศรษฐกิจพอเพียง วันนี้เราได้ตั้งคณะกรรมการทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีการวางแผนการทำงานพร้อมทั้งมอบหมายงานที่ได้รับผิดชอบให้ชัดเจน กลุ่มเป้าหมายที่ต้องให้ความสำคํญคือ เยาวชน  อสม.และแกนนำชุมชน รวมทั้งประชาชนทุกคนที่สมัครใจ
จากการประชุมสิ่งที่ได้เรียนรู้คือ ผู้นำต้องมีความรู้ เกี่ยวกับการทำงาน เรียนรู้เกิดความสามัคคี ขอย้ำเวลาที่ทุกต้องให้ความสำคัญคือ วันที่ 18 ธันวาคม 2556 มีการเรียนรู้เรื่อง น้ำยาเอนกประสงค์ น้ำยาสระผม สบู่ วันที่ 23 ธันวาคม 2556  มีการเรียนรู้เรื่อง น้ำหมักชีวภาพ ทำปุ๋ยหมัก สมุนไพรไล่แมลง วันที่ 24 ธันวาคม 2556 มีการเรียนรู้เรื่อง บัญชีครัวเรือน ปลุกผักปลอดสารพิษ ยาสีฟันสมุนไพร ขอให้ทุกคนเข้าร่วมกิจกรรม ตามที่ได้กำหนดด้วย 

 

3,000.00 3,000.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประธานได้ชี้แจงให้ทราบว่า ตอนนี้โครงการได้พัฒนาพอสมควร มีการจัดทำฐานเรียนรุ้ของ ครู มีการฝึกปฏิบัติ และเรารับสมัครประชาชนเข้าร่วมกระบวนการ
นายทำนอง สมัย ได้ชี้แจงเรื่องการพัฒนาโครงการสร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ ด้วยวิถีเกษตรพอเพียง โครงการนี้เราทำเป็นเวลา 1 ปี เราจะมีสมาชิกเพิ่มขึ้น เป็นจำนวน 100 คน เพื่อปรึกษาการทำงานและโครงการต่างๆ การทำงานของพวกเรา มีคณะกรรมการเบิกจ่ายเงิน 3  คน คือ 1. นางสาวจารีย์    สมบูรณ์  2.นางวันทนา  เส่งทั่น และ 3.นางวิไลวรรรณ  พลายชุม เสนอว่า้ถ้าต้องการอะไรเพิ่มเติมให้บอกคณะกรรมการชุดนี้ เพื่อจะได้ประสานงานของบเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขอให้ประสาน อสม.  ด้วย ตอนนี้สิ่งที่เราคาดว่าจะทำได้คือ
-จัดทำฐานเรียนภายในชุมชน จำนวน 10 ฐานเรียนรู้ -มีกระบวนการถ่ายทอดความรู้สู่โรงเรียนทองพูน และวัดทองพูน -ให้นักเรียนปลูกผักไว้เป็นอาหารกลางวันและปลุกสมุนไพรไว้ใช้ในครัวเรือน และในการประชุมวันนี้ พี่เลี้ยงได้ติดตามเยี่ยมโครงการด้วย ตรวจสอบเอกสาร สิ่งที่แนะนำ 1.กิจกรรมสามรถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า 2.การเงินต้องเบิกจ่ายตามจริง
3.ทุกกิจกรรมต้องรายงาน

คณะทำงาน 30 คน เข้าร่วมประชุม

3,000.00 3,000.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นายทำนอง  สมัย ได้ชี้แจงโครงการสร้างคน สร้างชุมชนทองพูน ตามรอยพ่อ  แบบเศรษฐกิจพอเพียงและยั่งยืน  เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เช่น  ปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเองในครัวเรือน  โดยใช้น้ำหมักชีวภาพหรือปุ๋ยหมักชีวภาพที่เราทำขึ้นเองเพื่อใช้ปลูกพืชผักสวนครัว  โดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและดิน  โดยเราจะใช้เศษอาหารที่เหลือใช้จากครัวเรือน หรือผัก ผลไม้ มาทำน้ำหมักหรือปุ๋ยหมัก  เพื่อลดต้นทุนในการผลิต วาระที่ 2 วันนี้นายทำนอง  สมัย  จะสาธิตในการทำน้ำยาอเนกประสงค์  เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชน  เพื่อไปใช้ในครัวเรือน  เช่น ใช้ล้างจาน ซักผ้าก็ได้โดยไม่ต้องไปซื้อท้องตลาด และไม่มีสารเคมีตกค้าง  มลภาวะไม่เป็นพิษ  ช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

ทีมคณะทำงาน 30 คน ประกอบด้วย
-ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วย 3 คน
-กรรมการหมู่บ้าน 5 คน
-ทีม อสม 10 คน
-สอบต. 1 คน -ทีมกู้ชีพฉุกเฉิน 3 คน
-ปราชญ์ชุมชน 3 คน
-ทีมเยาวชน 6 คน

3,000.00 3,000.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กินกรรม การดำเนินงาน ต้องมีการเลื่อนหลายกิจกรรม เพราะประสบปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ และปัญหาการเมือง ทำให้กลุ่มเป้าหมายต้องเคลื่อนที่ตลอดเวลา
การสรุปครั้งนี้
นางวาสนา  ทองส่งโสม  เปิดกล่าวประชุมกับประชาชน เรื่อง ออมทรัพย์เพื่อการผลิตและเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเพิ่มรายได้  ลดรายจ่ายในครัวเรือน นางสาวอารีย์  สมบูรณ์ ได้ชี้แจงโครงการสร้างคน  สร้างชุมชนทองพูน  ตามรอยพ่อ  แบบเศรษฐกิจพอเพียงให้ความรู้ปลูกพืชโดยการใช้น้ำหมักชีวภาพ หรือปุ๋ยหมัก รณรงค์ให้มีการออกกำลังกายวิถีชุมชนโดยการเดิน  เพื่อพิชิตความอ้วนเน้นการกินผักใบเขียว  จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมนูผักปลอดสารพิษสอดคล้องกับวิถีชุมชน  โดยต่อยอดจากครูภูมิปัญญา

1.ทีมคณะทำงาน 30 คน ประกอบด้วย -ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วย 3 คน  -กรรมการหมู่บ้าน 5 คน  -ทีม อสม 10 คน  -สอบต. 1 คน -ทีมกู้ชีพฉุกเฉิน 3 คน  -ปราชญ์ชุมชน 3 คน  -ทีมเยาวชน 6 คน

3,000.00 3,000.00 30 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้คณะทำงาน ได้สรุปผลจากการดำเนินงาน สิ่งที่ต้องการคืออยากให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในโครงการสร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ แบบเศรษฐกิจพอเพียง  ลดรายจ่ายในครอบครัว หลังจากดำเนินกิจกรรมไปแล้ว  ส่ิ่งที่พบคือ
-ลดรายจ่ายในครัวเรือน -โดยการปลกผักกินเองโดยใช้น้ำหมักในครัวเรือน -ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  ที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน

สิ่งที่ได้เกินความคาดหมาย
-ประชาชนปลูกผักปลอดสารพิษ  โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ -จัดกลุ่มร่วมกันทำเมนูผัก เพื่อพิชิตลดความอ้วน

ส่ิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ ประชาชนได้เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและการใช้สมุนไพร

ปัญหาที่พบคือ ปัญหาภัยแล้ง ทำให้กิจกรรมต้องระงับ และเลื่อนไปก่อน

.ทีมคณะทำงาน 30 คน ประกอบด้วย -ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วย 3 คน
-กรรมการหมู่บ้าน 5 คน
-ทีม อสม 10 คน
-สอบต. 1 คน -ทีมกู้ชีพฉุกเฉิน 3 คน
-ปราชญ์ชุมชน 3 คน
-ทีมเยาวชน 6 คน

3,000.00 3,000.00 30 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

  วันนี้คณะทำงานมีการประชุม เพื่อวางแนวทางการดำเนินงาน ในรอบถัดไป โดย
นางสาวจารีย์  สมบูรณ์ ได้กล่าวในการประชุมโครงการสร้างคน  สร้างชุมชนทองพูน ตามรอยพ่อ ต้องสรุปเพื่อหาจุดเด่น จุดด้อย ในการพัฒนาชุมชนตามโครงการที่ได้เสนอไว้ และเน้นเรื่องการออกกำลังกายเพื่อสร้างสุขภาพ  ทานผักใบเขียวและผักหลากสีเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพแข็งแรงปลอดโรค  โดยปลูกผักปลอดสารพิษ  โดยใช้น้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมัก

กิจกรรมที่จะพัฒนาต่อไป
1 ประสานงานกับโรงเรียน เพื่อร่วมกิจกรรม โดยเน้นให้น้กเรียนปลูกผัก ทำน้ำหมัก และปุ่ยหมัก ต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้การลดปุ่ยเคมี สารเคมีในชีิวิตประจำวัน
2 ประสานกับกลุ่มเยาวชน  เพื่อให้ร่วมเรียนรู้กับฐานเรียนรู้ที่บ้าน มุ่งเน้นให้เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
3 จัดทำฐานเรียนรู้ และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าไปเรียนรู้ร่วมกัน
4 ต

ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย กรรมการหมู่บ้าน อสม สมาชิกอบต ปราชญ์ชุมชน ทีมเยาวชน  พระที่เป็นคณะทำงาน

3,000.00 3,000.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้คณะทำงานได้มีการประชุมและรายงายผลการดำเนินงานดังนี้ สิ่งที่เกิดขึ้น -ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิถีเกษตร มีการประหยัด และการออมเกิดขึ้น ประชาชนสุขภาพดีขึ้น

ชุมชนมีความเข้มแข็ง คนในชุมชนรู้จักใช้ชีวิตอย่างพอเพียง และลดการใช้สารเคมี

สิ่งที่เกิดขึ้นเกินความคาดหมาย  -ภูมิปัญญาได้รับการสืบทอด อนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี และเกิดความรักความสามัคคีของคนในชุมชนมากยิ่งขึ้น

คณะทำงาน30 คน

3,000.00 3,000.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้คณะทำงานได้มีการสรุปงาน ติดตามและประเมิณผลโดยมีดังนี้

สิ่งที่เกิดขึ้น -ประชาชนมีความรู้ที่ถุกต้องและเหมาะสมกับการปรับสภาพพื้นที่ทางการเกษตร
ประชาชนมีสุขภาพดี  คนในชุมชนได้ทานผักที่ปลอดสารพิษ ลดการใช้สารเคมี ชุมชนน่าอยู่  คนในชุมชนรักกัน สามัคคีกันมากยิ่งขึ้น
ประชาชนรู้จักการใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียง  ประหยัดอดออม ลดค่าใช้จ่ายเพิ่มรายได้

กิจกรรมหลัก : การสร้างกระบวนการทำงาน โดยจัดทำฐานเรียนรู้และครู ก ( 3 ครั้ง)i

5,400.00 30 ผลผลิต

1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 30 คน
2.มีการจัดทำฐานเรียนรุ้ชุมชน 3 ฐาน
3.มีกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 4.มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

การเปลี่ยนแปลงในกลุ่มคน : กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้แนวคิดการพัฒนาชุมชนแบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้วัสดุในชุมชน และเรียนรู้วิธีการลดรายจ่ายในครัวเรือน มีการเรียนรู้ภูมิปัญญาและสมุนไพรชุมชน การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม : กลุ่มเป้าหมายมีการเรียนรู้วิธีการนำวัสดุเหลือใช้ในชุมชนมาทำเป็นปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ มีการปรับปรุงคุณภาพดิน มีการปรับสภาพน้ำ และลดการใช้สารเคมีในชุมชน  เรียนรู้การทำบัญชีเพื่อลดรายจ่ายครัวเรือน การเปลี่ยนแปลงกลไก : กลุ่มเป้าหมายได้แบ่งกลุ่มในการเรียนรุ้และแบ่งกลุ่มในการขับเคลื่อนงาน โดยใช้วิถีพื้นบ้านเป็นกลไกขับเคลื่อนงาน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

 

