Node Flagship

directions_run

พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ถนนสิโรรส และชุมชนอุตสาหกรรมสามหมอ อ.เมืองยะลา

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดยะลา


“ พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ถนนสิโรรส และชุมชนอุตสาหกรรมสามหมอ อ.เมืองยะลา ”

ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
นางจิราภรณ์ เวสารัชชะ

ชื่อโครงการ พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ถนนสิโรรส และชุมชนอุตสาหกรรมสามหมอ อ.เมืองยะลา

ที่อยู่ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 63001750021 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2020 ถึง 30 เมษายน 2021


กิตติกรรมประกาศ

"พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ถนนสิโรรส และชุมชนอุตสาหกรรมสามหมอ อ.เมืองยะลา จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดยะลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ถนนสิโรรส และชุมชนอุตสาหกรรมสามหมอ อ.เมืองยะลา



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พฤติกรรมเสี่ยงได้รับการแก้ไข (2) จุดเสี่ยงได้รับการแก้ไข (3) สิ่งแวดล้อมเสี่ยงได้รับการแก้ไข กิจกรรมการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) คีย์ข้อมูลรายงาน (2) เวทีปฐมนิเทศ และทำสัญญาโครงการ (3) ประชุมคลี่โครงการ (4) เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย (5) เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และเก็บข้อมูลของโครงการ (6) ประชุมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์ (7) เวทีประชาคม (8) ประชุมติดตามงาน (9) เวทีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1 (10) อบรมการสร้างสื่อดิจิทัลทางสมาร์ทโฟน (11) เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพทธ์ของโครงการย่อย (12) ประชุมติดตามงาน (13) อบรมนักเรียน (14) ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ระดับหน่วยจัดการฯ (15) รณรงค์และประชาสัมพันธ์มัสยิดนูรุสสลาม (16) รณรงค์และประชาสัมพันธ์มัสยิดดารุลนาอีม (17) รณรงค์และประชาสัมพันธ์ในเขตตลาดเก่า (18) ประชุมสรุปโครงการคณะทำงาน (19) รณรงค์และประชาสัมพันธ์จุดเสี่ยงหน้าโรงเรียน (20) รณรงค์และประชาสัมพันธ์ตามจุดเสี่ยง (21) รณรงค์และประชาสัมพันธ์จุดเสี่ยงหน้าโรงอิฐน่ำฮั่วจัน (22) อบรมกฎกติการะเบียบจราจรความปลอดภัยทางถนน (23) เวทีสังเคราะห์และสกัดบทเรียน ผลลัพธ์ ไม่สวมหมวกกันน็อก ปีก่อน 1,773 คน เป็น 885 ลดลง 886 คน 50% ขับรถเร็ว ปีก่อน 2201 คน เป็น 221 ลดลง 1,980 คิดเป้น90% เมาแล้วขับ ปีก่อน 170 คน ลดลง100% ขับรถไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร(กรณีย้อนศร) ปีก่อน 1,510 คน ลดลง 100% การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม (จุดเสี่ยง) รวมทั้งหมด.5.จุด จุดเสี่ยงได้รับการปรับปรุงและแก้ไขสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น โดยการทาสีขอบทางเดินของเทศบาลนครยะลาทุกจุด รณรงค์สวมหมวกกันน็อค , เมาไม่ขับ , ไม่ขับย้อนศร , ไม่คุยโทรศัพท์ขณะขับรถ , จอดถูกที่ถูกทาง รณรงค์และประชาสัมพันธ์ตามจุดเสี่ยงต่างๆ การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน มีจำนวนลดลง จากปีก่อน 168 ครั้ง ปีนี้ 2 ครั้ง ลดลงร้อยละ 98.8 โครงการนี้มีกิจกรรมที่เป็นต้นแบบ ให้คณะทำงานขับเคลื่อนต่อเนื่องได้ โดยเฉพาะโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ที่มีอาสาสมัครจราจรรุ่นสู่รุ่น และเพิ่มจำนวนมากขึ้น นอกจากนี้คณะทำงาน ที่เป็นผู้ประสานงานหลักประจำจุดเสี่ยงยังคงจะดำเนินการต่อ สื่อสารกันทางกลุ่มไลน์ ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ขอให้เครือข่ายสนับสนุนต่อเนื่อง เข้มข้น คือ ตำรวจจราจร เทศบาลนครยะลา และ สำนักงานขนส่งจังหวัด

