การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรม และการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญา : กรณีศึกษาต.ตากใบ อ.ตากใบ

กิจกรรมเวทีประชุมสนทนากลุ่ม ครั้งที่ 3 และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ15 พฤศจิกายน 2560
15
พฤศจิกายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย นักกฎหมายมุสลิมช่วยเหลือสังคมทางกฎหมาย
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมเวทีประชุมสนทนากลุ่ม ครั้งที่ 3 และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เพศ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 64.7 รองลงมาคือเพศหญิง ร้อยละ 35.3 ตามลำดับ สถานภาพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 70.6 รองลงมาคือโสด ร้อยละ 15.7 หย่าร้าง ร้อยละ 7.8 และอื่นๆ ได้แก่ แยกกันอยู่ เป็นต้น น้อยที่สุด ร้อยละ 5.9 ตามลำดับ ระดับความรู้ทางสามัญ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 31.4 รองลงมาคือสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ 25.5 สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 23.5 และสำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษา น้อยที่สุด ร้อยละ 19.9 ตามลำดับ ระดับความรู้ทางศาสนา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับอิสลามตอนปลาย (ซานาวีห์) ร้อยละ 43.1 รองลงมาคือสำเร็จการศึกษาในการศึกษาระดับอิสลามตอนกลาง (มุตาวะซิตห์) ร้อยละ 31.4 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี (กุลลียะห์) ร้อยละ 11.8 สำเร็จการศึกษาในระดับอิสลามตอนต้น (อิบติดาอีห์) ร้อยละ 9.8 และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทขึ้นไป น้อยที่สุด ร้อยละ 3.9 ตามลำดับ
การดำรงตำแหน่งอื่นในเขตชุมชน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งอื่นใดอีกในชุมชน ร้อยละ 45.1 รองลงมาคือดำรงตำแหน่งอื่นๆ ได้แก่ ครูสอนตาดีกา ทีมชุดรักษาความสงบหมู่บ้าน ประธานกรรมการชุมชน คณะกรรมการชุมชน และเจ้าหน้าที่ทำงานในองค์การบริหารส่วนตำบล ร้อยละ 37.3 ครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ร้อยละ 9.8 สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล น้อยที่สุด ร้อยละ 7.8 ตามลำดับ อาชีพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 49.0 รองลงมาคือประกอบอาชีพอื่นๆ ได้แก่ ทำธุรกิจส่วนตัว ทำไร่ และทำสวนร้อยละ 29.4 ประกอบอาชีพค้าขาย ร้อยละ 15.7และประกอบอาชีพราชการน้อยที่สุด ร้อยละ 9.9 ตามลำดับ อายุ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุมากที่สุด 69 ปี รองลงมาคืออายุน้อยที่สุด 21 ปี ตามลำดับ ฐานะทางเศรษฐกิจหรือรายได้ต่อเดือนจากการประกอบอาชีพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้จากการประกอบอาชีพที่เป็นรายเดือนและกรณีที่ไม่มีรายได้ต่อเดือนโดยประมาณการ มากที่สุดประมาณ 35,000 บาท และรองลงมาคือน้อยที่สุดประมาณ 5,000 บาท ตามลำดับ อาชญากรรมเกิดบ่อยที่สุด  ส่วนใหญ่อาชญากรรมเกิดบ่อยที่สุด พบว่าลักทรัพย์ ร้อยละ 41.2  รองลงมาคือทำลายทรัพย์ ร้อยละ 25.5 ทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 21.6 ข่มขู่ ร้อยละ 7.8 และอื่น ๆ คือ คดีความมั่นคงของรัฐ วิ่งราวทรัพย์ ยิงกัน ตัดต้นไม้ของบุคคลอื่น  เป็นต้น น้อยที่สุด ร้อยละ 3.9 ตามลำดับ สิ่งที่ต้องการจากการเยียวยามาก  ส่วนใหญ่สิ่งที่ต้องการจากการเยียวยามาก พบว่าให้กำลังต่อจิตใจ/ความช่วยเหลือจากรัฐ ร้อยละ 33.3  รองลงมาคือการได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ ร้อยละ 31.4 การให้เงินช่วยเหลือ ร้อยละ 25.5 และให้ของทดแทน น้อยที่สุด ร้อยละ 9.8 ตามลำดับ


การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จากการสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มกับโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน และประชาชนในชุมชน รวมทั้งตัวแทนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส มีประเด็นดังนี้


1 การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญา ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จากการสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มกับโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน ประชาชนและประชาขนในชุมชน รวมทั้งตัวแทนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง พบว่าชุมชนมีบทบาทสำคัญต่อการช่วยเหลือผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมในการใช้สิทธิดําเนินคดีแพ่งและคดีอาญากับผู้กระทําความผิด เพื่อให้มีการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ตนเองจากการกระทําผิดกฎหมายทางอาญาได้ หรือเหยื่ออาชญากรรมที่จะฟ้องผู้กระทําผิดต่อศาล เพื่อนําผู้กระทําผิดมาลงโทษทางอาญาตามกฎหมาย อีกทั้งมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทําผิดเหยื่ออาชญากรรมที่สูญเสียทรัพย์สินเนื่องจากการกระทําความผิดของผู้กระทําความผิด การเรียกให้ผู้กระทําผิดคืนทรัพย์สินนั้น การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาตำบลเจ๊ะเห ตำบลตากใบ จังหวัดนราธิวาส คือการช่วยเหลือผู้เสียหายได้รับค่าชดเชยความเสียหายจากผู้กระทําความผิด สิทธิประการนี้เป็นไปเพื่อทําให้ผู้เสียหายในคดีอาญาได้รับการชดเชยความเสียหายจากผู้กระทําผิดเป็นผู้ชดใช้ กระบวนการในการชดใช้นี้ไม่ได้เป็นลักษณะที่เป็นโทษในทางอาญา แต่กระบวนการชดเชยนี้เป็นภาระหน้าที่ของผู้กระทําผิดจะต้องรับผิดชอบในการกระทําของตนต่อความเสียหายที่ได้ก่อขึ้น สิ่งเหล่านี้จะมีความสําคัญและเป็นแนวความคิดหลักที่สําคัญอย่างยิ่งในการดําเนินกระบวนการยุติธรรมตามแนวทางสันติวิธีในชุมชน ไม่วารูปแบบการดําเนินการจะเป็นรูปแบบอย่างสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาเป็นทางการหรือที่เรียกว่ากระบวนการในทางศาลหรือในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการหรือที่เรียกว่า ทางเลือกในการระงับข้อพิพาท โดยวิธีของการดําเนินกระบวนการยุติธรรมตามแนวทางสันติวิธีที่ต้องการให้ทุกฝ่าย หรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากอาชญากรรมได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกนเพื่อให้เกิดสันติสุขขึ้นในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส นั้น กระบวนการในการเจรจาตกลงจะไม่บังเกิดผลได้ หากว่าไม่ได้เกิดจากความสมัครใจและสํานึกผิดของผู้กระทําความผิดต่อการกระทําของตน ดังนั้น กระบวนการในการชดเชยความเสียหายโดยผู้กระทําผิดต่อผู้เสียหายในคดีอาญา จึงเป็นการแสดงออกถึงความสํานึกผิด เห็นใจ ความต้องการบรรเทาความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับโดยผู้กระทําความผิด และที่สำคัญการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาตำบลเจ๊ะเห ตำบลตากใบ จังหวัดนราธิวาส ในการได้รับการบริการและการช่วยเหลือของการบริการแก่เหยื่ออาชญากรรมหรือผู้เสียหายในคดีอาญา นั้น โดยลักษณะแล้วเป็นการช่วยเหลือผู้เสียหายในคดีอาญาอันเป็นการช่วยเหลือทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการตกเป็นผู้เสียหาย
ดังนั้น ในส่วนนี้ในคดีอาญาที่ร้ายแรง การช่วยเหลืออย่างฉุกเฉินจึงเป็นสิ่งที่จําเป็นที่สุดและต้องกระทําก่อน เพราะว่า ในกรณี เหล่านี้หากว่าผู้เสียหายจะต้องสูญเสียชีวิต หรือพิการ ย่อมส่งผลกระทบต่อชีวิตและครอบครัวของผู้เสียหาย เช่น ผู้เสียหายเป็นผู้นําครอบครัว เป็นต้น และหากผู้เสียหายได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจ กระบวนการบําบัดและฟื้นฟูยิ่งมีความจําเป็น การช่วยเหลือและบริการในประการเหล่านี้ ภาคประชาชนและชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ ในการดําเนินการและการจัดการเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ และเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้เสียหายในคดีอาญา ทําให้ชุมชนเข้มแข็งมากขึ้น ต่อมา การช่วยเหลือให้คําแนะนําทางด้านกฎหมายการช่วยเหลือ เป็นลักษณะเดียวกันกับการช่วยเหลือทางด้านกฎหมายให้แก่ผู้กระทําความผิดในคดีอาญา แต่เท่าที่ปรากฏการให้ความช่วยเหลือในลักษณะเป็นการให้คําปรึกษาข้อกฎหมายโดยทั่วๆ ไปแก่ประชาชน ไม่มากกว่าที่จะเป็นการจัดให้มีการช่วยเหลือ แก่ผู้เสียหายในคดีอาญา นอกจากนี้แล้วนั้นการช่วยเหลือแก่ประชาชนในทางกฎหมายของ ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส  ยังเป็นการจํากัด เฉพาะในบางลักษณะคดีเท่านั้น การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสในเรื่องรูปแบบของการชดใช้ค่าเสียหายรูปแบบการชดใช้ค่าเสียหายของผู้กระทําความผิดควรต้องมี 3 รูปแบบ คือ
1) การชดใช้ค่าเสียหายทางจิตใจ คือการชดใช้ค่าเสียหายจากอาชญากรรมอย่างน้อยที่สุดก็ช่วยบรรเทาทางจิตใจของผู้เสียหาย โดยการให้ผู้เสียหายพบปะสนทนากับผู้กระทำผิดอาญา เพื่อให้ผู้เสียหายได้มีโอกาสระบายความรู้สึกและความสูญเสียที่ได้รับจากอาชญากรรม นอกจากจะเป็นทางหนึ่งที่จะทําให้ผู้กระทำผิดอาญารู้สึกตระหนักในความผิดแล้ว การรับสารภาพผิดของผู้กระทำผิดอาญา ก็ยังมีผลช่วยลดภาวะความตึงเครียดทางจิตใจของผู้เสียหายได้อีกประการหนึ่ง ย่อมมีทั้งผลดีและผลเสียควบคู่กัน


