directions_run

โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่าย ม.15 บ้านในใส ต.ละงู

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่าย ม.15 บ้านในใส ต.ละงู ”

ม.15 บ้านในใส ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

หัวหน้าโครงการ
นาย ชะดีน ยังดี

ชื่อโครงการ โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่าย ม.15 บ้านในใส ต.ละงู

ที่อยู่ ม.15 บ้านในใส ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 58-03943 เลขที่ข้อตกลง 58-00-1920

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2015 ถึง 15 ตุลาคม 2016


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่าย ม.15 บ้านในใส ต.ละงู จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ม.15 บ้านในใส ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่าย ม.15 บ้านในใส ต.ละงู



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่าย ม.15 บ้านในใส ต.ละงู " ดำเนินการในพื้นที่ ม.15 บ้านในใส ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล รหัสโครงการ 58-03943 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 211,060.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 220 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  2. เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ และมีความมั่นคงยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  3. เพื่อพัฒนากลไกการทำงานของชุมชนอย่างมีส่วนร่วม
  4. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศ

    วันที่ 7 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ฟังการชี้แจงจาก สจรส.
    2. ป้อนข้อมูลแผนการดำเนินงานโครงการในเว็บไซต์
    3. การบันทึกกิจกรรมบนเว็บไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลกิจกรรม รายงานการเงินในเว็บไซต์ การจัดทำเอกสารการเงิน ทำให้คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริหารจัดการโครงการ และคณะทำงานจะนำไปเผยแพร่ในชุมชนต่อไป

     

    2 1

    2. พบพี่เลี้ยงโครงการในการจัดทำเอกสารการเงินและป้ายโครงการ

    วันที่ 12 ตุลาคม 2015 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • การสอบถามพี่เลี้ยงผู้ดูแลโครงการและการจัดทำเอกสารการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เอกสารทางการเงินและแบบการจัดทำป้ายโครงการ

     

    2 2

    3. คืนเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

    วันที่ 16 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับเงินค่าเปิดบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

     

    2 1

    4. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 17 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • การวางแผนออกแบบป้ายการเดินทางไปจัดทำป้าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ป้ายโครงการตามที่ต้องการ
    • ได้ป้ายปลอดบุหรี่จำนวน1ป้าย

     

    2 1

    5. ประชุมคณะทำงานโครงการ

    วันที่ 18 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เริ่มประชุมเวลา 09.00 น. โดยผู้ประสานงานโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์การทำงานโครงการเพื่อชี้แจงการทำงานโครงการให้ทีมคณะทำงานได้รับทราบการขับเคลื่อนงานโครงการและได้มีการแบ่งบทบาทหน้าที่การทำงานแต่ละฝ่าย

    • คุณกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง : ชี้แจงความเป็นมาของโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นภาษีเหล้าและบุหรี่ ซึ่งสนับสนุนให้กับชุมชนที่สนใจซึ่งสนับสนุนพื้นที่ละ 200,000 บาท โดยจะทำปีต่อปี ซึ่งในการพัฒนาโครงการทำภายใต้ สจรส.มอ.ภาคใต้ และมีพี่เลี้ยงในพื้นที่มาช่วยหนุนเสริมการทำงานชุมชนซึ่งเริ่มจากการค้นหาพื้นที่และพัฒนาโครงการขึ้นพร้อมกัน และมีขั้นตอนในการเขียนโครงการที่หลายขั้นตอนทางทีมพี่เลี้ยงก็ชื่นชมพื้นที่ที่สามารถเขียนโครงการจนประสบผลสำเร็จสามารถของบประมาณมาได้ในขณะนี้

    • โครงการของหมู่ 15 ได้ทำโครงการที่เกิดจากปัญหาหนี้สินเลยใช้แนวโครงการเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เป้าประสงค์ในการทำงานต้องการให้เราทำงานแบบมีส่วนร่วมและเกิดสภาผู้นำหมู่บ้าน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้นำที่มาพูดหาทางออกในการขับเคลื่อนงานของชุมชนเพื่อให้คนในชุมชนมีความกินดีอยู่ดี

    • ผู้เข้าร่วมประชุมวันนี้ถือว่าเป็นคณะทำงานโครงการ ที่ต้องมาช่วยกันทำงาน ซึ่งควรที่จะมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ให้ชัดเพื่อให้งานไม่กระจุกอยู่ที่คนหนึ่งคนใด

    • เรื่องการเขียนรายงานโครงการพื้นที่ต้องรายงานผ่านเวบไซค์ ในทุกกิจกรรมพร้อมลงรูปกิจกรรมและในส่วนของการจ่ายงบประมาณจะไม่สนับสนุนค่าเดินทางแต่จะให้ค่าอาหาร ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าวิทยากร เป็นต้น และเงินสดในมือมีได้ไม่เกิน 5,000 บาท
    • และในเรื่องกลุ่มเป้าหมายไม่อยากให้เรากังวลสามารถยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์อยากให้คนทำงานมีความสุขและถ้ามีปัญหาอะไรก็สามารถปรึกษาพี่เลี้ยงได้ตลอด
    • และโครงการนี้ถ้าพื้นที่มีปัญหาพี่เลี้ยงสามารถระงับโครงการได้ และในการทำงานของชุมชนเมื่อจัดการประชุมแต่ละครั้งเมื่อเสร็จสิ้นแล้วให้สรุปทบทวนหลังทำกิจกรรมเพื่อเป็นการทบทวนการทำงานและมีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้านเพื่อหาแนวทางแก้ไขในการทำงาน และถ้าเป็นเรื่องดีเราก็ชื่นชมกันเพื่อเป็นกำลังใจให้คนทำงานขับเคลื่อนงานดีขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานโครงการมีความเข้าใจการทำงานและรับรู้แผนงานโครงการมีการแบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบงานในการจัดกิจกรรมของพื้นที่และมีการแลกเปลี่ยนเพื่อให้เข้าใจการทำงานที่ชัดเจนมากขึ้น

     

    20 22

    6. จัดเวทีชี้แจงโครงการให้กับคนในชุมชนจำนวน 100 คน

    วันที่ 25 ตุลาคม 2015 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เริ่มประชุมเวลา 14.00 น.ณอาคารเอนกประสงค์บ้านในใสหมู่ 15 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล จัดเวทีชี้แจงโครงการให้กับคนในชุมชนโดยมีผู้ใหญ่บ้าน นายสิดดิกเอียดดี เป็นประธานที่ประชุมกล่าวเปิดประชุมโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนนายชะดีนยังดีผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวชี้แจงให้กับคนในชุมชนเพื่อให้เห็นวัตถุประสงค์เป้าหมายความเป็นมาของโครงการและการทำกิจกรรมในพื้นที่และขอความร่วมมือในการจัดกิจกรรมของโครงการ ให้ชาวบ้านเสนอปัญหาความต้องการในหมู่บ้านโดยปัญหาที่ชาวบ้านเสนอมาที่เป็นปัญหาลำดับแรกคือรายได้ไม่พอกับรายจ่ายรองลงมาต้องการอาชีพเสริมเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นและปัญหาการว่างงานในชุมชน

    • คุณกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง : ชี้แจงความเป็นมาของโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นภาษีเหล้าและบุหรี่ ซึ่งสนับสนุนให้กับชุมชนที่สนใจโดยหมู่ 15 เป็นโครงการที่เกี่ยวกับเศษฐกิจพอเพียงโดยยกตัวอย่างการทำเศรษฐกิจพอเพียงสวนผักคนเมืองที่อ.หาดใหญ่จ.สงขลา ซึ่งมีวิธีการปลูกหลายรูปแบบคือการปลูกในเสื้อการปลูกในภาชนะที่ไม่ใช้งานแล้วและการแต่งกิ่งมะละกอคืดมะละกอ1ต้นแต่สามารถแตกกิ่งก้านกลายเป็นหลายกิ่งมีผลมะละกอที่โตสม่ำเสมอเหมือนการปลูกแบบต้นเดียว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เข้าร่วมประชุมชนเข้าร่วมในการประชุมเวทีชี้แจงโครงการเกือบเต็มเป้าหมายและชาวบ้านได้รับทราบโครงการและเข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ
    • ชาวบ้านได้รับความรู้ใหม่ๆและมีทัศนคติใหม่ๆเกิดขึ้น จากเคยที่ชาวบ้านมีปัญหาในเรื่องพื้นที่การเพาะปลูกทำให้ชาวบ้านสามารถเพาะปลูกเองได้โดยไม่ต้องใช้พื้นที่มากมายชาวบ้านมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ

     

    100 74

    7. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 1

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2015 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13.30 น. ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านในใสนายสิดดิกเอียดดีผู้ใหญ่บ้านประธานที่ประชุมเรียกประชุมคณะทำงานโครงการโดยให้นายชะดีนยังดีผู้รับผิดชอบโครงการเปิดประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 1 เพื่อขับเคลื่อนการทำงานและวางแผนการทำงานโดยให้คณะทำงานได้เสนอความคิดเห็นกันปัญหาการรวมกลุ่มการอยู่ด้วยกัน

    • นางสาวอารีรัตน์ เอียดดี ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ เสนอให้มีการสร้างจิตสำนึกโดยการให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคือเมื่อมีการประชุมหรือการประชาคมหมู่บ้านให้คณะกรรมการหมู่บ้านและคนในชุมชนเข้าร่วมประชุมเพื่อที่จะได้รับรู้ข่าวสารและการเคลื่อนไหวในชุมชนว่ามีการพัฒนาไปในรูปแบบใดเพราะบางคนคิดว่าการเข้าร่วมประชุมประชาคมไม่มีความสำคัญกับตนแต่ในการประชุมประชาคมต่างๆ เป็นผลต่อตัวของตนเองทั้งนั้น จึงอยากให้ตระหนักถึงความสำคัญในการเข้าร่วมประชุมประชาคมนางสาวอารีรัตน์เอียดดี ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ กล่าวสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและให้มีการวางแผนกิจกรรมต่อไปโดยมอบหมายหน้าที่ให้แต่ละฝ่ายดำเนินกิจกรรมตามแผน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้แต่งตั้งสภาผู้นำหมุ่บ้าน ประกอบด้วย ประธานสภา(ผู้รับผิดชอบโครงการ) จำนวน 1 คน รองประธาน จำนวน 2 คน ผู้ใหญ่บ้านเลขานุการเหรัญญิกและคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เกิดจิตอาสาการทำงานมากขึ้นเข้าใจและยอมรับกิจกรรมตามแผนที่ได้วางไว้

    • ในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องไปด้วยกันและการพัฒนาสภาให้มีความรับผิดชอบมีจิตอาสาในการทำงานช่วยเหลือชุมชนให้มีผู้นำที่เข้มแข็งและพร้อมที่จะช่วยเหลือแก้ปัญหาให้กับคนในชุมชนและชุมชนเองก็จะเจริญก้าวหน้าสามารถรับกับสถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมากมายในปัจจุบันมีการเลือกแต่งตั้งประธานสภารองประธานสภาเลขานุการเหรัญญิกและกรรมการฝ่ายต่างๆ

     

    30 22

    8. พัฒนาศักยภาพทีมสภาผู้นำหมู่บ้านจำนวน 30 คน

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวลา 09.30 น. ประธานทีมสภา นายบาหวี หวันสู กล่าวเปิดประชุมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพทีมสภาผู้นำโดยมีสภาผู้นำมาเข้าร่วมจำนวน 30 คน กิจกรรมในการพัฒนาศักยภาพคือมีการแบ่งกลุ่มสภาผู้นำออกเป็น 3 กลุ่มโดยให้แต่ละกลุ่มทำกิจกรรมตามหัวข้อที่กำหนดคือตั้งชื่อทีมสัญลักษณ์ทีมตั้งหัวหน้าทีมนำเสนอและเพลงทีมโดยมีหัวข้อให้เสนอความคิดเห็นพัฒนาคนพัฒนาสังคมชุมชนพัมนาสิ่งแวดล่อมโดยให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ กลุ่มละ 15 นาที

    • กลุ่มที่ 1 พัฒนาคนชื่อทีมร่วมใจสัญลักษณ์ "ทีมไอเลิฟยู"
      หัวหน้าทีมนำเสนอ นางลัดดา มัจฉา เพลงทีมทะเล
      การพัฒนาคนอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

    1. สร้างจิตสำนึกให้กับตนเองและคนส่วนใหญ่
    2. ต้องหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ
    3. เสริมบุคคลิกให้กับตัวเองเช่นการแต่งกายการพูด
    4. หลีกเลี่ยงอบายมุขทุกชนิด
    5. ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับครอบครัวและผู้อื่น
    • กลุ่มที่ 2 พัฒนาสังคมชุมชน ชื่อทีม "รักกันเถอะ" สัญลักษณ์ทีม "คิขุอาโนเนะ" หัวหน้าทีมนำเสนอ นางจริยา อาแด เพลงทีมรักกันไว้เถอะ
      กลุ่มพัฒนาสังคมชุมชนเสนอ
    1. อยากให้มีส่วนร่วมในชุมชน
    2. สร้างอาชีพเสริมในหมู่บ้านให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเพื่อให้อยู่ดีกินดี
    3. จัดกิจกรรมเช่นการออกกำลังกายการเล่นกีฬาเพื่อให้ห่างไกลจากยาเสพติดและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
    4. พัฒนาหมู่บ้านเช่นปลูกต้นไมริมถนนเก็บขยะทางถนน
    5. อยากให้มีการสอนการอบรมทางหลักศาสนา เช่น เรียนอัลกรุอานการละหมาดให้กับคนในชุมชนเพื่อให้คนในชุมชนมีวินัยมากขึ้น
    • กลุ่มที่ 3 การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ชื่อทีม "กุหลาบแดง" สัญลักษณ์ "ทีมหัวใจ" เพลงทีมพรวนดิน หัวหน้าทีมนำเสนอนายสิดดิกเอียดดีกลุ่มการพัฒนาสิ่งแวดล้อมคือ
    1. ดำเนินการดูแลเก็บขยะมูลฝอยในหมู่บ้านชุมชน โดยให้ทุกคนมีความรับผิดชอบดูแลมีจิตสำนึกโดยการตั้งถังขยะและเขียนข้อความที่ถังขยะ "ตาวิเศษเห็นนะ"
    2. วิธีการจัดการขยะ คือ การแยกขยะเปียกขยะแห้ง การดูแลคูคลองแม่น้ำ การกำจัดยุงในครัวเรือนตัวเอง คือ อย่าให้มีน้ำขัง การทำความสะอาดภายในบริเวณบ้านและชุมชนให้สะอาดอยู่เสมอแต่ละกลุ่มแต่ละคนมีความกล้าแสดงออกมากขึ้นกล้าคิดกล้าทำและปฏิบัติร่วมกันเป็นทีมได้เกิดทีมที่เข้มแข็งช่วยเหลือซึ่งกันและกันสามารถพัฒนาตนเองและชุมชนได้
    • จากนั้นรับฟังการบรรยายจากท่านวิทยากร นางสาวเฉลิม บัวดำ แพทย์แผนไทย ปฏิบัติการเรื่องของการสร้างจิตอาสาการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีมการช่วยเหลือซึ่งกันและกันมีการถามคำถามแก่ทีมสภาผู้นำว่า "มาทำกิจกรรมนี้เพราะอะไร" เขาบังคับมาริเปล่าส่วนใหญ่จะตอบว่า อยากมาดูว่าเขาทำอะไรกันทำเรื่องอะไร
    • นางสาวเฉลิม บัวดำ ได้พูดคุยเรื่อง การทำงานเป็นทีม คือ
    1. แต่ละคนต้องช่วยเหลือกันและจะทำงานคนเดียวไม่ได้หากไม่มีผู้ร่วมด้วยงานจะออกมาไม่มีประสิทธิภาพถึงแม้ว่างานนั้นจะไมีมีค่าตอบแทนใดๆ ก็ตาม หากว่าทุกคนมีจิตสาธารณะช่วยเหลือคนอื่นและชุมชน เหมือนในการจัดกิจกรรมในวันนี้คือการพัฒนาศักยภาพทีมผู้นำหมู่บ้าน ถ้าหากเราไม่มีความสามัคคีกันศักยภาพผู้นำจะไม่เห็นเลย เพราะเราขาดความรับผิดชอบการมาของทุกคน