1,800.00 1,800.00 15 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นางสาวจารีย์ สมบูรณ์ ผู้รับผิดชอบโครงการได้เปิดการประชุมและชี้แจงเรื่องโครงการ สร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ โดยการประชุมครั้งนี้เราได้ตัวแทนจำนวน 30 คน เพื่อเป็นแกนนำในการพัฒนา การลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและใน 30 คน วันนี้เราจะมาเรียนรู้ 3 ฐาน หลังจากนั้นเราจะหาครัวเรือนต้นแบบ 10 ครัวเรือน นายทำนอง สมัย เป็นปราชญ์ชุมชนหมู่บ้านได้แนะนำวิธีการทำน้ำยาเอนกประสงค์ สบู่ ยาสระผม -น้ำยาเอนกประสงค์ ส่วนผสม N70  1  กก. , F24  1 กก. , เกลือ 2 กก. ,น้ำเปล่า 10 ลิตร, กรดมะนาว 2 กรัม, ผงฟอง 2 กรัม ,หัวน้ำหอม 10 CC
วิธีการทำ นำ  N70  ใส่ภาชนะกวนจนเป็นสีขาวประมาณ 25 นาที ละลายเกลือแล้วเติมทีละนิด เติมน้ำเปล่าทีละลิตรแล้วเติม F24 กวนจนเข้ากันใส่ผงฟอง กรดมะนาว หัวน้ำหอม กวนจนเข้ากัน เสร็จตั้งจนฟองยุบตักใส่ขวด -น้ำยาสระผมสมุนไพร ส่วนผสม  N70  1  กก. ,เกลือ 2 กรัม ,น้ำมะนาว 4 ช้อนโต๊ะ ,สมุนไพร ดอกอัญชันหรือขมิ้น, น้ำเปล่า 3 ลิตร , ผงนุ่ม 2 กรัม วิธีการทำ ใส่เอ็ม 70 ลงภาชนะกวนจนเป็นสีขาว ประมาณ 30 นาที เติมเปล่าทีละลิตร ละลายเกลือใส่ทีละนิด เสร็จใส่ผงนุ่มกวนให้เข้ากัน ใส่น้ำมะนาว ใส่ดอกอัญชัน กวนจนเข้ากัน เสร็จตั้งจนฟองยุบตักใส่ขวด -สบู่สมุนไพร ส่วนผสม  วาสลิน 1 กก ,น้ำสมุนไพร(ขมิ้น) 1 ช้อนโต๊ะ, น้ำหอม 10 ซีซี วิธีการทำ นำวาสลินใส่ลงไปภาชนะ นำไปตั้งในชามน้ำเดือด(เหมือนต้มไข่) รอจนเกล็ดสบู่ละลายเป็นน้ำเหลวใส่เติมสมุนไพร เช่นขมิ้นหรือมะขาม คนให้เข้ากันแล้วดับไฟตั้งทิ้งไว้ รอจนอุณหภูมิลดลง เติมกลิ่นตามต้องการ เทสบู่ที่กวนแล้วลงในพิมพ์ที่เตรียมไว้ ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชม. เดาะสบู่ออกจากพิมพ์ แล้วทำการห่อด้วยพิมพ์ยึดสบู่จนคงรูปอยู่ได้นาน

 

1,800.00 1,800.00 15 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นายทำนอง สมัย  ครู ก หรือปราชญ์ชุมชนได้ชี้แจงโครงการสร้าง สร้างชุมชนทองพูนรอยพ่อ ด้วยวิถีการเกษตรพอเพียงโดยในวันนี้ เรามาเรียนรู้ 3 ฐาน 1. การทำปุ๋ยหมัก 2.น้ำหมักชีวภาพ 3. สมุนไพรไล่แมลง   เพื่อไปใช้ในการเกษตรของครัวเรือน เพื่อเห็นกลไกหรือบทเรียนที่เกิดจากการทดลองใช้เกษตรวิถีและชีวิตที่พอเพียงในบ้านตนเองทุกคนหันมาทำปุ๋ยหมักใช้เองเพื่อลดต้นทุนการผลิต ฐานที่ 1 การทำปุ๋ยหมัก ส่วนผสม 1). ขี้เถ่า 3 กก.    2). แกลบ 5 กก.    3). ขี้วัว 5 กก.  4).เศษผัก 10 กก.  5).รำเนียน 5 กก.                  6).กากน้ำตาล  7).น้ำหมัก 2 กก. ผสมขี้เถ้า แกลบ ขี้วัว เศษผัก รำเบียน กากน้ำตาล น้ำหมัก รวมเข้ากันให้หมด คนให้เข้ากันรดน้ำเปล่าจนเปียก ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน รอจนเปื่อยเอาใส่ต้นไม้ปลูกผัก ฐานที่ 2 น้ำหมักชีวภาพ ใช้เศษผักเศษอาหารในครัวเรือนหรือเศษผักข้างบ้าน 1.เศษผัก  2. เศษอาหารในครัวเรือน 3. เศษผลไม้ 4.เศษผักตบชวา 5.กากน้ำตาล 6. น้ำเปล่า น้ำเศษผักทุกอย่างลงในภาชนะเติมน้ำเปล่าใส่กากน้ำตาล เสร็จแล้วปิดฝาภาชนะทิ้งไว้ประมาณ 3 เดือน ฐานที่ 3 สมุนไพรไล่แมลง ใช้ในข้าวหรือปลูกผักปลอดสารพิษ 1). ข่า 1 กก.  2).ใบกระเทียม 1 กก.          3).ฟ้าทะลายโจร 1 กก  4).กากน้ำตาล 2 กก.  5).บอระเพ็ด 1  กก. 6).น้ำเปล่า 15 กก. นำใบกระเทียม ฟ้าทะลายโจร ข่า บอระเพ็ด สับเป็นชิ้นเล็กๆนำใสภาชนะเติมน้ำเปล่าละกากน้ำตาล หมักประมาณ 5-7 วัน แล้วนำไปฉีดพ่นในนาข้าว

 

1,800.00 1,800.00 15 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

  นายทำนอง สมัย ได้ชี้แจงโครงการสร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ ด้วยวิถีทางการเกษตรพอเพียง เพื่อลดใช้จ่ายในครัวเรือนเพียงโดยวันนี้เรามาเรียนรู้ 3 ฐาน 1. การยาสีฟันสมุนไพร 2. ปลูกผักปลอดสารพิษ 3.บัญชีครัวเรือน เพื่อใช้ในครัวเรือน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 1. การทำยาสีฟันสมุนไพร   1). พิมเสน ครึ่ง กก.    2). การบูร ครึ่ง กก.    3). เมนทอล ครึ่ง กก.  4). เกลือ 2 ช้อนโต๊ะ  5).แป้งข้าวจ้าว 2 ช้อนโต๊ะ 5). รากข่อย ใส่พิมเสนเมนทอลตำจนละเอียด ผสมการบูรเกลือ คนให้เข้ากัน ใส่แป้วข้าวจ้าวพอประมาณคนเข้ากันแล้วตักใส่ภาชนะ 2. การปลูกผักปลอดสารพิษ 1).มะเขือ  2).แตงกวา  3).ถั่วฝักยาว เอาปุ๋ยหมักใส่แผงเอาเมล็ด มะเขือ แตงกวา ถั่วฝักยาว ใส่ในแฝงแล้วไม้จิ้มเมล็ดตั้ง  ในหลุมแล้วรดน้ำประมาณ 1 อาทิตย์
3. บัญชีครัวเรือน   ลงบัญชีรายรับรายจ่าย

กิจกรรมหลัก : สร้างวิทยากรกระบวนการและจัดทำฐานเรียนรู้ชุมชน (1ครั้ง)i

2,400.00 20 ผลผลิต

1.กลุ่มเป้าหมาเข้าร่วมกิจกรรม 20 คน
2.มีการจัดทำฐานการเรียนรู้ไว้ในครัวเรือน
3.มีการเปลี่ยนวิธีคิด และทัศนคติในเชิงบวก


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

การเปลี่ยนแปลงในกลุ่มคน : มีการสร้างฐานการเรียนรู้โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มในการเรียนรู้ทั้ง 4 ฐาน การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม : กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้เรื่องน้ำหมัก ปุ๋ยหมัก การทำสบู่  น้ำยาเอนประสงค์ และการใช้สมุนไพร การเปลี่ยนแปลงกลไก : ใช้ครู ก เป็นผู้ถ่ายทอด และกลุ่มคนที่สนใจก็ไปเรียนรู้จากครู ก ส่งเสริมให้รักและเชื่อถือกันในชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

 

2,400.00 2,400.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.แกนนำชุมชน ร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากครูภูมิปัญญา ซึ่งได้ไปทำกิจกรรมต่อที่บ้าน ทุกคนเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี
2.ฐานเรียนรู้ในบ้านของตนเอง ได้แก่ ปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ  น้ำส้มควันไม้  การทำสบู่และยาสระผมจากสมุนไพรสด น้ำยาเอนกประสงค์ 3การจัดกิจกรรมดังกล่าว เป็นสิ่งที่ดี  สามารถถ่ายทอดไปยังกลุ่มเป้าหมาย และได้ร่วมกันเขียนแนวทางปฏิบัติ 4.สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ การทำำบัญชีครัวเรือน  ทำให้เห็นเพิ่มรายได้ การลดรายจ่าย 

กิจกรรมหลัก : สร้างวิทยากรหมู่บ้านและสร้างจิตอาสาi

15,600.00 130 ผลผลิต

1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 130 คน 2.มีกลุ่มเป้าหมายสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม 130 คน 3.เปลี่ยนทัศนคติในเชิงบวกเกี่ยวกับการพัฒนาหมู่บ้าน 4.เกิดครู ก และ ครู ข ในการพัฒนางาน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

การเปลี่ยนแปลงในกลุ่มคน : เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนในชุมชนได้เรียนรู้การดำเนินงานตามโครงการร่วมกัน และแก้ปัญหาให้ตรงกับความต้องการของชุมชน การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม : กระบวนการพัฒนาตามโครงการใช้วัสดุที่มีอยู่ในชุมชน ภูมิปัญญา และองค์ความรู้จากชุมชนมาพัฒนางาน การเปลี่ยนแปลงกลไก : ใช้กระบวนการสร้างครู ก และทีมงานครู ข เรียนรู้โดยฐานเรียนรู้และใช้ภูมิปัญญา

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

 

15,600.00 15,600.00 130 130 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้พี่เลี้ยงโครกงารได้เปิดตัวโครงการให้ประชาชนได้ทราบ ประชาชนหลายคนเห็นด้วยและสมัครใจร่วมโครงการ
หัวหน้าโครงการ ได้ดำเนินการดังนี้
1.แกนนำชุมชนได้เข้าร่วมประชุมและแจ้งให้ประชาชนทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะพัฒนาหมู่บ้านตามโครงการ และรับสมัครกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมโครงการแบบสมัครใจ  จำนวน 100 คน
2.ทุกครั้งที่มีการประชุม ทุกคนต้องได้รับการฝึกออกกำลังกายเป็นการส่งเสริมสุขภาพ 3.กลุ่มเป้าหมาย สมัครเข้าร่วมกิจกรรม โดยแบ่งเป็น 10 กลุ่ม มีข้อกำหนดว่าสมาชิกกลุ่มต้องอยู่ในละแวก เพื่อง่ายต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดกิจกรรม 4.แกนนำชุมชน ถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้จากการสอนจากปราชญ์ชุมชน ได้แก่ กระบวนการทำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ เกษตรวิถี น้ำยาเอนกประสงค์ สบู่สมุนไพร ยาสระผมสมุน

กิจกรรมหลัก : จัดทำฐานเรียนรุ้ชุมชน ( 3 ครั้ง)i

36,000.00 100 ผลผลิต

1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 100 คน
2.มีฐานเรียนรูในชุมชน 3 ฐาน
3.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามฐานการเรียนรุ้ และมีการจัดทำฐานเรียนรู้ที่บ้านตนเอง
4.มีการใช้วัสดุในชุมชนเพือให้เกิดคุณค่าและประโยชน์สูงสุด


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

การเปลี่ยนแปลงในกลุ่มคน : กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ในการจัดทำฐานชุมชนเกี่ยวกับน้ำหมัก ปุ๋ยหมักและน้ำยาเอนกประสงค์ โดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในชุมชน การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม : กลุ่มเป้าหมายใช้ฐานเรียนรู้และวัสดุที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อช่วยกันปรับปรุงสภาพดี ลดรายจ่าย และเรียนรู้การเพิ่มรายได้ของครัวเรือน การเปลี่ยนแปลงกลไก : กลุ่มเป้าหมายใช้กลไกการขับเคลื่อนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน แบบสมัครใจ เพื่อให้กลุ่มคนเหล่านี้เป็นต้นแบบ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

