แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 1

รหัสโครงการ 58-03925
สัญญาเลขที่ 58-00-1924

ชื่อโครงการ ร่วมอนุรักษ์ปากน้ำกะแดะให้ชุมชนน่าอยู่
รหัสโครงการ 58-03925 สัญญาเลขที่ 58-00-1924
ระยะเวลาตามสัญญา 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2 นางสาวอารีย์ คงแจ่ม
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 6 กุมภาพันธ์ 2016
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 31 มีนาคม 2016
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นายปรีชา ด่านกุลชัย 100/9 หมู่ที่ 7 ตำบลกะแดะ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 0836386097
2 นายสิทธิพร วรสิทธิกร 127 หมู่ที่ 7 ตำบลกะแดะ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 087-6246470
3 น.ส.กรรณิการ์ แพแก้ว

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อสร้างกลไกขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่

  1. ประชุมกลไกขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ เพื่อวางแผนและติดตามการขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ เดือนละ 1 ครั้ง รวม 12 ครั้ง
  2. ทุกครั้งที่มีการประชุม ผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  3. ในการประชุมมีการพูดคุยหารือการดำเนินงานโครงการ และประชุมเรื่องต่างๆ ของชุมชน
  4. ถอดบทเรียนการทำงานโครงการ 2 ครั้ง (ระหว่างกิจกรรม และก่อนปิดโครงการ)
  5. เกิดข้อตกลงร่วมในการดูแลทรัพยากรชายฝั่งสู่ชุมชนน่าอยู่

2.

เพื่อสร้างจิตสำนึก และกระบวนการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  1. ประมงพื้นบ้าน อย่างน้อย 30 ครัวเรือน สามารถอธิบายการทำประมงแบบอนุรักษ์ และผลกระทบจากการใช้เครื่องมือทำลายล้างในการจับสัตว์น้ำได้
  2. มีทีมติดตามความเปลี่ยนแปลงทรัพยากรชายฝั่ง 1 คณะ
  3. เกิดกลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน อย่างน้อย 20 คน ทำหน้าที่เป็นนักสืบสายน้ำ เฝ้าระวังคลองกะแดะ
  4. มีข้อมูลความหลากหลายของทรัพยากรชายฝั่ง 1 ชุด

3.

เพื่ออนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมในคลองกะแดะให้มีความสมบูรณ์ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

  1. มีจำนวนบ้านปลา/บ้านหอยเพื่อรักษาสมดุลอ่าวปากกะแดะโดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพิ่มขึ้น จำนวน 10 จุด
  2. มีพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มหลังฤดูมรสุม

4.

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

  1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด
  2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
  3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
  4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่i

12,000.00 20 ผลผลิต
  • มีการประชถมคณะทำงานขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ จำนวน 4 ครั้ง คือ เดือนตุลาคม เดือนธันวาคม 2558 เดือนมกราคม และเดือนกุมภาพันธ์ 2559 มีคณะทำงานเข้าร่วมประชุมครั้งละ 8-30 คน

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ในการประชุมแต่ละครั้งมีการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการที่ผ่านมา การปรึกษาหารือ วางแผนการดำเนินงานโครงการในกิจกรรมต่อๆ ไป

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 10 ครั้ง

  • กรรมการหมู่บ้าน 10 คน
  • คณะทำงานโครงการ 5 คน
  • อสม. 5 คน
1,000.00 1,140.00 30 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการประชุม สามารถสรุปผลการประชุมได้ดังนี้

  • กำหนดการจัดเวทีอบรมกฎหมายประมงพื้นบ้าน โดยเป็นช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน
  • แบ่งการจัดอบรมเป็น 2 วัน วันแรกอบรมกฎหมาย โดยเชิญนิติกรสำนักงานประมงจังหวัด, ประธาน ทสจ.สุราษฎร์ธานี และเครือข่ายประมงพื้นบ้านใน อ.กาญจนดิษฐ์ มาร่วมนำเสนอแลกเปลี่ยน วันที่สอง กำหนดกฎกติกาชุมชนในกลุ่มประมงพื้นบ้านบ้านปากกะแดะ
  • จะต้องให้ได้กฎกติกากลุ่ม เพื่อเป็นผลเชื่อมโยงไปสู่การดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ในชุมชนและภายใต้โครงการ
  • สถานที่ใช้ศาลาโรงเรียนบ้านปากกะแดะ ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้ และนักเรียนได้มาร่วมเรียนรู้ด้วย
  • ประสานผู้เข้าร่วมภายใน 2 ชุมชนริมคลองกะแดะ คือ หมู่ 7 ต.กะแดะ และ หมู่ 6 ต.พลายวาสเข้าร่วม โดยแจ้งในเวทีประชุมหมู่บ้าน
  • กรรมการชุมชน ม.7 ต.กะแดะ
  • กรรมการชุมชน ม.6 ต.พลายวาส
  • กลุ่มประมงพื้นบ้าน
  • ครูโรงเรียนบ้านปากกะแดะ
1,000.00 600.00 10 8 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการเตรียมงานเป็นไปตามที่คาดหมายไว้ โดยที่ประชุมได้ชี้แจงการเชิญวิทยากรในการอบรม ดังนี้

    • วิทยากรจากประมงอำเภอกาญจนดิษฐ์ได้ทำการเชิญเป็นที่เรียบร้อย
    • มีการเชิญวิทยากรร่วมจากมูลนิธิป่า-ทะเลเพื่อชีวิต และเครือข่ายอ่าวบ้านดอนเป็นวิทยากรร่วมด้วย
    • มีการกำหนดแนวทางการเชิญกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมทั้งสองชุมชนฝั่งคลองกะแดะ คือ ชุมชน ม.7 ต.กะแดะ และชุมชน ม.6 ต.พลายวาส
  • ชาวบ้านหมู่ที่ 7 ปากกะแดะ
1,000.00 500.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ที่ประชุมได้มีการประเมินผลการอบรมกฏหมายประมง พบว่า ทำให้ชาวบ้านเข้าใจกฏหมายประมงชายฝั่งเพิ่มขึ้นในหลายเรื่อง เช่น เครื่องมือที่ผิดกฎหมาย เขตพื้นที่ชายฝั่งที่กฏหมายกำหนดในประมงในการทำประมงแต่ละประเภท เรื่องการต่ออาชบัติเครื่องมือประมงและการต่อทะเบียนเรือ การจัดตั้งองค์กรชุมชน ตามกฏหมายประมงกำหนด การตั้้งกลุ่มอาชีพ ประมงชายฝั่ง
  • การอบรมที่ผ่านมา มีผู้ให้ความสนใจมาก เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว จากที่วางแผนไว้ จะอบรม 80 คน แต่กลับมีผู้เข้าร่วมกว่า 200 คน ทำให้อาหารไม่เพียงพอ
  • ชาวชุมชนสองฝั่งคลอง
1,000.00 1,150.00 20 24 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมหารือแนวทางการจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน และสร้างปะการัง