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สถานการณ์ของปัญหา ตำบลสะเตง อำเภอเมือง ยะลา มีสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนสูงสุด ของ จังหวัด จากสถิติ 3 ปีย้อนหลัง พบว่า ในเขตตลาดเก่า พบอัตราการบาดเจ็บสูงสุด จำนวน 381 ราย  (ข้อมูลจากศูนย์อุบัติเหตุทางถนน รพ.ศูนย์ยะลา) และการประชุมกรรมการชุมชน และเครือข่ายที่มีข้อมูลสำคัญในพื้นที่ ได้ข้อสรุปว่า จุดเสี่ยงอยู่ที่ สีแยกไฟแดงซอย 1 (สิโรรส 4) นอกจากนั้นสิ่งแวดล้อมทางสังคมในเรื่องรถติดหน้าโรงเรียนก่อนหลังเลิกเรียน และที่ตลาดนัดช่วงเวลาเช้า สาเหตุเนื่องมาจากพฤติกรรมที่นิยมความสะดวก โดย ไม่รับผิดชอบส่วนรวมของผู้ประกอบการ และบุคคล รวมทั้งการไม่กวดขันวินัยจราจร  ซึ่งมีเหตุการณ์ที่อยู่      นอกรายงานอีกจำนวนมาก สำหรับสถานการณ์ข้อมูลบุคคล มีข้อมูลภาพรวมทั้งตำบล ศึกษาข้อมูลผู้ประสบเหตุ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 ถึง 31 มกราคม 2563 จำนวน 2802 ราย พบว่า ประเภทรถ จักรยานยนต์มากที่สุด ผู้ขับขี่บาดเจ็บ 1,917 ราย ตาย 8 ราย ผู้โดยสารบาดเจ็บ 577 ตาย 1 ราย รองลงมาคือ รถเก๋ง/ปิคอัพ ผู้ขับขี่บาดเจ็บ 28 ราย ผู้โดยสารบาดเจ็บ 42 ราย 1 รายและ จักรยานยนต์/สามล้อ ผู้ขับขี่บาดเจ็บ 130 ราย ตาย 1 ราย ผู้โดยสาร 19 ราย พฤติกรรมการหมวกนิรภัย ผู้ขับขี่ไม่ใช้หมวกบาดเจ็บ 1,884 คน ตาย 7 คน ใช้หมวกบาดเจ็บ 12 ราย กลุ่มอายุที่ประสบเหตุมากที่สุด คืออายุ 15-20 ปี ผู้บาดเจ็บ 607 ราย ตาย 3 ราย เพศชาย บาดเจ็บ 294 ราย ตาย 3 ราย หญิง 303 ราย กลุ่มอายุ อายุ 20-25 ปี พบผู้บาดเจ็บ รวม  408 ราย เพศชาย 159 ราย  หญิง 249 ราย อายุ 25-30 ปี บาดเจ็บรวม  257 ราย ตาย 1 ราย เพศชาย บาดเจ็บ 121 ราย ตาย 1 ราย หญิง บาดเจ็บ 136 ราย กลุ่มอาชีพ พบว่า เป็นนักเรียน/นักศึกษา สูงสุด บาดเจ็บ 1,031 ราย ตาย 1 ราย รองลงมาเป็นกลุ่ม ผู้ใช้แรงงาน บาดเจ็บ 737 ราย ตาย 3 ราย และค้าขาย บาดเจ็บ 292 ราย ตาย 2 ราย (ข้อมูลจากศูนย์อุบัติเหตุทางถนน รพ.ศูนย์ยะลา)
อุบัติเหตุทางถนนเหล่านี้เกิดจาก พฤติกรรมขับเร็ว เร่งให้พ้นแยกไฟแดง จอดที่ห้ามจอด จอดผิดที่ (ไฟแดง/ที่จอดรถ) เข้าใจผิดหรือมองไม่เห็นป้ายเลี้ยวซ้ายรอสัญญาณไฟ ใช้โทรศัพท์ตอนติดไฟแดง โดยเฉพาะพนักงานส่งอาหาร FOODPANDA ที่ใช้โทรศัพท์ในการติดต่อลูกค้าและค้นหาตำแหน่งขณะขับขี่เนื่องจากต้องทำเวลาตามโปรโมชั่น และให้เร็วเพื่อได้ปริมาณมาก จักรยายยนต์รับจ้าง รถยนต์รับจ้าง จอดแช่ ขับหวาดเสียว  จอดที่ห้ามจอด จอดซ้อน ส่วนบุคคลมีคนชรา เด็กอายุไม่ถึง  ไม่มีใบขับขี่
นอกจากนั้นยังเกิดการบาดเจ็บรุนแรง หรือเสียชีวิตจากการไม่สวมหมวกนิรภัย ส่วนของสิ่งแวดล้อม สภาพถนนมีน้ำยาง น้ำขี้ยาง น้ำมัน หิน/ทราย หกหล่น นอกจากนั้นยังมีปัญหาร้านค้า  ล้ำถนน กันสาดบังถนน สี่แยกหัวมุมร้านค้า บังป้าย ที่จอดรถหน้าโรงเรียน ด้านกลไก ยังขาดคณะทำงานภาคประชาชนข้อมูลยังไม่ครบถ้วน และขาดกติกาชุมชน แนวทางแก้ โดยใช้ทุนเดิมคือ กรรมการชุมชนที่เข้มแข็ง อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีความพร้อม วิทยากรจราจรอาสาที่มีประสบการณ์ หากแต่ปัจจุบันยังไม่ได้มีการระดมสรรพกำลังในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางท้องถนนอย่างเต็มที่ จึงควรมีกลไกการทำงานภาคประชาชน พัฒนาระบบข้อมูล และระดมการมีส่วนร่วม เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว หากดำเนินการได้ผลสำเร็จ จะลดปัญหา สุขภาพการตาย บาดเจ็บ พิการ ความเครียด สุขภาพจิต      ลดปัญหาด้านเศรษฐกิจ ค่ารักษา ค่าเดินทางขาดรายได้จ่ายคู่กรณีค่าปรับเฉลี่ยรวม 8,508,400บาท ลดปัญหาสังคม การขาดผู้นำครอบครัว ขาดแรงงาน และปัญหากับคู่กรณี เมื่อดำเนินงานเสร็จสิ้น จะได้ข้อเสนอในการต่อยอดกิจกรรมให้แก่องค์กรชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอรูปแบบ (Model) การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนของชุมชนเมือง เพื่อขยายผลในระดับต่างๆ ต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. พฤติกรรมเสี่ยงได้รับการแก้ไข
  2. จุดเสี่ยงได้รับการแก้ไข
  3. สิ่งแวดล้อมเสี่ยงได้รับการแก้ไข

