การจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธีด้วยกระบวนการซูรอ

ค่ายอบรม"เปลี่ยนความขัดแย้งสู่ความเมตตาและให้อภัยต่อกัน21 ตุลาคม 2560
21
ตุลาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย สถาบันครอบครัวสุข ศานติ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมคณะทำงานและผู้ประสานงานเพื่อวางแผนงานและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
  • ประสานกับคณะทำงานและผู้ประสานงานในพื้นที่ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
  • ประสานกับผู้นำในพื้นที่ กำนันผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนด้านฝ่ายปกครอง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยี่งอตัวแทนฝ่ายท้องถิ่น โต๊ะอีหม่ามประจำมัสยิด ฝ่ายศาสนา คณะเจ็ะฆูตาดีกาผู้สอนอิสลามศึกษาประจำมัสยิดและครอบครัวกลุ่มเป้าหมาย
  • ดำเนินการพูดคุยตามประเด็นหัวข้อที่ได้กำหนดเพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้วางไว้
  • ได้พูดคุยให้ความรู้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสันติสุข
  • ได้พูดคุยในการจัดการความขัดแย้งด้วยวิถีชุมชน
  • ได้พูดคุยแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธีกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  • ได้สร้างสภาวะแวดล้อมให้เกื้อกูลต่อกระบวนการพูดคุยสันติสุขภายใต้บริบทความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และเป็นมิตร
  • ได้นำหลักการกระบวนการซูรอในการสร้างสันติสุขในสังคมกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมกิจได้รับทราบข้อมูลต่างๆ ตามที่ได้พูดคุย
  • ได้นำแสนอวิธีการจัดการความขัดแย้งในรูปแบบการรับมือกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้น กำหนดการ โครงการ"การจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธีด้วยกระบวนการซูรอ" กิจกรรม "ค่ายเปลี่ยนความขัดแย้ง สู่ความเมตตาและอภัยต่อกัน
    ตามโครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ งบกลางประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ระหว่างวันที่ 21-23 ตุลาคม 2560
    ณ โรงเรียนบ้านกูเล็ง หมู่ที่ 2 ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
    โดย สถาบันครอบครัวสุข ศานติ

เวลา กิจกรรม วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม 2560 09.00-09.30 น. ลงทะเบียน/รายงาตัวเข้าอบรม
09.30-12.00 น. เข้าสู่พิธีการ กล่าวต้อนรับ ผู้เข้าร่วมการอบรม"ค่ายเปลี่ยนความขัดแย้ง สู่ความเมตตาและอภัยต่อกัน โดย นายจิรวัฒน์ อาแว ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกูเล็ง - กล่าวรายงาน ความเป็นมาและวัตถุประสงค์การจัดโครงการฯ โดย นายอับดุลลาตีฟ ขาวสะอาด ประธานสถาบันครอบครัวสุข ศานติและประธานจัดงาน - พิธีเปิดโครงการฯ โดย นายณรงค์ เจะเตะประธานชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านอำเภอยี่งอเป็นประธาน - กล่าวโอวาทและพบปะผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดย นายอับดุลอาซิซ เจ๊ะเตะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยี่งอ - ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการและกฎระเบียบในการอยู่ร่วมกันในค่ายอบรมโดย จูลี บีดิง 12.00 น. – 13.30 น. พักรับประทานอาหาร/ละหมาดซุฮรี 13.30 น. – 14.00 น. กิจกรรมนันทนาการ 14.00 น. – 15.30 น. บรรยายในหัวข้อ “การสร้างรั่วตนเอง ครอบครัวและสังคมจากความขัดแย้ง” 15.30 น. – 16.30 น. ละหมาดอัศริ / บทขอพรยามเย็น 16.30 น. – 18.00 น. ออกกำลังกาย / กิจวัตรส่วนตัว / อาบน้ำ 18.00 น. – 19.30 น. ละหมาดมัฆริบ / รับประทานอาหารค่ำ 19.30 น. – 20.00 น. ละหมาดอิซาอฺ 20.00 น.– 21.30 น ฝึกอ่านอัลกุรอานตามกลุ่ม/กิจกรรมสันทนาการ 21.30 น.– 4.15 น พักผ่อน / นอน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานและผู้ประสานงานได้พบปะพูดคุยกับกำนัน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา
  • ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สุข ศานติศึกษา
  • ได้พูดคุยประเด็นปัญหาความไม่สงบ ความขัดแย้งกับกลุ่มคนที่ก่อเหตุการณ์ที่มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น ได้นำไปสู่ความขัดแย้งทางสังคมในหลากหลายด้านที่จะต้องวางรากฐานของการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีในสังคม
  • ได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการฯ
  • ได้เรียนรู้ในการจัดการความขัดแย้งด้วยวิถีชุมชน ภายใต้บริบทความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และเป็นมิตร
  • ได้แสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธีกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม -  ได้สร้างสภาวะแวดล้อมให้เกื้อกูลต่อกระบวนการพูดคุยสันติสุขภายใต้บริบทความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และเป็นมิตร -  ได้นำหลักการกระบวนการซูรอในการสร้างสันติสุขในสังคมกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมกิจได้รับทราบข้อมูลต่างๆ ตามที่ได้พูดคุย
  • ได้นำแสนอวิธีการจัดการความขัดแย้งในรูปแบบการรับมือกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นสามารถสรุปสาระสำคัญดังนี้ ๑.แบบร่วมมือร่วมใจ เป็นการแก้ไขความขัดแย้งที่ต้องให้มีการร่วมมือร่วมใจของกลุ่มคนที่เห็นไม่ตรงกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายได้สื่อสารถึงปัญหาและความต้องการของตน โดยจะรักษาผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย ซึ่งมักจะใช้เมื่อทั้งสองฝ่ายมีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก และพร้อมที่จะให้ความเชื่อใจและกัน
    ๒.แบบเอื้ออำนวย เป็นเทคนิคที่มักจะใช้เมื่อมีปัญหาความขัดแย้งในสถานการณ์ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถเกิดความพึงพอใจได้ทั้งสองฝ่ายหรือเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งที่มีความรู้สึกรุนแรงในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกเฉยๆ หรือในสถานการณ์ของการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งค้นพบว่าตนเองเป็นฝ่ายผิดในประเด็นที่ขัดแย้งกัน หรือเมื่อต่อสู้กันไปจนถึงที่สุด เมื่อไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเอาชนะกันได้เลยโดยไม่เน้นการรักษาผลประโยชน์แต่จะให้ความร่วมมือ ๓.แบบประนีประนอม เป็นการพบกันครึ่งทางระหว่างความต้องการทั้งสองฝ่าย มักจะใช้เมื่อไม่สามารถร่วมมือกัน เพื่อให้เกิดความพึงพอใจของทั้งสองฝ่ายได้ ดังนั้นจึงต้องจัดการอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้แก่ การเจรจาไกล่เกลี่ย การเจรจาต่อรองแบบสันติวิธีและสุนทรียสนทนา ซึ่งสามารถนำไปสู่การแก้ไข
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 185 คน จากที่ตั้งไว้ 180 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานสถาบันครอบครัวสุข ศานติ
  • ผู้ประสานงานเขตชุมชนในตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
  • ครอบครัวเยาวชนกลุ่มเสี่ยงกับความขัดแย้ง
  • ครอบครัวเจ๊ะฆูตาดีกา
  • ครอบครัวนักการเมืองท้องถิ่น
  • ครอบครัวผู้ขัดแย้ง
  • สมาชิกครอบครัวสุข ศานติ