แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 2

รหัสโครงการ 57-01535
สัญญาเลขที่ 57-00-1022

ชื่อโครงการ สามวัยสานใจดูแลชุมชนสนามกีฬา
รหัสโครงการ 57-01535 สัญญาเลขที่ 57-00-1022
ระยะเวลาตามสัญญา 10 มิถุนายน 2014 - 10 กรกฎาคม 2015

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 กำไล สมรกษ์
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 10 พฤษภาคม 2015
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 13 พฤษภาคม 2015
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นางสาวพลอยปวีร์ เกลี่ยงณรงค์ 139/7 หมู่ที่ 3 ถนน ชายทะเล ตำบล ปากพนัง อำเภอ ปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 0831765344
2 นางจิราวรรณ งามจรัส 530/1 หมู่ที่ 3 ถนน ชายทะเล ตำบล ปากพนัง อำเภอ ปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 0835295813
3 นางมิ่งขวัญ สุวรรณรัตน์ 34/26 หมู่ที่ 3 ถนน ชายทะเล ตำบลปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 0850699540

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สูงอายุและเยาวชนโดยให้มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากปราชญ์ชุมชนและผู้สูงอายุสอนเยาวชน ให้เกิดรายได้ในครอบครัว

เชิงคุณภาพ

  1. กลุ่มสามวัย ประกอบด้วย กรรมการ 15 คน ผู้สูงอายุ 40 คน เด็กและเยาวชน 20 คน ปราชญ์ชุมชน 5 คน รวมกันทำหมอนสุขภาพและโมบายปลาตะเพียน ร้อยละ 80
  2. กลุ่มสามวัยร่วมติดตามผลการใช้หมอนสุขภาพ ร้อยละ 80
  3. กลุ่มผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดีขึ้น ร้อยละ 80

เชิงคุณภาพ

กลุ่มเป้าหมายช่วยกันจัดกิจกรรมเรียนรู้การจักสานเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์และเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายในครัวเรือน

2.

เพื่อให้กลุ่มคนสามวัยมีการพัฒนาทักษะสืบสานภูมิปัญญาและสามารถจัดการกลุ่มได้อย่างยั่งยืนโดยจัดตั้งกองทุนกลุ่มคนสามวัย เกิดสวัสดิการชุมชน

เชิงปริมาณ

  1. เกิดกองทุนคนสามวัยเพื่อสวัสดิการชุมชน 1 กองทุน

  2. เกิดกติกากองทุนเพื่อพัฒนาสวัสดิการชุมชน

เชิงคุณภาพ

    มีกองทุนคนสามวัยเป้นสวัสดิการชุมชน ช่วยให้ผู้สูงอายุไม่ถูกทอดทิ้ง เด็กนักเรียนมีทุนเรียนหนังสือ

3.

เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ

  1. จำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส หรือ สจรส.มอ.
  2. ส่งรายงานงวดได้ทันเวลาและถูกต้อง
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : ประชุมคณะกรรมการi

10,000.00 15 ผลผลิต

มีการประชุมกรรมการร่วมประชุม 15 คน จำนวน 8 ครั้ง เพื่อทวบทวน วางแผน มอบหมายงาน และประเมินผลงานอย่างต่อเนื่อง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม การดำเนินงานที่ผ่านมา ได้ปฏิบัติตามสัญญา คือ จัดกิจกรรมกลุ่มให้คนสามวัยได้มาร่วมเรียนรู้การทำหมอนสุขภาพและการทำโมบายปลาตะเพียน ได้เชิญนักเรียนอนุบาลพลพันธ์มาร่วมเพิ่ม ปรับการดำเนินให้มีการเรียนรู้เพิ่มในครอบครัวของคนในชุมชน โดยการติดตามในครอบครัวที่เข้ามาร่วม เน้นเด็กและเยาวชนในชุมชนให้มาร่วมทำกับผู้สูงอายุและแกนนำชุมชน ส่วนเด็กและเยาวชนท่ีมาร่วมเพิ่มจากชุมชนใกล้เคียงนั้น ให้มาเรียนรู้ร่วมกัน แต่ให้เด็กในชุมชนเป็นผู้สอน ได้พัฒนาเด็กให้สอนเพื่อนได้ จัดกิจกรรมในวันหยุด เนื่องจากในวันหยุดเด็กและเยาวชนสามารถเข้าร่วมเรียนรู้กับผู้สูงอายุได้ ช่วยให้เกิดสายใยสัมพันธ์

