ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านซีโปร์

กิจกรรมที่8 ปรับฐานเรียนรู้ทั้ง 7 ฐาน20 พฤศจิกายน 2560
20
พฤศจิกายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านซีโปร์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

    กิจกรรมปรับปรุงฐานเรียนรูนั้นนับว่าเป็นกิจกรรมหลักของโครงการ เพราะทีมงานทุกคนมีเจตนารมที่จะยกระดับฐานเรียนรู้ที่น้องๆได้รวมพลังกันจัดตั้งขึ้นให้เป็นฐานเรียนรู้ที่ได้มาตรฐานซึ่งสามารถเป็นทั้งห้องเรียนวิชาอาชีพต่างๆเช่น วิชาเลี้ยงแพะ วิชาเลี้ยงวัว วิชาเลี้ยงควาย วิชาปลูกหญ้าซิกแนลเลื้อยเป็นต้น และเป็นได้ทั้งศูนย์เรียนรู้ที่สามารถรองรับทุกภาคส่วนที่ประสงค์เข้ามาศึกษาดูงานตามฐานเรียนรู้ต่างๆ
    ขั้นตอนการดำเนินงานกิจกรรมนี้ มีดังนี้ เรามีฐานแปดฐานแต่ฐานที่ต้องปรับปรุงมีแค่เจ็ดฐาน ใช้เวลาฐานละ 3 วันรวม 21 วัน วันแรกของแต่ละฐานเป็นคาบทฤษฎี เช้าสำรวจและคำนวนจุดที่ต้องการปรับปรุง ช่วงบ่ายเรียนรู้วิธีการปรับปรุงแก้ไขแต่ละขั้นตอน ส่วนวันที่ 2 เป็นวันที่ทุกคนลงสนาม มีการแบ่งหน้าที่ทำงานตามสมัครใจและตามถนัดโดยทีมพี่เลี้ยงไม่ได้บังคับให้น้องเลือกเองว่าจะอยู่ในหมวดงานไหนของงาน และมีหัวหน้าทีมเป็นหัวขบวนในการขับเคลื่อนงานแต่ละจุดให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ได้วางไว้ บรรยกาศการทำงานก็มีการร้องเพลง ขับร้องเพลงอานาซีด กล่าวโต้ตอบเฮฮากันอย่างสนุกสนาน  ซึ่งใช้เวลาหนึ่งวันครึ่ง คือวันที่สามอีกครึ่งวัน ตอนเย็นวันที่สามเป็นช่วงเวลาสรุปการทำงานของน้องๆทีมงาน ทุกๆกิจกรรมก็จะหมุนเวียนกันไปจนครบทุกฐาน และวันสุดท้ายคือวันที่ 21 ช่วงบ่ายเราจะแบ่งกลุ่มถอดบทเรียนทั้งกิจกรรมและสรุปกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

          เกิดองค์ความรู้ ทักษาและเทคนิคด้านต่างๆในการวางแผนก่อนทำแต่ละชิ้นงานเช่นการคำนวนขนาดของเล็บหรือเท้าลูกแพะเพื่อเว้นระยะห่างของพื้นคอกแพะเพื่อไม่ให้ติดเท้าลูกแพะแต่ขณะเดียวกันต้องคำนวณขนาดของขี้แพะเพื่อให้จุและหล่นลงไปใต้คอกแพะอัตโนมัตเพื่อไม่ให้ติดอยู่บนคอกแพะโดยไม่จำเป็นต้องกวาด หมายถึงการคำนวณความกว้างของระยะห่างพื้นคอกแพะต้องคำนึงถึงสองอย่างนี้เป็นต้นซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญที่เราได้บ่มเพาะในจิตวิญญาณอันบริสุทธ์ของเยาวชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม นอกจากนี้ยังเกิดองค์ความรู้ในด้านอื่นๆเช่น ทักษะการก่อสร้าง การเก็บรักษาวัสดุอุกรณ์ต่างๆ การใช้อุปกรณ์อย่างถูกวิธี
          เกิดการยึดเหนี่ยวและการเชื่อมต่อกันในทุกๆด้าน ด้านองค์ความรู้กับการปฏิบัติอันเชิงประจัก การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่เป็นเด็กกับผู้ใหญ่ หน่วยงานกับชุมชน ความเป็นกลุ่มเป็นก้อนที่มองเห็นชัดที่บ่งบอกถึงความสมัครสมานสามัคคีระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชนซึ่งเป็นกระบวนการที่ทุกคนเชื่อเหลือเกินว่านี่คือก้าวแรกของการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและพัฒนาบ้านเมืองของเราให้มุ่งสู่ความสงบสุขอันยั่งยืน           เกิดฐานเรียนรู้ที่ได้มาตรฐานที่เหมาะกับการเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนชนที่ชุมชนดูแลกันเองหรือที่เรียกกันว่าชุมชนเป็นเจ้าของ
     

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 51 คน จากที่ตั้งไว้ 51 คน
ประกอบด้วย

ทีมงาน คณะกรรมการ ทีมวิทยากรอาสาสมัครประจำศูนย์เรียนรู้ ร่วมกับพี่เลี้ยงที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบเฉาะทางในส่วนของฐานเรียนรู้การปลูกหญ้า การเลี้ยงสัตว์ได้แก่ หัวหน้าศูนย์สาธิตการเลี้ยงสัตว์หมู่บ้านปศุสัตว์เกษตรมูโน๊ะในโครงการพระราชดำริ ฐานการปลูผักปลอดสารพิษ การทำปุ๋ยหมักได้แก่เกษตรตำบลโฆษิต ฐานเรียนรู้ธนาคารขยะได้แก่ ผอ.รพสตบ้านโคกมือบา ในส่วนงานทั่วๆไปได้แก่ปราชญ์ชาวบ้านในพื้นที่ที่ถนัด