    2. ทั้งหมดในวันนี้ถือว่ามีศักยภาพมากแต่ละคนเพราะทุกคนต้องการที่จะมาพัฒนาตนเองและช่วยเหลือชุมชนของตนเองให้มีประสิทธิภาพด้านความเป็นผู้นำในชุมชนความคิดความกล้าที่จะแสดงให้เห็นว่าคนในชุมชนมีความเข้มแข็งนางสาวเฉลิมบัวดำ ได้คุยต่อเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งโครงการของหมู่ 15 ได้เน้นเรื่องการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชนคือการปลูกผักสวนครัวไว้กินเองเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนเพราะผักแต่ละชนิดสามารถรักษาโรคต่างๆได้ทำให้ร่างกายคนเรามีภูมิคุ้มกันที่ดีและวิธีการทำน้ำผักแต่ละชนิดสรรพคุณของผักผลไม้แต่ละชนิดทุกคนให้ความสนใจมากเพราะสามารถปลูกเองและทำเองได้จากนั้นให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมาสรุปสิ่งที่ได้รับฟัง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้คณะทำงานสภาหมู่บ้านมีหลักคิดในการทำงานแบบจิตอาสา จำนวน 30 คน เป็นคนขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการอย่างต่อเนื่องต่อไป
    • กิจกรรมพัฒนาศักยภาพทีมสภาผู้นำหมู่บ้านสามารถเปลี่ยนความคิดคนให้มีจิตอาสามากขึ้นและเข้าร่วมกิจกรรมและทำงานกันเป็นทีมมากขึ้นมีความผูกพันกันมากขึ้น
    • ได้รับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับโครงการที่ทาง สสส.ให้มาทำกิจกรรมต่างๆจากที่ไม่เคยทราบมาก่อนว่างบของสสส.เขาให้มาใช้เพื่อทำอะไรทุกคนสามารถเข้าใจและพัฒนาตนเองในการอยู่ร่วมกันในสังคมชุมชน

     

    30 30

    9. อบรมการเขียนรายงาน และการจัดการเอกสารการเงิน

    วันที่ 4 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1) รับฟังการบรรยาย เรื่อง

    • การเตรียมเครื่องมือการเขียนรายงาน
    • ขั้นตอนการถอดบทเรียน
    • ดำเนินการตามแผน
    • การเขียนรายงานในระบบเว็บไซต์
    • การเขียนผลผลิต และผลลัพธ์
    • การเขียนผล วิเคราะห์ เชื่อมโยง สุขภาวะ
    • การหักภาษี ณ ที่จ่าย

    2) รับคำปรึกษาเรื่องการเขียนรายงาน และการเขียนใบสำคัญรับเงินพร้อมกับแนวทางการหักภาษี ณ ที่จ่าย จากเจ้าหน้าที่ สจรส.ม.อ

    3) ปรับปรุงการเขียนรายงานกิจกรรมบนเว็บไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ทราบขั้นตอนการเขียนรายงาน มีความเข้าใจเรื่องผลผลิตและผลลัพธ์
    • การจัดทำเอกสารการเงิน เข้าใจเรื่องการเขียนใบสำคัญรับเงิน การใช้จ่ายตามจริงที่ทำกิจกรรม
    • เข้าใจเรื่องการเสียภาษี หัก 1 เปอร์เซ็นในค่าใช้จ่าย เช่น ค่าตอบแทนเกิน 1000 บาท ค่าเช่าเกิน 1000 บาท ค่าจ้างเกิน 1000 ซึ่งต้องหักภาษีทุกครั้งที่มีการใช้จ่ายในหมวดนี้

     

    2 2

    10. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 2

    วันที่ 27 ธันวาคม 2015 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เริ่มประชุมเวลา 14.00 น. ณ อาคารเอนกประกสงค์บ้านในใสหมู๋ 15 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล โดยมีคณะทำงานโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่ายหมู่ 15 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล เพื่อพูดคุยเรื่องการทำงานโครงการในแต่ละกิจกรรมโดยให้บอกปัญหาอุปสรรคการทำงานของกิจกรรมที่ผ่านมาเพื่อนำมาแก้ไขและปฏิบัติให้ถูกต้องและวางแผนการทำงานในกิจกรรมต่อไปเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

    • โดยมีนายชะดีน ยังดี ผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นผู้เปิดการประชุม โดยจะให้แต่ละคนแสดงความคิดเห็นเรื่องการทำงานว่าจะทำอย่างไรให้ชุมชนมีการพัฒนาด้านการพัฒนาตนเองในเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชน

    • นางสาวอารีรัตน์ เอียดดี เสนอเรื่องการเตรียมงานกิกรรมครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานโครงการมีความเข้าใจโครงการมากขึ้น รู้จักการแก้ไขปัญหาและการวางแผนจัดกิจกรรมร่วมกันและพร้อมที่จะทำงานกันมากขึ้นและช่วยกันในการทำงานเป็นทีม
    • การเตรียมกิจกรรมที่ 5 ประะชุมวิชาการออกแบบแบบสำรวจข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินในชุมชนโดยให้มีการนำเสนอวิทยากรในการออกแบบสำรวจเพื่อให้แบบสำรวจออกมาครอบคลุมและมีการแจ้งการทำงานในรอบต่อไปอาจตามปฏิทินหรือมีการเปลื่อนแปลงซึ่งจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

     

    30 30

    11. ประชุมทีมวิชาการออกแบบแบบสำรวจข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินในชุมชนจำนวน 20 คน

    วันที่ 22 มกราคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุม  เวลา  09.00  น.  ณ  อาคารเอนกประสงค์บ้านในใส  หมู่  15  ตำบลละงู  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล  ประชุมทีมวิชาการออกแบบสำรวจข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินในชุมชน  โดยคณะทำงานโครงการ  จำนวน  20  คน  และวิทยากรช่วยออกแบบนางสาวปอซอร์  สมาคม  ข้าราชการครู  เป็นผู้ช่วยออกแบบสำรวจให้กับโครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนลดรายจ่ายหมู๋  15  ตำบลละงู  โดยสร้างความเข้าใจเรื่องข้อดีของการได้มาของข้อมูลและความเข้าใจตรงกันในการจัดทำแบบสำรวจ  โดยให้แต่ละคนช่วยกันคิดแบบสำรวจอย่างง่ายแต่ได้ข้อมูลที่รัดกุมและครอบคลุมเพื่อให้ได้ข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของคนในชุมชนและเพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มรายได้  ลดรายจ่ายและการขยายโอกาสการเพิ่มรายได้ของครัวเรือนในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แบบสำรวจข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของชุมชน

    • เพิ่มข้อมูลชุมชน
    • เพื่อศึกษาในชุมชน

    แบบสอบถามแบ่งเป็น 6 ขั้นตอน

    1. ข้อมูลทั่วไป
    2. สภาพทางเศรษฐกิจ
    3. การถือครองที่ดิน
    4. ภาระหนี้สินของครัวเรือน
    5. เพิ่มความสามารถในการออมของครัวเรือน
    6. ปัญหาอุปสรรคการเพิ่มรายได้การขยายรายได้

     

    20 20

    12. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที 3

    วันที่ 24 มกราคม 2016 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เริ่มประชุมเวลา14.00 น. ณ อาคารเอนกประสงค์ บ้านในใสหมู่ 15 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยนายชะดีน ยังดี ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นประธาน

    • ในที่ประชุมโดยให้นางสาวอารีรัตน์ เอียดดี เป็นผู้สรุปกิจกรรมที่ผ่านมา ให้กับผู้เข้าร่วมการประชุมทราบและแจ้งกำหนดการประชุมประจำเดือนครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานได้ทราบผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและวางแผนการประชุมทีมคณะทำงานลงเก็บข้อมูลหนี้สิน 20 คน และเตรียมวางแผนการจัดกิจกิรรมว่าให้คณะทำงาน30คนทำอะไรบ้างโดยจะแบ่งหน้าที่การทำงานให้แต่ละคนรับผิดชอบเกิดการทำงานเป็นทีมและมีแผนปฏิบัติการในการทำงานแต่ละครั้งที่นำไปสู่การทำงานอย่างมีส่วนร่วมและเพื่อให้เข้าใจที่ตรงกัน

     

    30 30

    13. ประชุมทีมคณะทำงานลงเก็บข้อมูล 20 คน

    วันที่ 25 มกราคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เริ่มประชุมเวลา 09.00 น. ณ อาคารเอนกประสงค์ บ้านในใส หมู่15 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยการนัดประชุมทีมคณะทำงานลงเก็บข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจแบบสอบถามให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดหรือความไม่แน่ใจในการลงเก็บข้อมูล

    • โดยมี นายสิดดิก เอียดดี ผู้ใหญ่บ้าน เป็นประธานในการเปิดการประชุมทีมคณะทำงานลงเก็บข้อมูลจำนวน 20 คน เพื่อขับเคลื่อนการทำงานและสร้างความเข้าใจร่วมกัน ทั้งอสม.

    • โดยให้คณะทำงานลงจัดเก็บสามารถบอกถึงเหตุผลในการสอบถามหนี้สินของคนในชุมชนว่าเป้าหมายของโครงการนี้เป็นอย่างไรจะช่วยคนในชุมชนอย่างไรบ้างและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนอย่างไรโดย นายชะดีนยังดี ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้มอบหมายให้นางสาวอารีรัตน์ เอียดดีชี้แจงข้อมูลในก่อนที่จะลงพื้นที่สำรวจเมื่อมีผู้ไม่เข้าใจแบบสำรวจหรือแบบสอบถามในแต่ละคำถามในแบบสำรวจให้อธิบายให้เข้าใจเพื่อความถูกต้องและความรวดเร็วในการสำรวจหนี้สินในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดความเข้าใจในแบบสำรวจข้อมูลคณะทำงานในพื้นที่เพื่อให้เกิดความเข้าใจและพร้อมลงพื้นที่ไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งในการลงพื้นที่การเก็บข้อมูลจะมีการแบ่งโซนการสำรวจเพื่อให้คณะทำงานลงพื้นที่สำรวจข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนได้ข้อมูลที่ครอบคลุมและชัดเจน
    • เกิดการทำงานเป็นทีมร่วมกันของ อสม.และกลุ่มองค์กรต่างๆในชุมชน
    • ได้ทราบข้อมูลที่ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อน เกิดข้อมูลที่ชัดเจนและครอบคลุมทุกพื้นที่

     

    20 20

    14. ลงพื้นที่สำรวจในการจัดทำฐานข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินของคนในชุมชนเป็นเวลา 10 วัน

    วันที่ 26 มกราคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่26 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2558 ณ หมู่ 15 บ้านในใส ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยทีม อสม.จำนวน 20 คน ลงพื้นที่ลงสำรวจครัวเรือนทุกครัวเรือนซึ่งมีทั้งหมดในหมู่บ้านโดยให้ อสม.แต่ละคนเแบ่งโซนกันรับผิดชอบใช้เวลาในการสำรวจเป็นจำนวน 10 วัน ซึ่งบางคนรับผิดชอบ 20 ครัวเรือน บางคนรับผิดชอบ 17 18 ครัวเรือน บ้างเพื่่อสอบถามข้อมูลด้านหนี้สินเพื่อสอบถามสำรวจข้อมูลทั่วไปของบุคคลข้อมูลด้านอาชีพและรายได้ การอุปโภคบริโภคและรายจ่ายในครัวเรือนทั้งหมดในครัวเรือนและปัญหาความต้องการต่างๆ ของคนในชุมชนแต่ละครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้แบบสำรวจที่สำรวจแล้วจำนวน 260 ครัวเรือน
    • ได้พูดคุยกับชาวบ้านในชุมชนเพื่อสร้างความสัมพันธ์
    • ได้รับรู้ความเป็นอยู่และสัมผัสความเป็นอยู่ของคนในชุมชนมากขึ้น

     

    20 20

    15. พบพี่เลี้ยงโครงการเพื่อตรวจสอบเอกสารเงินรายงานก่อนปิดโครงการ

    วันที่ 28 มกราคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • การจัดทำเอกสารการเงิน
    • การเข้ารับการปรึกษาหารือเกี่ยวกับเอกสารการเงินและเอกสารกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เอกสารที่ถูกต้อง

     

    2 1

    16. พบพี่เลี้ยงโครงการเพื่อตรวจสอบเอกสารเงินรายงานก่อนปิดโครงการ

    วันที่ 29 มกราคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ให้พี่เลี้ยงตรวจเอกสารการโครงการก่อนปิดงวด
    • ปรับปรุงแก้ไขในระบบและเพิ่มเติมเนี้อหาในระบบให้มมากขึ้น
    • ฟังคำแนะนำจากพี่เลี้ยงเพื่อแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เอกสารที่ถูกต้องพร้อมที่รายงานการปิดงวด

     

    2 2

    17. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่่ 4

    วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่๕กุมภาพันนธ์๒๕๕๙ณอาคารเอนกประสงค์บ้านในใสประชุมสภาหมู่บ้านครั้งที่๔เพื่อตรวจดูความถูกต้องในการจัดกิจกรรมลงพื้นที่สำรวจข้อมูลหนี้สินโดยสอบถามผู้ลงพื้นที่ในครัวเรือนในการสัมภาษณ์เรื่องการให้ข้อมูลการสอบถามข้อมูลทั่วไปเพื่อใช้ข้อมูลในกิจกรรมสรุปวิเคราะห์ปัญหาหนี้สินในชุมชนและการการประชุมการทำงานในกิจกรรมและเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการดำเนินงานและช่วยกันสรุปหาปัญหาต่างๆทั้งในชุมชนและปัญหาของคณะทำงานเพื่อการขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิภาพโดยตรงและตามเป้าหมายและชี้แจงงานกิจกรรมถัดไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับฟังปัญหาอุปสรรคจากการทำกิจกรรมต่างๆของคณะทำงาน
    • ได้ขบวนการที่พร้อมจะขับเคลื่อนไปด้วยกัน
    • เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
    • เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

     

    30 20

    18. พบพี่เลี้ยงโครงการเพื่อตรวจสอบเอกสารเงินรายงานก่อนปิดโครงการ

    วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 13.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • บันทึกข้อมูลก่อนปิดงวด
    • จัดทำเอกสารก่อนปิดงวด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เอกสารที่ถูกต้อง
    • ได้บันทึกข้อมูลได้ครบถ้วน

     

    2 2

    19. กิจกรรมปิดงวด 1

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เริ่มโดยการนำเอกสารการเงินไปดูรายละเอียดการเงินในเอกสารให้สอดคล้องกับในเว็ปไซด์และตรวจสอบความถูกต้องของการเขียนรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลการตรวจสอบเอกสารการเงินสอดคล้องกับข้อมูลในเว็ปไซด์
    • สามารถปิดงวด 1  ได้

     

    2 2

    20. กิจกรรมปิดงวด 1

    วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ส่งรายงานสรุปแบบรายงานการเงิน งวดที่ 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีความรู้ความเข้าใจในการเขียนรายงาน และการเงินปิดงวด 1 ได้ดียิ่งขึ้น

     

    2 2

    21. พบพี่เลี้ยงในการจัดทำเอกสารการเงินโครงการ

    วันที่ 7 มีนาคม 2016 เวลา 09.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • การบันทึกข้อมูลกิจกรรมโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เพื่อสรุปงานกิจกรรมโครงการที่ได้ดำเนินงานและแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลในการรายงานกิจกรรมในเว็ปไซด์และความถูกต้องของเอกสารการเงิน

     

    1 1

    22. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 5

    วันที่ 25 มีนาคม 2016 เวลา 14.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่25มีนาคม2559เวลา14.00น.ณอาคารเอนกประสงค์บ้านในใส จัดประชุมทีมสภาผู้นำโดยมีผู้ใหญ่บ้านประธานที่ประชุมนายสิดดิกเอียดดีกล่าวเปิดประชุมตามระเบียบวาระดังนี้ ระเบียบวาระที่๑เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบดังนี้ ประกาศจังหวัดสตูลเรื่องขยายการดำเนินการของศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวเบ็ดเสร็จจังหวัดสตูลตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่๑๐พฤศจิกายน๒๕๕๘เห็นชอบการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวในกิจการแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายขาดการรายงานและไร้การควบคุมตามที่กระทรวงแรงงานเสนอและกระทรวงมหาดไทยแจ้งให้จังหวัดขยายเวลาการดำเนินการของศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว
      กองทุนหมู่บ้านและประชารัฐสำหรับกองทุนที่ไม่จดทะเบียนนิติบุคคลให้ดำเนินการ ๑.จัดประชุมกองทุนประชุมใหญ่เพื่อให้ความเห็นร่วมกันควรมีมติประชุมคือประสงค์จดทะเบียนกองทุนเป็นนิติบุคคลรับทราบผลการดำเนินงานหรือผลประกอบการของกองทุนแก้ไขระเบียบข้อบังคับของกองทุน(ถ้ามี)มอบหมายในการจัดทำเอกสารประกอบการขอจดทะเบียนนิติบุคคล ๒.เอกสารประกอบในการยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลชื่อกองทุนหมู่บ้านและรหัสกองทุนหมู่บ้านสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารที่รับโอนเงินหนึ่งล้านบาทและเงินฝากอื่นสำเนาระเบียบหรือข้อบังคับของกองทุนหมู่บ้านของกองทุนบัญชีรายชื่อคณะกรรมการกองทุนสำเนาบันทึกรายงานการประชุมที่มีมติให้ขอจดทะเบียนโดยสมาชิกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้เข้าร่วมประชุมสำเนางบดุลและงบกำไรขาดทุนปีที่ผ่านมาของกองทุนแผนการดำเนินงานของกองทุนเมื่อได้รับการจดทะเบียนนิติบุคคลแล้วแผนที่แสดงที่ตั้งของสำนักงานกองทุนหมู่บ้าน กองทุนที่จดนิติบุคคลแล้วแต่ยังไม่ขอเพิ่มทุนระยะที่๓(ล้านที่๒)โดยให้ดำเนินการคือยื่นแบบคำขอแบบแนวทางดำเนินฟื้นฟูฯทะเบียนกรรมการกองทุนหมู่บ้านทะเบียนลูกหนี้ผู้กู้เงินล้าน(ต้องครบ๑ล้านบาท)ประธานเซ็นรับรองข้อมูลสมุดบัญชีเงินฝาก(เงินล้าน) กองทุนที่เพิ่มระยะที่๓แล้ว (ล้านที่๒)ให้ดำเนินการยื่นคำขอตามแบบสำรวจความพร้อมพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากภายใต้แนวคิดประชารัฐ เรื่องโครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนลดรายจ่ายหมู่๑๕บ้านในใสต.ละงูภายใต้งบประมาณสสส.ขณะนี้ได้ทำถึงกิจกรรมที่๘คือสรุปวิเคราะห์หนี้สินคนในชุมชนโดยคณะทำงานสสส. ณอาคารเอนกประสงค์บ้านในใส