1.ปลูกป่าชายเลน

  • ปลูกป่าชายเลน ต้องมีกลุ่มจากภายนอกชุมชนมาร่วมดำเนินการ เพื่อประสานความร่วมมือและประชาสัมพันธุ์กิจกรรมสู่ภายนอก
  • ต้องมีการสอบถามจำนวนพันธุ์ไม้จากสำนักงานบริหารทรัพยากรป่าชายเลนฯ เพื่อขอกล้าไม้มาปลูก
  • ต้องตรวจสอบระดับน้ำ ว่าวันใดเหมาะสม น้ำไม่สูงเกินไปจนลงปลูกไม่ได้

2.สร้างปะการัง

  • กำหนดให้มีการรวมกลุ่มเป็นกลุ่มอนุรักษ์ โดยเน้นประมงชายฝั่งจากสองฝั่งคลอง ต.กะแดะ และ ต.พลายวาสมาเป็นคณะกรรมการ เพื่อปรึกษาหารือและวางแผนการจัดการทรัพยากรชุมชนร่วมกันโดยผู้ที่มาประชุมวันนี้เป็นสมาชิกทั้งหมด
  • ปะการังใช้การจ้างหล่อท่อปูน ปักในเขตคอกหอยนางรมของสมาชิก เพื่อให้มีผู้ดูแลและรับผิดชอบ
  • กำหนดวันวางปะการัง ต้องตรวจสอบว่าท่อปูนพร้อมให้ทำกิจกรรมได้วันใด โดยจะมีการประสานอีกครั้งหนึ่ง

3.กำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละฝ่าย ดังนี้

  • นายปรีชา ด่านกุลชัย รับผิดชอบประสานการจ้างทำท่อปูน จำนวน 1,000 ชิ้น
  • นายสุภาษิต อินทรภิรมย์ ประสานกล้าไม้
  • นายประชา ไทยาพงศ์สกุล ประสานงานเยาวชนและนักเรียน
  • นายสิทธิพร วรสิทธิกรรับผิดชอบอาหารทั้งสองกิจกรรม

4.มีการรวมกลุ่มเพื่อเป็นสมาชิกร่วมกันดูแลทรัพยากรสองฝั่งคลองกะแดะจากสองตำบลรวม 20 คน มีการกำหนดบทบาทความรับผิดชอบชัดเจน

  • คณะทำงานโครงการ
  • กลุ่มประมงพื้นบ้าน
  • กลุ่มผู้เลี้ยงหอยนางรม
1,000.00 1,500.00 30 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชี้แจงความล่าช้าในการจัดกิจกรรมโครงการที่ผ่านมา เนื่องจากงบประมาณของ สสส. งวดที่ 2 ล่าช้า ทำให้ต้องระงับบางกิจกรรมเนื่องจากเป็นเวทีใหญ่ จัดต่อเนื่อง ใช้งบประมาณสูง
  • วางแผนการวางปะการัง ครั้งที่ 2 จำนวน 7 จุดโดยให้สมาชิกไปสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสม โดยต้องอยู่ในเขตอนุญาตเพาะเลี้ยงหอยนางรมอ่าวบ้านดอนและมีผู้ดูแลใกล้ชิด เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของสัตว์น้ำชายฝั่ง
  • วางแผนและหารือการจัดอบรมนักสืบสายน้ำ ประกอบด้วยนักเรียนจาก 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดกาาญจนาราม และ โรงเรียนบ้านปากกะแดะ
  • ได้พื้นที่วางปะการัง จำนวน 7 จุด โดยมีผู้รับผิดชอบแต่ละฝ่าย ประกอบด้วย
  1. ฝ่ายประสานงานโรงเรียนและกลุ่มเป้าหมาย
  2. ฝ่ายเตรียมเนื้อหาการอบรม และประสานวิทยากร
  3. ฝ่ายจัดเตรียมอาหาร สถานที่
  • สภาองค์กรชุมชนตำบลกะแดะ
  • อสม.บ้านปากกะแดะ
  • คณะทำงานโครงการ
  • กรรมการชุมชน
1,000.00 1,237.00 20 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากการประสานงานโรงเรียนวัดกาญจนาราม ได้รับการปฏิเสธในการเข้าร่วมกิจกรรม เนื่องจากแนวทางของโรงเรียนมุ่งเน้นไปที่การจัดการขยะ ไม่ได้เน้นเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • เป้าหมายหลักโรงเรียนบ้านปากกะแดะ เนื่องจากได้รับความร่วมมือจากผู้อำนวยการและเยาวชนเป็นอย่างดีโดยกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมเป็นนักเรียนระดับ ป.3-ป.6
  • วิทยากรหลัก ประสานสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14 มาเป็นผู้ให้ความรู้และจัดกระบวนการ โดยวันแรกเป็นความรู้ภาคทฤษฎี วันที่สองเป็นภาคปฏิบัติ
  • ประสานกลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา เป็นวิทยากรสันทนาการ และพี่เลี้ยงเยาวชน
  • มอบหมายให้มีการจัดเตรียมอาหาร/เครื่องดื่มมาเลี้ยงเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม เนื่องจากช่วงเวลาที่ทางโรงเรียนอนุญาตให้ทำกิจกรรมได้ คือ 12.30-16.00 น. ของวันที่ 23-24 สิงหาคม 2559 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเรียนรู้ที่ต่อเนื่องยาวนาน
  • คณะทำงานโครงการ
1,000.00 1,050.00 25 13 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงการสิ้นสุดโครงการ และได้ทำเรื่องขอขยายเวลาโครงการ 1 เดือน คือเดือนตุลาคม 2559 โดยมีกิจกรรมหลักที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ได้แก่ อบรมข้อกฎหมายครั้งที่ 2, ถอดบทเรียนคณะทำงาน, เวทีคืนข้อมูลชุมชน และเสวนาร่วมสร้างชุมชนปากกะแดะให้น่าอยู่ซึ่งจะต้องดำเนินการทั้งหมด ไม่เช่นนนั้นจะต้องคืนเงินแก่ สสส.
  • มีมติกำหนดกิจกรรม ดังนี้
  1. ถอดบทรียนคณะทำงาน 2 ครั้ง โดยแบ่งเป็นถอดบทเรียนเยาวชนกรณีการปลูกป่าชายเลน และถอดบทเรียนคณะทำงานและติดตามผลลัพธ์ของปะการังเทียม
  2. อบรมข้อกฎหมาย ครั้งที่ 2 วันที่ 14 ตุลาคม 2559 โดยเชิญผู้อำนวยการสถานีและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 14 และ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการประมงชายฝั่งระดับชาติ มาร่วมให้ความรู้และแลกเปลี่ยน
  3. เวทีเสวนาให้กำหนดวันร่วมกันอีกครั้ง
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา (พี่เลี้ยงเยาวชน)
  • แกนนำเยาวชน
1,500.00 1,680.00 20 16 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา พี่เลี้ยงแกนนำเยาวชนบ้านปากกะแดะ ได้ชักชวนให้เยาวชนสรุปผลการสำรวจสายน้ำคลองกะแดะโดยการวาดภาพแผนที่สายน้ำบริเวณชุมชนบ้านปากกะแดะ ม.7 ต.กะแดะ อ.กาญจนดิษฐ์ และวาดภาพประกอบว่าในการสำรวจสายน้ำคลองกะแดะ ได้พบสัตว์น้ำขนาดเล็กอะไรบ้างโดยมีการแบ่งกลุ่มเยาวชนเป็นสามกลุ่ม เพื่อรับผิดชอบการวาดภาพในสามจุดที่มีการสำรวจ คือ
  1. ศาลาท่าน้ำบ้านปากกะแดะ
  2. ศาลเจ้าไหหลำปากกะแดะ
  3. บริเวณท่าน้ำปลายแหลมปากกะแดะ ใกล้ร้านอาหารเคียงเลซีฟู้ด
  • จากการสำรวจที่ผ่านมา พบกุ้งฝอย กุ้งหนวดแดง หอยฝาเดียว ปลาขี้เกง ปลาบู่ทราย ซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่อาศัยในน้ำค่อนข้างสะอาด และสามารถบริโภคได้บ่งบอกถึงสภาพความสะอาดของสายน้ำบริเวณปากน้ำกะแดะ
  • ป้ายผ้าแผนที่สายน้ำ ที่วาดโดยเยาวชน โดยระบุสถานที่ และสัตว์น้ำแต่ละชนิดที่พบในบริเวณนั้น เพื่อใช้ในการนำเสนอในเวทีเสวนาอนุรักษ์ปากน้ำกะแดะให้ชุมชนน่าอยู่ จำนวน 1 ผืน
  • กลุ่มประมงพื้นบ้าน
  • อสม.
  • คณะทำงานโครงการ
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา
1,500.00 2,000.00 30 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มอบหมายภารกิจ การเชิญกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้