 

12,000.00 12,000.00 100 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้เปิดประชุมโดยผู้ใหญ่บ้าน นางวาสนา บอกว่ากิจกรรมดังกล่าว เป็นเรื่องแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ ๕ ส่วน ดังนี้           •  กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา           •  คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับโดยเน้น การปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน           •  คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้           •  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ           •  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึง ถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ           •  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

วันนี้ลุงทำนอง ได้แนะนำเกี่ยวกับความรู้ในการทำน้ำหมักและปุ่ยหมัก โดยให้ทุกคนได้สอบถามเรียนรู้ จาก ครู กที่ได้กำหนดไว้แล้ว 

กลุ่มแกนนำ สมาชิกในครัวเรือนเป้าหมาย จนท อบต  สมาชิก อบต จนท รพ.สต.  และผู้รวมสังเกตุการณ์

12,000.00 12,000.00 100 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้คณะทำงานได้รวมกลุ่มกันตามละแวกบ้าน เพื่อสร้างฐานเรียนรู้ในชุมชนเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักแทนการใช้ปุ๋ยเคมี
โดยมีกิจกรรม ให้ปราชญ์ชุมชนได้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง สอนและสาธิตการทำปุ๋ยหมีกชีวภาพ

สิ่งที่เกิดขึ้น - สามารถนำการทำปุ๋ยหมักไปใช้แทนปุ๋ยเคมี เพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนการผลิต ได้ในครัวเรือน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ - มีความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมากยิ่งขึ้นสามารถนำกลับไปปฏิบัติจริงได้

แกนนำชุมชน  สมาชิกกลุ่ม ผู้นำชุมชน พระ สมาชิก อบต  จนท รพ.สต 

12,000.00 12,000.00 100 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้คณะทำงานได้จัดทำฐานเรียนรู้ภายในชุมชน โดยนายทำนอง สมัย ให้ความรู้ในเรื่อง การปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเองในครัวเรือน
โดยใช้น้ำหมักหรือปุ๋ยหมักชีวภาพที่เราทำขึ้นเองเพื่อปลูกผักสวนครัว โดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและดิน
โดยเราสามารถนำเศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือนเรือน  หรือผักผลไม้  มาทำน้ำหมักหรือปุ๋ยหมัก เพื่อลดต้นทุนในการผลิต

สิ่งที่เกิดขึ้น -มีการสาธิตการทำน้ำยาอเนกประสงค์และการทำน้ำหมักหรือปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชน
เพื่อใช้ในครัวเรือนโดยไม่ต้องซื้อตามท้องตลาดและไม่มีสารเคมีตกค้าง มลภาวะก็ไม่เป็นพิษช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

กิจกรรมหลัก : สร้างกระบวนการเรียนรู้และมีส่วนร่วมในกลุ่มเยาวชน (1ครั้ง)i

11,400.00 95 ผลผลิต

1.เยาวชนเข้าร่วมกิจกรรม 95 คน
2.เกิดกระบวนการกลุ่มในการพัฒนา เป็นการสร้างความสามัคคี และส่งเสริมการทำงานเป็นทีม 3.เยาวชนได้ประยุกต์วัสดุในชุมชน มาใช้ในการพัฒนา 4.เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาและปราชญ์ในชุมชน 5.เป็นการสร้างความรับผิดชอบ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

การเปลี่ยนแปลงในกลุ่มคน : กลุ่มเยาวชนได้เรียนรู้วิธีการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมัก ซึ่งเป็นสิ่งใกล้ตัว สามารถทำได้เอง และสร้างความตระหนักในกลุ่มเยาวชน การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม : กลุ่มเยาวชนได้เรียนรู้วิธีการปรับปรุงสภาพดี การปรับสภาพน้ำ การลดขยะ และการแปรรูขยะให้เกิดประโยชน์ การเปลี่ยนแปลงกลไก : ใช้วิธีการสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม และฝึกให้ทดลองปฏิบัติ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

 

11,400.00 11,400.00 95 95 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้ลุงทำนอง สมัย  ครู ก หรือปราชญ์ชุมชน ได้เล่าให้เยาวชนฟังโครงการสร้างชุมชนทองพูนรอยพ่อ ด้วยวิถีการเกษตรพอเพียง ซึ่ง ครู ก ได้เรียนรู้และจัดทำฐานไปแล้ว 3 ครั้ง วันนี้จะเล่าให้ฟังและเสริมความรู้น้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยชีวภาพ เพื่อไปใช้ในการเกษตรของครัวเรือน เพื่อเห็นกลไกหรือบทเรียนที่เกิดจากการทดลองใช้เกษตรวิถีและชีวิตที่พอเพียงในบ้านตนเองทุกคนหันมาทำปุ๋ยหมักใช้เองเพื่อลดต้นทุนการผลิต ฐานที่ 1 การทำปุ๋ยหมัก ส่วนผสม 1). ขี้เถ่า 3 กก.    2). แกลบ 5 กก.    3). ขี้วัว 5 กก.  4).เศษผัก 10 กก.  5).รำเนียน 5 กก.                  6).กากน้ำตาล  7).น้ำหมัก 2 กก. ผสมขี้เถ้า แกลบ ขี้วัว เศษผัก รำเบียน กากน้ำตาล น้ำหมัก รวมเข้ากันให้หมด คนให้เข้ากันรดน้ำเปล่าจนเปียก ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน รอจนเปื่อยเอาใส่ต้นไม้ปลูกผัก ฐานที่ 2 น้ำหมักชีวภาพ ใช้เศษผักเศษอาหารในครัวเรือนหรือเศษผักข้างบ้าน 1.เศษผัก  2. เศษอาหารในครัวเรือน 3. เศษผลไม้ 4.เศษผักตบชวา 5.กากน้ำตาล 6. น้ำเปล่า น้ำเศษผักทุกอย่างลงในภาชนะเติมน้ำเปล่าใส่กากน้ำตาล เสร็จแล้วปิดฝาภาชนะทิ้งไว้ประมาณ 3 เดือน ฐานที่ 3 สมุนไพรไล่แมลง ใช้ในข้าวหรือปลูกผักปลอดสารพิษ 1). ข่า 1 กก.  2).ใบกระเทียม 1 กก.          3).ฟ้าทะลายโจร 1 กก  4).กากน้ำตาล 2 กก.  5).บอระเพ็ด 1  กก. 6).น้ำเปล่า 15 กก. นำใบกระเทียม ฟ้าทะลายโจร ข่า บอระเพ็ด สับเป็นชิ้นเล็กๆนำใสภาชนะเติมน้ำเปล่าละกากน้ำตาล หมักประมาณ 5-7 วัน แล้วนำไปฉีดพ่นในนาข้าว

กิจกรรมหลัก : สร้างกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดทองพูน (3 ครั้ง)i

21,600.00 60 ผลผลิต

1.นักเรียนได้เรียนรู้ตามฐานเรียนรู้ และได้ปฏิบัติจริง 2.นักเรียนได้เรียนรู้ตามวิถีชุมชนหรือหลักสูตรท้องถิ่น 3.สามารถประยุกต์สิ่งที่มีอยู่ในชุมชนนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

การเปลี่ยนแปลงในกลุ่มคน : ก  นักเรียนได้เรียนรู้วิถีพื้นบ้าน จากปราชญ์ชุน เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้และความรับผิดชอบให้เกิดกับนักเรียน การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม :มีการปลูกผักปลอดสารพิษ มีการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักที่โรงเรียน เป็นการปรับสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น การเปลี่ยนแปลงกลไก : ใช้กระบวนการแบ่งเป็นทีมตั้งแต่ประถมที่ 1 ถึงที่ 6 มีการทำงานร่วมกัน และมีการบันทึกเป็นเอกสาร

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

มีนักเรียนและครูเข้าร่วมกิจกรรมตามเป้าหมาย วิทยากรได้สอนการทำน้ำหมัก ปุ่ยหมักจากเศษอาหาร ประโยชน์ของการใช้ปุ่ยจากสารชีวภาพ เศษขยะอินทรีย์

7,200.00 7,200.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้คณะทำงาน ได้ร่วมกันสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและขยายกิจกรรมไปยังกลุ่มเยาวชน โดยจะมีกิจกรรม
-การเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษอาหารกลางวันในโรงเรียน  ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง  ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการแยกขยะ สิ่งที่เกิดขึ้น  -นักเรียนได้กลับเอาไปทำต่อที่บ้านโดยการเอาเศษอาหารในครัวเรือนมาทำน้ำหมัก  นำเศษขยะและวัชพืชมาทำปุ๋ยหมักเพื่อลดรายจ่ายและรู้จักการประหยัดอดออมมากยิ่งขึ้น
สิ่งที่ได้เรียนรู้  -นักเรียนได้เข้าใจคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปปฏิบัติจริงที่บ้าน
ปัญหาที่พบ ปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำ เพราะผนไม่ตกตามฤดูกาล

นักเรียนและครูโรงเรียนวัดทองพูน แกนนำชุมชน

7,200.00 7,200.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้คณะทำงานได้มีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนบ้านทองพูน สู่โรงเรียนวัดทองพูน
โดยจัดให้ความรู้ในกลุ่มเยาวชนดังนี้ รณรงค์การให้ปลูกผักพื้นบ้านโดยการใช้น้ำหมักหรือปุ๋ยหมัก สอนการแยกขยะ การปรุงอาหารแบบถนอมสารอาหาร

สิ่งที่เกิดขึ้น -เยาวชนปลูกผักโดยการใช้น้ำหมัก ปุ๋ยหมักแทนการใช้สารเคมี รณรงค์การออกกำลังกาย  รู้จักรักษาสุขภาพ ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร

สิ่งที่ได้เรียนรู้  -รู้จักการใช้เศษอาหาร ผัก ผลไม้ ที่เหลือมาทำปุ๋ยหมัก น้ำหมัก เพื่อใช้ปลูกผักสวนครัว ลดรายจ่าย รู้จักการออม และประหยัด
สิ่งที่เกิดขึ้นเกินความคาดหมาย  -นักเรียนหันมาดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น รณรงค์การออกกำลังกาย

นักเรียน 50 คน แกนนำชุมชน 5 คน  ทีมงาน 5 คน

7,200.00 7,200.00 60 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้คณะทำงานได้มีการประชุมและประเมินผลติดตามงานที่ผ่านมา โดยมีดังนี้

สิ่งที่เกิดขึ้น -เด็กนักเรียนมีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้ใช้ทำอาหารกลางวัน
-นักเรียนล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารทุกมื้อ
-นักเรียนรู้จักการแยกขยะ  รู้จักลดใช้สารเคมี -นักเรียนหันมาดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น อนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้าน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ -เด็กนักเรียนได้เรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เรื่องการเจริญเติบโตของพืช -การดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว -รู้จักการประหยัก ทำบัญชีรายรัย-รายจ่าย

สิ่งที่เกิดขึ้นเกินความคาดหมาย
-วัดทองพูนเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมหลัก : จัดทำฐานเรียนรู้ในกลุ่มเยาวชน จำนวน 3 ครั้งi

14,400.00 80 ผลผลิต

1.เยาวชนเข้าร่วมกิจกรรม 80 คน
2.เยาวชนมีการเรียนรู้ตามฐานเรียนรุู้ในชุมชน 3.เป็นการสร้างความตระหนักให้เกิดกับเยาวชนด้านเศรษฐกิจพอเพียง
4.ทำให้เกิดหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถ่ินด้านการเรียน การสอน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

การเปลี่ยนแปลงในกลุ่มคน : เยาวชนได้เรียนรู้กิจกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ได้เรียนรู้กระบวนการ ทดลองปฏิบัติจริง ทำให้เกิดความรับรู้ เข้าใจและเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม : เยาวชนได้ทำปุ่ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ มีการปรับปรุงดิน และแก้ปัญหาสภาพดินเสื่อม การเปลี่ยนแปลงกลไก : ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและทดลองให้เห็นผลจริง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