2) การชดใช้ค่าเสียหายแบบสร้างสรรค์ความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงให้สู่กระบวนการยุติธรรมทางศาล โดยให้ผู้กระทําความผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายที่ถูกประทุษร้ายเพื่อเป็นการทดแทนหรือบรรเทาโทษจําคุก เนื่องจากอาชญากรรมที่ได้เกิดขึ้น เป็นการประทุษร้ายกับผู้เสียหายโดยตรง จึงถือเป็นความรับผิดชอบของผู้กระทําความผิดที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ถ้าสามารถใช้การชดใช้ค่าเสียหายทดแทนการลงโทษจําคุกได้อย่างสมเหตุสมผลแล้ว นอกจากเป็นการทําให้ผู้กระทําตระหนักถึงความเสียหายของอาชญากรรมที่มีต่อผู้อื่นแล้ว ยังมีผลดีต่อการแก้ไขพฤติกรรมของผู้กระทำผิดอาญาด้วย
3) การชดใช้ค่าเสียหายโดยสมัครใจของผู้กระทําผิด ซึ่งเป็นรูปแบบของการชดใช้ค่าเสียหายจากความสมัครใจ หรือความรู้สึกตระหนักในความผิดของผู้กระทำผิดอาญาโดยตรง การชดใช้ค่าเสียหายในประเด็นนี้จะมีผลในทางสมานความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจระหว่างผู้กระทำผิดอาญากับผู้เสียหายมากกว่าการชดใช้ในรูปแบบอื่น กล่าวคือ เมื่อผู้กระทำผิดอาญายินยอมชดใช้ความเสียหายด้วยความเต็มใจแล้ว ย่อมเป็นผลให้ผู้เสียหายมีความรู้สึก เห็นอกเห็นใจและพร้อมที่จะให้อภัยแก่ผู้กระทำผิดอาญา หรือหายโกรธเคืองขุ่นแค้น เสียสละจนถึงขั้นที่จะไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหาย หรือไม่คํานึงถึงจํานวนและมูลค่าแห่งการชดใช้ค่าเสียหายนั้นจากผู้กระทำผิดอาญาเลยก็เป็นได้ และการเสนอแนะจากการสนทนากลุ่มดังกล่าวควรการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายโดยรัฐ มีการจัดตั้งในรูปแบบของคณะกรรมการ ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระในการพิจารณาจ่ายค่าทดแทนแก่ผู้เสียหาย เนื่องมาจากการกระทําความผิดทางอาญา ในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บหรือถึงแก่ความตาย ตามที่พระราชบัญญัติค่าทดแทนความเสียหายแก่ผู้เสียหายในคดีอาญา กำหนดโดยไม่รวมค่าเสียหาย อันเนื่องมาจากยานพาหนะ เว้นแต่เป็นกรณีที่ใช้ยานพาหนะเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทําความผิด ค่าทดแทนในกรณีนี้รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าทําศพ ค่าขาดรายได้จากการทํางาน รวมถึงค่าเลี้ยงดูเด็กที่เกิดจากการข่มขืนกระทําชําเรา โดยพื้นฐานแล้วรัฐจะเข้ามาให้ความสงเคราะห์ช่วยเหลือโดยคํานึงถึงสิทธิของผู้เสียหาย

2  ปัจจัยที่ทำให้ยุติธรรมชุมชนไม่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในหมู่บ้าน              ในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จากการสัมภาษณ์ในการสนทนากลุ่มกับโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน ประชาชนในชุมชน รวมทั้งหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง พบว่า เนื่องด้วยพระราชบัญญัติความมั่นคง ระดับความรู้ทางการศึกษา ภาวะความเป็นผู้นำ (บางคน) การกล่าวอ้างว่าเลือกปฏิบัติในการตัดสินปัญหา และบางส่วนของประชาชนไม่ให้ความร่วมมือต่อโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน และผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น ปรากฏข้อเท็จจริงว่าประชาชนบางส่วนในพื้นที่ดังกล่าวมองว่า ผู้ใหญ่บ้านถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐส่วนกลางผ่านราชการส่วนภูมิภาคเป็นกลุ่มเดียวกันกับหน่วยงานของความมั่นคงของรัฐ คือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในหมู่บ้าน              ในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ส่งผลต่อการเกิดความไม่ไว้วางใจของประชาชนทั่วไปส่วนหนึ่งและประชาชนที่มีความคิดเห็นต่างจากรัฐ จึงทำให้ประชาชนสองกลุ่มดังกล่าวเกิดความหวาดระแวงและความไม่เข้าใจกันต่อผู้ใหญ่บ้านเอง และเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ดังกล่าว
จากปัจจัยดังกล่าวอันเป็นส่วนหนึ่งของหลากหลายปัจจัย ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว จึงเกิดช่องว่างให้ขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่สร้างสถานการณ์แย่งชิงพื้นที่มวลชนไม่ว่าจะเป็นการ พยายามก่อเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ได้ง่าย หรือสร้างเหตุการณ์ความรุนแรงในอำเภอตากใบที่ปรากฏทางสื่อบ่อยครั้งและยังคงมีอย่างต่อเนื่อง และอีกประการหนึ่งเกิดจากความไม่ไว้วางใจของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน และผู้ใหญ่บ้านที่มองว่าเป็นกลุ่มเดียวกันกับผู้มีความคิดเห็นเห็นต่างจากรัฐเป็นฝ่ายตรงข้าม และอีกประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่งคือ การไม่ให้ความร่วมมือของประชาชนส่วนหนึ่งที่มีความคิดเห็นต่างจากรัฐที่มองว่า ผู้ใหญ่บ้าน ประธานชุมชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นกลุ่มเดียวกัน และขณะเดียวกันความไม่ไว้วางใจของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีต่อโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน รวมถึงผู้ใหญ่บ้านที่มองว่าเป็นกลุ่มเดียวกันกับผู้ที่มีความเห็นต่างจากรัฐเป็นฝ่ายตรงข้าม จึงทำให้กระทบต่อการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในหมู่บ้านในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบสู่สังคมสันติสุข ที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานของทุกฝ่าย


circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 51 คน จากที่ตั้งไว้ 51 คน
ประกอบด้วย

กิจกรรมเวทีประชุมสนทนากลุ่ม ครั้งที่ 3 และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