    • ผูู้ประสานงานโครงการ ประสาน วิทยากร
    • นายสุภาษิต อินทรภิรมย์ ประสานชาวบ้านหมู่ที่ 6 ต.พลายวาส อ.กาญจนดิษฐ์
    • นายสิทธิชัย วรสิทธิกร ประสานชาวบ้านหมู่ที่ 7 ต.กะแดะ
    • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา ประสานเยาวชนนักสืบสายน้ำโดยเลี้ยงอาหารเป็นโล้งโต้ง สำหรับคนจำนวน 100 คน
  • คณะทำงานโครงการ
  • กลุ่มประมงชายฝั่งจากสองฝั่งคลอง
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา (พี่เลี้ยงเยาวชน)
2,000.00 2,500.00 15 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมงานและผู้ที่เกียวข้องวางแผนการขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ในอนาคต
  1. การบรรจุแผนงานชุมชนเข้าสู่แผนพัฒนาของเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์โดยได้รับการแจ้งจากผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการมีส่วนร่วมสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 ว่าได้นำแผนของชุมชนเข้าสู่การพิจารณาแล้ว เนื่องจากไม่ทันในแผนงบประมาณ 2560 แต่จะบรรจุในแผนปี 2561 อย่างแน่นอน
  2. พัฒนาชุมชนต่อในเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง และจัดทำป่าเลชุมชน
  3. พัฒนาเรื่องการจัดการขยะริมคลอง
  • แผนงานที่จัดทำเพื่อนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์, สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4, สภาองค์ชุมชนตำบลกะแดะ และโรงเรียนบ้านปากกะแดะ

กิจกรรมหลัก : อบรมและแลกเปลี่ยนข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประมงและทรัพยากรชายฝั่งi

18,000.00 35 ผลผลิต
  • มีการอบรมและแลกเปลี่ยนข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประมงและทรัพยากรชายฝั่ง จำนวน 1 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมกว่า 200 คน ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่วางไว้

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

การอบรมมีเนื้อหาสาระสำคัญที่ชาวประมงพื้นบ้านควรรู้ คือ

  • เครื่องมือที่ผิดกฎหมาย
  • เขตพื้นที่ชายฝั่งที่กฏหมายกำหนดในประมงในการทำประมงแต่ละประเภท
  • เรื่องการต่ออาชบัติเครื่องมือประมงและการต่อทะเบียนเรือ
  • การจัดตั้งองค์กรชุมชน ตามกฏหมายประมงกำหนด
  • การตั้้งกลุ่มอาชีพ ประมงชายฝั่ง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

  • นายปรีชา ด่านกุลชัย
0.00 500.00 1 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นายปรีชาได้รับเงินค่าเปิดบัญชีโครงการคืน 500 บาท
  • ชาวบ้านหมู่ที่ 7 ปากกะแดะ
18,000.00 10,015.00 50 200 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การอบรมเรื่องข้อกฎหมายใหม่ และข้อกฎหมายที่มีการเปลี่ยนแปลงของการทำประมงและทรัพยากรชายฝั่งตามประกาศของ คสช. โดยเชิญวิทยากรที่มีความรู้จากประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายประภาส ขาวหนูนา นายประวีณ จัลภักดี จากมูลนิธิป่าทะเลเพื่อชีวิต นายสุภาษิต อินทรภิรมณ์ และนายเชวง กาญจนดิษฐ์ ทำให้ชาวบ้านเข้าใจกฏหมายประมงชายฝั่งทำให้ชาวบ้านเข้าใจกฏหมายประมงชายฝั่งมากขึ้น โดยเรื่องที่อบรม คือ

