การจัดการปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ สารเสพติด

ประชุมแกนประสาน 14 จังหวัด เครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ด้านการลดปัจจัยเสี่ยงครั้งที่ 23 มีนาคม 2561
3
มีนาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย เจกะพันธ์ พรหมมงคล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

• เตรียมเอกสาร สรุปการประชุมครั้งที่ 1
• ติดต่อ/ประสานงานสถานที่จัดประชุม • ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วม • ดำเนินการประชุม • สรุปการประชุม • ติดตามความคืบหน้าจากมติที่ประชุม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ข้อมูลนำเข้า • ได้ดำเนินการถอดบทเรียนครบแล้ว ทั้ง 5 พื้นที่ คือ สมัชชาสุขภาพ .ตรัง พชอ.สวี จ.ชุมพร ธรรมนูญชุมชน ต.นาไม้ไผ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีฯ แผนพัฒนาจังหวัดระนอง กองทุนฯ ต.คูหาใต้ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา อยู่ระหว่างการเรียบเรียงข้อมูลและจัดกลุ่ม และจัดส่งให้ สจรส.ภายในวันที่ 8 มี.ค. 2561 กำหนดรูปแบบห้องย่อย วันที่ 29 มี.ค. 2561 เวลา 09.00 – 12.00 น. รูปแบบ • ช่วงที่ 1 โชว์ : มูลนิธิโอโซนนำเสนอบทเรียน/ข้อค้นพบ การสนับสนุนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่10 ประเด็นการจัดการด้านยาเสพติดโดยชุมชน • ช่วงที่ 2 แชร์ : ผู้แทนจากระบบสุขภาพ ทั้ง 4 พื้นที่ นำเสนอการจัดการปัจจัยเสี่ยงโดยระบบสุขภาพ เสนอแนะโดยนักวิชาการและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น • ช่วงที่ 3 เชื่อม : พิจารณาและพัฒนาข้อเสนอต่อระบบสร้างเสริมสุขภาพ และรับรองมติสมัชชาเครือข่ายด้านการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพภาคใต้ • กำหนดการห้องย่อย เวลา กิจกรรม หมายเหตุ 09.00 – 09.10 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ห้องย่อย โดย • นายเจกะพันธ์ พรหมมงคล ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ
09.10 – 09.20 น. แชร์ : บทเรียนการสนับสนุนกระบวนสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 10 โดย • ผู้แทนจากมูลนิธิโอโซน
09.20 – 11.20 น.








โชว์ : นำเสนอพื้นที่ลดปัจจัยเสี่ยงโดยระบบสุขภาพ • ประเด็นท้องไม่พร้อมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา • ประเด็นเหล้ากับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอสวี จังหวัดชุมพร • ประเด็นบุหรี่กับสมัชชาสุขภาพ จังหวัดตรัง • ประเด็นเหล้า อุบัติเหตุ กับแผนพัฒนาจังหวัดระนอง นำเสนอประเด็นละ 10 นาที ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะ 5 นาที แลกเปลี่ยนความเห็น/พัฒนาข้อเสนอ 15 นาที 11.20 – 12.00น. เชื่อม : กระบวนการสมัชชาสุขภาพ ประเด็นการพัฒนาข้อเสนอเพื่อการปฎิรูประบบการสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชน

บทบาทหน้าที่ • ดำเนินรายการห้องย่อย โดย นางสาวกมลวรรณ จิตหวัง สคล.พังงา/นายณัฐวัฒน์ กิตติธนาชูพันธ์ สคล.ใต้ล่าง • บันทึกการประชุม โดย นางสาวธนิตา เขียวหอม สคล.ใต้ล่าง นายเจกะพันธ์ พรหมมงคล สคล.ใต้บน • ควบคุม/กำกับ โดย พี่บูรณ์ ทีมสื่อกระบี่ • ลงทะเบียน โดย โอ๋ สคล.สงขลา • เชิญผู้เข้าร่วม โดย นางสาววรรณา อ่อนประสงค์ ม.เพื่อนหญิง • กระตุ้นการเรียนรู้ โดย นางละมัย ลาปังปุเลา จ.สตูลและทีม ม.โอโซน การเชิญเครือข่ายเข้าร่วมงาน/ห้องย่อย • ผู้ประสานงาน จังหวัดละ 1 ท่าน • เครือข่ายจังหวัดละ 5 ท่าน • ทีมจัดการ 15 คน • เครือข่ายงดเหล้า 8 คน • กำหนดส่งรายชื่อภายในวันที่ 10 มี.ค. 61 คุณสมบัติของเครือข่ายที่จะเชิญเข้าร่วม • เป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการดำเนินงานในพื้นที่ • สามารถกลับไปพัฒนาและต่อยอดการทำงานได้ • ร่วมในห้องย่อยปัจจัยเสี่ยงและภัยพิบัติ ซุ้มแสดงนิทรรศการ • จำนวน 2 ซุ้ม แบ่งเป็น 1.)แสดงผลิตภัณฑ์จากเครือข่ายสุขภาพ 2.)ผลงานทางวิชาการเครือข่ายการลดปัจจัยเสี่ยง โดยระบบสุขภาพ และมีหนูจุก 1 ตัว • ผลิตเข็มกลัดจำนวน 150 ชิ้น X 20 บาท = 3,000 บาท โดยคุณแสงนภา หลีรัตนะ สคล.ชุมพร อุปกรณ์ในห้องย่อย • โปรเจคเตอร์+จอ • ไมค์ 4 ตัว • เวทีนำเสนอ เก้าอี้ 5 ตัว+โต๊ะ1 ตัว • โต๊ะสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ 1 ตัว เก้าอี้ 4 ตัว • โต๊ะลงทะเบียน 1 ตัว • เก้าอี้สำหรับผู้เข้าร่วม 150 ตัว • วัสดุสิ้นเปลือง กระดาษบรู๊ฟ ปากกาเคมี สีเทียน โพสอิส ปากกา กระดาษกาว กระดาษ A4 งบประมาณห้องย่อย 10,000 บาท • สนับสนุนเครือข่าย เพื่อผลิตนิทรรศการ 5 ประเด็น X 2,000 บาท
การพัฒนาข้อเสนอในงานสร้างสุขปี 61 ภาคประชาสังคม • การทำงานกับเด็กต้องมีความอดทนเอาใจเขามาใส่ใจเราคอยเป็นที่ปรึกษาในทุกเรื่องที่เด็กมีปัญหาที่สำคัญคือต้องให้ครอบครัวของเราและครอบครัวของเด็กเข้าใจและให้ความร่วมมือกับเราด้วย • ให้ภาคประชาสังคมดำเนินงานในพื้นทีจากต้นทุนที่มี เช่น งบประมาณในท้องถิ่น จุดแข็งของพื้นที่ ปัจจัยที่เอื้อทั้งด้าน คน องค์กร กฎกติกาชุมชน ให้เข้มแข็งแล้วพัฒนาเป็นต้นแบบหรือโมเดล แล้วสร้างความร่วมมือกับหน่วยงาน/องค์กรทั้งภาครัฐ วิชาการ วิชาชีพ หรือกลไกด้านระบบสุขภาพเพื่อขยายผลและสร้างความเข้มแข็ง • ควรมีการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างพลังในการขับเคลื่อนงาน โดยให้มีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับนโยบาย ทั้งระดับชาติ จังหวัด อำเภอ ตำบล • ควรศึกษาและทำความเข้าใจในเป้าหมาย ยุทธ์ศาสตร์ กลไก กิจกรรม ของหน่วยงานด้านสุขภาพหรือระบบสุขภาพในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ วิชาการ วิชาชีพ เพื่อการออกแบบการดำเนินงานให้สอดคล้องและเสริมพลังซึ่งกันและกัน และการบูรณาการการทำงานงานทั้งด้านงบประมาณ พื้นที่ดำเนินการ กิจกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) • ในการสนับสนุนเงินทุนให้กับชุมชนและการติดตามประเมินผลของ สสส. ควรปรับปรุงวิธีการดำเนินงาน ไม่ควรเน้นเรื่องข้อมูลเอกสารมากกว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงควรเน้นการใช้วิถีชีวิตของชาวบ้านและหนุนเสริมด้วยหลักการใช้ข้อมูลที่ไม่รบกวนเวลาของชาวบ้านมากนัก • ควรลดกฎเกณฑ์เรื่องเอกสารประกอบการเงินที่ยุ่งยาก เช่น การแนบสำเนาบัตรประชาชน ในทุกรายการเบิกจ่าย เพื่อเอื้อให้ชุมชนหรือองค์กรขนาดกลาง เล็ก สามารถดำเนินงานได้อย่างคล่องตัว • ควรเร่งทำความเข้าใจกับกรมสรรพากรให้มีข้อสรุปที่ชัดเจน เรื่องการจัดเก็บภาษีจากเครือข่ายที่รับทุนสนับสนุนจาก สสส. ในกรณีกรมสรรพากรตีความว่าการรับทุนสนับสนุนจาก สสส. เป็นการจ้างทำสินค้า และเป็นรายได้ของผู้รับทุน และให้มีการเสียภาษี ณ ที่จ่าย รวมทั้งมีการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง การชำระค่าอากรแสตมป์ ค่าปรับในการชำระภาษีล่าช้า • ขอให้ สสส.กำหนดโครงสร้างหรือกลไกการทำงานระดับภูมิภาค เพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่าง สสส.กับภาคีเครือข่ายได้ง่ายและสะดวกขึ้น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) • ในการสนับสนุนเงินทุนให้กับชุมชนและการติดตามประเมินผลของ สปสช. ควรให้ความรู้แก่ชุมชนให้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของชุมชนและของ สปสช.วิธีการเขียนโครงการที่มีขั้นตอนชัดเจนมีเหตุผลเข้าใจวิธีการตรวจสอบทางการเงิน • ควรเร่งทำความเข้าใจและหาข้อสรุปกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินให้ชัดเจน เรื่องระเบียบหรือข้อบังคับหรือหลักเกณฑ์ ด้านงบประมาณเพื่อสนับสนุนโครงการให้กับกลุ่ม/องค์กร ในชุมชน เพื่อลดปัญหาทางกฎหมายและการถูกเรียกคืนย้อนหลัง รวมทั้งเพื่อให้คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล มีความมั่นใจในการพิจารณาโครงการเพื่อลดปัญหางบประมาณค้างท่อ สำนักงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (สช.) • ในการร่วมงานกับ สช. คิดว่า ทาง สช. ควรเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ทำงานจริงได้มีโอกาสได้รับการสนับสนุนในการทำงาน เพื่อหลีกเลี่ยงคำกล่าวที่ว่า “คนไปไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้ไป” • สนับสนุนให้เกิดกลไกและกระบวนการสร้างฐานความรู้ทางวิชาการทั้งระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล ที่มากกว่าข้อมูลระดับชาติ • สนับสนุนให้เกิดสมัชชาสุขภาพระดับอำเภอและประสานความร่วมมือกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.)