เยาวชนแกนนำ เยาวชนกลุ่มเป้าหมาย คณะทำงาน

4,800.00 4,800.00 40 40 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้คณะทำงานได้สร้างกิจกรรม โดยให้เยาวชนมีส่วนร่วมในโครงการ โดยมีกิจกรรมดังนี้ สอน สาธิตการทำน้ำหมัก และปุ๋ยหมักชีวภาพ

สิ่งที่เกิดขึ้น  -เยาวชนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับครัวเรือน  การทำน้ำหมัก ปุ๋ยหมัก ขึ้นแทนการใช้ปุ่๋ยเคมี
เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน รู้จักการใช้ชีวิตที่พอเพียง รู้จักการออมและประหยัด

สิ่งที่ได้เรียน -เยาวชนได้เรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านและเข้าใจคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงมากยิ่งขึ้น

แกนนำชุมชน ทีมคณะทำงาน เยาวชนกลุ่มเป้าหมาย

4,800.00 4,800.00 40 40 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้คณะทำงาน ได้สร้างกระบวนการแก่เยาวชนทำกิจกรรมในโรงเรียนวัดทองพูน โดยมีกิจกรรมดังนี้

-จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มนักเรียน -กำหนดให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ -มีป้ายห้ามสูบบุหรี่ และรณรงค์ห้ามดื่มสุรา -การปลูกผักปลอดสารพิษ

สิ่งที่เกิดขึ้น - เยาวชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษโดยการใช้น้ำหมัก และปุ๋ยหมักชีวภาพ แทนการใช้สารเคมี -เยาวชนจัดกิจกรรมออกกำลังกาย รณรงค์ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

สิ่งที่ได้เรียนรู้
-เยาวชนรู้จักการใช้เศรษฐกิจพอเพียง หันมาออกกำลังกาย ไม่มั่วสุมอบายมุข -เยาวชนรู้จักการออม ช่วยทางบ้านประหยัดมากยิ่งขึ้น

ทีมเยาวชน 40 คน

4,800.00 4,800.00 40 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้คณะทำงานได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มเยาวชน โดยมีกิจกรรมดังนี้ ให้เยาวชนรู้จักการคัดแยกขยะ
ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้น้ำหมัก ปุ๋ยหมักแทนการใช้ปุ๋ยเคมี

สิ่งที่เกิดขึ้น  -เยาวชนเรียนรู้การทำน้ำหมัก ปุ๋ยหมัก อย่างถูกวิธี มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆ
                - เยาวชนมีการรณรงค์ปลุกผักปลอดสารพิษ ลดการใช้สารเคมี
                - เยาวชนรู้จักการอดออม
                - เยาวชนรู้จักใช้ชีวิตแบบพอเพียง

สิ่งที่ได้เรียนรู้    - เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น รู้จักอดออม และสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ที่บ้าน

กิจกรรมหลัก : แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดทำฐานเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้งi

22,800.00 95 ผลผลิต

1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 95 คน
2.ได้รวบรวมองค์ความรู้ที่เกิดจากวิถีชุมชน 3.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเกษตรวิถี 4.ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

การเปลี่ยนแปลงในกลุ่มคน : ประชาชนเปลี่ยนแนวคิดทำให้คิดเชิงบวก มองเห็นคุณค่าของวัสดุที่มีอยู่ในชุมชน ได้เรียนรู้จริงจากฐานเรียนรุ้ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม : เรียนรู้วิธีการปรับปรุงดิน ปรับปรุงน้ำ การลดการใช้สารเคมี และนำสมุนไพรมาใช้ในวิถีชีวิต การเปลี่ยนแปลงกลไก : เกิดกระบวนการกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรุุ้และมีองค์ความรู้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

เยาวชน ประชาชน คณะทำงาน

11,400.00 11,400.00 95 95 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้คณะทำงานได้มีการถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำฐานเรียนรู้กลุ่มเยาวชน เพื่อหาข้อบกพร่องในการดำเนินงานและแนวทางการแก้ไข

สิ่งที่เกิดขึ้น -ควรให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำน้ำหมัก ปุ๋ยหมักและวิธีใช้มากขึ้น -จัดเป็นแกนนำในอนาคต

-ประชาชนและเยาวชนเข้าใจสุขภาพดีขึ้น เข้าใจการใช้ชีวิตแบบพอเพียง รู้จักวิธีการปรับสภาพพื้นดิน ลดการใช้สารเคมี

-สิ่งที่ได้เรียนรู้ -ภูมิปัญญาพื้นบ้านได้รับการถ่ายทอด และอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นบ้าน

ทีมงาน 30 คน ประชาชนทั่วไป 50 เยาวชน 15

11,400.00 11,400.00 95 95 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้คณะทำงานได้มีการถอดบทเรียนในกลุ่มเยาวชนเพื่อติดตามและสรุปผล ดังนี้

สิ่งที่เกิดขึ้น -เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง -รู้จักการแยกขยะ
-เข้าใจดูแลสุขภาพ รู้จักประหยัด มีการออมเกิดขึ้น
-มีการสืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน มีการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นบ้าน

กิจกรรมหลัก : พี่เลี้ยงติดตามโครงการi

0.00 10 ผลผลิต

1.พี่เลี้ยงได้ติดตามผลการดำเนินงานครบ 5 ครั้ง
2.สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงการและพี่เลี้ยง
3.โครงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและปิดโครงการได้


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

การเปลี่ยนแปลงในกลุ่มคน : พี่เลี้ยงได้ปรับเปลี่ยนทัศนคติและแนวทางการทำงานให้คิดเชิงบวก ทำงานให้เกิดผลลัพธ์ที่ต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม : มีการเรียนรู้วิธีการปรับปรุงสภาพดิน นำ้ และการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงกลไก : ใช้กระบวนการแลกเปลียนเรียนรุ้และการมีส่วนร่วม

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 6 ครั้ง

 

0.00 0.00 10 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้เวลา 13.30 น. ขัาพเจ้าได้ติดตามความก้าวหน้าของโครงการและการดำเนินงานของคณะกรรมการ โดยเชิญกลุ่มเป้าหมายหลักๆ  10 คน ประกอบด้วย กลุ่ม อสม  กลุ่มแกนนำ ผู้ใหญ่บ้าน และ สอบต.เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ ในประเด็นดังนี้
1.ได้ทำการชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันเีกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการ มีวัตประสงค์  2 ข้อ ประกอบด้วย  ข้อที่ 1.เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านทองพูนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสร้างกระบวนการมีสวนร่วม ลดปริมาณการใช้สารเคมีในภาคเกษตรของชุมชน
ข้อที่ 2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเหมาะสม  มีตัวชี้วัดทั้งหมด 5 ข้อ (1)มีฐานเรียนรู้เกี่ยวเศรษฐกิจพอเพียง 3 ฐาน ได้แก่ฐานทำปุ๋ยหมัก  ฐานน้ำหมักชีวภาพ  ฐานเกษตรวิถี  (2)ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนา จาก 10 ครัวเรือนเพิ่มเป็น 40 ครัวเรือนภายใน  1 ปี (3) กลุ่มเป้าหมายปลูกผักกินเองและบริโภคผักทุกวัน อย่างน้อยวันละครึ่งกิโลกรัม ร้อยละ 80 (4)กลุ่มเป้าหมายมีการออกกำลังกายด้วยวิธีต่างๆวันละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ เพิ่มเป็น เป็นร้อยละ 90 (5)มีแนวทางลดอ้วนที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน 1 ชุด ระยะเวลาในการดำเนินงานตั้งแต่เดือน กันยายน 56 - กันยายน 57 พบว่า โครงการมีความก้าวหน้าไปเพียง ร้อยละ 10 มีการประชุมคณะกรรมการตามแผนที่วางไว้ ให้เริ่มดำเนินกิจกรรมได้เลย โดยพี่เลี้ยงยินดีที่จะเปิดเวทีการประชุมให้
2.ได้สอนแนะเกี่ยวกับการทำเอกสารโครงการ  ขอให้ทีมงานบันทึกในเอกสารของโครงการก่อน ทำให้สมบูรณ์ เอกสารประกอบด้วย 1.บันทึกการประชุมมีเนื้อหาอะไรเขียนให้ละเอียด 2.ลายมือชื่อการประชุม 3.ถ้ามีค่าใชัจ่ายต้องมีใบเสร็จหรือใบสำคัญรับเงิน ถ้าเป็นใบสำคัญรับเงินใช้บัตรประชาชนแนบทุกครั้ง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและน่าเชื่อถือ  4.เอกสารสรุปการทำงานเพื่อนำไปบันทึกในหน้าเวปออนไลน์    **ทั้งนี้เอกสารทั้งหมดให้แนบไว้เป้นชุดๆ เรียงตามวันที่ เผื่อการตรวจสอบของพี่เลี้ยงและ สสส.*** 3.ได้สอนแนะวิธีการบันทึกเอกสารออนไลน์ตามโปรแกรมของ สจรส. โดยกำหนด 1.สมัครสมาชิก โดยต้องมีอีเมล์  2.เมื่อได้รหัสสมาชิก ให้บันทึกข้อมูลหน้าเวปให้เรียบร้อย โดยพี่เลี้ยงจะช่วยดูแผนภาพให้  3.ทุกครั้งที่มีการทำกิจกรรมให้บันทึกให้ครบถ้วน ถูกต้อง แต่ต้องตรงกับเอกสารที่เตรียมไว้ 4.ร่วมกันจัดทำปฏิทินโครงการ มีทั้งหมด 30 ครั้ง

 

0.00 0.00 130 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้เวลา 10.00 น. ขัาพเจ้า ได้เข้าไปพบกับประชาชน เพื่อเปิดตัวโครงการ กลุ่มเป้าหมาย 130 คน ประกอบด้วย กลุ่ม อสม  กลุ่มแกนนำ ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนและ สอบต.เพื่อทำความเข้าใจในการพัฒนาโครงการ ดังนี้ 1.เล่าให้ฟังเกี่ยวกับวัตประสงค์โครงการ มี 2 ข้อ ประกอบด้วย  ข้อที่ 1.เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านทองพูนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสร้างกระบวนการมีสวนร่วม ลดปริมาณการใช้สารเคมีในภาคเกษตรของชุมชน ข้อที่ 2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเหมาะสม 2.ในการทำกิจกรรมมีตัวชี้วัดทั้งหมด 5 ข้อ (1)มีฐานเรียนรู้เกี่ยวเศรษฐกิจพอเพียง 3 ฐาน ได้แก่ฐานทำปุ๋ยหมัก  ฐานน้ำหมักชีวภาพ  ฐานเกษตรวิถี  (2)ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนา จาก 10 ครัวเรือนเพิ่มเป็น 40 ครัวเรือนภายใน  1 ปี (3) กลุ่มเป้าหมายปลูกผักกินเองและบริโภคผักทุกวัน อย่างน้อยวันละครึ่งกิโลกรัม ร้อยละ 80 (4)กลุ่มเป้าหมายมีการออกกำลังกายด้วยวิธีต่างๆวันละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ เพิ่มเป็น เป็นร้อยละ 90 (5)มีแนวทางลดอ้วนที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน 1 ชุด
3.ระยะเวลาในการดำเนินงานตั้งแต่เดือน กันยายน 56 - กันยายน 57 และเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาได้
4.กระบวนการพัฒนาประกอบด้วย
4.1 การสร้างฐานเรียนรู้ของ ครู จำนวน 10 คน และรับสมัคร ครู ข เพิ่มเป็น 20 คน
4.2 จัดทำฐานเรียนรู้ในชุมชน ได้แก่ น้ำมหักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ ผักปลอดสารพิษ  ยาสระผม น้ำยาเอนกประสงค์ น้ำส้มควันไม้ และการปลูกสมุนไพร 4.3 ทุกคนสมัครใจเข้าร่วมกระบวนการฐานเรียนรุ้ และำไปต่อยอดที่บ้าน 4.4 สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยเปิดโอกาสให้ันักเรียนไ้ด้ร่วมกระบวนการด้วย
4.5 ถอดบทเรียนการพัฒนา ใน 1 ปี โดยต้องตอบวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดให้ได้

 