    • เครื่องมือที่ผิดกฎหมาย มีสาระสำคัญ
    • เขตพื้นที่ชายฝั่งที่กฏหมายกำหนดในประมงในการทำประมงแต่ละประเภท
    • เรื่องการต่ออาชบัติเครื่องมือประมงและการต่อทะเบียนเรือ
    • การจัดตั้งองค์กรชุมชน ตามกฏหมายประมงกำหนด
    • การตั้้งกลุ่มอาชีพ ประมงชายฝั่ง
  • กลุ่มเยาวชน
  • กรรมการชุมชน
  • ผู้นำหมู่บ้าน ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  • อสม.
  • กลุ่มประมงพื้นบ้าน
  • ประชาชนในพื้นที่
0.00 10,309.16 50 55 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นายธีรพันธ์ พวงสุนทร ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 14 ได้ชี้แจงสถานการณ์ป่าชายเลนในขณะนี้ว่าอำเภอกาญจนดิษฐ์ มีพื้นที่ติดอ่าวบ้านดอนได้แก่ คลองกระแดะแจะ, คลองเฉงอะ, คลองกะแดะ, คลองนุ้ย และคลองท่าทองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง และเพาเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ การทำนากุ้ง พบว่า มีการปล่อยทิ้งนากุ้งร้างมีป่าขึ้น จนจำเขตแดนเดิมไม่ได้ และบางส่วนมีการเปลี่ยนแปลงเอกสาร ภทบ.5 เป็นเอกสารสิทธิ์บุรุกเข้าไปในป่าชายเลน แต่ยังถือว่าน้อย เพราะมีสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งมากันอาณาเขตขากพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 20% ช่วยป้องกันชายฝั่งได้เป็นอย่างดีในการดำเนินงานที่ผ่านมา ต.ตะเคียนทอง อ.กาญจนดิษฐ์ มีการทำป่าชุมชน ปี 2558 ชื่อว่า ป่าเลชุมชน กำหนดกติกาชุมชน ปล่อยหอยแครงเพิ่มเติมในพื้นที่ และเมื่อถึงฤดูกาลปล่อยให้มีการจับสัตว์น้ำเพื่อหากินเลี้ยงชีพสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน อ.ดอนสัก มีพื้นที่ป่าชายเลน 14,000 ไร่ มีเขตป่าสงวน พบการบุกรุก จากนั้นได้มีการเจรจาตามนโยบายทวงคืนผืนป่า ได้พื้นที่ป่าชายเลนคืนมา 10,000 ไร่, อ.ท่าฉาง และ อ.ไชยา มีการทำแนวเขตชุมชน ทำซั้งปลา หรือบ้านปลา กำหนดกติกาชุมชนสำหรับบ้านปากกะแดะ ต.กะแดะ เป็นพื้นที่ปลายน้ำมีปัญหาเรื่องขยะจำนวนมาก ซึ่งจะต้องหาแนวทางแก้ไขรวมถึงขอเสนอให้จัดหาพื้นที่เหมาะสมติดป่าชายเลน เพื่อทำป่าเลชุมชน ปลูกป่าเสริมด้านในอ่าว และปล่อยสัตว์น้ำเพิ่มพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อน รวมถึงกำหนดกติกาชุมชน เพื่อช่วยกันอนุรักษ์พื้นที่ป่าชายเลนของชุมชน
  • นายประมวล รัตนานุพงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายและ แผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติได้อธิบายเนื้อหาของ พรบ.บริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ไว้ว่า ตนในฐานะตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒืในกฎหมายฉบับนี้ ดูแลพื้นที่ ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี กฎหมายนี้เป็นกฎหมายของชาวบ้านที่มาจากชุมชนชายฝั่งอย่างแท้จริงจากตราด-นราธิวาส อ่าวบ้านดอนเป็นพื้นที่แรมซาไซต์อันดับหนึ่งของประเทศไทยจากปัญหา EU ให้ใบเหลืองเหตุเพราะระมงพาณิชย์ที่จับสัตว์น้ำแบบทำลายล้าง โดยการใช้เรดาร์สำรวจบริเวณที่มีปลาชุกชุมและจับภายในระยะเวลาคืนเดียว แตกต่างจากประมงชายฝั่งที่หากินแบบไม่ทำลายล้าง แต่ยังพบการใช้ลอบงู หรือ ไอ้โง่ที่ไม่โง่ตามชื่อ เพราะสามารถจับสัตว์ทุกอย่างได้ทั้งหมดที่อาศัยอยู่ใต้ดิน ขอแจ้งว่าจากนี้ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะดำเนินการจับจริงสำหรับคนที่ใช้เครื่องมือทำลายล้างในการจับสัตว์น้ำและในเรื่องการรื้อคอกหอยนางรมที่บุกรุกแนวเขตน่าน้ำในพื้นที่ อ.กาญจนดิษฐ์ อยู่ในระหว่างการเตรียมการ ขนำหรือคอกหอยของใครที่อยู่ในระยะชิดชายฝั่งน้อยหว่า 1 กิโลเมตรจะต้องถูกรื้อถอน ซึ่ง อ.ท่าฉางได้มีการรื้อถอนแล้ว
  • นายปรีชา ด่านกุลชัย ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงว่า ที่ผ่านมาได้มีการปลูกป่าชายเลนเสริมในพื้นที่ด้านในของอ่าวปากกะแดะ โดยได้รับความร่วมมือจากชุมชน ทหาร เยาวชน และจิตอาสาจำนวนมากรวมถึงมีการวางปะการังเทียม ที่ทำด้วยเสาปูนวางในลักษณะ ซอม คือ เสาสามขาวางพิงกัน จำนวน 20 ชุด เพื่อเพิ่มพื้นที่แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อนแต่กรณีการจัดทำป่าเลชุมชน ยังอยู่ในระหว่างการรอมติที่ประชุมของจังหวัด ว่าแนวเขตน่านน้ำของ อ.กาญจนดิษฐ์ มีระยะเท่าไหร่กันแน่ที่ห้ามบุกรุก เนื่องจากยังขาดความชัดเจน แต่ ต.กะแดะ และ ต.พลายวาส มีพื้นที่สาธารณะในทะเลจำนวนกว่าร้อยไร่ สามารถจัดทำแนวเขตป่าเลชุมชนได้ในอนาคต
  • ชุมชนได้รับทราบสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับป่าชายเลนและทรัพยากรชายฝั่งในระดับจังหวัด ซึ่งเกี่ยวข้องกับประมงชายฝั่งในชุมชน เพื่อทราบความก้าวหน้า
  • มีการนัดหมายพูดคุยเพื่อหารือแนวทางการจัดทำป่าเลนชุมชน ร่วมกับสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 14 ในโอกาสต่อไป

กิจกรรมหลัก : ถอดบทเรียนการทำงาน 2 ครั้ง (ระหว่างดำเนินงาน และหลังดำเนินงานโครงการ)i

19,900.00 20 ผลผลิต
  • มีการถอดบทเรียนการทำงาน โดยการให้ทีม สื่อ สสส. และทีมถอดบทเรียนของ สจรส. ม.อ. เข้าถ่ายทำผลการดำเนินงานโครงการในพื้นที่

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ทีมสื่อ สสส. ทีมถอดบทเรียน สจรส. ม.อ. ได้เห็นผลการดำเนินงานดี ๆ เพื่อนำไปใช้ในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์โครงการ
  • ชุมชนได้เห็นผลการดำเนินงานของตนเอง และได้แนวทางกาารดำเนินงานต่อ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