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 8 ครั้ง

คณะกรรมการและเยาวชนบันทึกรายงานในคอมพิวเตอร์

2,000.00 2,000.00 3 4 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

บันทึกได้บันทึกปฎิทินเสร็จฝึกบันทึกการรายงานผล ได้รู้การจัดโครงการ และการจัดการรายงานการเงิน

 

10,000.00 525.00 15 7 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้มอบหมายให้กรรมการไปนัดแนะเวลา และบอกรายละเอียด จะทำทุกวันเสาร์ เนื่องจากเป็นวันหยุด เด็กไม่ไปโรงเรียน ให้กรรมการและพี่เลี้ยงช่วยทำกิจกรรมในวันเสาร์ มีการวัดความดัน ชั่งน้ำหนัก พี่เลี้ยงเตรียมอุปกรณ์ มีป้าอารี พี่ศุภมนัส เป็นคนสอน 

คณะกรรมการ

10,000.00 525.00 15 7 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้วิธีการทำงานต่อเนื่องโดยให้กรรมการเดินไปกระตุ้นตามบ้าน และคิดต่อเรื่องการทำงาน เสร็จแล้วจะตั้งกองทุนให้เด็ก แสดงความคิดเห็นกัน เรามีพี่เลี้ยงหลายรุ่น เรามีกรรมการชุมชนช่วย ปัญหาจากการประชุมและกิจกรรมในโครงการมีน้อย กิจกรรมดำเนินไปได้ด้วยดี เพราะเป็นกิจกรรมที่ทุกคนชอบ ทำได้ สร้างความสุข เพลิดเพลิน เด็กก็มาเล่า มาอวดกัน เป้นบรรยากาสที่ดีมาก จากนั้นได้เตรียมความพร้อมของกรรมการ ใครเป้นผู้ดูแลผู้วูงอายุ สุจิน ช่วยต้อนรับ จ้สนเตรียมของ วัดความดัน ทุกคนช่วยกันทำงานทุกเรีอง แบ่งงานกันเป็นทีม

กรรมการชุมชน กรรมการโครงการ

10,000.00 525.00 15 7 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการประชุม คือ ให้ประธานชุมชน จ้วน ถั่ว นำอุปกรณ์และสินค้าออกจำหน่าย ที่เหลือให้ไปกระตุ้นกลุ่มมาทำต่อ ให้ได้ผลงาน เด็กและผู้สูงอายุที่ว่างต้องมาทำ ให้ไปทำเป็นกลุ่มที่บ้าน รวมกลุ่มกันข้างบ้านให้ช่วยทำ เช่น ป้าแดง หัวหน้ากลุ่มทำแล้วชวนเด็กมาทำ มีกรรมการติดตามเพิ่มเติม ทำต่อเนื่อง ตั้งเป้าหมายให้ทังานเดือนสิบ

 

0.00 0.00 15 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

 

ผู้สูงอายุ เด้ก ผู้ใหญ่

10,000.00 4,800.00 15 96 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นายเจอ ตอบว่า หนุกดี ดีหวาอยู่บ้าน บางคนบอกว่าถ้าไม่มาไม่เห็นหน้าพี่เลี้ยง สร้างความสบายใจให้กับทุกคน ยังทำให้เหนียวแน่น เราต้องการให้คนสามวัยมาร่วมกันสร้างสัมพันธ์ เด็กก็ฉลาดขึ้น ชักชวนกันมา ถีบรถกันมาเป็นขบาน เสริมกำลังใจให้กรรมการมาก กรรมการก้ข้ากันได้ดี ผู้สูงอายุมีน้ำใจ สรุปทุกคนบอกว่าทำต่อ แม้เดินทางในฤดูฝนลำบาก ก็จะมา วันนี้แม้ติดงานวัดก็มากันเต็ม

กรรมการ แกนนำชุมชน

10,000.00 525.00 15 13 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มอบหมายงานรบผิดชอบ และนัดติดตามผลการประสานงานเพื่อจัดกิจกรรมต่อเนื่อง