    มติที่ประชุมรับทราบ

    ระเบียบวาระที่๒รับรองการประชุมครั้งที่๒/๒๕๕๙ ไม่มี

    ระเบียบวาระที่๓เรื่องเพื่อทราบ/พิจารณา/ปัญหาและความต้องการของหมู่บ้าน นายอาเฉมบาราอสม.ได้เสนอโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐโดยผ่านกองทุนหมู่บ้านจำนวน๕๐๐๐๐๐บาทเสนอโครงการเลี้ยงไก่ไข่ให้กับคนในชุมชน
    นายเหนาะอุสมาได้เสนอให้ทำเกี่ยวกับการปลูกผักหลายชนิดเพราะหมู่ที่๑๕ได้อยู่ติดกับคลองละงูซึ่งมีพื้นที่ว่างใกล้กับคลองสมารถปลูกผักได้หลากหลายชนิดโดยใช้น้ำจากแม่น้ำลำคลองซึ่งสะดวกในการรดน้ำผักจึงเสนอให้มีการปลูกผักปลอดสารพิษขึ้นชาวบ้านสมารถซื้อผักกับคนในหมู่บ้านโดยได้ผักที่สดใหม่ทุกวันการบริโภคของคนในชุมชนได้รับความปลอดภัยและสามารถทำรายได้เข้ามาในชุมชนโดยอาจจะตั้งตลาดผักปลอดสารพิษของคนในชุมชนก็ได้ นายจิรวัฒน์อุสมาเสนอโครงการน้ำดื่มหยอดเหรียญในชุมชน นายสิดดิกเอียดดีเสนอเรื่องการทำประชาคมโครงการประชารัฐในวันที่๑๙เมษายน๒๕๕๙ เพื่อหามติโครงการในที่ประชุม

    นายสุรเดชนาคสง่ากรรมการกองทุนหมู่บ้านได้เสนอให้กรรมการกองทุนหมู่บ้านแต่ละฝ่ายรับผิดกชอบตามหน้าที่ไม่ใช่คนคนเดียวทำหลายหน้าที่อยากให้กรรมการช่วยกันทั้งหมดเพื่อที่จะขับเคลื่อนกองทุนให้มีความก้าวหน้าขึ้นเป็นรูปธรรมมากขึ้นและเพื่อให้กองทุนมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นโดยเฉพาะคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านต้องมีความเข้มแข็งเอาจริงเอาจังเช่นเรื่องการทำหนังสือเตือนลูกหนี้กองทุนหมู่บ้านโดยให้ทำหนังสือเตือนหนี้แก่ผู้ที่ค้างชำระที่หมดสัญญากับกองทุนโดยทำหนังสือแจ้งเตือนเดือนละ๑ครั้งก่อนวันที่รับชำระหนี้กองทุนคือก่อนวันที่๑-๕ของทุกเดือนหากลูกหนี้ท่านใดไม่มาติดต่อให้ทำหนังสือไปถึงศูนย์ดำรงธรรมอำเภอละงูเพื่อทำการไกล่เกลี่ยให้มาชำระหนี้เพื่อให้ลูกหนี้เกิดการตื่นตัวและให้ความสำคัญกับกองทุนหมู่บ้าน

    นายจิรวัฒน์อุสมาได้เสนอให้มีการสอดส่องดูแลเรื่องการลักขโมยในชุมชนโดยเฉพาะวัยรุ่นที่ติดยาเสพติดในชุมชนและนอกชุมชนก่อให้เกิดความเสียหายทางทรัพย์สินจึงอยากให้ช่วยกันระวังและสอดส่องดูแลในเรื่องนี้ซึ่งป้อมชรบ.ได้สร้างเสร็จแล้วให้ชรบ.มีการเฝ้าเวรยาม

    มติที่ประชุมเห็นชอบ

    ปิดประชุมเวลา๑๕.๓๐น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทีมสภาโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่ายหมู่  ๑๕  ต.ละงู  อ.ละงู  จ.สตูล  ได้เข้าใจการทำงานและเพื่อเกิดความเข้าใจการชี้แจงให้แก่ทีมสภาในการดำเนินโครงการ

     

    30 30

    23. สรุปวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สิน

    วันที่ 2 เมษายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เริ่มประชุมเวลา09.00น.ณอาคารเอนกประสงค์บ้านในใสหมู่15ต.ละงูอ.ละงูจ.สตูลโดยมีนายสิดดิกเอียดดีประธานที่ประชุมโดยมีระเบียบวาระที่1ดังนี้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน(ภัยแล้ง)โดยหมู่๑๕ตำบลละงูได้แจ้งให้ทางอำเภอประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน(ภัยแล้ง)ในพื้นที่อำเภอละงูเมื่อวันที่๑มีนาคม๒๕๕๙ก่อให้เกิดความเสียหายด้านการเกษตรรวมทั้งขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตรและภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินดังกล่าวยังไม่ยุติกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินพ.ศ.๒๕๕๖เนื่องจากเป็นกรณีฉุกเฉินเร่งด่วนและมติที่ประชุมก.ช.ภ.จ.สตูลครั้งที่๒/๒๕๕๙เมื่อวันที่๒๒มีนาคม๒๕๕๙ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลโดยความเห็นชอบของก.ช.ภ.จ.สตูลจึงประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองการประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๕๙ ไม่มี ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อทราบ/พิจารณา/ปัญหาและความต้องการของหมู่บ้าน นายจิวัฒน์ อุสมา ผู้ช่วยฝ่ายรักษาความสงบเสนอ ให้ซ่อมแซมถนนในใสซอย ๓ เนื่องจากชำรุดเป็นหลุมเป็นบ่อ นายอรุณ ขาวดี เสนออยากให้ทางราชการช่วยสนับสนุนเงินในการสร้างอาชีพเสริมให้กับชาวบ้านและถนนในใสซอย ๑ ควรมีไฟในบริเวณถนนเข้าบ้านเช่าเนื่องจากมือมากและอันตราย มติที่ประชุมเห็นชอบ ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องอื่นๆ ไม่มี นายชะดีนยังดีผู้รับผิดชอบโครงและคณะทำงานโครงการรวมทั้งสิืนจำนวน20คนเพื่อสรุปวิเคราะห์สังเคราะหฺฺ์ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินโดยนำแบบสำรวจหนี้สินที่ได้สำรวจข้อมูลนำมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้รับทราบรายรับและหนี้สินของคนในชุมชนข้อมูลประชากรข้อมูลการศึกษาอาชีพหลักของคนในชุมชนอาชีพรองของคนในชุมชนรายได้รวมของคนในชุมชนและรายจ่ายรวมของคนในชุมชนภาระหนี้สินของคนในครัวเรือนหนี้ในระบบคือหนี้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์หนี้จากธนาคารออมสินหนี้จากสหกรณ์หนี้จากกองทุนหมู่บ้านภาระหนี้สินของครัวเรือนนอกระบบคือหนี้จากนายทุนเงินกู้หนี้จากญาติหรือเพื่อนร่วมงานโดยให้คณะทำงานแต่ละคนแบ่งหน้าที่กันเพื่อสรุปข้อมูลดังกล่าวข้องต้นเพื่อใช้ในการประเมินและนำไปสู่เวทีคืนข้อมูลชุมชนจำนวน100คนต่อไปโดยใช้เวลาในการสรุปจำนวน1วันปิดประชุมเวลา16.00น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานมีความร่วมมือกันในการวิเคราะหฺ์สรุปหนี้สินโดยแบ้งหน้าที่กันในการสรุปแบบสอบถามหนี้สินแต่ละหัวข้อของแต่ละครัวเรือนซึ่งครัวเรือนทั้งหมดมี260ครัวเรือน
    • ได้ผลสรุปเป็นตัวเลขเพื่อนำไปคืนเวที100คน

     

    20 21

    24. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 6

    วันที่ 10 เมษายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เริ่มประชุมเวลา 13.00 น. ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านในใสหมู่15ต.ละงูอ.ละงูจังหวัดสตูล เพื่อประชุมทีมสภาในการวางแผนทำกิจกรรมเวทีคืนข้อมูลชุมชน100คน กำหนดหน้าทีความรับผิดชอบในการจัดกิจกรรมในการคืนข้อมูลให้กับคนในชุมชน ปิดประชุมเวลา 16.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เริ่มประชุมเวลา13.00 น. ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านในใสหมู่ 15 ต.ละงู อ.ละงู จังหวัดสตูล เพื่อประชุมทีมสภาในการวางแผนทำกิจกรรมเวทีคืนข้อมูลชุมชน100คน กำหนดหน้าทีความรับผิดชอบในการจัดกิจกรรมในการคืนข้อมูลให้กับคนในชุมชนโดยมีการแบ่งหน้าที่ในการจัดงานในครั้งนี้ซึ่งมอบหมายให้คณะทำงานจัดทำแผ่นชาร์ทเพื่อใช้ประกอบในการจัดเวทีคืนข้อมูลโดยสรุปข้อมูลหนี้สินของคนในชุมชนลงในแผ่นชาร์ทให้คณะทำงานรับผิดชอบอาหารและเครื่องดื่มพร้อมทั้งจัดซื้อของรางวัลของรางวัลเพื่อความสนุกสนานให้กับผู้ที่มาประชุมเอกสารที่จะต้องแนบเพื่อเสนอโครงการภายใต้โครงการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบทคือโครงการประเภทแหล่งน้ำและโครงการประเภทพัฒนาอาชีพ
    1. แบบเสนอโครงการ(ฉบับจริง๑ชุด๑.๑หนังสือรับรองกลุ่ม/องค์กร๑.๒ประวัติองค์กร๑.๓ผลงานที่สำคัญที่ผ่านมา

    2. บันทึกการประชุมประชาคมหมู่บ้านมีมติที่ประชุมชัดเจนพร้อมรับรองสำเนา

    3. สำเนาแผนชุมชน/แผนพัฒนาหมู่บ้านพร้อมรับรองสำเนา(เฉพาะส่วนที่แสดงการวิเคราะห์ปัญหาและส่วนที่ปรากฏแผนงาน/โครงการ

    4. แบบการพิจารณาเหตุผลและความจำเป็น(กรณีมีการจ้างเหมาบางส่วน)

    5. แบบปร.๔/ปร๕โดยชั่งโยธารับรองเฉพาะกรณีที่มีการก่อสร้างโดยอ้างอิงแบบมาตรฐาน(โครงการประเภทแหล่งน้ำ),เอกสารอื่นๆที่จะแสดงให้เห็นถึงความพร้อมหรือความเข้มแข็งขององค์กรที่จะสามารถบริหารจัดการโครงการได้อย่างยั่งยืน(โครงการประเภทอาชีพ)

    6. แบบขอใช้พื้นที่สาธารณะประโยชน์ฉบับจริงพร้อมสำเนาเอกสารสิทธิ์ของพื้นที่(โครงการประเภทแหล่งน้ำ)๗.เอกสารอื่นๆที่จะแสดงให้เห็นถึงความพร้อมหรือความเข้มแข็งขององค์กรที่จะสามารถบริหารจัดการโครงการได้อย่างยั่งยืน(โครงการประเภทแหล่งน้ำ)

    • ทีมสภาแต่ละคนได้รับหน้าที่ที่มอบหมายจากทีม

     

    30 30

    25. เวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน 100 คน

    วันที่ 19 เมษายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนทราบวันที่เพื่อมาประชุม
    • เตรีมข้อมูลในการนำเสนอในการจัดเวทีคืนข้อมูลชุมชน
    • เตรียมความพร้อมในเรื่องสถานที่อาหารและอุปกรณ์ในการจัดการประชุม
    • วันที่ 19 เมษายน 2559 เวลา 13.00 น. ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านในใส หมู่ 15 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล ประธานกล่าวเปิดประชุมโดยนายชะดีน ยังดี นายบาหวี หวันสู ได้รายงานการจัดทำเวทีคืนข้อมูลโดยการสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชน วัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้ข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของคนในชุมชนเพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายและการขยายโอกาสของครัวเรื่อนโดยผู้ให้ข้อมูลทั้หมด 260 ครัวเรือน อาชีพหลักของคนในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกร รายได้หลักต่อเดือนของคนในชุมชน อยู่ระหว่าง 0-5000 บาท จำนวน 55 ครัวเรือน อยู่ระหว่าง5001-15000 บาท จำนวน 130 ครัวเรือน อยุ่ระหว่าง 15001-30000 บาท จำนวน 45 ครัวเรือน อยู่ระหว่าง30001-50000บาท จำนวน 10 ครัวเรือน 50000 ขึ้นไปจำนวน 20 ครัวเรือน นางสาวอารีรัตน์ เอียดดีรายงานภาระหนี้สินของครัวเรือนในระบบ - ผู้มีหนี้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ อยู่ระหว่าง 0-5000บาท จำนวน 5 ครัวเรือน อยู่ระหว่าง 5000-15000 จำนวน 6 ครัวเรือน 15000-30000 จำนวน 10 ครัวเรือน 30000-50000 จำนวน 3 ครัวเรือน อยู่ระหว่าง 50000 ขึ้นไป จำนวน 40 ครัวเรือน -หนี้สินจากธนาคารออมสินอยู่ระหว่าง 0-5000 บาท จำนวน 2 ครัวเรือน 5000-15000 บาท จำนวน 2 ครัวเรือน 15000-30000 บาท จำนวน 1 ครัวเรือน 50000 ขึ้นไป จำนวน 16 ครัวเรือน หนี้จากสหกรณ์ อยู่ระหว่าง 5000-15000 บาท จำนวน 2 ครัวเรือน 15000-30000 บาท จำนวน 2 ครัวเรือน 50000 ขึ้นไป จำนวน 15 ครัวเรือน หนี้จากกองทุนหมู่บ้าน 0-5000 บาท จำนวน 10 ครัวเรือน 5000-15000 จำนวน 8 ครัวเรือน 15000-30000 จำนวน 20 ครัวเรือน 30000-50000 จำนวน 35 ครัวเรือน ภาระหนี้สินนอกระบบของครัวเรือน หนี้จากนายทุนเงินกู้ 0-5000 จำนวน 13 ครัวเรือน 15000-30000 จำนวน 10 ครัวเรือน 50000 ขึ้นไป จำนวน 3 ครัวเรือน หนี้สินจากญาติหรือเพื่อนบ้าน อยู่ระหว่าง 0-5000 จำนวน 1 ครัวเรือน 5000-15000 จำนวน 2 ครัวเรือน 15000-30000 จำนวน 2 ครัวเรือน 30000-50000 จำนวน 1 ครัวเรืือน 50000 ขึ้นไป จำนวน 7 ครัวเรือน พักรับประทานอาหารว่าง จับของรางวัลสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม นางลัดดา มัจฉา ได้รับสมัครครัวเรือนนำร่องจำนวน 50 ครัวเรือน ในการอบรมทำบัญชีครัวเรือน นายสิดดิก เอียดดี ผู้ใหญ่บ้านกล่าวปิดประชุม ปิดประชุม เวลา 16.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เพื่อให้คนในชุมชนได้รับทราบหนี้สินในครัวเรือนของตน
    • คนในชุมชนทราบถึงปัญหาความไม่พอจ่ายในการดำเนินชีวิตของแต่ละคนแต่ละครัวเรือน
    • เพื่อการปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิตการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคเพื่อลดหนี้สินทั้งในครัวเรือนและชุมชน

     