  • เจ้าหน้าที่ สสส.มอ จำนวน 8 คน
  • คณะทำงานโครงการ 10 คน
9,950.00 0.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • แกนนำและชุมชนมีความเข้าใจถึงสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์เพื่อความยั่งยืนของฐานทรัพยกรในท้องถิ่น โดยเรื่องป่าชายเลน เรื่องขยะ และเรื่องความมั่งคงทางอาหารทางทะเล เพราะได้มีการพูดคุยถอดบทเรียน ความรู้กับนายถนอม ขุนเพชร
  • ทีมสื่อจาก สสส. ถ่ายทำสื่อโดยการสัมภาษณ์คณะทำงาน และลงไปถ่ายทำบรรยากาศชุมชนในพื้นที่จริง ที่คลองกะแดะ ปากน้ำกระแดะ พื้นที่จะปลูกป่าชายเลน พื้นที่อนุรักษ์ของชุมชน พื้นที่จะลงบ้านปลา และพื้นที่ลำคลองที่จะทำกิจกรรมเรื่องคุณภาพน้ำและขยะ
  • คณะทำงานโครงการ
  • กลุ่มประมงชายฝั่ง
6,000.00 6,500.00 20 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ติดตามและสำรวจปะการังเทียม หรือ บ้านปลาบ้านหอยว่าใน 10 จุดที่ลงปะการังไว้มีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรโดยได้สำรวจจำนวน 6 จุดพบว่า บริเวณบ้านปลาบ้านหอย มีปลาขี้เกงอาศัยจำนวนมาก และมีหอยนางรมเกาะในเสาปูนอย่างน้อย 1-2 ตัวซึ่งทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงหลังสร้างบ้านปลาบ้านหอยในระยะ 7 เดือนและกลุ่มประมงชายฝั่ง ได้มีการทำแนวเขตโดยการปักไม้ไผ่ ทาสีแดงเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าบริเวณดังกล่าว เป็นพื้นที่บ้านปลาบ้านหอย ณ จุดนั้น
  • ได้มีการประชุมเพื่อถอดบทเรียนการทำงาน ที่พบว่าหลังจากมีการสร้างบ้านปลาบ้านหอยในพื้นที่ใกล้เคียงคอกหอยนางรมของกลุ่มแระมงพื้นบ้าน จนเกิดผลลัพธ์ชัดเจนในเรื่องของสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีคนต้องการสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มเพิ่มมากขึ้นและที่สำคัญคือ กฎที่กำหนดไว้ว่าสมาชิกกลุ่มจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนทุกครั้ง และให้ความร่วมมือในงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
  • ได้แนวทางการขยายสมาชิกกลุ่มประมงชายฝั่งที่ทำงานอนุรักษ์ร้วมกันของสองตำบลที่มีพื้นที่ติดคลองกะแดะ และอ่าวปากกะแดะ
  • แกนนำเยาวชน
  • คณะทำงานโครงการ
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา
3,950.00 2,900.00 20 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา ซึ่งเป็นทีมวิทยากรและพี่เลี้ยงเยาวชน ได้ชวนพูดคุยถึงการดำเนินกิจกรรมทั้งหมดที่ผ่านมาที่เยาวชนได้เข้าร่วม ได้แก่ การปลูกป่าชายเลน และปฏิบัติการนักสืบสายน้ำ ซึ่งเยาวชนได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ที่ไม่เคยได้รับจากการเรียนในโรงเรียนการได้มาร่วมกิจกรรมของชุมชน เช่น ปลูกป่าชายเลน แม้จะทำเป็นประจำ เนื่องจากโรงเรียนบ้านปากกะแดะ และชุมชนดำเนินการร่วมกันมาตลอด แต่การมีพี่เลี้ยงจากนอกชุมชนมาร่วมให้ความรู้ และทำกิจกรรมสันทนาการก่อนดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทำให้มีความสนุก ผ่อนคลาย และอยากมีส่วนร่วมกับหลายๆกิจกรรมของชุมชน
  • ในส่วนของปฏิบัติการนักสืบสายน้ำทำให้เยาวชนได้รู้จักสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นหลายประเภท กระบวนการเรียนรู้มีความสนุกสนาน ได้ปฏิบัติการจริงทั้งในชุมชนและนอกชุมชน เป็นประสบการณ์ใหม่ และอยากให้จัดขึ้นบ่อยๆจากนั้นได้เดินทางไปยังสะพานลิงเพื่อติดตามผลของป่าชายเลนที่มีการปลูกเมื่อเดือนมีนาคม 2559 พบว่า มีต้นโกงกางขึ้นใหม่จำนวนมาก จาก 1,000 ต้นที่ร่วมกันปลูกในครั้งนั้นคาดว่าเกิดป่าใหม่จำนวน 80% ในพื้นที่ด้านในของอ่าวปากกะแดะ
  • เยาวชนได้ทบทวนกระบวนการ และการเรียนรู้ที่ผ่านมา
  • เยาวชนได้ติดตามผลของการปลูกป่าชายเลน ที่มีไม้โกงกางขึ้นสูงประมาณ 100 เซนติเมตรจำนวนกว่า 80% ของที่ลงมือปลูก

กิจกรรมหลัก : ปลูกป่าชายเลนเพื่อเพิ่มพื้นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำi

12,000.00 80 ผลผลิต
  • มีการปลูกป่าชายเลนเพื่อเพิ่มพื้นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน 1 ครั้ง ในวันที่ 15 มีนาคม 2559มีผู้เข้าร่วมทั้งหน่วยงานภาครัฐ เยาวชน คนในชุมชน และนอกชุมชนกว่า 150 คน - มีการปลูกต้นกล้าโกงกาง จำนวน 3,000 ต้น และปล่อยพันธุ์หอยจุ๊บแจง จำนวน 2 กระสอบ ประมาณ 50 กิโลกรัม

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • เกิดความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการร่วมเพิ่มพื้นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่ง ทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน
  • สร้างจิตสำนึกในการอนรักษ์ให้กับเยาวชนในโรงเรียน และคนในชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • กอ.รมน.
  • ส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 14
  • โรงเรียนบ้านปากกะแดะ
  • ประมงชายฝั่ง
  • นักศึกษาวิชาทหาร -ชุมชนสองฝั่งคลองกะแดะ -อาสาสมัคร
12,000.00 12,000.00 80 150 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 14 โดยวิทยากร คือ นายวิชัย สมรูป ให้ความรู้เรื่องการดูแลป่าชายเลน โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญ คือ
  1. โครงการป่า-เลชุมชนบ้านปากกะแดะ ที่สำนักงานมาร่วมกับโครงการร่วมอนุรักษ์ปากน้ำกะแดะให้ชุมชนน่าอยู่ เพื่อขยายพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่งป่าชายเลนโดยการสนับสุนนต้นกล้าโกงกางจำนวน 3,000 ต้นและพันธุ์หอยจุ๊บแจง จำนวน 2 กระสอบ ประมาณ 50 กิโลกรัม เพื่อปล่อยด้านในสะพาน walk way ปากน้ำกะแดะ หลังจากนี้ หากว่าทางชุมชนมีความต้องการในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าชายเลน ทางสำนักงานยินดีให้ความร่วมมือ