คณะกรรมการ พี่เลี้ยง

0.00 0.00 10 8 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. การดำเนินงานที่ผ่านมา ได้ปฏิบัติตามสัญญา คือ จัดกิจกรรมกลุ่มให้คนสามวัยได้มาร่วมเรียนรู้การทำหมอนสุขภาพและการทำโมบายปลาตะเพียน ได้เชิญนักเรียนอนุบาลพลพันธ์มาร่วมเพิ่ม
  2. ปรับการดำเนินให้มีการเรียนรู้เพิ่มในครอบครัวของคนในชุมชน โดยการติดตามในครอบครัวที่เข้ามาร่วม เน้นเด็กและเยาวชนในชุมชนให้มาร่วมทำกับผู้สูงอายุและแกนนำชุมชน ส่วนเด็กและเยาวชนท่ีมาร่วมเพิ่มจากชุมชนใกล้เคียงนั้น ให้มาเรียนรู้ร่วมกัน แต่ให้เด็กในชุมชนเป็นผู้สอน ได้พัฒนาเด็กให้สอนเพื่อนได้
  3. จัดกิจกรรมในวันหยุด เนื่องจากในวันหยุดเด็กและเยาวชนสามารถเข้าร่วมเรียนรู้กับผู้สูงอายุได้ ช่วยให้เกิดสายใยสัมพันธ์

กิจกรรมหลัก : เรียนรู้เรื่องหมอนเพื่อสุขภาพจากหลอดดูดน้ำแข็งi

55,400.00 80 ผลผลิต

ได้เรียนรู้เพิ่มอีก 2 ครั้ง มีผู้เข้าร่วม 80 - 85 คน ร่วมกันเรียนรู้การทำหมอนสุขภาพจากหลอดดูดน้ำแข็งอย่างต่อเนื่อง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เกิดผลงานหมอนสุขภาพที่มีคุณภาพขึ้น โดยใช้การชั่งเป็นการควบคุมคุณภาพ น้ำหนักของหมอนหนุน 6 กรัม หมอนรองคอ 2 กรัม ตามาตรฐาน วิทยากรเป็นผู้คุมคุณภาพให้ และนำหมอนเพื่อสุขภาพไปจำหน่ายในงานชักพระ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 10 ครั้ง

เด็ก ผู้สูงอายุ วิทยากร กรรมการ 

35,440.00 14,780.00 80 80 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

หลอดดูดมีคุณบัติช่วยนวด ลดการกรน ลดอัลไซเมอร์ ไม่เป็นไรฝุ่น วิทยากรสอนมาก เด้ก ผุ้สูงอายุ สนใจ บอกแล้วให้ตัดหลอด 1 เซนติเมตร ไม่ไหญ่ แต่ตัดให้มาก วิทยากรเดินเวียนตามกลุ่ม ดูแลใกล้ชิด เด็กตั้งใจ ทำได้และมีการอวดกัน ทำได้โอ้อวดกับกลุ่มเพื่อน หลังทำไปสักพักก็เลี้ยงอาหาร เพื่อผ่อนคลาย กินหมี่ผัด น้ำหวาน ขนมหวาน สลับการทำ ผู้สูงอายุกับเด็กมีความสนุกสนานและเพลิดเพลิม สรุปว่า เด็กมีความตั้งใจมาก แม้เด็กอนุบาลก็มาคอยดูว่าทำอะไร ผู้สูงอายุนั่งพื้นไม่ได้ พี่เลี้ยงก็ไปขนเก้าอี้มาให้นั่งทำ ทำเสร็จ รอการบรรจุ นัดครั้งต่อไป วันที่ 20 กันยายน 2557 เพื่อบรรจุให้เสร็จ ได้ออกแบบเพิ่ม โดยทำเป็นหมอนรองคอ รองคนไข้เพื่อป้องกันแผลกดทับ เป็นจุดขายได้ เริ่มทำเริ่มเห็นว่าจะพัฒนาต่อ คือทำหลายแบบ ตามที่สมาชิกนำเสนอ ให้ทุกคนคิดอย่างอิสระ ได้ทำให้เสร็จ และวางขายในงานเดือนสิบ

