ชื่อโครงการ/กิจกรรม | รายงานกิจกรรม สำหรับพี่เลี้ยงโครงการ PA จังหวัดสงขลา |
ภายใต้โครงการ | PA - กิจกรรมทางกาย |
เลขที่ข้อตกลง | - |
รหัสโครงการ | - |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอะหมัด หลีขาหรี |
คณะทำงาน ? | นางดวงใจ อ่อนแก้ว , นางสาวดวงดาว อุปสิทธิ์ , นายอุสมาน หวังสนิ , นายประสิทธิ์ เร๊ะดุมหลี , นางเฝาสี่ย๊ะ หลีขาหรี |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายญัตติพงศ์ แก้วทอง |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 15 ธันวาคม 2560 - 10 เมษายน 2561 |
งบประมาณ | 120,000.00 บาท |
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย | 62 คน |
รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย |
|
พื้นที่ดำเนินการ | จังหวัดสงขลา |
จังหวัด | สงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.9148815257438,100.73939323425place |
หลักการและเหตุผล
การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอมีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งในมิติของการป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะการมีพัฒนาการที่ดีตลอดช่วงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและเหมาะสมตั้งแต่วัยเด็กนั้น จะสร้างความแข็งแรงของหัวใจ กล้ามเนื้อและกระดูก พัฒนาการเคลื่อนไหว สร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง เสริมทักษะการเข้าสังคม พัฒนาสมอง การคิดวิเคราะห์ และพัฒนาภาวะทางอารมณ์ องค์การอนามัยโลกเน้นย้ำว่าการมีวิถีชีวิตที่กระฉับกระเฉง (Active Living) เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจที่ดี โดยแนะนำว่า ผู้ใหญ่ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางขึ้นไปอย่างน้อย๓๐นาที อย่างน้อย ๕วันต่อสัปดาห์ และเด็กๆ ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางขึ้นไปอย่างน้อย ๖๐นาทีต่อวัน ผลสำรวจการมีกิจกรรมทางกายระดับประเทศของประเทศไทยโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สสส. และกระทรวงสาธารณสุข พบว่า คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ ดังนี้ ปี ๒๕๕๕ร้อยละ ๖๖.๓ของประชากรทั้งประเทศ ปี ๒๕๕๖ ร้อยละ ๖๘.๑ ปี ๒๕๕๗ ร้อยละ ๖๘.๓ ปี๒๕๕๘ ร้อยละ ๗๑.๗ ซึ่งเป็นการเพิ่มอัตราการมีกิจกรรมทางกายประมาณร้อยละ ๖ ตลอดระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา เมื่อพิจารณาตามกลุ่มช่วงวัย พบว่า เฉพาะกลุ่มเด็กที่มีอัตราการมีกิจกรรมทางกายลดลง ขณะที่กลุ่มอื่นมีอัตราการมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ดังนี้ กลุ่มช่วงวัย ปี ๒๕๕๗ ปี๒๕๕๘ กลุ่มวัยเด็ก ๖๗.๖ ๖๔.๘ กลุ่มวัยรุ่น ๖๖.๔ ๖๖.๖ กลุ่มวัยทำงาน ๗๐.๔ ๗๕.๘ กลุ่มผู้สูงอายุ ๖๗.๗ ๖๘.๕
นอกจากนี้ยังพบว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอมากกว่าประชากรเขตเมืองอยู่เล็กน้อย (ร้อยละ ๗๒.๖และ ๗๑.๐ ตามลำดับ) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ในปัจจุบันปัจจัยเรื่องเขตเมืองและชนบท มิได้ก่อให้เกิดความแตกต่างด้านการมีกิจกรรมทางกายมากนัก สำหรับอุปสรรคของการมีกิจกรรมทางกายของคนไทยนั้น สาเหตุสำคัญเป็นผลมาจากการมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior) ที่เพิ่มขึ้น โดยข้อมูลจากการสำรวจในปี ๒๕๕๕ พบว่า คนไทยมีพฤติกรรมเนือยนิ่งต่อวันถึง ๑๓.๒๕ ชั่วโมง เพิ่มขึ้นเป็น ๑๓.๔๒ ในปี ๒๕๕๗ และเพิ่มขึ้นเป็น ๑๓.๕๔ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ โดยพฤติกรรมเนือยนิ่ง ๔ อันดับแรกของคนไทยที่ทำติดต่อกันนานกว่า 1 ชั่วโมงต่อครั้ง คือ นั่ง/นอนดูโทรทัศน์ (ร้อยละ ๕๐.๐) นั่งคุย/นั่งประชุม (ร้อยละ๒๘.