  2. โครงการเส้นทางศึกษาธรรมชาติ และกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ โดยเป็นโครงการที่ดำเนินการร่วมกับ อบจ.สุราษฎร์ธานี โดยการสร้างสะพานศึกษาเส้นทางธรรมชาติ ระยะที่ 2 (สะพาน walk way) ให้เชื่อมต่อจากสะพานเดิมเป็นรูปวงกลม สามารถเดินศึกษาธรรมชาติตลอดริมอ่าวปากกะแดะ มติที่ประชุมเสนอให้สร้างสะพานระยะที่ 2 โดยเชื่อมเส้นทางเดิมมาจนถึงข้างป้อมตำรวจปากกะแดะ

  • ส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 14 อนุเคราะห์พันธุ์ต้นโกงกาง จำนวน 3,000 ต้น ให้กับทางโครงการ โดยให้กลุ่มเยาวชน และชุมชนร่วมกันปลูกต้นโกงกางบริเวณพื้นที่ป่าชายเลน ด้านในสะพาน walk way ของชุมชน
  • กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมมากกว่าที่กำหนดไว้และเกิดความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการร่วมเพิ่มพื้นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่ง ไม่ว่าจะเป็นกอ.รมน. ส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 14 โรงเรียนบ้านปากกะแดะ ประมงชายฝั่งนักศึกษาวิชาทหาร และชุมชน

กิจกรรมหลัก : ปฏิบัติการสร้างปะการัง คืนบ้านให้ปลาและหอยi

22,500.00 20 ผลผลิต
  • มีการปฏิบัติการสร้างปะการัง คืนบ้านให้ปลาและหอย จำนวน 1 ครั้ง โดยมีการวางประการังเทียม จำนวน 3 จุด และมีแผนจะวางเพิ่ม

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • สามารถสร้างพื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่ปลอดภัยสำหรับการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำให้คนในชุมชน
  • สามารถสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

  • ชุมชนสองฝั่งคลองกะแดะ
  • ประมงชายฝั่ง
11,250.00 18,750.00 25 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ก่อนการวางประการัง มีการประชุมเพื่อวางแผนกำหนดจุดในการวาง และได้มีการจัดจ้างคนในชุมชนจัดทำท่อปูนซีเมนต์เตรียมเอาไว้แล้ว จำนวน 1000 ท่อ
  • หารือตำแหน่งการวางปะการัง ครั้งที่ 1 เนื่องจากเดือนนี้น้ำทะเลหนุนสูง ไม่สามารถออกเรือไปได้ไกล จึงต้องวางปะการังในเขตน้ำตื้น ซึ่งมีเขตคอกหอยนางรมจำนวน 3 จุด ที่สามารถดำเนินการได้ โดยจะวางในคอกหอยในตำแหน่งดังนี้
  1. คอกหอยของนายประชา ไทยาพงศ์สกุล
  2. คอกหอยของนายปรีชา ชุลีธรรม
  3. คอกหอยสันติ ไทยาพงศ์สกุล
  • รวมสมาชิกช่วยกันขนท่อปูนปะการังลงเรือ และช่วยลงแรงในการลงปะการังสู่ทะเล
  • มีการกำหนดการวางประการัง ครั้งที่ 2 ประมาณต้นเดือนเมษายน 2559
  • เกิดความร่วมมือในการทำงานของคนในชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะเป็นประโยชน์ร่วมของคนในชุมชน
  • กลุ่มประมงพื้นบ้าน
  • กลุ่มผู้เลี้ยงหอยนางรม
11,250.00 3,300.00 20 27 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สมาชิกกลุ่มประมงพื้นบ้าน และกลุ่มหอยนางรม จำนวน 27 คน สมาชิกแบ่งกลุ่มสมาชิกออกเป็น 10 ชุด และได้ไปบรรทุกเสาปูนที่บ้านนายภควัฒน์ เจริญกิจ ซึ่งเป็นคนที่กลุ่มได้ว่าจ้างให้ทำเสาปูน ขนาด 4 นิ้ว ยาว 1.7 เมตร ทั้งหมด 700 ต้น สมาชิกได้ใช้เรือหัวโทง เรือหางยาว จำนวน 7 ลำ บรรทุกเสาปูนไปวางในทะเลบ้านกะแดะ เพื่อทำเป็นบ้านปลาและหอย เช่น นางรม หอยแมลงภู่ ในรอบที่ 2 จำนวน 7 ชุด รวม 10 ชุด โดยมีการเลือกพื้นที่การวางบ้านปลา และมีผู้ที่จะรับผิดชอบในพื้นที่ ดังนี้
  1. นายพงษ์ศักดิ์ พรหมรณงค์
  2. นายแพรวพรรณ ศักดา
  3. นางศิริ วรสิทธิพร
  4. นางวนิดา เสทิน
  5. นายปราโมทย์ ด่านกุลชัย
  6. นายพิชัย ชุมแดง
  • สมาชิกทั้งได้ร่วมมือร่วมใจในการวางปะการังจนแล้วเสร็จ ประมาณ บ่าย 2 โมง กลุ่มประมงพื้นบ้าน ร่วมแรงกันวางปะการังในเขตเพาะเลี้ยง
  • เกิดเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ ปลาและหอยในพื้นที่บ้านกะแดะ ทำให้เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน
  • เกิดทีมในการทำงานร่วมกันของกลุ่มประมงพื้นบ้านและกลุ่มเลี้ยงหอยนางรม
  • เกิดความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่บ้านกะแดะ ตลอดจนความมั่นในอาชีพและรายได้ของคนในพื้นที่ของกลุ่มประมงพื้นบ้าน

กิจกรรมหลัก : การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามi

10,000.00 2 ผลผลิต
  • มีการเข้าร่วมประชุมติดตามโครงการกับ สจรส. มอ. จำนวน 4 ครั้ง โดยมีคณะทำงานเข้าร่วม ครั้งละ 2-4 คน

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

การเข้าร่วมประชุมกับ สจรส.ม.อ. ทำให้คณะทำงานมีการพัฒนาศักยภาพในการทำงานด้านต่าง ดังนี้

  • การปฐมนิเทศโครงการ ทำให้เข้าใจแนวทางการบริหารจัดการโครงการ การใช้จ่ายงบประมาณ การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ และรายงานการเงินโครงการ
  • การอบรมการจัดทำเอกสารการหักภาษี ทำให้เข้าใจการจัดทำบัญชี รายรับ - รายจ่าย ของโครงการมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการหักบัญชี ณ ที่จ่าย 1%
  • ประชุมจัดทำรายงานปิดโครงการ งวดที่ 1 คณะทำงานสามารถบันทึกรายงานกิจกรรมที่ผ่านมาได้ทั้งหมด เอกสารการเงินได้รับการตรวจสอบ แนะนำการแก้ไขจากพี่เลี้ยง และต้องขยายเวลาทำงาน
  • การจัดทำรายงานปิดโครงการ งวด 1 สามารถปิดโครงการงวด 1 ได้ และส่งเอกสารขอรับงบประมาณงวดที่ 2