0.00 0.00 15 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.วันนี้เวลา 13.00 น.ได้ออกไปเยี่ยมคณะทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าและถอดบทเรียนในการพัฒนาโครงการของงวดที่ 1 โดยมีภาคีที่เข้าร่วมกิจกรรมคือ พระ อสม. อบต.ผู้นำชุมชนและจิตอาสา  ทีมงานเล่าให้ฟังว่า กรรมการได้ประชุมกันทุกเดือนก่อนที่จะดำเนินกิจกรรม สถานที่เป็นในวัดบ้าง บ้านผู้ใหญ่บ้านบ้าง  ตอนนี้คณะกรรมการเข้าใจแนวทางในการพัฒนาตามโครงการแล้ว สิ่งที่พวกเขาได้ทำไปแล้วคือ ได้รวบรวมปราชญ์ชุมชน เพื่อนำความรู้ภูมิปัญญา ซึ่งถือว่าเป็นครู ก รวบรวมได้ 10 คน แล้วมานั่งพูดคุย ถอดความรู้ออกมาเป็นวิธีการปฏิบัติ โดยรับสมัครครู ข ไปพร้อมกันเลย ได้มีการสอนแนะ ตอนนี้มีการเรียนรู้ตามภูมิปัญญา โดยจัดทำเป็นฐานเรียนรู้ 9 ฐาน ได้แก่ (1)ฐานปุ๋ยหมัก (2)ฐานน้ำหมักชีวภาพ (3)น้ำยาเอนกประสงค์ (4)สบู่สมุนไพร (5)ยาสระผมสมุนไพร (6)บัญชีครัวเรือน (7)ฐานผักสวนครัวปลอดสารพิษ (8)ฐานสมุนไพรลดสารพิษ (9)ฐานน้ำส้มควันไม้ (10)ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพ  ตอนนี้มีครู ก และครู ข จำนวน 30 คน ได้เรียนรู้ทั้ง 9 ฐานเรียนรู้ และนำไปพัฒนาที่บ้านตนเอง โดยทำเป็นฐานเรียนรู้ในบ้าน เพื่อให้เพื่อนบ้านได้ไปเรียนรู้ 2.ตอนนี้ได้มีการเผยแพร่และรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมกลุ่ม โดยแบ่งเป็น 10 กลุ่ม กลุ่มละ 10 บ้าน ให้มีการเรียนรู้ตามฐานเรียนรู้ที่ได้จัดทำขึ้น ประชาชนก็ให้ความสนใจพอสมควร แต่จะให้เข้าร่วมทั้งหมดคงเป็นไปได้ยาก เพราะหลายคนยังติดอยู่กับปุ๋ยเคมี และเทคโนโลยี 3.ตอนนี้ส่งเสริมให้มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนด้วย เพราะหน่วยงานของกรมพัฒนาชุมชน ได้เข้ามาให้ความรู้ และมอบสมุดบันทึกบัญชีครัวเรือนให้ ซึ่งเป็นแรงหนุนเสริมอีกทางหนึ่ง
4.ภาคีที่เข้ามาร่วมงานมีหลายหน่วยงาน แต่ที่สำคัญคือพระ  ตอนนี้ได้จัดให้วัดทองพูนเป็นแหล่งเรียนรู้และศูนย์เรียนรู้ของหมู่บ้าน เพราะประชาชนเข้าออก สะดวกเพราะเป็นพื้นที่สาธารณะ อีกอย่างพระท่านก็เห็นชอบด้วย 5.การขยายโครงการ ตอนนี้ไ้ด้จัดประชุมนักเรียนและขยายลงไปในโรงเรียนแล้ว และรับสมัครนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมโดยประสานผ่านทางครู 6.เมื่อสอบถามปัญหาอุปสรรค ต้องเข้าใจว่าช่วงนี้ มีหลายสถานการณ์เข้ามาเกี่ยวข้องโดยเฉพาะเรื่องการเมือง แต่ทีมงานก็ค่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ กิจกรรมไหนทำไม่ได้ก็เลื่อนไปก่อน รอให้เหตุการณ์บ้านเมืองสงบก่อน
7.ประเมินโดยภาพรวมของพี่เลี้ยง โครงการมีกิจกรรมหลายอย่างเกิดขึ้นแล้วอย่างต่อเนื่อง มีฐานเรียนรู้ในบ้าน คิดว่าเป็นสิ่งที่ดี และน่าจะเคลื่อนผ่านไปด้วยดี

จากการถอดบทเรียน พบว่า การขับเคลื่อนกิจกรรมสำเร็จไปได้เพราะ 1.มีการรวมตัวกันของประชาชน และกลุ่มผู้นำ พระ ทุกคนให้ความสำคัญต่อการพัฒนา 2.ไม่มีการผลักภาระ หรือธุระไม่ใช่ แต่ทุกคนร่วมใจกันทำงาน
3.ทุกคนที่ร่วมทำงาน มีเป้าหมายในการพัฒนาที่เหมือนกัน คือ ต้องการให้ชุมชนน่าอยู่ มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
4.ใช้กลไกวัด เป็นตัวหมุนกิจกรรม และแรงหนุนเสริม
5.มีพี่เลี้ยงคอยติดตามทุกระยะ เลยทำให้กิจกรรมเคลื่อนไปด้วยดี

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรม เป็นคณะทำงานตามโครงการ เพื่อร่วมสรุปกิจกรรม และความก้าวหน้าของโครงการ

0.00 0.00 0 10 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.พี่เลี้ยงติดตามความก้าวหน้าของโครงการ
2.พี่เลี้ยงให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำกิจกรรมตามโครงการ 3.คณะทำงาน สรุปกิจกรรมการดำเนิน ในรอบ 7 เดือนที่ผ่านมา 4.สรุปผลงานและอุปสรรค 5.ร่วมกันแก้ปัญหาที่พบจากการดำเนินงาน

คณะทำงานและปราชญ์ ร่วมกันทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักสูตรฟักทอง

0.00 0.00 0 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.วันนี้คณะทำงานและปราชญ์ ได้ร่วมกันทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพที่ทำจากฟักทอง เนื่องจากเดือนนี้ฟักทองราคาตกต่ำ ผลผลิตได้เยอะ ทำให้ประชาชนขาดทุน ทางโครงการเล็งเห็นว่าเป็นประโยชน์ จึงได้ระดมทุนกันซื้อฟักทอง กิโลละ 1 บาท จำนวน 1,000 กิโล เพื่อนำมาทำเป็นสูตรหัวเชื้อ ฟักทองมีโปรตีนสูง 2.อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำครั้งนี้ ได้รับสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย
3.การทำกิจกรรม มีพระ มาร่วมกิจกรรม  รพ.สต. นักศึกษาฝึกงาน  ทีมกู้ชีพ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม  และเห็นภาพการทำงานของเครือข่ายมากขึ้น

ขอชื่นชมว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดี และเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงกลไกชัดเชน คือ ดึงภาคีเครือข่ายมาร่วมทำงานได้ 

ตัวแทนคณะทำงาน 10 คน สรุปความก้าวหน้าโครงการและถอดบทเรียนการดำเนินงาน

0.00 0.00 0 10 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปการติดตามงาน หมู่ที่ 2 ต.เขาพระบาท

กิจกรรมที่ผ่านมาทำอะไรบ้าง
กิจกรรมที่ทำไปแล้ว ทำปุ๋ยหมัก น้ำหมัก น้ำยาเอนกประสงค์ สบู่ ยาสีฟัน น้ำยาไล่แมลง ปลูกผักปลอดสารพิษ ยาสระผม

กิจกรรมที่ทำไปแล้ว มีอะไรพิเศษ ดีหรือไม่ดี
น้ำยาอเนกประสงค์ พาไปล้างจานดี ซกผ้าก็ได้  ล้างห้องน้ำ  ผ้าขาวดี  ใช้ได้ทุกอย่าง อยากทำอีก โดยเฉพาะคนแก่ๆ คนแก่ชอบ
สูตรที่ใช้ทำมีส่วนผสม n70 F24 เกลือ น้ำมะนาว ผงฟอง (ซักผ้าขาว ล้างห้องน้ำได้) มีกลิ่นหอม ช่วยลดกลิ่นในห้องน้ำเยอะ
มีความต้องการที่จะทำเพิ่มเติมอีกโดยการใช้สมุนไพร
คนที่มาฃ่วยทำคือปราชญ์ ทีมงาน และชาวบ้าน
ข้อตอบรับจากชาวบ้าน มีความพึงพอใจมาก อยากทำต่ออีก เพราะประหยัด ใช้ดี ใช้ของที่มีอยู่ในชุมชน

ยาสีฟัน
ทำมาจากสูตร พิมเสน การบูร เกลือ เมนทอล รากข่อย นำมาผสมกันโดยตำ ใส่พิมเสนก่อน เมนทอน และใส่การบูร เกลือ คนให้เข้ากัน หลังจากนั้นตำรากข่อย  นำไปผสมให้เข้ากัน สูตรที่แนะนำให้ใส่ข้าวจ้าวพอประมาณ เพื่อทำให้เหนียว ง่ายต่อนำไปใช้ ไม่เป็นน้ำ
หลังจากนำไปใช้แล้ว ดี รสชาติดี ร้อน ไม่ปวดฟัน ทุกคนใช้มาแล้ว ยืนยันว่าดีมาก สิ่งที่หาได้จากในหมู่บ้านคือรากข่อย ส่วนผสมอื่นต้องหาจากข้างนอก  เสนอแนะว่าต้องการทำเพิ่มเติม เพราะยังมีอีกหลายสูตร

สบู่
ทำมาจากวาสลีน น้ำสมุนไพร(ขมิ้น ดอกอันชัญ มะขาม) ถ้าต้องการให้มีกลิ่นหอม อาจจะใช้ส่วนผสมของกลิ่นน้ำหอมได้
นำไปใช้แล้ว ชอบ เพราะมีกลิ่นหอม ทาแล้วจะไม่เหนียวตัวเหมือนกับสบู่ที่เราซื้อมาใช้ ฟองไม่เยอะ ล้างตัวได้เกลี้ยง  ถ้าต้องการให้ลื่นตัว ให้ใส่น้ำมันวัวสักเล็กน้อย จะทำให้สบู่เวลาไปถูตัวลื่น สบู่ที่ทำต่างจากคนอื่นหรือร้านค้า เพราะใช้สมุนไพรสด หาได้ง่าย  ฟอกตัวแล้วเกลี้ยงสะอาด ฟองไม่มาก ใช้น้ำไม่เยอะในการล้างตัว เป็นการประหยัดน้ำได้มากพอสมควร


สมุนไพรไล่แมลง มีสูตร ประกอบด้วย ข่า สะเดา  ใบเทียม ฟ้าทะลายโจร กากน้ำตาล บอระเพ็ด  น้ำมาหมักไว้ 3 เดือน
ตอนนี้ได้มีการนำไปฉีดไล่แมลง  ใช้ได้ดี
สิ่งที่เกิดขึ้น คือ แมลงที่กินผัก กินพืช กินใบ หายไป เช่น ตัวคลอม ตัวเพลี้ย หนอนฯลฯ การตอบรับ พึงพอ ใจ ไม่ต้องใช้สารเคมีเลย ประหยัดรายจ่ายค่าซื้อสารเคมี ลงทุนเฉพาะกากน้ำตาลอย่างดี ผลิตผลที่ได้ลูกใหญ่ สวยงาม กินได้สนิทใจ ปลอดภัย ดีกว่าจากการซื้อจากตลอด สามารถเก็บกินได้ตลอดเวลา
แตกต่างจากสูตรอื่นๆ มีการผสมสมุนไพรหลายชนิด  ข่าทำให้ร้อน ใบเทียมทำให้มีกลิ่นเหม็น แมลงไม่เข้าใกล้ ฟ้าทะลายโจรกับบอระเพ็ดขม  แมลงไม่เข้าใกล้