ผู้สูงอายุ กรรมการ เด็กและเยาวชน วิทยากร ป้ามาลี พี่แอ๋ว

35,440.00 10,200.00 80 81 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชั่งน้ำหนักวัดความดันก่อนเรียนรู้ พบมีความดันสูงแต่ไม่มาก 5 คน (ป้าสายหยุด ลุงชุมพล ป้าห้วย น้ากิ้มห้วย สมศรี) เป็นโรคอยู่แล้ว วิทยากรต้องตรวจหลอดดูดก่อนใส่หมอน กระจายเด็กทุกกลุ่ม ในระยะแรกเด็กยังทำไม่ได้ ผู้สูงอายช่วยสอน เด็กมาร่วมช่วยก่อน พอทำไปสักพักเด็กทำได้ แบ่ง 8 กลุ่ม แต่ละกลุ่มช่วยกันทำ พบปัญหาหลอดดูดตัดไม่ได้ขนาด ต้องให้นำมาตัดใหม่ ผู้สูงอายุบางคนต้องให้กำลังใจ อธิบายกันหลายรอบ กว่าจะทำได้ ในระหว่างอธิบายเพื่อคนอื่น เด็กๆๆ ก้ได้ฟังไปปรับปรุงของตนเองให้ดีขึ้นได้ วันนี้ตรวจหลอดดูดทีละชิ้นเสร็จ ถึงเย็นพอดี ต้องกลับไปพักผ่อน พบว่าผู้สูงอายุบางคน การกำมือไม่ค่อยดี จึงได้โอกาสพัฒนานิ้งไปพร้อม พัฒนาสมอง พัมนาอารมณ์เนื่องจากหัวเราะ หยอกล้อ เล่าเรื่องสนุกสานกันฟัง เพลิดเพลิน หมดเวลาโดยไม่รุ้ตัว 

ประชาชน เยาวชน ผู้สูงอายุ คณะกรรมการ ส่วนใหญ่เป็นเด็กวัยเรียน 30 คน

10,200.00 10,200.00 80 81 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดความผูกพันธ์ของคนสามวัยในกลุ่มและต่างกลุ่ม มีเด็กอยู่ 1 คนน แมาเฒ่าไม่มา เด็กไปตามแม่เฒ่าให้มา เด็กรู้สึกสนุก อยู่กันมาก ไปตามผู้ใหญ่และผู้สูงอายุมาร่วมเพิ่ม มาสอนให้ตนเอง บางครอบครัวมากันหมดบ้าน ทั้งพ่อเฒ่าแม่เฒ่า บ้านน้าศรี บ้านป้าหวล ไม่ไปทำอย่างอื่น มาทำหมอน คนที่ไม่เคยพูดคุยกัน ไม่เคยหยอกล้อก็ได้ทำร่วมกัน ส่วนพี่เลี้ยงกลุ่มก็ช่วยเอื้อให้ทำกลุ่มได้ดี ขาดเหลือหรือต้องการอะไรก็หามาสนับสนุนให้

ผู้สูงอายุมาก เด็กน้อย เนื่องจากติดเตรียมงานชักพระ พี่น้องมาบ้าน แต่ผู้ใหญ่กับผู้สูงอายุยังมาทำมาก ต้องการทำหมอนที่ค้างไว้ให้เสร็จ

35,440.00 10,200.00 80 85 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

หมอนต้องชั่งกิโล หมอนหนุน 6 กรัม หมอนรองคอ 2 กรัม ตามาตรฐาน วิทยากรเป็นคุมคุรภาพให้ ทำอย่างมีหลักการ ทุกกลุ่มช่วยกันทำอย่างมีความสุข สังเกตเห็นว่าผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายข้อมือของตนเองได้ตลอดเวลา และขณะที่ทำได้ชวนคุย ป้าอารี ร้องเพลง เด็กนั่งอมยิ้ม เมื่อย พิงกันบ้าง เด็กนั่งบนตักผู้สูงอายุ ในวันนี้ได้หมอนหนุน และหมอนรองคอ พร้อมนำเสนอในงานชักพระ

ผู้สูงอายุ เด็ก เยาวชน และคณะกรรมการ

5,000.00 5,040.00 40 42 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ผลมาก พบว่าผู้สูงอายุที่ทำปลาตะเพียนไม่สวย ได้มาทำหมอน ทำได้ดี ชอบ เพราะเป็นงานไม่ละเอียด ร่วมทำได้ ชอบ มีกิจกรรมที่ได้จริง ถ้าทำแต่ปลาทำได้ไม่ทุกคน พอทำสองอย่าง ปรากฎว่าทำได้หมด ตามความถนัด แต่ทำหลอดดูดต้องใช้เวลา ไปทำต่อที่บ้าน ตัดเสร็จต้องนั่งบีบแป็กๆๆ ที่หัวลบคม ได้บริหารมือ คนแก่ที่ตาลายแล้วก็มีเด็กเข้ามาช่วย หมอนใช้เวลามากกว่าปลา ใน 1 วัน ปลาได้ 3 - 5 ตัว แต่หมอนไม่ได้ หลายวันต่อทำได้ แต่อาัยความสนุกสนาน ความสุข และจะหากิจกรรมดีดี มาทำต่อเนื่อง