    100 110

    26. ประชุมทำความเข้าใจครัวเรือนนำร่องจำนวน 50 ครอบครัว

    วันที่ 1 พฤษภาคม 2016 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่ 1 พฤษภาคม 2559 เวลา 10.00 น. ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านในใส โดยนายชะดีนยังดีผู้รับผิดชอบโครงการได้เปิดการประชุมโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่ายม. 15ต.ละงูอ.ละงูจ.สตูลการประชุมชี้แจงกิจกรรมทำความเข้าใจครัวเรือนนำร่องจำนวน50ครัวเรือนเพื่อวางกติการ่วมของกลุ่มเพื่อที่จะได้ครัวเรือนดีเด่นในการจัดทำโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่ายม.15ต.ละงูอ.ละงูจ.สตูลโดยเชิญวิทยากรกระบวนการนายชวลิตจันทร์ชายได้อธิบายวัตถุประสงค์ของโครงการให้ชาวบ้านเสนอกฏกรติการ่วมกันให้กับครัวเรือนที่สนใจเข้าร่วมโครงการโดยให้คนในชุมชนเสนอกติกานายอาเฉมบาราได้เสนอต้องปลูกพืชผักสมุนไพรอย่างน้อย10ชนิดในครัวเรือนนางลัดดามัจฉาต้องมาประชุมร่วมทุกครั้งเมื่อทำกิจกรรมของสสส.และกิจกรรมของหมู่บ้านนายสิดดิกเอียดดีต้องมีความรักความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกันและต้องยอมรับและเข้าใจกฏกติการ่วมของหมู่บ้านนางสาวอารีรัตน์เอียดดีเสนอให้ครัวเรือนมีการจัดทำบัญชีครัวเรือนการเข้าร่วมการจัดตั้งพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมติที่ประชุมเห็นชอบ ปิดประชุมเวลา 14.00น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้กติการ่วมกันของครัวเรือนนำร่อง
    • ได้มีการวางแผนการทำงาน
    • วิทยากรได้สรุปกฏกติกาให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่จะได้ครัวเรือนดีเด่น คือ
    1. ต้องทำบัญชีครัวเรือน
    2. ครัวเรือนต้องปลูกพักในครัวเรือนอย่างน้อย10ชนิด
    3. ต้องเข้าร่วมประชุมทำกิจกรรมในหมู่บ้านทุกครั้ง
    4. ต้องทำกิจกรรมจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    5. ต้องมีความรักความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
    6. ต้องยอมรับและเข้าใจกฏกติการ่วมของหมู่บ้านมติที่ประชุมเห็นชอบนายชะดีนยังดีกล่าวขอบคุณวิทยากรนายชวลิตจันทร์ชายปิดประชุม

     

    50 50

    27. พบพี่เลี้ยงโครงการเพื่อปรับปฏิทินกิจกรรมโครงการ

    วันที่ 14 กรกฎาคม 2016 เวลา 14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พบพี่เลี้ยงในการดำเนินการปรับปฏิทินโครงการสำหรับกิจกรรมที่ยังไม่ดำเนินการ ให้เป็นปัจจุบัน และเพิ่มเติมรายละเอียดการบันทึกรายงานกิจกรรมให้ละเอียด ครบถ้วนและชัดเจนมากยิ่งขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้แผนการจัดกิจกรรมที่เป็นปัจจุบันและสามารถดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่องตามปฏิทินโครงการ
    • ได้แก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดการบันทึกรายงานกิจกรรม โดยเพิ่มเติมเนื้อหาข้อความ ให้มีความละเอียด ครบถ้วนและชัดเจนมากยิ่งขึ้น

     

    2 1

    28. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 7

    วันที่ 16 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่16กรกฏาคม2559เวลา09.00น.ณอาคารเอนกประสงค์บ้านในใสหมู่15ตำบลละงูอำเภอละงูจังหวัดสตูลโดยผู้รับผิดชอบโครงการนายชะดีนยังดีนายสิดดิกเอียดดีผู้ใหญ่บ้านนายหาดีอาหมันสมาชิกอบต.นายบาหวีหวันสูประธานอสม.และคณะทำงานโครงการโดยประชุมคณะทำงานเพื่อจัดเตรียมความพร้อมกิจกรรมต่อไปคือกิจกรรมอบรมและลงมือปฏิบัติเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่ายที่สามารถใช้ได้จริงโดยแบ่งหน้าที่ในการจัดกิจกรรมคือมอบหมายหน้าที่ให้นางสาวอารีรัตน์เอียดดีจัดหาวิทยากรในการฝึกอบรมการทำบัญชีอย่างง่ายและจัดหาสมุดบัญชีอย่างง่ายเพื่อเตรียมให้กับผู้เข้าอบรมผู้รับผิดชอบโครงการมอบหมายให้คณะทำงานหาผู้รับผิดชอบเรื่องอาหารและอาหารว่างในวันทำกิจกรรมนายสิดดิกเอียดดีเสนอให้หาผู้จัดทำบัญชีครัวเรือนเป้าหมายที่มีอายุ20-45ปีเพื่อให้เข้าใจในการฝึกอบรมการทำบัญชีอย่างง่ายและสามารถอ่านออกเขียนได้ทำให้คนทำบัญชีสามารถทำได้ของแต่ละครัวเรือนมติที่ประชุมเห็นชอบปิดประชุมเวลา11.00น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับความร่วมมือจากคณะทำงานสภาผู้นำหมู่บ้านเป็นอย่างดี
    • ทีมสภาได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบการเตรียมจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
    • ผู้นำภาคีเครือข่ายต่างๆผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกอบต. อสม.
      กลุ่มสตรี ผู้นำศาสนาและกองทุนหมู่บ้าน แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในพื้นที่

     

    30 30

    29. อบรมและลงมือปฏิบัติเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่ายที่สามารถใช้ได้จริง

    วันที่ 17 กรกฎาคม 2016 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่ 17 กรกฏาคม 2559 เวลา 10.00 น. ณ อาคารเอนกประสงค์ บ้านในใส หมู่ที่15 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยคณะทำงานผู้ใหญ่บ้านนายสิดดิกเอียดดีกล่าวเปิดการประชุมผู้รับผิดชอบโครงการนายชะดีนยังดีได้เชิญวิทยากรนางสมปองบุญฤทธิ์เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนตำบลละงูได้อบรมเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่ายให้กับครัวเรือนเป้าหมายโดยสอนการลงรายรับรายจ่ายให้กับครัวเรือนนำร่องคือรายรับ1.ขายผลผลิตจากการำทำนาทำไร่ทำสวนเช่นข้าวพืชผักผลไม้เป็นต้นรวมทั้งการขายพืชหรือสัตว์ที่หาได้จากแหล่งน้ำ2.ขายสัตว์เลี้ยงเช่นหมูวัวเป็ดไก่แพะแกะปลากุ้งหอยปูสุนัขและผลผลิตจากสัตว์เลี้ยงเช่นไข่มูลสัตว์ซากสัตว์เป็นต้น3.การขายสินค้าที่ซื้อมาการขายอาหารขายผลิตภัณฑ์4.ค้าจ้างการทำงานหรือให้บริการ5.เงินเดือนเบี้ยเลี้ยงค่าคอมมิชชั่น6.รายได้จากการเสี่ยงโชค7.เงินที่ลูกหลานญาติพี่น้องที่อาศัยอยู่นอกครัวเรือนหรืืออยู่ที่อื่นส่งมาให้8.รายได้จากแหล่งอื่นๆเช่นเงินที่ผู้อื่นช่วยงานต่างๆดอกเบี้ยเงินปันผลเงินสงเคราะห์หรือลาภลอยเป็นต้นโดยให้บันทึกรายการรายรับทั้ง8ข้อเป็นสัปดาห์หรือเป็นอาทิตย์แล้วมาสรุปรายรับส่วนรายจ่ายคือหมวดที่1.ค่าใช้จ่ายเพื่อการประกอบอาชีพ1.1 ค่าจ้างแรงงาน1.2 ค่าเช่าหรือซื้อวัสดุอุปกรณ์หรือลงทุนเครื่องมือในการประกอบอาชีพเป็นต้น1.3 ค่าพลังงานและน้ำมันในการประกอบอาชีพ1.4 ค่าปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยอินทรีย์รวมทั้งยาขับไล่แมลงชีวภาพ1.5 ค่าปุ๋ยเคมี เช่นปุ๋ยยูเรียปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆฮอโมนเป็นต้น1.6 ยาค่าแมลงยาปราบศัตรูพืช1.7 ซื้อสัตว์เพื่อประกอบอาชีพเช่นวัวนกปลาหมูไก่เป็นต้น1.8 ค่าใช้จ่ายอื่นนอกจากที่ระบุหมวดที่2ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในครัวเรือน2.1 ข้าวสารทุกชนิด2.2เนื้อสัตว์ที่ใช้เป็นอาหาร2.3ผักสดเครื่องเทศผลไม้2.4 ไข่ทุกชนิด2.5 อาหารแห้งอาหารกระป๋องอาหารสำเร็จรูปเป็นต้น 2.6 อาหารสำเร็จที่ซื้อจากร้าน เช่น ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยว กับข้าวถุง ขนมหวา ไอศครีม 2.7 น้ำดื่มสะอาด เช่น น้ำแร่ น้ำโพลาริส เป็นต้น 2.8 น้ำอัดลม ชา กาแฟ เครื่องดื่มเกลือแร่ เช่น สปอนเซอร์ ่นมทุกชนิด โอวัลติล ไมโล โกโก้ นำ้ผลไม้ 2.9 ค่าเชื้อเพลิงในการหุงต้ม เช่น แก็ส ถ่าน ฟืน เป็นต้น หมวดที่ 3 ค่าใช้จ่ายค่ายาและเครื่องนุ่งห่ม 3.1 ค่ายาและค่ารักษาพยาบาล 3.2 เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และเครื่องนอนของสมาชิกในครัวเรื่อน 3.3 ค่าใช้จ่ายในการเสริมสวย เช่น ตัดผม ดัดผม ย้อมผม เครื่องสำอาง ครีมบำรุงผิด เป็นต้น 3.4 ของใช้ประจำวัน เช่น สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยาสระผม ผงซักฟอก จาน ชาม ช้อน ผ้าอานามัย ของเด็กเล่น เป็นต้น หมวดที่ 4 ค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัย 4.1 ซ่อมแซม ต่อเติม หรือปลูกบ้าน หรือ ปรับปรุงบริเวณบ้าน 4.2 ค่าซ่อมหรือซื้อเครื่องใช้ในบ้าน เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น พัดลม วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เฟอร์นิเจอร์ 4.4 ค่าโทรศัพย์ทั้งครัวเรือน ที่จ่ายเป็นรายเดือน และค่าบัตรโทรศัพท์เติมเงิน 4.5 ค่าภาษีต่างๆ เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ ที่ดิน ป้าย ร้านค้า ภาษีโรงเรือน ค่าเก็บขยะ เป็นต้น หมวด 5 ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนและงานสังคม 5.1 จ่ายดอกเบี้ย และผ่อนใช้หนี้เงินกู้ เงินยืม เล่นแชร์ 5.2 เงินทำบุญ หรือเงินช่วยงาน เช่น งานแต่งงาน งานศพ บวชนาค เป็นต้น 5.3 เงินเดือนหรือเงินที่ส่งไปช่วยเหลือญาติในครอบครัวที่อยู่ที่อื่น 5.4 จ่ายที่พักผ่อนหย่อนใจ เช่น ค่าตั๋ว ดูหนัง ดนตรี ลิเก และการแสดงอื่นๆ รวมถึง ค่าหนังสือพิมพ์ หนังสือ นิตยสาร ซื้อสัตว์เลี้ยง หรือไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น หมวด 6 ค่าใช้จ่ายในการศึกษา 6.1 ค่าเทอม ค่าเรียนพิเศษ ค่ากิจกรรมพิเศษ 6.2 ค่าอุปกรณ์การเรียน และชุดนักเรียน ชุดพละ ชุดลูกเสือน เนตรนารี ยุวกาชาด 6.3 ค่าขนมที่ให้เด็กไปโรงเรียนรายวันน หรือรายเดือน 6.4 ค่ารถรับส่งเด็กไปโรงเรียนแบบประจำวันและรายเดือน หมวดที่ 7 ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น 7.1 ขนมขบเคี้ยว ขนมกรุบกรอบ ลูกอม 7.2 เครื่องดื่มชูกำลัง เช่น ลิโพ กระทิงแดง เอ็มร้อย เอ็มร้อยห้าสิบ 7.3 เหล้า เบียร์ ยาดอง ไวน์ กระแช่ สาโท 7.4 ยาสูบ บุหรี่ หมาก ยานัตถุ์ 7.5 เงินที่เสียไปโดยไม่่เต็มใจ เช่น ทำเงินหาย หรือถูกขโมย ถูกปรับ 7.6 เงินที่จ่ายเพื่อการเสี่ยงโชค และเงินเสี่ยงดวงในรูปแบบต่างๆ เช่น ซื้อหวย ล็อตเตอรี่ หรือสลากกินแบ่ง โดยบันทึกเป็นรายสัปดาห์ แบบบันทึกเงินออมและหลักประกัน 1. จ่ายเบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันภัย 2. ฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตร ฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ ออมเงินกู้ 3. ซื้อทอง เงิน นาก เพชร พลอย และเครื่องประดับที่มีค่าอื่นๆ 4. เงินสด เงินดาวน์ หรือเงินผ่อน เพื่อซื้อหรือเช่าที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ 5. เงินสด เงินดาวน์ หรือเงินผ่อน เพื่อซื้อยานพาหนะ เช่นรถยนต์ รถกระบะ จักรยาน มอเตอร์ไซด์ เรือ แบบบันทึกหนี้สิน 1. ยอดเงินกู้ในระบบ 1.1 เพื่อการลงทุนและการประกอบอาชีพ อัตราดอกเบี้ย..................% 1.2 เพื่อการศึกษาบุตรหลานอัตราดอกเบี้ย...............% 1.3 เพื่อการใช้จ่ายอื่นๆ อัตราดอกเบี้ย............% 2. ยอดเงินกู้นอกระบบ 2.1 เพื่อการลงทุนและการประกอบอาชีพ อัตราดอกเบี้ย............% 2.2 เพื่อการศึกษาบุตรหลานอัตราดอกเบี้ย...............% 2.3 เพื่อการใช้จ่ายอื่นๆ อัตราดอกเบี้ย............% 3. การผ่อนใช้หนี้เงินกู้ในระบบ - เงินต้น -ดอกเบี้ย 4.การผ่อนใช้หนี้เงินกู้นอกระบบ -เงินต้น -ดอกเบี้ย โดยให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เข้าใจและทำบัญชีได้อย่างถูกต้องและสามารถรู้ได้รู้รายรับรายจ่ายของคนในครัวเรือนเพื่อนำไปใช้ได้อย่างพอเพียงต่อจากนั้นให้ผู้เข้าร่วมอบรมทำบัญชีครัวเรือนได้สอบถามข้อที่สงสัย นายชะดีน ยังดี ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวขอขอบคุณวิทยากรนางสมปอง บุญฤทธิ์ พักรับประทานอาหาร นางสาวอารีรัตน์ เอียดดี คณะทำงานได้ชี้แจงนัดหมายการประชุมครั้งต่อไปวันเวลาอาจเปลี่ยนแปลงได้ ปิดประชุมเวลา 15.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ครัวเรือนนำร่องจำนวน 50 ครัวเรือน ได้รับทราบและเข้าใจในการทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่ายได้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิทยากโดยสอบถามข้อสงสัยในการทำบัญชีครัวเรือนและสามารถทำได้ทุกเดือนผู้เข้าอบรมสามารถทำบัญชีครัวเรือนเองได้และเข้าใจรายละเอียดของรายรับและรายจ่าย

     