ปุ๋ยหมัก
มีสูตรที่ 1 มีขี้เถ้า แกลบ ขี้วัว เศษผัก รำเนียน กากน้ำตาล น้ำหมัก หมัก 3 เดือน นำไปใช้ สิ่งที่พบคือ พาใส่โคนต้นไม้ ทำให้ใบเขียว พาไปเพาะพันธ์ผัก แมลงไม่กัดต้น ผักที่เพาะมีความสมบูรณ์  ปราชญ์ให้ความรู้ ปุ๋ยที่ผลิตเอง ต้นไม้จะเติบโตได้ดีเพราะไม่กินต้นมันเอง แต่ถ้าปุ๋ยซื้อต้นไม้จะกินต้นเอง โอกาสรอดน้อย
ผลตอบรับ พึงพอใจมาก เพราะปลูกแล้วต้นแข้งแรง อัตรารอดสูง ไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมี ประหยัดลดค่าใช้จ่าย ปรับสภาพดิน ทำให้ดินร่วนซุยมากขึ้น

ปัจจุบันกำลังทำสูตรที่ 2 ประกอบ  ฟักทอง ขี้วัว ฟาง เศษใบไม้ กากน้ำตาล พด.1

ทำให้พบว่า เศษใบไม้ เศษขยะสามารถทำได้หมด เป็นการลดขยะในครัวเรือน ในชุมชน
จากการทำปุ๋ยหมัก ครัวเรือนเป้าหมาย บอกว่าดี เห็นด้วย ตอบรับที่จะเข้าร่วมกิจกรรม

น้ำหมัก สูตรที่ทำมีเศษผัก เศษอาหาร ไม่ใส่เปลือกส้ม ไม่ใส่ของที่เป็นมัน เพราะใส่เปลือกส้มไปฆ่าจุลินทรีย์ ไม่สามารถย่อยสลายได้  ไม่ใส่มันเพราะจะไปเกาะตามขอบถัง ไปลดพื้นที่การย่อยสลายของจุลินทรีย์
สิ่งที่พบคือไปรดโคนปาล์ม ต้นสมบูรณ์ ใบเขียว  (อสม.มีการทดลอง 2 แปลง ปาล์ม โดยแปลงแรกไม่รดน้ำหมัก ไม่ใช้อะไรเลย แปลงที่ 2 รดน้ำหมัก ความแตกต่างเห็นผลเมื่อ 15 วันผ่านไป แปลงที่รดน้ำหมักใบจะสวยงาม เห็นผลแตกต่างได้ชัดเจน)
น้ำหมักสามารถพาไปใช้ฉีดไล่แมลงได้ ใช้ส่วนผสมน้ำ อัตราส่วน 1 กระป๋องนมต่อน้ำ 20 ลิตร สิ่งที่พบคือโรคใบด่าง หายหมด ทำให้ลดค่าใช้จ่าย ใบเขียว


ยาสระผม สูตร มีน้ำมะกรูด  น้ำดอกอัญชัน  N70  เกลือ  ผงนุ่ม นำไปใช้แล้ว มีกลิ่นหอม ผมนุ่ม (มีการทดลองใส่ N 70 มากเกินไป ทำให้เกิดอาการคันศีรษะ ผมร่วง ข้อแนะนำให้ทำตามสูตร อย่าใส่ N 70 มากเกินไป
พอใช้ไปแล้ว พึงพอใจ มีการทำใช้เองทุกวัน ที่บ้าน ประหยัด ใช้สมุนไพรในบ้าน


หลังทำกิจกรรมไปแล้ว ประชาชน เป็นอย่างไรบ้าง
ด้านบวก
ประชาชนบางส่วนให้ความตอบรับอย่างดี เพราะทุกคนเห็นด้วยกับกิจกรรม เป็นการประหยัด เป็นการทำกิจกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ประหยัด ลดรายจ่าย ลดต้นทุนการผลิต ลดอัตราการใช้สารเคมี พืชผักอุดมสมบูรณ์แข็งแรง

ด้านลบ  ประชาชนบางส่วนไม่เห็นด้วย เพราะเสียเวลา การใช้ปุ๋ยเคมีสะดวกว่า  เห็นผลเร็วกว่า

ปัญหาอุปสรรคจากการดำเนินงานมีอะไร
ระแวกบ้านห่างไกลกัน ทำงานลำบาก  เวลาไม่ตรงกัน ความคิดไม่ตรงกัน คนแก่มักบอกเห็นผลได้ช้า เสียเวลา
วิธีแก้คือ ได้มีการพูดคุยชักชวนเพื่อให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น และแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ  เพิ่มขึ้น

กิจกรรมใดบ้างยังไม่ได้ทำ เพราะอะไร บัญชีครัวเรือน เพราะ ชาวบ้านให้เหตุผลว่าเวลาทำปวดหัวและขี้เกียจขี้เกียจทำมีแต่รายจ่าย ไม่มีรายรับ กิจกรรมกับนักเรียนและโรงเรียน  ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะช่วงก่อนโรงเรียนปิดได้มีการพูดคุยกันบ้างแล้ว เมื่อโรงเรียนปิดไม่สามารถดำเนินการได้ นักเรียนไปอยู่ต่างจังหวัดบ้าง และช่วงเวลาดังกล่าวแล้ง ไม่มีน้ำที่รดผัก ทำกิจกรรม ทำให้ต้องหยุดกิจกรรม แต่มีส่งเสริมให้มีการทำที่บ้านร่วมกับผู้ปกครอง

ผลดีที่เกิดขึ้น เกิดการเรียนรู้ตามฐานระหว่างกลุ่ม มีความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ลดการใช้สารเคมี ทำให้ไม่มีสารเคมีตกค้างในร่างกาย  ลดรายจ่ายในครัวเรือน
ปรับสภาพแวดล้อม ให้ดียิ่งขึ้น ลดมลพิษทางอากาศจากการเผาขยะ นำเศษใบไม้มาทำปุ๋ยหมักลดขยะภายในครัวเรือน

ปัญหาในการทำโครงการ ช่วงหน้าร้อน ไม่มีน้ำเพียงพอ ต้องหยุดบางกิจกรรมไปก่อน เช่น การปลูกผัก เพราะไม่มีรดน้ำผัก
กลุ่มเป้าหมายบางคน มีเข้าร่วมกิจกรรมในช่วงแรก พอระยะถัดมาก็ไม่เข้ามาร่วมกลุ่ม บอกว่าไม่มีเวลาว่าง อยากทำงานของตนเองมากกว่าส่วนร่วม

ตัวอย่างที่ดี บ้านแกนนำและบ้านกลุ่มเป้าหมาย มีการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมัก น้ำยาอเนกประสงค์ ไว้ใช้เองเกือบทุกครัวเรือน  การทำน้ำหมักโดยใช้ขยะครัวเรือนที่ย่อยสลายได้ เป็นการลดขยะในครัว
ทุกบ้านเป้าหมาย มีการปลูกผักกินเอง ไม่มีการซื้อผักเหนาะจากร้านค้าหรือรถเร่ พริก ข่า ตะไคร้  โหรพา ใบมะกรูด ไม่มีการซื้อ

นวัตกรรม ยาสีฟัน
น้ำยาไล่แมลง ยาสระผม

กิจกรรมหลัก : ถ่ายทอดความรู้ผ่านเวทีชุมชนและเปิดรับสมัครเข้าร่วมกระบวนการเพิ่มi

6,000.00 50 ผลผลิต

1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 50 คน 2.เป็นการเปิดโอกาสและปรับทัศนคติในการคิดเชิงบวก


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

การเปลี่ยนแปลงในกลุ่มคน : คนได้เรียนรู้โอกาสในการพัฒนา ได้พูดคุย ซักถามข้อสงสัยและสอนใหัคิดบวก การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม : มีกระบวนการเรียนรู้ในการดูแลสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงกลไก : ใช้ระบบการทำงานเป้นทีม มีครู ก และ ครู ข เป็นพี่เลี้ยง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

-แกนนำชุมชน 5 คน
-ทีมทำงาน 5 คน -กลุ่มเป้าหมาย 40 คน

6,000.00 6,000.00 50 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้คณะทำงานได้จัดกิจกรรม โดยนางจารีย์  สมบูรณ์ ได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มเป๋าหมายใหม่โดยกิจกรรมดังนี้

สิ่งที่เกิดขึ้น
-รณรงค์ให้มีการออกกำลังกายวิถีชุมชนโดยการเดินเพื่อพิชิตความอ้วน เน้นการกินผักใบเขียว -จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมนูผักปลอดสารพิษสอดคล้องกับวิถีชุมชนโดยต่อยอดจากครูภูมิปัญญา

-ลดรายจ่ายภายในครัวเรือน ลดต้นทุนการผลิตมีการออมเพิ่มมากขึ้น

สิ่งที่ได้เรียนรู้ -การปลูกผักปลอดสารพิษ โดยใช้ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ แทนการใช้สารเคมี เพื่อลดรายจ่ายภายในครัวเรือน -จัดทำเมนูผัก พื่อ พิชิตความอ้วน -ประชาชนได้นำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้

กิจกรรมหลัก : ให้ความรุู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพi

10,400.00 50 ผลผลิต

1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 50 คน
2.มีแนวทางการในการปรับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ 3.เกิดความรัก ในชุมชน
4.มีการเรียนรู้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

การเปลี่ยนแปลงในกลุ่มคน : กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรุ้แนวทางการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง มีการนำสมุนไพรและสิ่งที่อยุ่ในชุมชนมาดูแลสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม : มีแนวทางการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และทำให้บ้านตนเองน่าอยู่น่าอาศัยโดยการปลูกผัก การเปลี่ยนแปลงกลไก : ใช้วิธีการมีส่วนร่วมและใช้ภาคีในการติดตามผล

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

กลุ่มเป้าหมาย 100คน ได้แก่

-แกนนำชุมชน
-ทีมทำงาน
-ประชาชนทั่วไป

10,400.00 10,400.00 50 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้คณะทำงานได้มีการนำความรู้ภายในกลุ่มแลกเปลี่ยนร่วมกันและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นดังนี้

สิ่งที่เกิดขึ้น -ประชาชนมีสุขภาพดี คนในชุมชนรักกัน  ครอบครัวอบอุ่นเพราะมีความรัก ความสามัคคี -ประชาชนรู้จักการพึ่งตนเอง รู้จักใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ลดการใช้สารเคมี
-ประชาชนรู้จักการทำบัญชีครัวเรือน
สิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้น -ชุมชนพึ่งตนเอง -ภูมิปัญญาได้รับการถ่ายทอด -ประชาชนเข้าวัดฟังธรรมมากยิ่งขึ้น

กิจกรรมหลัก : จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่i

1,000.00 2 ผลผลิต

1.มีป้ายไวนิลรณรงค์ลดบุหรี่ 2.มีพื้นที่สาธารณสุขสำหรับห้ามสูบบุหรี่


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.การเปลี่ยนแปลงในคน เกิดทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพ 2.กลไกล  มีการจัดสรรพื้นที่ประชุม เป้็นพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

คณะทำงาน 2 คน

1,000.00 1,000.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และป้ายไวนิลโครงการ

กิจกรรมหลัก : การจัดทำรายงานโครงการi

2,000.00 5 ผลผลิต

1.คณะทำงานมีการประชุมและสรุปการทำกิจกรรม ครบทุกครั้ง
2.มีการจัดทำรายส่งตามที่กำหนด


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

การเปลี่ยนแปลในคน : คณะทำงานมีการแบ่งหน้าที่ มอบหมายความรับผิดชอบ และเกิดกระบวนการทำงานเป็นทีม

การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม : มีการสร้างบรรยากาศการทำงานในกลุ่มให้เป็นกันเอง และให้ความเคารพกันแบบพี่น้อง

การเปลียนแปลงกลไก : ใช้กลไกการมีส่วนร่วมและพัฒนาคนตามศักยภาพ ตามความสามารถของตนเอง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

คณะทำงาน 5 คน

2,000.00 2,000.00 5 5 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ทีมงานร่วมกันสรุปผลการดำเนินงานและรายงานความก้าวหน้าตามโครงการ 2.ตรวจการบันทึกข้อมูลออนไลน์ตามโปรแกรม 3.จัดทำสรุปรายงน ส.1 ส.2 และส.3 พร้อมทั้ง ส่ง ส.4

กิจกรรมหลัก : ประชุมร่วมกับ สสส.และสจรส.มอ.i

10,000.00 5 ผลผลิต

1.คณะทำงานเข้าร่วมประชุมกับพี่เลี้ยงตามที่กำหนดทุกครั้ง 2.เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างโครงการและทีมพี่เลี้ยง 3.การติดตามเป็นระยะๆ  ทำให้ลดปัญหาและช่องว่างในการดำเนินงาน ทำให้โครงการสามารถปิดโครงการได้