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 8 ครั้ง

  • นายปรีชา ด่านกุลชัย ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • นางสาวภัทรียา กลิ่นคล้าย คณะทำงาน
2,500.00 2,160.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สสส. = สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ นำเงิยภาษีเหล้าบุหรี่ = 100 + 2% มาใช้ในการทำงานพัฒนา โดยมีจุดมุ่งหมาย = พัฒนาขีดความสามารถของคน ----> ความสามารถของชุมชน---->ชุมชนเข้มแข็งจัดการตนเองได้----->สุขภาวะของชุมชน
  • ชุมชนน่าอยู่ = ชุมชนจัดการตนเองได้ ในเรื่องรู้จักใช้ข้อมูล รู้จักวางแผนการทำงานเป็นขั้นตอน รู้จักบริหารจัดการงาน/คน/เงิน มีกลไกในการขับเคลื่อนชุมชน มีกลุ่มที่กระตือรือร้นที่จะจัดการกับงาน มีธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้
  • สจรส.มอ. = สถาบันการจัดการระบบสุขภาพมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีทีมพี่เลี้ยงระดับจังหวัด = หนุนเสริม ช่วย = ตัวช่วย ไม่ตรวจสอบ
  • กิจกรรมที่ต้องลงใน website

    • ปฐมนิเทศ วันนี้3-4 ตุลาคม 58 อาคารเรียนรวม 5 ม.วลัยลักษณ์ จ.นครศรีฯ ใช้เงินไปเท่าไร
    • การประชุมชี้แจงชุมชน (พี่เลี้ยงลงครั้งที่1 )
    • ต้องมีการรายงานผลการดำเนินงานกับที่ประชุม คณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน และการปิดงวดแต่ละครั้งต้องแนบรายงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน ถ้าไม่มีรายงานจะไม่ปิดงวดให้
  • การลงของพี่เลี้ยงอีกอย่างน้อย 2 ครั้ง - ปิดงวด

    • สังเคราะห์ / ทำรายงาน
    • (การให้ สจรส. ตรวจสอบ)
    • กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำเอกสารการเงินอย่างน้อย 2 เดือน การปิดงวด 1 และการปิดโครงการ
  • หลักฐานที่ต้องมี

  1. ใบลงทะเบียน
  2. ใบสำคัญรับเงิน ช่องสัญญาเลขที่ ใส่ เลขสัญญาข้อตกลง ค่าเดินทาง ระยะทาง กิโลละ 4 บาท
  3. ใบเสร็จรับเงินที่ทางร้านออกให้
  • การเบิกเงิน ให้ดูว่าเดือนนั้นมีกี่กิจกรรมแล้วให้เบิกให้พอกับกิจกรรม ห้ามมีเงินสดในมือเกิน 5,000
  • การจัดทำรายงาน ทำตามขั้นตอน คือ โครงการในความรับผิดชอบ -----> คลิกโครงการเรา----->ใส่แผนที่-----> ใส่งวดสำหรับทำรายงาน---> ใส่รายละเอียดแผนงาน -----> ประชุมปฐมนิเทศร่วมกับ สจรส.ม.อ. -----> รายละเอียดขั้นตอน 1 ฟังบรรยาย 2ปฏิบัติ----->ใส่ภาพกิจกรรม พร้อมเขียนบรรยาย
  • การส่งรายงาน -----> รายรายผู้รับผิดชอบ ----->รายงาน ง.1-----> ใส่รายละเอียด ส่วนที่ 2 เงินเปิดสมุดให้ใส่ในเงินรับอื่น ----->กดพิมพ์

    • รายงาน ส 1-----> สร้างรายงาน ส1-----> เพิ่ม ปัญหา อุปสรรค-----> กดพิมพ์ ปิดโครงการ----->ส่งรายงาน ง2----->กดพิมพ์
    • รายงาน ส3 คือรายงานฉบับสมบูรณ์
  • นายปรีชา ด่านกุลชัย ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • นางสาวภัทรียา กลิ่นคล้าย คณะทำงาน
500.00 500.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงาน เข้าใจการจัดทำบัญชี รายรับ - รายจ่าย ของโครงการมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการหักบัญชี ณ ที่จ่าย 1% โดยมีรายละเอียดดังนี้

    • ค่าตอบแทนวิทยากร ที่จ่ายตั้งแต่ 1000 บาทเป็นต้นไป ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% เพื่อนำส่งให้สรรพากร ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป วิธีการแก้ไข คือ ให้จ่ายค่าตอบแทนวิทยากรเป็นชั่วโมงละ 600 บาท x 1.5 ชั่วโมง เป็นเงิน 900 บาท จะได้ไม่ต้องหักภาษี
    • ค่าจัดทำไวนิลโครงการ เป็นค่าจ้าง โครงการต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 แต่ถ้าเกิน 1000 บาท ทางร้านต้องจ่ายภาษีเงินได้ ร้อยละ 1 ด้วย
    • ค่าอาหาร หากเกิน 5000 บาท ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 1
    • สินค้าที่มีใบเสร็จ ใบกำกับภาษีจากร้านค้าแล้ว ไม่ต้องเสียภาษีเพิ่ม เช่น ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าถ่ายเอกสาร

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน

0.00 0.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงาน เข้าใจการจัดทำบัญชี รายรับ - รายจ่าย และการหักบัญชี ณ ที่จ่าย 1% 

  • นายปรีชา ด่านกุลชัย ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • คณะทำงานโครงการ
500.00 500.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สามารถบันทึกรายงานกิจกรรมที่ผ่านมาได้ทั้งหมด
  • เอกสารการเงินได้รับการตรวจสอบ แนะนำการแก้ไขจากพี่เลี้ยง
  • ต้องขยายเวลาดำเนินงานโครงการในงวดที่ 1 เนื่องจากมีการใช้จ่ายงบประมาณไม่ถึง ร้อยละ 50 ของงบประมาณโครงการ

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน 

0.00 0.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พี่เลี้ยง สจรส.และโครงการร่วมกันจัดทำรายงานงวดที่ 1 เอกสารการเงินได้รับการตรวจสอบ แนะนำการแก้ไขและต้องขยายเวลาดำเนินงานโครงการในงวดที่ 1 เนื่องจากมีการใช้จ่ายงบประมาณไม่ถึง ร้อยละ 50 ของงบประมาณโครงการ