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมหารือจัดทำต้นแบบ (Model) รูปแบบการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน
  2. คีย์ข้อมูลรายงาน
  3. เวทีปฐมนิเทศและทำสัญญา
  4. ประฐมนิเทศน์ทำสัญญาโครงการย่อย
  5. ประชุมคลี่โครงการ
  6. สำรวจข้อมูลความเสี่ยง
  7. .เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย
  8. เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อย
  9. ประชุมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลเชิงประเด็นยุทธศาสตร์
  10. เวทีประชาคมคืนข้อมูลระดมความเห็นแนวทาง และกติกาชุมชนในการลดอุบัติเหตุ
  11. สรุปโครงการย่อย
  12. ประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)
  13. พัฒนาโครงการฯ
  14. อบรมแกนนำชุมชนในการสื่อสารดิจิทัลงานลดอุบัติเหตุทางถนน
  15. ประชุมคณะทำงานฯ
  16. ประชุมเวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ระดับหน่วยจัดการ
  17. ประชาสัมพันธ์รณรงค์ที่สี่แยกไฟแดงและจุดเสี่ยง 4 จุด
  18. อบรมกฏหมายระเบียบจราจร การขับขี่ปลอดภัย
  19. เวทีสังเคราะห์และสกัดบทเรียนโครงการย่อยฯ ระดับหน่วยจัดการ
  20. ประชุมสรุปบทเรียนโครงการคณะทำงานฯ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายหลัก 200