• ให้มีการทบทวน สรุปความคืบหน้า มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ • มีมีการพิจารณาคุณสมบัติของผู้รับผิดชอบโครงการ งบประมาณ ในระดับภูมิภาคและจังหวัด ให้มีคุณสมบัติที่สามารถประสานงานเครือข่ายได้หลากหลาย และมีบุคลิกที่เปิดกว้าง เป็นกัลยาณมิตร สื่อมวลชน • สื่อมวลชนควรทบทวนบทบาท และศีลธรรมจรรยาของตนเองไม่ควรนำเสนอภาพสื่อลามกภาพที่ไม่เหมาะสมสิ่งที่อาจส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมของชุมชนและการใช้คำที่ไม่ล่อแหลมสร้างความเข้าใจผิด • สื่อมวลชนควรสื่อสารเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและส่งเสริมให้ประชาชนได้ตระหนักถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพ และให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องบนฐานข้อมูลทางวิชาการที่น่าเชื่อถือได้ มิใช่เฉพาะช่วงเทศกาลหรือวันสำคัญต่างๆ • สร้างกระบวนการสื่อสารสาธารณะให้กับเครือข่ายภาคประชาสังคม ภาคพลเมือง เพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง • สื่อกระแสหลักและสื่อท้องถิ่น ควรใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบและมีจรรยาบรรณในการสื่อสารสาธารณะ ว่ามีผลต่อการส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพหรือไม่ หรือมีผลต่อการลดพฤติกรรมเสี่ยงอย่างไร เช่น การโฆษนาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การถ่ายทอดกีฬาบางประเภทที่ส่งเสริมให้เล่นการพนัน โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน กระทรวงสาธารณสุข • ให้กระทรวงกระทรวงสาธารณสุข ขยายระบบคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคไวรัสตับอักเสบ ให้ครอบคลุมถึงผู้มีพฤติกรรมใช้สารเสพติด
• ให้กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัด ด้านการให้บริการการจ่ายยาที่ลดความต้องการใช้สารเสพติด(เมธาโดล) ให้มีสถานที่บริการเฉพาะ ไม่เปิดเผย และขยายพื้นที่ให้บริการครอบคลุมระดับอำเภอ รวมทั้งขยายเวลาบริการให้ไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน ข้อเสนอต่อหน่วยงานอื่น • ให้ TPBS เป็นองค์กรสื่อต้นแบบ ในการสื่อสารด้านสุขภาวะ และกระตุ้นให้ประชาชนมีความตระหนักด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ และเพิ่มศักยภาพทั้งด้านจำนวนบุคลากร งบประมาณ ให้กับศูนย์ข่าวระดับภูมิภาค เพื่อให้ภาคประชาชนเข้าถึงสื่อสาธารณะได้ง่ายขึ้น • ให้ กสทช. เข้มงวดในการกำกับ ดูแล ควบคุม การเผยแพร่สื่อ ทั้งสื่อหลัก สื่อท้องถิ่น เช่น เคเบิ้ล จานดาวเทียม ในการนำเสนอรายการที่สื่อไปทางลามกอนาจาร การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านที่ส่งเสริมให้เกิดการเล่นการพนัน เช่น วัวชน ไก่ชน เป็นต้น

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 21 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  1. นายเจกะพันธ์ พรหมมงคล สคล.ใต้บน
  2. นางกัลยา เอี่ยวสกุล สคล.ปัตตานี
  3. น.ส.แสงนภา หลีรัตนะ สคล.ชุมพร
  4. น.ส.นิตยา ดวงสวัสดิ์ ชุมพร กองจัดการ
  5. น.ส.พวงเพ็ญ จิ๋ววิเศษณา กองจัดการ
  6. น.ส.กมลวรรณ  จิตหวัง สคล.พังงา
  7. น.ส.วรรณา อ่อนประสงค์ มนธ.เพื่อนหญิง
  8. น.ส.ลมัย ปังแลมาปุเลา เครือข่ายผู้ติดเชื้อ
  9. น.ส.ชบา สตูล เครือข่ายผู้ติดเชื้อ
  10. น.ส.สรัญญา  บุญโสม เครือข่ายบุหรี่ จ.กระบี่
  11. นายณัฐวัฒน์ กิตติธนาชูพันธ์ สคล.ใต้ล่าง
  12. น.ส.สุภาพิมญช์  แพทย์รัตน์ สคล.ใต้ล่าง
  13. นางสุจิตรา ป้านวัน รองปลัดฯอบต.นาไม้ไผ่
  14. น.ส.ศสิมาภรณ์  อักษรนำ เยาวชน นาไม้ไผ่
  15. น.ส.นูรไลล่า สาอุ มนธ.โอโซน
  16. นายอับดุลฮากีม สุกุมุง ม.โอโซน
  17. นายคฑายุทธ  ชูทอง สคล.พังงา
  18. น.ส.ณัฐณิชา  นาไชย์ ทีมสื่อลิกอร์
  19. นายนิรพงศ์  สุขเมือง สคล.ปัตตานี
  20. นายอารีย์  ตาเดอิน ตชด.42
  21. นายอภิสิทธิศักดิ์ ป้านวัน ตำรวจจ.นครศรีฯ