๔) นั่งทำงาน/นั่งเรียน (ร้อยละ ๒๗.๐) และนั่งเล่นเกม โทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ (ร้อยละ ๒๐.๑) เมื่อศึกษาในรายละเอียดพบว่า กลุ่มเด็กและกลุ่มวัยรุ่นมีพฤติกรรมอยู่หน้าจอ (Screen Time) อันได้แก่ การนั่งดูโทรทัศน์ ใช้คอมพิวเตอร์ เข้าร้านเกมส์ รวมถึงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาประเภทต่างๆ มากกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยเฉลี่ยแล้วใช้เวลาอยู่หน้าจอนานกว่า๑ชั่วโมงต่อวันและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของสัดส่วนผู้ที่มีภาวะอ้วนและอ้วนลงพุง คือจากร้อยละ ๒๘.๗ ในปี ๒๕๔๗ เป็นร้อยละ ๓๔.๗ ในปี ๒๕๕๗ สำหรับภาวะอ้วน นอกจากนี้ฐานข้อมูลโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ พบว่า เด็กไทยอายุ ๕-๑๔ ปี มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนที่ร้อยละ ๑๒.๕ องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า นอกจากการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันแล้วยังจะต้องดำเนินการควบคู่กับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและพื้นที่เพื่อกิจกรรมดังกล่าวเพื่อให้ผู้คนได้มีกิจกรรมทางกายเป็นวิถีชีวิต ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายจึงนับว่าสำคัญยิ่ง จนทำให้เกิดเป็นแนวทางจากองค์การอนามัยโลกภายใต้ชื่อว่า เมืองน่าอยู่คือเมืองที่กระฉับกระเฉง (Healthy City is an Active City) ซึ่งเป็นการสร้างสุขภาพที่ดีด้วยนโยบายเพื่อการยกระดับการมีกิจกรรมทางกาย การพัฒนาพื้นที่กายภาพ รวมไปถึงระบบการขนส่งที่เกื้อหนุนการเคลื่อนไหวร่างกาย (Active Transport) อาทิ การเดิน การขี่จักรยาน และการเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะทำให้เกิดการประหยัดงบประมาณด้านบริการสุขภาพของเมืองแล้ว ยังส่งผลให้เกิด พื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวที่น่าดึงดูดมากขึ้น สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ ลดความแปลกแยกทางสังคม เกิดเป็นชุมชนเข้มแข็ง และการขยายตัวของเครือข่ายชุมชน ที่ผ่านมาแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพมีบทบาทในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมกิจกรรมทางกายทั้งในระดับชาติ และระดับสากล ในระดับชาติได้ร่วมพัฒนายุทธศาสตร์กิจกรรมทางกายแห่งชาติ ครั้งที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๙ – ๒๕๖๓) ด้วยการร่วมมือกับ องค์กรภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรชุมชน อาทิ กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาปนิกผังเมือง และชุมชนต่างๆ เพื่อเป็นกลไกผลักดันพื้นที่สุขภาวะในระดับนโยบายสาธารณะ นำสู่การปฏิบัติ และขยายผล โดยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในระดับสากล สสส.ได้ร่วมลงนามในกฎบัตรโตรอนโต ในปี พ.ศ.๒๕๕๓ และได้รับเลือกจาก International Society for Physical Activity and Public Health (ISPAH) ให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติด้านการมีกิจกรรมทางกายในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ (ISPAH 2016) โดยจะใช้โอกาสจากการประชุม ISPAH 2016 ในการขับเคลื่อนนโยบายด้านกิจกรรมทางกายในระดับภูมิภาคและระดับโลก สู่การประกาศเป็น Bangkok Declaration on Physical Activity และนำข้อเสนอดังกล่าวยกระดับสู่เวทีสมัชชาสุขภาพระดับโลกครั้งที่ ๗๐ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๐ (World Health Assembly) และผลักดันร่างวาระดังกล่าว เพื่อยกระดับความสำคัญของกิจกรรมทางกายให้เป็นวาระหลักในระดับองค์การอนามัยโลกต่อไป เพื่อทำให้การดำเนินงานดังกล่าวข้างต้นบรรลุเป้าหมาย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายจึงได้ร่วมมือกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกันจัดทำโครงการพัฒนาข้อเสนอและการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย
กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก
การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
28 ม.ค. 61 | ประชุมพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงโครงการ PA จังหวัดสงขลา ครั้งที่ 1 | 6 | 9,500.00 | ✔ | 9,500.00 | |
4 ก.พ. 61 | ประชุมพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงโครงการ PA จังหวัดสงขลา ครั้งที่ 2 | 6 | 10,500.00 | ✔ | 10,500.00 | |
12 ก.พ. 61 | ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย | 64 | 27,200.00 | ✔ | 27,200.00 | |
26 ก.พ. 61 | บันทึกกิจกรรมกลุ่มกองทุนท้องถิ่นตำบลจะนะ สะกอม ตลิ่งชัน และนาทับ | 11 | 4,400.00 | ✔ | 4,400.00 | |
28 ก.พ. 61 | การประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อพัมนาข้อเสนอโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย กลุ่มตำบลป่าชิง จะโหนง นาหว้า บ้านนา ท่าหมอไทร | 12 | 4,400.00 | ✔ | 4,400.00 | |
2 มี.ค. 61 | การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย กลุ่มตำบลคู แค ขุนตัดหวาย น้ำขาว และสะพานไม้แก่น | 12 | 4,400.00 | ✔ | 4,400.00 | |
14 มี.ค. 61 | ลงพื้นที่ช่วยพัฒนาและปรับแก้โครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลขุนตัดหวาย | 4 | 2,000.00 | ✔ | 2,000.00 | |
16 มี.ค. 61 | ลงพื้นที่ช่วยพัฒนาและปรับแก้โครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลน้ำขาว | 4 | 2,000.00 | ✔ | 2,000.00 | |
20 มี.ค. 61 | ลงพื้นที่ช่วยพัฒนาและปรับแก้โครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคู | 10 | 2,000.00 | ✔ | 2,000.00 | |
23 มี.ค. 61 | ลงพื้นที่ช่วยพัฒนาและปรับแก้โครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น | 10 | 2,000.00 | ✔ | 2,000.00 | |
27 มี.ค. 61 | ลงพื้นที่ช่วยพัฒนาและปรับแก้โครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลแค | 10 | 2,000.00 | ✔ | 2,000.00 | |
2 เม.ย. 61 | ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคู | 3 | 2,000.00 | ✔ | 2,000.00 | |
2 เม.ย. 61 | ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสะกอม | 5 | 2,000.00 | ✔ | 2,000.00 | |
3 เม.ย. 61 | ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลแค | 3 | 2,000.00 | ✔ | 2,000.00 | |
3 เม.ย. 61 | ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลจะนะ | 4 | 2,000.00 | ✔ | 2,000.00 | |
4 เม.ย. 61 | ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลขุนตัดหวาย | 3 | 2,000.00 | ✔ | 2,000.00 | |
4 เม.ย. 61 | ลงพื้นที่ติดตามเพื่อพัฒนาและสนับสนุนโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตลิ่งชัน | 5 | 2,000.00 | ✔ | 2,000.00 | |
5 เม.ย. 61 | ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น | 3 | 2,000.00 | ✔ | 2,000.00 | |
5 เม.ย. 61 | ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาทับ | 7 | 2,000.00 | ✔ | 2,000.00 | |
6 เม.ย. 61 | ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนโครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลน้ำขาว | 3 | 2,000.00 | ✔ | 2,000.00 | |
รวม | 185 | 88,400.00 | 20 | 88,400.00 |
โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2561 05:23 น.