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ได้ต้นแบบการดำเนินงานลดอุบัติเหตุทางถนนเขตเมือง


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมหารือจัดทำต้นแบบ (Model) รูปแบบการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน

วันที่ 12 มีนาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

1.แนวทางโครงการ 2.การสนับสนุนพื้นที่รับทุน 3.แนวทางการจัดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

✓ ได้แนวทางและแผนในการจัดกิจกรรมและคณะทำงาน

 

3 0

2. เวทีปฐมนิเทศและทำสัญญา

วันที่ 3 มิถุนายน 2020

กิจกรรมที่ทำ

รับการปฐมนิเทศและทำสัญญา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สัญญา

 

3 0

3. ประฐมนิเทศน์ทำสัญญาโครงการย่อย

วันที่ 3 มิถุนายน 2020

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมชี้แจงข้อตกลงทำสัญญาโครงการย่อยโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมถนนสิโรรสและชุมชนอุตสาหกรรมสามหมอ อ.เมืองยะลา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

4. ประชุมคลี่โครงการ

วันที่ 4 กรกฎาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะกรรมการ 15 คน คลี่โครงการ  กำหนดบทบาทกรรมการ  และแผนงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะกรรมการ 15 คน รับทราบ  เข้าใจแนวทางดำเนินการโครงการ  เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน  และแผนการขับเคลื่อนกิจกรรมตลอดโครงการ

 

15 0

5. .เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย

วันที่ 6 กรกฎาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ ของโครงการย่อย กิจกรรมอบรมแกนนำทำสื่อดิจิทัล สถานที่ มหาวิทยาลัยฟาฎอนี ณ ก้องคอมพิวเตอร์ อาคารสำนักวิทยบริการ  มหาวิทยาลัยฟาฎอนี ที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 6 ก.ค 63 เวลา 9.00 - 15.30 น. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2คน นางจิราภรณ์ เวสารัชชะ และนางสุภาภรณ์ ไชยรัตน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

✓อบรมให้ความรู้แกนนำทำสือดิจิทัล / 2 คน / ที่ห้องคอมพิวเตอร์อาคารศิลปวิทยบริการ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี อำเภอยะรัง จ.ปัตตานี

 

2 0

6. สำรวจข้อมูลความเสี่ยง

วันที่ 6 สิงหาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

แบ่งเป็น15กลุ่ม มีหัวหน้าทีม 1คน/11คน รวมเป็น12คน เป้าหมาย 500คน แต่ละกลุ่มสำรวจ 100 คน เริ่มตั้งแต่ ถนนสิโรรส-ถนนพาดรถไฟ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

✓ ได้รับความร่วมมือจากประชาชนกลุ่มเป้าหมาย / กลุ่มเป้าหมายจำนวน 500 คน / ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากชาวบ้านเรื่องปัญหาต่างๆในการใช้ถนน
/ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มเป้าหมายและได้รับความแนะนำปัญหาที่สามารถนำมาแก้ไขต่อไป

 

84 0

7. เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อย

วันที่ 15 สิงหาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

ประชุม เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการ วันที่ 15 ส.ค. 2563 ณ ห้องปะการัง โรงแรมปาร์ควิว อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เวลา 19.00 -16.00 น. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน นางจิราภรณ์ เวสารัชชะ และนางสาวอุษา แก้วบพิธ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