ผู้สูงอายุ เด็ก เยาวชน และคณะกรรมการ

5,000.00 5,520.00 40 46 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทำหมอนกันได้มีความก้าวหน้า ได้กว่าครึ่ง ไปทำแป็กๆๆ ลบคมกันที่บ้านเสร็จแล้ว บางคนที่ไม่เสร็จมาทำต่อที่ร่วมกัน หยอดกันบ้าง ช่วยกันบ้าง ดังกันมั่ง หนุกไปตามเรื่อง ร่วมกันทำ พอปวดเมื่อยและออกกำลังดีมาก

ผู้สูงอายุ เด็ก เยาวชน และคณะกรรมการ

5,000.00 5,760.00 40 48 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คนทำได้ไม่พร้อมกัน คนทำไว ได้แก่ ครอบครัวลุงเหวัยน มาทั้งครอบครัว ช่วยกันตามถนัด เด็กชอบตัด คนแก่ถนัดบีบ หลานตัดเร็ว สายตาดี คนแก่บีบได้นวดมือ หยำไปเสียงดัง ชอบ หยอกล้อ ทำได้มากแล้ว คิดว่าร้อยละ 70 นัดต่อทุกวัน เสร็จแล้วก็ทำต่อ คิดหาสิ่งดีดีมาอีก ต้องมีมาอวด

ผู้สูงอายุ เด็ก เยาวชน และคณะกรรมการ

4,000.00 5,040.00 40 41 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ของที่ตนเองคิดว่าไม่น่าทำได้ ทำได้เหลือเชื่อ อายุปูนนี้ยังนั่งทำหมอนสุขภาพได้ กรรมการมีความสุขที่ทำได้สำเร็จ เราใช้มาตรฐานหมอน ชั่งกิโล 6 กรัม ไม่แน่นไม่หลวม ชั่งกับกิโล เพื่อสุขภาพจริง ต้องทำเพื่อสุขภาพ และตรวจสอบความคมเพื่อความปลอดภัย ทุกลูกต้องปลอดภัย ผลัดกันชมผลงาน มีกำลังใจทำต่อ เข็ดเมื่อยแล้วก็ออกกำลังกายต่อ

ผู้สูงอายุ เด็ก เยาวชน และคณะกรรมการ

5,000.00 4,320.00 40 36 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการทำหมอนสุขภาพกับหลอดดูด ได้คุยกันว่า ดี รองคอดี ปวดเมื่อย เป็นคำบอกเล่าของผู้สูงอายุ ดีนะใช้แล้วเมื่อคืน ลูกเดียวไม่พอ ขอทำเพิ่ม ทำแล้วเพลินดี มาร่วมอีก ห้ามหยุดกิจกรรม (บอกกรรมการว่าห้ามหยุด เราจะทำกันต่อไป ทำจนทำไม่รอด ทำกันสูญกันไปข้างหนึ่ง) นี่เป็นความภูมิใจของพี่เลี้ยงที่ช่วย แรงบันดาลใจที่ให้ทำ เราให้ใจ ได้ใจ เรารับฟังหมด

ผู้สูงอายุ เด็ก เยาวชน และคณะกรรมการ

5,000.00 4,920.00 40 41 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปว่าชุมชนทำเองได้ต่อเนื่อง พร้อมกันช่วยทำ มีกิจกรรมเป็นสิ่งผูกใจ ให้คนมาทำ มาเรียนรู้กันตอนเย็น แล้วเอาไปทำต่อที่บ้านตอนกลางวัน ตอนเย็นมาดูวา่าได้แค่ไหน เวียนกันดู ทำกันต่อ ทำสองอย่างนี้แล้ว ใช้กันแล้ว ได้แล้ว เห็นผลแล้ว คิดทำต่อโดยใช้ขยะ คือ ขวดน้ำที่ทิ้งแล้วมาตัดแล้วสานเป็นตะกร้า เมื่อเมื่อยก็ออกกำลังกาย ยืดแขนขน มีกรรมการนำทำ ผู้สูงอายุชอบใจ เมื่อในยามเดือดร้อน ลำบาก ก็มีสวัสดิการช่วย ช่วยกันช่วยไปเรื่อยๆ อย่าหยุด อย่าท้อ อย่าทอย สู้ด้วยทำกันเอง 

กิจกรรมหลัก : จัดเวทีประเมินผลการใช้สิ่งประดิษฐ์สุขภาพ เชิญชาวบ้านในชุมชนมาร่วมฟังข้อมูล เชิญเจ้าหน้าที่เทศบาลมาร่วมเสนอแนะ เชิญ กศน.มาร่วมให้ข้อมูล โดยให้สมาชิกกลุ่มนำหมอนสุขภาพไปทดลองใช้ 1 เดือนi