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

การเปลี่ยนแปลในคน : เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างพี่เลี้ยงและโครงการ มีการเรียนรุ้กัน และให้ความช่วยเหลือกันตลอดเวลา

การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม :  มีการสร้างบรรยากาศในการทำงานให้เป็นกันเอง มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้

การเปลียนแปลงกลไก : มีการติดตาม ตรวจสอบความถูกต้อง ความโปร่ง และมีการบริหารจัดการที่ดี

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 5 ครั้ง

คณะทำงานปรึกษากับพี่เลี้ยง เพื่อหาคำแนะนำการทำงานตามโครงการ

4,000.00 4,000.00 5 5 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พี่เลี้ยงได้ให้คำแนะนำในการออกแบบกิจกรรมในงวดที่ 2 และการจัดทำรายงาน ในครั้งนี้เบิกค่าใช้จ่ายดังนี้ 1.ค่ารถในการประชุมที่ มอ.ในกิจกรรมปฐมนิเทศโครงการ เป็นเงิน 2000 บาท 2.ค่ารถในการประชุมครั้ง นี้ 2000 บาท รวมทั้งหมด 4000 บาท 

คณะทำงาน 5 คน

2,000.00 2,000.00 5 5 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พี่เลี้ยง สจรส.ได้ตรวจสอบ ผลการดำเนินงานและรายงาน พบว่า พี่เลี้ยงแนะนำให้บันทึกกิจกรรมให้ละเอียด เพื่อความง่ายในการประเมินผลโครงการ

คณะทำงาน 5 คน

2,000.00 2,000.00 5 5 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานเข้าไปปรึกษาพี่เลี้ยง ของจังหวัดนครศรีธรรมราช เกี่ยวกับการทำรายงาน การเตรียมเอกสารเพื่อปิดโครงการ พี่เลี้ยงแนะนำให้จัดทำงานรายงาน ส.2 ง.3 ส.3 และการเตรียมภาพถ่าย และข้อมูลในการทำ ส.4 ไปด้วย

คณะทำงาน 5 คน

2,000.00 2,000.00 5 5 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พี่เลี้ยง สจรส.มอ.และพี่เลี้ยง นครศรีฯ  พร้อมพี่เลี้ยงโครงการ ร่วมกันสรุปแนวทางการประเมินโครงการและปิดโครงการ

คณะทำงานสรุปปิดโครงการ 5 คน

0.00 0.00 5 5 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานสรุปผลการดำเนินงานแต่ละกิจกรรมในงวดท่ี่ 2 2.ได้ตรวจสอบเอกสารทางการเงิน ถูกต้อง 3.การจัดทำรายงาน ปัญหาที่พบคือ ไม่ได้ระบุหัวข้อให้ตรงกับแบบฟอร์มออนไลน์ ทำให้พบปัญหาเรื่องการสรุปรายงานการเงินไม่ได้ 4.แนะนำแนวทางการจัดทำรายงาน ตามเอกสารที่ สสส.กำหนด

กิจกรรมหลัก : แลกเปลี่ยนเรียนรู้ฐานชุมชน (2ครั้ง)i

24,000.00 100 ผลผลิต

1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 100 คน
2.มีการรวบรวมองค์ความรู้และเผยแพร่ความรุ้ไปสู่ประชาชน 3.เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรุู้ 4.เกิดแนวทางพัฒนาชุมชนที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

การเปลี่ยนแปลในคน : กลุ่มคนได้เรียนรุ้กระบวนการพัฒนา เปลี่ยนทัศนคติและมุมมองของตนเอง

การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม : ได้เรียนรู้กระบวนการพัฒนาปรับปรุงดิน  การปรับสภาพน้ำ การลดสารเคมีในชีวิตประจำวัน มีการใช้วัสดุในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์

การเปลียนแปลงกลไก : เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและมีภาคีเข้ามาร่วมทำงาน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

กลุ่มเป้าหมาย 100 คน

12,000.00 12,000.00 100 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้พวกเราจะมาพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือน  สำหรับวิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษอาหารที่เราทิ้งกันทุกวันนั้น ก็มีวิธีง่ายๆ เมื่อหมักได้ที่ ก็สามารถนำไปใช้ได้เลยโดยที่ไม่ต้องมานั่งกรองกากเศษอาหารที่ยังย่อยไม่หมดออก  สำหรับวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม มีดังนี้
1.ถุงกระสอบดินสำหรับใส่เศษอาหาร 2. ถังมีฝาปิด ขนาดที่สามารถใส่น้ำได้ 10 ลิตรขึ้นไป
3. น้ำตาล 1 กิโลกรัม 4. น้ำสะอาด 10 ลิตร ควรพักคลอรีนไว้สัก 1-2 คืน
วิธีทำ
1.นำน้ำสะอาด 10 ลิตรมาเติมลงในถัง ใส่กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม หรือใส่น้ำตาล 1 ส่วน ใช้ไม้กวนให้เข้ากัน
2.จากนั้น นำเศษอาหารใส่ลงในกระสอบ (กระสอบดินถุงที่พอจะมีช่องระบายอากาศ) มัดปากถุงแล้วแช่ลงไป โดย แนะนำว่าไม่ควรใส่เศษอาหารเกิน 3 ส่วน 3.หมักทิ้งไว้ประมาณ 20-30 วัน โดยควรปิดฝาให้สนิท เพื่อให้แมลงจะได้ไม่มาไข่ ทำให้ถังหมักของเราไม่มีหนอน วิธีใช้ : เวลานำมาใช้รดน้ำต้นไม้ ก็ควรจะผสมให้เจือจาง ควรใช้ 2 ฝา ต่อน้ำ 1 บัว (ประมาณ 20 ลิตร)
ส่วนกากที่เหลือก็สามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยต่อได้  โดยนำมาผสมกับใบไม้แห้ง  และปุ๋ยคอก  รดน้ำปรับความชื้น 60 เปอร์เซ็นต์ ทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ หรือสังเกตดูจนปุ๋ยหายร้อน ก็สามารถนำไปใช้ได้
ระหว่างการหมัก ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเทเข้าเทออกสักหน่อย คลายๆกับเป็นการกลับกองไปในตัว ลองสังเกตหรือจับดู ถ้าปุ๋ยที่หมักไม่ร้อนแสดงว่ากระบวนการหมักไม่เกิด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าเราปรับความชื้นไม่เหมาะสม หรือใส่สัดส่วนไม่พอดี ระหว่างสิ่งที่ย่อยเร็วกับย่อยช้า

วันนี้จะมาแนะนำวิธีการปลูกผักให้ได้ผลดี แต่หลายคนบอกว่ารู้ไปทุกเรื่อง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ก็มีคนที่ลองปลูกผักเองมาบ้างแล้ว แต่ก็ได้ผลไม่ค่อยดี และไม่รู้ว่าควรทำอย่างไร จะขอรวบรวมหัวใจสำคัญของการปรุงดิน ปลูกผัก มาให้ได้เรียนรู้กันอย่างเป็นขั้นเป็นตอนมากขึ้นอีกครั้ง 1.การปรุงดิน: หัวใจสำคัญของการปลูกผักให้งาม คือการปรุงดินให้ดี สำหรับวิธีปรุงดินที่จะขอนำเสนอให้ลองนำไปทำกันดูก็คือ การหมักดิน มีส่วนผสมดังนี้ 1. ดิน 2. มูลสัตว์(ปุ๋ยคอก) 3.เศษใบไม้แห้ง 4.เศษอาหารสด ผัก ผลไม้ กากกาแฟ เปลือกไข่ ฯลฯ 5. หัวเชื้อจุลินทรีย์ 6. น้ำตาล   วิธีการหมักดิน คือ  นำดินที่ซื้อมาคลุกเค้ากับมูลสัตว์ เศษใบไม้แห้ง เศษอาหาร และหัวเชื้อจุลินทรีย์ จากนั้นเติมน้ำตาล คลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยให้กะปริมาณตามความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องมีอัตราส่วนที่แน่นอน  หลักสำคัญที่ควรทราบก็คือ 1) มูลสัตว์ที่นำมาใช้ควรเป็นมูลสัตว์แห้ง 2)เศษใบไม้ควรเลือกใบเล็ก และหากเป็นพืชตระกูลถั่วก็ย่อยง่ายขึ้น  3) เศษอาหาร ควรใส่ให้หลากหลายชนิด เพื่อให้ได้สารอาหารพืชหลายชนิด  4) น้ำตาลทราย เป็นน้ำตาลอะไรก็ได้ ที่เราเติมลงไปเพื่อกระตุ้นให้หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่เรานำมาผสมทำงานย่อยสลายได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น -  จากนั้นเติมน้ำพอชุ่ม กะความชื้นให้เหมาะสม โดยสังเกตได้ด้วยการทดลองกำดินที่ผสมเเล้วขึ้นมา  หากจับกันเป็นก้อนไม่แตกและบีบไม่มีน้ำไหลเป็นใช้ได้
-  ตักดินที่ผสมแล้ว ใส่ถุงดินที่ซื้อมา (ควรเป็นถุงกระสอบที่มีรูระบายอากาศ) ตั้งทิ้งไว้ในที่ร่ม จนจับดูแล้วดินหายร้อน ก็สามารถนำมาปลูกผักได้

ความแตกระหว่างปุ๋ยน้ำหมักกับน้ำหมักชีวภาพ ต้องเข้าใจและแยกกันให้ออกว่ามันต่างกันตรงไหน  สิ่งที่ต่างกันตรงที่ปุ๋ยน้ำหมักจะมีธาตุอาหารและจุลินทรีย์  ส่วนน้ำหมักชีวภาพจะมีเฉพาะจุลินทรีย์  ทั้ง 2 แบบนี้ใช้เหมือนกัน แต่ผลต่างกันนิดหน่อย คือ ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ เมื่อใส่ลงไปในดินจะให้ธาตุอาหารแก่พืชได้เลย ส่วน น้ำหมักชีวภาพ เมื่อใส่ลงไป จุลินทรีย์ จะไปทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้กลายเป็นธาตุอาหารแก่พืช  ถ้าจะทำปุ๋ย จะต้องมีวัตถุดิบพวกปลา หอยใส่ลงไปหมัก ซึ่งน้ำหมักที่ได้จะมีธาตุอาหารอยู่ด้วย ถ้าทำน้ำหมักชีวภาพ ก็ใช้เศษอาหาร เศษผลไม้ เศษผักมาหมัก เป็นการนำของที่เหลือทิ้งมาใช้ให้เป็นประโยชน์

-แกนนำชุมชน 5 คน
-ทีมทำงาน 5 คน -กลุ่มเป้าหมาย 40 คน

12,000.00 12,000.00 100 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้คณะทำงานได้มีการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้สอดคล้องกับวิถีชุมชน
สิ่งที่เกิดขึ้น -ประชาชนมีสุขภาพดี -ประชาชนรู้จักปรับเปลี่ยนสุขภาพที่สอดคล้องวิถีชุมชน -มีความรักความสามัคคีของคนในชุมชน

-ชุมชนลดการใช้สารเคมี ลดขยะในครัวเรือน ลดต้นทุนการผลิต -เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง ประชาชนมีสุขภาพดี

สิ่งที่เรียนรู้ -ถ่ายทอดความรู้ผักใบเขียว ผักหลากสีที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ -การออกกำลังกายจากวิถีชุมชนโดยการเดิน

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
สบู่ขมิ้น แชมพูมะกรูด

1.ครูภูมิปัญญาได้สอนให้ทำสบู่ขมิ้นไว้ใช้เองในครัวเรือน เป็นการนำสมุนไพรใกล้ตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ลดการนำสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย และขมิ้นบำรุงผิว 2.แชมพูมะกรูด เป็นการนำมะกรูดที่มีอยู่ในครัวเรือน มาทำเป็นแชมพู ลดการใช้สารเคมี ทำให้ผมนุ่ม ดกดำ

1.ลดรายจ่ายในการซื้อสบู่ และยาสระผม 2.ลดการใช้สารเคมี 3.อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

น้ำยาอเนกประสงค์ สมุนไพร

สูตรที่ใช้ทำมีส่วนผสม n70 และ F24  มีเกลือเล็กน้อย  ใช้สมุนไพรคือน้ำมะนาวเพื่อช่วยขจัดคราบมัน และใช้กลิ่นจากสมุนไพร สามารถเลือกใช้ได้หลายชนิด ผสมกันเข้ากันและทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง

1.น้ำยาอเนกประสงค์  นำไปล้างจานได้ดี ซักผ้าก็ได้  ล้างห้องน้ำก็ได้ ทำให้ผ้าขาวสะอาดดีมาก 2.ช่วยลดกลิ่นในห้องน้ำ 3.ลดสารเคมีเพราะใช้สมุนไพร 4.ประหยัดรายจ่าย

ยาสีฟันสมุนไพร

ทำมาจากสูตร พิมเสน การบูร เกลือ เมนทอล รากข่อย นำมาผสมกันโดยตำ ใส่พิมเสนก่อน เมนทอน และใส่การบูร เกลือ คนให้เข้ากัน หลังจากนั้นตำรากข่อย  นำไปผสมให้เข้ากัน สูตรที่แนะนำให้ใส่ข้าวจ้าวพอประมาณ เพื่อทำให้เหนียว ง่ายต่อนำไปใช้ ไม่เป็นน้ำ

1.จากการสอบถามเมื่อนำไปใช้ พบว่ามีรสดี ร้อน ไม่ปวดฟัน ทุกคนที่ใช้มาแล้ว ยืนยันว่าดีมาก 2.สิ่งที่หาได้จากในหมู่บ้านคือรากข่อย ส่วนผสมอื่นต้องหาจากข้างนอก  และสามารถทำได้หลายสูตร 3.ประหยัดรายจ่าย 4.ใช้การสืบทอดภุมิปัญญาพื้นบ้าน

สมุนไพรไล่แมลง

มีสูตร ประกอบด้วย ข่า สะเดา  ใบเทียม ฟ้าทะลายโจร กากน้ำตาล บอระเพ็ด  น้ำมาหมักไว้ 3 เดือน ตอนนี้ได้มีการนำไปฉีดไล่แมลง  ใช้ได้ดี

1.สิ่งที่เกิดขึ้น คือ แมลงที่กินผัก กินพืช กินใบ หายไป เช่น ตัวคลอม ตัวเพลี้ย หนอนฯลฯ 2.การตอบรับ พึงพอ ใจ ไม่ต้องใช้สารเคมีเลย ประหยัดรายจ่ายค่าซื้อสารเคมี ลงทุนเฉพาะกากน้ำตาลอย่างดี ผลิตผลที่ได้ลูกใหญ่ สวยงาม กินได้สนิทใจ ปลอดภัย ดีกว่าจากการซื้อจากตลอด สามารถเก็บกินได้ตลอดเวลา 3.แตกต่างจากสูตรอื่นๆ มีการผสมสมุนไพรหลายชนิด  ข่าทำให้ร้อน ใบเทียมทำให้มีกลิ่นเหม็น แมลงไม่เข้าใกล้ ฟ้าทะลายโจรกับบอระเพ็ดขม  แมลงไม่เข้าใกล้

2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
สมุนไพรไล่แมลง

ปราชญ์ชุมชนได้นำความรู้สมัยบรรพบุรุษมาสอนกลุ่มเป้าหมายให้ทำยาสีฟันใช้เอง ซึ่งมีส่วนผสมง่ายๆคือ  พิมเสน การบูร เกลือ เมนทอล รากข่อย นำมาผสมกันโดยตำ ใส่พิมเสนก่อน เมนทอน และใส่การบูร เกลือ คนให้เข้ากัน หลังจากนั้นตำรากข่อย  นำไปผสมให้เข้ากัน สูตรที่แนะนำให้ใส่ข้าวจ้าวพอประมาณ เพื่อทำให้เหนียว ง่ายต่อนำไปใช้ ไม่เป็นน้ำ

1.รสชาดดี ไม่มีอันตราย เพราะทำจากใบข่อยและเกลือ 2.ประหยัด ราคาถูก 3.เป็นการสืบทอดภูมิปัญญา

แหล่งเรียนรู้ในครอบครัว

1.ครู ก และ ครู ได้ร่วมกันรวบรวมองค์ความรู้ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาบ้านตนเอง 2.องค์ความรู้ที่นำไปพัฒนาในบ้านตนเอง ได้แก่ (1)การทำน้ำหมักชีวภาพ (2)ขยะที่เหลือทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ (3)น้ำยาเอนกประสงค์ (4)สบู่สมุนไพรขมิ้น  (5)ยาสระผมสมุนไพร มะกรูด (6)การทำบัญชีครัวเรือนลดหนี้ ลดรายจ่าย (7)การทำน้ำส้มควันไม้ ไล่แมลง (8)การใช้ภูมิปัญญาดูแลสุขภาพตนเอง (9)การใช้สมุนไพรดูแลสุขภาพตนเอง

1.ชุมชนได้เรียนรู้ภูมิปัญญาและเห็นคุณค่าของปราชญ์ขุมชน 2.ชุมชนได้ใช้สมุนไพรในการทำผลิตภัณฑ์และลดการนำสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย 3.ลดขยะในครัวเรือนโดยทำเป็นปุ๋ยชีวภาพ 4.มีแหล่งเรียนรู้ทีทุกคนเรียนรู้ไต้ตลอดเวลา

2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
พระเกียรติศักดิ์ สายพือ รองเจ้าอาวาสวัดทองพูน ม.2 ต.เขาพระบาท อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีฯ

1.ท่านมีความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรและภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพ 2.ท่านเป็นพระนักพัฒนาและนักปฏิบัติ คอยชี้แนะประชาชนให้ดำรงชีวิตทีถูกต้อง ถูกทาง 3.ท่านอนุญาตให้พื้นที่วัดเป็นศูนย์เรียนรู้ทุกด้าน

นายทำนอง สมัย 34 หมู่ที่ 2 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

1.เป็นครูภูมิปัญญาและเป็นปราชญ์ชุมชน ได้เรียนรูู้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และนำมาใช้ในบ้านของตนเอง เป็นเวลา 15 ปี มีความรุู้เป็นอย่างดี ได้แก่ การทำสบู่ ยาสระผม น้ำยาซักผ้า  น้ำส้มควันไม้ ฯลฯ 2.เป็นบุคคลที่มีความรู้ และมีจิตอาสาที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในหมู่บ้าน

นางวันทนา เส้งทั่น 23 หมู่ที่ 2 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

1.เป็นแกนนำกลุ่มในการทำกิจกรรมตามโครงการเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรุ้และทดลองปฏิบัติ 2.นำสิ่งที่ผลิตได้ไปทดลองใช้จนเกิดเห็นผลจริง 3.เป้นครู ก ที่จะขยายผลต่อไป

นางพิไลวรรณ พรายชุม 83 หมู่ที่ 2 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

1.เป็นแกนนำชุมชนที่ร่วมกิจกรรมและมีจิตอาสา 2.จัดทำเป็นฐานเรียนรู้ในบ้านและเป็นจุดสาธิต 3.นำสิ่งที่ได้ทดลองนำไปใช้ในการปลูกผัก ได้ผลผลิตดี กำไรดี

นางไพฑูรย์ หวานทอง 8 หมู่ที่ 2 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จ.นครศรีฯ

1.เป็นแกนนำชุมชน ที่นำความรุ้ที่ได้รับการถ่ายทอดจาก ครู ข ไปพัฒนาบ้านตนเอง โดยการทำน้ำหมัก ปุ๋ยหมัก และปลูกผัก ทุกวันนี้ได้กินผักที่ตนเองปลูก นำไปขายและยังถ่ายทอดความรู้ให้กับเพื่อนบ้านอีกด้วย

นางสมศรี ด้วงทอง 181 หมู่ที่ 2 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

1.ได้นำความรุ้ที่มีการถ่ายทอดจากฐานเรียนรู้ นำไปปรับใช้เองที่บ้าน
2.วัสดุเหลือใช้จากครัวเรือน นำไปทำปุ่๋ยหมักและน้ำหมัก
3.ลดต้นทุนด้านการเกษตร และลดการใช้สารเคมี 4.ตั้งใจ เสียสละ และยังมี่ช่วยทำฐานเรียนรู้หมู่บ้านอีกด้วย

2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

วัดทองพูน ม.2 ต.เขาพระบาท อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรี

เดิมเป็นพื้นที่ รกและว่างเปล่า รองเจ้าอาวาสได้ร่วมพัฒนา ทุกวันนี้ได้เปลี่ยนเป็นศูนย์เรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้เข้าไปเรียนรู้และร่วมทำกิจกรรมเป็นประจำทุกเดือน และยังกลายเป็นศูนย์เรียนรุู้ของหมู่บ้าน

โรงเรียนวัดทองพูน

ได้พัฒนายกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนสำหรับนักเรียน ซึ่งนักเรียนได้ทำกิจกรรม ได้แก่ ปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียน ฐานทำน้ำหมัก และการทำน้ำยาเอนกประสงค์  โดยนักเรียนหมุนเวียน แบ่งหน้าที่ในการดูแล รับผิดชอบ

บ้านผู้ใหญ่วาสนา ทองส่งโสม

ได้พัฒนาให้เป็นสถานที่ประชุมและฐานเรียนรู้ของหมู่บ้าน เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีครัวเรือน

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

ไม่มีความเสี่ยง

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

ไม่มีความเสี่ยง

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

ไม่มีความเสี่ยง

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

ไม่มีความเสี่ยง

2.2 การใช้จ่ายเงิน

ไม่มีความเสี่ยง

2.3 หลักฐานการเงิน

ไม่มีความเสี่ยง

ผลรวม 0 0 0 0
ผลรวมทั้งหมด 0 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

สามารถปิดโครงการได้ ตรวจสอบหลักฐานการดำเนินงานได้

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากโครงการคือ
1)ประชาชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเกษตรวิถี ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
2)ได้เรียนรู้ในการพัฒนาปรับปรุงสิงแวดล้อม
3)มีกระบวนการสร้างการเรียนรู้ จาก ครู ก ไปยังครู ข  และกลุ่มเป้าหมาย 4)ประชาชนเห็นคุณค่าสิ่งเหลือใช้ในชุมชน
5)มีแนวทางการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน จากการทำบัญชีครัวเรือน 6)สร้างความตระหนักและความรับผิดชอบในกลุ่มเยาวชน
7)ชุมชนเกิดความเอื้ออาทร ประชาชนเกิดความตระหนัก 8)ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น


การเปลี่ยนแปลง 1.การเปลี่ยนตัวเอง คือ คนให้ความร่วมมือ มีความสุขจากการทำงาน มีแนวทางลดค่าใช้จ่าย สุขภาพกาย สุขภาพจิตดีขึ้น มีการเรียนรู้ร่วมกัน  สร้างสัมพันธภาพ ปรับทัศนคติเชิงบวก 2.การเปลี่ยนแปลงในครอบครัว คือ ทุกคนเข้าใจกันมากขึ้น ครอบครัวอบอุ่น ลดรายจ่ายครัวเรือน สมาชิกลดสูบบุหรี่ 3.การเปลี่ยนแปลงชุมชน คือ มีกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาชุมชน ชุมชนน่าอยู่มากขึ้น ทุกคนให้ความร่วมมือในการพัฒนากิจกรรมโครงการ มีวิธีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม

บทเรียนที่เกิดขึ้น 1.ในการพัฒนาต้องมีแกนนำ มีจิตอาสา และคนต้นแบบ จึงจะมีการเคลื่อนงาน 2.ต้องเรียนรู้และเข้าใจกระบวนการพัฒนาอย่างแท้จริง
3.การพัฒนาหมู่บ้านต้องเกิดจากความต้องการและตรงกับปัญหา 4.การมองโลกในแง่ดี เป็นกลไกการขับเคลื่อนงานอีกแนวทางหนึ่ง 5.การทำงานย่อมมีทั้งปัญหาและอุปสรรค ต้องไม่ย่อท้อ 6.เรียนรู้วิธีการเดินทางสายกลาง 7.ภาคีหน่วยงานต่างๆ ต้องนำมาเป็นปัจจัยหนุนเสริม

สร้างรายงานโดย Nongluk_R