✓ นายประพันธ์ สีสุข ชี้แจงวัตถุประสงค์เป้าหมายของกิจกรรมเรื่องบันไดผลลัพธ์ของโครงการย่อยและเชิงประเด็นโดยมีแบ่งกลุ่มโครงการย่อยและการออกแบบการเก็บข้อมูลเพื่อตอบเชิงประเด็นยุทธศาสตร์ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จากการอบรมได้มีการแบ่งกลุ่มโครงการย่อยเพื่อทบทวนบันไดผลลัพธ์ของแต่ละโครงการและนำข้อมูลต่างๆแต่ละกิจกรรมของโครงการออกแบบการเก็บข้อมูลเพื่อตอบโจทย์ผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์

 

2 0

8. ประชุมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลเชิงประเด็นยุทธศาสตร์

วันที่ 20 สิงหาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

ร่วมประชุม พิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์ยุทธศาสตร์ ห้องพิกุล ศาลากลางจังหวัดยะลา โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา นาย นิมะ มะกาเจ เป็นประธานในที่ประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ตารางข้อมูลชุดใหม่
ภาคีเครือข่ายเข้าร่วมประชุมได้แก่เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ผู้รับผิดชอบโครงการแต่ละโครงการทั้งหมด 27 โครงการ
สรุป ผลลัพธ์ 1. ระยะต้น - สร้างความรู้ ความตระหนักในแต่ละพื้นที่         2. ระยะกลาง การปรับพฤติกรรม         3. ระยะปลาย - ลดอุบัติเหตุ , การตาย , การบาดเจ็บ , ลดลง

 

1 0

9. เวทีประชาคมคืนข้อมูลระดมความเห็นแนวทาง และกติกาชุมชนในการลดอุบัติเหตุ

วันที่ 30 สิงหาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

จัดเวทีประชาคม 80 คน ณ ห้องประชุมมูลนิธิศาลเจ้าเม่ลิ้มก่อเหนี่ยวยะลา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้แผน 5 จุดเสี่ยง
กลุ่มเป้าหมายจำนวน 80 คน
ชี้แจงสรุปเวทีประชาคมให้จอดรถแนวเดียวกันตลอดสาย ให้ตักเตือนก่อนจับกุมในกรณีจอดรถในที่ห้ามจอด รณรงค์ติดป้ายไวนิวเพื่อลดอุบัติเหตุตามจุดเสี่ยง

 

80 0

10. สรุปโครงการย่อย

วันที่ 6 กันยายน 2020

กิจกรรมที่ทำ

ประชุม ARE คณะทำงาน 15 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานมีประสิทธิภาพ มีความรู้ข้อมูล  มีแกนนำประจำจุดเสี่ยง

 

15 0

11. ประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)

วันที่ 23 ตุลาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) จำนวนคน 2 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เข้าประชุมประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) จำนวนคน 2 คน
สถานที่ ณ วิทยาลัยการอาชีพเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
/ ผู้รับผิดชอบโครงการมีความเข้าใจและนำข้อมูลที่ได้ไปปรับใช้กับกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดระเบียบและรายระเอียดของกิจกรรมได้สมบูรณ์ในทุกกิจกรรมและดำเนินงานในครั้งต่อไปให้ดียิ่งขึ้น

 

2 0

12. พัฒนาโครงการฯ

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2020

กิจกรรมที่ทำ

นำเสนอผลการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

✓ สถานที่ ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ ชั้น 3 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา
กิจกรรมนำเสนอผลการเนินกิจกรรมโครงการหน่วยจัดการและทีม PM ร่วมนำเสนอความคิดเห็น ข้อเสนอ แนวทางการพัฒนาฯ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ได้ทราบผลความก้าวหน้าของกิจกรรม/โครงการที่ผ่านมา ได้การยืนยันฐานข้อมูลของประเด็นยุทธศาสตร์ ทั้ง 2 ประเด็น อย่างชัดเจน

 