    50 50

    30. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 8

    วันที่ 30 กรกฎาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่30กรกฏาคม2559เวลา13.00น.ณอาคารเอนกประสงค์บ้านในใสม.15ตำบลละงูอำเภอละงูจังหวัดสตูลร่วมด้วยผู้ใหญ่บ้านเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขผู้รับผิดชอบโครงการคณะทำงานประธานที่ประชุมนายสิดดิกเอียดดีกล่าวเปิดประชุมตามวาระดังนี้ ระเบียบวาระที่๑เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ ๑.๑ประชุมคณะทำงานทีมสภาผู้นำเพื่อปรึกษาหารือเรื่องกิจกรรมของโครงการสสส.ของหมู่บ้านโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่ายหมู่15ตำบลละงูโดยในครั้งนี้เพื่อจัดกิจกรรมต่อไปคือ อบรมใส่แนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 50 ครัวเรือนเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมโดยแบ่งหน้าที่การรับผิดชอบโดยให้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมและช่วยกันสรุปการทำบัญชีครัวเรือนของครัวเรือนนำร่องที่ทำบัญชีครัวเรือนโดยแบ่งหน้าที่กันในการประสานครัวเรือนนำร่องจำนวน50ครัวเรือน ๑.๑การดำเนินการตามโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐงบประมาณหมู่บ้านละ๒๐๐,๐๐๐บาทโดยได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ๑.๒การลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญในวันที่๗สิงหาคม๒๕๕๙และการประชาสัมพันธ์ครูค. ๑.๓การจัดเก็บข้อมูลเกษตรกรที่ทำกินในที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ของการยางแห่งประเทศไทยและแจ้งเกษตรกรเรื่องการปรับปรุงข้อมูลโดยให้ทุกคนเตรียมข้อมูลที่จะต้องปรับปรุงให้พร้อมทางเจ้าหน้าที่เกษตรจะลงมาเก็บข้อมูลใหม่ มติที่ประชุมรับทราบ ระเบียบวาระที่๒รับรองรายงานการประชุมครั้งที่๖/๒๕๕๙เมื่อวันที่๑๐มิถุนายน๒๕๕๙ ไม่มี ระเบียบวาระที่๓เรื่องเพื่อทราบ/พิจารณา/ปัญหาและความต้องการของหมู่บ้าน ประธานแจ้งในเรื่องการกาบัตรเลือกตั้งประชามติร่างรัฐธรรมนูญมีวิธีขั้นตอนอย่างไรในประเด็นที่๑และประเด็นที่๒ นายหาดีอาหมันพูดถึงสัดส่วนปาตี้ลิสปาตี้ลิสคือการแบ่งสัดส่วนอย่างไรให้ชาวบ้านได้ทราบคือสส.แบ่งเขต๓๕๐คนและสส.ปาตี้ลิส๑๕๐คนรวม๕๐๐คนเพื่อชี้แจงให้ชาวบ้านได้เข้าใจ นายสิดดิกเอียดดีได้ชี้แจงประเด็นที่๒เรื่องการใช้สิทธิเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องรัฐสภาโหวตนายกรัฐมนตรี นางสาวอารีรัตน์เอียดดีได้ชี้แจงขั้นตอนการใส่บัตรเลือกตั้งเริ่มตั้งแต่การตรวจดูรายชื่อเซ็นรับบัตรเลือกตั้งตลอดจนการเข้ามาใช้สิทธิเลือกตั้งในคูหาให้ชาวบ้านได้ทราบขั้นตอนต่างๆ นางลัดดามัจฉา(อสม.)ได้ชี้แจงเรื่องโรคระบาดไข้เลือดออกอยากให้ชาวบ้านช่วยดูแลเรื่องแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและได้นัดหมอจากทางอนามัยมาให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกในวันที่๑๗กรกฎาคม๒๕๕๙ นายกำธรรังสรรค์เสนอให้มีการติดตั้งไฟจราจร(ไฟแดง)บริเวณสามแยกร้านเคซีหรือสามแยกหัวทางถนนหัวทาง-คลองขุดเนื่องจากเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง มติที่ประชุม รับทราบและเห็นชอบ

    ระเบียบวาระที่๔เรื่องอื่นๆ ไม่มี ปิดประชุมเวลา๑๕.๓๐น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ผลสรุปในการทำบัญชีของครัวเรือนนำร่อง
    • ได้แนวคิดที่่หลากหลายของคณะทำงานสภา

     

    30 30

    31. อบรมใส่แนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 50 ครัวเรือน

    วันที่ 1 สิงหาคม 2016 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ แจ้งให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับการประชุมประชาคมเพื่อคัดเลือกโครงการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเวทีที่๒เวทีประชาคมวิเคราะห์ข้อมูลและปรับแผนชุมชนโดยสรุปข้อมูลจากการทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมายจำนวน๕๐ครัวเรือนเพื่อมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลในด้านต่างๆของหมู่ที่๑๕บ้านในใสโดยนางสาวสมปองบุญฤทธิ์พัฒนากรผู้รับผิดชอบประจำตำบลละงูโดยให้ผู้เข้าร่วมทำบัญชีครัวเรือนได้มีการปลูกผักกินเองตาครัวเรือนเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนและปลอดสารพิษในร่างกายทำให้ร่างกายแข็งแรงและอายุยืนยาว มติที่ประชุม รับทราบ ระเบียบวาระที่๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา ไม่มี ระเบียบวาระที่๓ เรื่องสืบเนื่อง ไม่มี ระเบียบวาระที่๔ เรื่องเสนอที่ประชุมทราบเพื่อพิจารณาดำเนินการ ประธาน ผมขอให้ท่านที่ต้องการที่จะเสนอโครงการให้เสนอผ่านเวทีประชาคมได้ นายวินิจ ขอเสนอผลิตภัณฑ์รากไม้เศษเหลือใช้งบประมาณ๑๐๐,๐๐๐บาท นางพนา ขอเสนอกลุ่มเลี้ยงเป็ดงบประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท นายชะดีน ขอเสนอกลุ่มทำปุ๋ยชีวภาพงบประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท นายมาลิสา ขอเสนอกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษงบประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท นางสาวอลีนา ขอเสนอซื้อจักรเย็บผ้างบประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท นางลัดดา เสนอกลุ่มทำขนมคุกกี้ขนมไข่งบประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท นางเจ๊ะซอลีฮ๊ะ เสนอกลุ่มเพาะเห็ดงบประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท นางสาวมารีย๊ะ เสนอกลุ่มทำสบู่เหลวและน้ำยาล้างจานงบประมาณ๒๐,๐๐๐บาท นายกำธร เสนอร้านค้าชุมชนงบประมาณ๕๐๐,๐๐๐บาท นางสาวอารีรัตน์ เสนอกลุ่มเลี้ยงไก่ไข่งบประมาณ๑๐๐,๐๐๐บาท นายอาเฉม เสนอต่อยอดกลุ่มเลี้ยงปลาในกระชังงบประมาณ๑๕๐,๐๐๐บาท
      เสนอกลุ่มอาหารปลางบประมาณ๑๕๐,๐๐๐บาท ประธาน เสนอต่อยอดกลุ่มกองทุนปุ๋ยเพื่อการเกษตรงบประมาณ๒๐๐,๐๐๐บาท

    มติที่ประชุม รับทราบและเห็นชอบ

    ระเบียบวาระที่๕เรื่องอื่นๆ ไม่มี

    ประธาน ได้กล่าวขอบคุณนางสาวสมปองบุญฤทธิ์พัฒนากรผู้รับผิดชอบประจำตำบลละงูและประชาชนทุกคนที่มาเข้าร่วมประชุมประชาคมในครั้งนี้ทำให้การประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและผ่านพ้นไปด้วยดี

    ปิดประชุมเวลา๑๖.๐๐น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คนในชุมชนมีความเข้าใจถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยการปลูกผักสวนครัวไว้กินเองกันมากขึ้น
    • ได้รับทราบปัญหาความต้องการของคนในหมู่บ้านเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน

     

    50 51

    32. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 9

    วันที่ 6 สิงหาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่ 6 สิงหาคม2559 เวลา 14.00 น.ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านในใสหมู่ 15 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล ประชุมสภาครั้งที่9เพื่อสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาเพื่อมาวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคของการทำงานในกิจกรรมที่ผ่านมาโดยนายชะดีนยังดีผู้รับผิดชอบโครงการได้พูดถึงกิจกรรมที่ผ่านมามีอุปสรรคเรื่องการนำครัวเรือนนำร่องในการทำบัญชีครัวเรือนมาจัดทำบัญชีซึ่งบางคนไม่ค่อยสนใจในการทำบัญชีต้องติดตามนางสาวอารีรัตน์เอียดดีได้เสนอกิจกรรมต่อไปคือไปศึกษาดุงานซึ่งกิจกรรมศึกษาดูงานศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงตำบลย่านซื่ออำเภอควนโดนจังหวัดสตูลให้ผู้เข้าร่วมเสนอเพื่อสรุปสถานที่ศึกษาดูงานนายอาเฉมบาราได้ขอเสนอเปลี่ยนสถานที่ศึกษาดูงานให้ไปจังหวัดกระบี่โดยค่าใช้จ่ายเพิ่มให้กลุ่มต่างๆในหมู่บ้านช่วยสมทบผู้เข้าร่วมประชุมเห็นด้วยโดยมอบหมายให้นางสาวอารีรัตน์เอียดดีเป็นผู้ติดต่อสถานที่ศึกษาดูงานและมอบหมายให้นางลัดดามัจฉาเป็นผู้จัดหารถและมอบหมายให้นางสุภานาคสง่าเป็นผู้ทำอาหารปิดประชุมเวลา15.30น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้สถานที่ศึกษาดูงานจากเดิมตำบลย่านซื่ออำเภอควนโดนจังหวัดสตูลเปลี่ยนไปศึกษาดูงานจังหวัดกระบี่

     

    30 30

    33. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างพื้นที่

    วันที่ 13 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่13สิงหาคม2559เวลา04.30น. โดยคณะทีมงานศึกษาดูงานได้เดินทางด้วยรถทัวร์เพื่อออกพื้นที่ศึกษาดูงานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเขากลมตั้งอยู่ที่หมู่ที่7บ้านเขากลมตำบลหนองทะเลอำเภอเมืองจังหวัดกระบี่ถึงสถานที่ศึกษาดูงานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเขากลมเวลา09.00น. ต้อนรับโดยคณะทำงานศูนย์เรียนรู้โดยรับประทานอาหารว่างและรับฟังการบรรยายจากวิทยากรนายสงวนมงคลศรีพันเลิศอดีตพนักงานบริษัทเคมภัณฑ์ในจังหวัดปราจีนบุรีได้ออกมาทำอาชีพเกษตรกรรมเพื่อทำประโยชน์ให้แก่ชุมชนจากประสบการณ์ที่สั้งสมเกี่ยวกับเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นได้นำมาใช้ในการพัฒนาการเกษตรในชุมชนของตนเองจึงได้ร่วมกันจัดพื้นที่ดังกล่าวเป็นจุดถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรการใส่แนวคิดด้านเศรษฐกิจพอเพียงด้านความพอเพียงเพื่อให้คนสามารถนำสิ่งรอบๆตัวมาเปลี่ยนเป็นอาชีพได้หลังจากนั้นคนในชุมชนและภายนอกชุมชนมาใช้บริการมากขึ้นจึงได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ของการพึ่งตนเองในการศึกษาดูงานครั้งนี้ได้ดูขั้นตอนวิธีการปลูกมะนาวในท่อการเลี้ยงปลาบ่อสามด้านการทำอาหารปลาการทำน้ำมันไบโอดีเซลการใช้สมุนไพรรักษาโรคการเพาะเมล็ดพันธ์ุมะละกอหลังจากนั้นพักรับประทานอาหารกลางวันเวลา 13.30น. ผู้ศึกษาดูงานได้ซักถามข้อสงสัยต่างๆหลังจากนั้นผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวขอบคุณวิทยากรและมอบเงินค่าวิทยากรให้กับนายสงวนมงคลพันธ์เลิศพักรับประทานอาหารว่างออกจากศูนย์เวลา15.00น.เดินทางกลับ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เข้าศึกษาดูงานได้รับทราบแนวความคิดวิธีคิดของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเขากลมเพื่อนำไปใช้ในการนำมาพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงของกิจกรรมพัฒนาพื้นที่เพื่อจัดทำศูนย์เรียนรู้ชุมชนในด้านการปฏิบัติการทำปุ๋ยหมัก  ปุ่ยชีวภาพ  ปุ๋ยอินทรีย์

     

    30 30

    34. อบรมให้ความรู้และลงมือปฏิบัติเกี่ยวกับการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้

    วันที่ 14 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่ 14 สิงหาคม 2559 เวลา 09.00 น. ณ อาคารเอนกประสงค์ บ้านในใสหมู่ 15 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยนายชะดีนยังดีผู้รับผิดชอบโครงการเปิดประชุมโครงการกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงโดยกล่าวถึงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา 4 ธันวาคม 2541 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความพอเพียงดังนี้"ให้พอเพียงนี้มีความหมายว่ามีกินมีอยู่ไม่ฟุ่มเฟือยไม่หรูหราก็ได้แต่ว่าพอแม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือยแต่ถ้าทำให้มีความสุขถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำสมควรที่จะปฏิบัติให้พวกเราอยู่ในความพอเพียงกันนะเราจะไม่อดไม่ลำบากต่อไปนายชะดีนยังดีได้เชิญนายอาเฉมบาราวิทยากรชาวบ้านมาให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและลงมือปฏิบัติเกี่ยวกับการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์ความพอเพียงหมายถึงความพอประมาณความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการกระทบใดๆอันเกิดจากการเปลื่อนแปลงทั้งภายในภายนอกการใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงนั้นจะต้องมีความพอดี5ประการคือ1.ความพอดีด้านจิตใจคือต้องเข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้มีจิตสำนึกที่ดีเอื้ออาทรประนีประนอมนึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก2.ความพอดีด้านสังคมคือช่วยเหลือเกื้อกูลกันรู้รักสามัคคีสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน3.ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรู้จักใช้และจัดการอย่างชาญฉลาดและรอบคอบเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืนอย่างสูงสุด4.ความพอดีด้านเทคโนโลยีคือรู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสอดคล้องต่อความต้องการและสภาพแวดล้อมพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเองก่อนก่อให้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มาก5.ความพอดีด้านเศรษฐกิจคือเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายดำรงชีวิตอย่างพอสมควรพออยู่พอกินสมควรตามอัตภาพและฐานะของตน

    วิธีปลูกผักสวนครัว

    1. การปลูกผักในแปลงปลูกมีขั้นตอน คือ 1.1 การพรวนดินใช้จอบขุดดินลึกประมาณ6นิ้วเพื่อพรวนดินให้มีโครงสร้างดีขึ้นกำจัดวัชพืชในดินกำจัดไข่แมลงหรือโรคพืชที่อยู่ในดินโดยการพรวนดินและตามทิ้งไว้ประมาณ7-15วัน 1.2 การยกแปลงใช้จอบพรวนยกแปลงสูงประมาณ4-5นิ้วจากผิวดินโดยมีความกว้างประมาณ 1-1.20 เมตร ส่วนตามความเหมาะสมความยาวของแปลงนั้นควรอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ทั้งนี้้เพื่อให้ผักได้รับแสงแดดทั่งทั้งแปลง 1.3 การปรับปรุงเนื้อดินเนื้อดินที่ปลูกผักควรเป็นดินร่วนแต่สภาพดินเดิมนั้นอาจจะเป็นดินทรายหรือดินเหนียวจำเป็นต้องปรับปรุงให้เนื้อดินดีขึ้นโดยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตราประมาณ2-3กิโลกรัมต่อเนื้อที่1ตารางเมตรคลุกเคล้าให้เข้ากัน 1.4 การกำหนดหลุมปลูกจะกำหนดภายหลักงจากเลือกชนิดผักต่างๆแล้วเพราะว่าผักแต่ละชนิดจะใช้ระยะปลูกที่แตกต่างกันเช่นพริกควรใช้ระยะ755เซนติเมตรผักบุ้งจะเป็น55เซนติเมตรเป็นต้น


    2. การปลูกในภาชนะการปลูกในภาชนะควรจะพิจารณาถึงการหยั่งรากของพืชผักชนิดนั้นๆพืชผักที่หยั่งรากตื้นสามารถปลูกได้ดีในภาชนะปลูกชนิดต่างๆและภาชนะชนิดห้อยแขวนที่มีความลึกไม่เกิน10เซนติเมตรคือผักบุ้งจีนคะน้าจีนผักกาดกวางตุ้ง(เขียวและขาว)ผักกาดฮ่องเต้ผักกาดหอมผักกาดขาวชนิดไม่ห่อ(ขาวเล็กขาวใหญ่)ผักชีขึ้นฉ่ายผักโขมจีนกระเทียมใบกุยช่ายกระเทียมหัวผักชีฝรั่งบัวบกสะระแหน่แมงลักโหระพา(เพาะเมล็ด)กะเพรา(เพาะเมล็ด)พริกขี้หนูตะไคร้ชะพลูหอมแดงหอมหัวใหญ่หัวผักกาดแดง(แรดิช)วัสดุที่สามารถนำมาทำเป็นภาชนะปลูกอาจดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้แล้วเช่นยางรถยนต์เก่ากะละมังปลอกซีเมนต์เป็นต้น

    สำหรับภาชนะแขวนอาจใช้กาบมะพร้าวกระถางหรือเปลืกไม้เทคนิคการปลูกผักสวนครัวชนิดต่างๆ

    1. ตระกูลกะหล่ำและผักกาดได้แก่คะน้ากวางตุ้งผักกาดขาวผักกาดหัวกะหล่ำดอกกะหล่ำปลีและบร็อกโคลีผักตระกูลนี้มีเมล็ดค่อนข้างเล็กบางชนิดมีราคาแพงมากเพราะส่วนใหญ่ต้องสั่งเมล็ดมาจากต่างประเทศ-วิธีปลูกหยอดเมล็ดเป็นหลุมๆละ 3-5 เมล็ด ห่างกันหลุมละ 20 เซนติเมตร หรือโรยเมล็ดบางๆเป็นแถวห่างกันกันแถวละ 20 เซนติเมตร หลังหยอดเมล็ดหรือโรยเมล็ด 10 วันหรือเมื่อมีใบจริง 2-3 ใบถอนแยกไห้เหลือหลุมละ 2 ต้นหรือหากโรยเมล็ดเป็นแถวให้ถอนอีกระวังระยะต้นไม้ไม่ให้ชิดกันเกินไป-ใส่ปุ๋ยยูเรียหลังจากถอนแยกหรือทำระยะปลูกแล้ว-หลังใส่ปุ๋ยยูเรียหลังจากถอนแยกหรือทำระยะปลูกแล้ว-หลังใส่ปุ๋ยครั่งแรก10วันใส่ปุ๋ยยูเรียครั้งที่สอง-อายุเก็บเกี่ยวผักแต่ละชนิดแตกต่างกันเล็กน้อย