  • คณะทำงานโครงการ
  1. นายปรีชา ด่านกุลชัย
  2. นางสาวกรรณิการ์ แพแก้ว
  • พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
500.00 500.00 3 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • พี่เลี้ยงโครงการตรวจสอบเอกสารการเงิน และมีการแนะนำการปรับแก้เอกสารอย่างถูกต้อง
  • มีการจัดทำรายงานกิจกรรมโครงการเพิ่มเติม ให้มีเนื้อหาสาระที่ครบถ้วน
  • สามารถจัดทำรายงานโครงการ และรายงานการเงิน ปิดโครงการ งวดที่ 1 ตามเวลาที่กำหนด และขออนุมัติงบประมาณโครงการในงวดที่ 2
  • นายปรีชา ด่านชัยกุล คณะทำงานโครงการ
  • นางสาวกรรณิการ์ แพแก้ว อาสาสมัครพื้นที่
500.00 600.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง ชี้แจงรายละเอียดงานสร้างสุขภาคใต้ ปี 2559 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญคือ ให้ใช้เงิบงบประมาณในส่วนของค่าประชุมกับ สจรส. มอ. 10000 บาท ที่ สสส. มอบให้เป็นค่าเดินทาง ให้จองห้องพักด้วยตนเองตามรายชื่อห้องพักที่แนะนำมา ซึ่งอยู่บริเวณหอประชุมนานาชาติ ม.อ. สำหรับพื้นที่ที่จัดกิจกรรม คือ บ้านถ้ำผุด และบ้านเขาปูน ให้เป็นตัวแทนของ จ.สุราษฎร์ธานี จัดนิทรรศการและผลงานในแนวคิด "สุราษฎร์ธานีเมืองสมุนไพร"
  • เอกสารการเงินมีความถูกต้อง ผ่านการตรวจสอบจากทีมงาน สจรส. ม.อ. แล้ว
  • รายละเอียดกิจกรรม มีเนื้อหาและอธิบายกระบวนการครอบคลุม
  • บันทึกข้อมูลลงเว็บไซต์เป็นปัจจุบันจนถึงวันที่ 17 กันยายน
  • นายปรีชา ด่านกุลชัย
  • นางสาวกรรณิการ์ แพแก้ว
5,500.00 5,016.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เข้าร่วมรับฟังการดำเนินงานโครงการชุมชนน่าอยู่ในกลุ่มย่อย ที่มีการถอดบทเรียนการทำงานหลายประเด็น ที่เด้กและเยาวชน การจัดการขยะ การจัดการทรัพยากร ทำให้ได้รับแนวทางใหม่ๆ ในการขับเคลื่อนงานชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่จากจังหวัดอื่นๆ และสามารถนำมาปรับใช้กับชุมชนบ้านปากกะแดะได้
  • เห็นภาคีเครือข่ายการทำงานของ สสส. สจรส.มอ. สปสช. สช. ที่สามารถหนุนเสริมการทำงานของชุมชนได้
  • ได้แนวคิด รูปแบบ วิธีการจัดนิทรรศการที่หลากหลาย สามารถนำไปปรับใช้ได้

กิจกรรมหลัก : ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงานi

3,000.00 2 ผลผลิต
  • มีการจัดทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ จำนวน 1 ป้าย

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ใช้ป้ายในการรณรงค์พื้นที่ปลอดบุหรี่ในชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

  • กองเลขาคณะทำงาน
1,000.00 150.00 1 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้สื่อรณรงค์ตามเงื่อนไขที่โครงการกำหนด คือ ป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ในสถานที่ประชุม เพื่อนำมา ติดตั้งภายในชุมชน ในสถานที่ประชุม ให้คนในชุมชนได้เกิดจิตสำนึกในการไมาสูบบุหรี่
  • คณะทำงานโครงการ
  • ศาลาเอนกประสงค์บ้านปากกะแดะ
0.00 625.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ไวนิลรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ จำนวน 2 ผืน แล้วนำไปติดในชุมชน ในศาลาประชาคมหมู่บ้านเพื่อให้เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ และรณรงค์ให้คนในชุมชนไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ
  • คณะทำงานโครงการ
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา
2,000.00 2,000.00 2 6 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการตรวจสอบการเงิน และใบสำคัญรับเงินทุกกิจกรรม ว่าขาดตกบกพร่องในส่วนใด รวมถึงติดตามบิลค่าใช้จ่ายต่างๆให้ครบถ้วน
  • บันทึกผลการจัดกิจกรรมลงสู่เว็บไซต์คนใต้สร้างสุข
2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
ปะการังเทียม
  • มีการใช้ท่อปูนซีเมนต์มาทำเป็นปะการังเทียม สร้างบ้านปูบ้านปลา สร้างพื้นที่อนุรักษ์
  • เป็นการสร้างแบบกึ่งถาวร ทำให้มีอายุในการทำงานนานขึ้น ไม่ไหลไปตามกระแสน้ำ
2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
นายปรีชา ด่านกุลชัย 100/9 หมู่ที่ 7 ตำบลกะแดะ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • สามารถประสานงานภาคเครือข่ายการทำงานทั้งใน และนอกชุมชน
  • สามารถสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชน
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ป่าชายเลนชุมชน และฟาร์มหอย (บางส่วน)

  • เป็นเขตอนุรักษ์

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน
  • โครงสร้างการดำเนินงานโครงการที่จัดตั้งขึ้น ยังไม่สามารถทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง
1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน
  • มีการพัฒนาศักยภาพและทักษะการดำเนินงานเฉพาะบางคน
1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน
  • มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมาย เนื่องจากมีภาคีจากภายนอกเข้ามาหนุนเสริมการทำงาน และเป็นพื้นที่ปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์อยู่แล้ว
2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ
  • ระบบและกลไกการบริหารจัดการยังต้องมีการพึ่งพาคนอื่น คณะทำงานยังไม่สามารถจัดการเองได้ทั้งหมด ทุกเรื่อง
2.2 การใช้จ่ายเงิน
  • เป็นไปตามแผนงานและงบประมาณโครงการที่กำหนดไว้
2.3 หลักฐานการเงิน
  • มีหลักฐานการเงินที่มีการปรับแก้อย่างถูกต้องแล้ว
ผลรวม 0 0 3 0
ผลรวมทั้งหมด 3 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น
  • โครงการสามารถดำเนินงานได้ตามปกติ ถึงแม้จะล่าช้าไปบ้าง เนื่องจากต้องอาศัยบริบทพื้นที่ที่เอื้อในการทำงาน สามารถส่งงานได้ตามเป้าหมาย มีการใช้งบประมาณอย่างประหยัด คุ้มค่า เห็นสมควรให้มีการสนับสนุนงบประมาณโครงการในงวดที่ 2
มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

  • เป็นโครงการที่สามารถดึงภาคีการทำงานภายนอกชุมชนมาหนุนเสริมการทำงานในพื้่นที่ได้หลากหลาย ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ เนื่องจากเป็นประเด็นที่มีการทำงานของหลายองค์ในพื้นที่อยู่แล้ว

สร้างรายงานโดย Yuttipong Kaewtong