3 0

13. อบรมแกนนำชุมชนในการสื่อสารดิจิทัลงานลดอุบัติเหตุทางถนน

วันที่ 9 มกราคม 2021

กิจกรรมที่ทำ

ฝึกปฏิบัติเทคนิคการถ่ายภาพ ค้นหาภาพด้วยสมาร์ทโฟน และฝึกปฏิบัติการใช้แอปพลิเคชันในการสื่อสารทางสมาร์ทโฟน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

✓ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ได้รับการอบรม และสามารถนำความรู้ที่ได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

 

11 0

14. ประชุมคณะทำงานฯ

วันที่ 23 มกราคม 2021

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะทำงาน 15 คน ร่วมประชุมการดำเนินงานครั้งต่อไป และ รายงานชี้แจงการทำงานครั้งที่ผ่านมา

 

15 0

15. ประชุมเวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ระดับหน่วยจัดการ

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2021

กิจกรรมที่ทำ

เข้าร่วมประชุมเวทีติดตามประเมินผลการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ระดับหน่วยจัดการฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

✓ ประธานในที่ประชุมนาย สุชาติ อนันตะ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา เป็นประธานเปิดการประชุมกิจกรรมเวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE โดยมีการนำเสนอของโครงการตามเด็นยุทธศาสตร์ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับกิจกรรมอื่นๆให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการมากขึ้น

 

1 0

16. ประชาสัมพันธ์รณรงค์ที่สี่แยกไฟแดงและจุดเสี่ยง 4 จุด

วันที่ 4 มีนาคม 2021

กิจกรรมที่ทำ

รณรงค์ แจกใบปลิว แผ่นพับ ลดอุบัติเหตุ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

✓ กิจกรรม แกนนำจำนวน 7 กลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แจกใบปลิวรณรงค์ ตามจุดเสี่ยง 5 จุด
ได้แก่ ถนนสิโรรส ถนนพาดรถไฟ สี่แยกหน้าโคลิเซี่ยม สี่แยกหลังโคลิเซี่ยม สี่แยกทางเข้าตลาดเมืองใหม่ หน้าโรงพยาบาล ผลลัพธ์ประชาชนทุกคนที่เข้าร่วมมีควมรู้ความเข้าใจในการใช้กฎจารจรและปัฎิบัติ ตามอย่างเครงครัดและระมัดระวัง ในการขับขี่รถบนถนน

 

21 0

17. อบรมกฏหมายระเบียบจราจร การขับขี่ปลอดภัย

วันที่ 10 มีนาคม 2021

กิจกรรมที่ทำ

อบรมกฏหมายระเบียบจราจรแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

✓ กิจกรรมอบรมกฎหมายการเรียนรู้กฎจราจร ณ ห้อง ประชุมมูลนิธิ เจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยวยะลา ผลลัพธ์ กลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 คน ได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎหมายจราจรและการขับขี่ปลอดภัยโดยวิทยากรจาก สภอ.ยะลา ฝ่ายจราจรมาให้การอบรมจำนวน 2 ท่าน

 

50 0

18. เวทีสังเคราะห์และสกัดบทเรียนโครงการย่อยฯ ระดับหน่วยจัดการ

วันที่ 24 มีนาคม 2021

กิจกรรมที่ทำ

แบ่งกลุ่มย่อยตามประเด็นยุทธศาสตร์ สังเคราะห์และสกัดบทเรียนจากโครงการย่อยฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

✓ ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าใจรายระเอียดของโครงการเพื่อนำไปสู่ความเร็จนำความคิดเห็นข้อติชมของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ไปปรับใช้เพื่อเพิ่่มประสิทธิภาพความก้าวหน้าและสำเร็จตามตามวัตถุประสงค์

 

1 0

19. คีย์ข้อมูลรายงาน

วันที่ 31 มีนาคม 2021

กิจกรรมที่ทำ

กรอกข้อมูลกิจกรรมโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

✓ผู้รับผิดชอบโครงการได้ลงข้อมูลกิจกรรมและเอกการเงินในระบบครบถ้วน

 

