การอยู่ร่วมกันของประชาชนที่มีวัฒนธรรมหลากหลายภายใต้กฎหมายเดียวกัน

เวที่ยุติธรรมทางเลือกผสานฟื้นฟูวัฒนธรรม ในพื้นที่ 3 จชต. ครั้งที่ 614 ธันวาคม 2560
14
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายอาสาสมัครยุติธรรมทางเลือก
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การดำเนินกิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงเช้าเป็นกรแบ่งกลุ่มย่อย 5 กลุ่ม เพื่อเปิดพื้นที่ในการพุดคุยเกียวกับประเด็น พหุวัฒนธรรม ภายใต้กฏหมายเดียวกัน ส่วนช่วงที่ 2 เป็นการบรรยายให้ความรู้ความเข้าใจ ในประเด็นพหุวัฒนธรรม และสรุปประเด็นการนำเสนอของแต่ละกลุ่ม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการดำเนินงาน           แง่ปริมาณผู้เข้าร่วมเกินเป้าหมายที่วางไว้ เพราะกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้ในแต่ละกิจกรรมคือ 70 คน แต่เมื่อจัดจริงมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 70 คนเกือบทุกเวที แต่ความหลากหลายในเวทีแต่ละครั้งนั้นยังไม่สมดุลเท่าที่ควรเพราะบางเวทีก็มีคนพุทธน้อย และผู้หญิงน้อย ขณะที่บางเวทีก็มีผู้ชายน้อย แง่คุณภาพของวัตถุประสงค์คือการมีทัศนคติที่ดีต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมภายใต้กฎหมายไทย        และสถานการณ์ความขัดแย้งนั้น ถือว่าถึงเป้าหมายอยู่ในระดับปานกลาง พิจารณาดังนี้ ประการที่หนึ่ง กลุ่มเป้าหมายมีความสนใจแลกเปลี่ยนพูดคุยเกี่ยวกับสถานการณ์ทางสังคมและความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า พหุวัฒนธรรม ประการที่สอง กลุ่มเป้าหมายสะท้อนความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาพร้อมมีข้อเสนอระหว่างผู้เข้าร่วมด้วยกันเอง    ในการปรับทัศนคติต่อการอยู่ร่วมกัน ประการที่สาม กลุ่มเป้าหมายมีการชักชวนผู้เข้าร่วมคนใหม่ๆที่มีบทบาทในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนในเวทีครั้งที่ 2 ประการที่สี่ กลุ่มเป้าหมายบางส่วนมีข้อเสนออยากจะนำแนวการเรียนรู้ที่ทางโครงการดำเนินไปต่อยอดในงาน      ของตัวเองที่เป็นรูปธรรม

    ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน (เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินงานในปีต่อ ๆ ไป รวมถึงจะได้สรุปเป็น   ข้อเสนอต่อรัฐบาลในภาพรวมโครงการ) ประการที่หนึ่ง ต้องยอมรับว่าแนวทางสนับสนุนทุนต่อการทำงานโครงการของภาคประชาสังคมในการพัฒนาสังคมชายแดนใต้นั้น เป็นแนวทางที่มีความน่าสนใจอย่างยิ่งแต่ก็มีความสำคัญในแง่ในการกระบวนการของการสนับสนุนทุน        ซึ่งที่ผ่านยังมีความยืดเยื้อและไม่มีกรอบที่ชัดเจน เช่น การนิยามของการเป็นองค์กรภาคประชาสังคมนั้น ยังไม่ใช่ชัดเจนเท่าที่ควรจึงเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง แต่ก็สามารถเข้าใจได้เพราะเป็นโครงการแรกที่ดำเนินงานเช่นนี้ภายใต้การสนับสนุนของ ศอบต. ประการที่สอง การดำเนินโครงการเกี่ยวกับประเด็นพัฒนาความสัมพันธ์การอยู่ร่วมกันในสถานการณ์ความขัดแย้งชายแดนใต้นั้น เป็นโครงการสำคัญมากที่ไม่ควรถูกละเลยแต่เนื่องจากที่ผ่านมามีการทำความเข้าใจ ให้ความรู้เรื่องเช่นนี้      ในระดับชุมชนน้อยหรือไม่หลากหลายแง่มุมพอจนทำให้อคติการอยู่ร่วมกันยังซ่อนอยู่ในชุมชน ดังนั้นควรจะให้มีการต่อยอดสำหรับเวทีการสร้างการเรียนรู้เช่นนี้ต่อไป ประการที่สาม คุณค่า ความรู้ เกี่ยวกับคำว่า พหุวัฒนธรรมนั้น ยังมีการทำงานวิจัยอยู่น้อย ทำให้แง่มุมคำว่า          พหุวัฒนธรรมเลยมีแง่มุมเดียว ดังนั้นเพื่อให้ก่อเกิดองค์ความรู้และการเผยแพร่ ควรจะสนับสนุนให้เกิดงานวิจัย                เรื่อง สังคมพหุวัฒนธรรมในบริบทความขัดแย้งอย่างเช่นชายแดนใต้อย่างเป็นจริงเป็นจัง และควรให้มีการจัดทำโดยสถาบันวิชาการที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้โดยเฉพาะ เช่น ศูนย์สันติศึกษา ศูนย์ทรัพยากรสันติภาพ  หรือนักวิชาการด้านสังคมมนุษย์วิทยา    ในพื้นที่ชายแดนใต้

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 70 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

ประชาชนทั้งมุสลิมและไทยพุทธ์ ที่อยู่ในอำเภอรือรามัน