18,000.00 80 ผลผลิต

ประเมินผลงาน 1 ครั้ง ผู้เข้าร่วม 45 คน ได้พูดคุยประเมินผลการใช้หมอนสุขภาพ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ประเมินพบว่าที่ทำมายังไม่สวยทุกชิ้น ได้ปรับปรุงเพิ่มเติม ให้วิทยากรมาช่วยประเมินผล นัดแนะการปฏิบัติเพื่อปรับปรุงต่อทั้งที่บ้าน และที่มารวมกลุ่มกันทำ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

คนสามวัย ได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็ก และวัยทำงาน จำนวน 38 คน

3,200.00 3,535.00 32 38 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประเมินพบว่าที่ทำมายังไม่สวยทุกชิ้น นำหมอนและปลาตะเพียนไปจำหน่ายในตลาด และจำหน่ายให้เทศบาลได้แล้ว มาทำกองทุนเพื่อผู้สูงอายุและเด็กกัน สิ่งที่ลูกค้าเสนอแนะวันนี้ได้มาบอกและนำจึงนำมาปรับปรุงให้ดึงสายให้แน่นให้แข็งแรง ร่วมกันทำเพิ่ม เกิดความสนุกสนานและมีความสุขมาก ทุกคนอยากมาทุกวัน

ผู้สูงอายุ เด็ก เยาวชน และคณะกรรมการ

3,000.00 5,400.00 30 45 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทำปลาตะเพียนพบว่าทำได้ไม่ทุกคน ตามความถนัด ที่ทำได้สวย ทำได้ดี คือ นางนิยม นางจงจิตร นายประคอง นายชุมพล นายสำว นายเสวียน นางราณี มีเด็กหญิงปัณฑารี น้องเดียว อยู่ ป.4 มาช่วยทำแล้วนำเต้นร่วมกรรมการ ส่วนที่ยังทำไม่ดีให้คนที่ทำเป็น ทำชำนาญคอยสอน พบว่าตั้งใจทำกันมาก แต่ไม่มีแรงจะดึงเพราะอายุมาก แต่ใจอยากทำ ทำผิดทำถูกก็ทำ ทำแล้วสนุกมาก

กิจกรรมหลัก : สอนจักสานปลาตะเพียน โมบาย สอนโดยอาจารย์แดง จาก กศน.ปากพนัง สอนพร้อมกับครูในชุมชนอีก 5 คน สอนกลุ่มย่อย 5 กลุ่มi

55,400.00 80 ผลผลิต

สอนการทำปลาตะเพียนโมบาย 3 ครั้ง ผู้เข้าร่วม 43 - 85 คน มีครู กศน. และวิทยากรจากชุมชนมาร่วมสอน และควบคุมคุณภาพผลผลิต


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

กลุ่มคนสามวัยได้ปฏิบัติตามที่ครูสอน บางคนทำได้บ้าง ทำไม่ได้บ้าง แต่มีความพยาบาม ช่วยสอนกันเองในกลุ่ม นำไปทำต่อที่บ้าน และนำมาโชว์ผลงานกันทุกครั้งที่พบกลุ่ม

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 8 ครั้ง

ผู้สูงอายุ เด็ก กรรมการ วิทยากร

5,440.00 6,360.00 80 53 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เดักน้อยเพราะฝนตก ส่วนผุู้สุงอายุกัอมาน้อยเพราะ ตรงกับวันทอดกฐินผุ้สุงอายุไปวัด  และช่วงนี้ฝนตกด้วย กิจกรรมวันนี้คือ วิทยากรสอนการทำปลาตะเพียน แต่พีเลี้ยงให้ลองทำด้วยทางมะพร้าวก่อน ผุ้สุงอายุบงท่านก้อทำไม่ได้ แต่เขาจะมีความพยายามและตั้งใจที่จะทำ ส่วนเด้กๆๆก้อนั่งมองบางคนทำได้บางคนกัอนั่งมองด้วยความสนใจ 

ครู กศน. วิทยากร เด็กโรงเรียนอนุบาลพลพันธ์ ผู้สูงอายุ กรรมการ แกนนำชุมชนใกล้เคียง รวม 85 คน

13,860.00 11,400.00 80 85 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมวันนี้สร้างความประทับใจทั่้ง วิทยากร ผุ้สุงอายุ และเด้กๆๆผุ้ใหญ่สอนเด็ก เด็กสอนผุ้ใหญ่ สร้างความคุ้นเคยผุกพันอย่างเห้นไดชัด เด้็กสนุกผุู้้ใหญ่ใจดี ทำให้เกิดความผุกพันระหว่างเด้กกับผุู้สุงอายุ