    2. ตระกูลพริกมะเขือได้แก่พริกขี้หนูพริกชี้ฟ้ามะเขือเปราะมะเขือพวงมะเขือเทศผักตระกูลนี้ควรมีการเพาะกล้าก่อนย้ายลงปลูกในแปลง

    3. ผักชีและตระกูลผักบุ้งได้แก่ผักชีขึ้นฉ่ายผักบุ้งควรนำเมล็ดแช่น้ำก่อนปลูกถ้าเมล็ดลอยให้ทิ้งไปและนำเมล็ดที่จมน้ำมาเพาะหลังจากนั้นนางสาวอารีรัตน์เอียดดีได้กล่าวขอบคุณวิทยากรนายอาเฉมบาราปิดประชุมเวลา 16.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ความรู้ในการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ ทราบวิธีการปลูกผัก
    • สามารถปลูกเองได้และประหยัดพื้นที่

     

    50 0

    35. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 10

    วันที่ 11 กันยายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่ 11 กันยายน 2559 เวลา 13.00 น. ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านในใสหมู่ 15 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยนายสิดดิกเอียดดีประธานที่ประชุม ระเบียบวาระที่ 1เรื่องประธานแจ้งให้ทราบ ๑.๑ เรื่องที่ดินทำกินการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลในเรื่องความคืบหน้าการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษการจัดสรรที่ดินทำกินความคืบหน้างานปฏิรูปการศึกษาและคาดการสถานการณ์ภัยแล้ง ๑.๒ โครงการช่วยเหลือลดต้นทุนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี๒๕๖๐โดยคณะรัฐมนตรีได้ช่วยเหลือไร่ละ๑,๐๐๐บาทไม่เกิน๑๐ไร่กลุ่มที่มีผลกระทบจากภัยแล้งเรื่องการพัฒนาแหล่งน้ำรายละไม่เกิน๓๐๐,๐๐๐บาท ๑.๓ การขึ้นทะเบียนทหารเด็กชายไทยที่เกิดปี๒๕๔๒ให้แจ้งความจำนงได้ที่ว่าการอำเภอละงู ๑.๔ เรื่องการจัดทำศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่ายม.๑๕ตำบลละงูโดยให้คณะทำงานโครงการได้เตรียมอุปกรณ์และเคลียร์สถานที่เพื่อจัดตั้งศูนย์ของหมู่บ้านเพื่อให้เป็นแบบอย่างในการลดรายจ่ายสร้างรายได้ในครัวเรือนและการลดปัญหาการว่างงานในพื้นเพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ทำให้ร่างกายแข็งแรง

    มติที่ประชุมรับทราบ

    ระเบียบวาระที่๒รับรองรายงานการประชุมครั้งที่๗/๒๕๕๙เมื่อวันที่๑๐กรกฎาคม๒๕๕๙

    ไม่มี

    ระเบียบวาระที่๓เรื่องเพื่อทราบ/พิจารณา/ปัญหาและความต้องการของหมู่บ้าน ประธานที่ประชุมให้ผู้เข้าร่วมประชุมเสนอปัญหาความต้องการของหมู่บ้านโดยให้กลุ่มอสม.นายอาเฉมบาราได้พูดถึงเรื่องลูกน้ำยุงลายบ้านใครมีลูกน้ำยุงลายปรับรายละ๒,๐๐๐บาทให้ชาวบ้านช่วยกันป้องกันโดยกำจัดลูกน้ำยุงลายในลูกล้อหรือตามที่มีน้ำขังซึ่งหมู่๑๕มีผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้ว๗ รายแล้ว นายหาดีอาหมันได้เสนอให้ขุดลอกคลอง(คลองน้ำตาย)เพื่อเป็นที่ระบายน้ำยามฝนตกชุกทำให้น้ำไม่ท่วมขัง นายสิดดิกเอียดดีได้เสนอให้ฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยในชุมชนจัดเวรยามชุดชรบ.หมู่บ้านเพื่อเฝ้าระวังทรัพย์สินการลักเล็กขโมยน้อยในชุมชนและอันตรายจากการใช้รถใช้ถนนเนื่องจากสภาพอากาศเริ่มเปลี่ยนแปลงและปัญหาด้านการประกอบอาชีพเพราะคนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกรีดยางเมื่อเข้าช่วงฝนตกไม่สามารถไปประกอบอาชีพได้บางครั้งมีการขโมยขี้ยางของชาวบ้านทำให้ชาวบ้านหมดกำลังใจด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจอีกด้วย นายจิรวัฒน์อุสมาผู้ช่วยฝ่ายรักษาความสงบกล่าวรายงานการตรวจค้นวัยรุ่นณป้อมชรบ.ม.๑๕ไม่พบสิงผิดกฎหมาย

    มติที่ประชุม รับทราบและเห็นชอบ

    ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องอื่นๆ นายชะดีนยังดีผู้รับผิดชอบโครงการได้ประชุมสภาผู้นำเพื่อวางแผนกิจกรรมครั้งต่อไปโดยแบ่งหน้าที่ในการเตรียมพร้อมกิจกรรมครั้งต่อไปเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการทำ ไม่มี งานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และปัญหาในการจัดกิจกรรมครั้งที่ผ่านมาโดยในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไปได้มอบหมายให้นางสาวอารีรัตน์เอียดดีจัดซื้อวัตถุดิบในการจัดกิจกรรมพัฒนาพื้นที่เพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนในด้านต่อด้วยการปฏิบัติการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์และนัดแนะวันเวลาในการปรับพื้นที่การพัฒนาศูนย์การเสนอให้ซื้อเมล็ดพันธุ์ผักเช่นผักบุ้งผักกาดถั่วฝักยาวผักคน้าพริกเป็นต้นเพื่อใช้ในการเพาะเมล็ดพันธุ์ปิดประชุมเวลา 16.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้วันเวลาในการจัดกิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
    • ได้รับแนวคิดของทีมสภาในการนำเสนอกวัตถุดิบในการจัดกิจกรรม
    • ได้มีการเสนอให้มีการสร้างกติกาของกลุ่ม

     

    30 0

    36. พัฒนาพื้นที่เพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนในด้านต่อด้วยการปฏิบัติการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์

    วันที่ 24 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่ 24 กันยายน2559 เวลา 10.00 น. ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ม.15 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล ร่วมด้วยครัวเรือนเป้าหมายคณะทำงานโครงการได้จัดหาวัตถุดิบให้กับศูนย์โดยการจัดหาเมล็ดพันธ์ุกากน้ำมันปาล๋มมูลสัตว์กากน้ำตาลน้ำอีเอ็มและอุปกรณ์ที่ทำศูนย์พร้อมปรับพื้นที่ของศูนย์โดยในวันแรกได้ช่วยกันจัดหาไม้เพื่อล้อมรั้วศูนย์และล้อมด้วยลวดหนามและช่วยกันถากถางกิ่งไม้ต้นไม้เพื่อปรับพื้นที่ให้เกิดความเหมาะสมพักรับประทานอาหารกลางวันเวลา14.00น.คณะทำงานโครงการโดยผู้รับผิดชอบโครงการผู้ใหญ่บ้านและครัวเรือนนำร่องช่วยกันผสมวัตถุดิบในการทำน้ำปุ๋ยหมัก
    • วันที่ 25 กันยายน 2559 เวลา 10.00 น. ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ม.15 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยคณะทำงานและครัวเรือนเป้าหมายได้ช่วยกันทำปุ๋ยหมักชีวภาพการทำน้ำปุ๋ยหมักและได้กมีการเพาะเมล็ดพันธ์ุพักรับประทานอาหารกลางวัน

    เวลา14.00น.โดยนายชะดีนยังดีผู้รับผิดชอบโครงการได้ประชุมเพื่อแบ่งกลุ่มเป็น3กลุ่มโดยให้แต่ละกลุ่มรับผิดชอบคือกลุ่มปุ๋ยกลุ่มผักและกลุ่มเพาะเมล็ดพันธ์ุและเลือกคณะกรรมการจัดตั้งศูนย์จำนวน10คนให้เป็นผู้ดูแลศูนย์เรียนรู้โดยเสนอให้นายบาหวีหวันสูเป็นประธานศูนย์เรียนรู้นายชะดีนยังดีรองประธานศูนย์นางสาวอารีรัตน์เอียดดีเหรัญญิกนางลัดดามัจฉาเลขานุการนายสิดดิกเอียดดีที่ปรึกษานายอรุณขาวดีกรรมการนายอาเฉมบารากรรมการนางอลีนาบุตราฝ่ายตลาดนางนอรีย๊ะหลังนุ้ยกรรมการนายหาดีอาหมันที่ปรึกษาโดยมีการจัดตั้งกติกาศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงคือ1.ต้องมีการอยู่เวรในการดูแลศุนย์วันละ7คน2.เมื่อได้ผลผลิตให้หักเข้ากลุ่ม40%ให้สมาชิกกลุ่ม50%ช่วยเหลือชุมชน10%3.สมาชิกต้องตรงต่อเวลาและรับผิดชอบ4.สมาชิกต้องยอมรับกติกาศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงทุกคนยอมรับในกติการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้กติกาศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
    2. ได้คนในการสร้างชุมชนให้น่าอยู่มากขึ้น
    3. ได้ความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันมากขึ้น
    4. ได้ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

     

    50 50

    37. ทบทวนกติกาหมู่บ้านเพื่อปรับปรุงให้ทันสมัยมากขึ้น

    วันที่ 26 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่ 26 กันยายน 2559 เวลา 09.00 น. ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านในใสหมู่15ตำบลละงูอำเภอละงูจังหวัดสตูลโดยคณะทำงานโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่าย หมู่ 15 ตำบลละงู นายชะดีนยังดีผู้รับผิดชอบโครงการนายสิดดิกเอียดดีผู้ใหญ่บ้านนางสาวอารีรัตน์เอียดดีบัณฑิตอาสาฯนางลัดดามัจฉาอสม.คณะทำงานและนายบดินทรไชพงค์ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบตำบลละงูเปิดการประชุมโดยนายสิดดิกเอียดดีผู้ใหญ่บ้านประธานที่ประชุมได้ประชุมการจัดทำกติกาหมู่บ้านเพื่อปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยขึ้นและสามารถนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนโดยให้ปลัดบดินทรไชยพงค์ได้พูดคุยกับคนในชุมชนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงทางรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเงินจำนวน๒๐๐๐๐บาทซึ่งมีการอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนโดยเจ้าหน้าที่จากพัฒนาชุมชนอำเภอละงูแต่ให้ทางหมู่บ้านให้จัดหารายชื่อผู้เข้าอบรมการทำบัญชีครัวเรือนซึ่งในการหาผู้ทำบัญชีครัวเรือนรายรับรายจ่ายจะต้องเป็นผู้ที่เขียนหนังสือได้อ่านหนังสือออกเพราะง่ายต่อการจัดทำบัญชีและสามารถเข้าใจการทำบัญชีรับ-จ่ายภายในครัวเรือนของตนเพื่อที่จะทราบถึงการใช้จ่ายเงินในครัวเรือนรู้จักประหยัดอดออมเพื่อที่สามารถต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันเรื่องเสนอกติกาหมู่บ้านขึ้นนายอาเฉมบาราได้เสนอ ห้ามยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดการพนันนายอรุณขาวดีได้เสนอห้ามมั่วสุมในยามวิกาลนายสิดดิกเอียดดีเสนอบุคคลภายนอกที่มาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเกิน3วันต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้านทราบ และผู้ที่ไม่เข้าร่วมประชุมหมู่บ้านเกิน3ครั้งจะไม่พิจารณาในการกู้เงินกยศ.และธุรกรรมต่างๆหรือค่้ำประกันบุคคลมติที่ประชุมเห็นชอบปิดประชุมเวลา15.00น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้กติกาหมู่บ้านที่ทันสมัยคือ
    1. ห้ามยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
    2. ห้ามยุ่งเกี่ยวกับการพนัน
    3. บุคคลภายนอกที่มาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านกิน 3 วันต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้านทราบ
    4. ห้ามมั้วสุมในยามวิกาลตั้งแต่เวลา 24.00-03.00 น.
    5. ผู้ใดไม่เข้าร่วมประชุมหมู่บ้านเกิน 3 ครั้ง จะพิจารณาในการกู้เงินกยศ.และธุรกรรมต่างๆหรือค่ำประกันบุคคล

     

    50 50

    38. พบพี่เลี้ยงเพื่อจัดทำเอกสาร

    วันที่ 1 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่1ตุลาคม2559เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภค นางสาวอณัญญาแสะหลีพี่เลี้ยงได้เข้ามาตรวสอบเอกสารทางการเงินและการรายงานผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ แนะนำปรับปรุงการเขียนรายงานและจัดทำเอกสารในการรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ผลลัพธ์จากการรวบรวมเอกสารทางการเงินและการนำรายงานเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์

     

    2 2

    39. ประชุมคณะกรรมการประเมินครัวเรือนดีเด่นจำนวน 10 คน และคณะทำงานโครงการจำนวน 20 คน

    วันที่ 2 ตุลาคม 2016 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่2ตุลาคม2559เวลา09.30น.ประชุมคณะกรรมการประเมินครัวเรือนดีเด่นจำนวน10คนและคณะทำงานโครงการจำนวน20คนโดยนายชะดีนยังดีนผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวเปิดประชุมโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่ายหมู่15บ้านในใสตำบลละงูโดยพูดถึงการทำงานของคณะทำงานจากกิจกรรมที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้และทบทวนกติกาหมู่บ้านเพื่อปรับปรุงให้ทันสมัยมากขึ้นซึ่งคณะนี้ชาวบ้านได้ให้ความสนใจกันมากขึ้นในเรื่องการเข้าประชุมหรือประชาคมงานต่างๆเพื่อขับเคลื่อนหมู่บ้านให้พัฒนาไปในทางดีและมีความเข้าใจในโครงการที่ทำมากขึ้นร่วมสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกันนางสาวอารีรัตน์เอียดดีบัณฑิตอาสาฯได้วางแผนการทำงานเพื่อลงพื้นที่สำรวจครัวเรือนนำร่องโดยให้คณะกรรมการทั้ง10คนรับผิดชอบการลงสำรวจครัวเรือนคนละ5ครัวเรือนโดยให้คณะกรรมการที่เดินสำรวจต้องจดผักแต่ละชนิดของแต่ละครัวเรือนและสอบถามการทำบัญชีครัวเรือนเพื่อนำมาดูว่าครัวเรือนนั้นมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างพร้อมส่งข้อมูลต่างๆในแต่ละครัวเรือนเพื่อมาคัดเลือกกันว่าครัวเรือนใดปลูกผักหลายชนิดที่สุดแต่กรรมการต้องมีความซื่อสัตว์ซื่อตรงเพราะในการลงสำรวจจะต้องเป็นจริงและถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดการขัดแย้งหรือโต้แย้งกันภายหลังและต้องให้ยุติธรรมที่สุดนางลัดดามัจฉาอสม.เสริมในเรื่องของระยะเวลาที่สำรวจคือต้องไม่เกิน2วันและต้องส่งรูปภาพเจ้าของครัวเรือนพร้อมกับผักที่ปลูกส่งทางไลท์ให้แก่บัณฑิตอาสาฯเพื่อเก็บข้อมูลและบอกผักแต่ละชนิดด้วยปิดประชุมเวลา14.00น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้มีการแบ่งโซนครัวเรือนโดยมีผู้รับผิดชอบในการสำรวจจำนวน10คนต่อ5ครัวเรือน
    • ได้สำรวจพื้นที่ของหมู่บ้านหมู่ที่15บ้านในใสว่ามีกีครัวเรือนที่ปลูกผักและส่วนใหญ่ปลูกผักอะไรกี่ชนิด
    • ได้ทราบถึงการทำบัญชีว่ามีกี่ครัวเรือน

     

    30 30

    40. งานสร้างสุข

    วันที่ 3 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้
    • วันที่ 3 ตุลาคม เวลา 12.00-13.00 น.มีการแสดงโขน และพิธีเปิด โดยร่วมกันร้องเพลงชาติไทย กล่าวต้อนรับ นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และกล่าวพิธีเปิด โดยนายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เวลา 13.30-15.00 มีการปาฐกถา เรื่องบทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียนโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี จากนั้นมีการเสวนาเรื่องมุมมองใหม่ในการพััฒนาระบบสุขภาพในอนาคตการพัฒนาที่มุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญโดยเฉพาะการพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วง4ทศวรรษที่ผ่านมาเป็นการพัฒนาที่ก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อทรัพยากรโลกเป็นอย่างมากเมื่อปี2543ดังนั้นเพื่อให้เกิดความต่อเนื่ององค์การสหประชาชาติจึงได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาขึ้นใหม่โดยอาศัยกรอบความคิดที่มองการพัฒนาเป็นมิติของเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีความเชื่อมโยงเรียกว่าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งจะใช้เป็นทิศทางการพัฒนาตั้งแต่เดือนกันยายนปี2558ถึงเดือนสิงหาคม2573 ครอบคลุมระยะเวลา15ปีโดยประกอบไปด้วย17เป้าหมายคือองค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน17เป้าหมายหลักเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมิติสุขภาวะของโลกและประเทศไทย
    • วันที่ 4 ตุลาคม 2559 เวลา 09.00-17.00 น.ประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ ชมวิดีทัศน์การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ หลังจากนั้นมีการเสวนา เรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่สาธารณะโครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชันสน จังหวัดพัทลุง โดยผู้ใหญ่บ้านทุ่งยาว นายกเทศมนตรีตำบลโคกม่วง สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดพัทลุง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดพัทลุง เลขานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง จากนั้นมีการแสดงโขนคน ตอน เชิดพระอิศวร และต่อมาได้มีการนำเสนอกรณีศึกษา ในประเด็นต่างๆ เช่น ประเด็นการจัดการจัดการขยะ ประเด็นเศรษฐกิจพอเพียง ประเด็นเด็กและเยาวชน ประเด็น การจัดการทรัพยากรและการท่องเทียว และประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัย
    • วันที่5ตุลาคม2559เวลา10.30-11.45น.หัวข้อเสวนาการขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียนภาคใต้มีกระบวนการขับเคลื่อนงานสุขภาพของประชาชนในพื้นที่โดยในทุกๆปีจะมีการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ปีละครั้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2549กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายหัวข้อที่หลากหลายโดยการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับประเทศมาเป็นวิทยากรนอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยของบุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐอาจารย์นักวิจัยนักศึกษาระดับบัณฑิตอาสาและบุคคลผู้สนใจทั่วไปการประชุมห้องย่อยตามประเด็นปัญหาของพื้นที่ซึ่งประเด็นสำคัญที่เป็นวิกฤตสุขภาพได้แก่1. ความมั่นคงทางมนุษย์2.ความมั่นคงทางอาหาร3.ความมั่นคงทางทรัพยากร4.ความมั่นคงทางสุขภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ทราบการดำเนินงานการทำกิจกรรมของแต่ละพื้นที่ซึ่งมีความแตกต่างกัน
    • การดำเนินการทำกิจกรรมของแต่ละพื้นที่แต่ละสำนักมีความแตกต่างกันแต่เกิดการสมดุล

     

    2 2

    41. ลงพื้นที่ประเมินโดยคณะกรรมการ แบ่งประเมินจำนวน 2 วัน

    วันที่ 6 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่6และวันที่7ตุลาคม2559ณหมู่15ตำบลละงูอำเภอละงูจังหวัดสตูลโดยคณะกรรมการผู้สำรวจครัวเรือนผู้ปลูกผักสวนครัวได้ลงพื้นที่ประเมินโดยนางสิปะยังดีได้สำรวจบ้านเลขที่246คือนางวารีหยันนุ้ยโส๊ะโดยได้สอบถามสมาชิกในครัวเรือนเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนซึ่งบ้านนางวารีหยันนุ้ยโส๊ะได้มีการทำบัญชีครัวเรือนและได้ปลูกผักหลายชนิดคือบอนหอมน้ำเต้าฝักทองผักบุ้งพริกมะเขือตะไคร้ข่ามะละกอแก้วมังกรผักโหมหรือผักขมหน่อไม้ผักเหรียงโหระพาขมิ้นขิงบ้านเลขที่245นางฮาสีส๊ะแซะอาหลีได้ปลูกมะละกอมะนาวพริกขี้หนูขาโหระพาดอกแคบ้านเลขที่1หมู่ที่15ได้ทำบัญชีครัวเรือนผักที่ปลูกในครัวเรือนคือมะเขือตะใคร้ข่าขิงมะนาวพริกขี้หนูมะละกอชีล้อมดอกแคขี้เหล็กหน่อไม้บอนผักหวานต้นหอมผักชีกุยฉ่ายและได้สำรวจบ้านเลขที่145 ได้ปลูกผัก12ชนิดและบ้านเลขที่400ได้ปลูก13ชนิดนางนอรีย๊ะหลังนุ้ยได้สำรวจบ้านเลขที่185นายสนั่นหลังนุ้ยผักที่ปลูกจำนวน18ชนิดคือตะไคร้ผักหวานมะละกอกระเพราข่ามุ่ยมุ่ยเทศอินทผาลัมขมิ้นมะกอกผักหวานเลมะขามพริกขี้หนู ผักเนียนถั่วพลูโหรพาชะอมบ้านเลขที่187นายรอเต็นหยีมะเหรบได้ปลูก20ชนิดคือตะไคร้พริกขี้หนูมะเขืออันชันขมิ้นไผ่หวานกระเจี๊ยบกระเพราโหรพาผักหวานกระเจี๊ยบป่า(ถั่วเมือก)มะนาวกรูดมะนาวบอนอินทผาลัมข่ามะละกอมุ่ยเทศขิงเตยหอมนางพนาเกษาคณะกรรมการได้สำรวจบ้านเลขที่165นางนะนาคสง่าได้ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้19ชนิดคือพริกขี้หนูมะเขือตะไคร้ข่าเอาะดิบผักขมมะนาวผักบุ้งถั่วฟักยาวชะอมสะตออัญชัญผักหวานมะม่วงหินมะพานมะละกอขิงขมิ้นกะถินผักเซี้ยนสำรวจบ้านเลขที่163นางฉาหวันตาเอ็นได้ปลูกผักสวนครัว16ชนิดคือบอนมะละกอมะนาวพริกขี้หนูเอาะดิบกระเจี๊ยบแดงขมิ้นพริกไทยต้นหมุยถั่วพลูบัวบกมะม่วงหินมะพานผักเซี้ยนตะไคร้สำรวจบ้านเลขที่36นางยวาลันกุลหลังได้ปลูกผัก11ชนิดนางวรรณภาสอแหละได้ปลูกผัก33ชนิดบ้านเลขที่197นายอาสันเอียดดีได้ปลูกผัก10ชนิดนายอาเฉมบาราคณะกรรมการได้สำรวจบ้านเลขที่161นางกาญจนาสมาคมได้ทำบัญชีครัวเรือนและได้ปลูกผักสวนครัวจำนวน21ชนิดคือพริกขี้หนูโหรพาข่าตะไคร่มะขามมะรุมถั่วพลูมะละกออัญชันมะนาวมะเขือพวงคืนช่ายมะม่วงหินมะพานลางจืดดอกแคชะอมผักน้ำผักหวานป่าเอาะดิบมะกรูดขิงนายบาหวีหวันสูได้สำรวจนางรอกีอ๊ะหลีขาวบ้านเลขที่200ได้ปลูกผักสวนครัวจำนวน15ชนิดนายสีสันต์หมีนหวังบ้านเลขที่195ได้ปลูกผัก10ชนิดนางลิม๊ะนาคสง่าได้ปลูกผัก10ชนิดนางม๊ะกูลหลังปลูกผักสวนครัว13ชนิดนายว่าเหตุนาคสง่าได้ปลูกผัก13ชนิดคณะกรรมการได้เดินสำรวจจำนวน2วันโดยมีคณะกรรมการสำรวจจำนวน10คนโดยสำรวจจากครัวเรือนนำร่องจำนวน50ครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ทราบข้อมูลผู้ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้แต่ละครัวเรือนว่ามีการปลูกผักชนิดใดบ้างและกีชนิด
    • ทำให้คนในชุมชนให้ความสนใจในการปลูกผักสวนครัวกันมากขึ้น

     

    30 10

    42. จัดงานประกวดครัวเรือนดีเด่นตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

    วันที่ 9 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่9ตุลาคม2559เวลา09.00น.ณอาคารเอนกประสงค์บ้านในใสหมู่15ตำบลละงูอำเภอละงูจังหวัดสตูลจัดกิจกรรมประกวดครัวเรือนดีเด่นตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงโดยนางสาวอรทัยอุสมาเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านในเมืองมาให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว เพื่อให้ได้สารอาหารที่ร่างกายต้องการอย่างครบถ้วน และมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่อ้วน หรือผอมไป2. กินข้าวเป็นหลักสลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ เลือกกินข้าวกล้องแทนข้าวขาว จะได้คุณค่าและใยอาหารมากกว่า 3. กินพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ กินผักผลไม้ทุกมื้อ จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค และต้านมะเร็งได้ 4. กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ ปลาเป็นโปรตีนคุณภาพดีและย่อยง่าย ไข่เป็นอาหารที่หาง่าย ถั่วเมล็ดแห้งเป็นโปรตีนจากพืชที่ใช้กินแทนเนื้อสัตว์ได้ 5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย นมช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง เด็กควรดื่มนมวันละ 2 – 3 แก้ว ผู้ใหญ่ควรดื่มนมพร่องมันเนย วันละ 1 – 2 แก้ว6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร กินอาหารประเภททอด ผัด และแกงกะทิ แต่พอควร เลือกกินอาหารประเภทต้ม นึ่ง ย่าง (ที่ไม่ไหม้เกรียม) แกงไม่ใส่กะทิ เป็นประจำ7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัด และเค็มจัด กินหวานมากเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และหลอดเลือด กินเค็มมากเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง8. กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน อาหารที่ไม่สุกและปนเปื้อนเชื้อโรค และสารเคมี เช่น สารบอแรกซ์ สารกันรา สารฟอกขาว ฟอร์มาลีน และยาฆ่าแมลง ทำให้เกิดโรคได้ 9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิด โรคความดันโลหิตสูง โรคตับแข็ง โรคมะเร็งหลอดอาหาร และโรคร้ายอีกมากมายหลัก 3 อ. 2 ส. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังปัจจุบันหลายท่านคงมีโรคประจำตัว หรือมีญาติที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคที่ฮอตฮิตและมักเป็นกันเยอะมากคือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต เป็นต้น แล้วยังเครียดกับรูปร่างที่อวบอ้วนขึ้น โดยเฉพาะสาวๆ หนุ่มๆเพราะค่านิยมของบ้านเราในขณะนี้ มักชื่นชมคนที่มีรูปร่างบอบบาง ดังนั้น เรามาปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อรักษาสุขภาพร่างกายให้มีรูปร่างที่สมส่วนแล้วยังแข็งแรงสมบูรณ์ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยการยึดหลัก 3 อ.2ส.
      อ.ที่ 1 คืออาหารรับประทานอาหารครบ 3 มื้อครบทั้ง 5 หมู่ ลดความหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้หลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้น้ำมันซ้ำหลายๆครั้งกินอาหารหลากหลายไม่ซ้ำจำเจ อ.ที่ 2 คือ ออกกำลังกาย การออกกำลังกายทำให้แข็งแรงอายุยืน ลดการเกิดโรคเรื้อรัง มี 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 อุ่นเครื่อง ประมาณ 5-10 นาที ขั้นที่ 2 ออกกำลังกายอย่างจริงจัง อย่างน้อย 30 นาที ไม่เกิน 1 ชั่วโมง ขั้นที่ 3 เบาเครื่องเป็นระยะผ่อนคลายประมาณ 5-10 นาที ข้อควรระวังใจสั่นแน่นหน้าอกและปวดร้าวไปที่แขนไหล่และคอซีกซ้าย หายใจลำบากรู้สึกเหมือนจะเป็นลม หากมีอาการดังต่อไปนี้ให้หยุดการออกกำลังกายและไปพบแพทย์ อ.ที่ 3 คือ อารมณ์ คนเรามีวิธีคลายเครียดต่างกัน ส่วนใหญ่จะเลือกวิธีที่ถนัด สนใจ ทำแล้ว เพลิดเพลิน มีความสุข เช่นฟังเพลง ร้องเพลง ดูโทรทัศน์นอนหลับพักผ่อนออกกำลังกาย เต้นแอโรบิกปลูกต้นไม้ เล่นกับสัตว์เลี้ยง พูดคุยพบปะกับเพื่อนฝูง สิ่งสำคัญ คือ เมื่อเครียดไม่ควร สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติด เที่ยวกลางคืน เพราะจะทำให้เสียสุขภาพและเสียทรัพย์ได้ ส.ที่ 1 คือไม่สูบบุหรี่ซึ่งผลเสียของการสูบบุหรี่ก็คือ 1.หัวใจขาดเลือดหลอดเลือดหัวใจตีบ 2.เพิ่มโอกาสเป็น มะเร็งปอดมะเร็งกล่องเสียง ปอดอุดตันเรื้อรัง 3.เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ส.ที่ 2 คือลดการดื่มสุรา เพราะการดื่มสุราทำให้เกิดผลเสียคือ 1.ทำให้ความดันโลหิตสูงเกิดโรคหัวใจ 2.เพิ่มโอกาสเสี่ยง ตับอักเสบตับแข็ง 3.ทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง 4.เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เพราะฉะนั้นถ้าท่านปฏิบัติตามหลัก 3 อ.2ส.ได้ จะมีร่างกายที่สมส่วน และจะห่างไกลจากโรคเรื้อรังอย่างแน่นอน ต่อจากนั้นนางสาวสมปองบุญฤทธิ์พัฒนากรประจำตำบลละงูได้พูดคุยกับชาวบ้านเรื่องปราชญ์ชาวบ้านของหมู่15บ้านในใสคือนายสุรเดชนาคสง่าซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการบีบนวดสมุนไพรซึ่งปราชญ์ชาวบ้านจะต้องไปอบรมที่จังหวัดยะลาและสามารถมาถ่ายทอดหรือเป็นวิทยกรได้เรื่องต่อมาการขึ้นทะเบียนกลุ่มโอทอปหมู่15มีกลุ่มต่างๆในหมู่บ้านคือกลุ่มแม่บ้านสกรีนเสื้อบ้านในใสกลุ่งเลี้ยงปลากระชังกลุ่มกองทุนปุ๋ยหลังจากนั้นได้มีการเลือกอาสาพัฒนาบทบาทสตรีในวันนี้ด้วยโดยชาวบ้านได้เสนอชื่อนางสาววริยานิยมเดชาและนางนอรีย๊ะหลังนุ้ยโดยให้คนที่เป็นสมาชิกอาสาพัฒนาสตรีลงคะแนนผลปรากฎว่าได้นางนอรีย๊ะหลังนุ้ยเป็นอาสาพัฒนาบทบาทสตรีต่อจากนั้นได้มอบรางวัลให้แก่ครัวเรือนนำร่องที่ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน50ครัวเรือนซึ่งคณะกรรมทั้งสิบท่านได้ประชุมคัดเลือกผู้ที่ปลูกผักสวนครัวรั้วกินที่ปลูกไว้หลายชนิดจำนวน10ครัวเรือนคือนางกาญจนาสมาคมปลูกผักจำนวน21ชนิดนางนะนาคสง่าปลูกผักได้จำนวน19ชนิดนายรอเต็นหยีมะเหร็บจำนวน19ชนิดนายสนั่นหลังนุ้ยจำนวน18ชนิดนางสุดาหรันหลังจำนวน18ชนิดจากนั้นมอบของรางวัลให้ผู้ที่ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้และรับประทานอาหารและมอบของชำร่วยให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมปิดประชุมเวลา16.00น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คนในชุมชนให้ความร่วมมือในการเข้าประชุมทำกิจกรรมกันมากขึ้น
    • สามารถมองเห็นภาพในอนาคตเรื่องการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ของแต่ละครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น
    • คนในชุมชนมีความตื่นตัวกันมากขึ้นเมื่อมีกิจกรรมดีจากโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่าย

     

    100 100

    43. ถอดบทเรียนการทำงานโครงการของคณะกรรมการสภา จำนวน 30 คน

    วันที่ 11 ตุลาคม 2016 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่11ตุลาคม2559เวลาเวลา 09.00 - 15.00 น. ณ สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค อำเภอละงู จังหวัดสตูล จัดกิจกรรม เวทีถอดบทเรียนการทำงานโครงการนายชะดีนยังดี ผู้รับผิดชอบโครงการ เปิดประชุม และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุมนครั้งนี้ให้ที่ประชุมรับทราบ นางสาวอนัญญา แสะหลี มาร่วมกิจกรรมถอดบทเรียนการทำงานของโครงการ โดยแบ่งกลุ่ม ออกเป็น 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีโจทย์ที่ต้องช่วยกันระดมความคิด ดังนี้
      กลุ่มที่ 1 ความคาดหวังของการเข้าร่วมโครงการ กลุ่มที่ 2 สิ่งที่เกินความคาดหวัง กลุ่มที่ 3 สิ่งที่เกิดขึ้นจริง กลุ่มที 4 ปัญหาและอุปสรรค กลุ่มที่ 5 ข้อเสนอแนะ วิทยากรให้เวลา 15 นาที ในการช่วยกันคิด แล้วเขียนลงในกระดาษชาร์จโดยกลุ่มที่1มีนางสาวอารีรัตน์เอียดดีประธานกลุ่มนางลัดดามัจฉาผู้นำเสนอนางอาภรณ์นาคสง่านางสิปะยังดีนางปานีหละเกลี้ยงโดยมีโจทย์ความคาดหวังจากโครการโดยให้นางลัดดามัจฉาเป็นผู้เสนอ
    • อยากให้มีการปลูกผักทุกครัวเรือน
    • อยากให้คนในชุมชนทำบัญชีครัวเรือน
    • ให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมเพื่อจะตั้งสภาชุมชน
    • สร้างแกนนำในหมู่บ้านมีการปรึกษาหารีอ
    • อยากให้มีโครงการเศรษฐกิจพอเพียงต่อเนื่อง กลุ่มที่2มีนายชะดีนยังดีประธานนางสุภานาคสง่าผู้นำเสนอนายจิรวัฒน์อุสมานางยวาลันกุลหลังโดยมีโจทย์สิ่งที่เกินความคาดหวังนางสุภานาคสง่าได้นำเสนอคือ
    • เกิดความสามัคคีขึ้นในหมู่บ้าน
    • ทุกคนให้ความร่วมมือในการประชุม
    • เกิดศูนย์เรียนรู้ในการปลูกพืชปลอดสารพิษในหมู่บ้าน
    • ในแต่ละครัวเรือนปลูกผักสวนครัวมากขึ้นเกินความคาดหวัง
    • ได้ไปศึกษาดูงานและได้นำความรู้จากการศึกษาดูงานมาพัฒนาในหมู่บ้าน
    • ได้รู้จักกันมากขึ้น
    • ได้มีสุขภาพที่และได้ออกกำลังกายคือการปลูกผักที่ศูนย์เรียนรู้
    • ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ กลุ่มที่3มีนางสมใจอาหมานประธานนางสาลีฟะขุนแสงผู้นำเสนอนายสิดดิกเอียดดีนางวิตตาเอ็นนางจริยาอาแดนางสาลีฟะขุนแสงได้นำเสนอโดยมีโจทย์สิ่งที่เกิดขึ้นจริง
    • การจัดทำกลุ่มสกรีนเสื้อกลุ่มปุ๋ยกลุ่มกระชัง
    • การจัดหาสมาชิกกลุ่ม
    • ร่วมประชุมหาแนวทางที่จะทำโครงการ
    • หลังจากประชุมได้ประชุมสมาชิกเพิ่ม
    • จัดสถานที่ทำโครงการคือมีพื้นที่ทำโครงการจริง
    • มีการปลูกผักปลอดสารพิษตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มที่4มีนายอรุณขาวดีประธานนางพนาเกษาผู้นำเสนอนางนูรีฟะอาหมันนางสะแลหาอุสมาโจยปัญหาและอุปสรรค
    • ขาดความร่วมมือบางส่วน
    • ไม่มีพื้นที่ปลูกพอเพียง
    • ไม่มีพันธ์ุผัก
    • ขาดอุปกรณ์
    • ขาดเงินทุน
    • ขาดความสามัคคีชอบขัดแย้ง กลุ่มที่5มีนายบาหวีหวันสูประธานนางนอรีย๊ะหลังนุ้ยผู้นำเสนอนางรอหยันกุลหลังนางมารีย๊ะลิมานนายอาเฉมบาราโจทย์ข้อเสนอแนะ
    • ขอต่อยอดโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
    • ขอให้ผู้นำในชุมชนกระจายข่าวให้ทั่วถึง
    • อยากให้สมาชิกโครงการให้มีส่วนร่วมกันทุกคน
    • เวลามีโครงการต่างๆให้เข้าที่ประชุมทุกครั้ง
    • มีของชำร่วยแจกทุกครั้งที่ประชุม
    • ขอให้มีโครงการศึกษาดูงานต่างจังหวัด ปิดประชุม15.00น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานได้แสดงความคิดเห็นจากการทำกิจกรรมตั้งแต่เริ่มจนถึงกิจกรรมถอดบทเรียน
    • คณะทำงานได้วางแผนการทำโครงการต่อไปหากมีงบประมาณสนับสนุนอีก

     

    30 30

    44. พบพี่เลี้ยงเพื่อจัดทำรายงานเอกสารการเงิน

    วันที่ 12 ตุลาคม 2016 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พบพี่เลี่ยงโครงการเพื่อตรวจสอบการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมโครงการและตรวจสอบเอกสารการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ตรวจสอบเอกสารทางการเงินของโครงการการพิมพฺ์รายงาน

     

    2 2

    45. พบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจเอกสารทางการเงิน

    วันที่ 13 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่ 1ุุุ6 ตุลาคม 2559 เวลา13.00 น.คณะทำงานโครงการเข้าพบพี่เลียงเข้าตรวจสอบเอกสารโครงการและรายละเอียดการเขียนรายงานว่ามีความสมบูรณ์หรือไม่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • พี่เลียงได้ตรวจเอกสารโครงการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

     

    1 1

    46. พบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจสอบเอกสารทางการเงิน

    วันที่ 14 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่ 14  ตุลาคม  2559  เวลา  13.00 น.  คณะทำงานโครงการเข้าพบพี่เลียงเข้าตรวจสอบเอกสารโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • พี่เลียงได้ตรวจเอกสารโครงการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

     

    1 1

    47. เพื่อรวบรวบเอกสารทางการเงินโครงการให้พี้เลี้ยงตรวจสอบ

    วันที่ 15 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09.00 น. ณสำนักงานเครือยข่ายผู้บริโภคได้พบพี่เลียงโครงการเพื่อตรวจสอบเอกสารโครงการและฐานะทางการเงินของโครงการเพื่อให้เป้นไปตามทิศทางเดียวกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • พี่เลี้ยงสามารถตรวจสอบเอกสารทางการเงินของโครงการ

     

    2 1

    48. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 15 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -การจัดทำรายงานข้อมูลเพื่อให้สมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รายงานที่สมบูรณ์

     

    2 2

    49. จัดทำรูปถ่ายกิจกรรม

    วันที่ 15 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ได้รายงานที่สมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รายงานการจัดทำรายงานสมบูรณ์

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักเศรษฐกิจพอเพียง
    ตัวชี้วัด : - มีข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของคนในชุมชนจำนวน 1 ชุด - มีเยาวชนและแกนนำชุมชนมีทักษะในการเก็บข้อมูลจำนวน 20 คน
    • ได้รับทราบข้อมูลหนี้สินของคนในชุมชนจำนวน1ชุดโดยการสำรวจของคณะทำงานทีมสภาได้สอบถามข้อมูลสถานการณ์ความเป็นอยู่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษารายได้อาชีพและหนี้สินในครัวเรือนหรือหนี้สินอื่นๆเพื่อให้ทราบแหล่งที่มาของหนี้สินในเรื่องการใช้จ่ายต่างๆในชีวิตประจำวันซึ่งจะดูว่าตัวไหนที่สามารถตัดหรือลดในการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยได้
    • ได้แกนนำชุมชนจัดทำข้อมูลเองในการออกแบบสถานการณ์หนี้สินของคนในชุมชนจำนวน20คนในการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบสถานการณ์หนี้สินให้ครอบคลุมเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำมาประมวลผลได้
    • ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ของคนในชุมชนโดยแกนนำชุมชนจากการเดินสำรวจสถานการณ์หนี้สินของคนในชุมชนโดยวิเคราะห์แหล่งที่มาของรายได้คือส่วนใหญ่ได้จากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่และรายได้จากการค้าขายแต่ต้นทุนในการสร้างรายได้สูงมากเช่นค่าน้ำมันค่าวัตถุดิบต่างๆในการประกอบอาชีพ
    2 เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ และมีความมั่นคงยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    ตัวชี้วัด : - มีฐานข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของคนในชุมชนจำนวน 1 ชุด - เกิดครัวเรือนต้นแบบการทำบัญชีครัวเรือน 50 ครัวเรือน - ครัวเรือนตัวอย่างดำรงชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 50 ครัวเรือน
    • มีฐานข้อมูลหนี้สินของคนในชุมชน จำนวน1ชุดเพื่อเป็นข้อมูลหนี้สินของชุมชน
    • มีการทำบัญชีครัวเรือนเกือบทุกครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง
    • มีครัวเรือนตัวอย่างจำนวนุ60ครัวเรือนที่ดำรงชีวิตอย่างพอเพียงโดยมีการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้เพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นปลูกในกระถางต้นไม้วงล้อพื้นที่ที่สามารถปลูกผักได้ริมลำคลองในหมู่บ้าน
    3 เพื่อพัฒนากลไกการทำงานของชุมชนอย่างมีส่วนร่วม
    ตัวชี้วัด : - มีคณะทำงานโครงการจำนวน 20 คน จำนวน 1 ชุด - เกิดสภาหมู่บ้านจำนวน 1 สภา - สมาชิกสภาประกอบด้วยกรรมการหมู่บ้านและตัวแทนกลุ่มองค์กรต่างๆที่มีอยู่ในชุมชนจำนวน 30 คน - ทุกครั้งมีการปรึกษาหารือปัญหาต่างๆในหมู่บ้าน - มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 - มีแผนปฏิบัติการในชุมชน อย่างน้อย 5 แผน - มีสภาชุมชนประชุมร่วมกันเดือนละครั้ง
    • มีคณะทำงานในการทำงานเพิ่มมากขึ้นจาก20คนเป็น30คนเพื่อให้เกิดเป็นสภาหมู่บ้านจำนวน1สภาเพื่อขับเคลื่อนการทำงานในหมู่บ้านให้มีความเข้มแข็ง
    • คณะกรรมการหมู่บ้านมีบทบาทในการเป็นผู้นำมากขึ้นนอกเหนือจากกรรมการหมู่บ้านสามารถเสนอแนะและแก้ไขปัญหาต่างที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านได้
    • มีการประชุมกันอย่างน้อยเดือนละ2ครั้งโดยมีผู้เข้าประชุมไม่น้อยกว่า80%ในแต่ละครั้งเพราะคนในชุมชนเข้าใจและร่วมรับฟังในการประชุมหรือจัดกิจกรรมต่างๆจำนวนผู้ประชุมเริ่มมากขึ้นเพราะเกิดการตื่นตัวในการจัดทำกิจกรรมหรือโครงการในหมู่บ้าน
    4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
    • มีป้ายปลอดบุหรี่ในสถานที่ประชุมส่วนรวมทุกครั้งเพื่อให้คนในชุมชนตระหนักและลดละเลิกในการสูบบุหรี่
    • มีการประชุมและจัดทำรายงานภาพถ่ายส่งทันตามระยะเวลาที่กำหนดโดยมีภาพถ่ายพร้อมคำบรรยายทุกกิจกรรมเพื่อให้ทราบว่าทำอะไรที่ไหนอย่างไร
    • มีการจัดทำบัญชีและรายชื่อครบถูกต้องตามกำหนดเพื่อให้ตรงกับกิจกรรมที่ได้ทำ

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักเศรษฐกิจพอเพียง (2) เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ และมีความมั่นคงยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (3) เพื่อพัฒนากลไกการทำงานของชุมชนอย่างมีส่วนร่วม (4) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่าย ม.15 บ้านในใส ต.ละงู

    รหัสโครงการ 58-03943 รหัสสัญญา 58-00-1920 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    รูปแบบการทำงานแบบเครือญาติโดยนำทีมคณะกรรมการหมู่บ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดประชุมต่างๆและใช้กระบวนการทำงานโดยการสร้างทีมในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆในหมู่บ้าน

     

    แกนนำครอบครัว

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    เกิดรูปแบบการทำงานที่มีหลากหลายกลุ่มเพิ่มมากขึ้น จากเดิมเฉพาะกลุ่ม อสม. ที่ดูแลด้านสุขภาพ แต่มีการร่วมเครือข่ายทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนและกลุ่มอาชีพในชุมชนมีรูปแบบการทำงานที่ดีขึ้น

    โครงสร้างการทำงานของทีมอสม.

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    มีกลุ่มต่างๆเพิ่มมากขึ้น คือกลุ่มแม่บ้านสกรีนเสื้อบ้านในใสกลุ่มกองทุนปุ๋ยกลุ่มเลี้ยงปลานิลในกระชัง

     

    การจัดการบริหารโดยนำกระบวนการทำงานเป็นทีมเพื่อแบ่งหน้าที่ให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงหมู่15ตำบลละงูอำเภอละงูจังหวัดสตูล

    ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงหมู่15ตำบลละงูอำเภอละงูจังหวัดสตูล

    พัฒนาเกิดการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    มีการกินอาหารที่ปลอดสารเคมี โดยการปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง

     

    พัฒนาความรู้เรื่องการบริโภคอาหารและการปลูกผัก

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    มีป้ายการลดละเลิก บุหรี่ อย่างห็นได้ชัดโดยเฉพาะการเคารพกติกาไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    มีการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรม และมีการนำแนวทางศาสนาอิสลามกับสร้างเสริมสุขภาพร่วมด้วย สมาชิกกลุ่ม

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    มีการนำภูมิปัญญา สมุนไพรและพืชผักในชุมชน มาปรุงเป็นเมนูต้านโรค เมนูอาหารพื้นบ้าน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    มีการจัดการพฤติกรรมการใช้จ่ายในระดับตนเองและครัวเรือน โดยมีการจัดทำสมุดบัญชีการออม

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    มีการแยกขยะและการจัดบ้านเรือนให้สะอาดเรียบร้อยโดยการกำจัดลูกน้ำยุงลาย

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้
    • เกิดกลุ่มอาชีพคือแม่บ้านสกรีนเสื้อบ้านในใสหมู่15ตำบลละงูอำเภอละงูจังหวัดสตูล
    • กลุ่มเลี้ยงปลานิลในกระชังหมู่15 ตำบลละงูอำเภอละงูจังหวัดสตูล
    • กลุ่มกองทุนปุ๋ย หมู่15 ตำบลละงูอำเภอละงูจังหวัดสตูล

    กลุ่มองค์กรในชุมชน

    การจัดการบริหารโดยนำกระบวนการทำงานเป็นทีมเพื่อแบ่งหน้าที่ให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    มีกฏกติกาหมู่บ้าน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีการประสานงานกันระหว่างกลุ่มโดยมีการเชื่อมโยงกันระหว่างรพ.สต.และพัฒนาชุมชนอำเภอละงู

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    ชุมชนมีการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำมาทำแผนในการแก้ไขปัญหาโดยชุมชนเอง

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายมีการรวมกลุ่มในการจัดทำกิจกรรม โดยการรวมกลุ่มของแม่บ้านในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้พร้อมทั้งมีศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นศูนย์รวมการทำกิจกรรมร่วมกัน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    การจัดการทำบัญชีครัวเรือนและการปลูกผักของครัวเรือนต้นแบบ

    จากการสำรวจข้อมูลผู้ทำบัญชีครัวเรือน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

    -

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    คณะกรรมการการดำเนินงาน มีความภูมิใจในการทำงานที่ช่วยให้ทางชุมชนให้มีความร่วมมือในการทำงานและงานที่ได้รับมอบหมายเกิดประโยชน์กับชุมชน และได้รับความไว้วางใจในการดำเนินงานต่อ

    จากการพูดคุย ซักถาม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    การดำเนินงานมีความตั้งใจในการทำงานโดยมีการสละเวลาในการประกอบอาชีพในบางช่วงกิจกรรมหรือการเข้าร่วมประชุม มีการสลับหมุนเวียนกันในทางทีมงานเพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับการประกอบอาชีพหรือการใช้ชีวิตประจำวัน

    จากการพูดคุย สัมภาษณ์

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    ชุมชนโดยส่วนใหญ่มีการน้อมนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีการปลูกผักเพิ่มขึ้น และใช้พืืชสมุนไพรในท้องถิ่น อยู่แบบเรียบง่าย

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    เกิดการช่วยเหลือในการทำกิจกรรมร่วมกันของชุมชนทั้งกิจกรรมในโครงการและกิจกรรมอื่นๆของชุมชน

    จากการสังเกตุในการทำกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    ในการดำเนินงานมีการพูดคุย โดยใช้เหตุและผลในการดำเนินกิจกรรม เมื่อเกิดข้อขัดแย้ง จะมีการร่วมฟังความิดเห็นและลงมติโดยใช้กระบวนการมีส่วนรวมและเสียงจากคนส่วนใหญ่เพื่อประกอบการตัดสินใจร่วมด้วย

    จากการสังเกตการทำกิจกรรม และการติดตามลงพื้นที่

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่าย ม.15 บ้านในใส ต.ละงู จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 58-03943

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย ชะดีน ยังดี )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด