การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการแก้ไขปัญหาความ ไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนสู่สังคมสันติสุข

กิจกรรมเวทีประชุมสนทนากลุ่มครั้งที่ 1 และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ1 ตุลาคม 2560
1
ตุลาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เปอร์มูเดอร์เบิร์ดอิลมู
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมเวทีประชุมสนทนากลุ่มครั้งที่ 1 และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากตาราง 1 แสดงรายละเอียดได้ดังนี้คือ เพศ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 68.6 รองลงมาคือเพศหญิง ร้อยละ 31.4 ตามลำดับ สถานภาพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 82.4 รองลงมาคือโสด ร้อยละ 7.8 หย่าร้าง ร้อยละ 5.9 และอื่นๆ ได้แก่ แยกกันอยู่ เป็นต้น น้อยที่สุด ร้อยละ 3.9 ตามลำดับ ระดับความรู้ทางสามัญ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 29.4 รองลงมาคือสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ 25.5 สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 23.5 และสำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษา น้อยที่สุด ร้อยละ 21.6 ตามลำดับ ระดับความรู้ทางศาสนา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับอิสลามตอนปลาย (ซานาวีห์) ร้อยละ 47.1 รองลงมาคือสำเร็จการศึกษาในการศึกษาระดับอิสลามตอนกลาง (มุตาวะซิตห์) ร้อยละ 29.4 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี (กุลลียะห์) ร้อยละ 15.7 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทขึ้นไป ร้อยละ 9.9 และสำเร็จการศึกษาในระดับอิสลามตอนต้น (อิบติดาอีห์) น้อยที่สุด ร้อยละ 7.9 ตามลำดับ
การดำรงตำแหน่งอื่นในเขตชุมชน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งอื่นใดอีกในชุมชน ร้อยละ 41.1 รองลงมาคือดำรงตำแหน่งอื่นๆ ได้แก่ ครูสอนตาดีกา ชุดรักษาความสงบหมู่บ้าน ประธานกรรมการชุมชน คณะกรรมการชุมชน และเจ้าหน้าที่ทำงานในองค์กรบริหารส่วนตำบลเรียง ร้อยละ 39.2 ครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ร้อยละ 13.7 สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล น้อยที่สุด ร้อยละ 3.9 ตามลำดับ อาชีพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 45.1 รองลงมาคือประกอบอาชีพอื่นๆ ได้แก่ กรีดย่าง ทำธุรกิจส่วนตัว ทำไร่ และทำสวนร้อยละ 33.3 ประกอบอาชีพค้าขาย ร้อยละ 17.6 และประกอบอาชีพราชการน้อยที่สุด ร้อยละ 3.9 ตามลำดับ อายุ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุมากที่สุด 65 ปี รองลงมาคืออายุน้อยที่สุด 22 ปี ตามลำดับ ฐานะทางเศรษฐกิจหรือรายได้ต่อเดือนจากการประกอบอาชีพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้จากการประกอบอาชีพที่เป็นรายเดือนและกรณีที่ไม่มีรายได้ต่อเดือนโดยประมาณการ มากที่สุดประมาณ 30,000 บาท และรองลงมาคือน้อยที่สุดประมาณ 4,000 บาท ตามลำดับ

  1. ภูมิหลังของกำนัน และผู้ใหญ่บ้านกับการได้รับตำแหน่งในตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส คณะผู้บริหารโครงการได้ทำการสัมภาษณ์กำนัน และผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวกับภูมิหลังในตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ พบว่า ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ถูกกำหนดเขตพื้นที่สีแดงโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือหน่วยงานความมั่นคง ได้แก่ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้าและศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาและมีเหตุปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐและสถานที่ราชการในจังหวัดนราธิวาส เรียกว่า หมู่บ้านและตำบลที่เป็น "พื้นที่มีปัญหาความไม่สงบและความไม่ปลอดภัย"
    ตำบลเรียง เป็น 1 ใน 9 ตำบลของอำเภอรือเสาะ เดิมมี 6 หมู่บ้าน ต่อมาในปี 2535 ได้มีการแยกหมู่บ้านเพิ่มเติมอีก 2 หมู่บ้าน ได้แบ่งเขตการปกครอง เป็นจำนวน 8 หมู่บ้าน ประกอบด้วยหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านสะแนะ หมู่ที่ 2 บ้านสุเปะ หมู่ที่ 3 บ้านบาโงปูโละ หมู่ที่ 4 บ้านซือเลาะ หมู่ที่ 5 บ้านลอ หมู่ที่ 6 บ้านดาระ หมู่ที่ 7 บ้านตือโล๊ะบาเละ และหมู่ที่ 8 บ้านกำปงบารู และตำบลเรียงประกอบมีสภาพเป็นพื้นที่ราบ มีแม่น้ำสายบุรีไหลผ่าน มีประชากรทั้งหมด 6,433 คน และมีจำนวนหลังคาเรือน 1,251 หลังคาเรือน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในการทำสวน ทำนา และเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการค้าขายด้วย และคณะผู้บริหารโครงการได้ทำการสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มในรายละเอียดของประเด็นเพิ่มเติมดังนี้
    2.1  ด้านประวัติส่วนตัวของกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน  และประชาชนผู้สนับสนุนให้ได้รับตำแหน่งดังกล่าวในตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส จากการสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน เกี่ยวกับประวัติส่วนตัวของกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน  และประชาชนผู้สนับสนุนให้ได้รับตำแหน่งดังกล่าว พบว่า กำนันเป็นคนในพื้นที่ มีความสนใจในการพัฒนาท้องถิ่นเป็นพื้นฐาน เมื่อตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านบาโงปูโละ ว่างลง กำนันจึงถือโอกาสนี้ลงรับสมัครการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านก่อน จนได้รับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรงในหมู่บ้านดังกล่าว ต่อมากำนันได้ลงสมัครรับการเลือกตั้งกำนันโดยการเลือกของผู้ใหญ่บ้านกันเองทั้ง 8 หมู่บ้านดังกล่าวข้างต้น จนได้รับการเลือกเป็นกำนันของตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ อันเป็นการเลือกกำนันโดยทางอ้อมมิใช่การเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนตนเอง ถือเป็นได้รับการความไว้วางใจจากผู้ใหญ่บ้านกันเอง และการสัมภาษณ์ผู้ใหญ่บ้านหลายท่านเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว และประชาชนผู้สนับสนุนให้ได้รับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน พบว่า ผู้ใหญ่บ้านหลายท่านเป็นคนในพื้นที่นี้โดยกำเนิด มีเครือญาติพอสมควร โดยส่วนตัวของผู้ใหญ่บ้านหลายท่านชอบช่วยเหลือปัญหาต่าง ๆ ของประชาชนในหมู่บ้านแล้ว เมื่อตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านว่างลงจึงได้มีโอกาสลงรับสมัครผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านดังกล่าว จนได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรงในพื้นที่ดังกล่าวในตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากญาติของตนเองส่วนหนึ่งและได้รับการไว้วางใจจากประชาชนในหมู่บ้านให้เป็นผู้ใหญ่บ้านจนถึงปัจจุบัน
    2.2  บทบาทก่อนรับตำแหน่งกำนัน และผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้าน ตำบลเรียง        อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส จากการสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มกำนัน และผู้ใหญ่บ้านหลายท่าน ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เกี่ยวกับบทบาทในหมู่บ้านก่อนรับตำแหน่งดังกล่าว พบว่าก่อนได้รับตำแหน่งดังกล่าวมีบางท่านไม่ได้ดำรงตำแหน่งอะไร และบางท่านเคยดำรงตำแหน่งหลากหลายตำแหน่ง เช่น ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้ใหญ่บ้าน และหัวหน้าชุดรักษาความฝ่ายรักษา บางท่านทำธุรกิจส่วนตัว บางท่านทำสวนและทำไร่ เป็นต้น แต่ชอบช่วยเหลือเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีลักษณะเข้ากับประชนชนง่าย โดยเฉพาะเมื่อเยาวชน หรือวัยรุ่นประชาชนทั่วไปขอความช่วยเหลือเรื่องประการใดแล้ว จะรีบดำเนินการตามความปรารถนาและให้เป็นไปตามปกติอย่างถูกต้อง ตลอดจนจะแจ้งเรื่องข่าวคราวทั่วไปและเรื่องที่มีผลกระทบต่อหมู่บ้านและตำบลให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้รับทราบตลอดมา รวมทั้งมีเวลาให้กับประชาชนเมื่อมาขอความช่วยเหลือเสมอ และการได้รับตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านนั้นได้รับความไว้วางใจและการศรัทธาจากเยาวชน วัยรุ่น เครือญาติ และประชาชนในหมู่บ้านลงคะแนนให้ได้รับตำแหน่งดังกล่าว 2.3  ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกำนันและผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้าน ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส จากการสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มกับประชาชน กำนันและผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านและตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกำนันและผู้ใหญ่บ้านในเขตปกครองเดียวกัน พบว่าบทบาทและภารกิจหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้านจะมีลักษณะค่อนข้างกว้างขวางเกี่ยวข้องกับประชาชน เป็นภารกิจหน้าที่ที่ไม่มีเวลาจำกัด เช่น ประชาชนเจ็บป่วย หรือเกิดปัญหาในเวลากลางค่ำกลางคืน และมาขอความช่วยเหลือจากกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ทุกครั้ง ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างกำนันและผู้ใหญ่บ้านกับประชาชนในหมู่บ้านตำบลเรียง พบว่ากำนันไม่ค่อยจะเข้าถึงเพราะประชาชนมีจำนวนมากและมีพื้นที่กว้างพอสมสวร จึงทำให้ไม่สามารถที่จะทำความรู้จักประชาชนทั่วไปได้ได้อย่างครอบคลุม แต่มีประการใดจะถามทุกข์สุขของประชาชนผ่านผู้ใหญ่บ้านเสมอ เรื่องอะไรประการใดที่ประชาชนเดือดร้อนก็จะให้ผู้ใหญ่บ้านดำเนินการแทน หากมีเวลาว่างจะดำเนินการให้การช่วยเหลือด้วยตนเองเสมอ สำหรับความสัมพันธ์กำนันกับผู้ใหญ่บ้านโดยภาพรวมแล้วจะสนิทสนมมีอะไรจะปรึกษากันตลอด เพราะเข้าใจการทำงานของผู้ใหญ่บ้าน เนื่องจากประสบการณ์ของตนเองที่ผ่านมานั้น ส่วนใหญ่ผู้ใหญ่บ้านในตำบลมีอะไรประการใดจะบอกกำนันมาโดยตลอด ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งให้เกรียติซึ่งกันและกัน ถึงแม้อายุกำนันจะน้อยกว่าผู้ใหญ่ก็ตาม ทั้งนี้ การเป็นผู้นำหมู่บ้านและตำบลในตำแหน่งดังกล่าว จึงมีความสัมพันธ์ระหว่างกันทั้งเชิงอำนาจและความเป็นส่วนตัว ในฐานะผู้ปกครองประชาชนของตนต้องทำความเข้าใจและให้ประชาชนมีทัศนคติที่ดีกับทางราชการ
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 51 คน จากที่ตั้งไว้ 51 คน
ประกอบด้วย

ประชาชนในหมู่บ้านจากหมู่ที่ 1 บ้านสะแนะ หมู่ที่ 3 บ้านบาโงปูโละ หมู่ที่ 4 บ้านซือเลาะ หมู่ที่ 5 บ้านลอ และหมู่ที่ 8 บ้านกำปงบารู ชุมชนเรียง ตำบลเรียง ในอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เนื่องจากเป็นประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนสู่สังคมสันติสุขในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งหมู่บ้านละ จำนวน 9 คน เป็นจำนวน 45 คน และผู้ใหญ่บ้านจากหมู่บ้านดังกล่าว จำนวน 5 คน และกำนัน ในตำบลเรียง 1 คน รวมจำนวนทั้งหมด 51 คน