ผู้สูงอายุ วิทยากร แกนนำชุมชน กรรมการชุมชน

13,860.00 7,800.00 80 63 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการทำโครงการมาระยะหนึ่งร่วมกับพี่เลี้ยง พบว่า ทำได้ตามที่เขียนไว้ในสญญา เกิดผลดีมากกว่าที่คิดไว้ เกิดการสื่อสารประชาสัมพันธ์ไปยงชุมชนใกล้เคียงเรื่องกิจกรรมที่สร้างสุขให้คนสามวัย จนชุมชนใกล้เคียงอยากมาเที่ยวชมดด้วย วิทยกรก็เก่งมาก ต่อยอดเรื่องการพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ตรงใจกับความต้องการของตลาด ทำให้กลุ่มผู้สูงอายุและเด็กๆ มีความหวัง รอวนทำกิจกรรมกันอย่างใจจดใจจ่อ มาก่อนเวลาก็มี

ผู้สูงอายุ กรรมการ พี่เลี้ยงผู้สูงอายุและกรรมการโครงการร่วมกันสอนกันเอง

13,860.00 6,120.00 80 51 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้สูงอายุมีความสนุกสนานขณะทำ และมีความกระตือรือล้นในการมาร่วมกิจกรรม พี่เลี้ยงดูแลขณะทำเพื่อไม่ไห้เกิดกระทบกับสุขภาพของผู้สูงอายุ เนื่องจากทำแล้วอาจปวดเมื่อย ปวดตา มือชา จึงมีกิจกรรมสลับเป็นระยะ เพื่อพักผ่อน กินอาหารเสร็จ พัก แล้วทำต่อ และบางคนทำแล้วชอบก็ขอไปทำที่บ้านต่อ ทำเป็นหลายตน

มีผุ้เข้าร่วมกิกรรม 73 คน ผุ้สุงอายุ 41 คนวันกลางคน 11 คน เป็นเด็ก 21 คน

8,000.00 8,880.00 80 73 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมวันนี้ ผุ้สุงอายุ  วัยกลางคน และเด้กได้มาร่วมกิจกรรมกัน เพราะเป้นวันหยุด เริมจากการสานปลาตะเพียนอย่างต่อเนื่อง เด้กๆๆบางคนนั่งดุบ้าง นอนเล่นบ้าง ทำได้บ้าง ซึ่งทำ ทำให้เราได้เห้นว่ากิจกรรมนี้ มันสร้างความสัมพัน ของคนสามวัย ได้ดีทีเดียว ผุ้สุงอายุ ทำได้บ้าง ไม่ได้บ้างกัอยังมาร่วมไม่เคยขาด ทำให้ได้เห้นถึงความอยากมีส่วนร่วมถึงแม้ร่างกายของผุ้สุงอายุบางคนไม่ค่อยสมประกอบนัก แต่ยังให้ความสำคัญของกิ  จกรรมทุกครั้ง กิจกรรมทุกกิจกรรมจึงได้เกิด สามวัยผุกพัน ทุกครั้งไป

มีผุ้เข้าร่วม 73 คน เป้นผุ้สุงอายุ 35 เป้นเด้ก 31 คน วัยกลางคน 7 คน

1,360.00 8,760.00 80 73 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมในวันนี้ สามวัยยังร่วมกัน สานปลาตะเพียน กันอย่างพร้อมเพรียง เช่นทุกครั้ง ผุ้สุงอายุสอนเดีกอย เด้กส่งของให้ผุ้สุงอายุ เอิ้ออาทรณ้ จนเสร้จสิ้นกิกรรมทุกครั้ง ช่วยกันหยิบ เก้บกวาด ช่วยกันร้อย จนออกมาเป้นปลาตะเพียน ของผุ้สุงอายุ ได้อย่างสวยงามสร้างแรงบันดาลให้มีกำลังใจในการสานปลาตะเพียนต่อ  ผุกพัน เข้มแข้ง ของคนชุมชนสนามกีฬา

ผู้สูงอายุ เด็ก เยาวชน และคณะกรรมการ

2,000.00 5,280.00 40 44 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ปลาตะเพียนเพิ่ม ทำสวยกว่าเดิม ปวดเมื่อยแล้วได้คลายตัว เมื่อยดีขึ้น มีเพลงเร้าใจ สนุกมากขึ้น คนชอบมา

ผู้สูงอายุ เด็ก เยาวชน และคณะกรรมการ

4,000.00 4,440.00 40 37 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ผลงานหลายแบบ เช่น ทำแน่นดี ทำหลวม ทำพอได้ คัดเอาที่ทำได้แน่นดีไปขายบ มีคนทดสอบความเข้ม แข็งแรง ความแน่นหนาของปลา ความคมของหางปลาต้องไม่มี เดี๋ยวถูกมือเด็ก ต้องทดสอบ และดูให้ดี ก่อนนำไปให้เด็กใช้ ปลาตะเพียนที่ทำแล้วหลวมให้ดึงให้แน่นเพราะยังมีเงี่ยงออกจากตัวปลาให้เห็น เพราะที่สานลื่น ให้เด็กช่วยดึง มีแรงมากกว่าผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุช่วยสาน แยกงานตามความถนัด และที่พอทำได้ ให้ทุกคนได้ทำ ได้ร่วมทุกคน มาแล้วมาร่วมได้ ทำให้เกิดความสุข มาทุกวันได้ ได้ของภูมิใจแล้วไปที่บ้านอย่างบายใจ รู้สึกมีค่ามาก เมื่อมา มาทุกครั้งแล้วตัวเองมีค่า

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
หมอนสร้างสุข

นำหลอดดูดมาประดิษฐ์เป็นหมอนสุขภาพโดยคนสามวัย มีการร่วมทำเป็นครอบครัวและเป็นกลุ่มอย่างต่อเนื่อง

ใช้หนุนเพื่อสุขภาพ

2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
นางสาวพลอยปวีร์ เกลี่ยงณรงค์ 139/7 หมู่ที่ 3 ถนน ชายทะเล ตำบล ปากพนัง อำเภอ ปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

นำกลุ่มคนสามวัยมาจัดกิจกรรมกลุ่มให้มีความสุขได้โดยใช้การทำสิ่งประดิษฐ์ และทำงานด้วยใจ เอื้เฟื้อต่อเพื่อนบ้านในชุมชน

2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

 

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

 

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

 

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

 

2.2 การใช้จ่ายเงิน

 

2.3 หลักฐานการเงิน

 

ผลรวม 0 0 0 0
ผลรวมทั้งหมด 0 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงาน แกนนำชุมชน มีความสามัคคี มีการทำงานเป็นทีม เกิดการพัฒนาศักยภาพของคนอย่างต่อเนื่อง

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

แกนนำชุมชน มีความสามัคคี มีการทำงานเป็นทีม ช่วยทำงานกันอย่างขยันขันแข็ง มีประธานชุมชนเป็นผู้ประสานงาน มีพี่เลี้ยงพื้นที่จากเทศบาลเมืองปากพนังดูแลตลอด พี่เลียงติดตามจาก สสส. ร่วมถอดบทเรียน ได้ข้อสรุป ดังนี้ เกิดการพัฒนาศักยภาพของคนอย่างต่อเนื่อง ขยายเป็นวงกว้างมากขึ้น เริ่มจากแกนนำผู้รบผิดชอบโครงการ นำโครงการมาทำในนามของชุมชน เกิดแกนนำชุมชนมาร่วม ชวนแกนนำผู้สูงอายุมาเพิ่ม สอนลูกหลานจนเกิดแกนนำเด็กทั้งในโรงเรียนพลพันธ์ และโรงเรียนใกล้เคียงในชุมชน เกิดสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย ใจ สังคม และปัญญา โดยใช้ความสัมพันธ์คนสามวัยเป็นฐานสร้างความรัก ความอบอุ่น ร่วมทำกิจกรรมเกิดความสุข เกิดความเอื้ออาทร ช่วยเหลือเผื่อแผ่ เกิดความอบอุ่นในครอบครัวและในชุมชน สร้างพลังภาคีร่วมสร้าสุขจากหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ได้แก่ ครู กศน. พยาบาลวิชาชีพจากเทศบาลเมืองปากพนัง ปราชญ์ชุมชนที่มีความรู้ด้านการทำหมอนสุขภาพและปลาตะเพียน เป็นต้น พัฒนาศักยภาพชุมชนต่อเนื่อง โดยการร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกจำหน่าย ให้เทศบาลเมืองปากพนัง ร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยการนำใบมะพร้าวมาเป็นแบบในการสอน และนำขยะหลอดดูดมาทำเป็นหมอนสุขภาพ

สร้างรายงานโดย กำไล