1 0

20. ประชุมสรุปบทเรียนโครงการคณะทำงานฯ

วันที่ 11 เมษายน 2021

กิจกรรมที่ทำ

สรุปบทเรียนโครงการคณะทำงานฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

✓ คณะทำงานและเครือข่าย ประชุมถอดบทเรียนและสรุปโครงเป็น ได้แนวทางต้นแบบโครงการแก้ปัญหาอุบัติเหตุในเขตเมือง

 

15 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

คณะทำงาน 15 คน พร้อมด้วยพี่เลี้ยงและเครือข่ายสำคัญ ประชุมคลี่โครงการ เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และเก็บข้อมูลของโครงการ ประชุมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์ เวทีประชาคม ประชุมติดตามงาน เวทีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา อบรมการสร้างสื่อดิจิทัลทางสมาร์ทโฟน อบรมประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน รณรงค์และประชาสัมพันธ์ รณรงค์และประชาสัมพันธ์จุดเสี่ยงหน้าโรงเรียน ประชาสัมพันธ์ตามจุดเสี่ยง อบรมกฎกติการะเบียบจราจรความปลอดภัยทางถนน เวทีสังเคราะห์และสกัดบทเรียน ผลลัพธ์ ไม่สวมหมวกกันน็อก ปีก่อน 1,773 คน เป็น 885 ลดลง 886 คน 50% ขับรถเร็ว ปีก่อน 2201 คน เป็น 221 ลดลง 1,980 คิดเป้น90% เมาแล้วขับ ปีก่อน 170 คน ลดลง100% ขับรถไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร(กรณีย้อนศร) ปีก่อน 1,510 คน ลดลง 100% การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม (จุดเสี่ยง) รวมทั้งหมด.5.จุด จุดเสี่ยงได้รับการปรับปรุงและแก้ไขสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น โดยการทาสีขอบทางเดินของเทศบาลนครยะลาทุกจุด รณรงค์สวมหมวกกันน็อค , เมาไม่ขับ , ไม่ขับย้อนศร , ไม่คุยโทรศัพท์ขณะขับรถ , จอดถูกที่ถูกทาง รณรงค์และประชาสัมพันธ์ตามจุดเสี่ยงต่างๆ การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน มีจำนวนลดลง จากปีก่อน 168 ครั้ง ปีนี้ 2 ครั้ง ลดลงร้อยละ 98.8 โครงการนี้มีกิจกรรมที่เป็นต้นแบบ ให้คณะทำงานขับเคลื่อนต่อเนื่องได้

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 พฤติกรรมเสี่ยงได้รับการแก้ไข
ตัวชี้วัด : พฤติกรรมเสี่ยงได้รับการแก้ไข อย่างน้อย 2 เรื่อง
2.00 5.00

เร็ว โทรศัพท์ ขับย้อนศร จอดรถให้ถูกที่ หมวกนิรภัย

2 จุดเสี่ยงได้รับการแก้ไข
ตัวชี้วัด : จุดเสี่ยงได้รับการแก้ไข อย่างน้อย 2 จุด
2.00 5.00

1)หลังโคลิเซียม รถมาก ขับเร็ว ใช้โทรศัพท์ 2)หน้าโคลิเซียม รถมาก ขับเร็ว ใช้โทรศัพท์ 3)แยกกสถานีรถไฟ คนพลุกพล่าน จอดรถไม่เป็นระเบียบ 4).ทางเข้าตลาดเมืองใหม่ รถเร็ว ป้อมบัง สัญลักาณ์ไม่ชัด 5) ตลาดนัด คนพลุกพล่าน จอดรถไม่เป็นระเบียบ

3 สิ่งแวดล้อมเสี่ยงได้รับการแก้ไข
ตัวชี้วัด : สิ่งแวดล้อมเสี่ยงได้รับการแก้ไข อย่างน้อย 2 อย่าง
2.00 5.00

จุดเสี่ยงได้รับการทาสีฟุตบาท

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 200 2654
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก 200 2,654

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พฤติกรรมเสี่ยงได้รับการแก้ไข (2) จุดเสี่ยงได้รับการแก้ไข (3) สิ่งแวดล้อมเสี่ยงได้รับการแก้ไข กิจกรรมการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) คีย์ข้อมูลรายงาน (2) เวทีปฐมนิเทศ และทำสัญญาโครงการ (3) ประชุมคลี่โครงการ (4) เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย (5) เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และเก็บข้อมูลของโครงการ (6) ประชุมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์ (7) เวทีประชาคม (8) ประชุมติดตามงาน (9) เวทีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1 (10) อบรมการสร้างสื่อดิจิทัลทางสมาร์ทโฟน (11) เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพทธ์ของโครงการย่อย (12) ประชุมติดตามงาน (13) อบรมนักเรียน (14) ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ระดับหน่วยจัดการฯ (15) รณรงค์และประชาสัมพันธ์มัสยิดนูรุสสลาม (16) รณรงค์และประชาสัมพันธ์มัสยิดดารุลนาอีม (17) รณรงค์และประชาสัมพันธ์ในเขตตลาดเก่า (18) ประชุมสรุปโครงการคณะทำงาน (19) รณรงค์และประชาสัมพันธ์จุดเสี่ยงหน้าโรงเรียน (20) รณรงค์และประชาสัมพันธ์ตามจุดเสี่ยง (21) รณรงค์และประชาสัมพันธ์จุดเสี่ยงหน้าโรงอิฐน่ำฮั่วจัน (22) อบรมกฎกติการะเบียบจราจรความปลอดภัยทางถนน (23) เวทีสังเคราะห์และสกัดบทเรียน ผลลัพธ์ ไม่สวมหมวกกันน็อก ปีก่อน 1,773 คน เป็น 885 ลดลง 886 คน 50% ขับรถเร็ว ปีก่อน 2201 คน เป็น 221 ลดลง 1,980 คิดเป้น90% เมาแล้วขับ ปีก่อน 170 คน ลดลง100% ขับรถไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร(กรณีย้อนศร) ปีก่อน 1,510 คน ลดลง 100% การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม (จุดเสี่ยง) รวมทั้งหมด.5.จุด จุดเสี่ยงได้รับการปรับปรุงและแก้ไขสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น โดยการทาสีขอบทางเดินของเทศบาลนครยะลาทุกจุด รณรงค์สวมหมวกกันน็อค , เมาไม่ขับ , ไม่ขับย้อนศร , ไม่คุยโทรศัพท์ขณะขับรถ , จอดถูกที่ถูกทาง รณรงค์และประชาสัมพันธ์ตามจุดเสี่ยงต่างๆ การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน มีจำนวนลดลง จากปีก่อน 168 ครั้ง ปีนี้ 2 ครั้ง ลดลงร้อยละ 98.8 โครงการนี้มีกิจกรรมที่เป็นต้นแบบ ให้คณะทำงานขับเคลื่อนต่อเนื่องได้ โดยเฉพาะโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ที่มีอาสาสมัครจราจรรุ่นสู่รุ่น และเพิ่มจำนวนมากขึ้น นอกจากนี้คณะทำงาน ที่เป็นผู้ประสานงานหลักประจำจุดเสี่ยงยังคงจะดำเนินการต่อ สื่อสารกันทางกลุ่มไลน์ ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ขอให้เครือข่ายสนับสนุนต่อเนื่อง เข้มข้น คือ ตำรวจจราจร เทศบาลนครยะลา และ สำนักงานขนส่งจังหวัด

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

การติดป้ายรณรงค์ไม่สามารถติดตั้งบนเกาะกลางถนนได้

บดบังภูมิทัศน์การขับขี่รถ

 


พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ถนนสิโรรส และชุมชนอุตสาหกรรมสามหมอ อ.เมืองยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 63001750021

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางจิราภรณ์ เวสารัชชะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด